คลังเก็บป้ายกำกับ: INFLUENCER

RAiNMaker ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ iCreator Conference 2022 Presented by SUPALAI พร้อมเดินหน้าประกาศโปรเจคใหม่ iCreator Camp

RAiNMaker (เรนเมคเกอร์) สานต่อครั้งยิ่งใหญ่กับงานสัมมนาที่รวมเหล่าครีเอเตอร์ชั้นนำของประเทศไทยมาไว้บนเวทีเดียวกัน ภายใต้ชื่อ “iCreator Conference 2022 Presented by SUPALAI : THE NEXT CHAPTER” ก้าวต่อไปของวงการครีเอเตอร์ท่ามกลางจุดเปลี่ยนของโลกที่คนยุคใหม่ต้องตามให้ทัน

มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,500 คน ทั้งวัยทำงาน แบรนด์ เอเจนซี่และสื่อชั้นนำต่างๆ มากมาย ที่พิเศษคือปีนี้มีนิสิตและนักศึกษาให้ความสนใจเป็นอันมาก สะท้อนให้เห็นถึงกระแสการทำงานด้านคอนเทนต์และครีเอเตอร์ กำลังเป็นที่สนใจและสร้างโอกาสรายได้สำหรับเด็กรุ่นใหม่ในอนาคต

คุณขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้บริหารบริษัท เดอะซีโร่ พับลิชชิ่ง จำกัด (The Zero Publishing) เจ้าของเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Mango Zero, Parents One, Thumbsup และ RAiNMaker ขึ้นกล่าวระหว่างการเปิดงาน iCreator Conference 2022 ว่าในปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของวงการออนไลน์ ทั้งเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เปลี่ยนไป โลกของ CREATORNOMIC หรือภาพรวมที่ส่งเสริมวงการครีเอเตอร์ไทย ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องการพัฒนาให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

“Creatonomic” คือการผนวกรวมระหว่าง Creator กับ Economic เมื่อการทำคอนเทนต์ไม่ใช่แค่เรื่องของคนทำคอนเทนต์อาชีพอย่างเดียวอีกต่อไป แต่เป็นการผนวกรวมเพื่อสร้างความเป็นไปได้”

ในอดีต Ecosystem ของการทำคอนเทนต์ประกอบไปด้วย Brand/Agency, Content Creator, Audience อาศัยอยู่ร่วมกันบนสิ่งที่เรียกว่าแพลตฟอร์ม เช่น Facebook, YouTube หรือ Website แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิม

ดังนั้น ในปี 2022 ที่ผ่านมา มีอัตราการซื้อขายสื่อบน Platform ออนไลน์สูงถึง 27,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเติบโตกว่า 20% ต่อปี ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งาน Social Media ในไทย 📈 รวมกันแตะ 100 ล้านคนในทุกแพลตฟอร์ม

เมื่อย้อนกลับไปมองปี 2017 ที่ YouTube มีคน Subscribe เกิน 1 ล้านคนเพียงแค่ 32 ช่อง แต่ในปี 2022 มีช่อง YouTube ที่มีคนติดตามเกิน 1 ล้านคน มากถึง 650 ช่อง

ตัวเลขเหล่านี้ บ่งบอกว่าวงการคอนเทนต์ไทยนั้นเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาก ดังนั้นทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเราเรียกมันว่าการซ้อนทับกันของคอนเทนต์​

ทั้งนี้ จึงสรุปได้เลยว่านี่คือยุคแห่งการทับซ้อนและผสมผสานกันของคอนเทนต์ ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันอีกต่อไปแล้ว นี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพจำของการทำคอนเทนต์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

