คลังเก็บป้ายกำกับ: DIGITAL_TIPS

เคล็ดลับในการเพิ่มการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียของคุณ

การวางแผนเรื่องโซเชียลมีเดียนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของทุกแบรนด์ แต่การดึงให้ผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วม กดไลค์ กดแชร์ หรือเพิ่มยอดการติดตาม โดยไม่ต้องใช้งบหรือจ่ายค่าแอดเพื่อสร้างการมองเห็นอยู่บ่อยครั้ง

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายของคุณ

การทำความเข้าใจผู้คนที่คุณพยายามเข้าถึงเป็นก้าวแรกสู่การเข้าถึงผู้คนเหล่านั้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนที่มีแนวโน้มว่าจะสนใจแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณมากที่สุด สมาชิกของกลุ่มนี้มักมีความสนใจ งานอดิเรก และพฤติกรรมร่วมกัน โดยแบรนด์ควรตรวจสอบว่าใครติดตามแบรนด์ของคุณ พวกเขาโต้ตอบกับคุณอย่างไร และทำไมพวกเขาถึงติดตามคุณ รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาด้วย

2. โพสต์ให้ถูกที่และถูกเวลา

แต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลมีผู้ชมที่ไม่ซ้ำกันและมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน หลังจากที่คุณจำกัดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงแล้ว ให้หาว่าแพลตฟอร์มใดที่พวกเขาใช้เวลามากที่สุดและเพราะเหตุใด เมื่อคุณระบุตำแหน่งได้แล้ว ให้เน้นที่การกำหนดว่าผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมมากที่สุดเมื่อใด การโพสต์ในเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้เนื้อหาของคุณโดดเด่นในฟีดที่มีผู้คนออนไลน์อยู่เป็นจำนวนมาก

3. สร้างการเชื่อมต่อทางด้านอารมณ์

การสร้างชุมชนแบรนด์ที่มีส่วนร่วมนั้นต้องการการสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผู้ติดตามของแบรนด์ ไม่ว่าคุณจะดึงความกดดันจากหัวใจของพวกเขาหรือทำให้พวกเขาหัวเราะ ให้แบรนด์ติดต่อกับอารมณ์ที่ต้องการให้ผู้ชมเชื่อมโยงและเห็นแบรนด์เป็นอย่างนั้น

4. คุณภาพเหนือปริมาณ

เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นที่นิยม ลงทุนทรัพยากรของคุณเพื่อสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการโพสต์มากเกินไปหรือโพสต์เพียงเพื่อให้ได้ตามเป้าที่ต้องการโดยไม่สนใจคุณภาพ และนั่นจะทำให้ทีมของคุณเหนื่อยหน่าย และส่งผลเสียต่ออัตราการมีส่วนร่วมของผู้คนได้

5.สร้างเนื้อหาที่มาจากแบรนด์

สร้างเนื้อหาที่เป็นของแท้ เป็นต้นฉบับ และมีรากฐานมาจากเอกลักษณ์ของแบรนด์คุณ หรือถามตัวเองว่าเนื้อหาของคุณทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่

  • เนื้อหาของคุณมีความเกี่ยวข้องหรือไม่?
  • ผู้ชมของคุณรู้สึกว่าคุณ “เข้าใจ” พวกเขาหรือไม่?
  • แบรนด์สื่อสารอย่างจริงใจหรือไม่?
  • คุณมีการผสมผสานเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพซึ่งปรับให้เหมาะกับผู้ชมของคุณในแต่ละช่องทางหรือไม่

6. เลือกประเภทของเนื้อหา

การสร้างเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องสูง มีประโยชน์ และให้ความรู้เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มโอกาสในการเผยแพร่และเพิ่มการแชร์บนโซเชียลมีเดียของคุณ วิฑีในการทำให้เนื้อหาของคุณเข้าใจง่ายและแชร์ได้ ลองนึกถึงอินโฟกราฟิก วิดีโอขนาดสั้น และเนื้อหาเชิงโต้ตอบ นอกเหนือจากนี้ข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มปัจจุบันสามารถช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากกระแสที่ผู้คนต่างสนใจได้ ใช้การรับฟังจากโซเชียลเพื่อค้นหาว่าการสนทนาใดเกิดขึ้นกับแบรนด์และอุตสาหกรรมของคุณ

from:https://www.thumbsup.in.th/technic-for-media?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=technic-for-media

Advertisement

เมื่อแบรนด์มีปัญหา PR จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของลูกค้าอย่างไร

