คลังเก็บป้ายกำกับ: MARKETER

Infographic: ทุกเรื่อง voice search ที่นักการตลาดควรรู้


voice search หรือการค้นหาด้วยเสียงยังเป็นดินแดนลึกลับที่นักการตลาดหลายคนยังไม่มีข้อมูลอินไซต์มากนัก ดังนั้น Infographic นี้จึงรวบรวมสิ่งที่นักการตลาดควรรู้เกี่ยวกับวงการค้นหาด้วยเสียง ในวันที่ผู้ใช้หลายคนเอ่ยถามคำถามกับผู้ช่วย AI แทนที่จะพิมพ์คำถามเหล่านั้นลงในเสิร์ชเอ็นจิ้น

พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลที่เปลี่ยนไปกลายเป็นความจำเป็นที่ทำให้ผู้จัดการแบรนด์ทั่วโลกต้องปรับตัวตามให้เหมาะสม โดยเฉพาะรูปแบบการทำการตลาดบนเครื่องมือข้อหาข้อมูล เพราะวันนี้สถิติชัดเจนแล้วว่า 89% ของผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับผู้ช่วย AI ล้วนต้องการให้ระบบค้นหาข้อมูลอัตโนมัติทั้งสิ้น ขณะที่ 88% บอกว่าใช้เพื่อถามคำถาม ซึ่ง 77% ของคนกลุ่มนี้บอกว่าติดใจความสบาย และจะเลือกพูดคำแทนที่จะพิมพ์ในเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม

ไม่เพียงวลี “OK, Google …,” หรือ “ Hey, Siri …” และ “Alexa …” จะเป็นจุดเริ่มต้นการสืบค้นออนไลน์ของผู้บริโภคจำนวนมาก แต่ผู้จัดการแบรนด์ควรรู้ว่านี่คือโอกาสต่อยอดการสนทนาถึงแบรนด์ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อการค้นหาด้วยเสียงกลายเป็นเรื่องธรรมดา การคิดหาทางให้แบรนด์มีโอกาสสนทนา มากกว่าการถามตอบแบบจบเร็วจะเพิ่มโอกาสในการสร้างแบรนด์ใด้จริง

ขณะนี้เทรนด์การใช้ voice search ในหลายตลาดเริ่มขยายไปถึงการค้นหาบทวิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่สนใจซื้อ ดังนั้นนักการตลาดที่ปรับกลยุทธ์ตามเทรนด์ฮิตของผู้ช่วยดิจิตอลเหล่านี้ ก็อาจจะไม่พลาดโอกาสในการคว้าลูกค้ากลุ่มใหญ่ในอนาคต

Infographic จากเอเจนซี่โฆษณา MDG ชิ้นนี้แนะนำแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญและเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคที่ต้องการแสดงออกด้วยคำถาม แทนที่จะพิมพ์ออกมา ว่านักการตลาดควรไม่มองที่คีย์เวิร์ดหรือคำหลักที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่ควรขยายให้รวมถึงการค้นหาบทสนทนาที่กว้างขึ้น

ที่สำคัญ คือนักการตลาดควรท่องให้ขึ้นใจว่าผู้ช่วยเสียงหรือ voice assistants ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานที่เท่ากันหรือเหมือนกัน ดังนั้นนักการตลาดควรปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับบริการ voice assistants ของแต่ละค่าย ซึ่งใน Infographic นี้มีแนะนำข้ออมูลเชิงลึกเพิ่มเติมไว้ด้วย รวมถึงอีกหลายสถิติที่แสดงรายละเอียดความสำคัญของการค้นหาด้วยเสียง โดยทุกสถิติตอกย้ำว่านักการตลาดต้องปรับตัวในวันที่คน 70% ต้องการค้นหาด้วยเสียง มากกว่าพิมพ์ข้อความ.

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/05/infographic-marketer-voice-search/

Tomorrow or Today สิ่งที่นักการตลาดควรรู้กับกูรูชั้นนำของไทย

ฝีมือของนักการตลาดในยุคใหม่นี้ เรียกได้ว่ามีความคิดสร้างสรรค์กันมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าความสร้างสรรค์เหล่านั้น ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และเทรนด์ของโลกประกอบกัน ทำให้ผลงานโฆษณายุคนี้ของคนไทย น่าสนใจและได้รับการยอมรับจากต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ

ทาง Thumbsup ได้เข้าไปฟังงานแถลงข่าว Adfest 2019 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และนี่คือสุดยอดแนวความคิดจากนักการตลาดชั้นนำของประเทศไทยทั้ง 4 คน และหวังว่าผู้อ่านจะนำแนวทางเหล่านั้นไปปรับใช้กับงานโฆษณาชิ้นใหม่ๆ ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

คนชนะคือผู้อยู่รอด

คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ Chief Executive Officer, GroupM Thailand,

