คลังเก็บป้ายกำกับ: ANTI-PHISHING

[Guest Post] แคสเปอร์สกี้เผย ฟิชชิ่งพยายามโจมตี SMB ในอาเซียนเกือบ 3 ล้านครั้งแค่ปีเดียว หลอกล่อผู้ใช้ด้วยหัวข้อ ‘โควิด-19 ประชุมออนไลน์ และเซอร์วิสขององค์กร’

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทผู้ให้บริการความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก ได้เปิดโปงกลโกงของขบวนการฟิชชิ่งที่มีเป้าหมายธุรกิจเล็กและกลาง (หรือ SMB) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่ากลุ่มธุรกิจนี้จะยังคงบอบช้ำจากแรงกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องอยู่ โดยเทคโนโลยี Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกความพยายามที่จะเข้าโจมตีธุรกิจ SMB ผ่าน URL ปลอมในภูมิภาคนี้เมื่อปีที่ผ่านมาถึง 2,890,825 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 20% ซึ่งมีเพียง 2,402,569 ครั้ง

 

ฟิชชิ่งเป็นรูปแบบของอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาศัยเทคนิควิศวกรรมสังคมที่เกี่ยวโยงการโจรกรรมข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับจากคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ และใช้ข้อมูลนั้นไปการทุจริตอื่นๆ ทั้งการขโมยเงินไปจนถึงขายต่อข้อมูล ข้อความที่เป็นฟิชชิ่งนั้นมักจะมาในรูปแบบข้อความแจ้งเตือนปลอมจากธนาคาร ผู้ให้บริการสื่อสาร ระบบการชำระเงินออนไลน์ และองค์กรต่างๆ และยังเลียนแบบเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือได้เนียนเอามากๆ เกือบ 100% เลยทีเดียว ล่อลวงให้เหยื่อหลงกลและกรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ

สำหรับฟิชชิ่งที่โจมตีเป้าหมายธุรกิจ SMB ที่มีพนักงาน 50 – 250 คนของแต่ละประเทศนั้น พบว่าอินโดนิเซียมีจำนวนสูงสุดในปี 2020 ตามด้วยไทยและเวียดนามที่จำนวนมากกว่าครึ่งล้านครั้ง ส่วนมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เมื่อนับรวมความพยายามล่อให้เข้าเว็บไซต์ฟิชชิ่งของทั้งสามประเทศได้ 795,052 ครั้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

 

ประเทศ

2020

2019

จำนวนที่ตรวจจับได้

อันดับโลก

จำนวนที่ตรวจจับได้

อันดับโลก

อินโดนีเซีย

744,518

16

651,947

16

มาเลเซีย

392,301

28

367,689

29

ฟิลิปปินส์

227,172

42

180,263

41

สิงคโปร์

 

175,579

53

121,922

57

ไทย

677,512

20

483,755

18

เวียดนาม

 

673,743

21

596,993

17

จำนวนการตรวจจับฟิชชิ่งที่พยายามโจมตี SMB ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลเทคโนโลยี Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้

 

ธุรกิจ SMB ใน 6 ประเทศในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับการโจมตีด้วยฟิชชิ่งเพิ่มขึ้น จากรายงานของแคสเปอร์สกี้เปรียบเทียบแบบ Year-on-Year (YOY) เป็นผลพวงที่คาดได้จากการที่กลุ่มธุรกิจนี้ต้องเร่งก้าวสู่รูปแบบดิจิทัลท่ามกลางสถานการณ์แพร่ของโรคระบาด

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “แม้ว่าธุรกิจ SMB จะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจในภูมิภาคของเรา แต่ก็เป็นเป้าหมายที่โจมตีได้ง่ายเช่นกัน อาชญากรไซเบอร์รู้ดีว่าเจ้าของกิจการมุ่งมั่นอยู่แต่กับเรื่องการดูแลธุรกิจและเงินหมุนเวียนให้พอ มากกว่าที่จะสนใจเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ อย่างน้อยๆ ก็ช่วงนี้ ดังนั้นวิธีที่เล็ดลอดเข้ามาโจมตีได้ที่ง่ายที่สุดคือการใช้วิศวกรรมเชิงสังคม (Social engineering) เช่น ฟิชชิ่ง ยิ่งช่วงนี้ที่มีคำฮิตที่ได้รับความสนใจแน่นอน เรื่องที่สอดคล้องต่อความกังวลเรื่องโควิด-19 ยิ่งเรื่องการฉีดวัคซีนด้วยแล้วยิ่งง่าย เราคาดว่าการคุกคามประเภทนี้จะพบเห็นได้มากขึ้น เพื่อใช้ขโมยเงินและข้อมูลของกลุ่มธุรกิจ SMB ที่อ่อนแอบอบช้ำช่วงนี้”

ในปีที่แล้ว พบว่า 10 ประเทศที่ SMB ถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่งสูงสุด ได้แก่ บราซิล รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี เม็กซิโก เยอรมนี โคลัมเบีย สเปน และอินเดีย

สำหรับภาพรวมระดับโลกพบว่ามิจฉาชีพฟิชเชอร์อาศัยเกาะกระแสโควิด-19 ลวงเหยื่อให้เข้าประชุมวิดีโอซึ่งไม่มีอยู่จริง และบังคับให้ลงทะเบียนเป็น “new corporate services” จากรูปการณ์ที่เราทั้งโลกยังคงต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่ แคสเปอร์สกี้คาดการณ์ว่าเทรนด์ที่มาจากปี 2020 ก็จะยังคงอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน

 

 

เทรนด์ที่มีความสำคัญซึ่งธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคโด่งดังเรื่องการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างหนักหน่วง ยิ่งต้องใส่ใจระวังเว็บลิ้งก์และเมลฟิชชิ่งที่แชร์ต่อๆ กันบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญแคสเปอร์สกี้สังเกตุเห็นว่าสแกมเมอร์ที่ปล่อยเมลลูกโซ่ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กและแอปพลิเคชั่นส่งข้อความเริ่มใช้เส้นทางนี้มากขึ้นในช่วงปี 2020

เมื่อได้รับข้อความส่วนลดสินค้าบริการ แล้วคลิกตามลิ้งก์ที่ส่งมาด้วย จะโยงไปฟิชชิ่งเว็บเพจเต็มไปด้วยเนื้อหาล่อใจ เงินรางวัล ของรางวัล ของแถม สิ่งเย้ายวนต่างๆ ที่ทำให้เราสนใจ

“ภาครัฐและสถาบันการเงินร่วมมือให้การช่วยเหลือธุรกิจ SMB ให้รอดวิกฤต ผ่านเงินทุนและรูปแบบการสนับสนุนทางการเงินต่างๆ แต่เราต้องยอมรับด้วยว่าอาชญากรไซเบอร์ไม่เคยละเว้นผู้ใด แคสเปอร์สกี้จึงได้นำเสนอโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่มาในงบประมาณที่สามารถซื้อหาได้และมีความครอบคลุมการใช้งาน เพื่อเป็นตัวช่วยเจ้าของธุรกิจอีกทางหนึ่งในการเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางความผันผวนในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่บอกได้เลยว่า แน่นอนยิ่งกว่าสิ่งใดคือ การสร้างระบบความปลอดภัยไอทีนั้นย่อมเป็นการลงทุนที่ราคาถูกกว่าการแก้ปัญหาหลังจากที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมไซเบอร์ไปแล้วอย่างแน่นอน” นายโยวกล่าวเสริม

แคสเปอร์สกี้มีโซลูชั่นเพื่อช่วยให้ธุรกิจ SMB ดูแลเงินหมุนเวียนและสินทรัพย์ของตนด้วยโซลูชั่นสุดประหยัด “Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum” (หรือ KEDRO) สำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าที่ใช้แคสเปอร์สกี้อยู่แล้ว และรองรับโหนดได้ถึง 10-999 โหนดทั่วภูมิภาค

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชันสุดประหยัดสำหรับ SMB อ่านได้ที่ https://go.kaspersky.com/Kaspersky_EDRO_SEA_Promotion.html

รายงาน The Kaspersky Spam and Phishing Report 2020 อ่านได้ที่

https://kas.pr/n4t2

ผู้เชี่ยวชาญแคสเปอร์สกี้แนะนำเคล็ดลับสำหรับ SMB และพนักงานเพื่อเลี่ยงการถูกล่อลวงผ่านฟิชชิ่ง ดังนี้