มีหลายคนเคยสงสัยว่าทำไมองค์กรหรือแบรนด์ควรมีฝ่าย PR หนึ่งในเหตุผลสำคัญก็คือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือ PR เปรียบเสมือนหน้าตาของแบรนด์ที่ช่วยสื่อสารระหว่างองค์กรกับลูกค้า องค์กรกับสื่อ รวมทั้งช่วยสอดส่องแบรนด์ว่ากำลังเจอปัญหาเชิงลบหรือมีเรื่องราวดีๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง

วันนี้ thumbsup จะมาบอกให้คุณทราบว่าหน้าที่ของ PR ที่จะช่วยรักษาให้องค์กรของคุณยืนอยู่ได้อย่างแข็งแรงต้องทำอย่างไรบ้างมาฝากกันค่ะ

บอกเล่าเรื่องราวของคุณ เมื่อคนอื่นเงียบ

เมื่อเกิดภาวะถดถอยมักจะเป็นสถานการณ์ที่ทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่เลือกที่จะเงียบ หรือลดการประชาสัมพันธ์ทุกอย่างที่เกี่ยวกับแบรนด์ การทำตัวเงียบหายแบบนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เมื่อคุณเลือกที่จะอยู่นิ่งจะทำให้คนลืมแบรนด์ของคุณได้ง่าย เพราะมีแบรนด์เกิดใหม่ขึ้นทุกวัน สิ่งที่แล้วแบรนด์ควรทำคือการเลือกที่จะสื่อสารให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้ลูกค้ารู้จักคุณในแง่มุมต่างๆ มากกว่าเดิม ทั้งในแง่ของการบอกเล่าเรื่องราว และสร้างความประทับใจแก่ผู้ฟัง และคุณสามารถทำได้โดยการสร้างเรื่องเล่าที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ

วางตำแหน่งลูกค้าของคุณด้วยเนื้อหาจากสื่อ

อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้เกิดความไว้วางใจและความมั่นคงคือผ่านสื่อที่ได้รับ เรื่องที่เป็นกระแส แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ได้รับความเชื่อใจจากผู้คน ดังนั้น เมื่อพวกเขาเห็นว่าแบรนด์ได้รับความไว้วางใจจากสิ่งตีพิมพ์ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะผู้คนจะเห็นด้วยกับแบรนด์ เนื่องจากหลายบริษัทกำลังตัดงบประชาสัมพันธ์ นักข่าวจำนวนมากจึงมองหาเนื้อหาใหม่ๆ แบรนด์จึงควรทำคอนเทนต์ที่ไม่มีวันหมดอายุ สามารถพบได้ง่ายและแชร์ได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก

มองมุมบวกกับข่าวเชิงลบ

แบรนด์อาจพบเจอข่าวร้ายหลายๆ รูปแบบในช่วงเศรษฐกิจถดถอย เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรพัฒนาโครงเรื่องที่ไม่บิดเบือนความจริง แต่เน้นการมองโลกในแง่ดีและมีการเติบโต คุณภาพของการเล่าเรื่องตราบใดที่มันไม่ได้ดูไร้สาระหรือไร้เหตุผล ก็จะเตือนผู้คนถึงคุณค่าของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

from:https://www.thumbsup.in.th/pr-crisis-time?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=pr-crisis-time

สรุป SEO คืออะไร อธิบายการทำงานแบบเข้าใจง่าย

หากพูดถึง SEO (Search engine optimization) หลายคนนึกถึงการทำคอนเทนต์ให้ตรงกับ Keyword ที่คนเสิชหามากที่สุด แต่นอกเหนือจากนั้นยังมีองค์ประกอบด้านเทคนิคอยู่เบื้องหลังอีกมากมายในการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ

วันนี้ Thumbsup มาสรุปสั้นๆ อธิบายการทำงานแบบเข้าใจง่าย ดังนี้

SEO คือการให้คำตอบที่มีคุณภาพดีที่สุด สำหรับคำถามที่ลูกค้าอาจถามหรือค้นหาผ่าน Google, Bing และเว็บค้นหาอื่นๆ  พร้อมเชื่อมโยงเข้ากับเว็บไซต์ธุรกิจของคุณให้ขึ้นเป็นผลลัพธ์แรกๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในคำตอบและนึกถึงธุรกิจของเราเป็นอันดับแรก

SEO ทำงานอย่างไร

  1. เผยแพร่เนื้อหา (Content) บนเว็บไซต์
  2. Google bots หรือ ‘Spider’ จะรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์ (Crawl) และรีวิวคุณภาพของเว็บไซต์
  3. Google จะให้คะแนนหน้าเว็บไซต์ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหา รูปภาพ และองค์ประกอบต่างๆ
  4. หากเว็บไซต์ประสบความสำเร็จในการตอบคำถามผู้ใช้งาน คะแนนเว็บไซต์จะเพิ่มขึ้น และขึ้นเป็นผลลัพธ์แรกๆ ในหน้าค้นหา

