คลังเก็บป้ายกำกับ: IBM_SOFTWARE_DEFINED_STORAGE

[Guest Post] Hot Topic with Container and Microservices ::: ของร้อนๆที่ต้องรีบลองก่อนใคร

Docker แพลตฟอร์มสำหรับรัน Container Technology น้องใหม่ ที่ไม่ใหม่ เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของระบบ Container และมาพูดคุยถึงการออกแบบ Storage ให้เหมาะสมกับระบบ Cloud Container ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น

Docker Container Platform :::

Docker เป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อน Container Technology และเป็นพื้นฐาน โครงสร้างให้กับระบบ Microservices ให้สามารถใช้งาน Development หรือ Operation ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการเตรียมและแชร์ทรัพยากร เชื่อมต่อไปได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ยึดติด มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับการขยายตัว การเปลี่ยนแปลง โยกย้าย ของระบบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองงานที่ต้องการพัฒนาตลอดเวลา

Concepts of Microservice Architecture :::

คีย์หลักของ Microservices คือ การที่ Services ต่าง ๆ เป็นอิสระแยกจากกัน และไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้เกิดการพัฒนาระบบที่รวดเร็วขึ้น โดยมีข้อดีหลายอย่างคร่าวๆ ดังนี้

  1. โครงสร้างระบบจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เราต้องการ Development สามารถพัฒนา ทดสอบความถูกต้องของ application ได้ง่ายและเร็ว คือถ้าแก้จุดนี้แล้วจะไม่กระทบกับ application หรือโครงสร้างของระบบอื่น ๆ ทำให้มีการพัฒนาระบบต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง
  2. ลดผลกระทบของระบบ ที่ต้องทำงานหลายฝ่ายทั้งภายในทีมและนอกทีม โลกของ Microservices ที่จะทำให้เราสามารถปล่อยของได้ทีละเล็กๆ ไม่กระทบกับระบบใหญ่แบบเดิม ถ้าเป็นระบบเดิมที่ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันหมด การแก้ไขแม้แต่เพียงเล็กน้อยถ้าผิดพลาดก็เกิดผลกระทบในวงกว้าง การพัฒนาระบบจึงช้ากว่า
  3. เมื่อ Service แยกออกจากกัน ทำให้ต้องเตรียมการในเรื่อง การสร้างเครื่อง โครงสร้างของ Infrastructure ต้องเตรียมพร้อม โดยใช้ container technology เข้ามารองรับการทำงานดังกล่าว
  4. เราจะทราบได้อย่างไรว่าที่ทำขึ้นไปเกิดปัญหา หรือ มีจุดไหนที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ไหม สิ่งที่ตามมาคือการเตรียมการในเรื่อง Monitoring เพื่อเก็บข้อมูล จัดการและแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทีมไอทีและทีมพัฒนา หรือมี Management เพื่อเป็นตัวกลางในการจัดการระบบ ทั้งในส่วนของ Infrastructure และ Deployment

Kubernetes เป็นซอฟต์แวร์สำหรับ Container Orchestration คือซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการและควบคุมระบบ Cloud Container ที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน โดย Container Orchestration คือ Container (Application)+ Cluster (Infrastructure architecture) มีหน้าที่บริหารจัดการระบบโครงสร้างโดยรวม และ Kubernetes ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมาก เช่น การอัพเดตข้อมูลใน container (เปลี่ยนเวอร์ชั่นของไลบรารีหรือโค้ด), การ rollback กลับไปเวอร์ชั่นเดิมได้เมื่อเกิดปัญหา และการทำ Continuous Integration and Continuous Delivery (CI/CD)

แนวโน้มของการใช้งาน Container นั้นเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ Kubernetes ได้รับความนิยมสูง และในเวลาที่ผ่านมา Docker และKubernetes นั้น มักจะต้องถูกใช้งานร่วมกับระบบ External Storage ที่มีการออกแบบมาให้ใช้งานและดูแลป้องกันข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทางไอบีเอ็ม มี IBM Software Defined Storage และ IBM Hardware Storage ที่รองรับการให้บริการได้ทั้งในระดับ File, Block และ Object ได้ตามความต้องการ รองรับได้ทั้งการนำไปสร้าง Cluster บน Public Cloud และ Private Cloud ได้ด้วย

ส่วนของ Storage Infrastructure จะมีการออกแบบระบบ storage แบบแยกส่วน (External Storage) จาก Container สำหรับจัดการข้อมูลที่เข้าหรือออกจาก Container ได้สะดวก ส่วนการออกแบบใช้งานผ่าน external storage นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของระบบ Container โดยปัญหานั้นคือ ข้อมูลที่สร้างจาก Container จะหายไปเมื่อ Container ปิดการทำงาน หรือครบกำหนดตาม life cycle ของ container นั้น การใช้งานผ่าน external storage จึงเข้ามาช่วยเรื่องนี้ ส่วนของ Volume ที่จัดการผ่าน external storage นั้น สามารถนำข้อมูลดังกล่าวกลับมาใช้งานได้อีก ข้อมูลไม่สูญหายไป และสามารถเชื่อมต่อกับระบบสำรองข้อมูล (Backup solution) ได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน Data Volume มีรูปแบบการใช้งานอยู่ 4 รูปแบบให้เลือก คือ

  1. Docker Data Volume ทำการสร้าง volume ให้กับ Container ที่ต้องการ เพื่อนำไปจัดเก็บและใช้ดึงข้อมูลภายใน container นั้นได้และช่วยให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูลมากขึ้น เมื่อ container เกิดเสียหาย ข้อมูลจะยังคงอยู่
  2. Data Volume Container คือการใช้ container แยกขึ้นมาอีกตัว เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำหรับ container ตัวอื่นๆ แทน ซึ่งรูปแบบนี้ทำให้สามารถแชร์ข้อมูลระหว่างแต่ละ container ร่วมกันได้ด้วย
  3. Directory Mounts เป็นการเชื่อมต่อแบบ Shared Volume หรือ mount directories/volume ให้อยู่บนเครื่อง worker node นั้น เข้ากับ Container ที่ต้องการ ซึ่งนอกจากจะสามารถใช้แชร์ข้อมูลระหว่างแต่ละ Container พร้อมกันได้แล้ว ยังสามารถ Unmount volume และ Mount volume นั้นกลับเข้ามาใช้ใหม่ได้ เพื่อให้กับ Container ที่จะเปิดขึ้นมาใหม่ มาทำงานแทนในอนาคต
  4. Storage Plugin คือการให้ Docker เชื่อมกับแพลตฟอร์มสตอเรจภายนอก (External Storage) ผ่านปลั๊กอินต่างๆ ซึ่งแต่ละปลั๊กอินจะมีอินเทอร์เฟซหรือ API ให้คุณสร้างและเป็นตัวกลางคอยจัดการระดับ Storage ที่มาจากภายนอก ให้เข้าไปใช้งานกับระบบของ Docker และ Container ที่อยู่ภายในระบบได้อย่างสะดวก

โดยในส่วนของ IBM Block Storage มีความสามารถในการปกป้องข้อมูลเช่นการทำ Snapshot, Replication, Cloning, Provisioning, Compression, Deduplication , Multitenancy และสามารถทำ Encryption FIPS 140-2 ได้ด้วย IBM Storage มีทุกอย่างครบถ้วนในตัวเอง สามารถทำได้ในระดับ Storage ไม่กระทำกับระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้รันงาน Application / Production อยู่

IBM Software Defined Storage มี certified storage plug-in สำหรับเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง Block Storage กับ Container Infrastructure มีชื่อว่า IBM Spectrum Connect เป็น storage container plug-in ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ Block storage กับระบบของ container มาช่วยให้จัดการเรื่อง provisioning persistent storage แบบ unlimited capacities อีกด้วย สามารถ Download ได้ฟรี Free

เพื่อรองรับการขยายตัวในปริมาณมากต้องการประสิทธิภาพสูง สามารถให้บริการได้ในระดับ File และ Object ร่วมภายใต้ระบบเดียวกันได้ด้วย รองรับได้ทั้งการนำไปสร้าง Cluster บน Public, Private หรือ Hybrid Cloud สำหรับเก็บ metadata ทั้งรูปภาพ VDO หรืองาน Object ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแชร์และใช้งานร่วมกันได้ โดยทาง IBM System Storage มี Software Defined Storage อย่าง Spectrum Scale และ IBM Cloud Object Storage (ICOS) รองรับการใช้งานดังกล่าวในระบบ container ได้เป็นอย่างดี

Docker Containers and Microservices case study :::

Modern DevOps processes : Began shifting applications to a microservices.

