คลังเก็บป้ายกำกับ: MICROSOFT_WINDOWS_SERVER_2016

Microsoft ออกเอกสาร Windows Commands Reference รวมกว่า 250 คำสั่งเกือบพันหน้า โหลดได้ฟรี

Microsoft ได้ออกเอกสารอ้างอิงชุดคำสั่งบน Windows ภายใต้เอกสารชื่อ Windows Command Reference ซึ่งได้รวมเอาวิธีการใช้งานกว่า 250 คำสั่งใน Console เอาไว้ภายในเอกสาร PDF ขนาด 948 หน้า เปิดให้ทุกท่านโหลดไปศึกษาหรือใช้อ้างอิงกันได้ฟรีๆ

 

Credit: Microsoft

 

เอกสารฉบับนี้ถูกเผยแพร่อยู่ที่ https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=56846 หรือจะเข้าไปโหลดตรงๆ ที่ https://download.microsoft.com/download/5/8/9/58911986-D4AD-4695-BF63-F734CD4DF8F2/ws-commands.pdf ก็ได้เช่นกัน โดยในเอกสารฉบับนี้จะมีคำอธิบายแต่ละคำสั่ง, Option ที่ให้ใช้งานได้ พร้อมทั้งตัวอย่างการใช้งานให้ด้วย ทำให้ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง

เนื้อหาในเอกสารนี้สามารถนำไปใช้งานได้กับ Windows 8.1, Windows 10, Windows Server 2008/2008 R2, Windows Server 2012/2012 R2, Windows Server 2016, Windows Server Semi-Annual Channel

อย่างไรก็ดี เอกสารฉบับนี้ยังขาดคำสั่งบางกลุ่มไปอยู่บ้าง แต่ด้วยจำนวนกว่า 250 คำสั่งที่ถือว่าเพิ่มมาจากเดิมที่คำสั่ง help เคยแสดงเพียงแค่ 86 คำสั่งก็ถือว่าเยอะมากแล้ว หลังจากนี้ก็อาจต้องรอเอกสารฉบับนี้อัปเดตกันต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมชุดคำสั่งต่างๆ มากขึ้นครับ

 

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/microsoft-releases-a-windows-command-reference-for-over-250-console-commands/

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-windows-commands-reference-is-released/

แนะนำ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct ระบบ HCI สำหรับองค์กรที่ใช้ Microsoft เป็นหลัก

Hyper-Converged Infrastructure หรือ HCI นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่เหล่าองค์กรเลือกใช้งานภายใน Datacenter กันไปแล้ว ด้วยประเด็นทางด้านความง่ายดายในการติดตั้งใช้งานและการดูแลรักษา ไปจนถึงการเพิ่มขยายในอนาคตที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทาง Dell EMC และ Microsoft จึงได้จับมือกันนำเสนอโซลูชัน HCI สำหรับเหล่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักอยู่แล้ว เพื่อให้องค์กรไม่ต้องลงทุนเทคโนโลยีต่างๆ ซ้ำซ้อนมากมาย ประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการดูแลรักษา ดังนี้

 

Microsoft Storage Spaces Direct: เทคโนโลยี Software-Defined Storage ของ Windows Server 2016

Microsoft Storage Spaces Direct หรือ S2D นี้เป็นความสามารถหนึ่งที่ถูกรวมเข้ามากับลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows Server 2016 รุ่น Datacenter อยู่แล้ว โดยความสามารถนี้คือการเปลี่ยนให้ Windows Server สามารถทำหน้าที่ให้บริการ Software-Defined Storage และทำงานเป็น Scale-Out Storage เพื่อทดแทนระบบ SAN Storage หรือ NAS Storage ที่เดิมเคยต้องใช้งานร่วมกับระบบ Virtualization ได้ โดยยังคงมีความสามารถทางด้าน High Availability และ Failover อยู่นั่นเอง

Microsoft S2D นี้นอกจากจะช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบ SAN หรือ NAS Storage ไปได้แล้ว หากเทียบกับระบบ HCI อื่นๆ นั้น Microsoft S2D ก็ยังถือว่าช่วยให้องค์กรที่มีการใช้งานเทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักอยู่แล้วในการทำงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธิ์ Software ลงไปได้ไม่น้อย เพราะใน Windows Server 2016 รุ่น Datacenter นั้น มาพร้อมกับทั้ง Microsoft S2D และ Microsoft Hyper-V ทำให้สามารถรองรับทั้งการทำ Virtualization และ Software-Defined Storage ได้ทันทีในตัว ต่างจากกรณีของ HCI อื่นๆ ที่ต้องลงทุนทั้ง Virtualization, Software-Defined Storage/Appliance และ Windows Server 2016 แยกจากกันทั้งหมด

 

 