  • สอนพนักงานเรื่องเบสิกพื้นฐานความปลอดภัยไซเบอร์ เช่น อย่าเปิดหรือเก็บไฟล์ที่คุณไม่รู้ที่มา หรือเข้าเว็บไซต์ที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อบริษัทได้ หรืออย่าใช้ข้อมูลส่วนตัวมาทำเป็นรหัสผ่าน สร้างพาสเวิร์ดที่เดายาก ไม่ควรเป็นชื่อ วันเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นใด เป็นต้น
  • คอยย้ำเตือนพนักงานถึงวิธีการดูแลจัดการข้อมูลที่มีความอ่อนไหวและสำคัญ เช่น เก็บข้อมูลในคลาวด์ที่ไว้วางใจความปลอดภัยได้เท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการยืนยันตัวตน รหัสผ่านการเข้าถึงข้อมูลที่แข็งแกร่ง และที่สำคัญไม่ควรแชร์ให้คนอื่นรู้ข้อมูลเหล่านี้
  • เน้นให้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ถูกต้องเป็นทางการของเวนเดอร์
  • แบ็คอัพหรือทำสำรองข้อมูลสำคัญ อัปเดตอุปกรณ์ไอทีและแอปพลิเคชั่นสม่ำเสมอ เพื่อเลี่ยงช่องโหว่ที่เป็นทางเข้ามาของโจรไซเบอร์ได้
  • เข้ารหัส Wi-Fi ตั้งค่าการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก ตั้งล็อกอินและรหัสผ่านเราท์เตอร์ให้แม่นยำปลอดภัยอยู่เสมอ
  • ใช้ VPN หากต้องเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กไวไฟแปลกที่ การต่อผ่าน VPN ข้อมูลทั้งหมดของคุณจะถูกเข้ารหัส ไม่ว่าค่าเซ็ตติ้งของเน็ตเวิร์กจะเป็นอย่างไรก็ตาม และคนภายนอกก็ไม่สามารถเข้ามาอ่านได้
  • ใช้บริการอีเมล โปรแกรมส่งข้อความ และโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ที่เป็นขององค์กรเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณส่งเอกสาร ข้อมูลต่างๆ และบริการคลาวด์ที่ตั้งค่าสำหรับใช้กับงานนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีความปลอดภัยมากกว่าเวอร์ชั่นฟรีที่ให้บริการผู้ใช้ทั่วไป
  • ป้องกันอุปกรณ์ด้วยโซลูชั่นแอนตี้ไวรัส ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือบนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้

 

ในปีที่แล้ว พบว่า 10 ประเทศที่ SMB ถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่งสูงสุด ได้แก่ บราซิล รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี เม็กซิโก เยอรมนี โคลัมเบีย สเปน และอินเดีย

สำหรับภาพรวมระดับโลกพบว่ามิจฉาชีพฟิชเชอร์อาศัยเกาะกระแสโควิด-19 ลวงเหยื่อให้เข้าประชุมวิดีโอซึ่งไม่มีอยู่จริง และบังคับให้ลงทะเบียนเป็น “new corporate services” จากรูปการณ์ที่เราทั้งโลกยังคงต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่ แคสเปอร์สกี้คาดการณ์ว่าเทรนด์ที่มาจากปี 2020 ก็จะยังคงอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-nearly-3m-phishing-attempts-aimed-smb-in-asia/

Facebook อัดฉีดเงิน 1 แสน USD สำหรับงานวิจัยพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยอินเทอร์เน็ต

Facebook ได้ประกาศว่าบริษัทได้เตรียมเสนอเงินให้แก่งานวิจัยที่นำเสนอผลงานเพื่อพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยออนไลน์ ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย โดยโปรเจ็คนี้ชื่อว่า ‘Secure the Internet Grants‘ ซึ่งก่อนหน้านี้นาย Alex Stamos ตำแหน่ง CSO ของ Facebook ได้เคยกล่าวว่าทางบริษัทเตรียมเงินสนับสนุนงานวิจัยในเชิงป้องกันถึง 1 ล้าน USD ในงาน Black Hat เมื่อปีก่อน

ในโครงการนี้มหาวิทยาลัยและภาควิชา รวมถึงหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและองค์ไม่แสวงหาผลกำไร สามารถเข้าร่วมส่งวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมและการนำไปใช้จริงในทางปฏิบัติมาได้ หัวข้อกว้างๆ อย่างเช่น anti-phishing, user safety, post-password authentication, abuse detection and reporting, privacy-preserving technologies, และ user security in emerging markets จะสามารถเข้าร่วมได้ทั้งสิ้น

ผู้เข้าร่วมจะต้องส่งรายละเอียดวัตถุประสงค์ 2 หน้ากระดาษเกี่ยวกับแนวคิดและอธิบายว่าเงินทุนนั้นจะนำไปช่วยให้เกิดเป็นการนำไปใช้จริงได้อย่างไร ซึ่ง Facebook ได้เตรียมเงินไว้สูงสุดถึง 1 แสน USD ทั้งนี้ก็ขึ้นกับข้อกำหนดที่ระบุไว้ด้วย โดยมีกำหนดส่งไม่เกิน 30 มีนาคมนี้และจะประกาศผู้ชนะในงาน Black Hat 2018 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย “การป้องกันที่ดีต้องอาศัยความเข้าใจในการโจมตีเสียก่อน“–นาย Stamos กล่าวในงาน Black hat เมื่อปีที่ผ่านมา

ที่มา : http://www.securityweek.com/facebook-offers-100000-grants-improving-internet-security

from:https://www.techtalkthai.com/facebook-rewards-for-researching-about-improve-internet-security/

ข้อแนะนำเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถืออย่างมั่นคงปลอดภัย

หากเราเคยได้ยินเรื่องของ Wannacry Ransomware หรือ การแฮ็กบัญชีใช้งานต่างๆ รวมถึงการใช้งานเว็บไซต์ปลอม สำหรับเราแล้วในวงการไอทีอาจจะคุ้นเคยกันดีและพอตระหนักรู้ถึงภัยอยู่บ้าง แต่หากเราต้องการแนะนำให้คนรอบตัวใช้งานมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย หัวข้อนี้เราจึงได้เลือกสรุปข้อแนะนำจาก Cloudflare มาให้ผู้อ่านได้ติดตามกัน

 

Credit: ShutterStock.com

การป้องกันภัยคุกคามเบื้องต้น

ปีที่ผ่านมามี Ransomware ระบาดหนักมากและหลายแห่งยังคาดว่าปีหน้าก็จะยังพบภัยคุกคามรูปแบบนี้ต่อไป ดังนั้นสิ่งที่จะแนะนำเบื้องต้นผู้ใช้ควรทำดังนี้
  • ใช้ Anti-virus ที่มีฐานข้อมูลตรวจจับ Ransomware ได้
  •  อย่าใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีแพตซ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยหรือล้าหลังไปแล้ว อย่างเช่น Windows XP ซึ่งไม่มีการออกแพตซ์อัปเดตด้านความมั่นคงปลอดภัยแล้ว
  • ทำการสำรองข้อมูลไฟล์ที่สำคัญไว้อย่างสม่ำเสมอ
  • อัปเดตแพตซ์ใหม่ล่าสุดให้กับซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน

การบริการจัดการรหัสผ่าน

  • อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันกับทุกเว็บไซต์
  • โปรแกรมจัดการรหัสผ่านอย่าง LastPass หรือ 1Password ซึ่งใช้หลักการว่ามันจะสุ่มสร้างรหัสผ่านสำหรับแต่ละไซต์และบริหารจัดการรหัสเหล่านั้นในกระเป๋าที่ถูกเข้ารหัสไว้โดยรหัสผ่านหลักอีกทีหนึ่ง เช่น หากเราตั้งรหัสว่า ‘password’ มันอาจจะกลายเป็น ‘p4$$w0rd’ หรือใช้รหัสผ่านยาวๆ ‘At Christmas my dog stole 2 pairs of Doc Martens shoes!’ อาจะกลายเป็น ‘ACmds2poDMs!’ ซึ่งหากเว็บไซต์ถูกแฮ็กแล้วรหัสเรารั่วไหลออกไปก็ยังปลอดภัยมากกว่ารหัสธรรมดาๆ
  • อย่าใช้คำสำคัญหรือข้อมูลส่วนตัวในรหัสผ่าน
  • พยายามใช้สัญลักษณ์หรือตัวเลขในรหัสผ่าน

สร้างความมั่นคงปลอดภัยแบบหลายลำดับ

ปกติแล้วในด้านการพิสูจน์ตัวตนสามารถทำได้โดย 3 อย่างคือ สิ่งที่คุณรู้ สิ่งที่คุณเป็น และสิ่งที่คุณมี การใช้รหัสผ่านอยู่ในสิ่งที่คุณรู้ การใช้ Biometric คือยืนยันสิ่งที่คุณเป็น โดยสิ่งที่จะแนะนำเพิ่มนอกจากการใช้รหัสผ่านคือ Two-factor Authentication หรือสิ่งที่คุณมี ซึ่งอาจจะใช้ บริการจาก turnon2fa.com ที่รองรับกับ Social Media ธนาคารหรือเว็บซื้อของต่างๆ