ตามเทรนด์ของตลาด ตามความต้องการของมนุษย์ ที่มีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องการล้มเหลวที่รวดเร็ว ไม่ต้องกลัวที่จะทดสอบความคิดใหม่ ๆ และพัฒนาบริการใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งานได้ทันท่วงที

เกริ่นเรื่อง Cloud-Native Application กันก่อน Cloud-Native คือแนวทางในการสร้างและใช้งาน Application โดยการนําข้อดีของระบบ Cloud Computing มาปรับใช้งาน เช่นการเพิ่ม ความเร็ว, ความยืดหยุ่น และคุณภาพให้สูงขึ้น ลดความเสี่ยงในการติดต้ังระบบให้ลดน้อยลงซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลัก 4 ประการ ได้แก่สถาปัตยกรรมแบบ Service-based, การสื่อสารแบบ API-based, ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบ Container-based และนำกระบวนการ DevOps มาใช้งาน

DevOps ก็สามารถมีได้ในทุกองค์กร กระบวนการ DevOps ทำให้สร้าง new users experience ให้มี application ใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้ใช้งานได้มากขึ้น สร้างความน่าสนใจให้กับธนาคารหรือองค์กรนั้นๆมากขึ้น เช่นเดียวกับลักษณะของ Mobile Application, E-Commerce and Mobile Banking ที่จะต้องเน้นการพัฒนาตลอดเวลา และรวดเร็ว โดยไม่กระทบกับระบบโดยรวม ลักษณะของกระบวนการ DevOps จึงเหมาะสมกับระบบ แบบ Microservices และ Container Technology เป็นอย่างมาก

Mobile Application, E-Commerce and Mobile Banking :

ความท้าทายสำหรับระบบ payment processing ที่มี transaction จำนวนมากในแต่ละวัน โดยแต่ละ service จะมีทั้ง คนจ่ายเงิน โอนเงิน ดูยอดเงิน ซื้อ-ขายหุ้น และอีกหลายๆ สิ่ง ในเวลาเดียวกัน ระบบสมัยก่อน service มีโครงสร้างที่ต้องพึ่งพากันของทุก service จะพัฒนาหรือแก้ไขสักระบบ จึงเป็นเรื่องยาก ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบ Waterfall และ Sequential ที่กินเวลายาวนาน Application เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เป็นระบบขนาดใหญ่, มีความสามารถหลากหลาย, ทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมี User Interface, บริการอันหลากหลาย, โค๊ดที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล และส่วนประกอบอื่นๆ ถูกผสานรวมเข้าเป็น Application เดียว พอทุกสิ่งเกี่ยวเนื่องกันหมด จึงต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เมื่อเกิดการปรับปรุงระบบจุดเดียว แล้วจะเกิดปัญหาขึ้นมา อาจจะเกิดผลกระทบกับทุกระบบได้ ส่งผลกระทบวงกว้าง

เช่น ระบบสมัยก่อน ของ E-Commerce Application ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ระบบทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมากก็มักจะรวมเอาทุกความสามารถทาง ด้าน Web User Interface, Product Catalog, Shopping Cart, Product Recommendation, Product Rating & Review, Payment System และส่วนประกอบอื่นๆ ที่จําเป็นต้องการสั่งซื้อสินค้าบนระบบ E-Commerce นี้เข้าไว้ด้วยกัน เป็น Application เพียงชุดเดียว ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับสักระบบหนึ่งก็จะไม่สามารถใช้งานระบบอื่นได้เลย จึงมีการพัฒนาต่อมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีเป้าหมายคือการแยก Service ต่างๆ ออกจากกันแต่ยังทำงานร่วมกันได้อยู่ เพื่อลดผลกระทบต่อระบบโดยรวม จึงมีการพัฒนาโครงสร้างมาใช้แบบ Microservices แทนระบบแบบเดิม

Cloud Service Provider (CSP) :

ความท้าทายของระบบ Cloud Service Provider คือ ต้องให้ทั้งความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้าที่มาเช่าใช้งาน สามารถจัดการทรัพยากรได้ง่าย ยืดหยุ่น มีการจัดการการเข้าถึงข้อมูลทีเป็นระเบียบ ตามสิทธิ์การใช้งาน รองรับได้หลากหลายแพลตฟอร์ม การออกแบบระบบเพื่อรองรับ application ที่ลูกค้าจะเข้ามาเช่าใช้งาน รองรับการขยายตัวของข้อมูลปริมาณมาก ในเวลาอันสั้น และที่สำคัญมากคือ ระบบการป้องกันข้อมูลสูญหายเป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องไม่มี downtime เกิดขึ้น จึงมีการนำเอา ระบบแบบ Microservices และ Container Technology มาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure ในการทำระบบของ Cloud Service Provider เพื่อให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง รองรับ application ที่หลากหลายของลูกค้าที่เช่าใช้งาน ลดข้อจำกัดเรื่องแพลตฟอร์มลง เพิ่มความปลอดภัยและความเร็วของระบบในการ Deploy และรองรับ transactions ในปริมาณมาก ที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ระบบ Cloud Service Provider ควรมี

IBM Storage solution integrated with Container Technology and Microservices :

  • IBM FlashSystem family : 2D dimensional raid technology ช่วยปกป้องข้อมูล 2 ระดับ ทั้ง ป้องกัน chip ภายใน disk module และการทำ Raid protection ในระดับ enclosures ได้ และมีฟังก์ชั่นต่างระดับ Storage layer มาช่วยให้การทำงานดีขึ้น
  • IBM Storage Storwize family : มีฟังก์ชั่น Snapshot, Replication, Cloning, Provisioning, Compression, Deduplication , Multitenancy และสามารถทำ Encryption FIPS 140-2 ได้ด้วย
  • IBM Spectrum Connect : Storage enabler container plug-in certified (Free download)
  • IBM Spectrum Scale and ICOS : สำหรับงาน metadata รองรับการขยายตัวปริมาณมาก เชื่อมต่อ Storage ได้หลายประเภทภายใต้ระบบเดียวกัน สามารถกำหนดค่าการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังดิสก์ประเภทต่างๆ ได้ตามต้องการ และยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกมากมาย
  • IBM Spectrum Protect/ Protect Plus : สำหรับงานสำรองข้อมูล ทั้ง agent-based และ agent-less technology

หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีหรือสนใจด้านการทำระบบ สามารถติดต่อทาง Computer Union หรือ IBM Thailand มีทีมงาน ที่พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับทุกท่านอย่างครบถ้วน

Computer Union Distributor Tel : 02-311-6881 Ext. 7151, e-mail : cu_mkt@cu.co.th
Inbox เข้ามาได้ที่ Facebook IBM Thailand: https://www.facebook.com/IBMThailand/

เขียนโดย

ปรียานุช เปล่งวาจา
IBM IT/Specialist
IBM Thailand Co.,Ltd

สัญญา พรขจรกิจกุล
HW Sales Specialist
Computer Union

ธนกฤต โลเกศกระวี
System Engineer
Computer Union

from:https://www.techtalkthai.com/hot-topic-with-container-and-microservices-by-ibm-and-computer-union/

9 แนวโน้มเทคโนโลยี Storage ปี 2016 จาก IBM

ibm_spectrum_virtualize_2

StorageNewsletter ได้เผยแพร่ 9 แนวโน้มเทคโนโลยี Storage ในปี 2016 โดยพนักงานของ IBM มา ทาง TechTalkThai จึงขอเรียบเรียงและสรุปสั้นๆ ให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

  • Flash-based Storage จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะมาแทนที่ Disk-based Storage ได้ภายในปี 2019
  • Flash จะเริ่มถูกนำมาใช้งานในระบบ Big Data ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เป็น Big Data Flash
  • 3D Stacking Technology จะเป็นเทคโนโลยีหลักในการผลิต Flash Storage
  • Cold Storage จะกลายเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลนี้ โดย IBM Cleversafe จะเป็น Object Storage ที่ IBM เตรียมเอาไว้รับเทรนด์นี้
  • Tape จะเป็น Media หลักในการจัดเก็บ Cold Storage ซึ่ง 80% ของไฟล์ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสถานะ Inactive และ IBM ก็จะตอบโจทย์นี้ให้ได้วยเทคโนโลยี Tape ที่มีอยู่ และการ Integrate Tape เข้ากับ OpenStack เพื่อตอบรับ Inactive Data ใน Cloud
  • Hyper-convergence จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้และมีประโยชน์จริง นอกจากเป็นเพียงแค่กระแสนิยม และ IBM Spectrum Scale จะเป็นเทคโนโลโลที IBM เอาไว้ตอบโจทย์ความต้องการนี้
  • Software Defined Storage จะกลายเป็นทางเลือกหลักขององค์กรในการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงเชื่อมไปยังบริการ Cloud Storage ได้ ซึ่ง IBM ก็ได้เตรียม IBM Spectrum Storage เอาไว้ตอบความต้องการนี้แล้ว
  • Cloud Storage จะได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับตอบรับความต้องการขององค์กรที่มีหลายสาขา ซึ่ง IBM ก็เตรียม IBM SoftLayer เอาไว้แล้วสำหรับประเด็นนี้

Software Defined Storage สำหรับรวม Cloud Storage หลายๆ แห่งเข้าด้วยกันนั้นจะเป็นอีกเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสำหรับการลงทุน Cloud ระดับองค์กร ซึ่ง IBM ก็ได้พัฒนา MCStore ขึ้นมาตอบโจทย์นี้เรียบร้อย

ที่มา: http://www.storagenewsletter.com/rubriques/market-reportsresearch/storage-predictions-for-2016-by-vendors-ibm/

from:https://www.techtalkthai.com/9-storage-trends-prediction-for-2016-from-ibm/

IBM แจกฟรี Whitepaper แนวโน้มการใช้งาน Software Defined Storage ในองค์กรจาก ESG

dcs_logo-with-text-screen-tr

เมื่อ Software Defined Storage กลายเป็นเทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไปแล้วสำหรับองค์กร หลายๆ องค์กรก็ควรจะเริ่มศึกษาประโยชน์และแนวทางการใช้งาน Software Defined Storage กันเอาไว้ให้ดี ซึ่งทาง IBM ร่วมกับ ESG ได้ทำการนำเสนอ Whitepaper หัวข้อ Key Reasons to Use Software-defined Storage and How to Get Started เอาไว้ และ DCS ก็ขอหยิบยกมาแนะนำผู้อ่านทุกท่าน โดยภายใน Whitepaper จะมีหัวข้อดังนี้

ibm_spectrum_protect_banner_2

  • Introduction and Background
  • SDS is a Broad Concept
  • SDS is Desirable and Desired
  • Getting Started with Optimized SDS Adoption
  • The Bigger Truth