ในแง่ของการนำไปใช้งานจริง Microsoft S2D นี้รองรับทั้งการนำไปใช้งานในแบบ Converged Infrastructure คือการแยก Hardware ของ Hyper-V Host ออกจาก S2D Nodes หรือจะใช้งานแบบ Hyper-Converged ที่รวมเอา Hyper-V และ S2D ไว้ในเครื่องเดียวกันก็ได้ หรือจะใช้งานทั้ง 2 แบบร่วมกันไปเลยก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถทำการให้บริการ SMBv3 ไปยังเหล่าผู้ใช้งานเพื่อทำหน้าที่กลายเป็นระบบ File Sharing ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ใช้งานทั้งองค์กรได้ด้วยในตัว

 

 

Microsoft S2D นี้สามารถเริ่มต้นใช้งานต่อ Cluster ได้ที่ 2 Node และเพิ่มขยายสูงสุดได้ 16 Node ซึ่งด้วยจำนวนเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางจำนวนมากในตลาดแล้ว และสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ก็สามารถใช้งานหลายๆ Cluster ได้อีกด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบทั้งหมดนี้ก็คือเครื่องมือมาตรฐานของ Microsoft ทั้งสิ้น ได้แก่ Windows Admin Center, Windows PowerShell, System Center, Failover Cluster Manager หรือ Server Manager เป็นต้น

ระบบของ Microsoft S2D นี้สามารถออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับ Workload ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Virtualization, Database, File Sharing หรือแม้แต่ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ก็ตาม

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/storage/storage-spaces/storage-spaces-direct-overview

 

Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes: ระบบ Server ประสิทธิภาพสูง รองรับทุกความสามารถของ Microsoft Storage Spaces Direct

 

 

เพื่อตอบโจทย์ของเหล่าองค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักและต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย Microsoft Storage Spaces Direct ทาง Dell EMC จึงได้ทำการออกแบบระบบ Hardware ขึ้นมารองรับ Microsoft Storage Spaces Direct โดยเฉพาะภายใต้ชื่อระบบ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและรับรองการทำงานโดย Microsoft มาแล้ว

Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes นี้ใช้ Dell EMC PowerEdge R740xd และ R640 เป็นหลัก โดยมีทั้งรุ่น All-NVMe, All-Flash และ Hybrid ให้เลือกใช้งานได้ในขนาด 1U – 2U โดยใช้หน่วยยประมวลผล Intel Xeon Scalable Processor ร่วมกับหน่วยความจำขนาดตั้งแต่ 125GB – 1.5TB และติดตั้ง Disk ภายในได้ตั้งแต่ 10 – 24 ชุด พร้อม Network Interface ที่ระดับความเร็ว 1/10/25GbE เรียกได้ว่าสามารถออกแบบระบบให้รองรับความต้องการได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว

จุดเด่นๆ ของ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes นี้คือการออกแบบ Hardware มาให้สามารถรองรับความต้องการของ Microsoft Storage Spaces Direct ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Caching, Storage Tiering, Erasure Coding ไปจนถึงการรองรับ RDMA และ NVMe เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลในระดับสูงสุด

อีกจุดเด่นหนึ่งที่น่าสนใจมากคือการที่ Dell EMC นั้นจะกลายเป็น Single Contact Point ให้กับเหล่าลูกค้าองค์กรสำหรับทุกๆ กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนี้ ไม่ว่าต้นเหตุจะเกิดจาก Hardware ของ Dell EMC หรือ Software ของ Microsoft ก็ตาม ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่ต้องปวดหัวกับการระบุต้นตอของปัญหาด้วยตนเองก่อนจะเรียกใช้บริการ Support แต่อย่างใด และมีทีมงานของ Dell EMC เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dell.com/is/business/p/microsoft-storage-ready-nodes/pd

 

ติดต่อ Dell EMC เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรง

สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการให้มีการนำเสนอโซลูชันหรือต้องการใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Dell EMC ได้โดยตรงที่ ABC หรือ DEF

from:https://www.techtalkthai.com/dell-emc-microsoft-storage-spaces-direct-hci-introduction/

รู้จัก Windows Server Semi-Annual Channel: Windows Server รุ่นสำหรับ Cloud และ DevOps

เมื่อเร็วๆ นี้ทาง Microsoft ได้ทำการปล่อย Microsoft Windows Server version 1709 ออกมาในฐานะของ Windows Server Semi-Annual Channel รุ่นแรก เพื่อเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ Server ที่จะเป็นอีกทางเลือกนอกจาก Windows Server 2016 ที่เราคุ้นเคยกัน ทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่า Windows Server รุ่นนี้มีอะไรเปลี่ยนไปจาก Windows Server 2016 อยู่เยอะพอสมควร จึงขอนำมาสรุปเรียบเรียงให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความรู้จักกับเจ้า Windows Server Semi-Annual Channel ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Credit: Microsoft

 

จุดกำเนิดของ Windows Server Semi-Annual Channel: Microsoft ต้องการระบบปฏิบัติการฝั่ง Server สำหรับ Cloud โดยเฉพาะจริงๆ แล้ว

