คลังเก็บป้ายกำกับ: Service

ศูนย์ข้อมูล Azure ที่สิงคโปร์ไฟตก ระบบความทำเย็นดับ ทำ 1 AZ ใน SEA ล่ม

หนึ่งในศูนย์ข้อมูลของ Microsoft Azure ที่สิงคโปร์เกิดเหตุการณ์ไฟตก จนทำให้ระบบทำความเย็นไม่ทำงาน ทาง Microsoft จึงต้องสั่งลดการทำงานศูนย์ข้อมูลลง เป็นเหตุให้ 1 Available Zone ของ South East Asia Region ล่ม ไม่สามารถให้บริการได้ (จากทั้งหมด 3 AZ)

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณตี 3 เมื่อเช้าบ้านเราที่ผ่านมา จนตอนนี้ยังไม่สามารถกู้ระบบทำความเย็นกลับมาได้

ที่มา – Azure Status

from:https://www.blognone.com/node/132548

Amazon Restaurants ไปต่อไม่ไหว นับถอยหลังปิดบริการจัดส่งอาหาร

ขนาดยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ยังไม่อยากสู้ในตลาดบริการรับส่งอาหารจากร้าน ล่าสุดมีรายงานว่าบริการจัดส่งอาหาร Amazon Restaurants กำลังเตรียมโบกมือลาสหรัฐฯช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ปิดฉากหลังจาก Amazon เริ่มต้นให้บริการครั้งแรกที่ซีแอตเทิลตั้งแต่ปี 2015

ในช่วงเวลามากกว่า 3 ปีที่ผ่านมา Amazon Restaurants ขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเมืองใหญ่ 20 เมืองในสหรัฐฯ และล่าสุดคือลอนดอน บริการนี้เปิดให้สมาชิก Prime สามารถสั่งอาหารจากร้านผ่านทั้งหน้าเว็บไซต์ของ Amazon Restaurants และแอปพลิเคชัน Prime Now ที่สมาชิกใช้ช็อปปิ้ง แต่ทุกอย่างไม่สวยงามอย่างที่คิด ทำให้ Amazon ยกเลิกบริการในลอนดอนตั้งแต่พฤศจิกายนปีที่แล้ว

เวลาผ่านไปไม่ถึง 6 เดือน โฆษก Amazon ระบุกับสำนักข่าว GeekWire ว่าบริการจัดส่งอาหาร Amazon Restaurants จะปิดบริการในสหรัฐฯตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายนนี้ โดยย้ำว่าพนักงานที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดบริการมีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ถูกโยกย้ายไปดำเนินงานในตำแหน่งหน้าที่อื่น ขณะที่อีกส่วนได้รับการสนับสนุนเป็นรายคนเพื่อค้นหางานใหม่ทั้งภายในหรือภายนอกบริษัท

สู้ไม่ไหว

การปิดบริการ Amazon Restaurants ถูกแปลความหมายว่าเป็นการยอมรับความพ่ายแพ้ว่าไม่สามารถสู้กับยักษ์ใหญ่บริการส่งอาหารทั้ง Uber Eats และ GrubHub ในตลาดสหรัฐฯ รวมถึงตลาดอังกฤษที่ทำให้ Amazon ตัดสินใจลงทุนกว่า 575 ล้านเหรียญกับบริการ Deliveroo ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Uber Eats โดยตรงในแดนผู้ดีตั้งแต่พฤษภาคมที่ผ่านมา

Uber, Grubhub และอีกรายคือ DoorDash นั้นแข่งกันเติบโตรวดเร็วในตลาดบริการรับส่งอาหารอเมริกันตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้ง 3 บริษัทนี้มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่า 75% เมื่อเทียบกับภาพรวมตลาดเดลิเวรี่ในสหรัฐอเมริกา

เฉพาะ Uber Eats ซึ่งเปิดบริการมานานกว่า 3 ปี ขยายไป 500 เมืองทั่วโลก รายงานระบุว่า Uber Eats ทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.46 พันล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา เติบโตจาก 587 ล้านเหรียญในปี 2017 ซึ่งเพียงไตรมาส 1 ปีนี้ (2019) Uber Eats ก็สามารถทำเงินได้แล้ว 536 ล้านเหรียญ