ตรวจสอบที่มาของเว็บไซต์

  • สังเกตรูปกุญแจสีเขียวที่ Address Bar ด้านบนหรือ Https:// เว็บไซต์เพราะมันเข้ารหัสช่วยป้องกันการดับจับข้อมูลระหว่างการรับส่ง
  • ตรวจสอบว่าชื่อไซต์นั้นถูกหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งเราจะพบเว็บปลอมถูกตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกล่อผู้ใช้งาน
  • อย่าเชื่อลิ้งทุกอย่างที่มากับอีเมลแม้ว่าอีเมลนั้นจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณบ้างต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่าผู้ส่งตั้งใจส่งมาจริง

ที่มา : https://blog.cloudflare.com/cyber-security-advice-for-your-parents/

from:https://www.techtalkthai.com/tip-for-secure-using-computer-and-mobile/

Google อัปเกรดฟีเจอร์ Anti-phishing ยุคใหม่ ใช้ Machine Learning

Google ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยใหม่ และอัปเกรดฟีเจอร์เดิมหลายรายการบนแอพลิเคชัน G Suite ได้แก่ Gmail, Google Calendar, Google+, Google Drive และอื่นๆ ชูจุดเด่นการใช้ Machine Learning ในการป้องกันการโจมตีแบบ Phishing

ฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่อัปเกรดใหม่นี้ ถูกออกแบบมาสำหรับแอพพลิเคชันประเภท G Suite ซึ่งใช้ในธุรกิจ สถานศึกษา บริษัทขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อของแคมเปญ Phishing เป็นจำนวนมาก ซึ่งฟีเจอร์เด่นที่ Google นำเสนอเพิ่มขึ้นมา คือ การตรวจจับ Phishing ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และการแจ้งเตือนเมื่อมีการส่งอีเมลตอบกลับไปอย่างไม่ตั้งใจ

Google ระบุว่า แคมเปญ Phishing นั้นจะดำเนินการตามรูปแบบบางอย่างที่สามารถพยากรณ์ได้ ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสามารถสร้างอัลกอริธึมแบบใหม่ที่สามารถตรวจจับและหน่วงอีเมลที่ต้องสงสัยไว้ก่อน จากนั้นจึงทำการตรวจสอบเนื้อหาในอีเมล โดยเฉพาะลิงค์ที่แนบมา ผ่านเทคโนโลยี Spam Filter และ Safe Browsing แบบเรียลไทม์ ก่อนจะส่งไปยังผู้ใช้ในกรณีที่มั่นใจว่าเป็นอีเมลปกติ ไม่ใช่อีเมล Phising ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะกินเวลาไม่เกิน 4 นาที

สำหรับการแจ้งเตือนเมื่อตอบกลับอีเมลแบบไม่ตั้งใจนั้น มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญถูกเผยแพร่ออกไปอย่างใจ เช่น ส่งอีเมลผิด หรือส่งไปยังอีเมลปลอมของแฮ็คเกอร์ เป็นต้น โดยขณะที่ผู้ใช้กระทำการส่งอีเมล Google จะตรวจสอบรายชื่อผู้รับอีเมลทั้งหมด ทั้งใน CC และ BCC ซึ่งถ้าไม่พบรายชื่อใน Contacts จะทำให้ Google แสดงข้อความแจงเตือนบนหน้าจอ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเลือกไม่สนใจหรือปิดทิ้งได้

ทั้งสองฟีเจอร์ที่กล่าวมานี้จะถูกเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกปิดได้ถ้าไม่ต้องการ นอกจากนี้ Google ยังทำการอัปเดตฟีเจอร์ URL Click-time Warning ซึ่งช่วยแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องสงสัยหรือมีแนวโน้มว่าเป็นอันตราย โดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning ของ Google Safe Browsing อีกด้วย

ที่มา: https://www.helpnetsecurity.com/2017/06/02/gmail-anti-phishing-features/

from:https://www.techtalkthai.com/google-uses-machine-learning-in-anti-phishing/

Google เสริมความปลอดภัยให้ Gmail ป้องกัน Malware ด้วย Machine Learning และวิธีการอื่นๆ มากมาย

Google ได้ออกมาประกาศเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับเหล่าผู้ใช้งาน Gmail ด้วยการทำเทคนิคหลากหลายรวมถึงการใช้ Machine Learning มาป้องกันผู้ใช้งานจาก Malware ดังต่อไปนี้

 

  • ใช้ Machine Learning ตรวจจับการโจมตีแบบ Phishing ที่เกิดขึ้นใน Gmail
  • มีการแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ทำการคลิกลิงค์ใน Gmail หากลิงค์นั้นถูกตรวจสอบแล้วว่าเป็นลิงค์อันตราย
  • เพิ่มการแจ้งเตือนเวลามีการ Reply ไปยังเมล์ที่ภายนอกโดยไม่ตั้งใจ
  • เพิ่มวิธีการตรวจสอบ Attachment ให้มั่นคงปลอดภัยขึ้นไปอีก ด้วยการทำ Correlation ระหว่าง Spam Signal, Attachment, Sender Heuristics เพื่อทำนายว่าเมล์นั้นๆ จะมี Malware ตระกูลใหม่ปรากฎอยู่หรือไม่ ป้องกัน Zero-day, Ransomware และ Malware ได้ดีขึ้น
  • ทำการบล็อคไฟล์นามสกุลที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงไฟล์ Executable และ Javascript ด้วย

ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้จะเปิดให้ผู้ใช้งาน Google G Suite ทุก Edition ได้ใช้ภายใน 1-3 วันนับถัดจากนี้

Google ยังได้ระบุด้วยว่าที่ผ่านมา Machine Learning ได้ช่วยให้ Gmail สามารถตรวจจับ Spam ได้แม่นยำถึง 99% และคาดว่าด้วยวิธีการป้องกันแบบใหม่ทั้งหมดที่เสนอมานี้ ก็จะทำให้ในแต่ละวัน Gmail สามารถคัดกรองเมล์ทิ้งเพิ่มได้อีกวันละหลายร้อยล้านฉบับอย่างแม่นยำ

ก่อนหน้านี้ Google ได้พยายามเพิ่มวิธีการใหม่ๆ ในการป้องกันให้ระบบ Gmail มีความปลอดภัยมาโดยตลอด โดย 3 แนวทางหลักที่ Google ใช้รับมือกับเหล่า Scammer นั้นก็ได้แก่

  • คัดกรองเมล์ที่มีการตรวจพบ Virus ทิ้ง และส่งเมล์กลับไปแจ้งเตือนผู้ส่ง
  • ยับยั้งผู้ใช้งาน Gmail ไม่ให้ส่ง Attachment ที่แฝงอันตรายออกไป
  • ป้องกันผู้ใช้งาน Gmail ไม่ให้โหลด Attachment ที่มีการตรวจพบ Virus

 

ที่มา: https://gsuiteupdates.googleblog.com/2017/05/new-built-in-gmail-protections-to.html

from:https://www.techtalkthai.com/google-gmail-is-now-more-secure-from-malware-by-machine-learning/

อัปเดตฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดของ Blue Coat และ Symantec พร้อมผสานรวมโซลูชัน

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา Symantec + Blue Coat จัดงานเลี้ยงขอบคุณพาร์ทเนอร์ พร้อมประกาศทิศทางและกลยุทธ์ของ Blue Coat หลังถูก Symantec ควบรวมกิจการ ระบุพร้อมมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งด้าน Endpoint, Network และ Cloud Security ในนามของ Symantec นอกจากนี้ ยังมีการอัปเดตฟีเจอร์ของทุกโซลูชันครั้งใหญ่

Blue Coat ผนวกรวมกับ Symantec เรียบร้อย พร้อมใช้ชื่อ “Symantec” ในปี 2017 นี้

คุณชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทยของ Symantec + Blue Coat ระบุว่า Symantec เป็นผู้นำด้านระบบ Endpoint Security ส่วน Blue Coat ก็เป็นผู้นำด้าน Network Security เมื่อทั้งสองโซลูชันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถตอบโจทย์ความมั่นคงปลอดภัยแบบครบวงจร ตั้งแต่ระดับ Endpoint ไปจนถึงระดับ Network และต่อยอดไปยังระบบ Cloud ที่สำคัญคือ ตอนนี้ Symantec และ Blue Coat สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อเป็นที่เรียบร้อย เช่น โซลูชัน CASB ของ Blue Coat สามารถใช้ฟีเจอร์ Cloud DLP ของ Symantec เพื่อป้องกันข้อมูลบนระบบ Cloud รั่วไหลสู่สาธารณะได้

“หลังผนวกรวมกับ Blue Coat แล้ว Symantec กลายเป็นโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบ End-to-end อย่างแท้จริง โดยมีโซลูชันครอบคลุมตั้งแต่ระดับ Endpoint, Network ไปจนถึงระบบ Cloud ในแง่ของการทำตลาดในไทยและทั่วโลกนั้น เราพร้อมซัพพอร์ตลูกค้าและพาร์ทเนอร์เพื่อให้ Symantec กลับมาเป็นอันดับหนึ่งทางด้านระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง และในเดือนมีนาคมปีนี้เอง เราจะกลายเป็น ’Symantec’ อย่างสมบูรณ์” — คุณชาญวิทย์กล่าว