ที่ผ่านมาตลาด Server นั้นตกเป็นของ Linux ซะมาก และยิ่งเติบโตรวดเร็วขึ้นไปอีกจากการมาของ Container ทำให้ Microsoft เองเห็นว่าตัวเองต้องเริ่มปรับเข้าสู่ทิศทางนี้ของตลาดแล้ว แต่เนื่องจาก Windows Server 2016 เดิมที่มีอยู่นั้นก็มีฟีเจอร์จำนวนมากสำหรับสนับสนุนการใช้งานภายในองค์กรและการรองรับ Traditional IT การจะปรับมารองรับตลาดนี้แล้วทิ้งฟีเจอร์เดิมๆ ไปนั้นก็คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก ทำให้โครงการ Windows Server Semi-Annual Channel ถือกำเนิดขึ้นมา

Windows Server Semi-Annual Channel นี้ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้รองรับการทำงานบน Cloud ได้โดยประหยัดทรัพยากร อีกทั้งยังเน้นแนวคิดเรื่องของการอัปเดตให้ได้ถี่ที่สุดเพื่อให้ Windows Server สามารถมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตอบรับต่อความต้องการใหม่ๆ ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ยังคงบริหารจัดการผ่านเครื่องมือเดิมๆ ที่มีอยู่ได้ ทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบไม่ต้องปรับตัวมากจนเกินไปนัก

นอกจากนี้ Microsoft ยังได้ทำการพัฒนา Server Core และ Nano Server ให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมไปอีกสำหรับบน Windows Server Semi-Annual Channel โดย Nano Server ใน Windows Server Semi-Annual Channel จะเล็กลงจาก 390MB เหลือเพียง 80MB เท่านั้น รวมถึงยังรองรับการทำ Linux Containers ได้ผ่านทาง Hyper-V Isolation ทำให้ Windows Server Semi-Annual Channel รองรับการทำ Container ได้ครบทุกระบบปฏิบัติการที่เหล่านักพัฒนาต้องการ

 

รอบอัปเดตต่างจาก Windows Server 2016 ชัดเจน

หากใครติดตาม Microsoft มาในระยะหลังๆ นี้ เราจะเริ่มเห็นได้ว่า Microsoft พยายามผลักดันให้ Cycle ในการออก Release ใหม่ๆ ของแต่ละผลิตภัณฑ์สั้นลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Windows 10 ที่จะมี Release ใหญ่ปีละ 2 รอบ และในครั้งนี้ Windows Server เองก็พยายามจะนำแนวคิดนั้นมาใช้บ้าง ทำให้เกิดเป็น Windows Server Semi-Annual Channel ขึ้นมา

อย่างไรก็ดี Microsoft ไม่สามารถทิ้งลูกค้าองค์กรกลุ่มเดิมๆ ได้ ดังนั้น Windows Server Semi-Annual Channel นี้จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่คู่ขนานไปกับ Windows Server 2016 ที่มีความแตกต่างกันในแง่ของรอบอัปเดต และเทคโนโลยีพื้นฐานที่มากับระบบ เพื่อรองรับรูปแบบการนำไปใช้งานที่ต่างกันนั่นเอง

Windows Server 2016 ที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่ม Long-term Servicing Branch ที่จะออก Release ใหญ่ทุกๆ 2-3 ปี โดยมีการสนับสนุนหลักๆ อยู่ที่ 5 ปี และขยายต่อได้อีก 5 ปี รวมถึงมีบริการพิเศษสำหรับสนับสนุนต่อไปอีก 6 ปีภายใต้ชื่อ Premium Assurance

ส่วน Windows Server Semi-Annual Channel นี้จะเป็นผลิตภัณฑ์อีกกลุ่มที่ถูกออกแบบมาตอบโจทย์ตลาด Cloud ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวที่ค่อนข้างเร็ว และจะมี Release หลักปีละ 2 รอบ โดยแต่ละ Release จะมีรอบการสนับสนุนอยู่ที่ 18 เดือน เป็นการบังคับกลายๆ ให้ผู้ใช้งานต้องทำการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง หรือเปลี่ยนไปใช้ Container เพื่อให้อัปเดต Infrastructure แล้วค่อยย้ายระบบไปแทน

ชื่อรุ่นของ Windows Server Semi-Annual Channel นี้จะตั้งตามปีและเดือนที่ถูกปล่อยออกมา เช่น Windows Server 1709 นี้ก็ถูกปล่อยออกมาในปี 2017 เดือน 9 เป็นต้น ส่วนรุ่นถัดไปคือ Windows Server 1803 ก็จะถูกปล่อยออกมาปี 2018 เดือน 3 นั่นเอง

 

Windows Server version 1709 เน้นรองรับ Container, DevOps เป็นหลัก เตรียมตัด GUI ทิ้ง