ในสมัยก่อนความเก่งของพนักงานขายจะมาจากความรู้และประสบการณ์ทั้งสิ้น แต่ในยุคที่มีการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มชั้นนำ ทำให้เครื่องมือที่ถูกพัฒนามาเพื่อช่วยจดจำสินค้าที่ลูกค้าสนใจ การค้นหา อ่านรีวิว ทำให้ระบบหลังบ้านสามารถจัดกลุ่มสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดี

ดังนั้น บทบาทของนักการตลาด จึงไม่ควรอยู่แค่กรอบแบบเดิมๆ ยิ่งเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ความกดดันยิ่งสูง เพราะโซเชียลมีเดียเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ขนาดเล็ก ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องหาเครื่องมือและการปรับตัวที่เหมาะสม

ใครทำได้ดีกว่าคนนั้นชนะ

ศิวัตร ยังย้ำด้วยว่า ทักษะของนักการตลาดยุคใหม่จึงไม่ควรจำกัดอยู่แค่เรื่องของการวางแผนโฆษณาแบบเดิมๆ แต่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้รอบด้าน เป็นได้ทั้งคอนซัลท์ นักการตลาด ประชาสัมพันธ์ โปรแกรมเมอร์ เพราะจะเพิ่มโอกาสที่ได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง

ปัจจุบันคนชนะก็จะชนะมากขึ้นเรื่อยๆ และช่องว่างระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้ จะยิ่งห่างกันมากขึ้น เราต้องตื่นตัวและตามให้ทันเพราะความหมายของคำว่า “แพ้” ในยุคนี้คือ “ปิดกิจการ” เลย

พัฒนาทักษะ เรื่องสำคัญของอนาคต

ดร. สิรยา คงสมพงษ์ Senior Consultant, SEAC (South East Asia Center)

เรื่อง Digital Talent ของคนรุ่นใหม่นั้น มีความสำคัญมาก เพราะเราจะอยู่ในกรอบเดิมๆ อีกไม่ได้ แต่ต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเอง เพื่อให้ทันต่ออนาคต ยิ่งความรู้ที่เราเคยสั่งสมมาสมัยเรียนจะนำมาใช้ประโยชน์ในอาชีพได้น้อยลง ยิ่งหมายความว่าเราจะยืนอยู่กับที่ไม่ได้

จากผลการสำรวจขององค์กรชั้นนำมากมายที่บอกว่าปี 2030 หุ่นยนต์หรือเอไอจะเข้ามาทดแทนแรงงานคน ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้คนจะยืนอยู่เฉยๆ ไม่ปรับตัวไม่ได้

ดังนั้น องค์กรจึงควรผลักดันให้พนักงานเกิด Passion ใหม่ๆ และเด็กรุ่นใหม่ก็อยากเปลี่ยนอาชีพไปเป็น Influencer มากขึ้น เพราะอาชีพนี้คือการแนะนำคนอื่น ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้คนขวนขวายใฝ่รู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อรู้มากกว่าเดิม รวมถึงสร้างโอกาสในชีวิตอนาคตได้

พฤติกรรมเปลี่ยน ความคาดหวังย่อมสูงขึ้น

คุณกิตติพงษ์ วีระเตชะ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านแบรนด์และการสื่อสาร, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 

พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงทุกวัน อยู่ที่มุมมองของแต่ละคน ว่าจะอยู่ในโลกเดิมหรือเปลี่ยน (Tomorrow Or Today) รวมทั้งอยู่ที่การมองภาพว่า เพราะสิ่งที่ยังคงอยู่ในเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องของ “ความรู้สึก”

ดังนั้น ประสบการณ์และความคาดหวังของลูกค้า จะสูงขึ้นทุกวันและเปลี่ยนไปตามเทรนด์เทคโนโลยี ยิ่งคาดหวังมาก ความสุขในการใช้ชีวิตจะยิ่งลดลง แน่นอนว่า นักการตลาดทุกคนไม่มีใครทำโฆษณาแบบไม่หวังผล แต่ต้องปรับมุมมองในการวางแผนงานโฆษณาว่า ทำไปเพื่ออะไรด้วย

Culture capital มาจากแบรนด์ที่ทำมากกว่าพูด การที่เราอยู่ในธุรกิจครีเอทีฟต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าผลงานนั้น “น่าสนใจ” มากกว่าการวางแผนแบบ 360 องศา

เอาให้ชัด Tomorrow consumer คือใคร

คุณวรรณา สวัสดิกูล Vice President, Chief Marketing Officer, Thai Samsung Electronics Co., Ltd.