วิธีทำ SEO ที่ดี

  • สร้างเนื้อหา (คอนเทนต์) คุณภาพสูง
  • เฝ้าสังเกตคุณภาพด้านเทคนิค (ความเร็วในการโหลด, UX)
  • สร้าง Internal link สร้าง Traffic ในเว็บไซต์
  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย (UI)

การสร้าง SEO ที่ดีในทางเทคนิค

ความเร็วหน้าเว็บ Google จะจัดอันดับหน้าเว็บที่โหลดได้เร็วไว้ในลำดับแรกในผลการค้นหา เนื่องจากมีประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

ความเป็นมิตรต่ออุปกรณ์เคลื่อนที่ Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) โดยประเมินจากประสิทธิภาพในการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

ประสบการของผู้ใช้หรือ Interface ผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บไซต์จะต้องได้สิ่งที่ต้องการทันที ทั้งการอ่านบทความ การนำทางไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ได้อย่างไม่ติดขัด

Schema Markup หรือ Structure Data ที่ช่วยให้ search engine จัดหมวดหมู่เว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น รวมถึงผู้ใช้เข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ได้ก่อนที่จะคลิกเข้ามา

 

ที่มา

Primal

Semrush

from:https://www.thumbsup.in.th/basic-seo?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=basic-seo

ทำความเข้าใจลูกค้าทุก Generation พฤติกรรมและความท้าทายที่แตกต่างกัน

“ลูกค้า” คือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ การทำความเข้าใจลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการจที่สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงวัยได้ ต้องมีความเข้าใจความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ซึ่งแตกต่างกันออกไป

Thumbsup ขอนำเสนอข้อมูลจาก Creative Thailand เรื่องลักษณะ/ทัศนคติ และการเลือกสินค้าและบริการของลูกค้าในแต่ละ Generation ตั้งแต่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y/Millennial, Gen Z และ Gen Alpha เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ แคมเปญ การตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Baby Boomer เกิดระหว่างปี 1946-1964

“ช่วงวัยที่มีทั้งเงินและเวลา”

  • 13% เลื่อนแผนการเกษียณอายุ
  • ท่องโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพื่อลดความโดดเดี่ยว
  • ชื่นชอบการแชร์ข้อมูลเรื่องสุขภาวะ การกิน และแฟชั่นไปยังครอบครัวและเพื่อนๆ

การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  • เริ่มเปลี่ยนความคิดกับการซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากสะดวกในทุกขั้นตอน
  • ลงทุนกับโฮมออฟฟิศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในบ้านมากขึ้น
  • การท่องเที่ยวและทานอาหารนอกบ้านลดลงมากกว่าเจนอื่น

Gen X เกิดระหว่างปี 1965-1980

“ช่วงวัยที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อในครอบครัว”

  • กลุ่มคนที่ควบคุมค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
  • รับผิดชอบดูแลพ่อแม่สูงอายุ และลูกเจนซีที่เพิ่งเริ่มทำงาน

การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  • กลุ่มคนที่จงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า และมักเป็นสมาชิกระดับพรีเมียม
  • กลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์อาหารเสริม สกินแคร์ และเครื่องสำอาง
  • ค้นหาข้อมูลสินค้าจาก YouTube ตัดสินใจซื้อผ่านโฆษณาใน Facebook

Gen Y (Millennials)  เกิดระหว่างปี 1981-1996

“ช่วงวัยที่ชอบขับเคลื่อนสังคม และบริโภคตามกระแส”

  • เจนนักสู้ ปรับตัวเก่ง สร้างสรรค์ และชอบขับเคลื่อนสังคม
  • ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต มองหาสมดุลชีวิตและการทำงาน

การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  • ธุรกิจบ้านและที่อยู่อาศัยเป็นตัวเลือกการลงทุนแรกๆ
  • เลือกเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านที่สะท้อนตัวตนและแนวคิด
  • ใช้วันหยุดไปกับกิจกรรมกลางแจ้ง คาเฟ่ ดำน้ำ โชว์ไลฟ์สไตล์หรูหราผ่านโซเชียลมีเดีย
  • ชอบอัปเดตเทรนด์ใหม่ ผลักดันธุรกิจร้านกาแฟ ชานมไข่มุก และเครื่องดื่มอื่นๆ

Gen Z เกิดระหว่างปี 1997-2012

“ช่วงวัยที่เท่าทันสื่อ ทำธุรกิจออนไลน์มีรายได้สูงตั้งแต่อายุน้อย”