พยายามแล้วนะ

ก่อนหน้านี้ Amazon Restaurants พยายามสู้ด้วยการประกาศลดจำนวนพนักงานตั้งแต่ปี 2018 พร้อมกับการขยายบริการไปยังตลาดใหม่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็มีการอัปเดทบล็อกบริษัทต่อเนื่อง ร่วมกับการโพสต์ฟีดบน Twitter ที่ยังแอคทีฟจนถึงเดือนที่ผ่านมา และการโพสต์รับสมัครงานที่ยังมีให้เห็นในช่วงกุมภาพันธ์

แต่ทั้งหมดไม่เป็นผล ทำให้ Amazon ตัดสินใจปิดบริษัท Daily Dish ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจที่ดูแลงานบริการด้านจัดส่งอาหารโดยเฉพาะของ Amazon Restaurants เบื้องต้น Daily Dish ปิดตัวลงแล้วเมื่อ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา

ความล้มเหลวครั้งนี้ของ Amazon Restaurants ถูกนำไปเชื่อมโยงกับบริการ AmazonFresh ที่เปิดตลาดในซีแอตเทิลเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บริการจัดส่งผักสดผลไม้และสินค้าในร้านชำทำให้ Amazon คิดขยายไลน์ไปสู่การสั่งซื้ออาหาร เพื่อเพิ่มความครบวงจรให้ Amazon แข็งแรงขึ้น แต่วันนี้ Amazon ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่า Amazon จะบุกตลาดร้านอาหารอย่างไรต่อไปในอนาคต โดยขณะนี้ Amazon ยืนยันว่าจะยังคงให้บริการจัดส่งสินค้าของชำจากร้าน Whole Foods ที่ผู้ใช้สั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Prime Now ต่อไปใน 100 เมืองทั่วสหรัฐฯ

ที่มา: : Fastcompany

from:https://www.thumbsup.in.th/2019/06/amazon-restaurants-closed-food-delivery-service/

รวมรายชื่อบริการ Delivery ในประเทศไทย ที่น่าใช้งาน

ต้องยอมรับบริการขนส่งหรือ Delivery ในประเทศไทย กำลังบูมขึ้นทุกที เพราะคนไทยชอบสั่งสินค้าออนไลน์ และแน่นอนว่าร้านค้าก็ต้องส่งได้รวดเร็วทันใจ เพื่อตอบสนองความ “รีบ” ของคนยุคนี้ ทาง Thumbsup จึงได้รวบรวมบริการขนส่งในประเทศไทย ที่เปิดให้ใช้งานกันแบบ 24 ชั่วโมงเลย

ไปรษณีย์ไทย บริการที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทยสำหรับไปรษณีย์ไทยที่มีการขนส่งแบบธรรมดา ลงทะเบียน EMS และยังมีอีกหลายบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย มีเครือข่ายมากถึง 1,200 แห่งและศูนย์ไปรษณีย์ 13 แห่ง ทั้งกรุงเทพและภูมิภาค

TNT บริการรับส่งสินค้าทั้งแบบธรรมดาและเร่งด่วน ที่มี Template ให้ง่ายต่อการกรอกข้อมูล รวมทั้งช่วยส่งสินค้าข้ามพรมแดนได้ด้วย เรียกว่าเอื้อประโยชน์กับธุรกิจที่ต้องการขนส่งปริมาณมาก

SKOOTAR บริการขนส่งที่สามารถชำระแบบวางบิลสิ้นเดือนได้ ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการส่งของเป็นปริมาณมาก

MrSpeedy

sahayothin logistic

lalamove เป็นบริการที่เข้ามาในไทยหลายปีแล้ว และร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อีคอมเมิร์ซหลายราย ทำให้ลาล่ามูฟ กลายเป็นบริการขนส่งอีกรายที่น่าจับตามอง อ่านรายละเอียดของบริการได้ที่ Lalamove