เมื่อพูดถึงคำว่า Tomorrow consumer คือ ทุกคนมักคิดถึงเด็ก Gen Y-Z แต่สำหรับสิ่งที่คุณวรรณาคิดนั้น คือกลุ่มผู้สูงวัย หรือ senior population เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ แต่พวกเขาต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น แบรนด์ต้องมองให้ชัดว่า เราจะถอยให้เครื่องมือของเราใช้งานได้ง่ายหรือทำให้ยากตามยุคของอนาคต

Tomorrow channel คือ การก้าวข้ามผ่านจุดการขายแบบเดิมมาเป็นออนไลน์ เช่นการ repeat customer repeat order ทำให้เกิดรายได้ระยะยาว ใครที่มีฐานลูกค้าเยอะ ย่อมเป็นโอกาสในระยะยาว

Tomorrow content คือ คอนเทนท์ประเภทวีดีโอและไม่อยู่นิ่ง เริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นทำให้ Youtuber ต้องครีเอทแอคชั่นให้คนอยากแชร์ เช่น เพจคุณยายแกะกล่อง ที่ถือว่าเป็นยุคของการรีวิวที่น่าสนใจ โดยคนที่เราอาจละเลย

คอนเทนท์เซลฟี่แบบเดิม อาจไม่ได้โดนใจเท่ากับคอนเทนต์ที่เคลื่อนไหวได้ เพราะรูปแบบการเสพย์คอนเทนต์ของคนเปลี่ยนไปแล้ว แบรนด์จึงต้องวางแผนให้ดีและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้นด้วย

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/03/adfest-2019-concept-for-marketer/

ไม่ธรรมดา ภัย Auto-Redirect ทำนักการตลาด-เจ้าของเว็บสูญเงินพันล้านดอลล์ต่อปี

ภัย Auto-Redirect นั้นเป็นสิ่งที่นักท่องเน็ตหลายคนอยากเบือนหน้าหนี เพราะอยู่ดีๆเบราว์เซอร์ก็พาไปหาเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์แบบอัตโนมัติ การสำรวจล่าสุดชี้ว่าภัย Auto-Redirect นั้นทำความเสียหายให้วงการโฆษณาไม่น้อย ทั้งในฝั่งเจ้าของเนื้อหาผู้เผยแพร่หรือ publisher และฝั่งนักการตลาด marketer ประเมินค่าเสียหายเบื้องต้นสูงถึง 1.13 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

เม็ดเงิน 1.13 พันล้านเหรียญหรือ 3.6 หมื่นล้านบาทนั้นไม่ธรรมดา โดยตัวเลขนี้คำนวณบนฐานรวมรูปแบบ redirect ที่สร้างผลกระทบกับชาวออนไลน์ 7 แบบใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกเปิดโปงว่าเป็นขบวนการที่พุ่งเป้าไปที่ publisher ชั้นนำ

ผลการประเมินคือ publisher นั้นเสียหายมากกว่า 210 ล้านเหรียญ น้อยกว่านักโฆษณาที่คาดว่าเสียหายมากกว่า 920 ล้านเหรียญต่อปี

ผู้ประเมินความเสียหายนี้คือบริษัทวิเคราะห์โฆษณา GeoEdge ซึ่งอธิบายว่ากล Auto-Redirect นั้นมักเป็นกลยุทธ์สำหรับการแพร่กระจายโฆษณาปลอม โดยการ Auto-Redirect ส่วนใหญ่หรือมากกว่า 48% นั้นเป็น malware หรือซอฟต์แวร์ไม่ประสงค์ดี

การสำรวจชี้ว่าการเปลี่ยนเส้นทางอัตโนมัติหรือ Auto-Redirect ที่สร้างความเดือนร้อนรำคาญนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ความน่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่ของการ Auto-Redirect นั้นเกิดขึ้นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ คิดเป็นสัดส่วนราว 72%

ที่สำคัญ การสำรวจพบว่าภัย Auto-Redirect ส่วนหนึ่งที่ถูกศึกษาในครั้งนี้มุ่งโจมตีสื่อใหญ่ระดับโลกเช่น The Wall Street Journal, Reuters, Forbes และอื่น ๆ โดยมัลแวร์จะเปิดเฟรมที่มองไม่เห็นจำนวนมาก และสร้างคลิกลวงจนทำให้นักการตลาดต้องสูญเงินฟรี

ที่มา: MarketingDive

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/01/auto-redirect-cost/

CMO แห่ง Huawei ติดทำเนียบสุดยอดนักการตลาดโลกปีนี้

สมาพันธ์โฆษณาโลกหรือ World Federation of Advertisers นั้นมีธรรมเนียมจัดอันดับนักการตลาดโลกเพื่อให้รางวัลเป็นประจำ ล่าสุดหัวหน้าทีมการตลาดหรือ CMO ที่ถูกจัดขึ้นทำเนียบปีนี้มีแบรนด์เอเชียอย่าง Huawei รวมอยู่ด้วย ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจสำหรับ Huawei ในการก้าวสู่ระดับโลก

ในรายชื่อ CMO จำนวน 6 รายที่มีคิวได้รับรางวัล Global Marketer of the Year มีชื่อหัวหน้าฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Huawei อย่าง Glory Cheung ปรากฏชัดเจน โดยรายชื่อ CMO ทั้ง 6 รายถูกเปิดเผยสู่สาธารณชนหลังจากผ่านกระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารอบ 35 ราย ที่ถูกเลือกโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาด 14 คน