  • กลุ่มคนที่มีช่องทางเสพสื่อและหาข้อมูลได้มากกว่าเจนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน
  • นิยมทำช่อง YouTube ชอบดูสตรีมมิ่งเกมและไลฟ์ขายสินค้า
  • การเท่าทันเทคโนโลยีทำให้มีรายได้จากการทำธุรกิจออนไลน์ได้สูงตั้งแต่อายุน้อย

การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  • สินค้าประเภทอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม รวมถึงเทคโนโลยีมักถูกรีวิวโดย Gen Z
  • พร้อมคว่ำบาตรแบรนด์ที่ไม่จัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบสังคม

Alpha เกิดระหว่างปี 2010-2024

“ช่วงวัยที่มีเทคโนโลยีเพียบพร้อม ใช้แอปฯ ในการสั่งซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน”

  • เติบโตมาพร้อมกับหน้าจอทัชสกรีน ยูทูบ และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งสำหรับเด็ก
  • พึ่งพาแอปฯ และเทคโนโลยีในการจัดการความกังวล ควบคุมสมาธิและพัฒนาสมอง
  • เติบโตมาพร้อมกับหน้าที่ที่เกินวัย
  •  “Alphluence” ชิงพื้นที่สื่อโซเชียลได้รวดเร็ว มีศักยภาพในการดึงสปอนเซอร์ได้ง่าย

การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  • มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของครอบครัว รายจ่าย 50% ถูกใช้ไปกับอาหาร ของใช้ และความบันเทิง
  • บริการเดลิเวอรี่อาหารเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน

 

ที่มา

Creative Thailand

from:https://www.thumbsup.in.th/generation-of-customer?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=generation-of-customer

TikTok เปิดให้ใช้งานปุ่ม Unlike ความคิดเห็นแล้ว เพื่อตรวจจับพฤติกรรมในเชิงลบ

หลังจากทดสอบระบบมานานกว่า 6 เดือน ล่าสุด TikTok ประกาศใช้งานปุ่ม Unlike เพื่อให้ผู้ใช้งานลดการมองเห็นความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง

หากทุกคนเข้าไปในแอปฯ TikTok ในช่องความคิดเห็นเราจะเจอ ‘นิ้วโป้งคว่ำ’ ด้านขวาสุด ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการช่วยให้แพลตฟอร์มระบุพฤติกรรมหรือความคิดเห็นในเชิงลบ

TikTok ระบุไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า “เราได้เริ่มทดสอบวิธีที่จะให้บุคคลระบุความคิดเห็นที่พวกเขาเชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เหมาะสม วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความรู้สึกไม่ดีระหว่างสมาชิกในชุมชนหรือทําให้ผู้ใช้อื่นเสื่อมเสีย ชื่อเสียง”

อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้ได้เตรียมพร้อมสำหรับการ “Brigading” หรือรวมตัวโจมตีผู้คนหรือความคิดเห็นทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน เนื่องจากทุกคนควรมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฟีเจอร์นี้จะเป็นตัวกลั่นกรองของแพลตฟอร์ม จากนั้นจะมีการพิจารณาให้เป็นความคิดเห็นที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง

การเตรียมพร้อมดังกล่าวจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมและชุมชนในทางที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยปรับปรุงอัลกอริทึมตรวจจับพฤติกรรมในเชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตอีกด้วย

ที่มา

socialmediatoday

from:https://www.thumbsup.in.th/tiktok-roll-out-unlike?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=tiktok-roll-out-unlike

ทำความรู้จัก TikTok Creator Marketplace จุดนัดพบของแบรนด์และครีเอเตอร์

หนึ่งในเทรนด์การตลาดออนไลน์ที่ยังคงมีประสิทธิภาพมากที่สุดคืออินฟลูเอนเซอร์/ครีเอเตอร์ ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ กำลังมองหาช่องทางใหม่โปรโมตแบรนด์ ซึ่ง TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มองข้ามไปไม่ได้เลย

TikTok ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะ Gen Z ด้วยจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทรงพลังและสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดได้มากมาย

ดังนั้น TikTok Creator Marketplace หรือ TCM จึงเป็นเหมือนจุดนัดพบระหว่างแบรนด์และครีเอเตอร์ โดยเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานร่วมกัน ได้ง่ายผ่านการประเมินข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยอดไลค์ ยอดแชร์ จำนวนความคิดเห็น

จุดเด่นของ TikTok Creator Marketplace

  • TikTok มีจำนวนผู้ใช้กว่า 1 พันล้านคนในแต่ละวัน (Active Users)
  • TikTok มีครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์กว่า 8 ล้านคนในแต่ละวัน (Active Creators)
  • สามารถเชื่อมต่อกับครีเอเตอร์ได้โดยตรง
  • เข้าถึงข้อมูลของครีเอเตอร์ทั้งยอดไลค์ ยอดวิว ยอดแชร์ จำนวนการมีส่วนร่วม
  • ช่องทางใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

แบรนด์จะเข้าร่วม TCM ได้อย่างไร?