Kerry Express เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2549 และมีสำนักงานกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ถือว่าจัดส่งได้แบบครอบคลุมพื้นที่กว่า 99.9% แล้ว รวมทั้งมีพาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่มากมาย ทำให้บริการของเคอรี่ยังคงโดดเด่นและเป็นรายแรกๆ ที่ลูกค้าเรียกหา

SCG Yamato Express ขนส่งแมวดำอย่าง Yamato ถือว่าได้รับความนิยมสูงมากในญี่ปุ่น แต่เมื่อมาให้บริการในไทย ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ตอบโจทย์การขนส่งทุกรูปแบบ และให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย

Deliveree อีกหนึ่งบริการส่งของที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพและต่างจังหวัด ที่ช่วยให้บริการขนส่งได้ในราคาประหยัด

Shipjung บริการส่งของพร้อมระบบจองขนส่งออนไลน์ พร้อมส่งพัสดุทั้งในและต่างประเทศ

LINEMAN นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักบริการขนส่งรายนี้ ที่ผูกติดภายใต้บริการขนส่งทุกประเภททั้งส่งอาหาร ส่งพัสดุและสินค้าแบบเร่งด่วน ส่งอาหารร้านเด็ดและสั่งซื้อของได้สะดวก ทำให้ LINEMAN กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่คนต้องการส่งของชอบมาก

GRAB Express ไม่มีรายนี้คงไม่ได้ เพราะ Grab Express ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการส่งสินค้าด่วนจาก GRAB ที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และมีโค้ดให้เลือกใช้มากมาย

Alpha Fast อีกหนึ่งบริการรับส่งสินค้าด่วนแบบรับสินค้าถึงที่ตามเวลาที่คุณสะดวก ซึ่งจะต้องมีการจองเวลาเข้ารับสินค้าล่วงหน้าเพื่อนำไปส่งให้ทันท่วงทีแบบวันต่อวัน ตอบโจทย์แม่ค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

IT Transport บริการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ที่มีบริการส่งสินค้าจากกรุงเทพไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 10 ปี

Niko Logistics บริการขนส่งและพัสดุที่พร้อมไปรับสินค้าถึงที่บ้าน ตอบโจทย์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้เป็นอย่างดี และมีบริการฝากสินค้ารายเดือนสำหรับลูกค้าบุคคลหรือลูกค้าธุรกิจที่ต้องการพื้นที่ฝากของหรือเก็บสินค้าด้วย

DHL 

SendIT

Sellsuki

Flash Express

LiDi Express

FedEX

Ninja Van

361 Express 

DPX Logistics

CTT Express 

SendRanger

นครชัยแอร์

บริษัท ขนส่ง จำกัด

Nim Express

ShopShipUS

FastShip

Weserve

from:https://www.thumbsup.in.th/2019/06/listing-delivery-in-thailand/

Path เก็บ Service ของ Automator อยู่ที่ไหนใน macOS

Macos Service Automator Path Location

ก่อนหน้านี้เราเคยสอน วิธีย่อรูป ปรับขนาดภาพด้วย Automator บนเครื่อง Mac ในคลิกเดียว ซึ่งเป็นวิธีการสร้าง Services ของ Automator ขึ้นมาจากนั้นก็คลิกขวาสั่งการใช้งานคำสั่งนั้นๆ ได้เลยโดยไม่ต้องลงแอปใดๆ เพิ่ม บางคนอาจจะสงสัยว่าไฟล์ Service ที่สร้างมานั้นจะเก็บไว้ที่ไหน (path) และจะเข้าไปแก้ไขได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบให้

Path เก็บ Service ของ Automator อยู่ที่ไหนใน macOS

เราสามารถเข้าไปที่ path เก็บ Service ดังกล่าได้ 2 วิธีคือ

  1. เข้าไปที่ ~/Library/Services/ (ก๊อบวางที่ช่อง Spotlight Search ได้เลย)
  2. ผ่าน terminal ด้วยคำสั่ง mdfind .workflow

ซึ่งเราก็จะเห็นไฟล์ Service เหล่านั้นที่เราได้สร้างเอาไว้ (แนะนำใช้วิธีที่ 1 จะเข้าใจง่ายกว่า) ผลที่ออกมาออกมาเราจะเห็นหน้าต่างแสดง path ดังนี้

Automator Service Path Location Macos

เข้าไปที่ Path เก็บ Service แล้วไง? ทำไรต่อได้?