เกณฑ์การตัดสินคือการเลือก CMO ที่มีผลงานแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่โดดเด่นใน 3 ประเด็นหลัก คือการพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นศูนย์กลางมากขึ้น การทำงานอย่างชาญฉลาดกับคู่ค้า และการสร้างงานสุดเก๋ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจที่แตกต่าง

CMO ทั้ง 6 รายที่ได้รับเลือกได้แก่ (เรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อ)

1. Marc Pritchard ประธานเจ้าหน้าที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์ Procter & Gamble
2. Raja Rajamannar ประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร และประธานธุรกิจดูแลสุขภาพ Mastercard
3. Hans-Christian Schwingen ประธานฝ่ายการตลาด Deutsche Telekom
4. Jane Wakely ประธานฝ่ายการตลาด ธุรกิจโภชนาการสัตว์เลี้ยง Mars
5. Keith Weed หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ Unilever
6. Glory Zhang ประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจผู้บริโภค Huawei

จากรายชื่อ 6 คนนี้ จะมีนักการตลาด 1 เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ชนะการโหวต โดย WFA จะจัดลงคะแนนทางเว็บไซต์ต่อไป

แม้ว่า Global Marketer of the Year จะเป็นรายชื่อของนักการตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่การก้าวขึ้นทำเนียบนักการตลาดระดับโลกของผู้บริหาร Huawei ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของแบรนด์สัญชาติเอเซีย ซึ่งโดดเด่นเหนือแบรนด์อื่นในเรื่องการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในมือ

ที่มา: CampaignAsia

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/12/huawei-global-marketer-of-the-year/

5 สิ่งที่ทำให้นักการตลาด “ยิ้มออก” ในปีนี้

ปี 2017 ถือเป็นอีกปีที่นักการตลาดเหนื่อยกันไม่น้อย แต่ก็เป็นช่วงเวลาทองที่ทำให้วงการการตลาดพัฒนาไปได้อย่างเห็นชัด ปัจจัยเสริมคือ 5 สิ่งต่อไปนี้ ที่ทำให้นักการตลาดและผู้จัดการแบรนด์รู้สึก “ขอบคุณ” เพราะนี่คือตัวช่วยชั้นยอดให้การทำงานในปีนี้เป็นไปง่ายขึ้น

จากการรวบรวมของบริษัท MDG Advertising พบว่า 3 เรื่องหลักใน 5 สิ่งที่นักการตลาดจะรู้สึกดีในปีนี้คือเนื้อหาคุณภาพสูงหรือ High-quality content ที่มีจำนวนหนาตามากขึ้นชัดเจนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา ถัดมาเป็นการแข่งขันร้อนแรงระหว่าง Facebook และ Google ที่ทำให้วงการการตลาดออนไลน์มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัด และที่ขาดไม่ได้คือความสามารถของมาร์เทคหรือ marketing technology ที่เสริมแกร่งจนทำให้มีความเข้มแข็งเฉลียวฉลาดกว่าเดิม

เรื่องแรกนั้นเรารู้และเห็นกันชัดเจนอยู่แล้ว เช่นเดียวกับเรื่องการแข่งขันระหว่าง Facebook และ Google ที่ดุเดือดมากในธุรกิจแสดงโฆษณา (Display) โฆษณาร้านค้าออนไลน์ (ecommerce) และโฆษณาแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมายผ่านตำแหน่งที่อยู่หรือ Geo-targeted

สำหรับประเด็น marketing technology ข้อมูลระบุว่าเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานมากที่สุดเป็นกลุ่มวิเคราะห์ รองลงมาเป็นกลุ่มงานบริการลูกค้า และกลุ่มบริหารสื่อโซเชียล นอกนั้นเป็นเครื่องมือเพื่อการทำแคมเปญผ่านอีเมล และการบริหารคอนเทนต์

สำหรับ 2 ประเด็นที่เหลือ (จาก 5 เรื่อง) คือปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นอีกปัจจัยเสริมที่ทำให้วงการการตลาดออนไลน์ขยายตัวขึ้นอีกจากปีที่ผ่านมา จุดนี้ไม่ใช่เฉพาะในสหรัฐฯ แต่ในเอเชียก็เป็นตลาดที่มีการขยายตัวชัดเจน

ยังมีประเด็นเรื่องการทำการตลาดตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีการขยายตัวเช่นกัน

ที่มา: PRDaily

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/11/marketer-thankful/

7 เทรนด์อินเทอร์เน็ตจากรายงานของ Mary Meeker ประจำปีนี้ที่นักการตลาดควรรู้

อย่างที่เราเคยเล่าให้ฟังไปแล้ว Mary Meeker เป็นนักวิเคราะห์หุ้นเทคโนโลยีที่นิตยสาร Forbes เคยยกให้เป็นผู้หญิงที่มีอิทธิพลมากอันดับ 77 ของโลก ล่าสุด Meeker เผยผลสำรวจเทรนด์อินเทอร์เน็ตประจำปี 2017 ไว้ที่งานประชุมที่สำนักข่าว Re/code จัดขึ้นในชื่อ Code Conference เมื่อ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา

