คลังเก็บป้ายกำกับ: DAAT

สมาคมโฆษณาฯ เผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลปี 2022 โตขึ้นน้อยกว่าที่คาด คาดปี 2023 ธุรกิจยานยนต์โตที่สุด

DAAT เผย Meta ยังเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตของการโฆษณาดิจิทัล ธุรกิจสนใจ Engagement มากขึ้น ขณะที่กฎหมาย PDPA เป็นความท้าทายใหญ่ของวงการโฆษณา

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ The Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) ร่วมมือกับคันทาร์ (ประเทศไทย) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านการตลาด เผยผลสำรวจมูลค่าการใช้จ่ายในการโฆษณาดิจิทัลของประเทศไทยประจำปี 2022 

ในการสำรวจได้เก็บข้อมูลจากเอเจนซี่ด้านการโฆษณาและการตลาด 39 แห่ง (คิดเป็น 80% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด) ครอบคลุม 59 ประเภทอุตสาหกรรมที่โฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล 17 ประเภท มีผลการสำรวจ ดังนี้

โฆษณาดิจิทัลปี 2022

ในปี 2022 ประเทศไทยมีมูลค่าการใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาดิจิทัล 25,729 ล้านบาท เติบโตจากปี 2021 อยู่ 4% จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 9% 

อุตสาหกรรมที่ใช้จ่ายเงินไปกับโฆษณาดิจิทัลสูงที่สุด ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (2,535 ล้านบาท) กลุ่มสกินแคร์ (2,467 ล้านบาท) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (2,414 ล้านบาท) กลุ่มธุรกิจการสื่อสาร (2,004 ล้านบาท) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม (1,539 ล้านบาท)

การเติบโตของเม็ดเงินที่ใช้ไปกับการโฆษณาดิจิทัลตั้งแต่ปี 2012-คาดการณ์ปี 2023

สาเหตุที่การโฆษณาดิจิทัลเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาจากที่ภาคธุรกิจยานยนต์ชะลอการใช้จ่ายเงิน ส่วนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าประเภท FMCG ก็ลดการโฆษณาลงเช่นเดียวกันเนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ ค่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลพยายามตรึงราคาสินค้าไว้ไม่ให้ปรับขึ้น

ส่วนอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงที่สุดในปี 2022 คือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เติบโต 65% ตามด้วยกลุ่มวิตามินและอาหารเสริม 23% และกลุ่มธนาคารที่ 22% เมื่อเทียบกับปี 2021 และมีความเป็นไปได้ว่าจะเติบโตในเชิงบวกต่อเนื่องในปีนี้

สาเหตุที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เติบโตสูงเป็นเพราะในช่วงปี 2020-2021 มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้การซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง แต่ในปี 2022 เพิ่มขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวทำให้ชาวจีนเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการลงทุน รวมทั้งนโยบาย LTV 100% ที่ให้กู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้ทั้งหมด ส่วนธุรกิจธนาคารก็เติบโตขึ้นจากการขยายบริการ Mobile Banking 

นอกจากนี้ หากจำแนกตามประเภทสื่อที่ใช้ในการโฆษณาดิจิทัล พบว่า Meta (Facebook รวมกับ Instagram) ยังมียอดการใช้จ่ายเงินไปกับการโฆษณามากที่สุด อยู่ที่ 8,748  ล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินลงทุนทั้งหมด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง ขณะที่สื่อออนไลน์วิดีโอมีแนวมาแรง ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 4

แพลตฟอร์มที่ถูกใช้มากที่สุดเพื่อการโฆษณาดิจิทัล ตั้งแต่ 2021-คาดการณ์ปี 2023

คาดการณ์โฆษณาดิจิทัลปี 2023

ในปี 2023 คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายเงินไปกับการโฆษณาดิจิทัลจะเพิ่มมากขึ้นจากปี 2022 ที่ 7% คิดเป็นมูลค่า 27,481 ล้านบาท

คาดว่าในปีนี้โดยเฉพาะในช่วงต้นปีจะยังมีการชะลอการใช้เงินเพื่อการโฆษณาดิจิทัลต่อเนื่องจากปี 2022 สืบเนื่องมาจากภาวะความไม่แน่นอนหลายอย่างทั้งจากสงครามยูเครน-รัสเซีย ความขัดแย้งสหรัฐอเมริกา-จีน ภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้พลังงานสูงขึ้น 

ทั้งนี้ ก็ยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลบวกอย่างการเปิดประเทศของจีนที่ยังคงต้องจับตามองว่าอาจทำให้เม็ดเงินในธุรกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานการณ์เลือกตั้งของไทยเองในเดือนพฤษภาคมนี้

ส่วนอุตสาหกรรมที่จะเติบโตสูงสุดในปี 2023 คาดว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ (คาดว่าจะเติบโต 14%) ตามด้วยเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ กลุ่มสกินแคร์ กลุ่มการสื่อสาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม ตามลำดับ 

กลุ่มธุรกิจที่ใช้เงินกับการโฆษณาดิจิทัลมากที่สุด ตั้งแต่ 2020-คาดการณ์ปี 2023

อุตสาหกรรมรถยนต์จะเติบโตสูงที่สุดเพราะสถานการณ์การขาดแคลนชิปเพื่อผลิตรถยนต์ส่งมอบให้ลูกค้าดีขึ้น ผู้เล่นในตลาดรถยนต์ปัจจุบันเริ่มเจาะตลาดกลุ่มรถยนต์หรูมากขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ก็น่าจะมีการออกสินค้าและทำการตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภภาคมที่อากาศร้อน

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธนาคารก็คาดการณ์ว่าจะยังเติบโตในปี 2023 เนื่องจากแม้จะไม่มีโครงการ LTV 100% แล้ว แต่คนจีนและคนรัสเซียก็มองหาอสังหาริมทรัพย์ในไทย รวมถึง Mobile Banking ก็ยังเติบโต 

ส่วนสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่โฆษณาดิจิทัลอันดับ 1 คาดว่ายังคงเป็น Meta เหมือนเดิม ตามด้วยโฆษณาบน YouTube และออนไลน์วิดิโอ ข้อมูลที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ การโฆษณาบน TikTok เพิ่มขึ้น 189% และคาดการณ์ว่าในปี 2023 ก็น่าจะยังเติบโตแต่ไม่เท่าเดิม

พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะ Gen Z

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยเปลี่ยนไปมาก ในปี 2022 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยไทยเป็นอันดับ 4 ของโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด รวมทั้งคนไทยกว่า 73% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ และอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยเติบโตมากไปพร้อมกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่ม Gen Z ได้ คือ YouTube เป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ ยังมี TikTok ไลฟ์อีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมสูงมาก ตามด้วย Instagram ที่ Gen Z มักใช้ในการสื่อสาร ปิดท้ายด้วย Twitter ที่มักใช้ในการติดตามเพื่อความบันเทิง