Symantec + Blue Coat ครองอันดับหนึ่งของ Gartner Magic Quadrant ถึง 4 รายการ

การันตีความเป็นหนึ่งทางด้าน Endpoint Security และ Network Security ด้วยความเป็น Leader ของ Gartner Magic Quadrant ถึง 3 รายการ ได้แก่

  • Secure Web Gateway: Blue Coat ครองตำแหน่ง Leader มายาวนานถึง 9 ปี ซึ่ง Gartner ได้ให้ความเห็นว่า “ProxySG เป็น Proxy ที่แข็งแกร่งที่สุดในตลาด”
  • Data Loss Prevention: Symantec เป็นอันดับหนึ่งทั้งทางด้าน Ability of Execute และ Completeness of Vision ซึ่งปกป้องข้อมูลสำคัญตั้งแต่ระดับ Endpoint, Network ไปจนถึง Cloud
  • Endpoint Protection: Symantec พร้อมให้บริการ Antivirus, Incident & Response และ DLP ในระดับ Endpoint ในขณะที่ Blue Coat มีบริการ Web Security สำหรับปกป้องอุปกรณ์ Endpoint จากภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต
  • Managed Security Service: Symantec พร้อมให้คำปรึกษาและเฝ้าระวังภัยคุกคามด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ

โดยสรุปแล้ว หลัง Symantec + Blue Coat พร้อมนำเสนอโซลูชัน Content Security แบบครบวงจร โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  • Information: Data Security, Encrypted Traffic Management, VIP/Identity และ Managed PKI
  • Users: Endpoint Protection, Endpoint Detection, Data Center และ Management & Compliance
  • Web: Web Protection, Content Analysis, CASB และ Security Analytics
  • Messaging: Email Protection, Anti-phishing, Message Security และ Encryption

ที่สำคัญคือ Global Threat Intelligence ของ Symantec และ Blue Coat ถูกผสานรวมกันเป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามทั่วโลกได้มากถึง 3,500,000 รายการต่อวัน รวมไปถึงรู้จักและสามารถควบคุมการใช้ Cloud Applications ได้มากกว่า 12,000 แอพพลิเคชัน

อัปเดตโซลูชัน Secure Web Gateway พร้อมให้บริการฟังก์ชัน Web Application Firewall ฟรี

Secure Web Gateway หรือที่รู้จักกันดีในนาม ProxySG ถูกออกแบบมาเพื่อการปกป้องพนักงานและอุปกรณ์ Endpoint ขององค์กรจากภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต ป้องกันข้อมูลสำคัญรั่วไหลสู่ภายนอก รวมไปถึงควบคุมการเข้าถึงเว็บของพนักงานให้เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทกำหนด โดยรองรับการติดตั้ง 3 แบบ คือ Appliance (ProxySG), Vitual Appliance (vSWG) และ Web Security Service (WSS)

คุณสมบัติเด่นของ Secure Web Gateway ประกอบด้วย

  • ให้บริการ Proxy สำหรับทุก Endpoint ตั้งแต่การพิสูจน์ตัวตนก่อนใช้อินเทอร์เน็ต ตรวจสอบ Content ไปจนถึงการทำ SSL Offload
  • ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ได้มากถึง 84 กลุ่มและ Cloud Service กว่า 12,000 แอพพลิเคชัน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่องค์กรกำหนด รวมไปถึงช่วยลดปัญหา Shadow IT
  • ป้องกันภัยคุกคามที่มาจากอินเทอร์เน็ต โดยสามารถกรอง URL ที่เป็นแหล่งกำเนิดของภัยคุกคามได้มากถึง 90% และสามารถทำงานร่วมกับ Content Analysis System (CAS) เพื่อตรวจจับและป้องกันมัลแวร์ได้ทั้งแบบ Known และ Unknown
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ถึงขีดสุดผ่านการทำ Video Acceleration, Split Tunneling, Dynamic Caching และ Protocol Optimization

นอกจากนี้ Secure Web Gateway ทั้ง ProxySG, Advanced Secure Gateway (ASG) และ vSWG สามารถติดตั้งในรูปของ Reverse Proxy เพื่อทำหน้าที่เป็น Web Application Firewall ได้ด้วยเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือสั่งซื้อ License ใดๆ เพิ่มเติม

ฟังก์ชัน Web Application Firewall มีคุณสมบัติเด่นสำคัญ 3 ประการ คือ

  • สามารถติดตั้งแบบ Inline วางขวางหน้า Web Server ที่ต้องการปกป้องได้ทันที พร้อมรองรับการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้มากถึง 14 วิธี
  • ป้องกันการโจมตีเว็บแอพพลิเคชันครอบคลุม OWASP Top 10 รวมไปถึงสามารถตรวจสอบไฟล์เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Advanced Persistent Threats
  • แทนที่การทำ Whitelisting ด้วย “Content Nature Detection” ซึ่งเป็นระบบ Global Dynamic Profiling ที่ผ่านมาตรวจสอบจาก Symantec + Blue Coat มาเป็นอย่างดี ช่วยลดอัตราการเกิด False Positive และตรวจจับการโจมตีแบบ Zero-day ได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ผสาน Symantec เข้าระบบ CAS และ MAA เพื่อตอบสนองภัยคุกคามเชิงรุก

Content Analysis System หรือ CAS เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับ Secure Web Gateway สำหรับตรวจจับภัยคุกคามและมัลแวร์ที่มาจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งนอกจากจะสามารถตรวจจับ Known Threats โดยใช้ Antivirus Engine ได้สูงสุดถึง 2 ยี่ห้อแล้ว ยังมีระบบ Static Code Analysis สำหรับตรวจจับ Unknown Threats ได้แบบเรียลไทม์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเติม การตรวจสอบมัลแวร์ของ CAS แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

  1. Hash Reputation: เทคนิคการทำ Whitelisting โดยอนุญาตให้ไฟล์ที่ไม่มีมัลแวร์หรือพาหะเท่านั้นที่ข้ามผ่าน Gateway เข้ามาได้
  2. Dual AV: ระบบป้องกันมัลแวร์แบบ Signature-based รองรับการเลือกใช้ AV Engine ของ McAfee, Sophos, Kaspersky Lab และ Symantec ได้สูงสุดถึง 2 ยี่ห้อพร้อมกัน
  3. Predictive File Analysis: วิเคราะห์ไฟล์ด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อค้นหา Advanced Threats หรือ Zero-day Attack แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้อง Execute ไฟล์นั้นๆ
  4. Behavioral Analysis: เทคนิคการตรวจจับ Advanced Threats และ Zero-day Attack ระดับสูง โดยอาศัยการทำ Advanced Sandboxing เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของการ Execute ไฟล์ ซึ่ง CAS มี API สำหรับส่งไฟล์ไปตรวจสอบต่อใน Malware Analysis Appliance (MAA) หรือ Sandbox ของ FireEye และ LastLine

อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามในปัจจุบัน เช่น Advanced Persistent Threats มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อหลบเลี่ยงระบบตรวจจับ รวมไปถึง Sandbox กล่าวคือ ถ้ามัลแวร์ทราบว่าตัวเองกำลังรันอยู่ใน Virtual Machine ก็จะนิ่งเงียบ ไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ให้ระบบตรวจจับได้ Malware Analysis Appliance (MAA) เป็นโซลูชัน Advanced Sandboxing ของ Symantec + Blue Coat ที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยมีคุณสมบัติ Dual-Detection Hybrid Analysis กล่าวคือ นอกจาก Virtual Machine แล้ว MAA ยังมี PC Emulator สำหรับใช้ตรวจสอบพฤติกรรมของมัลแวร์ที่หลบเลี่ยงการรันบน Virtual Machine ได้อีกด้วย นอกจากนี้ Virutal Machine ของ MAA เองยังรองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม เพื่อให้เหมือนการใช้งานในสภาวะแวดล้อมจริงมากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญคือ เมื่อ CAS และ MAA ของ Blue Coat ตรวจพบภัยคุกคามแล้ว สามารถแจ้งเตือนไปยัง Endpoint Protection ของ Symantec เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบเดียวกันในอนาคตได้ ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงปลอดภัยเชิงรุกให้แก่อุปกรณ์ Endpoint ขณะใช้งานนอกองค์กร

แผนภาพด้านล่างแสดงขั้นตอนการวิเคราะห์และตรวจจับมัลแวร์ของ Symantec + Blue Coat โดยสรุป