เราไปได้แล้วเราก็รู้ว่าเราสร้าง Service อะไรเอาไว้ใช้บ้าง, อันไหนที่ไม่ใช้แล้วก็ลบออกได้หรืออันไหนอยากจะแก้ไขฟังก์ชันใน Service นั้นๆ ก็สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่ไฟล์นั้นแล้วเลือก Open With > Automator.app เช่น ใน Service นี้ผมจะปรับขนาดรูปเดิมที่ตั้งไว้ให้ย่อรูปลงมาเหลือ 1920px แต่ผมเปลี่ยนให้เหลือ 1280px แทนก็ทำได้โดยไม่ต้องสร้าง Service ใหม่ เป็นต้นครับ

Automator Service Open With

สรุป

  • บทความนี้เราก็รู้ว่า Path ของไฟล์ Service ที่สร้างสำหรับ Automator นั้นเก็บไว้ที่ไหน
  • เมื่อเจอไฟล์ Service เหล่านั้นแล้วสามารถเปิดเพื่อแก้ไขความสามารถของฟังก์ชันใน Service นั้นๆ ได้ นั่นเองครับ

ขอบคุณที่มา Stackexchange, เรียบเรียงโดย iMod

 

from:https://www.iphonemod.net/location-of-services-created-in-automator.html

Air NewZealand ดึง Pixel Buds ช่วยแปลภาษาสร้างความประทับใจให้ลูกค้าสายการบิน

ประเทศเกาะทางใต้อย่างนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับการยกย่องในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านการจัดการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างประสบการณ์ได้อย่างประทับใจตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์ให้หาข้อมูลได้โดยง่าย การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศที่สะดวกสบาย และปลอดภัย ไปจนถึงการพัฒนาครั้งล่าสุดอย่างการเพิ่มเทคโนโลยีการแปลภาษาลงไปในบริการของสายการบิน

โดยสายการบินแอร์นิวซีแลนด์เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่นำเทคโนโลยีการแปลภาษาจาก Google เข้ามาช่วยพนักงานต้อนรับบนเครื่องให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าที่พูดต่างภาษากันได้มากถึง 40 ภาษา ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าที่ดีมากทีเดียว เพราะช่วยให้ลูกค้าอุ่นใจมากขึ้นว่า สิ่งที่เขาต้องการสื่อสารนั้นอย่างน้อยก็จะมีคนที่ฟังออกและให้ความช่วยเหลือได้

ผู้บริหารฝ่ายดิจิทัลของสายการบินบอกว่า ที่ผ่านมา สายการบินมีพนักงานที่พูดได้หลายภาษาอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นสายการบินนานาชาติที่ต้องเดินทางไปรอบโลกกว่า 30 ประเทศ แต่ก็ยอมรับว่าอาจมีบางเวลาที่พนักงานที่พูดภาษาที่ลูกค้าใช้นั้นอาจไม่ว่างมาให้บริการได้เช่นกัน ซึ่ง Google Pixel Buds นั้นจะเข้ามาช่วยงาน ณ บริเวณเช็คอิน และบอร์ดดิ้งผู้โดยสาร รวมถึงการให้บริการระหว่างเดินทางเพื่อให้พนักงานบนเครื่องสามารถสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

โดยสายการบินแอร์นิวซีแลนด์ยังตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้นำด้านการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการจับมือกับ Google Pixel Buds ครั้งนี้ก็เป็นหนึ่งในการเริ่มต้นที่ดี ที่จะช่วยให้ประสบการณ์ด้านดิจิทัลของสายการบินนั้นได้รับการยกระดับขึ้นไปอีกนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Air NewZealand

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/12/air-newzealand-pixel-buds-translation/

“คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์” B-Quick ยังรุ่งเรืองต่อไป ขยายสาขาเพิ่มทั่วประเทศไทยไม่หยุด