รวมถึงปีนี้ยังเป็นปีที่ครีเอเตอร์หลายช่องได้เปิดมาเกินกว่า 5-10 ปีแล้ว การปรับตัวครั้งใหญ่จึงเปรียบเสมือนเป็น Chapter ใหม่ของวงการครีเอเตอร์ ซึ่งเหล่าครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์มากมาย ต่างก็ต้องก้าวข้ามผ่านกรอบของตัวเอง เพื่อไปสู่โลกใหม่แห่งการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แปลกใหม่ และได้รับการยอมรับจากผู้ชมยุคใหม่ให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Brand, Agency, Platform, Audience ทุกคนสามารถสลับตำแหน่งและช่องทางกันได้อยู่ตลอดเวลา ในยุคของ Creatornomic ซึ่งใน Ecosystem นี้ ทุกคนจะต้องเข้ามร่วมสนับสนุนกัน ในช่องทางที่ตัวเองสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาล, ด้านจริยธรรม, ด้านกฎหมาย ในด้านใดก็ได้ที่เราสามารถทำได้ ถ้าเราติดตามสัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลง เราจะเห็น Trend ที่สำคัญดังนี้
2023 คือ ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิด Platform ใหม่ ๆ อย่าง TikTok และตระกูล Short Video ทั้งหลาย, Twitter Community, Facebook Community เราจะเจอหลายอย่างที่เปลี่ยนไปในปีหน้าเปลี่ยนไป จนเราต้องปรับตัวและทำความเข้าใจ
2023 ปีทองของ Content Creator เพราะ Platform ต่างต้องการ Creator เข้ามาอยู่ใน Platform ของตัวเอง เมื่อ YouTube ประกาศอัดฉีดเงินให้กับ Creator ทั้ง Funding, Revenue, การให้การสนับสนุนต่าง ๆ แม้กระทั่ง Netflix ยังสนับสนุนการทำคอนเทนต์ในประเทศ ภาพยนตร์ไทย, คอนเทนต์จากผู้กำกับหรือนักสร้างคนไทย รวมถึงเวทีการประกวดและมอบรางวัลต่าง ๆ
ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงตลอดไป และมาพร้อมกับโอกาสมากมายรออยู่ ในขณะเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจคือในมิติด้านการศึกษา เมื่อโลกเปลี่ยนไปขนาดนี้ เราจะทำอย่างไรให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้ ทักษะในการทำคอนเทนต์ ทาง RAiNMaker จึงได้เปิดตัว iCreator Camp เพื่อสนับสนุนกิจกรรม จัดค่าย ให้กับน้อง ๆ นักศึกษา หรือคนทำคอนเทนต์หน้าใหม่ เพื่อสนับสนุนนักสร้างคุณภาพสู่วงการคอนเทนต์เช่นกัน

นอกจากนี้ ภายในงาน “iCreator Conference 2022 Presented by SUPALAI : THE NEXT CHAPTER”  ยังมีครีเอเตอร์ชั้นนำมากมาย มาขึ้นให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์มากมายบนเวที ไม่ว่าจะเป็น โบกี้ไลอ้อน, AUTTA, สิงห์ วรรณสิงห์ , ป๋าเต็ด , เฟื่องลดา , เคน นครินทร์ THE STANDARD ช่องยกกำลัง , เล็ก คงเดช ผู้กำกับภาพยนตร์ , ทีมชัชชาติ เป็นต้น มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเทคนิคการสื่อสารในโลกออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ

รวมทั้งได้รวบรวมแบรนด์ชื่อดังที่สรรสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ได้อย่างมีคุณค่าและน่าจดจำ อย่างเช่น SUPALAI, AIS, SF Cinema และ ProPlugin ที่จะมาร่วมแชร์ข้อมูลที่ควรรู้สำหรับผู้ริเริ่มอยากสร้างแบรนด์ หรือมีแบรนด์เป็นของตนเองอยู่แล้ว แต่ต้องการพัฒนาคอนเทนต์ของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Meta Thailand (Facebook, Instagram) , YouTube , Twitter , TikTok และ Lazada ที่มาร่วมอัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ตั้งแต่การทำ Content ให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงแนะนำวิธีการใช้บริการแพลตฟอร์มให้เกิดประโยชน์ต่อการทำคอนเทนต์มากที่สุด

บทต่อไปของวงการครีเอเตอร์จะเป็นอย่างไร RAINMaker พร้อมสนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์ให้ได้มากที่สุด อยากให้งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นการรวมตัวกันของคนในอาชีพ เพื่อผลักดันสังคมครีเอเตอร์ไทยให้ก้าวสู่ระดับโลกในอนาคต

สำหรับคนที่สนใจอยากอัพเดทข้อมูล และติดตามการจัดงานครั้งต่อไป สามารถติดตามได้ที่ http://www.rainmaker.in.th , Facebook Page : RAiNMaker และ Twitter @rainmakerth

from:https://www.thumbsup.in.th/rainmaker-icreator-conference-2022-presented-by-supalai?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=rainmaker-icreator-conference-2022-presented-by-supalai

Advertisement

ครีเอเตอร์อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะเข้ามาช่วยแบรนด์ สร้างโอกาสทางการตลาดให้สำเร็จได้อย่างไร

ในยุคที่มีผู้คนบนโซเชียลมีเดียกว่า 50 ล้านคนที่เป็นคอนเท้นต์ ครีเอเตอร์ ในขณะที่เศรษฐกิจของครีเอเตอร์เติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงความหมายของการเป็นผู้พัฒนาและผลักดันแบรนด์ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในคู่มือการตลาดดิจิทัลเป็นอย่างมาก

ต่อไปนี้คือวิธีที่ผู้สร้างเนื้อหาดิจิทัลช่วยให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้ 6 วิธี

1. สร้างการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น

บ่อยครั้งที่ครีเอเตอร์มีอัตราการมีส่วนร่วมแบบออร์แกนิกที่สูงกว่าแบรนด์เนื่องจากความโด่งดังและความน่าเชื่อถือ ให้แบรนด์ค้นหาครีเอเตอร์ที่มีอัตราการมีส่วนร่วมโดยเฉลี่ยที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถยกระดับตัวชี้วัดเหล่าตามแพลตฟอร์มต่างๆได้