ภายใน Windows Server version 1709 ได้มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • รองรับ Nano Container และ Server Core Container อย่างเต็มตัว
  • รองรับ Server Core as a Container and Infrastructure แล้ว
  • ปรับปรุง VM Load Balancing ให้ดีกว่าเดิม โดยมี OS Awareness และ Application Awareness เพิ่มเข้ามา
  • สนับสนุน Storage-class Memory ให้กับ VM โดยรองรับการใช้ Non-volatile DIMM ต่อตรงแบบ Direct Access เข้ากับ Hyper-V VM ได้
  • รองรับ Virtualized Persistent Memory (vPMEM)
  • รองรับ Persistent Storage สำหรับ Container ด้วย Clustered Shared Volumes (CSV) และ SMB Global Mapping
  • พยายามตัด Desktop UI ออก ให้ผู้ใช้งานบริหารจัดการผ่านทาง PowerShell, API และ Project Honolulu บน Browser แทน
  • ทำการเข้ารหัส Network ได้ตาม Segment
  • รองรับการใช้ Host Guardian Service (HGS) ใน Shielded VM แล้ว
  • สนับสนุนการใช้ Linux as a Shielded VM ได้
  • รองรับการทำ Test Failover สำหรับ Storage Replica และบริหารจัดการผ่าน Project Honolulu ได้
  • ปิด SMBv1 และ Guest Authentication พร้อมรองรับ SMBv2/v3 ดีขึ้น
  • ทำ Data Deduplication บน ReFS ได้ พร้อมมี DataPort API
  • มี RDS ให้ใช้แล้วใน Azure AD

ส่วนผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถทำการติดตั้งใหม่แบบ Clean Install ได้เท่านั้น ไม่สามารถอัปเดตมาจาก Windows Server 2016 ที่มีอยู่เดิมได้ครับ โดยสามารถโหลด Image ได้ที่ https://www.microsoft.com/Licensing/servicecenter/default.aspx หรือรอใช้บน Microsoft Azure ก็ได้เช่นกันครับ

 

ที่มา: https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/whats-new-in-windows-server-1709

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-windows-server-semi-annual-channel-windows-server-for-cloud-and-devops/

AWS รองรับการใช้งาน Microsoft SQL Server 2017 บน Amazon EC2 แล้ว

AWS รองรับการใช้งาน Microsoft SQL Server 2017 บน Amazon EC2 แล้ว สามารถสร้าง Instance จาก AWS Marketplace ได้ทันที

Credit: AWS

Amazon Web Services (AWS) ได้ประกาศรองรับการใช้งาน Microsoft SQL Server 2017 บน Amazon EC2 อย่างเป็นทางการ โดยมีการเพิ่ม AMI (Amazon Machine Images) ใหม่ที่ติดตั้ง Windows Server 2016 และ Microsoft SQL Server 2017 ให้เลือกใช้งานแล้ว รองรับ Microsoft SQL Server ทั้ง 4 Editions ได้แก่ Web, Express, Standard และ Enterprise นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือก EC2 Instance Types ได้เอง โดยรองรับ Instance x1e.32xlarge ซึ่งเปิดตัวไปไม่นาน ทำให้สามารถใช้งานได้สูงสุด 128 vCPU และ 4TB Memory

ผู้ที่สนใจสามารถสร้าง Instance ของ Microsoft SQL Server 2017 ผ่านทาง AWS Management Console หรือ AWS Marketplace ได้ทันที โดยสามารถเลือกใช้งาน Licenses ได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ Pay As You Go, License Mobility และ Bring Your Own Licenses

Credit: AWS

ที่มา: https://aws.amazon.com/blogs/aws/now-available-microsoft-sql-server-2017-for-amazon-ec2/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-announces-support-for-microsoft-sql-server-2017-on-amazon-ec2/

เปิดตัว Docker Enterprise Edition 17.06 รองรับ IBM Z และ Windows Server 2016

Docker ประกาศเปิดตัว Docker Enterprise Edition (EE) รุ่น 17.06 โดยเพิ่มการรับรอง IBM Z และ Windows Server 2016 เข้ามา และสามารถให้บริการโซลูชัน Container-as-a-Service (CaaS) เพื่อตอบรับความต้องการของ Application สมัยใหม่ภายในองค์กรได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น

Credit: Docker

 

ด้วยการรองรับระบบใหม่ๆ เพิ่มดังกล่าว ทำให้ Docker EE 17.06 สามารถสนับสนุนได้ทั้ง Windows, Linux และ Linux-based Mainframe ในระบบเดียว และทำ Automation ในส่วนของ Application และ Infrastructure ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งยังได้มีการรวม UCP 2.2 และ DTR 2.3 เอาไว้ใน Docker EE รุ่นนี้ด้วย