หากแบรนด์มีบัญชีอยู่ใน TikTok อยู่แล้วจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงลงทะเบียนแบรนด์ของคุณใน TCM จากนั้นก็ดำเนินการค้นหาครีเอเตอร์และร่วมงานกันได้ตามขั้นตอน ดังนี้

  • – ค้นหาครีเอเตอร์ผ่านตัวกรองตามหัวข้อความสนใจของครีเอเตอร์
  • – วิเคราะห์จำนวนผู้ติดตาม ยอดวิวเฉลี่ย ผลงานในอดีตของครีเอเตอร์
  • – วิเคราะห์กลุ่มผู้ชมว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหรือไม่
  • – ติดตามแนวโน้มเพราะคาดการณ์ผลลัพธ์ของแคมเปญ

ครีเอเตอร์จะเข้าร่วม TCM ได้อย่างไร?

TikTok จะส่งคําเชิญให้คุณสมัครเข้าร่วม TCM หากคุณมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ดังนี้

  1. อายุ 18 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ติดตามมากกว่า 100k
  3. มีอย่างน้อย 3 วิดีโอที่โพสต์ในช่วง 28 วันที่ผ่านมา
  4. มียอดไลค์วิดีโอมากกว่า 100,000 ครั้งในช่วง 28 วันที่ผ่านมา

โดยสรุป TikTok Creator Marketplace ในฝั่งแบรนด์จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าถึงครีเอเตอร์ได้โดยตรงไม่มีตัวกลาง และยังช่วยติดตามและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของแคมเปญทั้งหมดได้ในที่เดียว และสำหรับครีเอเตอร์ก็เป็นเครื่องมือสร้างรายได้จากการสร้างสรรคเนื้อหา และมีฟีเจอร์ต่างๆ ช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา

influencermarketinghub

armfulmedia

from:https://www.thumbsup.in.th/tiktok-creator-marketplace?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=tiktok-creator-marketplace

สรุปตัวเลขพฤติกรรมการใช้ E-commerce ทั่วโลก ทำความเข้าใจผู้บริโภค

พฤติกรรมการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อโควิด-19 เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผู้คนหันมาชอปปิงออนไลน์จนกลายเป็นความคุ้นชิน และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว

วันนี้ Thumbsup ได้สรุปข้อมูลตัวเลขและสถิติของการชอปปิงออนไลน์ของผู้คนทั่วโลกในช่วงอายุมากกว่า 16 – 64 ปี จาก DataReportal เพื่อให้สามารถนำมาปรับเปลี่ยน กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไปดูกันว่าเทรนด์การชอปปิงออนไลน์ที่นักการตลาดต้องปรับเปลี่ยนมีอะไรบ้าง

คนชอปออนไลน์อย่างไรในแต่ละสัปดาห์

57.5% ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์

28.5% สั่งของกินของใช้ผ่านร้านค้าออนไลน์

24.1% เปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการออนไลน์

17.6% ใช้บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง

14.6% ซื้อสินค้ามือสองผ่านช่องทางออนไลน์

ช่องทางที่แบรนด์ถูกค้นพบมากที่สุด

31.4% โฆษณาทางโทรทัศน์

31.3% Search Engines

28.6% การบอกปากต่อปาก

27.6% โฆษณาทางโซเชียลมีเดีย

25.8% เว็บไซต์ของแบรนด์

ช่องทางที่ลูกค้าใช้หาข้อมูลแบรนด์มากที่สุด

49% Search Engines

43.6% โซเชียลมีเดีย

37% รีวิวของลูกค้า

34% เว็บไซต์ของแบรนด์

28.5% เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์

50.4% ส่งสินค้าฟรี

39% คูปองส่วนลดพิเศษ

32.1% รีวิวจากลูกค้าคนอื่น

30.9% ง่ายต่อการเปลี่ยนหรือคืนสินค้า

28.7% ไปถึงขั้นตอนจ่ายเงิน (Check out) ได้ง่ายและเร็ว

28.3% บริการส่งสินค้าในวันถัดไป

25.2% มีคะแนนสำหรับสมาชิก (Loyalty points)

22.2% มีรีวิวที่ดีในโซเชียลมีเดีย

อันดับประเทศที่มีการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด

66.5% ไทย

65.7% ตุรกี

65.3% เม็กซิโก

65.1% อินเดีย

63.3% เกาหลีใต้

62.5% มาเลเซีย

61.2% สิงคโปร์

60.7% เวียดนาม

60.6% กรีซ

60.5% สหราชอาณาจักร

from:https://www.thumbsup.in.th/e-commerce-consumer-behavior?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=e-commerce-consumer-behavior