สรุป Agency Outlook

  1. วัตถุประสงค์ของนักการตลาดในการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลยังใช้เพื่อสร้าง Brand Awareness มากที่สุดอยู่ แต่สิ่งที่เริ่มเข้ามามีความสำคัญมากขึ้น คือ Engagement และ Brand Consideration
  2. การทำการตลาดผ่านโฆษณาดิจิทัลเน้นไปที่การตอบสนอง Business Objective มากขึ้นแทนที่การสนใจแค่ยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซเพียงอย่างเดียว แต่เปลี่ยนมาเน้นขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์
  3. เครื่องมือในการวิเคราะห์การโฆษณาดิจิทัล ในปี 2022 อันดับ 1 ยังเป็น E-commerce Marketing Tools 83% ตามด้วย data Analytics Platform 71%  ตามด้วย Real-Time Dashboard, Monitoring Tools 54% แต่เทรนด์ที่น่าสนใจ คือ แอปพลิเคชันแชทหรือ Chatbot มาแรงเนื่องจากผู้บริโภคต้องการข้อมูลสินค้าและการซื้อขายที่รวดเร็ว
  4. ความท้าทายของธุรกิจโฆษณาดิจิทัล คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการทำการตลาดรอบด้านทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งผู้มีความรู้ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง แม้ว่าการเรียนรู้จะทำได้ง่าย แต่การนำมาปรับใช้ได้ดียังเป็นเรื่องยาก
  5. กฎหมาย PDPA ที่ใช้รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และเทรนด์ Cookieless ทำให้การทำโฆษณาให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายยากขึ้นจากข้อมูลที่มีจำกัดมากขึ้น ทำให้ต้องมองหาพาร์ทเนอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์จาก DAAT

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สมาคมโฆษณาฯ เผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลปี 2022 โตขึ้นน้อยกว่าที่คาด คาดปี 2023 ธุรกิจยานยนต์โตที่สุด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/daat-digital-advertising-spending-of-thailand-2022/

DAAT มอบทุนการศึกษาปริญญาโทที่ ม.กรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มอบทุนการศึกษาหลักสูตร นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ให้กับ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT จำนวน 1 ทุน มูลค่า 302,000 บาท เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ที่สนใจเเละมีความตั้งใจจริงDAAT ขอเรียนเชิญผู้สนใจร่วมแข่งขันชิงทุนการศึกษานี้ ส่งรายละเอียดมาที่สมาคมดังนี้

  1. ประวัติการศึกษาและการทำงาน (CV หรือประวัติใน Linkedin)
  2. สื่อแนะนำตัวเองผ่านช่องทางการสื่อสารดิจิทัลชนิดใด ๆ ก็ได้ (Youtube, Facebook, Blog หรืออื่น ๆ)
  3. ตัวอย่างผลงานที่เคยทำ (ถ้ามี)
  4. เหตุผลที่คณะกรรมการสมาคมฯ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ควรเลือกมอบทุนให้แก่ท่าน

ส่งข้อมูลต่าง ๆ มาทางอีเมล์ที่ daatscholarship@gmail.com

  • subject email: ชื่อ-นามสกุล ผู้สมัคร
  • ภายในวันที่ 18 มิ.ย. 64 (22.00 น.)

กำหนดการสมัครและคัดเลือก

  • ช่วงเวลารับสมัคร วันที่ 22 พ.ค. – 18 มิ.ย. 64 (หมดเขตส่งเอกสารเวลา 22.00 น. ของวันที่ 18 มิ.ย. 64)
  • ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสัมภาษณ์ วันจันทร์ ที่ 21 มิ.ย. 64
  • สอบสัมภาษณ์ผู้เข้ารอบ วันที่ 23-24 มิ.ย. 64
  • ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุน วันที่ 25 มิ.ย. 64
  • เริ่มเรียนเทอมแรก กรกฎาคม 2564 (ปฐมนิเทศ วัน 3 กรกฎาคม 64)
  • เรียนทุกวันเสาร์ 9.00 – 20.00 เป็นเวลา 1 ปีเต็ม
  • สอนโดยทีมงานคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสายงานการสื่อสารดิจิทัล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรที่ https://bit.ly/345BEwa

เมื่อจบการศึกษาแล้วท่านจะได้รับพิจารณาเข้าร่วมงานในบริษัท Digital Agency ชั้นนำของประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี

ขอความอนุเคราะห์สื่อมวลชนร่วมประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อ เสกสรร พรสมบูรณ์ศิริ ผู้จัดการสมาคมฯ ได้ที่ -92-562-6426 หรืออีเมล์ pr@daat.in.th

from:https://www.thumbsup.in.th/daat-scholarship-2021?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=daat-scholarship-2021

เปิดภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาบนสื่อดิจิทัลประจำปี 2563

ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัลในปี 2563 เติบโตอย่างเชื่องช้าในช่วงครึ่งปีแรก โดยมียอดการใช้จ่ายอยู่ที่ 9,498 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ตามในครึ่งปีหลังยอดการลงทุนสื่อดิจิทัลกลับมาเติบโตมากขึ้นดันยอดใช้จ่ายสูงถึง 11,560 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดทั้งปีเติบโตรวม 8% จากปีก่อนหน้า

โดย 5 อันดับอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงสุด ได้แก่

  • กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (2,713 ล้านบาท) 
  • กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮล์ (1,993 ล้านบาท) 
  • กลุ่มการสื่อสาร (1,979 ล้านบาท) 
  • กลุ่มสกินแคร์ (1,922 ล้านบาท) 
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (1,717 ล้านบาท)

ข้อมูลที่น่าสนใจคือกลุ่มธุรกิจธนาคารที่เคยอยู่ในลำดับที่ 5 ในปีก่อนหน้านี้ได้ถูกแทนที่โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมในปีนี้

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (+41%) และกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮล์ (+36%) ในทางกลับกัน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (-36%) กลุ่มธุรกิจธนาคาร (-30%) กลุ่มธุรกิจประกัน (-22%) และกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม (-40%) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลดการใช้เงินบนสื่อดิจิทัล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความต้องการและพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค

สำหรับแพลตฟอร์มที่แบรนด์และเอเจนซี่เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคยังคงเป็น Facebook Ads (6,561 ล้านบาท) และYouTube Ads (4,586 ล้านบาท) รองลงมือคือ Creative (2,039 ล้านบาท) Social (1,882 ล้านบาท) และ Search (1,627 ล้านบาท) ตามลำดับ