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถ Download Whitepaper ฉบับนี้ได้ฟรีๆ ที่ http://www.ibm.com/common/ssi/cgi-bin/ssialias?subtype=WH&infotype=SA&appname=STGE_TS_SW_USEN&htmlfid=TSW03296USEN&attachment=TSW03296USEN.PDF

 

สำหรับองค์กรใดๆ ที่สนใจเทคโนโลยีทางด้าน Server หรือ Storage จาก IBM และต้องการให้ทีมงาน Datapro เข้าไปนำเสนอและช่วยให้คำปรึกษา หรือ ERP Consulting และ Software Provider รายใดที่ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Datapro ในการให้บริการทางด้าน IT Infrastructure ด้วย IBM ก็สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน โทร 02-684-8484
ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-free-esg-software-defined-storage-whitepaper/

แนะนำ IBM Spectrum Storage รู้จักทุก Software Defined Storage ของ IBM ได้ในบทความเดียว

dcs_logo-with-text-screen-tr

Software Defined Storage นั้นจะกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับ Data Center ในอนาคตอันใกล้นี้ ในขณะที่ธรรมชาติของระบบ Storage นั้นคือการที่ไม่มี Storage ใดสามารถตอบโจทย์ Workload ได้ครบทุกรูปแบบภายใน Storage เพียงระบบเดียว การเริ่มต้นศึกษาเทคโนโลยีของ Software Defined Storage รูปแบบต่างๆ กันเอาไว้ตั้งแต่วันนี้จึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ดูแลระบบ IT ในองค์กร

DCS ขอนำเสนอ IBM Spectrum Storage ซึ่งเป็นโซลูชั่น Software Defined Storage จาก IBM ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลายรูปแบบโดยไม่ยึดติดกับ Hardware อีกต่อไป ทำให้ระบบ Storage ขององค์กรนั้นสามารถพลิกแพลงได้อย่างยืดหยุ่น ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น โดย IBM Spectrum Storage นั้นจะแบ่งออกเป็น 6 โซลูชั่นหลักๆ ด้วยกันดังนี้

ibm_spectrum_storage_banner

IBM Spectrum Accelerate ระบบ Hyper-Converged Infrastructure สำหรับ VMware vSphere

IBM Spectrum Accelerate นั้นคือระบบ Software Defined Storage ที่นำ IBM XIV มาแปลงให้กลายเป็น Virtual Machine สำหรับใช้งานบน VMware vSphere ให้ Local Drive ทั้งหมดบน ESXi Host ทำงานร่วมกันได้เป็น Hyper-converged Infrastructure

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/transform-vmware-vsphere-with-ibm-spectrum-accelerate-to-hybrid-cloud/

 

IBM Spectrum Scale ระบบ File System ขนาดใหญ่สำหรับ Application ขนาดใหญ่, Big Data Analytics และ Cloud

IBM Spectrum Scale นั้นคือเทคโนโลยี General Parallel File System หรือ GPFS ของ IBM ที่ช่วยให้ Server ทั้งหมดสามารถมองเห็นข้อมูลระหว่างกันและทำงานทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ด้วยประสิทธิภาพที่สูง และรองรับการกระจายข้อมูลในองค์กรที่มีหลายสาขาทั่วโลกได้ เหมาะสำหรับการใช้เก็บ Unstructured Data เพื่อสนับสนุน Application, Big Data Analytics และ Cloud

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-scale-software-defined-storage-for-unstructured-data/

 

IBM Spectrum Virtualize ระบบ Storage Virtualization สำหรับเปลี่ยน SAN Storage ทั้งหมดในองค์กรให้กลายเป็นระบบเดียวกัน

IBM Spectrum Virtualize เป็น Software Defined Storage ที่จะทำให้ SAN Storage ทั้งหมดในองค์กรหลากหลายยี่ห้อสามารถทำงานร่วมกันได้เสมือนเป็นระบบ Storage ชุดใหญ่เพียงชุดเดียว พร้อมเสริมความสามารถต่างๆ เช่นการเข้ารหัส, การโอนย้ายข้อมูล, การเพิ่มความทนทาน และอื่นๆ ให้กับ SAN Storage ทั้งหมดที่มีอยู่ในองค์กรได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-virtualize/

ibm_spectrum_storage_list

IBM Spectrum Control ระบบบริหารจัดการ Storage ทั้งหมดในองค์กรจากศูนย์กลาง

IBM Spectrum Control นี้เป็นระบบ Software Defined Storage ที่จะช่วยบริหารจัดการ SAN Storage, NAS Storage และ Object Storage ทั้งหมดในองค์กรได้จากศูนย์กลาง เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและการเลือกใช้งาน Storage รูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-control-for-data-management-and-storage-management/

 

IBM Spectrum Protect ระบบสำรองข้อมูลแบบครบวงจร

IBM Spectrum Protect นี้สามารถทำ Backup, Restore, Replicate, Archive, Retrieve ได้อย่างครบถ้วนภายในโซลูชั่นเดียว พร้อมทำให้การสำรองข้อมูลทั้งหมดในองค์กรเป็นไปได้แบบ Automate พร้อมทั้งทำ Deduplication และ Forever Incremental Backup เพื่อช่วยลดพื้นที่ในการสำรองข้อมูล พร้อมระบบการกู้คืนที่รวดเร็วและง่ายดายกว่าโซลูชั่นอื่นๆ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-protect-backup-replicate-archive-for-server-and-desktop/

 

IBM Spectrum Archive ระบบ File System สำหรับ Tape ที่จะทำให้ Tape ใช้งานได้ง่ายและดีขึ้น

IBM Spectrum Archive มีแกนหลักคือเทคโนโลยี IBM Linear Tape File System หรือ LTFS ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลบน Tape นั้นมีรูปแบบที่เหมือนกับการใช้งาน Hard Drive ทำให้การสำรองข้อมูลและกู้คืนนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น และทำให้การใช้งาน Tape นั้นมีความคุ้มค่าสูงยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-archive-ltfs/

สำหรับองค์กรใดๆ ที่สนใจเทคโนโลยีทางด้าน Server หรือ Storage จาก IBM และต้องการให้ทีมงาน Datapro เข้าไปนำเสนอและช่วยให้คำปรึกษา หรือ ERP Consulting และ Software Provider รายใดที่ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Datapro ในการให้บริการทางด้าน IT Infrastructure ด้วย IBM ก็สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน โทร 02-684-8484

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-storage-software-defined-storage-from-ibm/

IBM Spectrum Archive เทคโนโลยีพลิกโฉมโลกการสำรองข้อมูลบน Tape ให้เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย

dcs_logo-with-text-screen-tr

Tape เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมสำหรับใช้ในการสำรองข้อมูลที่สุดในโลกอันหนึ่งมาโดยตลอด และเป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับวงการ Enterprise IT มาเป็นระยะเวลานาน และมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ Tape ให้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ก็คือการมาของ Software Defined Storage นั่นเอง

DCS ขอแนะนำ IBM Spectrum Archive ที่เป็นระบบ Software Defined Storage สำหรับ Tape โดยเฉพาะจาก IBM นั้น จะเป็นชุด Software ที่ช่วยให้การบริหารจัดการระบบ Tape นั้นมีความง่ายและคล้ายคลึงกับ Storage Media ประเภทอื่นๆ เพื่อให้การสำรองข้อมูลและการทำ Archive นั้นเป็นไปได้โดยง่ายและอัตโนมัติ รองรับกับการเติบโตของข้อมูลใน Data Center ขององค์กรที่ต้องเตรียมตัวสำหรับทั้งการมาของ Cloud และการมาของ Big Data Analytics แทบจะพร้อมๆ กัน

ibm_spectrum_archive_banner_2

 

IBM Spectrum Archive – Linear Tape File System

IBM Linear Tape File System (LTFS) ถือเป็นเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจของ IBM Spectrum Archive ที่จะช่วยให้การเข้าถึงไฟล์ต่างๆ บน Tape และการกู้คืนนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเสมือนกับการสำรองข้อมูลลงบน Hard Drive แต่สามารถใช้ประสิทธิภาพที่รวดเร็วกว่าของ Tape, ความทนทานของ Tape และความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาวของ Tape มาช่วยเติมเต็มโซลูชั่นการ Backup และ Archive ข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้

ความง่ายนี้ถือเป็นหัวใจของ IBM LTFS เลยก็ว่าได้ เพราะจากเดิมที่การบริหารจัดการและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ใน Tape นั้นจำเป็นจะต้องมี Software แยกต่างหาก และมีรูปแบบการเข้าถึงที่แตกต่างจาก Storage Media รูปแบบอื่นๆ การที่ IBM LTFS เข้ามาเปลี่ยนแปลงให้การใช้งาน Tape นั้นมีความคล้ายคลึงกับ Hard Drive มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งจะทำให้ Tape นั้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น, ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น และกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้จากผู้ดูแลระบบยุคใหม่ไปด้วยในเวลาพร้อมๆ กัน