การตลาด Inbound vs Outbound แตกต่างกันอย่างไร

Inbound Marketing คืออะไร แตกต่างจาก Outbound Marketing อย่างไร นักการตลาดควรจะทำความเข้าใจกลยุทธ์ทั้งสอง และเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงโจทย์สำคัญของธุรกิจในขณะนั้น

Inbound marketing คือการตลาดที่ใช้วิธีการดึงดูดลูกค้าเข้ามาให้เกิดการซื้อขายหรือให้บริการ โดยใช้ Content เป็นเครื่องมือในการดึงดูดความสนใจของลูกค้ามีมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา

โดยมีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและ Search Engine ค่อยเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ที่มีประโยชน์ ดึง Traffic กลับมาที่เว็บไซต์ 

สำหรับ Outbound Marketing คือการตลาดแบบผลักออกไป โดยการใช้สื่อกระจายข้อมูลไปยังคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาบนโทรทัศน์ ป้ายบิลบอร์ด การยิงโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย Email Marketing รวมถึงการจ้างดาราหรือินฟลูเอนเซอร์ในการช่วยโปรโมทแคมเปญการตลาด

โดยสรุปแล้ว

  • Inbound marketing จะเน้นไปทางด้านสิ่งที่ลูกค้าต้องการค้นหา (ลูกค้าเข้ามาหาธุรกิจเอง)
  • Outbound marketing จะเน้นไปทางด้านสิ่งที่ธุรกิจต้องการจะสื่อ (ธุรกิจพยายามเข้าหาลูกค้า)

ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน Inbound Marketing เป็นข้อดีที่ธุรกิจจะดึงดูดลูกค้าเข้ามาเอง แต่ก็ใช้ระยะเวลานาน ขณะเดียวกัน Outbound Marketing เหมาะสำหรับการกระตุ้นในระยะสั้น สามารถสื่อสารสิ่งที่ต้องการโปรโมทได้ทันที แต่ก็ไม่ยั่งยืน ใช้ได้เป็นครั้งคราว

อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ครั้งกลยุทธ์การตลาดทั้ง 2รูปแบบก็มักถูกนำมาใช้ร่วมกันตามสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของแบรนด์ได้อย่างเหมาะสมเช่นกัน

from:https://www.thumbsup.in.th/inbound-vs-outbound-marketing?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=inbound-vs-outbound-marketing

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพคอนเทนต์ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า

SEO และคอนเทนต์ ต่างก็มีประสิทธิภาพในตัวเอง แต่การรวมตัวของทั้งสองอย่างนี้นั้น จะทำให้แบรนด์ได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งการรวมกันนี้ไม่ใช่แคการเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหาสำหรับการค้นหา แต่จะต้องมีการใช้แนวทางที่แตกต่างออกไปในการสร้างกลยุทธ์ของเนื้อหา

เพราะเมื่อเราพูดถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาสำหรับการค้นหา เรามักจะเน้นสิ่งที่ต่างๆเหล่านี้เป็นพื้นฐาน 

  • คียเวิร์ด
  • แท็กชื่อหัวข้อ
  • เนื้อหาส่วนหัว 

ซึ่งตัวอย่างเล่านี้คือสิ่งที่ต้องคิดเป็นสิ่งสำคัญจริงๆเมื่อสองสามปีก่อน แต่ในปัจจุบันแบรนด์ต้องทำมากกว่านั้นเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น 

ซึ่งวิธีที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากเนื้อหาของคุณคือการเริ่มต้นด้วยการคิดถึงผู้ชม 

  • เขียนเพื่อใคร?
  • พวกเขาสนใจอะไร?
  • พวกเขามีคำถามอะไรที่คุณสามารถตอบได้?
  • พวกเขาใช้คำศัพท์อะไรในหัวข้อที่คุณเขียน
  • เป็นคำเดียวกับที่คุณใช้ หรือเป็นคำที่ต่างกัน?