จากข้อมูลจะเห็นว่า Facebook และ YouTube ครองอันดับต้นๆ ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ขณะเดียวกันก็มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่าง TikTok และ E-Commerce เพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค รวมถึงเป็นทางเลือกให้กับนักการตลาดอีกด้วย

ข้อมูลจาก

KantarThailand

from:https://www.thumbsup.in.th/digital-spending-2020?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=digital-spending-2020

DAAT เผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลปี 2020 มูลค่า 21,058 ล้านบาท เติบโต 8% ดีกว่าที่คาด

DAAT เปิดเผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลปี 2020 มูลค่า 21,058 ล้านบาท เติบโต 8% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปีที่แล้วที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 0.3%

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ร่วมกับ บริษัท คันทาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยข้อมูลเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลในปี 2020 มูลค่ารวม 21,058 ล้านบาท เติบโต 8% เมื่อเทียบกับปี 2019 และถือว่าเติบโตได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ที่ 0.3% เท่านั้น

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลในภาพรวม ที่สามารถเติบโตได้ 8% เป็นเพราะ ไทยสามารถรักษามาตรฐาน และควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อได้ดี ก่อนที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้ความมั่นใจของผู้ลงโฆษณาค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี

นอกจากนี้ DAAT ยังได้เปรียบเทียบสถานการณ์เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลในประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ และพบว่าประเทศอื่นมีเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลที่ลดลง แต่ของไทยเพิ่มขึ้น เป็นเพราะแบรนด์มีการโยกเม็ดเงินจากส่วนอื่นๆ มาใช้ในการโฆษณาดิจิทัล จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ในขณะที่เม็ดเงินโฆษณาของโรงภาพยนต์ สิ่งพิมพ์ และวิทยุ มีการเติบโตที่ลดลง

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะเติบโต 8% แต่ก็นับว่ายังน้อย เพราะหากย้อนไปในอดีตเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเติบโต 2 หลักมาตลอดนับตั้งแต่ปี 2013 แต่ถ้าถามว่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะกลับมาเติบโตได้ตามปกติ คงต้องใช้เวลา เพราะแบรนด์ต่างๆ ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ และยังไม่กล้านำเงินมาลงในสื่อโฆษณา

5 อันดับ อุตสาหกรรมลงเงินสื่อโฆษณาดิจิทัลสูง

สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เงินในสื่อโฆษณาดิจิทัลสูงสุด 5 อันดับแรก ในปี 2020 ได้แก่

    • อันดับ 1 กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 2,713 ล้านบาท
    • อันดับ 2 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1,993 ล้านบาท
    • อันดับ 3 กลุ่มการสื่อสาร 1,979 ล้านบาท
    • อันดับ 4 กลุ่มเครื่องสำอาง 1,922 ล้านบาท
    • อันดับ 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 1,717 ล้านบาท

อุตสาหกรรมที่ลงเงินในสื่อโฆษณาดิจิทัล 5 อันดับแรก คิดเป็นส่วนแบ่งของเม็ดเงินกว่า 48%

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังครองแชมป์ ใช้เงินมากที่สุด

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้เงินลงในโฆษณาดิจิทัลมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ด้วยเม็ดเงินกว่า 2,713 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13%

แม้ว่าในปี 2020 อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างเลี่ยงไม่ได้ ลูกค้ากังวลใจในการใช้เงินซื้อรถยนต์คันใหม่ ไม่สามารถจัดงานแสดงรถยนต์ใหญ่ๆ ได้ ค่ายรถยนต์ต้องหาทางเปลี่ยนเป็นขายรถยนต์ผ่านทางไลฟ์สดแทน ทำให้การใช้เม็ดเงินลงกับสื่อโฆษณาดิจิทัลลดลง 3% แต่ก็ยังถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินมากที่สุดอยู่ดี

แต่อย่างไรก็ตามการใช้เม็ดเงินลงในสื่อโฆษณาดิจิทัลของอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นเพราะสื่อดิจิทัลสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อรถยนต์ได้ดี มีการกรองกลุ่มเป้าหมายได้ดี ค่ายรถยนต์จึงมั่นใจในการใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น

กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ใช้เงินลงในโฆษณาดิจิทัลมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ด้วยเม็ดเงิน 1,993 ล้านบาท เติบโตถึง 36% คิดเป็นสัดส่วน 9% โดยกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ใช้เงินลงในสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแบรนด์ดิ้ง เปิดตัวแบรนด์ หรือรสชาติใหม่ๆ เพื่อหวังสร้างยอดขายในช่วงครึ่งปีหลังตามปกติ

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ใช้เงินลงในโฆษณาดิจิทัลมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ด้วยเม็ดเงิน 1,717 ล้านบาท โดยมีการเติบโตตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งปีแรก แต่กลับทำมีการใช้เงินลงโฆษณาดิจิทัลที่มากขึ้นถึง 41%

DAAT ให้เหตุผลที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมีการลงเงินในโฆษณาดิจิทัลมากขึ้น เป็นเพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการกักตุนในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มสินค้า FMCG ใน e-Commerce ที่เติบโต รวมถึงการเติบโตของนมพาสเจอร์ไรส์ สินค้าที่ใช้ประกอบอาหารที่บ้านที่ขายดี และการซื้อด้วยความตกใจในกรณีที่สถานการณ์ไม่ปกติ

กลุ่มรีเทล ใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น แม้โควิด-19 จะกระทบโดยตรง

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ห้างสรรพสินค้า หรือรีเทล ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยตรง แม้จะโดนคำสั่งปิดไปชั่วคราว แต่กลุ่มรีเทลกลับมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลมากขึ้นถึง 13% คือ 1,024 ล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 6

สาเหตุที่ทำให้กลุ่มรีเทลใช้เม็ดเงินลงในสื่อโฆษณาดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะ ต้องการเปลี่ยนการจัดกิจกรรม การโปรโมทเพื่อดึงคนเข้ามาในห้างสรรพสินค้า เป็นการดึงคนให้เข้ามาซื้อของผ่านช่องทาง e-Commerce แทน โดยมีการเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อจัดกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และไม่ว่ารีเทลรูปแบบใดก็เข้าสู่ช่องทาง e-Commerce กันทั้งสิ้น

หลายกลุ่มอุตสาหกรรมลดเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลลง

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างหนักในปีที่แล้ว ทำให้การใช้เม็ดเงินลงในสื่อโฆษณาดิจิทัลลดลงถึง 55% และหลุดออกจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงเงินในสื่อโฆษณาดิจิทัล 10 อันดับแรก

เป็นเพราะในปีที่แล้วภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นอย่างมาก กลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ต้องการเก็บเงินสดไว้ ไม่มีการซื้อเพื่อเก็งกำไรอีกต่อไป รวมถึงการซื้อคอนโดเพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยวก็ไม่มีแล้วเช่นกัน

โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ เน้นไปที่การจัดทำโปรโมชัน แข่งขันกันลดราคา และให้ของแถมกับลูกค้ามากกว่า โดยการติดต่อสื่อสารกับคนที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์จริงๆ

กลุ่มธนาคาร ใช้เม็ดเงินลงในโฆษณาดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 7 ลดลงกว่า 30% ด้วยเม็ดเงิน 933 ล้านบาท และหลุดออกจากอุตสาหกรรมที่เคยใช้เงินในโฆษณาดิจิทัลอยู่ 5 อันดับแรก โดยมีสาเหตุจากในปี 2020 กลุ่มธนาคารลดงบโฆษณาลงทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะโฆษณาดิจิทัลเท่านั้น เพราะธนาคารเองไม่ได้มีการอนุมัติบริการให้กับลูกค้า โดยเฉพาะการปล่อยกู้ที่ยากขึ้น จึงไม่มีการทำโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์ดิ้งเลย ยกเว้นบางธนาคารที่เข้าสู่ธุรกิจการเดลิเวอรีอาหาร ที่มีการใช้เงินโฆษณาดิจิทัลบ้าง

ส่วนในปี 2021 นี้ DAAT คาดการณ์ว่ากลุ่มธนาคารจะมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลบ้าง แต่ยังคงไม่สูงในระดับปี 2019 แต่คงไม่ได้อยู่ในระดับที่ติดลบ

กลุ่มประกันภัย ใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 8 ติดลบ 22% อยู่ที่ 606 ล้านบาท เนื่องจากการทำประกันใหม่ที่ลดลง โดยเฉพาะการทำประกันที่ต้องจ่ายเบี้ยราคาแพง หรือต้องจ่ายเงินในระยะยาว ไม่เหมาะกับช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน

กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม หรือ Hair Care จำพวกแชมพู ครีมนวด ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผม ใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 9 ติดลบ 40% อยู่ที่ 580 ล้านบาท โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เพราะร้านทำผมต้องปิดให้บริการในระยะหนึ่ง และในช่วงล็อคดาวน์คนอยู่บ้านไม่จำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมใหม่ รวมถึงกลุ่มสปา ที่ได้รับผลกระทบต้องปิดให้บริการในช่วงแรกด้วยเช่นเดียวกัน

ปี 2021 คาดการณ์ไว้ว่าจะโต 8% เท่าเดิม

แม้ว่าหลายอุตสาหกรรมจะมีการลดการใช้เงินเพื่อลงโฆษณาดิจิทัลในปี 2020 แต่ DAAT ก็คาดการณ์ว่าหลายอุตสาหกรรมจะมีการปรับเพิ่มการใช้เงินที่จะลงในโฆษณาดิจิทัลในปี 2021 นี้เช่นเดียวกัน มีเพียงกลุ่มประกันภัยที่ DAAT ยังคงคาดการณ์ว่าจะใช้เม็ดเงินลดลง 5% ต่อไปในปีนี้

สำหรับในปี 2021 นี้ ทาง DAAT คาดการณ์ว่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะเติบโตอีก 8% เท่ากับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 22,800 ล้านบาท

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post DAAT เผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลปี 2020 มูลค่า 21,058 ล้านบาท เติบโต 8% ดีกว่าที่คาด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/digital-advertising-spend-2020/

DAAT เผยเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลถอยไปเท่าปี 2562 ยานยนต์ครองอันดับหนึ่ง กลุ่มธนาคารลดลง 30%

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) / Digital Advertising Association (Thailand) (DAAT) ร่วมกับ คันทาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจมูลค่าเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลครึ่งปีแรกของปี 2563 และการคาดการณ์เม็ดเงินในครึ่งปีหลังของปี 2563 จาก 42 เอเจนซี่ โดยแบ่งเป็น 57 ประเภทอุตสาหกรรม และ 14 ประเภทสื่อดิจิทัล

เม็ดเงินลงทุนในสื่อดิจิทัล

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การเติบโตของเม็ดเงินลงทุนในสื่อดิจิทัลลดลงจากเลขสองหลักเหลือเพียง 0.3% หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2019 เพียงเล็กน้อย โดยในครึ่งปีแรกมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัล 9,498 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าครึ่งปีหลังจะมีเม็ดเงินลงทุนประมาณ 10,112 ล้านบาท

ส่วนช่องทางที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดยังคงเป็น เฟซบุ๊ก (Facebook) 6,023 ล้านบาท และ ยูทูป (YouTube) 3,717 ล้านบาท เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคนิยมใช้งาน แต่มีการคาดการณ์ว่าจะลดลงจากปี 2019 รองลงมาคือ การสร้างสรรค์ (Creative) 1,950 ล้านบาท เสิร์ช (Search) 1,789 ล้านบาท และโซเชียล (Social) 1,753 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินลงทุนในสื่อดิจิทัลมากที่สุดยังคงเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ (2,577 ล้านบาท) เครื่องประทินผิว (1,880 ล้านบาท) กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮล์ (1,643 ล้านบาท) และกลุ่มการสื่อสาร (1,642 ล้านบาท) ทั้ง 4 กลุ่มเป็นกลุ่มที่มีเงินลงทุนมากที่สุดในปี 2563

แต่ที่น่าสนใจคือกลุ่มธนาคาร ที่ครองอันดับในปี 2562 ถูกแทนที่ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม (1,420 ล้านบาท) ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากถึง 39% ขณะที่กลุ่มธนาคารมีการเติบโตลดลง -30%

อ้างอิง DAAT

 

from:https://www.thumbsup.in.th/daat-advertising-2563?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=daat-advertising-2563

สรุป 6 กลยุทธ์การตลาดยุคดิจิทัลมาแรง ปี 2020 ที่หลายๆ แบรนด์ต้องปรับตัว โดย DAAT

นอกจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT จะได้เปิดเผยข้อมูลเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลในช่วงครึ่งปีแรก และคาดการณ์เม็ดเงินในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 แล้ว DAAT ยังได้รวบรวมแทรนด์ของผู้บริโภคที่น่าสนใจ ที่ทำให้นักการตลาดในประเทศไทยต้องปรับตัว

ภาพจาก Shutterstock

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) เล่าว่า ทุกวันนี้ความท้าทายของนักการตลาดมีมากขึ้น เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง มีความกดดันในการทำธุรกิจที่มากขึ้น แต่ต้องรักษาระดับยอดขายเอาไว้ให้ได้