เทรนด์แรกที่นักการตลาดควรรู้คือยอดขายสมาร์ทโฟนที่เติบโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากยอดขายสมาร์ทโฟนนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 3% ในปี 2016 น้อยกว่าปีก่อนหน้าที่ยอดจัดส่งมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 10% การเติบโตของจำนวนผู้ที่ซื้อและใช้สมาร์ทโฟนที่ชะลอตัวยังทำให้การติดตั้งแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเพียง 12% ในปี 2016 เท่านั้น น้อยกว่ามากเทียบกับ 25% ที่ได้รับในปี 2015

เทรนด์ที่ 2 คือสื่อดิจิทัลกำลังเติบโตต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปี 2016 และอีกหลายปีนับจากนี้ สถิติที่สำคัญของเทรนด์นี้คือระยะเวลาการใช้สื่อดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.6 ชั่วโมงต่อวัน จาก 5.4 ชั่วโมงในปี 2015

ในระยะเวลาเท่านี้ กว่า 3.1 ชั่วโมงเป็นการชมผ่านโมบาย (เพิ่มจาก 2.8 ชั่วโมงในปี 2015) แต่การชมบนเดสก์ท็อปนั้นคงที่ 2.2 ชั่วโมง ขณะที่การชมบนอุปกรณ์อื่นคิดเป็น 0.4 ชั่วโมง

เทรนด์ที่ 3 คือธุรกิจโฆษณาออนไลน์เติบโตขึ้นได้ด้วยตลาดอุปกรณ์พกพา ตัวเลขรายได้รวมโฆษณาออนไลน์ปี 2016 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 22% สูงกว่าสัดส่วน 20% ที่เคยทำได้ในปี 2015 โดยเงินสะพัดส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากโทรศัพท์มือถือ เห็นได้ชัดจากรายได้จากโฆษณาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้นสูงกว่าโฆษณาบนเดสก์ท็อปแล้ว

เทรนด์ที่ 4 คือตลาดการโฆษณาออนไลน์ทั่วโลกคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดแซงทีวีในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยการสำรวจพบว่าโฆษณาบนเครือข่ายโฆษณาของ Google และ Facebook นั้นครองสัดส่วน 85% ของการเติบโตโฆษณาออนไลน์ในสหรัฐฯ ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของ 2 ยักษ์ใหญ่ในโลกการโฆษณาออนไลน์

เทรนด์ที่ 5 คืออุปกรณ์สั่งการด้วยเสียงจะยิ่งนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนยุคนี้เริ่มใช้อุปกรณ์ผู้ช่วยเสียงกันมากขึ้น อย่างเช่น Alexa, Siri และ Google Assistant จุดนี้รายงานระบุว่าตลอดปี 2016 ที่ผ่านมา 20% ของการค้นหาบนมือถือเกิดขึ้นโดยเสียงพูดของผู้ใช้

เทรนด์ที่ 6 คือโปรแกรมปิดกั้นโฆษณาจะยังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะโปรแกรม Ad blocking บนอุปกรณ์พกพา รายงานระบุว่าจำนวนผู้ใช้โปรแกรม Ad blocking เพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านเครื่องในปีที่ผ่านมา แต่ตลาด desktop ad blocking กลับเติบโตช้าลง คิดเป็นตัวเลขราว 240 ล้านเครื่อง

เทรนด์ที่ 7 คือโฆษณากลุ่ม Incentive ที่จูงใจให้ผู้ชมกดและโฆษณาที่สามารถกดข้ามไปได้จะได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนโฆษณาที่เล่นก่อนวิดีโอ (preroll) และโฆษณากลุ่มป็อปอัปจะเริ่มเสื่อมความนิยมลง

นอกจาก 7 เทรนด์นี้ ผู้สนใจสามารถชมสไลด์ฉบับเต็มได้ที่นี่

ที่มา: Adweek

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/06/mary-meekers-2017-report-marketer/

เชื่อมสองโลกเข้าด้วยกันต้องทำให้เร็ว LINE-Tencent เดินเกมแพลตฟอร์มดิจิทัล ตอบโจทย์เทรนด์ O2O

โลกยังหมุนอยู่ทุกวัน แต่ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่เข้ามา ผู้บริโภคก็ดำรงชีวิตอยู่บน 2 โลกพร้อมๆ กัน นั่นคือโลก Online และ Offline ดังนั้นการจะทำตลาดอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ต้องทำไปพร้อมๆ กัน หรือการคิดแบบ O2O