สำหรับจุดเด่นหลักๆ ของ IBM LTFS ใน IBM Spectrum Archive นั้นมีดังนี้

  • เข้าถึงและบริหารจัดการไฟล์ต่างๆ บน Tape ได้ผ่าน GUI เสมือนกับกำลังใช้งาน Hard Drive อยู่
  • สามารถ Drag and Drop ไฟล์เข้าออกจาก Tape ได้โดยไม่ต้องมี Software เฉพาะที่ขึ้นกับ Tape อีกต่อไป
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลบน Tape ได้จากหลากหลาย Platform เหมือนการแชร์ไฟล์ผ่าน USB Drive
  • รองรับการทำงานร่วมกับ Tape ที่เป็น LTO 5, 6 และ IBM 3592
  • ใช้เวลาในการกู้คืนข้อมูลต่างๆ น้อยลง และใช้งานพื้นที่บน Tape ได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น
  • สามารถทำการ Mapping แบบ 1:1 สำหรับ Tape Catridge ต่อ Folder ได้
  • สามารถพัฒนา Application เพื่อมาเชื่อมต่อกับการใช้งานข้อมูลใน Tape ได้ง่ายขึ้น
  • รองรับการทำ Storage Tiering โดยใช้ Tape เป็น Storage Media ได้ตาม Policy ที่กำหนด
  • สามารถ Retrieve ข้อมูลที่ถูก Archive เอาไว้เพื่อมาใช้งานบน Storage Media ที่มีความเร็วสูงได้ตามต้องการ
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Linux, Mac OS X และ Microsoft Windows

ibm_spectrum_archive_diagram

เปลี่ยน Tape ให้กลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 50%

ด้วยการใช้ Tape สำหรับการจัดเก็บและ Archive ข้อมูลแทน Hard Drive นั้น ก็จะช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลในระยะยาวมีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น, มีความทนทานมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนำ Tape มาใช้ร่วมกับการทำ Storage Tiering โดยอัตโนมัติ ก็จะยิ่งช่วยให้การบริหารจัดการและการโยกย้ายข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้าน Operation ลงไปอีกทาง และส่งผลให้สามารถลด Total Cost of Ownership หรือ TCO ลงได้ถึง 50% เลยทีเดียว

 

เลือกใช้ได้ 4 เวอร์ชั่น ตามความต้องการขององค์กร

เพื่อให้สามารถตอบโจทย์องค์กรได้ทุกขนาดในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม IBM จึงได้แบ่งระดับในการใช้งาน IBM LTFS ออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  • IBM LTFS Single Drive Edition สำหรับการเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลบน Tape เพียงชุดเดียว
  • IBM LTFS Library Edition สำหรับการเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลบน Tape Cartridge จำนวนหลายๆ ชุด
  • IBM LTFS Storage Manager สำหรับบริหารจัดการไฟล์ต่างๆ ทั้งที่ Online และ Offline บน Tape ได้ในแบบ Directory
  • IBM LTFS Enterprise Edition สำหรับใช้งาน Tape แบบ Tiered Storage

ดังนั้นสำหรับองค์กรแต่ละขนาดก็สามารถเลือกใช้ IBM LTFS Edition ที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณที่มีอยู่ได้ทันที

 

สำหรับองค์กรใดๆ ที่สนใจเทคโนโลยีทางด้าน Server หรือ Storage จาก IBM และต้องการให้ทีมงาน Datapro เข้าไปนำเสนอและช่วยให้คำปรึกษา หรือ ERP Consulting และ Software Provider รายใดที่ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Datapro ในการให้บริการทางด้าน IT Infrastructure ด้วย IBM ก็สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน โทร 02-684-8484

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-archive-ltfs/

เปลี่ยน VMware vSphere ที่มีให้กลายเป็น Hyper-Converged ง่ายๆ ด้วย IBM Spectrum Accelerate พร้อมต่อยอดเป็น Hybrid Cloud

dcs_logo-with-text-screen-tr

สำหรับองค์กรที่มีการใช้งาน VMware vSphere เพื่อทำ Virtualization Data Center จนพบกับปัญหาคอขวดของ SAN Storage ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เต็ม หรือคอขวดทางด้านประสิทธิภาพ และคุณก็ต้องการที่จะแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งการเพิ่มขยาย SAN ที่มีอยู่เดิมนั้นก็อาจจะยุ่งยากหรือมีราคาสูง

เพื่อแก้ปัญหานี้ ไปพร้อมๆ กับการวางแผนทางด้านเทคโนโลยีในระยะยาว DCS ขอแนะนำ IBM Spectrum Accelerate ระบบ Software Defined Storage ที่จะช่วยเปลี่ยน VMware vSphere ทั้งหมดในองค์กรของคุณให้กลายเป็น Hyper-Converged Infrastructure และรองรับการทำ Hybrid Cloud ต่อเนื่องได้ทันทีในอนาคต ด้วยราคาที่คุ้มค่า และเทคโนโลยีที่เหนือล้ำกว่าใคร

 

IBM Spectrum Accelerate: ระบบ Software Defined Storage ที่ต่อยอดมาจาก IBM XIV

ibm_spectrum_accelerate_banner

ถ้าใครที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี Storage ของ IBM มาก่อน ก็คงจะต้องเคยได้ยินชื่อ Storage รุ่นในตำนานอย่าง IBM XIV ซึ่งวันนี้ IBM ก็ได้ตัดสินใจนำเทคโนโลยีของ IBM XIV มาปรับให้กลายเป็น Software Defined Storage หรือ SDS ที่ทำงานเป็น Virtual Machine บน VMware vSphere แทนนั่นเอง

ในการทำงานนั้น เครื่อง Virtual Machine ของ IBM Spectrum Accelerate จำนวนเริ่มต้นที่ 3 เครื่องนั้นจะทำงานร่วมกัน โดยแต่ละเครื่องจะนำ Local Drive ที่มีอยู่มาสร้างเป็น Storage Pool ร่วมกันแบบ Redundant ให้กลายเป็น Distributed Storage กลางที่ VMware vSphere ทุกเครื่องจะเห็นเป็น Storage กลางเพียงชุดเดียว พร้อมสำหรับใช้เป็น Datastore ได้ทันที

ibm_spectrum_accelerate_diagram

ด้วยการพัฒนาต่อยอดมาจาก IBM XIV นี้ ทำให้ Feature ต่างๆ ของ IBM XIV นั้นยังคงสามารถใช้งานบน IBM Spectrum Accelerate ได้อย่างครบถ้วน รวมถึงยังได้เพิ่มความสามารถใหม่ๆ มาดังต่อไปนี้

  • รองรับความจุต่อระบบตั้งแต่ 8TB – 325TB Usable Capacity ด้วย VMware vSphere Host ตั้งแต่ 3-15 เครื่อง
  • รองรับการบริหารจัดการร่วมกันสูงสุดได้ 144 ระบบ รวมความจุสูงสุดถึง 45PB
  • มีระบบ Data Distribution, Distributed Cache, Quality of Service และใช้ Flash เข้ามาเพิ่มขนาดของ Cache
  • ทำ Grid Redundancy จำนวน 2 Copy สำหรับทุกๆ Data Partition ขนาด 1MB กระจายอยู่ใน VM ที่แตกต่างกัน ที่มีการทำ Proactive Diagnostics, Automatic Rebuild และ Event Extenalization
  • มีระบบ Self Healing ที่จะซ่อมแซมข้อมูลส่วนที่เสียหายได้อย่างรวดเร็วมาก
  • สามารถทำ Snapshot ได้ โดยรองรับการทำ Writable Snapshot และการทำ Snapshot of Snapshot รวมถึงการกู้ระบบจาก Snapshot ได้
  • สามารถทำ Thin Provisioning ระดับ Pool ได้, ย้ายข้อมูลจาก Thick-to-Thin ได้
  • รองรับการ Mirror ข้อมูลได้ทั้งแบบ Synchronous และ Asynchronous รวมถึงสามารถ Mirror ข้อมูลกับ IBM XIV ที่มีอยู่ได้
  • สามารถกำหนด Volumes and Consistency Group ได้ โดยมีค่า Recovery Point Objective ในหลักวินาที
  • มีระบบ Monitoring ภายในตัวอย่างครอบคลุม ทั้ง Network, Disk, Data Center, I/O, Usage, Trend
  • แบ่งส่วนการบริหารจัดการได้แบบ Role-based, รองรับการทำ Multi-tenancy, iSCSI CHAP/Audit และยืนยันตัวตนกับ AD/LDAP ได้
  • บริหารจัดการผ่าน VMware VASA และเชื่อมต่อกับ VMware VAAI/VMware SRM ได้
  • รองรับการสำรองข้อมูลด้วย IBM Spectrum Protect และ VMware VADP ได้
  • รองรับการเชื่อมต่อกับ OpenStack Cinder ได้
  • สามารถใช้งานบนระบบ Cloud ของ IBM SoftLayer ได้

จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะเป็น Software Defined Storage แต่ความสามารถนั้นก็ครอบคลุมรอบด้านไม่แพ้กับ Storage รุ่นสูงสุดของผู้ผลิตหลายๆ รายเลย อีกทั้งยังสามารถใช้งานบน Cloud ได้ ดังในหัวข้อถัดไป

 