6 กลยุทธ์การตลาดยุคดิจิทัล มาแรง แบรนด์ต้องจับตามอง

บทบาทของ Agency ที่เปลี่ยนไป

ปัจจุบันบทบาทของ Agency เปลี่ยนไป ต้องทำงานร่วมกับนักการตลาดมากขึ้น เพื่อรักษาเป้าหมายางการตลาด ในขณะเดียวกันการออกโปรโมชันก็เปลี่ยนไปเช่นกัน Agency ต้องช่วยคิดราคา ว่าควรจะขายสินค้าที่ราคาเท่าใด สำรวจราคาในตลาด e-Commerce รวมถึงต้องวิเคราะห์ไอเดียในการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ส่วนช่องทางการขายผ่านออนไลน์ และ e-Commerce แต่ละร้านค้าจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน ต้องออกแบบหน้าร้านออนไลน์ เช่นเดียวกับในอดีตที่เคยออกแบบหน้าร้าน (Retail Marketing)

ยุคนี้ Creative สำคัญ ต้องสร้างคอนเทนต์เฉพาะแพลตฟอร์ม

ภารุจ ดาวราย เล่าว่า ในปัจจุบัน คน 1 คน เป็นผู้ชมในสื่อต่างๆ ที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น Google, Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok มีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน ผู้ชมมีสิทธิ์ที่จะดูหรือไม่ดูโฆษณาในช่องทางต่างๆ ได้

ทำให้รูปแบบการทำคอนเทนต์บนแต่ละแฟลตฟอร์มก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมเคยใช้วิธีสร้างโฆษณาจาก 1 ไอเดีย แล้วปรับรูปแบบใหม่เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น คลิปวิดีโอแนวตั้ง หรือแนวนอน แต่ตอนนี้ต้องทำโฆษณาให้เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์มมากที่สุด

ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ยิ่งรู้มากยิ่งสื่อสารได้ง่าย

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักการตลาดมีการเก็บข้อมูลของลูกค้า ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ดังนั้นยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น อนันฑ์ ตีระบูรณะพงษ์ เล่าว่า ในอดีต การยิงโฆษณาครึ่งหนึ่งของเงินที่เสียไป จะใช้ไม่ได้ผล แต่ปัจจุบันข้อมูลที่นักการตลาดมี ทำให้รู้ว่านักการตลาดควรใช้เงินที่จุดใด เพราะการมีข้อมูล เป็นเหมือนการรู้คน รู้ความต้องการ โฆษณาจึงตามไปได้ทุกที่ ทำให้เหมือนโฆษณาพูดกับผู้บริโภคโดยตรง

ประกอบกับในอดีตคนบางกลุ่มไม่ได้ใช้การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น กลุ่มคนเจน X ทำให้นักการตลาดไม่มีข้อมูล การทำการตลาดแบบเจาะจงจึงทำได้ยาก แต่เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนกลุ่มนี้หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น นักการตลาดจึงมีข้อมูลที่จะสามารถนำมาใช้ได้

เกม ความบันเทิงรูปแบบใหม่ ที่น่าจับตามอง

นรินทร์ เย็นธนกรณ์ เล่าว่า ปัจจุบันคนไทยกว่า 20 ล้านคนเล่นเกม และใช้เวลาไปกับการเล่นเกมกว่า 13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 45% ของผู้ใช้ YouTube ในไทย สนใจคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกม

ส่วนสถิติการใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับเกม พบว่า คนไทยใช้ Facebook Gaming ในการรับชมสตรีมเกม รวมถึงเป็นผู้สตรีมเกมเอง ติดอันดับ 5 ของโลก ส่วน Twitch คนไทยก็ใช้เวลาดูไลฟ์สตรีมเกมกว่า 8 ล้านชั่วโมงต่อเดือน

จะเห็นได้ว่าตลาดเกม ไม่ใช่ความสนใจของคนเฉพาะกลุ่มเสมอไป แบรนด์สินค้าต่างๆ สามารถเข้าสู่วงการเกมเพื่อสร้างการรับรู้ได้ โดยเฉพาะสินค้า FMCG ที่มีช่องทางในการเข้าไปมาก เช่น นักแคสเกมผู้หญิง สามารถโฆษณาครีม เพราะต้องโชว์หน้าออกกล้อง หรือจะ Tie-in สินค้าเข้าไปก็ได้

Brand Own Platform

ในยุคนี้แบรนด์ต่างๆ เลือกเข้าสู่วงการ e-Commerce มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Shopee หรือ Lazada แต่ความจริงแล้ว ช่องทาง e-Commerce ของแบรนด์เอง ก็ยังมีความสำคัญ

กัณฑ์ณฐกรณ์ รัตนวีณาวาที เล่าว่า ช่องทาง e-Commercer ของแบรนด์เอง สามารถควบคุมประสบการณ์ของลูกค้าได้ และยังสามารถเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้ ว่ามีความสนใจอะไร โดยเฉพาะการรู้ว่าลูกค้าของตัวเองคือใคร พฤติกรรมออนไลน์เป็นอย่างไร เจอหน้าร้านออนไลน์จากที่ไหนก่อนจะเข้ามาหาที่ช่องทางของแบรนด์

รวมถึงหลังจากที่ออกจากช่องทางของแบรนด์ไปแล้ว ลูกค้าไปเปรียบเทียบสินค้าที่ไหน หรือใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเท่าไหร่

ยุคนี้ ใครๆ ก็เป็น Influencer ได้

เอกชัย ปาริชาติกานนท์ เล่าว่า Influencer คือคนที่สามารถสร้างคุณค่า สร้าง Impact ของการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวหรือการสื่อสาร ที่จะเป็นประโยชน์กับแบรนด์ได้ ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์ไอที ทำให้ใครๆ ก็กลายเป็น Influencer ได้ รวมถึงจำนวนประชากรกลุ่มเจน C ที่เพิ่มมากขึ้น Influencer ก็จะต้องมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งข้อดีของ Influencer คือ เป็นสิ่งที่เห็นผลในระยะสั้น เพราะคนจะเชื่อข้อมูลที่ได้จากคน มากกว่าข้อมูลที่ได้รับมาจากโฆษณาของแบรนด์เอง ซึ่งในยุคโควิด-19 Influencer ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงการกระจายข้อความของแบรนด์ออกไปเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องช่วยปิดการขาย บอกรายละเอียด เป็นเหมือนตัวแทยการขายบนช่องทางของ Inflencer แต่ละคน ส่วนในมุมของแบรนด์เองก็ไม่ควรปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของ Inflencer ให้เขาได้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของเขาเอง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/6-digital-marketing-strategy-by-daat-2020/

DAAT คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลไทย ปี 2020 มูลค่า 19,610 ล้านบาท เติบโตเพียง 0.3%

สมาคมโฒษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ร่วมกับ บริษัท คันทาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยข้อมูลเม็ดเงินการลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลครึ่งปีแรก 2563 มูลค่ารวม 9,498 ล้านบาทพร้อมทั้งคาดการณ์เม็ดเงินในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ว่าจะมีการลงทุนผ่านสื่อดิจิทัล 10,112 ล้านบาท ภาพรวมทั้งปี 19,610 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 0.3%