ในการรองรับ Windows ครั้งนี้ ทำให้ Docker EE สามารถบริหารจัดการ Docker Windows Container ได้แบบครบวงจร ทั้งการทำ Image Scanning, Secret Management และ Overlay Networking รวมถึงยังทำให้ Windows Application และ Linux Application สามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่าน Overlay Networking รวมถึงสร้าง Cluster เดียวที่มีส่วนผสมรวมกันระหว่าง Windows, Linux และ IBM Z ได้

ในแง่ความมั่นคงปลอดภัย Docker EE ก็ได้เพิ่มการปรับแต่ง Role-based Access Control ขึ้นมา และสามารถกำหนด Physical / Logical Boundary สำหรับแต่ละทีมที่จะแบ่งปัน Docker Environment ระหว่างกันได้ ทำให้สามารถรองรับการทำ Multi-tenant ได้ดีขึ้น รวมถึงยังเพิ่มการทำ Policy-based Automation ให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ Docker นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Automation เลย โดยมีการเพิ่มการทำ Immutable Repository และมี API ใหม่สำหรับกำหนด Permission, User/Team/Org Management และ Cluster Configuration เข้ามาด้วย

สำหรับรายละเอียดฉบับเต็ม สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.docker.com/enterprise/17.06/ ครับ

 

ที่มา: https://blog.docker.com/2017/08/docker-enterprise-edition-17-06/

from:https://www.techtalkthai.com/docker-enterprise-edition-17-06-is-released-with-ibm-z-and-windows-server-2016-supported/

Internal Build และ Source Code ของ Windows 10 ขนาด 32TB รั่ว ตอนนี้ถูกระงับการเผยแพร่แล้ว

betaarchive.com ได้ออกมาเปิดเผยถึงข้อมูล Internal Build และ Source Code ของ Microsoft Windows 10 ขนาด 32TB ที่ถูกบีบอัดจนเหลือ 8TB ซึ่งคาดว่าข้อมูลเหล่านี้หลุดรั่วออกมาจากระบบพัฒนาภายในของ Microsoft เองตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

Credit: Microsoft

 

ข้อมูลเหล่านี้ถูกทางเว็บ betaarchive.com เอาออกไปแล้วหลังจากที่เริ่มมีการรายงานข่าวอย่างแพร่หลาย โดยผู้ที่ได้เห็น Source Code นั้นระบุว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็น Microsoft Shared Source Kit ที่ประกอบไปด้วย Source Code ของ Windows 10 Hardware Driver, PnP, USB, Wi-Fi, Storage Driver, ARM OneCore Kernel Code ในขณะที่ Build ที่หลุดออกมาคือ Windows 10 และ Windows Server 2016 ที่ยังไม่ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะ เช่น Windows 10 Redstone ที่มีแผนเปิดตัวปลายปี กับ Windows 10 64-bit ARM

Microsoft Shared Source Kit ที่รั่วออกมานี้จริงๆ แล้วเป็นโค้ดที่ Microsoft จะเปิดให้ลูกค้า, คู่ค้า และภาครัฐบางแห่งได้ดูและทำการตรวจสอบแก้ไขปัญหาร่วมกันเท่านั้น การหลุดรั่วมาครั้งนี้ก็ส่งผลให้อาจเกิดการนำ Source Code เหล่านี้ไปหาช่องโหว่และถูกนำไปใช้โจมตีเป็นวงกว้างได้เช่นกัน ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าอันตรายไม่น้อย ทาง betaarchive.com จึงได้ทำการลบออกไปตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2017 ที่ผ่านมาแล้ว และอยู่ในระหว่างทบทวนดูว่าจะนำกลับมาเปิดเผยดีหรือไม่

ปัจจุบันโฆษกของทาง Microsoft ยังไม่ออกมาให้ความเห็นใดๆ

 

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2017/06/23/windows_10_leak/

from:https://www.techtalkthai.com/32tb-of-internal-build-and-windows-10-source-code-leaked/

Microsoft เตรียมปิด SMBv1 เป็น Default บน Windows 10 และ Windows Server 2016 อัปเดตหลักถัดไป

Microsoft ได้เปิดเผยว่าใน Windows 10 อัปเดตหลักถัดไปที่มีชื่อเรียกว่า Redstone 3 นี้ รวมถึง Windows Server 2016 ได้มีการวางแผนที่จะมีการปิด SMBv1 เอาไว้เป็น Default เลย

 

SMBv1 เป็น File Sharing Protocol ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาได้เกินกว่า 20 ปีแล้ว การปิด SMBv1 ในครั้งนี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากช่องโหว่ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SMBv1 ได้ในอนาคต และ Microsoft เองก็เริ่มปิด SMBv1 ใน Internal Build เพื่อทดลองใช้งานดูแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ต้องทดสอบกันไปก่อนที่จะนำแผนนี้มาให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้ใช้จริง และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้หากเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา

แผนการปิด SMBv1 เป็น Default นี้จริงๆ ถูกพูดคุยเริ่มต้นกันมาตั้งแต่ 5 ปีก่อนแล้ว และสาเหตุหลักที่ Microsoft ตัดสินใจปิด SMBv1 นี้ก็เพื่อความมั่นคงปลอดภัย และทาง Microsoft เองก็อยากให้ทุกคนหันไปใช้ SMB 3.1.1 เป็นขั้นต่ำแทน เพราะเป็นรุ่นที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงที่สุด และยังมีความสามารถมากที่สุดด้วย

 

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/microsoft-to-disable-smbv1-in-windows-starting-this-fall/

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-plans-to-disable-smbv1-by-default/

10 ฟีเจอร์ห้ามพลาดบน Windows Server 2016 ที่เหล่าผู้ดูแลระบบต้องรีบใช้ให้เป็น

หลังจากที่ Microsoft Windows Server 2016 ได้เปิดตัวออกมาระยะหนึ่งแล้ว และมีเหล่าผู้ดูแลระบบเริ่มใช้งานกันไปบ้าง ก็คงจะทราบกันดีว่า Windows Server 2016 นี้มีอะไรใหม่ๆ เข้ามาเยอะพอสมควร และในบทความนี้เราก็จะมาแนะนำถึง 10 ความสามารถของ Windows Server 2016 ที่เหล่าผู้ดูแลระบบควรจะหัดใช้งานกัน เพื่อให้เป็นประโยชน์ในระยะยาว ทั้งในแง่การนำไปประยุกต์ใช้ และความคุ้มค่าต่อการใช้งาน ดังนี้ครับ

 

1. Hyper-V

Hyper-V นั้นกลายเป็นความสามารถพื้นฐานของ Microsoft Windows Server 2016 ที่เหล่าผู้ดูแลระบบควรหัดใช้งานให้เป็นกันไปแล้ว เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกในการทำ Virtualization ให้กับระบบที่ใช้งาน Microsoft Windows Server เป็นหลักได้อย่างคุ้มค่าแล้ว Hyper-V เองก็จะมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมระบบแบบ Private Cloud และ Hybrid Cloud ของ Microsoft ดังนั้นการหัดใช้งาน Hyper-V เบื้องต้นให้เป็น ทั้งการบริหารจัดการ, การออกแบบให้ทนทาน, การรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการเข้าใจถึงความแตกต่างจากเทคโนโลยี Virtualization อื่นๆ จึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรเริ่มเรียนรู้นั่นเอง

และอีกประเด็นที่ถือเป็นข้อได้เปรียบมหาศาลก็คือ การสร้าง Virtual Machine ได้อย่างไม่จำกัดพร้อมทั้งสามารถติดตั้ง Windows Server 2016 ได้ฟรีๆ สำหรับทุกเวอร์ชันที่ยังไม่ EOL อีกทั้งยังสามารถใชง้านคุณสมบติ Secure Boot กับร่วมระบบปฎิบัติการ Linux ตั้งแต่ Ubuntu 14.04, SUSE Linux Enterprise Server 12, Red Hat Enterprise Linux 7.0 และ CentOS 7.0 ขึ้นไป ที่สามารถทำงานบนเครื่อง Virtual Machine ในรุ่นที่ 2 (VM Gen2) ได้แล้ว

 

2. Windows Container

Container ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดสำหรับวงการ Software Development และ IT Infrastructure ไปแล้วในเวลานี้ และทาง Microsoft เองก็ประกาศรองรับเทคโนโลยี Container อย่างเต็มตัวใน Microsoft Windows Server 2016 แล้ว และยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่าง Docker ได้ด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจถึงการใช้งาน Container และความแตกต่างจาก Virtualization เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานในสถานการณ์ที่เหมาะสมได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเหล่าผู้ดูแลระบบในระยะยาว

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Windows Container สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/virtualization/windowscontainers/about/ เลยครับ

Credit: Microsoft

 

3. Windows Nano Server / Windows Server Core

ใน Windows Server 2016 นี้ อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือการเปิดตัวโหมดในการติดตั้งออกมาหลายรูปแบบ ทั้ง Windows Nano Server และ Windows Server Core ให้เราเลือกใช้ได้นอกจากการติดตั้ง Windows Server 2016 แบบเต็มๆ ซึ่งแต่ละแบบเองก็มีความสามารถที่ไม่เท่ากัน และเหมาะกับรูปแบบการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ด้วยขนาดที่เล็กของ Nano Server อยู่ที่ประมาณ 500 MB นั้น ก็เพื่อจุดมุ่งหมายที่ถูกออกแบบมาให้เป็น ระบบปฏิบัติการในยุคคลาวด์ (Cloud Era Operating System) ซึ่งรองรับการใช้งานได้ทั้้ง Private Cloud และ Public Cloud และด้วยการลด port ที่ไม่จำเป็นออกไปจากการใช้งานนี้ ก็ยังเป็นการเสริมความปลอดภัยให้กับ Server อีกด้วย ทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบนั้นควรจะต้องศึกษาและทำการทดสอบจนเข้าใจความแตกต่างของการติดตั้งในรูปแบบที่หลากหลายเหล่านี้ให้ดีครับ