Symantec SEP 14 พร้อมฟีเจอร์ใหม่รับมือกับ Advanced Threats โดยเฉพาะ

Symantec Endpoint Protection 14 หรือ SEP 14 เป็นโซลูชัน Next-generation Endpoint Protection ล่าสุดของ Symantec ที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องอุปกรณ์ Endpoint จากทั้ง Known และ Unknown Threats โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีกว่าเวอร์ชันก่อนหน้านี้ถึง 15% และกินทรัพยากรของเครื่องต่ำ ที่สำคัญคือ SEP 14 มีการเพิ่มคุณสมบัติ Incident Response ซึ่งช่วยแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว

ฟีเจอร์เด่นของ SEP 14 ประกอบด้วย

  • Host-based Firewall & Intrusion Prevention: บล็อกมัลแวร์ก่อนที่จะแพร่กระจายเข้าสู่เครื่อง และคัดกรองทราฟฟิค
  • Application and Device Control: ควบคุมการใช้อุปกรณ์และแอพพลิเคชัน ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ใช้ รวมไปถึงการทำ Blacklisting และ Whitelisting
  • Memory Exploit Mitigation: ป้องกัน Zero-day Exploits ผ่านทางช่องโหว่ของซอฟต์แวร์
  • Reputation Analysis: ตรวจสอบว่าไฟล์และเว็บไซต์ที่กำลังเข้าถึงมาจากช่องทางที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่
  • Advanced Machine Learning: ตรวจจับ Known และ Unknown Threats ร่วมกับระบบ Intelligent Threat Cloud ตั้งแต่ Pre-execution Phase โดยไม่ต้องใช้ Signatures
  • Emulator: เทคนิค Anti-evasion สำหรับตรวจจับมัลแวร์ที่แอบซ่อนตัวจากระบบตรวจจับ
  • Antivirus: ตรวจจับและกำจัดมัลแวร์บนระบบคอมพิวเตอร์
  • Behavior Monitoring: เฝ้าระวังและบล็อกไฟล์ที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยหรือผิดแปลกไปจากปกติ
  • Intelligent Threat Cloud: ตรวจสอบภัยคุกคามด้วยฐานข้อมูลล่าสุดบนระบบ Cloud ซึ่งช่วยลดขนาดของ Signature ลงได้ถึง 70% รวมถึงช่วยลดภาระการทำงานของ Agent

นอกจากนี้ SEP 14 ยังเพิ่มฟีเจอร์สำหรับทำ Incident Response เพื่อให้ตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  • Power Eraser: กำจัดมัลแวร์อย่างถอนรากถอนโคน
  • Host Integrity: ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ กักกันอุปกรณ์เพื่อควบคุมการแพร่กระจาย และประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • System Lockdown: ทำ Blacklist และ Whitelist สำหรับแอพพลิเคชันที่ต้องสงสัย และที่เชื่อถือได้
  • Secure Web Gateway Integration: ทำงานร่วมกับ Secure Web Gateway เพื่อแจ้งเตือนและรับมือกับภัยคุกคามแบบเชิงรุก
  • EDR Console: ทำงานร่วมกับ Symantec ATP Endpoint เพื่อตรวจจับและรับมือกับภัยคุกคามระดับสูงโดยไม่ต้องติดตั้ง Agent เพิ่มเติม

กล่าวโดยสรุป SEP 14 เป็นการรวม 4 ฟีเจอร์เข้าด้วยกัน ได้แก่ Anti-malware, Next-generation Endpoint Protection, Exploit Prevention และ Endpoint Detection & Response

Symantec DLP ป้องกันข้อมูลรั่วไหลสู่สาธารณะอย่างอัจฉริยะ

Data Loss Prevention หรือ DLP เป็นโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยพื้นฐานขององค์กร เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญและข้อมูลความลับ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน และอื่นๆ ไม่ให้รั่วไหลออกจากองค์กรสู่สาธารณะ ซึ่งสิ่งท้าทายที่สุดสำหรับผู้ดูแลระบบคือการกำหนดเงื่อนไขสำหรับตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ฟังก์ชัน DLP ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น Next-generation Firewall, Secure Web Gateway มักต้องกำหนดเงื่อนไขของการตรวจสอบข้อมูลสำคัญผ่าน Keyword หรือ Regular Expression ซึ่งทำได้ยาก ไม่ครอบคลุม และโอกาสเกิด False Positive สูง Symactec DLP จึงนำเสนอเทคนิคอัจฉริยะ 5 รายการเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ

  1. Described Content Matching: ระบุ Keyword หรือ Regular Expression เพื่อกำหนดรูปแบบของข้อมูลสำคัญด้วยตนเอง
  2. Exact Data Matching: เปรียบเทียบข้อมูลที่ออกจากองค์กรกับฐานข้อมูลสำคัญที่กำหนดไว้แต่แรก
  3. Indexed Document Matching: สร้างเงื่อนไขผ่านการทำ Hashing ข้อมูลแต่ละส่วนในไฟล์เอกสารสำคัญ ถ้าข้อมูลในไฟล์เอกสารอื่นมีผลลัพธ์การ Hashing ตรงกัน ระบบจะทำการบล็อกเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล
  4. Vector Machine Learning: จัดทำ Keyword จากไฟล์เอกสารสำคัญโดยอัตโนมัติ เพื่อนำไปเป็นเงื่อนไขในการตรวจสอยการรั่วไหลของข้อมูล
  5. Form Recognition: กำหนด Form ที่ระบุข้อมูลสำคัญ ถ้าพบว่ามีการกรอกข้อมูลลงบน Form นั้นๆ แล้วส่งออกภายนอก ระบบจะทำการบล็อกทันที

นอกจากนี้ Symantec DLP ยังสามารถทำงานร่วมกับ Symactec ClouSOC หรือ CASB เพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญขององค์กรถูกเคลื่อนย้ายไปสู่ระบบ Cloud โดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกด้วย

แนะนำโซลูชันอื่นๆ จาก Symantec + Blue Coat

นอกจากหลายโซลูชันที่มีการอัปเดตฟีเจอร์ครั้งใหญ่มากมาย Symantec + Blue Coat ยังนำเสนอโซลูชันอื่นๆ ที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในสภาวะแวดล้อมแบบต่างๆ ตั้งแต่การป้องกันในระดับ Endpoint ไปจนถึงระดับ Network และ Cloud ดังนี้

  • Blue Coat Advanced Secure Gateway: Appliance ที่ผสานรวมโซลูชัน Secure Web Gateway และ Content Analysis System ไว้ภายในฮาร์ดแวร์เดียวกัน ซึ่งช่วยควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพนักงานในองค์กร พร้อมทั้งปกป้องพวกเขาจากภัยคุกคามทั้ง Known และ Unknown Threats ภายในอุปกรณ์เดียวกัน รวมถึงช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง บริหารจัดการ และบำรุงรักษา
  • Blue Coat Encrypted Traffic Management: อุปกรณ์สำหรับทำถอดรหัส SSL แล้วส่งข้อมูลแบบ Plain-text ต่อไปให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น Next-generation Firewall, IPS, Sandbox และ DLP เพื่อทำการประมวลผลและคัดกรองทราฟฟิค ภายใต้แนวคิด “Decrypt Once – Feed Many” ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระการถอดรหัสได้สูงสุดถึง 80%
  • Blue Coat Security Analytics: อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลทราฟฟิคทั้งหมด พร้อมสร้าง Metadata เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนเป็นกล้องวงจรปิดซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถดูทราฟฟิคย้อนหลังเมื่อมี Incident เกิดขึ้น เพื่อทำการตรวจสอบ วิเคราะห์ และเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ภัยคุกคามได้
  • Blue Coat CASB: Cloud Access Security Broker หรือ CASB เป็นโซลูชัน Cloud SOC สำหรับบริหารจัดการและควบคุมการใช้ Cloud Applications เช่น Office 365, Salesforce, Dropbox และอื่นๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่องค์กรกำหนด เพื่อลดปัญหา Shodow IT และ Shadow Data อันเนื่องมาจากการใช้ Cloud Applications โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • Blue Cloud Data Protection: โซลูชันสำหรับปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรตั้งแต่เดินทางออกไปยังระบบ Cloud ระหว่างถูกจัดเก็บอยู่ในระบบ Cloud และเมื่อถูกนำไปใช้ โดยอาศัยเทคนิคสำคัญ 2 ประการคือ Encryption และ Tokenization ถึงแม้ว่าข้อมูลจะถูกดักฟังหรือรั่วไหลสู่ภายนอก บุคคลที่สามและแฮ็คเกอร์ก็ไม่สามารถอ่านหรือเข้าใจได้
  • Symantec Endpoint Management: ตรวจสอบและบริหารจัดการการตั้งค่าบนอุปกรณ์ Endpoint ให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรโดยอัตโนมัติ เช่น ติดตั้งแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจ อัปเดตแพทช์ล่าสุด ตั้งค่าการใช้อีเมลและระบบเครือข่ายไร้สาย รวมไปถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยรองรับทั้ง Windows, Mac OS X และ Linux
  • Symantec Encryption: โซลูชันสำหรับเข้ารหัสข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ไฟล์ที่แชร์ผ่านเครือข่าย อีเมล และอุปกรณ์พกพา สำหรับกรณีที่อุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมย นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานร่วมกับ Symantec DLP เพื่อเข้ารหัสเฉพาะข้อมูลสำคัญได้
  • Symantec Advanced Threat Protection Platform: ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนภัยคุกคามระดับสูง ไม่ว่าจะเป็น Unknown Malware หรือ Zero-day Exploits ทั้งบนระบบเครือข่าย ระบบอีเมล และ อุปกรณ์ Endpoint โดยใช้เทคโนโลยีสำคัญหลายประการ เช่น IoC Feeds, IPS, Antivirus, Reputation Analysis, Endpoint Behaviors, Machine Learning และ Cloud-based Sandboxing & Correlation
  • Symantec Data Center Security: โซลูชันที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันภัยคุกคามบนเซิร์ฟเวอร์ภายในห้อง Data Center โดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมระบบ Virtualization, Platforms, Cloud Providers/Platforms และ Containers โดยมีฟีเจอร์เด่น ได้แก่ Host-based IPS, Sandboxing & Process Access Control, File & System Tamper Prevention, Memory Control, Real-time File Integrity Monitoring, Configuration Monitoring และอื่นๆ
  • Symantec Secure Mail Gateway: โซลูชันการป้องกันมัลแวร์และ SPAM สำหรับระบบอีเมล ซึ่งมาพร้อมกับคุณสมบัติ Adaptive Reputation Management ที่สามารถกรอง SPAM จากผู้ส่งที่ไม่พึงประสงค์ได้มากถึง 95% นอกจากนี้ยังมีระบบ DLP สำหรับป้องกันข้อมูลสำคัญในอีเมลรั่วไหลสู่ภายนอก และระบบการเข้ารหัสอีเมลเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้ถึงขีดสุด