หากแตกต่างกัน คุณต้องจดจำและเปลี่ยนแปลงตามภาษาของพวกเขา โดยใช้คำที่พวกเขาใช้แม้ว่าจะไม่ใช่คำที่เป็นแบรนด์ของคุณก็ตาม

ทุกสิ่งที่คุณสร้างควรได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ชมของคุณ หากคุณไม่ได้ให้เนื้อหาที่มีคุณค่า ผู้คนอาจจะไม่กลับมาอ่านเนื้อหาของคุณอีก เพราะฉะนั้นเป้าหมายของคุณในการพัฒนาเนื้อหาทั้งหมดคือการเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ชมของคุณ เมื่อผู้ใช้รู้ว่าพวกเขาสามารถได้รับคำตอบที่ต้องการจากคุณ พวกเขาก็มักจะกลับมาและแบ่งปันเนื้อหาของคุณกับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต

เมื่อคุณได้ระบุแล้วว่าคุณกำลังสร้างส่วนเนื้อหานี้ให้ใคร หลังจากนั้นก็ถึงเวลาเริ่มระดมความคิด โดยคุณสามารถเริ่มจากการตรวจสอบคอนเท้นต์ที่ผู้ชมของคุณสนใจ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาของคุณสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการค้นหาและใช้เครื่องมือ SEO สำหรับการสร้างแนวคิดในการใช้คีย์เวิร์ดที่เหมาะสม ค้นหาคียเวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการหลักของคุณ ค้นหาคำถามที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณถามเป็นประจำ บ่อยครั้งที่คำถามเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพัฒนาเนื้อหา

ที่มา : searchenginejournal.com

from:https://www.thumbsup.in.th/content-enhancement?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=content-enhancement

วิเคราะห์ทิศทางของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แบรนด์ควรปรับตัวอย่างไร

หากย้อนดูในปี 2022 เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ นโยบาย และจุดยืนของโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม วันนี้เราลองมาทบทวนแนวโน้มของโซเชียลมีเดีย เพื่อใช้ข้อมูลในการทำความเข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์บนโซเชียลมีเดียกันครับ

ลูกค้าของเราอยู่ในแพลตฟอร์มไหน? Twitter ยังเป็นที่นิยมสำหรับการสื่อสารแบบ B2C อยู่ไหม? แบรนด์จำเป็นต้องอยู่บน TikTok หรือไม่? มาดูบทวิเคราะห์พร้อมๆ กันครับ

แบรนด์จำเป็นต้องอยู่บน TikTok หรือไม่?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า TikTok เป็นโซเชียลมีเพียที่ฮอตที่สุดในปีนี้ นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2599 TikTok มีผู้ใช้งานเป็นประจำ (Active users) มากถึง 1 พันล้านบัญชีต่อเดือน โดยมีฐานผู้ใช้ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18 – 24 ปี เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่สุดในหมู่ Gen Z

แม้เนื้อหายอดนิยมส่วนใหญ่จะมาจากผู้ใช้ทั่วไป แต่คอนเทนต์ที่แบรนด์สร้างขึ้นก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามมาด้วย เนื่องจากลักษณะอัลกิริทึมที่สามารถส่งเนื้อหาไปยังกลุ่มผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้

TikTok ยังไม่อิ่มตัวจากการโฆษณาหรือแบรนด์คอนเทนต์ ดังนั้นแบรนด์ที่เจอบทบาทของตัวเองในแพลตฟอร์มจะได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต รวมถึงต้นทุนโฆษณายังไม่สูงเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มที่มีการแข่งขันมานาน

แล้วแบรนด์จำเป็นต้องอยู่บน TikTok ไหม? อย่างแรกไม่ควรมองในแง่ของอัลกอริทึมอย่างเดียว เพราะ TikTok เป็นแพลตฟอร์มสนุกสนานและสร้างสรรค์ ไม่เหมือนกับ Facebook และ Instagram หากแบรนด์อยากจะกระโดดเข้าไปต้องพร้อมที่จะสร้างเนื้อหาที่สนุกและมีส่วนร่วมได้ง่าย โดยต้องถอดรหัสประเภทเนื้อหาที่เหมาะกับแบรนด์ให้ได้ หากฝืนเกินไปก็จะถูกมองว่าขาดความเรียลและไม่จริงใจ เสียภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปได้ง่ายๆ 

อย่างต่อที่ต้องคำนึงคือ TikTok มีฐานผู้ใช้งานที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ในขณะที่ผู้คนทุกวัยเล่น Facebook และ Instagram แต่ Gen Z ส่วนใหญ่ใช้ TikTok ดังนั้นหากกลุ่มเป้าหมายของคุณไม่ใช่ Gen Z นี่อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

ดังนั้นแบรนด์ของคุณควรอยู่บน TikTok หรือไม่? มันขึ้นอยู่กับ. หากคุณไม่แน่ใจว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับคุณหรือไม่ เราขอแนะนำให้ทำการวิจัยเพิ่มเติมและดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณใช้งานแอปอยู่หรือไม่

ผู้คนยังคงมีส่วนร่วมกับแบรนด์บน Twitter หรือไม่?