รถยนต์สำหรับคนไทยไม่ใช่แค่ยานพาหนะ แต่เป็นสถานะทางสังคม แถมตลาดก็ไม่ใช่เล็กๆ B-Quick ประเมินว่ามีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่วิ่งอยู่บนถนน แล้วถ้าต้องเปลี่ยนยางสักครั้ง สินค้า High-end ก็เป็นทางเลือกแรกๆ

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ภาพลักษณ์คือสิ่งสำคัญของคนไทย ยางรถต้องมีแบรนด์

ประเทศไทยตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Nikkei Asian Review มองว่า เจ้าของรถยนต์ชาวไทยมีความยินดีที่จะใช้จ่ายกับการตกแต่งอุปกรณ์ราคาสูง โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์

Ichiro Tsuzuku ประธานของ B-Quick บอกว่า “คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ สินค้ากลุ่ม High-end แม้ว่าจะแพงกว่า แต่ก็ขายดีกว่า” 

  • อย่างเช่นยาง Michelin ที่มีราคา 4,890 บาท เทียบกับยางประเภทเดียวกันที่เป็นแบรนด์โนเนมราคาประมาณ 2,690 บาท แม้จะถูกกว่า 40% แต่ความนิยมของบางที่มีแบรนด์โด่งดังก็ไม่ได้รับความนิยมน้อยลงไปกว่าแบรนด์โนเนมแต่อย่างใด

B-Quick ครองแชร์ในตลาดยางรถยนต์ไทยที่ 20% ตลาดไปได้สวย โดยเฉพาะรุ่นที่มีราคาสูง ปัจจุบัน B-Quick มีสาขาอยู่ในไทย 140 แห่งทั่วประเทศ และมีพนักงานประมาณ 400 คน โดยให้บริการทั้งเรื่อง ยาง การซ่อมบำรุงระบบเบรก แบตเตอรี่ โช้คอัพ ช่วงล่าง ระบบแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรอยแตกกระจกรถยนต์

B-Quick ประมาณการณ์ว่ารถยนต์ในไทยมีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่ใช้งานจริง นอกจากตลาดในกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดก็มีการขยายตัวของรถยนต์สูงมาก ทำให้ B-Quick วางแผนที่จะขยายออกไปมากขึ้น

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ขยายต่างจังหวัด ใช้โมเดลเกาะ Hypermarket

หนึ่งในทางลัดที่ B-Quick ทำได้คือการไปเปิดสาขาใน Hypermarket ต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นของ เครือ Central หรือ Tesco Lotus ที่กำลังแข่งกันเปิดสาขาไปทั่วประเทศ B-Quick กำลังใช้โอกาสนี้ในการขยายธุรกิจเช่นกัน ลูกค้ามาช้อปปิ้งก็เอารถยนต์มาเข้าศูนย์บริการไปพร้อมกันเลย

ปีนี้ B-Quick วางแผนไว้ว่าจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 10 – 12 แห่งในประเทศไทย

ความท้าทายของ B-Quick

ตลาดไปได้สวยบวกกับตลาดรถยนต์ที่โตขึ้นมาในปี 2016 (หลังจากที่ไม่ได้โตมา 5 ปีแล้ว) แต่ก็มีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวคือ Autobacs Seven จากญี่ปุ่นที่ไปจับมือกับ PTG Energy โดยประกาศไว้ว่า ภายใน 5 ปีนี้จะขยายสาขาให่ได้ 140 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 7 แห่งที่มีอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการประกาศศึกผู้ให้บริการศูนย์รถยนต์ที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Marubeni จากญี่ปุ่น คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน B-Quick ถึง 90%

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ที่มา – Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/b-quick-thailand-tires-car/

“คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์” B-Quik ยังรุ่งเรืองต่อไป ขยายสาขาเพิ่มทั่วประเทศไทยไม่หยุด

รถยนต์สำหรับคนไทยไม่ใช่แค่ยานพาหนะ แต่เป็นสถานะทางสังคม แถมตลาดก็ไม่ใช่เล็กๆ B-Quik ประเมินว่ามีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่วิ่งอยู่บนถนน แล้วถ้าต้องเปลี่ยนยางสักครั้ง สินค้า High-end ก็เป็นทางเลือกแรกๆ