Cyber Security Services: บริการ Managed Security Services ของ Symantec ซึ่งพร้อมดูแล ให้คำปรึกษา เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนเมื่อมีภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายอันแสนสำคัญของลูกค้า รวมไปถึงมีบริการอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยให้แก่พนักงานในองค์กร

ภาพด้านล่างแสดงโซลูชันรวมทั้งหมดของ Symantec และ Blue Coat ทั้งแบบ On-premise และ Cloud-based ภายใน 1 หน้า

ปิดท้ายด้วยรูปทีมงาน Symantec + Blue Coat ครับ

from:https://www.techtalkthai.com/symantec-blue-coat-intro-to-2017/

IDC MarketScape: ผลการประเมินผลิตภัณฑ์ Email Security ประจำปี 2016

IDC สถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐฯ ออกรายงานผลการประเมิน IDC MarketScape: Worldwide Email Security 2016 Vendor Assessment ฉบับล่าสุด พบผลิตภัณฑ์จาก Vendor 5 รายที่ได้ตำแหน่ง Leader ได้แก่ Forcepoint, Cisco, Trend Micro, Fortinet และ Symantec

IDC ให้ความเห็นว่า Email Security ในตลาดปัจจุบันควรพร้อมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ และครอบคลุมการเชื่อมต่อระหว่างระบบอีเมลและแอพพลิเคชันอื่นๆ ของธุรกิจ เช่น Office 365 รวมไปถึงพร้อมให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Subscription-as-a-service (SaaS), Hybrid, Software-on-premise และ Physical Appliance เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานระบบ Cloud มากขึ้น นอกจากนี้ ควรมีฟีเจอร์ Anti-spear phishing, Antiwhaling และ Specialized Threat Analysis and Protection (STAB) เพื่อช่วยป้องกันการโจมตีแบบ Social Engineering และ Business Email Compromise

เกณฑ์ในการประเมินของ IDC ประกอบด้วย 4 รายการ คือ

  • Full Email Security Gateway Capabilities – สามารถตรวจจับและป้องกันมัลแวร์ สแปม และกรองข้อมูลบนอีเมลได้
  • Revenue – รายได้ขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า $10 ล้าน (ประมาณ 36 ล้านบาท) ต่อปี
  • Data Loss Prevention – ต้องมีเทคนิคในการป้องกันข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอกองค์กร
  • Geographic Presence – เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการยอมรับในระดับโลก

จากเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลให้มี Vendor ที่เข้าร่วมการประเมิน ได้แก่ Barracuda, Cisco, Dell SonicWALL, Forcepoint, Fortinet, Mimecast, Proofpoint, Retarus, Sophos, Symantec และ Trend Micro

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านผลวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์ในตำแหน่ง Leader ได้ตามลิงค์ด้านล่าง (ขณะนี้มีเผยแพร่แล้ว 2 ราย)

from:https://www.techtalkthai.com/idc-marketscape-email-security-2016/

Check Point เปิดตัว Plug-in สำหรับป้องกัน Zero-day บนเว็บเบราเซอร์แบบเรียลไทม์

check_point_logo

Check Point ผู้ให้บริการโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยยักษ์ใหญ่ของโลก เปิดตัว SandBlast Agent สำหรับเป็น Plug-in เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Zero-day บนเว็บเบราเซอร์ โดยอาศัยการตรวจสอบและวิเคราะห์ภัยคุกคามบนระบบ Cloud แบบเรียลไทม์

check_point_sandblast_agent_1

SandBlast Agent เป็น Anti-malware และ Anti-phishing ในรูปของ Extension สำหรับเว็บเบราเซอร์ ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เป็นมัลแวร์บนเว็บไซต์ และการโจมตีแบบ Phishing โดยเฉพาะ โซลูชันดังกล่าวจะป้องกันผู้ใช้จาก File และ Content แปลกปลอมที่ดาวน์โหลดมากจากเว็บไซต์ที่มีมัลแวร์แฝงตัวอยู่ ฟีเจอร์สำคัญของ SandBlast Agent ประกอบด้วย

  • การป้องกัน Advanced Malware เชิงรุกแบบเรียลไทม์ สามารถปกป้องเอกสารและ Content สำคัญของผู้ใช้ได้ภายในไม่กี่วินาที
  • การวิเคราะห์แบบไดนามิคช่วยป้องกันการโจมตีแบบ Unknown และ Zero-day Phishing ที่พุ่งเป้าขโมยข้อมูลรหัสผ่านของผู้ใช้
  • ติดตั้งได้ง่ายภายในเวลาไม่กี่นาที โดยเป็น Extension สำหรับ Internet Explorer และ Google Chrome รวมถึงกินทรัพยากรของเว็บเบราเซอร์ต่ำ
  • มีอัตราการตรวจจับมัลแวร์สูงที่สุด โดยอาศัยเทคนิตการตรวจจับระดับ CPU-Level บนระบบ Advanced Cloud Sanboxing

“ภายในองค์กรที่ธุรกิจกำลังเติบโต การรักษาอุปกรณ์ Endpoint ให้มั่นคงปลอดภัยนับว่าเป็นสิ่งท้าทายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฮ็คเกอร์ที่นับวันจะสรรหาวิธีการทำ Social Engineering ใหม่ๆ มาหลอกพนักงานในองค์กร การมี Extension สำหรับเบราเซอร์ที่ง่ายต่อการติดตั้งช่วยให้สามารถป้องกันการโจมตีเหล่านั้นได้ ในขณะที่ไม่ส่งผลให้การทำงานของพนักงานลดประสิทธิภาพลง เรียกได้ว่าเป็น Game-changer สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้าง Mobile Workforce เลยทีเดียว” — Saul Schwart ผู้จัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับองค์กรจาก se2 ให้ความเห็น

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.checkpoint.com/products/endpoint-sandblast-agent/

ที่มา: http://www.informationsecuritybuzz.com/articles/check-point-introduces-first-real-time-zero-day-protection-web-browsers/

from:https://www.techtalkthai.com/check-point-sandblast-agent-for-web-browser/

Webroot SecureAnywhere: ตอบโจทย์ Endpoint & Mobile Security ครบวงจร

webroot_logo

ปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตกลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานของหลายๆองค์กร แต่ละองค์กรต่างใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการอัพเดทข่าวสารข้อมูล ติดต่อสื่อสารกับภายนอก หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิงแก่พนักงาน สิ่งที่ตามมาบนระบบอินเตอร์เน็ตอันไร้ขีดจำกัดนี้คือมัลแวร์บนโลกไซเบอร์ที่พร้อมแพร่กระจายตัวสู่ระบบเครือข่ายเพื่อแอบขโมยข้อมูล ขัดขวางก่อกวน หรือดิสเครดิตองค์กร