Twitter มีมานานกว่า 16 ปีแล้ว และยังคงเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 330 ล้านคนต่อเดือน

แม้ว่า Twitter อาจไม่ใหม่ ไม่ฉูดฉาดเหมือนแพลตฟอร์มอื่นๆ แต่ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับธุรกิจในการเชื่อมต่กับลูกค้าและสร้างบทสนทนาออนไลน์

ข้อมูลจาก Raven5 บริษัทการตลาดระดับโลกระบุว่าทวีตจากแบรนด์ต่างๆ มีการเข้าถึงแบบออร์แกนิกลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่า Twitter ไม่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจ แต่ที่จริงแล้ว 80% ของความคิดเห็นของลูกค้าบนโซเชียลมีเดียมาจาก Twitter 

โดยสรุปแล้ว Twitter อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับแชร์เนื้อหา แต่ยังคงเป็นช่องทางที่ดีมากสำหรับการเชื่อมต่อกับลูกค้าและสร้างบทสนทนาออนไลน์ ซึ่งสามารถรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากแบรนด์ได้

Facebook กำลังจะตาย?

เมื่อ Meta บริษัทแม่หันมาสนใจฟีเจอร์จากแพลตฟอร์มอื่น จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจว่า Facebook กำลังจะตายเพราะสูญเสียตัวตนไปแล้ว แต่เมื่อมองถึงความเป็นจริง Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโกล มีผู้ใช้งานมากกว่า 2 พันล้านคนต่อเดือน และตัวเลขผู้ใช้งานตั้งแต่ต้นปีไม่ได้ลดลงเลย

เพราะแม้ว่าจำนวนผู้ใช้งานในหลายประเทศจะลดลง แต่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเช่น บราซิล อินเดีย และอินโดนีเซีย ผลักดันให้จำนวนผูใช้งานของ Facebook ยังคงเป็นบวก แม้ว่าจะมีกลุ่ม Gen Z เพียง 27% เท่านั้นที่ระบุว่ายังใช้ Facebook ก็ตาม

นอกจากนี้ Facebook ยังได้ประกาศแยกฟีดออกเป็น 2 แถบ “Home” จะคอยนำเสนอคอนเทนต์ที่คิดว่าเราน่าจะชื่นชอบ ทั้ง Reels, Stories และคอนเทนต์จากครีเอเตอร์คนอื่น ๆ ที่เราไม่ได้ติดตามคล้ายกับ TikTok และ “Feeds” ที่จะคอยนำเสนอคอนเทนต์หรือโพสต์ จากเพื่อน, ครอบครัว, เพจที่เราติดตาม ตามลำดับเวลา

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเสียงวิพกษ์วิจารณ์มากมาย แต่เฟซบุ๊กก็ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุด หลายๆ ธุรกิจจึงยังต้องพึ่งพาเฟซบุ๊กเป็นช่องทางหลักในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แม้จะต้องปรับตัวให้ทันอัลกอริทึมที่ท้าทายนักการตลาดอยู่บ่อยๆ ก็ตาม

Instagram กับจุดยืนที่เปลี่ยนไป

เป็นเวลาหลายปีที่ Instagram รักษาจุดยืนได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมาเกิดการปรับฟังก์ชันใหม่ๆ มากมายจากบริษัทแม่ Meta โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาฐานผู้ใช้ไม่ให้หนีไปยัง TikTok ด้วยการสร้างฟีเจอร์ที่คล้ายคลึง พร้อมปรับการแสดงผลแบบใหม่ ดังนี้

Instagram เปิดตัว Reels ฟีเจอร์วิดีโอสั้นและนำ IGTV ออก พร้อมโปรโมทวิดีโอไปยังผู้ใช้ แม้ว่าจะไม่ได้ติดตาม จนเกิดดราม่า ‘Make instagram instagram again’

นอกจากนี่ยังมุ่งเป็น Social shopping Platform โดยให้ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าได้โดยตรงในแพลตฟอร์ม ช่วยให้แบรนด์ลดขั้นตอนในการเข้าถึงลูกค้า รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่าง Live shopping

ลูกค้าจะเชื่อมต่อกับแบรนด์อย่างไร?

แพลตฟอร์มอย่าง Twitter และ Instagram ช่วยให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย 51% ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาเคยใช้โซเชียลมีเดียเพื่อบ่นเกี่ยวกับแบรนด์

แม้จะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไม่ดี แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจในการเชื่อมต่อกับลูกค้า และตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด ช่วยให้คุณระบุและแก้ไขปัญหาที่ลูกค้ากำลังประสบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้คนชอบและไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับแบรนด์อีกด้วย

ที่มา

raven5

sproutsocial

hootsuite

from:https://www.thumbsup.in.th/social-media-platform-brand-connected?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=social-media-platform-brand-connected