แน่นอนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ย่อมส่งผลกระทบกับเม็ดเงินการลงทุนในสื่อดิจิทัล จากที่เคยเติบโตด้วยตัวเลขสองหลัก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนเติบโตเพียง 0.3% เท่านั้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดเงินในโฆษณาดิจิทัลมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

    • กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 2,577 ล้านบาท
    • กลุ่มเครื่องประทินผิว 1,880 ล้านบาท
    • กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ 1,643 ล้านบาท
    • กลุ่มการสื่อสาร 1,642 ล้านบาท
    • กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 1,420 ล้านบาท

ในอันดับที่ 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เคยเป็นของกลุ่มธนาคารที่ลดการใช้เม็ดเงินมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 30% ส่วนเมื่อเทียบกับปี 2562 คาดการ์ณว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาเติบโตคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เติบโตสูงสุดถึง 39% ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ประทินผิว มีแนวโน้มเติบโตต่ำสุดเพียง 5%

ธนาคาร ลดเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล หลุดอันดับ 5

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ แม้ว่าเม็ดเงินจะมีการเติบโต 8% แต่ก็ถือว่าลดลงจากปีที่แล้วที่เติบโต 18% เนื่องจากผู้บริโภคมีความรู้สึกไม่อยากสร้างหนี้ ต้องการเก็บเงินสดเอาไว้ รวมถึงการนำเข้าอะไหล่รถยนต์ก็ไม่สามารถทำได้ตามปกติ ทำให้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจึงชะลอลงไปด้วย

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบมาก เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลลดลง 10% จากที่ปีที่แล้วเคยเติบโตมากถึง 17% เป็นเพราะ ผู้บริโภคต้องการระมัดระวังในการใช้เงิน ในมุมของธนาคารก็ไม่อยากปล่อยกู้ เพราะกังวลกับปัญหาหนี้เสีย ส่วนในมุมของผู้ประกอบการต้องการระบาย Supply ที่มีออกไปเพื่อคงกระแสเงินสด ไม่เปิดตัวโครงการใหม่ๆ เน้นการทำโปรโมชันเพื่อขายโครงการเดิมที่มีอยู่แทน

กลุ่มประกันภัย เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลลดลง 9% เพราะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คนสนใจประกันที่เกี่ยวกับโควิด-19 มาก แต่ตอนนี้คนไม่อยากมีหนี้สิน หรือมีภาระที่ต้องผ่อนระยะยาว ประกันที่มีเบี้ยประกันสูงๆ จึงได้รับความสนใจลดลง การลงโฆษณาจึงต้องเลือกทำเฉพาะสิ่งที่คนจะสนใจเท่านั้น

กลุ่มธนาคาร เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลลดลงถึง 30% ไปอยู่ในอันดับที่ 7 จากเดิมที่ปีที่แล้วเคยอยู่ในอันดับ 5 เป็นเพราะในขณะนี้ทุกๆ ธนาคารมีการลงทุนทำแอปพลิเคชัน เพื่อผลักดันสู่สังคมไร้เงินสดเรียบร้อยแล้ว ปีนี้จึงแทบไม่มีการโฆษณาเพื่อโปรโมทแอปพลิเคชันของธนาคาร ประกอบกับคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลต่อรายได้ของธนาคารที่ลดลงด้วย ทำให้การจ่ายเงินเพื่อโฆษณาก็ลดลงตาม

ในทางกลับกันกลุ่มค้าปลีก มีการใช้จ่ายเงินเพื่อโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้น 5% เพราะได้รับผลกระทบต้องปิดหน้าร้านในช่วงล็อคดาวน์ จึงต้องหาช่องทางใหม่ๆ ในการขายของ นั่นคือ e-Commerce จึงเกิดการใช้เม็ดเงินมาโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook มากขึ้น เพราะสื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางในการรับข่าวสารใหม่ๆ

กลุ่มการสื่อสาร เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้น 10% จากที่ปีที่แล้วเคยลดลง 23% เป็นเพราะในช่วงโควิด ผู้บริโภคต้องการหาซื้ออุปกรณ์ เพื่อปรับชีวิตเข้าสู่ New Normal รวมถึง Work From Home และสินค้าบางชนิดโดยเฉพาะอุปกรณ์ในระดับ High End ไม่ได้มียอดขายที่ตกลงเลย แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิด ส่งผลต่อการเปิดตัวเครือข่าย 5G ของแต่ละผู้ให้บริการ จึงทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

Facebook Youtube ยังเป็นช่องทางหลัก แต่ TikTok ก็มาแรง

ด้านแพลตฟอร์ม Facebook และ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มหลักๆ ที่แบรนด์เลือกใช้ในการสื่อสารถึงผู้บริโภค ด้วยมูลค่าการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนรวม 60% ของอัตราการส่วนการลงทุนในสื่อดิจิทัล 14 ประเภท โดยคาดการณ์ว่า Social และ Search จะเติบโต 32% และ 26% ตามลำดับ

แม้ว่า Facebook และ YouTube จะยังคงเป็นช่องทางหลักๆ แต่ปีนี้ช่องทางอื่นๆ ก็มีการเติบโตที่ดีกว่า 53% จากที่ปีก่อนมีการลดลงของเม็ดเงินโฆษณาถึง 42% โดยมีปัจจัยสำคัญคือ TikTok ที่ช่วยสร้างการเติบโต เนื่องจาก TikTok ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปลายปี 2019 จนถึงช่วงโควิด-19 ด้วยลักษณะของแพลตฟอร์มที่เป็น User Generated Content แบรนด์สามารถทำงานร่วมกับ Influencer ในรูปแบบของการทำ Challange หรือแคมเปญมากกว่าจะเป็นการลงโฆษณาโดยตรง

อย่างไรก็ตามคันทาร์มองว่า TikTok จะยังคงเป็นเพียงแพลตฟอร์มทางเลือก มากกว่าจะกลายเป็นแพลตฟอร์มหลัก เหมือนอย่าง Facebook และ Google

สรุป

โดยรวมเม็ดเงินของโฆษณาดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง มีผลมาจากความกังวลทั้งของฝั่งผู้บริโภค ที่ต้องการระมัดระวังการใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ระยะยาว เพื่อเก็บเงินสดไว้ในมือ รวมถึงฝั่งผู้ประกอบการที่มีความกังวลถึงความไม่แน่นอน เลือกที่จะใช้จ่ายเงินค่าโฆษณาดิจิทัลด้วยความระมัดระวัง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/daat-digital-ad-spending-2020-forecast/