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ภาพลักษณ์คือสิ่งสำคัญของคนไทย ยางรถต้องมีแบรนด์

ประเทศไทยตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Nikkei Asian Review มองว่า เจ้าของรถยนต์ชาวไทยมีความยินดีที่จะใช้จ่ายกับการตกแต่งอุปกรณ์ราคาสูง โดยเฉพาะล้อยางรถยนต์

Ichiro Tsuzuku ประธานของ B-Quik บอกว่า “คนไทยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ สินค้ากลุ่ม High-end แม้ว่าจะแพงกว่า แต่ก็ขายดีกว่า” 

  • อย่างเช่นยาง Michelin ที่มีราคา 4,890 บาท เทียบกับยางประเภทเดียวกันที่เป็นแบรนด์โนเนมราคาประมาณ 2,690 บาท แม้จะถูกกว่า 40% แต่ความนิยมของบางที่มีแบรนด์โด่งดังก็ไม่ได้รับความนิยมน้อยลงไปกว่าแบรนด์โนเนมแต่อย่างใด

B-Quik ครองแชร์ในตลาดยางรถยนต์ไทยที่ 20% ตลาดไปได้สวย โดยเฉพาะรุ่นที่มีราคาสูง ปัจจุบัน B-Quick มีสาขาอยู่ในไทย 140 แห่งทั่วประเทศ และมีพนักงานประมาณ 400 คน โดยให้บริการทั้งเรื่อง ยาง การซ่อมบำรุงระบบเบรก แบตเตอรี่ โช้คอัพ ช่วงล่าง ระบบแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรอยแตกกระจกรถยนต์

B-Quik ประมาณการณ์ว่ารถยนต์ในไทยมีประมาณ 8 – 10 ล้านคันที่ใช้งานจริง นอกจากตลาดในกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดก็มีการขยายตัวของรถยนต์สูงมาก ทำให้ B-Quik วางแผนที่จะขยายออกไปมากขึ้น

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ขยายต่างจังหวัด ใช้โมเดลเกาะ Hypermarket

หนึ่งในทางลัดที่ B-Quik ทำได้คือการไปเปิดสาขาใน Hypermarket ต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นของ เครือ Central หรือ Tesco Lotus ที่กำลังแข่งกันเปิดสาขาไปทั่วประเทศ B-Quik กำลังใช้โอกาสนี้ในการขยายธุรกิจเช่นกัน ลูกค้ามาช้อปปิ้งก็เอารถยนต์มาเข้าศูนย์บริการไปพร้อมกันเลย

ปีนี้ B-Quik วางแผนไว้ว่าจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 10 – 12 แห่งในประเทศไทย

ความท้าทายของ B-Quik

ตลาดไปได้สวยบวกกับตลาดรถยนต์ที่โตขึ้นมาในปี 2016 (หลังจากที่ไม่ได้โตมา 5 ปีแล้ว) แต่ก็มีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวคือ Autobacs Seven จากญี่ปุ่นที่ไปจับมือกับ PTG Energy โดยประกาศไว้ว่า ภายใน 5 ปีนี้จะขยายสาขาให่ได้ 140 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 7 แห่งที่มีอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการประกาศศึกผู้ให้บริการศูนย์รถยนต์ที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Marubeni จากญี่ปุ่น คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน B-Quik ถึง 90%

Facebook : B-Quik เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ

ที่มา – Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/b-quik-thailand-tires-car/

Google เตรียมแยกบริการช็อปปิ้ง ตามที่สหภาพยุโรปเรียกร้อง

เจ้าพ่อเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Google มีข่าวว่ากำลังอยู่ระหว่างเตรียมแยกบริการช้อปปิ้งออนไลน์ออกไปจากบริษัท (split off) การตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพราะ Google ต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป ที่ตัดสินว่าการจัดการผลการค้นหาของ Google ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมในวงการอีคอมเมิร์ซยุโรป