ภาพ Flickr ของ Joe The Goat Farmer

เดินฝั่งเดียวไม่ได้ ต้องไปพร้อมๆ กัน

การคิดแบบ O2O หรือ Online to Offline รวมถึง Offline to Online เป็นวิธีคิดที่นักการตลาดต้องนำไปประยุกต์ใช้ในปีนี้ เพราะผู้บริโภคไม่ได้อยู่แค่โลก Online หรือ Offline ผ่านเหตุผลเรื่องการดำรงชีวิตประจำวันทั้งสองฝั่งเกือบจะเท่ากัน ดังนั้นการจะทำตลาดแค่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งก็คงเข้าถึงผู้บริโภคไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งการเดินการตลาดในรูปแบบนี้ จำเป็นต้องอาศัยแพลตฟอร์มกลาง และ Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ และเชื่อมต่อพฤติกรรมที่ผู้บริโภคอยู่ทั้งสองโลกเข้าด้วยกัน ก่อนจะเข้าไปตอบโจทย์พวกเขาได้ตรงจุดที่สุด

อริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ LINE เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เทรนด์ O2O เป็นเรื่องที่นักการตลาดต้องศึกษา และอ่านเกมหลังจากนี้ให้ออก เพราะยิ่งเชื่อมต่อกันได้มากเท่าไหร่ การเข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการทำตลาดก็มากขึ้นเท่านั้น แต่การทำเช่นนั้นได้ต้องอาศัยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น Location Service หรือการบอกตำแหน่งของผู้บริโภคด้วย Smartphone ของพวกเขา หรือ Beacon ที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก สามารถส่งสัญญาณรัศมี 10-80 ม. เพื่อแจ้งโปรโมชั่นไปยังผู้บริโภคที่อยู่บริเวณนั้นได้

ภาพโดย Jonathan Nalder from Kilcoy, Australia (beacons by jnxyz.education) [CC BY 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by/2.0)%5D, via Wikimedia Commons

“เรื่อง Beacon เราได้ดยินกันมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ที่ยังไม่เกิดเพราะปัญหาเรื่องเทคโนโลยี และ Smart Device ที่ยังไม่ใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อทุกอย่างมันพร้อม เช่น Beacon ก็มีขนาดเล็กเท่า Thump Drive และผู้บริโภคก็เข้าถึง Smartphone กันมากขึ้น กลายเป็นว่าแบรนด์ หรือธุรกิจต่างๆ สามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่บนโลกออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Ecommerce และหากมีหน้าร้าน ก็สามารถเข้าถึงผู้บริโภคด้วย Beacon ได้เช่นกัน เท่ากับว่าผู้บริโภคจะอยู่ตรงไหน ก็สามารถเข้าถึงได้”

ร่วมมือสร้างแพลตฟอร์มต่อยอดธุรกิจ

สำหรับ LINE ปัจจุบันได้วางแผนตัวเองเป็นแพลตฟอร์มกลาง ผ่านการรวม Content และบริการต่างๆ ไว้ภายใน Application เดียว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแพลตฟอร์ม O2O เช่น LINE Man ที่บริษัทร่วมมือกับ Lalamove กับ Alpha Fast เพื่อขยายระบบขนส่ง และ Wongnai เพื่อรวบวมร้านอาหารไว้กว่า 20,000 ร้าน จนกลายเป้นบริการส่งอาหารอันดับ 1 ของประเทศไทย และช่วยเชื่อมต่อร้านอาหารรายย่อยขึ้นทำตลาดออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ LINE Man แล้วกว่า 4 แสนราย ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีมันหนีไม่ได้ การทำให้มันง่ายต่อผู้บริโภคก็สำคัญ

นาธาน อุปลวัณณา Head of Sales for Topspace บริษัท เทนเซนต์ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า O2O เป็นอีกแนวคิดในการเดินหน้าทำตลาดหลังจากนี้ เนื่องจากบริษัทต้องการเป็นแพลตฟอร์มกลางที่เชื่อมต่อเรื่องต่างๆ เช่นล่าสุดในอุตสาหกรรมเพลง ทางกลุ่มเทนเซนต์มีบริการ JOOX ที่ช่วยเหลือให้ศิลปินไทยสามารถมีที่ยืนในตลาดได้ ผ่านการลดอัตราการรับฟังแบบละเมิดลิขสิทธิ์ และให้ฟังฟังบน Application แบบ On Demand แทน ซึ่งหลังจากนี้จะนำเพลงที่ให้รับฟังบนโลก Online มาอยู่ในโลก Offline ผ่านการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อทั้ง 2 โลกให้เข้าใกล้กันมากที่สุด

ผู้บริโภคไม่ง่าย เพราะถูกตามใจมาเยอะ

อย่างไรก็ตามแม้จะทำตลาดแบบ O2O แล้ว แต่การศึกษาผู้บริโภคให้ถ่องแท้ก็เป็นเรื่องจำเป็นอยู่ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคถูกตามใจจากแบรนด์ และเอเยนซี่มากเกินไป ทำให้จะทำตลาดให้ตรงใจกับผู้บริโภคก็ต้องทำอะไรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสื่อให้หลากหลาย พร้อมกับการเดินเกมการสื่อสารไปพร้อมๆ กันระหว่าง Online และ Offline ขณะเดียวกันการใช้โฆษณาที่ไม่เหมือนโฆษณา หรือ Native Advertising ก็เป็นอีกวิธีที่เข้าถึงผู้บริโภคได้เช่นกัน เพราะสร้างประสบการณ์ได้มากกว่าโฆษณาปกติ และดึงดูดผ่านเนื้อหาที่แตกต่าง