Hyper-Converged Architecture ที่พร้อมจะต่อยอดเป็น Hybrid Cloud ได้

IBM ไม่ได้มองแค่ภาพเล็กๆ สำหรับให้ใช้งาน IBM Accelerate ภายใน Data Center ขององค์กรเท่านั้น แต่ด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นระบบ Grid ซึ่งสามารถทำ Mirroring ได้อย่างหลากหลาย ทำให้ IBM วางแผนที่จะทำให้ IBM Spectrum Accelerate เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถเริ่มต้นใช้เทคโนโลยี Hybrid Cloud ได้เร็วขึ้น ด้วยการเปิดบริการ IBM Spectrum Accelerate บนระบบ Cloud อย่าง IBM SoftLayer เป็นอีกทางเลือกให้องค์กรด้วยนั่นเอง

ibm_spectrum_accelerate_hybrid_cloud_diagram

การที่มี IBM Spectrum Accelerate ให้ใช้บน Cloud นี้ ทำให้องค์กรที่ใช้งาน IBM XIV อยู่ หรือกำลังใช้งาน IBM Spectrum Accelerate อยู่นี้สามารถทำการ Mirror ข้อมูลเข้ากับ Cloud เพื่อทำ Disaster Recovery ได้ทันที หรือแม้แต่จะย้ายระบบทั้งหมดเพื่อขึ้นไปใช้งานต่อบน Cloud เลยก็สามารถทำได้เช่นกัน

แต่สำหรับองค์กรที่ไม่ได้ต้องการใช้งานถึงระดับ Hybrid Cloud นั้น IBM Spectrum Accelerate เองนี้ก็สามารถถูกทำการบริหารจัดการร่วมกันได้สูงสุดถึง 144 ระบบ มีพื้นที่รวมกันสูงสุดถึง 45PB (ประมาณ 45,000TB) และทำให้การสร้าง Private Cloud ขององค์กรเองจากเทคโนโลยี Software Defined Storage นี้ก็เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

 

Spec ขั้นต่ำสำหรับใช้งาน

ในการใช้งาน IBM Spectrum Accelerate นั้น ทาง IBM แนะนำให้เริ่มต้นที่ VMware vSphere จำนวนตั้งแต่ 3 เครื่องขึ้นไป โดยแต่ละเครื่องจะต้องติดตั้ง Virtual Machine ของ IBM Spectrum Accelerate ซึ่งมี Spec ขั้นต่ำดังนี้

  • 6x Non-virtualized Physical Cores
  • 48GB Physical Memory
  • 4x 10GbE Ports
  • 12x Hard Drive ที่มีขนาดไม่เกินกว่า 4TB
  • 1x 800GB SSD สำหรับทำหน้าที่เป็น Cache

แต่จากการทดสอบพบว่าจริงๆ แล้ว IBM Spectrum Accelerate ก็พอที่จะทำงานบน 1GbE Network ได้อยู่เช่นกัน รวมถึง Drive ต่างๆ ที่เริ่มใช้งานได้โดยไม่ต้องมี SSD และไม่ต้องมีจำนวนมากถึง 12 ชุดก็สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที

 

สำหรับองค์กรใดๆ ที่สนใจเทคโนโลยีทางด้าน Server หรือ Storage จาก IBM และต้องการให้ทีมงาน Datapro เข้าไปนำเสนอและช่วยให้คำปรึกษา หรือ ERP Consulting และ Software Provider รายใดที่ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Datapro ในการให้บริการทางด้าน IT Infrastructure ด้วย IBM ก็สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน โทร 02-684-8484

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/transform-vmware-vsphere-with-ibm-spectrum-accelerate-to-hybrid-cloud/

สรุปงานสัมมนา IBM Power Systems & Storage Technical Roadshow ASEAN อัพเดตความรู้ Technical กับเทคโนโลยีของ IBM

ibm_logo

พอดีทางทีมงาน TechTalkThai ได้ถูกเชิญให้มาร่วมงานสัมมนา IBM Power Systems & Storage Technical Roadshow ASEAN นะครับ ซึ่งทางทีมงานก็เห็นว่าเป็นโอกาสดีทีเดียวที่จะได้เข้ามาอัพเดตความรู้กับเทคโนโลยีต่างๆ ของ IBM ให้มากขึ้น ก็เลยได้มาร่วมงานทั้งวันที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2015 นะครับ และก็ขอเล่าบรรยากาศงานคร่าวๆ และนำเนื้อหาส่วนของ Overview มาอัพเดตกันดังนี้ครับ

ibm_power_systems_and_storage_technical_roadshow_banner

 

ภาพรวมของงาน IBM Power Systems & Storage Technical Roadshow ASEAN

งาน IBM Power Systems & Storage Technical Roadshow ASEAN นี้เป็นงาน Technical Event ที่จัดขึ้นโดยทาง IBM เอง โดยจะมีทีมงานวิศวกรจากในแล็บของ IBM สาขาประเทศสหรัฐอเมริการบินมาอัพเดตเทคโนโลยีกันถึงที่ โดยปกติแล้วงานนี้จะวนจัดตามประเทศต่างๆ และปีนี้ก็วนมาจัดที่ไทย ทำให้เรามีโอกาสได้ไปร่วมกันนั่นเอง

งานสัมมนา IBM Power Systems & Storage Technical Roadshow ASEAN เป็นงานสัมมนาที่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม ซึ่งราคาก็ถือว่าสูงเอาเรื่องเลยครับ โดยตัวงานจะจัดด้วยกัน 2 วัน สำหรับครึ่งวันแรกจะเป็นการอัพเดต Trend ต่างๆ ที่ทาง IBM ได้สรุปมา และเวลาที่เหลือจะแบ่งออกเป็น Session ย่อยๆ ห้องละ 1 เทคโนโลยี โดยจะมีหัวข้อย่อยต่างๆ ให้เข้าไปเลือกฟังได้ตามใจชอบ และมีพักเบรคให้ออกมาพักสมองกันเรื่อยๆ ครับ

สำหรับรอบที่จัดในไทยนี้มีด้วยกัน 3 เทคโนโลยีหลักๆ ได้แก่ IBM AIX, IBM i และ IBM Storage Solution ครับ ซึ่งแต่ละหัวข้อนั้นก็จะลงลึกถึงเรื่องราวเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ IBM เป็นหลัก โดยผู้ที่เข้าร่วมอบรมจะต้องเซ็นต์ Non-Disclosure Agreement หรือ NDA ด้วยว่าห้ามเปิดเผยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ออกมา ดังนั้นทางทีมงาน TechTalkThai ที่ถึงแม้จะได้เข้าร่วมอบรม แต่ก็คงเขียนเจาะลึกในแต่ละผลิตภัณฑ์เองตรงๆ ไม่ได้ครับ ตัวอย่างเช่น การเกริ่นถึง CPU Generation ถัดๆ ไปจาก POWER8 เป็นต้น แต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ทางทีมงานได้เข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ IBM ดังนั้นในอนาคตถ้าหากมีอะไรอัพเดตและเปิดเผยได้ ทางทีมงานก็จะเขียนให้อ่านในเชิงลึกขึ้นได้ครับ

คราวนี้ส่วนที่พอจะเขียนถึงได้โดยไม่ติดเรื่อง NDA ก็จะมีส่วนของ Overview Session ที่ทางทีมงานวิศวกรจาก IBM มาอัพเดตแนวโน้มต่างๆ ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai ก็ขอสรุปเนื้อหาตรงส่วนนี้ให้ได้อ่านกัน ดังนี้ครับ

 

โลกที่กำลังจะเปลี่ยนไป ด้วย Unstructured Data ปริมาณมหาศาลที่เราแต่ละคนสร้างขึ้นถึงวันละ 6.75TB ต่อวัน

โลกของเรากำลังจะดำเนินไปถึงจุดที่ทุกๆ นาที เราแต่ละคนจะสร้างข้อมูล Unstructured Data ขึ้นมามากถึงคนละราวๆ 5GB ต่อนาที รวมทั้งสิ้นมากถึง 6.75TB ต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ถือว่าเยอะมาก โดยนิยามของคำว่า Unstructured Data ทีทีมงาน IBM กล่าวถึงนั้นหมายถึงข้อมูลที่ไม่ได้มีการจัดแบ่งฟีลด์ต่างๆ และต้องใช้ความสามารถของมนุษย์หรือการทำ Cognitive Computing ในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจและนำมาใช้ประโยชน์

 

เทคโนโลยี Cognitive จะกลายเป็นทางเลือกหลักในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาล

Cognitive Computing คือเทคโนโลยีที่ทำให้ Computer มีความสามารถในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับข้อมูลต่างๆ รวมถึงสามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้ โดยแนวโน้มการใช้งานของ Cognitive Computing เองก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันมีการใช้งาน Cognitive Computing ดังนี้

  • 96% ของธุรกิจประกันมีเป้าหมายที่จะลงทุนในเทคโนโลยี Cognitive
  • 94% ของธุรกิจค้าปลีกมีเป้าหมายที่จะลงทุนในเทคโนโลยี Cognitive
  • 89% ของธุรกิจสื่อสารเชื่อว่าเทคโนโลยี Cognitive จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก

เทคโนโลยี Cognitive จะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลภาพวิดีโอจากกล้องวงจรปิดเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นย้อนหลัง, ระบบผู้ช่วยเสมือนที่คอยให้คำแนะนำเรา หรือรถยนต์ที่เรียนรู้สภาวะแวดล้อมรอบตัว และตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ เช่น การเปิดที่ปัดฝนหน้ารถเมื่อฝนตก เป็นต้น

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของการนำเทคโนโลยี Cognitive มาใช้แก้ปัญหาในโลกปัจจุบันก็คือ 35% ของการจราจรทุกวันนี้ คือการมองหาที่จอดรถ สิ่งหนึ่งที่ IBM มองว่าจะสามารถมาช่วยในจุดนี้ได้คือเทคโนโลยี Sensor ที่รวบรวมข้อมูลที่จอดรถต่างๆ ร่วมกับระบบ Cognitive เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ารถควรจะไปจอดที่ไหน ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่ต้องพะวงหาที่จอดรถด้วยตัวเอง