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปหรือ European Commission สั่งปรับ Google เป็นเงินมูลค่า 2.4 พันล้านยูโรหรือประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาทตามค่าเงินในขณะนั้น คำสั่งปรับเงินนี้เป็นการลงโทษ Google ที่ประชาสัมพันธ์บริการ Google Shopping อย่างไม่เป็นธรรม

คณะกรรมาธิการยุโรป ผู้ทำหน้าที่เป็นหน่วยเฝ้าระวังการแข่งขันของธุรกิจในสหภาพยุโรปหรือ EU ได้ออกคำสั่งให้ Google เปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการ Google Shopping ภายในวันที่ 28 กันยายน ซึ่งหากไม่ทำตาม เจ้าพ่อเสิร์ชเอนจิ้นจะต้องเสียค่าปรับมากขึ้น

ล่าสุด สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Google ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงบริการ โดยจะแยกส่วนธุรกิจ Google Shopping ออกจากแพลตฟอร์มบริการค้นหาหรือ search platform หลักของตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ EU จุดนี้รายงานระบุด้วยว่า บริการ Google Shopping จะเป็นหน่วยธุรกิจเดี่ยวหรือ standalone unit ที่จะต้องเสนอราคาลงโฆษณาเทียบกับคู่แข่ง เพื่อชิงพื้นที่แสดงโฆษณาด้านบนของผลการค้นหาของ Google อย่างเท่าเทียม

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน โดย Google ยังปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นถึงรายงานของ Bloomberg ในขณะนี้

ที่มา: BusinessInsider

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/09/google-shopping-service/

เสริมทัพอย่างไร เมื่อ Social Media กลายเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าติดต่อแบรนด์

ทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่า เริ่มมีการปรับตัวจากหลาย ๆ แบรนด์ในการขึ้นมาใช้ช่องทาง Social Media เพื่อดูแลลูกค้ากันมากขึ้น ซึ่งแนวทางนี้ยังส่งผลกระทบต่อหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้วย เพราะแบรนด์อาจต้องเปลี่ยนทีมงานที่ดูแล จากแต่เดิมเป็นฝ่ายการตลาด มาเป็นฝ่าย Customer Service แทน

จากข้อมูลของ Conversocial ในหัวข้อ Review of Social Customer Service พบว่า ในอดีต ทีมงานที่ดูแลลูกค้าบน Social Media นั้นเป็นทีมจากฝ่ายการตลาดถึง 36% โดยมีบริษัทเพียง 23% ที่ใช้เจ้าหน้าที่จาก Contact Center มารับหน้าที่นี้ แต่ปัจจุบัน ปี 2017 พบว่า ตัวเลขดังกล่าวได้กลับกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือทีมดูแลลูกค้าบน Social Media กลับมาจากฝั่งของ Contact Centers แล้วถึง 42% ซึ่งรายงานจาก Conversocial อ้างว่าเหลือบริษัทที่บริหาร Social Media โดยทีมการตลาดเพียง 26% เท่านั้น 

ทั้งนี้เหตุผลที่ช่องทาง Social Media ได้รับความนิยมอย่างมากมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ นั่นคือ ใช้งานง่าย (45%)  ได้คุุณภาพด้านการบริการที่ดีกว่า (40%) (ในมุมผู้บริโภค) แต่ก็นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่บริษัทต้องบริหารให้ดี เพราะ Conversocial พบว่า ข้อความที่ฝ่าย Contact Center ต้องรับมือบน Social Media นั้นมีมากกว่า 11 ล้านข้อความ โดยในจำนวนนี้ มีข้อความแบบ Private ที่ส่งมาเยอะถึง 1.2 ล้านครั้งด้วย

ดังนั้น จากทีม Customer Service หรือ Call Center ฯลฯ ที่เคยนั่งรับสายโทรศัพท์ จึงต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างส้ินเชิง เพราะมีการพบว่า ลูกค้าทุกวันนี้มีความคาดหวังสูงมาก โดย 52% คาดหวังจะได้รับการตอบกลับแบบ “ทันทีทันใด” และอีก 42% คาดหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขจากทีม Social Media ของแบรนด์นั้น ๆ ด้วย