DAAT คาดเม็ดเงินโฆษณาจะถอยไปเท่ากับปี 2562 จากสถานการณ์โควิด-19

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ร่วมกับคันทาร์ (ประเทศไทย) สำรวจเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลครั้งที่ 2 โดยเป็นการเก็บข้อมูลเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของครึ่งปีแรกของปี 2563 พบว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อเม็ดเงินการลงทุนในสื่อดิจิทัล จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตเป็นเลขสองหลักกลับเหลือเพียง 0.3%

คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ให้ความเห็นว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งในแง่บวกและแง่ลบต่อการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาในปีนี้ เมื่อดูจากภาพรวมอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ มีมูลค่าเงินสะพัด 2,577 ล้านบาท กลุ่มเครื่องประทินผิว มีมูลค่าเงินสะพัด 1,880 ล้านบาท กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ มีมูลค่าเงินสะพัด 1,643 ล้านบาท และกลุ่มการสื่อสาร มีมูลค่าเงินสะพัด 1,642 ล้านบาท เป็นธุรกิจที่มีการใช้จ่ายในช่องทางดิจิทัลมากที่สุดในปี 2563

ส่วนธุรกิจที่น่าจับตามองอย่าง กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม มีการใช้จ่ายในช่องทางดิจิทัลสูงถึง 1,420 ล้านบาท เรียกว่าแซงหน้ากลุ่มธนาคารไปแล้ว ส่วนกลุ่มธนาคารที่เคยมีการลงทุนสูงสุดก็กลายเป็นตัวเลขที่ลดลงแบบ -30% กันเลยทีเดียว โดยในปี 2562 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม มีอัตราการเติบโตสูงถึง +39% ส่วนกลุ่มที่มีโอกาสเติบโตน้อยที่สุดคือกลุ่มเครื่องประทินผิวที่คาดว่าจะเติบโตเพียง +5%

 

ทางด้านของแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Youtube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่แบรนด์ให้ความสนใจเช่นเดิมเพราะแบรนด์เชื่อว่ายังคงเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้งาน ซึ่งทางสมาคมฯ เองก็คาดการณ์ว่า โซเชียลมีเดียจะเติบโต +32% ส่วนช่องทางเสิร์ช (Search) จะเติบโต +26% ส่วนการลงทุนใน Facebook Youtube และ Creative จะมีอัตราการเติบโตร่วมกันถึง 60% ของอัตรกาส่วนการลงทุนของทั้ง 14 ประเภทสื่อดิจิทัล

ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ยังเชื่อว่าพฤติกรรมผู้บริโภคยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยในช่วงที่มีสถานการณ์วิกฤตแบบนี้ ช่องทางออนไลน์ทั้งโซเชียลมีเดีย เสิร์ช และอีคอมเมิร์ซจะเป็นช่องทางหลักที่คนไทยเลือกเป็นส่วนหนึ่งในการใช้จ่ายมากขึ้น

from:https://www.thumbsup.in.th/daat-digital-media-spending?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=daat-digital-media-spending

สรุป 10 ข้อ ภาพรวมสื่อโฆษณาดิจิทัลแห่งปี จากงาน DAAT Day 2019

สมาคมโฆษณาดิจิทัล หรือ DAAT ได้จัดงาน DAAT Day 2019 พร้อมประเมินภาพรวมสื่อโฆษณาดิจิทัลของปี 2019 ว่าจะพุ่งถึง 20,000 ล้านบาท

สรุป 10 ข้อ สื่อดิจิทัลในปีนี้จะเป็นอย่างไร

เป็นธรรมเนียมของสมาคมโฆษณาดิจิทัลหรือ DAAT ที่จะจัดงาน DAAT Day 2019 เพื่อให้คนในวงการสื่อโฆษณาทั้งเอเยนซี่ และนักการตลาดได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ในโลกดิจิทัลกัน

ในปีนี้ได้มีการคาดการณ์สื่อดิจิทัลไว้ มองว่าจะมีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท กลุ่มที่มีการใช่สื่อสูงสุดยังคงเป็นรถยนต์ และสื่อยอดนิยมก็หนีไม่พ้น Facebook รายละเอียดจะเป็นอย่างไร Brand Inside ได้สรุปมาให้ใน 10 ข้อนี้แล้ว

1. ภาพรวมสื่อดิจิทัลจะมีมูลค่าแตะ 20,000 ล้านบาท มีการเติบโต 19% โดยที่ครี่งปีแรกมีมูลค่า 9,019 ล้าน และคาดการณ์ปีหลังมีมูลค่า 11,144 ล้าน บาท ถ้าดูในแง่การเติบโตอาจจะลดลง เพราะปีที่แล้วเติบโต 36% แต่ถ้าดูในแง่ของเม็ดเงินเติบโตเฉลี่ย 3,000 ล้านบาทเท่าๆ กัน เป็นการเติบโตจากฐานมูลค่าที่สูง ไม่ได้โตก้าวกระโดเหมือนปีก่อนๆ

2. อุตสาหกรรมที่มีการใช้สื่อดิจิทัลมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ 2,500 ล้านบาท รองลงมาเป็น สกินแคร์ 1,900 ล้านบาท และการสื่อสาร 1,500 ล้านบาท เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ 1,436 ล้านบาท และธนาคาร 1,197 ล้านบาท

3. รถยนต์เป็นกลุ่มธุรกิจที่ครองแชมป์การใช้สื่อดิจิทัลอันดับ 1 มาตลอด 3 ปีตั้งแต่ปี 2017-2019 โดยที่ปี 2017 มีมูลค่า 1,289 ล้านบาท ปี 2018 มูลค่า 2,361 ล้านบาท และในปี 2019 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 2,596 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะธุรกิจรถยนต์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ High Involvement หรือต้องใช้การตัดสินใจสูง มีการหาข้อมูลจากหลายที่หารีวิว หรือข้อมูลใน Community บนโลกออนไลน์ อีกทั้งยังมีเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้แต่ละแบรนด์อัดงบโฆษณาดิจิทัลค่อนข้างสูง

4. ธุรกิจธนาคารเป็นกลุ่มที่มาแรงมากช่วงปี 2017 มีการใช้สื่อดิจิทัลมูลค่า 847 ล้านบาท อยู่อันดับ 3 เพราะปีนั้นเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านมาสู่ Digital Banking ทำให้ธนาคารใช้สื่อโฆษณาในการสื่อสาร ส่วนในปี 2018 และ 2019 ก็ยังใช้สื่ดิจิทัลเยอะอยู่ในระดับพันล้านบาท ติดอันดับ 5