Cognitive จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงบทบาทของฝ่าย IT ให้กลายเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจขององค์กรได้ และจะกลายเป็นความกดดันใหม่ของฝ่าย IT ที่ต้องมีหน้าที่ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น IoT ที่จะเติบโตถึง 30,000 ล้านอุปกรณ์ภายในปี 2020, การตอบโจทย์ของลูกค้าที่มาชอปปิ้งซึ่งมีความต้องการในการนำเสนอโปรโมชั่นรายบุคคลถึง 48% และการทำธุรกรรมทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขที่จะทำผ่านอุปกรณ์พกพาที่มากถึง 65% ภายในปี 2018 เป็นต้น

 

การเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และความเสี่ยงที่เกิดขึ้น คืออีกความกดดันของฝ่าย IT

ในขณะเดียวกัน อีกโจทย์หนึ่งที่ถือว่ากดดันฝ่าย IT ในอนาคตมากๆ ก็คือ การพยายามป้องกันการเกิดค่าใช้จ่ายทาง IT และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ที่อาจเป็นค่าใช้จ่ายก้อนมหาศาลที่คาดไม่ถึงได้เลยทีเดียว ซึ่งทางฝ่าย IT ต้องเตรียมรับมือเอาไว้ มีดังนี้

  • ภายในปี 2018 เราแต่ละคนจะสร้างข้อมูลต่อวันมากถึง 6.75TB
  • Data Breach แต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายเฉลี่ย 150 ล้านเหรียญในปี 2020
  • Downtime แต่ละชั่วโมงจะมีความเสียหายเฉลี่ยมากกว่า 1.6 ล้านเหรียญ
  • 75% ของโครงการทางด้าน IT มีแนวโน้มว่าจะล้มเหลว ไม่ว่าจะจากความล่าช้า, การเพิ่มขึ้นของงบประมาณ และปัจจัยอื่นๆ

 

Hybrid Cloud จะเป็นแพลทฟอร์มหลักสำหรับการสร้างนวัตกรรม และการเชื่อม Mobile มาสู่องค์กร

การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร หลังจากนี้จะต้องการเทคโนโลยี Hybrid Cloud เข้ามาช่วยตอบโจทย์ ซึ่งตัวอย่างของนวัตกรรมเหล่านั้นมีดังนี้

  • ในธุรกิจประกัน จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแต่ละราย และนำเสนอกรมธรรม์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคนได้
  • ในธุรกิจการเงิน จะมีระบบบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลให้ดีที่สุดอยู่เสมอได้ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น ประเด็นทางสุขภาพ, การงาน และอื่นๆ

จะเห็นได้ว่า Hybrid Cloud จะมีบทบาททางด้านการเพิ่มพลังงานในการประมวลผลให้เพียงพอได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจ และจากประสบการณ์ของทีมงาน IBM เอง 3 ประเด็นหลักๆ ที่องค์กรต่างๆ จะต้องสร้างขึ้นมาให้ได้จากการใช้ Hybrid Cloud เพื่อสร้างนวัตกรรมบริการใหม่ๆ มีดังนี้

  • การประมวลผลร่วมกันระหว่าง Processor และ Data ใน Data Center และ Mobile Device
  • การวิเคราะห์ข้อมูลได้ในแบบ Real-time เพื่อช่วยตอบคำถามหรือการตัดสินใจต่างๆ
  • การทำนายเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ล่วงหน้าสำหรับการทำ IT Operation

การ Integrate ระบบเข้ากับ Mobile Service นี้จะเปลี่ยนวิธีการที่องค์กรจะเข้าถึงลูกค้ารายต่างๆ ได้เป็นอย่างมากผ่านทาง API ที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, เว็บไซต์, Sensor, Social Network, Smartphone, Tablet, Internet TV, Application และอื่นๆ ซึ่งแนวโน้มนี้จะเรียกว่า API Economy ขนาดของ Application และปริมาณข้อมูลขององค์กรจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่ประเด็นทางด้านความปลอดภัยก็จะเป็นอีกหัวใจสำคัญของธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะรวมถึงการเข้ารหัส, การบริหารจัดการ API และการแบ่งแยกกลุ่มของ Workload ออกจากกันเพื่อลดความเสี่ยง

 

Real-time Analytics จะเกิดขึ้นจาก Hybrid Cloud และ Mobile Integrations

ในขณะที่การทำ Real-time Analytics ก็กำลังเติบโตในทุกๆ อุตสาหกรรม แม้แต่ธุรกิจล้างรถเองก็เริ่มมีการนำ Real-time Analytics เข้าไปใช้บ้างแล้ว โดยการนำข้อมูลสภาพอากาศมาช่วยทำนายจำนวนลูกค้าในแต่ละวัน และในมุมมองของลูกค้าเอง ก็จะมีข้อมูลสภาพอากาศสำหรับตัดสินใจในการล้างรถ และทำให้พฤติกรรมการล้างรถเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เป็นต้น

สำหรับทางด้านเทคโนโลยีสำหรับการทำการตลาด การนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ประมวลผลร่วมกันก็จะสร้างประสบการณ์ส่วนตัวให้แก่ลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล Social Network ของลูกค้าเพื่อทำการนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆ หรือการตรวจสอบที่อยู่ของลูกค้าและนำเสนอข้อมูลต่างๆ ก็ตาม

องค์กรเองต้องเตรียมตัวสำหรับ Real-time Analytics ด้วยการเตรียมรวบรวมข้อมูลภายในและภายนอกองค์กรสำหรับการประมวลผล, การเตรียม Infrastructure สำหรับรวบรวมข้อมูลและประมวลผล รวมถึงการรักษาความปลอดภัย

 

การดูแลรักษา IT Infrastructure จะเปลี่ยนไปด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล

ส่วนการทำ Operations for Service Predictability จะมีการ Match Application เข้ากับ Platform, การทำให้มั่นใจว่าสามารถมองเห็นการทำงานของ Internet of Things ได้ และการบริหารจัดการงานต่างๆ ทางด้านระบบเครือข่ายได้จากศูนย์กลาง โดยการออกแบบระบบเพื่อให้รองรับความสามารถเหล่านี้ในค่าใช้จ่ายที่จำกัด รวมถึงการตอบรับความปลอดภัยและประสิทธิภาพได้ในระดับที่ต้องการ ถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยการพยายามทำให้ฝ่าย IT สามารถติดตามทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอด เพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้ก่อนที่จะเกิด Downtime ก็เป็นโจทย์ที่องค์กรต้องทำให้ได้

 

ถัดจากนี้ไป องค์กรจะมีปัจจัยในการแข่งขันกัน 3 ประการ

IBM ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ในยุคที่ข้อมูลและการประมวลผลกลายเป็นหัวใจของธุรกิจนั้น 3 ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งได้ มีดังนี้

  • Data ข้อมูลสำหรับสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
  • Hybrid Cloud แพลทฟอร์มที่จะสร้างความคล่องตัวในการทำงาน
  • Open Collaboration หนทางใหม่ในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร

 

การตอบโจทย์ของ IBM เพื่อรับมือกับ 3 ปัจจัยในการแข่งขัน

IBM ได้อัพเดตทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเตรียมให้องค์กรต่างๆ สามารถเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ดังต่อไปนี้

  • OpenStack เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เป็นตัวอย่างของ Open Collaboration ที่ดี โดย OpenStack เป็นระบบบริหารจัดการ Cloud และการทำ Automation ซึ่งผู้ผลิตทุกๆ รายต่างก็เข้าไปช่วยกันพัฒนา OpenStack ให้รองรับกับเทคโนโลยีของตัวเอง รวมถึง IBM ด้วย โดย IBM PowerVM NovaLink นั้นก็เป็นตัวเชื่อมให้ OpenStack สามารถบริหารจัดการ PowerVM ได้ ในขณะที่ IBM PowerVC Dynamic Resource Optimizer ก็จะช่วยบริหารจัดการ Workload และ Resource ใน OpenStack ให้คุ้มค่าสูงสุด
  • IBM AIX 7.2 มีเทคโนโลยี AIX Live Kernel Update ทำให้ไม่ต้องมี Downtime ในระหว่างอัพเดต Kernel, รองรับการทำ Server side Flash Cache และมีประสิทธิภาพในการทำ Oracle RAC ถึง 40GB RoCE
  • IBM PowerHA 7.2 สามารถทำ Failover ได้แบบอัตโนมัติทั้งระดับ System และ Software
  • IBM i รองรับ Mobile และ Analytics มากขึ้น โดยรองรับการใช้ DB2 สำหรับงาน Analytics ได้ดีขึ้นและสามารถเชื่อมต่อกับ IBM FlashSystem 900 ได้แบบ Native/VIOS ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ในขณะที่ยังมีการรองรับ Application อื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น Java 8, Python, Samba และ node.js รวมถึงมี iAccess Mobile Client สำหรับเชื่อมต่อมายัง IBM i ได้ผ่านอุปกรณ์พกพา
  • Power Systems Infrastructure Taliored for SAP HANA เป็นอีกหัวข้อใหญ่ที่ IBM เน้น ด้วยความสามารถของ IBM Power Systems ที่รองรับการทำ In-memory Database ได้เป็นอย่างดี โดยมีรุ่นของ Server ให้เลือกใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น S824, E850, E870, E880 โดยรองรับสูงสุดถึง 192 Cores CPU และ 16TB Memory พร้อมฟีเจอร์ในการเพิ่มความทนทานอย่าง Reliability, Availability และ Serviceability (RAS) ในตัวด้วย
  • ทำ Hybrid Cloud ด้วย IBM PurePower System IBM PurePower System เป็นระบบ Converged Infrastructure จาก IBM ที่มาเป็นตู้ Rack ซึ่งประกอบด้วย Server, Storage, Network และ Software พร้อมสำหรับการทำ Application ขนาดใหญ่หรือ Private Cloud พร้อมระบบ RAS เสริมความทนทาน
  • IBM Power Systems S812LC Server ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับ Hadoop และ Spark Workload โดยเฉพาะ
  • IBM BigInsights และ IBM Open Platform ระบบ Big Data Analytics จาก IBM ที่สามารถทำงานร่วมกับส่วนประกอบต่างๆ ของ Apache Hadoop ได้ทันที เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ Software หรือภาษาโปรแกรมมิ่งที่ถูกออกแบบมาสำหรับการประมวลผลข้อมูล Big Data โดยเฉพาะ สามารถเข้าถึงข้อมูล Big Data เหล่านี้เพื่อทำการวิเคราะห์ได้ง่าย และมีระบบบริหารจัดการที่ตอบโจทย์ได้ในระดับองค์กร