โดยช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อเข้าถึงบริการจากแบรนด์มากที่สุดหนีไม่พ้น Facebook และ Twitter (71% เท่ากัน) ในขณะเดียวกันก็พบด้วยว่า บริการให้ความช่วยเหลือแบบเดิม ๆ เช่น โทรศัพท์ อีเมล ฯลฯ นั้นมีการใช้งานลดลงถึง 33%

รายงานดังกล่าวยังเผยด้วยว่า ในปี 2018 อาจเป็นไปได้ที่จะเห็นการเข้ามาของ Chatbot มากขึ้น เพื่อช่วยลดงานของทีมดูแลลูกค้าบน Social Media ลง

ที่มา: MarketingProfs

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/08/howto-service-customer-via-social-media/

Mercedes-Benz Leasing โชว์ผลประกอบการโต 7% พร้อมดึงเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมทัพ

คุณศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ และมร.ไมเคิล แคมรัน บราวน์ กรรมการบริหารฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

เปิดตัวเลข “เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง” ครึ่งปีแรกโตต่อเนื่อง ด้วยยอดสินเชื่อรวมกว่า 33,000 ล้านบาท พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ดึงบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบเข้าใช้งาน และตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านการให้บริการด้านการเดินทางที่หลากหลาย

คุณศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซเดสเบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในปี 2560 นี้ เดมเลอร์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Daimler Financial Services) ได้ประกาศวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ”

จุดเปลี่ยนมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดเช่นใน สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่พบว่ามีบริการประเภทการใช้รถร่วมกัน (car sharing) หรือการให้บริการเช่ารถยนต์ระยะสั้นๆ เป็นรายนาทีในเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งเดมเลอร์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้และได้นำเทคโนโลยีด้านการเดินทางมาปรับใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถยนต์มากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดตัว Mercedes pay เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สำหรับเป็นแอปพลิเคชันเพื่อชำระค่าบริการผ่านสมาร์ทโฟน

“ในด้านของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วง 6 เดือนแรกนั้น ผลประกอบการของกลุ่ม เดมเลอร์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) กว่า 1 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทฯ และมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 15%  อีกทั้งยังมีการให้สินเชื่อใหม่อีกเกือบ 1 ล้านสัญญา เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้จำนวนการให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านสัญญา หรือคิดเป็นขนาดสินเชื่อรวม 1.34 แสนล้านยูโร

สำหรับบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) ยังคงมีผลประกอบการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยยอดสินเชื่อรถยนต์ใน 6 เดือนแรกอยู่ที่กว่า 33,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก และมีการให้สินเชื่อรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ มากกว่า 45% ของยอดขาย ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลมาจากการการให้บริการแบบครบวงจร (one-stop financial service solution) และการบริการทางการเงินที่หลากหลาย รวมถึง ‘mySTAR Special’ บริการทางเงินเฉพาะลูกค้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของสินเชื่อรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และโปรแกรมการประกันภัย ‘MB Protection’ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดถึง 71%  เติบโต 8%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปัจจุบันให้การคุ้มครองลูกค้าเกือบ 20,000 ราย” คุณศุภวุฒิ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางการให้บริการแบบดิจิทัล ได้แก่

  • Dealer Touchpoint (DTP) แอปพลิเคชันช่วยให้ดีลเลอร์สามารถทำธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา
  • myBUSINESS เพื่อให้ดีลเลอร์สามารถดูผลประกอบการของตนเองผ่านมือถือ
  • Customer Online Service (COS) ระบบที่ลูกค้าสามารถดูประวัติการชำระค่างวด พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน การติดต่อกับทาง เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) ได้ด้วยตนเอง

รวมถึงการเพิ่มการให้บริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Digital Welcome message การแนะนำการใช้งานแบบวีดีทัศน์ การคำนวณยอดปิดสินเชื่อก่อนกำหนด และ การบัตรชำระค่างวดแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในปัจจุบันมีลูกค้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่งมากกว่า 30% ที่ลงทะเบียนใช้งานระบบบริการข้อมูลลูกค้าออนไลน์ดังกล่าว 

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/08/mercedes-benz-leasing-h1-2017-digital-services/