ในเวลานี้มีมัลแวร์รูปแบบใหม่ๆปรากฏขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์แบบ Zero-day มัลแวร์ที่มีเทคนิคหลบเลี่ยงระบบความปลอดภัย หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) เป็นต้น จึงเป็นเรื่องยากที่ระบบป้องกันภัยคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม เช่น โปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือระบบป้องกันภัยคุกคามแบบอาศัยฐานข้อมูลรูปแบบการโจมตี (Signature-based IPS/IDS) จะสามารถป้องกันมัลแวร์เหล่านี้ได้อยู่หมัด นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของมัลแวร์ เนื่องจากมีความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป การป้องกันมัลแวร์ให้ครอบคลุมปัญหาทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากในปัจจุบัน

webroot_banner

สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ หยุดมัลแวร์ก่อนทำอันตราย

Webroot ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยแบบ All-in-one ตระหนักถึงปัญหาการเติบโตของมัลแวร์ดังกล่าว จึงได้นำเสนอโซลูชันป้องกันมัลแวร์แบบ Next-generation ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับ Big Data ส่งผลให้สามารถตรวจสอบและระบุมัลแวร์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคอยอัพเดทฐานข้อมูลมัลแวร์อีกต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถหยุดยั้งมัลแวร์ได้ตั้งแต่เริ่มแพร่ตัวเข้ามาในระบบเครือข่ายก่อนที่จะเริ่มทำอันตรายต่อระบบอีกด้วย

Webroot SecureAnywhere ประกอบด้วย 4 โซลูชันหลัก คือ Endpoint Security, Mobile Security, Web Security และ Threat Intelligence Services ซึ่งสามารถปกป้องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจากมัลแวร์และภัยคุกคามต่างๆได้อย่างครบวงจร

1. Endpoint Security

Endpoint Protection นับว่าเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของหลายๆองค์กร เพราะเป็นปราการด่านสุดท้ายในการป้องกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากมัลแวร์และภัยคุกคามต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีการตรวจจับรูปแบบและเรียนรู้พฤติกรรมของไฟล์ข้อมูล ผสานกับขุมพลังการประมวลผลเพื่อวิเคราะห์มัลแวร์อันไร้ขีดจำกัดของระบบคลาวด์ ช่วยให้ Webroot สามารถตรวจจับและหยุดยั้งมัลแวร์และภัยคุกคามแบบ Zero-day ได้ตั้งแต่เริ่มแพร่เข้าสู่คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ การใช้สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ยังช่วยลดภาระงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์และไม่จำเป็นต้องหมั่นอัพเดทฐานข้อมูลมัลแวร์บ่อยๆอีกด้วย

webroot_ep_1

Webroot Intelligence Network (WIN) ระบบคลาวด์สำหรับตรวจจับมัลแวร์อัจฉริยะ

WIN ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบ Endpoint Protection ของ Webroot โดยจะรับข้อมูลจาก Agent ทั่วโลกและใช้ประโยชน์จากขุมพลังระบบคลาวด์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลมัลแวร์ในระดับ Big Data ผ่านทางระบบเรียนรู้พฤติกรรมและระบบตรวจจับโค้ดแปลกปลอมที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ตรวจจับมัลแวร์และสิ่งผิดปกติโดยเฉพาะ จนถึงปัจจุบันนี้ WIN ได้รวบรวมพฤติกรรมของมัลแวร์ไว้แล้วมากกว่า 300 ล้านรูปแบบ และข้อมูลภัยคุกคามมากกว่า 200 เทราไบต์ จึงมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งาน Webroot จะได้รับการปกป้องจากมัลแวร์ทั้งที่รู้จักอยู่แล้วและที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอย่างแน่นอน

webroot_ep_3

มอนิเตอร์ช่วงชีวิตของมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์

Webroot นับเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่สามารถตามติดช่วงชีวิตของมัลแวร์ (Dwell Time) ได้ตั้งแต่เริ่มแพร่เข้าสู่ระบบเครือข่าย เข้าโจมตีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถูกตัดสินว่าเป็นภัยคุกคาม จนไปถึงเวลาที่ Webroot หยุดการทำงานของมัลแวร์นั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่พบไฟล์หรือโพรเซสใหม่ที่ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นภัยคุกคาม Agent ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์จะติดตามและบันทึกการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อคอยตรวจสอบสิ่งผิดปกติ ถ้าพบว่าไฟล์หรือโพรเซสดังกล่าวมีพฤติกรรมเป็นมัลแวร์ Agent ก็จะกำจัดมัลแวร์ทิ้งและย้อนการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เกี่ยวข้องให้กลับไปอยู่ในสถานะก่อนที่จะติดมัลแวร์

webroot_ep_2

คุณสมบัติอื่นที่สำคัญของระบบ Endpoint Security

  • Agent มีขนาดเล็กและเร็วที่สุดในโลก โดยกินพื้นที่น้อยกว่า 750 KB และใช้ RAM น้อยกว่า 15 MB ขณะทำการสแกนระบบทั้งหมด
  • สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอื่นได้อย่างไม่มีปัญหา
  • สามารถติดตั้ง Agent และพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 วินาที
  • มีระบบป้องกัน Identity และ Privacy ของผู้ใช้ ไม่ให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหลสู่ภายนอก
  • มีระบบป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ Phishing หรือโดเมนที่ต้องสงสัยว่าผิดปกติ
  • มี Offline Policy เมื่อขาดการติดต่อจากอินเตอร์เน็ต ช่วยป้องกันมัลแวร์จากอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น CD/DVD หรือ USB
  • Agent รองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS X, Virtualization, Terminal Server และระบบ Citrix
  • สามารถทำงานร่วมกับระบบ BrightCloud Threat Intelligence Services เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการวิเคราะห์และตรวจจับมัลแวร์ได้

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.webroot.com/us/en/business/products/endpoint/

2. Mobile Security

ด้วยขนาดพกพาที่เล็กและกระทัดรัด อุปกรณ์โมบายล์ เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ได้ถูกนำมาใช้งานในองค์กรเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่ผู้ไม่ประสงค์ดีนิยมโจมตี เนื่องจากมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งน้อยกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทำให้สามารถเจาะเข้าระบบเครือข่ายหรือขโมยข้อมูลจากอุปกรณ์ได้ง่าย จากการสำรวจพบว่า ในปี 2013 มีอุปกรณ์โมบายล์ได้รับผลกระทบจากมัลแวร์เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ถึง 2 เท่า แล้วยังคงมีแนวโน้วสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Webroot SecureAnywhere Mobile Protection จึงได้ถูกพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การป้องกันภัยคุกคามบนอุปกรณ์โมบายล์ ทั้ง Apple iOS และ Android ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันมัลแวร์ การบล็อกเว็บไซต์อันตราย การป้องกันการไฮแจ็คแอพพลิเคชัน รวมไปถึงปกป้องข้อมูลขององค์กรและข้อมูลผู้ใช้ในกรณีที่ทำอุปกรณ์หายหรือถูกขโมย นอกจากนี้ Mobile Protection ยังคงแนวคิดเช่นเดียวกับระบบ Endpoint Protection กล่าวคือ เน้นใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ WIN สมรรถนะสูงในการตรวจจับมัลแวร์ จึงช่วยให้บริโภคทรัพยากรเครื่องต่ำ และส่งผลกระทบต่อแบตเตอรี่น้อยมาก

webroot_mp_1

คุณสมบัติสำคัญของระบบ Mobile Security

  • ป้องกันแอพพลิเคชัน: ให้ข้อมูลสถานะความเสี่ยงของแต่ละแอพพลิเคชัน รวมถึงป้องกันมัลแวร์ด้วยสถาปัตยกรรมคลาวด์ WIN
  • ป้องกันเว็บไซต์: ปกป้องผู้ใช้จากการเข้าถึงเว็บอันตราย เช่น เว็บ Phishing หรือเว็บต้มตุ๋น
  • ปกป้องข้อมูล: เข้ารหัสข้อมูลสำคัญ และทำการสำรองข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ
  • ปกป้องอุปกรณ์: สามารถระบุตำแหน่ง ล็อคอุปกรณ์ และลบข้อมูลของอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกขโมยได้
  • อื่นๆ: ช่วยตั้งค่าการใช้งานอีเมลล์ Wi-Fi และนโยบายอื่นๆให้โดยอัตโนมัติ

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.webroot.com/us/en/business/products/mobile/

เพื่อสนองความต้องการใช้งาน BYOD ที่ปัจจุบันนี้ผู้ใช้หลายคนได้นำอุปกรณ์ของตนเองเข้ามาใช้งานในองค์กร และเพื่อให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ Webroot SecureAnywhere ทาง Webroot ได้นำเสนอโซลูชัน Business User Protection ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ระบบ Endpoint Security และ Mobile Security รวมกันได้ทันที 4 อุปกรณ์ต่อการซื้อ 1 License

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.webroot.com/us/en/business/products/user-protection