 

IBM POWER8 Roadmap

รุ่นถัดไปคือ POWER8NV ที่รองรับ EDR Infiniband, CAPI over PCIe Gen3, มี NVLink และรองรับ NVIDIA Pascal ส่วนถัดจากนั้นไปจะเป็นรุ่น POWER9 ซึ่งรองรับ Next Generation Infiniband, NVIDIA Volta และ NVLink ที่ถูกปรับปรุงขึ้นไปอีก

 

แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยี Storage ในอนาคตถัดจากนี้

ในมุมของ Storage นี้เราจะแยกออกเป็นสองประเด็นหลักๆ คือเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ และการปกป้องข้อมูลไม่ให้สูญหายไป

  • ข้อมูลจะเติบโตไปอีก 50% จนไปถึง 6 Trillion TB เฉพาะภายในปีนี้เพียงปีเดียว
  • 80% ของข้อมูลจะเป็นแบบ Unstructured Data และเติบโตเร็วกว่า Structured Data ถึง 15 เท่า
  • 70% ขององค์กรมีแผนที่จะลงทุนหรือลงทุนระบบ Big Data Analytics ไปแล้ว
  • มากกว่า 70% ขององค์กรจะเริ่มใช้ Hybrid Cloud ภายในปี 2015

สิ่งที่องค์กรต้องทำในทุกวันนี้ คือการรักษาสมดุลระหว่างการใช้งานระบบเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยการตอบโจทย์ของการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลให้ได้นั้นถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ โดยมีสถิติที่น่าสนใจจากการสำรวจในองค์กรต่างๆ ดังนี้

  • 71% ของ CEO มองว่าความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้เป็น External Force ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด
  • 78% ของ CFO รายงานว่ายังคงมีความกดดันในการควบคุมค่าใช้จ่ายและการเพิ่มความคุ้มค่าภายในองค์กร
  • มีเพียง 1 ใน 5 ของลูกค้าเท่านั้นที่สามารถใช้งาน IT Infrastructure ที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า และค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่าที่สุดคือการลงทุนกับระบบ Storage ที่มากเกินจำเป็น
  • 69% ขององค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วย Software นั้นสามารถเอาชนะคู่แข่งที่ไม่ได้สร้างนวัตกรรมมาแข่งขันได้

 

การบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรต้องเปลี่ยนไป เพื่อตอบรับการมาของ Big Data

ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและจะเกิดขึ้นกับองค์กรที่ทำ Big Data Analytics หรือ Cloud ก็คือการแยก Silo ระหว่างแต่ละระบบออกจากกัน ทำให้แต่ละระบบไม่มีการ Utilize อย่างคุ้มค่าเท่าที่ควร เทคโนโลยีที่ IBM พยายามนำมาใช้แก้ปัญหานี้มีดังนี้

  • Agility โดยให้ระบบสามารถทำ Self-tuning เพื่อให้ปรับตัวเองให้เหมาะสมต่อการใช้งานแต่ละรูปแบบได้
  • Control มีข้อมูลและการทำ Optimization ทั้งสำหรับ Storage แบบ On-premise และ Cloud ให้มีความปลอดภัย, คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูง
  • Efficiency มีการเลือกบันทึกข้อมูลลงสื่อที่เหมาะสมที่สุดและมีการบริหารจัดการโดยอัตโนมัติให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 90%

ทั้ง 3 แนวทางนี้ถูกพัฒนารวมอยู่ใน Software Defined Storage และ Flash ของ IBM โดยทาง IBM ก็ยังได้ให้ทางเลือกสำหรับองค์กรต่างๆ ในการเลือกใช้งาน Storage ของ IBM ได้ในรูปแบบของ Software, Appliance และ Cloud ได้อย่างอิสระ

 

องค์กรต้องพิจารณาทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลให้ดียิ่งขึ้นกว่าเก่า

มุมมองใหม่ที่จะมีต่อ Storage หลังจากนี้ก็คือผู้ใช้งานจะไม่สนใจอีกต่อไปแล้วว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด ตราบใดที่ข้อมูลยังคงเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย, มีประสิทธิภาพสูง, มีความทนทาน และมีความปลอดภัย โดยผู้ใช้งานจะไปมุ่งเน้นต่อกระบวนการในการทำงานแทนมากกว่า ซึ่งก็เป็นจุดที่จะทำให้ Hybrid Cloud สามารถเข้ามาเติมเต็มความต้องการตรงนี้ได้

ทั้งนี้ในการจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรนั้น ความต้องการทางด้านความปลอดภัย, ความทนทาน และการบริหารจัดการนั้นแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลและการนำไปใช้สำหรับ Application ที่แตกต่างกันเท่านั้น ซึ่งความแตกต่างเพียงเท่านี้ก็ถือว่ามากพอที่จะทำให้ไม่มีระบบ Storage ใดในโลกที่สามารถตอบได้ทุกโจทย์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างครอบคลุมแล้ว รวมถึงแต่ละ Application ก็ไม่ได้ต้องการความสามารถทุกอย่างที่แต่ละระบบ Storage มีด้วย แนวทางของ IBM จึงเป็นการออกแบบระบบ Storage สำหรับตอบโจทย์ความต้องการ Application ที่แตกต่างหลากหลายกันไป และ Data Center ก็ต้องรองรับ Storage ที่มีความหลากหลายด้วย

ความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นมาในเทคโนโลยี Storage จากการมาของ Software Defined Storage นี้ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ โดย Software Defined Storage จะช่วยให้ทุกๆ Hardware สามารถให้บริการ Storage ได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกและความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งทาง IBM ก็มี IBM Spectrum Storage ที่ตอบโจทย์ครบทุกภาพสำหรับระบบ Storage ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล, การสำรองข้อมูล, การบริหารจัดการข้อมูล และการทำ Self-Service Storage ภายในองค์กร ซึ่งจะเป็น Trend ใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้

 

สุดท้ายนี้ ทาง IBM ก็ได้จบ Session Overview ด้วยการเล่าถึง IBM DS8880 ซึ่งเป็นรุ่นที่ 7 ของ DS8000 ที่กำลังจะเปิดตัวในประเทศไทยในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ โดยจะใช้ IBM POWER เป็น Hardware ทำให้มีความทนทานในระดับเดียวกับ IBM Power Systems สำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นหลักนั่นเอง

 

ทั้งนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ก็ต้องขอขอบคุณทาง IBM Thailand อีกครั้งสำหรับโอกาสในการเข้าไปอัพเดตเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้อีกครั้งนะครับ

from:https://www.techtalkthai.com/seminar-ibm-power-systems-storage-technical-roadshow-asean-2015-summary/

IBM เสริมความสามารถให้ Spectrum Storage สำรองข้อมูลและระบบไปยัง Cloud ได้

ibm_logo

IBM ได้ประกาศเพิ่มความสามารถให้ Spectrum Protect ซึ่งเป็นระบบสำรองข้อมูล และ Spectrum Accelerate ระบบ Software Defined Storage โดยเพิ่มความสามารถดังต่อไปนี้

IBM Spectrum Protect

ibm_spectrum_protect_dashboard

ในเวลานี้ IBM Spectrum Protect สามารถทำการสำรองข้อมูลไปยังทั้ง Object Storage ภายในองค์กร และระบบ Cloud จาก IBM SoftLayer ได้แล้ว โดยในอนาคตจะรองรับการสำรองข้อมูลไปยัง Cloud จากผู้ให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติม โดยจากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของลูกค้ากลุ่มทดลองนั้นพบว่าสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสำรองข้อมูลให้กับธุรกิจ SMB ได้มากถึง 53%

นอกจากนี้ IBM Spectrum Protect จะยังถูกเสนอเป็น Option ภายในระบบ VersaStack ซึ่งเป็น Integrated Infrastructure ร่วมกันระหว่าง IBM และ Cisco อีกด้วย