สำหรับรายละเอียดของ Nano Server สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/getting-started-with-nano-server ในขณะที่รายละเอียดของ Server Core สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/getting-started-with-server-core ครับ

 

4. Storage Spaces Direct

Windows Server 2016 เองนี้ก็ได้ใส่เทคโนโลยี Software-defined Storage (SDS) อย่าง Storage Spaces Direct (S2D) เข้ามาด้วย ทำให้ Windows Server แต่ละเครื่องสามารถสร้างบริการ Scale-out Storage ขึ้นมาใช้งานร่วมกันเป็น Cluster ระหว่าง Server หลายๆ เครื่องได้ และหากใช้งาน Hyper-V ควบคู่ไปด้วยก็จะทำให้ Windows Server 2016 นั้นกลายเป็นระบบ Hyper-converged Infrastructure (HCI) ที่ทรงพลัง และสามารถเริ่มต้นได้จากเพียงแค่ 2-node ไปทันที ไม่ต้องมี NAS Storage หรือ SAN Storage ในการทำ Cluster อีกต่อไป

ความสามารถในการทำ SDS นี้ช่วยให้ Windows Server 2016 สามารถสร้างพื้นที่เก็บข้อมูลให้รองรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ และยังคงมีประสิทธิภาพในการจัดสรรพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเพิ่มความเร็ว และลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับ Hard Disk Drive (HDD) และ Solid State Drive (SSD) ได้ดียิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.microsoft.com/en-us/cloud-platform/software-defined-storage ครับ

Credit: Microsoft

 

5. Storage Replica

นอกจาก S2D แล้ว การทำ Storage Replica ก็เป็นอีกความสามารถที่โดดเด่นภายใน Windows Server 2016 ที่สามารถทำการ Replicate ข้อมูลแบบ Block-level ข้ามอาคารหรือข้ามสาขาได้ด้วย SMB3 เพื่อรองรับการทำ Disaster Recovery (DR) ได้ในตัวทันที โดยมี Zero RPO ทำให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างอุ่นใจหากสาขาหลักเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมาก็ตาม

ผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Storage Replica ได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/storage/storage-replica/storage-replica-overview นะครับ

 

6. Resilient File System (ReFS)

ถึงแม้ ReFS นี้จะมีให้ใช้งานมาตั้งแต่ Windows Server 2012 แล้ว แต่ผู้ดูแลระบบหลายๆ ท่านก็ยังไม่มีโอกาสได้ลองใช้งาน การศึกษา ReFS ที่เป็นระบบ File System ใหม่ล่าสุดของ Microsoft ที่ตอบโจทย์ทั้งประเด็นด้านความทนทานและการเพิ่มขยายระบบได้เป็นอย่างดีนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้เป็นอีก File System ทางเลือกสำหรับการ Deploy ระบบต่างๆ บนเทคโนโลยีของ Microsoft นั่นเอง และจะทำให้การออกแบบระบบ Storage บน Windows Server 2016 มีความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของ ReFS สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/storage/refs/refs-overview ครับ

 

7. Software-defined Networking (SDN)

นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหญ่ที่ถูกใส่ลงมาใน Windows Server 2016 ด้วยการพัฒนาความสามารถในการใช้งาน Network Virtualization ไปอีกระดับ โดยมีการพัฒนา Server Role ใหม่ที่เรียกว่า “Network Controller” ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในรูปแบบ Software-defined Network และน่าจะกลายเป็นอีกเทคโนโลยีที่ Microsoft พัฒนาต่อเนื่องระยะยาวจากแนวโน้มของการที่ Microsoft ได้พัฒนา SDN เป็นอย่างดีบน Microsoft Azure

SDN ของ Microsoft นี้ถือว่ามีความหลากหลายไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นระบบ Network Controller, VXLAN Overlay, SDN Gateway, Network Security Group, Distributed Firewall, User-defined Routing, RDMA, Switch Embedded Teaming, VM Multi-queue, Software Load Balancer, QoS และ Microsegment โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/networking/networking ครับ

Credit: Microsoft

 

8. PowerShell

PowerShell ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในการบริหารจัดการระบบต่างๆ ของ Windows Server 2016 ไปแล้ว และหากผู้ดูแลระบบต้องทำงานกับ Windows Server เยอะๆ การเรียนรู้ PowerShell ให้สามารถใช้งานได้คล่องนั้นก็ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ดีทีเดียว