3. Web Security

ความปลอดภัยในการเข้าถึงเว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลระบบควรตระหนักถึง เนื่องจากเว็บไซต์เป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลภายนอกโดยที่ทุกคนในองค์กรสามารถใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม เว็บเบราเซอร์ไม่ว่าจะเป็น IE, Chrome หรือ Firefox ต่างมีช่องโหว่ที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีปรากฏให้เห็นเรื่อยๆ Spear-phishing เองก็นับว่าเป็นภัยคุกคามที่ต้องพึงระวังสำหรับการเข้าถึงเว็บไซต์ นอกจากนี้ การขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเว็บไซต์ให้ปลอดภัยของพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ภายในองค์กรเสี่ยงต่อการถูกโจมตีหรือติดมัลแวร์ได้

Webroot จึงได้นำเสนอโซลูชัน Web Security Service บนระบบคลาวด์ที่ช่วยกลั่นกรองทราฟฟิคของเว็บไซต์ไม่ให้พนักงงานในองค์กรเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย รวมทั้งป้องกันมัลแวร์และการโจมตีต่างๆที่อาจเกิดขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดนโยบายควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่องค์กรอีกด้วย

webroot_ws_1

คุณสมบัติสำคัญของระบบ Web Security

  • ป้องกันภัยคุกคามและมัลแวร์: มีระบบแอนตี้ไวรัส แอนตี้สปายแวร์ และระบบป้องกันเว็บ Phishing บนคลาวด์ (WIN) เพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งหมดก่อนที่จะเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กร โดยรองรับโปรโตคอล HTTP, FTP บน HTTP และ HTTPS นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันการใช้งาน Proxy แปลกปลอม (Anonymous Proxy) อีกด้วย
  • ระบบกรอง URL ชั้นเลิศ: สามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าถึง URL ตามชื่อ URL, ประเภทของเว็บไซต์, ประเภทไฟล์ และขนาดไฟล์ได้ รวมไปถึงสามารถบล็อคโฆษณาบนหน้าเว็บเพจที่อาจนำไปสู่มัลแวร์หรือเว็บ Phishing ได้เป็นอย่างดี
  • ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ทุกที่ ทุกเวลา: ด้วยสถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ ส่งผลให้นโยบายการป้องกันภัยคุกคามและควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์สามารถติดตามพนักงานไปได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งทำงานในที่ทำงาน ที่บ้าน โรงแรม หรือแม้แต่ร้านกาแฟ โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ VPN กลับเข้ามาที่องค์กรแต่อย่างใด
  • สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันอื่น เช่น Endpoint Security, Mobile Security และ Threat Intelligence Services ได้อย่างไร้รอยต่อ

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.webroot.com/us/en/business/products/web-security/

4. Threat Intelligence Services

BrightCloud เป็นระบบ Threat Intelligence ของ Webroot ที่มีการรวบรวมข้อมูล URL, พฤติกรรมของไฟล์, โดเมน และหมายเลข IP จากเซ็นเซอร์มากกว่า 8 ล้านเซ็นเซอร์ทั่วโลก เพื่อช่วยสนับสนุนระบบคลาวด์ WIN ให้สามารถป้องกันภัยคุกคามจากแหล่งที่มาที่ไม่น่าไว้วางใจได้ทันท่วงทีก่อนที่จะทำอันตรายระบบเครือข่ายขององค์กร

webroot_bc_2

สถิติข้อมูลบน BrightCloud

  • จัดประเภทและให้คะแนนโดเมนและ URL มากกว่า 460 ล้านโดเมน และ 1.3 หมื่นล้าน URL ทั่วโลก
  • บันทึกข้อมูลพฤติกรรมของไฟล์มากกว่า 4 พันล้านรูปแบบ
  • ติดตามหมายเลข IP มากกว่า 4.3 พันล้านหมายเลข และวิเคราะห์เสร็จสิ้นไปแล้วกว่า 740 ล้านหมายเลข
  • ยืนยันหมายเลข IP อันตรายมากกว่า 12 ล้านหมายเลข และมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง
  • ติดตามและตรวจสอบแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์โมบายล์มากกว่า 10 ล้านแอพ

บริการของ BrightCloud ประกอบด้วย

  • Web Classification
  • Web Reputation
  • Real-Time Anti-Phishing
  • File Reputation
  • Mobile App Reputation
  • SecureWeb Browser SDK
  • IP Reputation
  • Mobile Security SDK

นอกจากนี้ BrightCloud ยังเป็นพันธมิตรกับบริษัทไอทีขนาดใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยมากมาย ได้แก่

webroot_bc_1

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.brightcloud.com/

Promotion สำหรับทดลองใช้งาน Webroot SecureAnywhere

เพื่อให้องค์กรและผู้ที่สนใจได้ทดลองใช้และเข้าใจถึงแนวคิดในการป้องกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จากมัลแวร์และภัยคุกคามสมัยใหม่ บริษัท Bangkok System & Software Co.,Ltd. ตัวแทนจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ Webroot SecureAnywhere จึงจัดเตรียมอุปกรณ์ให้ผู้ที่สนใจทดสอบการใช้งานได้ในงาน CDIC Conference 2015 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 28-29 ตุลาคมนี้ ณ บูธ G17 – 18 BITEC บางนา สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนในงานนี้ สามารถรับโปรโมชัน

  • ฟรี 1,000 Endpoint License เป็นเวลา 90 วัน พร้อมการติดตั้งและฝึกอบรม)
  • หรือ ซื้อ 2 ปี Endpoint License ได้ปีที่ 3 ฟรี (พร้อมการติดตั้งและฝึกอบรม)

ติดต่อ Bangkok System & Software Co.,Ltd.

ทุกผลิตภัณฑ์และโซลูชันของ Webroot พร้อมให้บริการในประเทศไทยแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือทดสอบการใช้งานได้ที่บริษัท Bangkok System & Software Co.,Ltd. โดยติดต่อ คุณคริส IT Security Manager โทร 085-552-2333 หรืออีเมลล์ krisnawani@bangkoksystem.com

bangkoksystem_logo

from:https://www.techtalkthai.com/webroot-secureanywhere-endpoint-and-mobile-security/

ผลการทดสอบ Anti-Phishing ประจำปี 2015 โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันการโจมตีแบบ Phishing ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 10 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

Phishing คืออะไร

Phishing คือ เทคนิคการหลอกลวงบนอินเตอร์เน็ตเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆผ่านทางการส่งข้อความผ่านอีเมลล์หรือโปรแกรมแชท พร้อมทั้งแนบลิงค์ URL เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กดเข้าไป เช่น ระบุว่าตนเองเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ หรือกรอกข้อมูลใหม่ผ่านทาง URL ดังกล่าว แต่ที่จริงแล้วเป็น URL ปลอมหน้าตาคล้ายคลึงของจริงที่แอบหลอกดักข้อมูลของผู้ใช้

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

มีทั้งหมด 10 เจ้าที่มีฟีเจอร์การป้องกัน Phishing ได้แก่

av_comparatives_anti-phishing_2015_1

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 7 Professional 64 bits และ Internet Explorer 11 ซึ่งไม่มีการเปิดใช้ฟีเจอร์บล็อก Phishing ที่ติดตั้งมาให้บนเบราเซอร์
  • ทุกผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ ใช้การตั้งค่าดั้งเดิมจากโรงงาน (Default)
  • ทดสอบ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2015
  • เว็บไซต์ Phishing ที่ใช้ทดสอบเป็นเว็บที่มีอยู่จริง และหลอกผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลจริงๆ เช่น เว็บที่หลอกถามข้อมูลล็อกอิน, บัตรเครดิต, Paypal, ข้อมูลธนาคาร, โซเชียลเน็ตเวิร์ค, เกม และอื่นๆ รวมทั้งหมด 245 เว็บไซต์

ผลการทดสอบ

เรียงลำดับตามเปอร์เซ็นที่ผลิตภัณฑ์สามารถบล็อกเว็บไซต์ Phishing ได้

  1. Kaspersky Lab – 98%
  2. Fortinet – 92%
  3. Bitdefender และ Trend Micro – 91%
  4. ESET – 90%
  5. BullGuard และ F-Secure – 84%
  6. Emsisoft และ Lavasoft – 71%
  7. Baidu – 52%

av_comparatives_anti-phishing_2015_3

ผลการทดสอบ False Alarm

False Alarm หรือการแจ้งเตือนผิดพลาดเนื่องจากระบุว่าเว็บไซต์ปกติเป็นเว็บไซต์ Phishing โดยทำการทดสอบกับเว็บไซต์ธนาคารกว่า 500 เว็บทั่วโลก (ทั้งหมดเป็น HTTPS และมีช่องสำหรับล็อกอิน) พบว่ามีเพียง F-Secure เท่านั้นที่มีการตรวจจับผิดพลาดทั้งหมด 1 ครั้ง

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av_comparatives_anti-phishing_2015_4

* F-Secure ถูกลดระดับ 1 ขั้น เนื่องจากมี False Alarm

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/08/avc_phi_201508_en.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/anti-phishing-test-2015-by-av-comparatives/