สรุป

Online และ Offline ต้องเดินเกมไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นนักการตลาดต้องอ่านเกมให้ขาดว่าช่วงเวลาไหนต้องใช้ Online และช่วยเวลาไหนต้อง Offline ที่สำคัญการใช้เครื่องมือใหม่ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภค พร้อมใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อทำให้ตรงเป้าหมายมากที่สุด ก็น่าจะช่วยแบรนด์ และเอเยนซี่เข้าถึงเป้าหมายได้เช่นกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/o2o-marketing-trend/

ปี 2017 นักการตลาด APAC ยังโฟกัสที่ App engagement มากที่สุด

เพื่อให้ทราบว่านักการตลาด APAC ให้ความสำคัญกับนโยบายดิจิทัลใดเป็นพิเศษในปีนี้ บริษัทวิจัยอย่าง Econsultancy และ Adobe จึงสัมภาษณ์นักการตลาดใน APAC จนพบว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้าง app engagement โดยเน้นนโยบายตอบโจทย์ความสนใจส่วนตัวของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก

ผลสำรวจนี้ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแพร่หลาย ทำให้ app engagement กลายเป็นพันธกิจอันดับ 1 ที่นักการตลาดในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญมากกว่าภูมิภาคอื่น

การสำรวจครั้งนี้ถูกเผยแพร่ในชื่อ Digital Trends 2017 พบว่า 14% ของนักการตลาดใน APAC ยกให้การสร้าง mobile app engagement เป็น top priority สัดส่วนนี้สูงกว่า 12% ของนักการตลาดในอเมริกาเหนือและ 9% ของนักการตลาดในยุโรป

กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจนี้มีจำนวนมากกว่า 14,163 คน ราว 64% เป็นบุคลากรฝั่งลูกค้าหรือไคลเอนต์ ขณะที่อีก 36% เป็นบุคลากรฝั่งผู้ให้บริการ (supply side) โดย 17% ของกลุ่มตัวอย่างอาศัยในเอเชีย และอีก 13% อาศัยในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

นอกจาก app engagement การตลาดโซเชียลยังมีความสำคัญมากขึ้นในสายตาของนักการตลาด APAC โดยกลุ่มตัวอย่าง 31% ของนักการตลาดในเอเชียระบุว่าให้ความสำคัญกับ Social Marketing สูงกว่า 27% ของนักการตลาดในอเมริกาเหนือ และ 28% ของนักการตลาดยุโรป

การสำรวจพบว่า 19% ของนักการตลาด APAC ยก social marketing เป็นโอกาสทำตลาดที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการประเมินว่าทรานแซกชัน ecommerce ราว 1 ใน 3 ของอาเซียนจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย สถิตินี้ทำให้ Facebook พยายามเพิ่มหมวดหมู่บริการโฆษณาบน Instagram รวมถึงวิธีการค้าขายบน Messenger และ WhatsApp เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นบนอาเซียน

ยังมีผลสำรวจน่าสนใจอีกมาก ติดตามได้จากที่มา

ที่มา: CampaignAsia

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/03/app-engagement-apac-marketers/

8 สถิติสะท้อน Instagram โอกาสทองนักการตลาดด้านกีฬา

10bits-instagram-tmagArticle

ไม่ใช่แค่แฟชันหรือความสวยความงาม แต่สถิติล่าสุดชี้ว่า Instagram เป็นเครือข่ายสังคมที่มีโอกาสทองด้านกีฬาแฝงอยู่ด้วย โดยผู้บริหาร Instagram เปิดเผย 8 สถิตินี้ผ่านมหกรรมบาสเก็ตบอล NBA เป็นกรณีศึกษาในชื่อ “From the Olympics to the Pick-up Game: Instagram Talks Sports.”

การแข่งขัน NBA นั้นจะเริ่มจุดพลุวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ทีม Golden State Warriors จึงเริ่มเคลื่อนไหวบน Instagram แคมเปญที่ทำคือการโปรโมทแอพที่เชิญให้สาวกชมไฮไลท์เกมได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่สามารถพ่วงโฆษณา Instagram ขายตั๋วชมเกมและขายเสื้อทีมได้อย่างไร้รอยต่อ

ประเด็นนี้ทีมการตลาดของ Warriors พบว่าตัวเลข return on investment หรือ ROI ของโฆษณานั้นดีกว่าปกติถึง 13 เท่าตัวซึ่งนับรวมยอดขายของที่ระลึกรวมถึงตั๋วชมทั้งหมด

สถิติที่ 2 คือกว่า 30% ของคอนเทนต์ 100 อันดับแรกที่ บัญชีผู้ใช้ Instagram กลุ่มวัยรุ่นคลิกติดตามล้วนเกี่ยวกับกีฬา จุดนี้สะท้อนว่าวัยรุ่นบน Instagram ก็สนใจกีฬาไม่แพ้เรื่องอื่น