ทาง Microsoft ได้จัดทำหน้าเว็บสำหรับ PowerShell โดยเฉพาะเอาไว้ที่ https://msdn.microsoft.com/en-us/powershell/mt173057.aspx ครับ รวมถึงมีวิดีโอสอนที่ https://mva.microsoft.com/en-us/training-courses/getting-started-with-microsoft-powershell-8276?l=r54IrOWy_2304984382 ให้ได้ไปเรียนกันฟรีๆ ด้วย

 

9. Shielded Virtual Machine

สำหรับคนที่ใช้งาน Hyper-V ได้แล้ว ขั้นถัดไปก็คือการปกป้อง Hyper-V ให้มั่นคงปลอดภัยจากการโจมตีต่างๆ ทางระบบเครือข่าย และ Shielded Virtual Machine ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าเรียนรู้และทดลองใช้งานให้เข้าใจครับ

ลองดูคลิปประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับ Shielded Virtual Machine ได้ที่ https://channel9.msdn.com/Shows/Mechanics/Introduction-to-Shielded-Virtual-Machines-in-Windows-Server-2016 ครับ

 

10. Rolling Upgrade

จากข่าว WannaCry Ransomware ที่โด่งดังนั้นก็คงทำให้เราเห็นความสำคัญของการหมั่นอัปเกรดระบบอย่างต่อเนื่อง และ Windows Server 2016 ก็มาพร้อมกับความสามารถในการทำ Cluster OS Rolling Upgrade ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถอัปเกรดจาก Windows Server 2012 R2 ภายใน Cluster ให้กลายมาเป็น Windows Server 2016 ได้โดยไม่ต้องหยุดบริการใดๆ ของ Hyper-V และ Scale-Out File Server ทำให้ไม่เกิด Downtime ในระบบเลยนั่นเอง อีกทั้งยังนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีของการทำ Patching และ Maintenance ได้อีกด้วยครับ ถือเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ควรใช้งานให้เป็นเป็นอย่างยิ่ง

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Rolling Upgrade สามารถศึกษาได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/failover-clustering/cluster-operating-system-rolling-upgrade เลยครับผม

 

ติดต่อ Microsoft Thailand ได้ทันที พร้อมมีโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้าองค์กร

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft Windows Server 2016 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมโปรโมชันใหม่ๆ จากทีมงาน Microsoft Thailand ได้ทันทีที่ https://aka.ms/smb_update_server2016 หรือโทร 02-263-6888 ครับ

from:https://www.techtalkthai.com/10-windows-server-2016-features-every-it-admin-should-start-using/

TechTalk Webinar Replay: พาองค์กรก้าวสู่คลาวด์ในแบบคุณ ด้วย Windows Server 2016 โดยทีมงาน Microsoft Thailand

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าชมการบรรยาย TechTalk Webinar เรื่อง “พาองค์กรก้าวสู่คลาวด์ในแบบคุณ ด้วย Windows Server 2016” โดยคุณฟูเกียรติ จุลนวล ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณพจนารถ พุทธพฤกษ์  ผู้ดูแลทางด้านงานการตลาดของธุรกิจคลาวด์ ซึ่งเป็นการเล่าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจบน Windows Server 2016 โดยสามารถดูวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

สำหรับผู้ที่สนใจวิดีโอย้อนหลังทั้งหมดของ TechTalk Webinar สามารถติดตามได้ที่ https://www.youtube.com/channel/UCfPhExRni82PH-N7-5Eyq2g เลยครับ

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-replay-moving-to-enterprise-cloud-using-microsoft-windows-server-2016-by-microsoft-thailand/

Microsoft แจก Windows Server 2016 Performance Tuning Guide ให้ศึกษากันได้แล้ว

สำหรับผู้ดูแลระบบสาย Microsoft Windows Server เรามีของสนุกๆ มาให้อ่านกันอีกแล้ว คือ Windows Server 2016 Performance Tuning Guide ที่ทาง Microsoft ปล่อยออกมาปลายเดือนที่แล้วครับ

Credit: Microsoft

 

ภายใน Microsoft Windows Server 2016 Performance Tuning Guide ฉบับนี้ จะครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ส่วนของการทำ Hardware Tuninng จากแบ่ง Tune ตาม Server Role ที่ครอบคลุมทั้ง AD, Container, File Server, Hyper-V, Remote Desktop Server และ Web Server ไปจนถึงการตั้งค่าใน Server Subsystem ต่างๆ เช่น Cache & Memory Management, Software-defined Networking และ Storage Spaces Direct ครับ เนื้อหาไม่ยาวมาก 199 หน้าภาษาอังกฤษล้วนเท่านั้น

ตัว Performance Tuning Guide อยู่ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/administration/performance-tuning/ นะครับ หรือใครอยากโหลดเก็บไว้อ่านก็มีแบบ PDF ที่ https://docs.microsoft.com/pdfstore/en-us/WS.WindowsServerDocs/live/administration/performance-tuning.pdf ครับ ใครสนใจก็เข้าไปอ่านกันได้เลย

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-windows-server-2016-performance-tuning-guide/