IBM Spectrum Accelerate

IBM เปิดตัวบริการ IBM Spectrum Accelerate on Cloud ซึ่งจะเป็นบริการของ Spectrum Accelerate as a Service บน Cloud ของ IBM SoftLayer นั่นเอง โดยทำให้ SoftLayer มีระบบ Block Storage ให้ใช้งานโดยองค์กรไม่ต้องซื้อ Storage เองอีกต่อไป และทำให้องค์กรมีทางเลือกในการทำ Remote Backup, Remote Snapshot และ Asynchronous Replication Data Center ในราคาประหยัดได้

ที่มา: http://www.ibm.com/press/us/en/pressrelease/47544.wss

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-integrated-spectrum-storage-with-the-cloud/

แนะนำ IBM Spectrum Accelerate ระบบ Software Defined Storage ที่ต่อยอดมาจาก IBM XIV รองรับพื้นที่ 40 PB

ibm_logo

Hyper-Converged Infrastructure หรือแนวคิดในการรวมระบบ Server, Storage และ Network เข้าด้วยกันบน Server Hardware แต่ละชุด ให้สามารถทำงานร่วมกันแบบ Scale Out เพื่อให้บริการ Virtualization ที่ทั้งง่าย, รวดเร็ว และทนทานนั้นกำลังเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมสูงตามองค์กรและธุรกิจต่างๆ

IBM เองในฐานะของผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Storage ก็ได้นำเสนอ IBM Spectrum Accelerate เพื่อให้ทุกองค์กรที่ใช้ VMware vSphere สามารถต่อยอดระบบ Virtualization ที่มีอยู่ หรือลงทุนกับ Data Center ใหม่ได้ด้วยเทคโนโลยี Software Defined Storage ให้กลายเป็นระบบ Hyper-Converged Infrastructure ได้อย่างง่ายๆ ทันที

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ทั่วโลกมี Server ที่ใช้งาน IBM Spectrum Accelerate อยู่มากกว่า 100,000 เครื่องแล้ว ดังนั้นจึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการทำระบบ Hyper-Converged ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก

ibm_spectrum_accelerate_banner

แนวคิดของ IBM Spectrum Accelerate

IBM Spectrum Accelerate จัดเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่ม Software Defined Storage จาก IBM ที่ได้ทำการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ IBM XIV ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบ Storage แบบ High-end และ Grid-scale ที่มีความสามารถหลากหลาย โดยปัจจุบันนี้ IBM Spectrum Accelerate สามารถทำการติดตั้งบน VMware vSphere เพื่อให้สามารถนำ Local Drive ที่มีการติดตั้งอยู่บน VMware vSphere Server แต่ละเครื่อง มาสร้างเป็น Scale Out Storage เพื่อให้ VMware vSphere ใช้งานเป็น Datastore จนเกิดเป็น Hyper-Converged Infrastructure ขึ้นมา

ibm_spectrum_accelerate_diagram

ในเบื้องต้นนั้น IBM Spectrum Accelerate ต้องติดตั้งบน VMware vSphere ด้วยกันทั้งสิ้น 3 เครื่องเป็นอย่างน้อย เพื่อให้สามารถเริ่มใช้งานได้ และรองรับการเพิ่มขยายสูงสุดรวมกันถึง 15 เครื่อง รวมพื้นที่ใช้งาน Usable Capacity สูงสุดทั้งสิ้น 325 TB ต่อ Virtual Array และรองรับการใช้งานสูงสุดที่ 144 Virtual Array ทำให้มีพื้นที่รวมสูงสุดกว่า 40 PB เลยทีเดียว โดยทุกครั้งที่มีการเพิ่มขยาย ประสิทธิภาพของระบบก็จะดีขึ้นไปด้วยเพราะระบบ Storage จะทำงานในแบบ Parallel นั่นเอง

 

ความสามารถของ IBM Spectrum Accelerate

โดยสรุปแล้ว IBM Spectrum Accelerate นี้มีความสามารถดังต่อไปนี้

  • ทำ Redundant ในแบบ Grid ทำให้มีข้อมูล 2 Copy อยู่เสมอ
  • มีระบบ Self Healing โดยทำการ Rebuild ข้อมูลเฉพาะส่วนที่เสียหายไปได้อย่างรวดเร็ว
  • มีการทำ Load Balancing บน Drive ทั้งหมดเพื่อยืดอายุการทำงานของแต่ละ Drive ได้
  • สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของ IBM Spectrum Accelerate ในเชิงลึกได้
  • รองรับพื้นที่การใช้งานสูงสุดถึง 40PB
  • รองรับการทำ Cloud Automation ร่วมกับ OpenStack และ VMware vRealize Ochestrator ได้
  • รองรับการทำ Snapshot หลากหลายรูปแบบ
  • รองรับการทำ Thin Provisioning
  • รองรับการทำ Synchronous/Asynchronous Mirroring พร้อมทั้งทำ Failover/Failback ได้
  • มีระบบ Security ภายในตัว

ต่อยอดเป็นระบบ Hybrid Cloud ได้ในอนาคต

ด้วยความเป็น Software Defined Storage ของ IBM Spectrum Accelerate ทำให้ระบบ IBM Spectrum Accelerate นี้สามารถติดตั้งได้อยู่ทั้งภายใน Data Center ขององค์กร, ติดตั้งบน Public Cloud ของ SoftLayer และติดตั้งบน Private Cloud ที่ใช้ VMware vSphere และทำการสำรองข้อมูลข้ามระหว่าง Data Center เพื่อสร้างเป็น Hybrid Cloud สำหรับองค์กรได้ทันที ทำให้การตอบโจทย์ขององค์กรในการสร้างระบบ Cloud เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

ibm_spectrum_accelerate_hybrid_cloud_diagram

ทดลองใช้งาน IBM Spectrum Accelerate ได้ฟรีๆ

สำหรับองค์กรที่สนใจ IBM Spectrum Accelerate สามารถทดลองใช้งานได้ฟรีๆ ทันทีตามรายละเอียดดังนี้ https://www.techtalkthai.com/ibm-promotion-free-spectrum-accelerate/

Image3_IBMSpectrumAccelerate

ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/introduce-ibm-spectrum-accelerate-software-defined-storage-from-xiv/

IBM เปิดตัว IBM Spectrum Storage ตั้งเป้าเปลี่ยนแปลงตลาด Enterprise Storage สู่ Software Defined Storage ที่รองรับ Cloud

ibm_logo

IBM ได้ประกาศเปิดตัว IBM Spectrum Storage ซึ่งเป็น Product Line ใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Software Defined Storage โดยเฉพาะ เพื่อให้การใช้งานระบบ Storage มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยการมีชั้นของ Software คอยควบคุมเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากประเด็นทางด้านความคุ้มค่าแล้ว IBM Spectrum Storage จะยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ibm_spectrum_storage

ทั้งนี้ทาง IBM ยังได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ IBM Spectrum Storage อีกด้วยว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีการจด Patent เอาไว้มากกว่า 700 Patent และยังมีแผนจะทุ่มงบประมาณเพิ่มไปอึก 1 พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาทไทย ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นไปกับการพัฒนา Cloud Storage Software, Object Storage และ Open Standard ซึ่งรวมถึง OpenStack ด้วย

ในเวลานี้ IBM ได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใน IBM Spectrum Storage ดังต่อไปนี้

  • IBM Spectrum Accelerate พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM XIV เพื่อสร้าง Block Storage ขนาดใหญ่ที่มีทั้งประสิทธิภาพ ความจุ และความทนทาน สำหรับตอบรับตลาด Enterprise และ Cloud
  • IBM Spectrum Scale พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM GPFS หรือ Elastic Storage เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการจัดเก็บข้อมูลให้เพิ่มขยายความจุได้, เพิ่มความเร็วด้วย Flash ได้, ทำ Tiering ร่วมกันระหว่าง Flash-Disk-Tape ได้ และยังเพิ่มความปลอดภัยกับความสามารถในการบริหารดจัดการ สำหรับรองรับตลาด Cloud และ Big Data Analytics โดยเฉพาะ
  • IBM Spectrum Virtualize พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM SAN Volume Controller สำหรับทำ Storage Virtualization ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของ Storage ตระกูล IBM Storwize
  • IBM Spectrum Control พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM Data and Storage Management Solutions ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การทำ Infrastructure Management สำหรับระบบ Virtualized, Cloud และ Software Defined Storage ด้วยการทำ Automated Storage Provisioning, Capacity Management, Availability Monitoring และ Reporting
  • IBM Spectrum Protect พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM Backup and Recovery Solutions เพื่อการสำรองข้อมูลและปกป้องข้อมูลให้แก่ระบบ Virtual, Physical, Cloud และ Software Defined
  • IBM Spectrum Archive พัฒนาต่อยอดมาจาก IBM Linear Tape File System เพื่อให้การใช้งาน Tape เป็นไปได้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เด่นๆ ของ IBM ในสาย Storage แทบทั้งหมดได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น Software Defined Storage และพัฒนาต่อยอดต่อไป เพื่อตอบโจทย์ที่แตกต่างกันไปของตลาด และตอบรับอนาคตของ Software Defined Storage นั่นเอง

โดยหลังจากนี้ ทาง IBM ยังมีแผนที่จะประกาศเปิดตัว Multi-Cloud Connector ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนบริการ Cloud หลายๆ ค่ายร่วมกัน และโยกย้ายข้อมูลระหว่างกันได้อย่างง่ายดาย เรียกง่ายๆ ว่าเป็นระบบ Cloud ของระบบ Cloud นั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ที่มา: http://www-03.ibm.com/press/us/en/pressrelease/46093.wss 

from:http://www.techtalkthai.com/ibm-announced-ibm-spectrum-storage-software-defined-storage-for-cloud/