ทั้งหมดนี้ James Quarles รองประธาน Instagram เสริมว่าชาว Instagram กว่า 1 ใน 3 คลิกติดตามบัญชีของนักกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้ ตัวเลขกลม ๆ ของผู้ใช้ที่ติดตามคนกีฬากลุ่มนี้บน Instagram คือ 165 ล้านบัญชี

สถิติที่ 4 เกี่ยวกับวิดีโอ ผู้บริหาร Instagram ระบุว่ายอดชมวิดีโอบน Instagram เพิ่มขึ้น 150% ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สถิตินี้เชื่อมกับสถิติที่ 5 คือโอกาสที่ NBA ฤดูใหม่จะทำยอดชมวิดีโอได้สูงกว่าฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ว่ามียอดชมคลิปยัดห่วงสุดมันส์กว่า 7 พันล้านครั้ง คาดว่ายอดชมในปีนี้จะทะลุ 1 พันล้านครั้งได้ไม่ยาก

ย้อนกลับไปที่เรื่องการคลิกติดตามคนกีฬาของชาว Instagram ค่าเฉลี่ยล่าสุดพบว่าชาส Instagram ติดตามคนกีฬาเฉลี่ย 8 คน โดย 6 คนเป็นกลุ่มนักกีฬาที่ชื่นชอบ แต่ต้องยอมรับว่านักกีฬากลุ่มนี้คือ celebrity ที่ใช้ Instagram โชว์แฟชันของตัวเองจนได้รับความนิยม

สถิติที่ 7 ถูกอ้างอิงจากมหกรรมโอลิมปิก Rio Olympics ที่สามารถสร้างอินเทอร์แอคชันบน Instagram ได้มากกว่า 916 ล้านครั้ง ผ่านกลุ่มผู้ใช้ Instagram ราว 131 ล้านคน สถิตินี้เพิ่มขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับมหกรรม Super Bowl 50 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ทำได้ 155 ล้าน interactions ผ่านผู้ใช้ 38 ล้านบัญชี

สถิติที่ 8 คือกีฬาฟุตบอลหรือที่ชาวอเมริกันเรียกว่า Soccer คือกีฬาที่ฮอตฮิตมากที่สุดบน Instagram เมื่อเทียบกับกีฬาอื่น รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้จากภาพด้านล่าง

sports-insta-01-2016

ที่มา : Adweek

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2016/10/instagram-sports-marketer/

สรุปเทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียของนักการตลาด B2B และ B2C ครึ่งปีแรกของ 2016

จากผลการสำรวจนี้ Facebook ก็ยังเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ธุรกิจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดมากที่สุด และบริษัท 67% มีแผนที่จะเพิ่มกิจกรรมทางการตลาดบน Facebook มากขึ้นในปีนี้ 

การสำรวจชิ้นนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม 2016 โดยมีนักการตลาดจำนวน 5,086 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็นนักการตลาดในสาย B2C 65% และ B2B 35% สำหรับผลการสำรวจที่สำคัญๆ มีดังนี้

โซเชียลเน็ตเวิร์กที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

กลุ่มตัวอย่าง 96% ในกลุ่ม B2C บอกว่า ใช้ Facebook เป็นเครื่องมือทางการตลาด และ 88% ของ B2B ก็ยืนยันเช่นเดียวกัน

1

สำหรับโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ อย่าง YouTube, Instagram และ Pinterest ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักการตลาด B2C ส่วนนักการตลาด B2B จะนิยมใช้ LinkedIn, Twitter, Google+ และ SlideShare

นอกจากนี้ นักการตลาด B2C จำนวน 66% ยังระบุว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญกับธุรกิจของพวกเขา ส่วน LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาด B2B ให้ความสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40% ยกให้มันเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญที่สุด

2

งบประมาณที่ใช้ในแต่ละสื่อ

จากผลการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่า Facebook เป็นช่องทางที่นักการตลาดจัดงบประมาณไปลงมากที่สุด (87%) ตามมาด้วย Google (39%) และ Twitter (18%)

3

ประเภทของคอนเทนต์

ผลการสำรวจนี้ระบุว่า นักการตลาดนิยมใช้คอนเทนต์ที่เป็นรูปภาพ หรืออินโฟกราฟิกมากที่สุด มีสัดส่วนเป็น 74% ตามมาด้วยคอนเทนต์ในรูปแบบบล็อก มีสัดส่วนเป็น 68% อย่างไรก็ตาม นักการตลาดยังให้ความสำคัญกับบล็อกโพสต์มากที่สุด แต่ก็มีสัดส่วนที่ลดลงมาจากปี 2015 เล็กน้อย (45% ในปี 2015 เหลือ 38% ในปี 2016)

4

5

ที่มา : Marketingprofs

 
Source: thumbsup

The post สรุปเทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียของนักการตลาด B2B และ B2C ครึ่งปีแรกของ 2016 appeared first on thumbsup.

from:http://thumbsup.in.th/2016/06/social-media-trends-for-2016/