5. ส่วนธุรกิจสกินแคร์ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นธุรกจิที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อปี 2017 มีการใช้สื่อในอันดับ 4 มูลค่า 723 ล้านบาท ในปี 2018 ขยับขึ้นมาอันดับ 3 มูลค่า 1,454 ล้านบาท และคาดการณ์ในปี 2019 จะขึ้นไปอันดับ 2 มีมูลค่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งแบรนด์สกินแคร์มีการใช้เงินไปกับสื่อออนไลน์ และออฟไลน์อันดับต้นๆ อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับกลุ่ม Influencer ซึ่งไม่สามาถวัดมูลค่าได้ชัดเจน แต่ที่เห็นได้ชัดคือการมาใช้วิดีโอ ออนไลน์มากขึ้น

6. ถ้าดูในแง่ของการเติบโต กลุ่มธุรกิจขนมมีการเติบโตสูงที่ 109% โดยที่ปีที่แล้วมีการใช้สื่อดิจิทัลเพียง 329 ล้านบาท ในปี 2019 คาดการณ์ว่าจะมีการใช้ถึงมูลค่า 690 ล้านบาท เป็นการเติบโตจากฐานตัวเลขที่น้อย ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนมาใช้สื่อดิจิทัลจากการใช้สื่อหลัก ลักษณะเหมือนกับธุรกิจ FMCG ที่เปลี่ยนมาใช้วิดีโอ ออนไลน์มากขึ้น เพื่อสื่อสารกับกลุ่มวัยรุ่น มีแคมเปญแปลกๆ หรือมีแคมเปญที่ใช้ศัพท์แปลกๆ ในช่วงปีนี้ก็มีแพลตฟอร์มสำหรับวัยรุ่นแจ้งเกิดอย่าง TikTok และจอยลดาด้วย

ภาพจาก shutterstock

7. สำหรับกลุ่มธุรกจิที่มีการใช้สื่อดิจิทัลลดลงมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ การสื่อสารลดลง 18% กลุ่มนี้ได้แก่ โอเปอเรเตอร์ค่ายมือถือ และสมาร์ทโฟน ปัจจัยหลักมากจากกลุ่มโอเปอเรเตอร์ใช้งบโฆษณาลดลง และถือช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G ไปยัง 3G แต่ละค่ายต้องการดึงผู้ใช้ 2G ให้ไปใช้ 3G ซึ่งกลุ่มผู้ใช้หลักเป็นกลุ่ม Gen X ที่ไม่ได้อยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้ไม่ได้ใช้สื่อดิจิทัลมากเท่าที่ควร อีกทั้งยังไม่ได้เปิด 5G จึงไม่ได้มีการทำตลาดด้านนี้มาก ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องบริการอื่นๆ ต้องจับมามองช่วงการมาของ 5G น่าจะกระตุ้นการใช้สื่อดิจิทัลอีกมากแน่นอน

8. ส่วนอีกกลุ่มที่มีการใช้สื่อดิจิทัลลดลงก็คือ อสังหาริมทรัพย์ ลดลง 1% ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจ โครงการต่างๆ ที่ Over Supply รวมถึงการชะลอตัวของการลงทุนจากต่างชาติ จากที่แต่ก่อนมีการลงทุนจากฮ่องกง สิงคโปร์ และยังมีเรื่องของการเพิ่มดอกเบี้ยของอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

Technology Company Apple Facebook Google iPhone Screen
ภาพจาก Shutterstock

9. สื่อดิจิทัลที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดสูงสุด 5  อันดับแรกยังคงเป็น Facebook มูลค่า 5,762 ล้านบาท YouTube มูลค่า 4,120 ล้านบาท Creative มูลค่า 2,108 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 4 ในปีก่อน) Display มูลค่า 1,731 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 6 ในปีก่อน) และ Search มูลค่า 1,643 ล้านบาท (ลดลงจากอันดับ 3 ในปีก่อน)

10. เหตุผลที่สื่อรูปแบบ Creative และ Display ได้รับความนิยมมากขึ้น มาจากการที่หลายๆ แบรนด์มีการใช้วิดีโอออนไลน์มากขึ้น แล้วมีการทำวิดีโอหลายๆ เวอร์ชั่น ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ ไม่ใช่แค่ลงโฆษณาบน YouTube เพียงอย่างเดียว

ส่วน Display สามารถช่วยเรื่องการสร้างแบรนด์ได้ และยังเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของแบรนด์ได้ด้วย พบว่ากลุ่มธุรกิจยานยนต์มีการใช้สื่อ Display เยอะ เพื่อต้องการดึงลูกค้าเข้าเว็บไซต์แล้วไปดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่อ เพราะสินค้ากลุ่มรถยนต์ต้องอาศัยการตัดสินใจซื้อนานมากๆ ต้องอ่านรีวิว อ่านคอมมูนิตี้รถยนต์ ไม่ใช่แค่ดูวิดีโอแล้วจบ Display ต้องการให้คนเห็นเยอะๆ แล้วคลิ๊กเข้าไปในเว็บไซต์ ทำให้แบรนด์รู้ว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมซื้ออย่างไรได้ด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/10-things-digital-ads-daat-day-2019/

DAAT คาดการใช้เงินโฆษณาดิจิทัล 2019 มูลค่า 20,163 ล้านบาท โต 19%

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ Digital Advertising Association (Thailand) (DAAT) เปิดผลสำรวจการใช้เงินในโฆษณาดิจิทัล ปี 2019 โดยคาดการณ์ว่าทั้งปีจะมีมูลค่า 20,163 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 19% (เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล 2018 อยู่ที่ 16,920 ล้านบาท)

จากข้อมูลพบว่าครึ่งปีแรก 2019 มีการใช้เงินโฆษณาดิจิทัลไปแล้วกว่า 9,019 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าครึ่งปีหลังจะมีการใช้เงินโฆษณาดิจิทัลที่ 11,144 ล้านบาท สูงกว่าครึ่งปีแรก โดยอุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้เงินมากที่สุด ยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม คือ รถยนต์ สัดส่วน 13% คิดเป็น 2,596 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ 9% คิดเป็น 1,900 ล้านบาท, อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม 8% คิดเป็น 1,584 ล้านบาท และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 7% คิดเป็น 1,436 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม มีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือ อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นอุตสาหกรรมเดียวที่ใช้เงินโฆษณาดิจิทัลลดลง -18% เมื่อเทียบกับปี 2018 และทำให้หล่นจากอันดับ 2 ไปอันดับ 3 และผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ขึ้นมาอันดับ 2 แทน แต่ก็ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม ยังใช้เงินโฆษณาดิจิทัลในระดับที่สูงมาต่อเนื่องทุกปี

นอกจากนี้ กลุ่มขนมขบเคี้ยว (Snack Foods) เป็นไฮไลท์สำคัญที่มีการเติบโตสูงที่สุด 109% ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและทดแทนนม เติบโต 42% และกลุ่มธุรกิจประกัน เติบโต 33%

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/daat-digital-ad-spending-2019-forcast/