2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

โซเชียลมีเดียมีบางสิ่งสำหรับทุกคน คุณสามารถค้นหาวัฒนธรรมย่อยที่ไม่สิ้นสุดที่เชื่อมโยงผู้คนตามความสนใจเฉพาะกลุ่มและงานอดิเรกที่มีร่วมกัน หากต้องการเชื่อมต่อกับชุมชนใหม่ เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรสร้างพันธมิตรครีเอเตอร์กับบุคคลที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้แล้วที่หลากหลายมากขึ้น 

3. ดึงคนเข้ามาในชุมชนบนโซเชียลของแบรนด์

ชุมชนแบรนด์ประกอบด้วยผู้ที่ติดตามเนื้อหาทั้งหมดของแบรนด์บนโซเชียล แบ่งปันผลิตภัณฑ์ บริการ และเนื้อหากับผู้อื่น และสนุกกับการเห็นทุกสิ่งที่แบรนด์ การทำงานร่วมกับครีเอเตอร์จะช่วยให้แบรนด์กระชับและขยายความเชื่อมโยงทางความรู้สึกที่ผู้คนเหล่านี้มีต่อแบรนด์ได้ ครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่สร้างเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชนอีกด้วย พวกเขานำผู้คนมารวมกันโดยมีความสนใจ งานอดิเรก และความชอบร่วมกัน

4. เพิ่มรายได้ใหม่ๆ

ประมาณ 98% ของผู้บริโภคทั้งหมดวางแผนที่จะซื้อของบนโซเชียลในปี 2022 แต่ผู้ใช้โซเชียลที่เชี่ยวชาญในปัจจุบันต่างมีความคิดที่ซับซ้อนกว่านั้น และพวกเขาจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจกับแบรนด์ก่อนที่จะซื้ออะไรซักอย่าง ซึ่งครีเอเตอร์มักจะได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคได้ง่ายกว่าแบรนด์ คอนเท้นต์ของครีเอเตอร์สามารถเป็นแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจซื้อของผู้คนได้

5. เพิ่มคุณค่าให้แบรนด์

แบรนด์จำเป็นต้องทำงานร่วมกับครีเอเตอร์ที่สอดคล้องกับค่านิยมของแบรนด์ ความชอบของผู้บริโภคเกิดจากค่านิยมร่วมกันในทุกด้าน รวมถึงครีเอเตอร์ที่แบรนด์ทำงานด้วย การทำงานร่วมกับผู้สร้างที่โชว์ถึงค่านิยมของคุณจะทำให้แบรนด์ของคุณดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นและเพิ่มภาพลักษณ์ของคุณ

6. เปลี่ยนการรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์

หากคุณพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางวิกฤตโซเชียลมีเดียหรือกำลังต่อสู้กับภาพลักษณ์เชิงลบของแบรนด์ ให้สร้างแบรนด์ของคุณให้สอดคล้องกับครีเอเตอร์ที่เป็นตัวแทนของค่านิยมที่แบรนด์ควรจะเป็น สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งหากกำลังจะรีแบรนด์ เพื่อพยายามเข้าถึงกลุ่มประชากรใหม่ หรือพัฒนาเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคในปัจจุบัน

ที่มา : sproutsocial.com

from:https://www.thumbsup.in.th/brand-creator?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=brand-creator

16 กลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าทำตลอดทั้งปี

การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของนักการตลาดทุกรุ่นนั้น มักมองหาเทรนด์ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ สร้างความเชื่อมั่น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย สร้างโอกาสการสื่อสาร และเชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ

ดังนั้น เราจึงเห็นแนวทางการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ทุกปี ไม่ว่าจะเป็น การใช้อินฟลูเอนเซอร์ การจ้างยาวแบรนด์แอมบาสเดอร์ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

วันนี้ thumbsup จึงได้รวบรวมแนวทางสร้างกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาฝากกัน

16 แนวทางการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด

  1. ทำคอนเทนต์ระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์
  2. สตรีมมิ่งและคอนเทนต์วิดีโอ
  3. คอนเทนต์ที่ลูกค้าสร้างขึ้น
  4. กำหนดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ 
  5. การตลาดแบบอะไจล์
  6. แชร์ประสบการณ์ของลูกค้าขาประจำ
  7. ปรับปรุงประสบการณ์ใช้บริการทุกช่องทางอยู่เสมอ
  8. กลยุทธ์การค้นหาด้วยเสียงสำหรับ SEO
  9. การตลาดแบบสนทนา (แชท)
  10. คอนเทนต์แบบมีการโต้ตอบ
  11. ใช้งานแอปคู่กับเทคโนโลยี VR
  12. เลือกใช้ AI ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  13. ผสานอินเทอร์เน็ตกับ IoT
  14. เดินหน้าสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้สม่ำเสมอ
  15. เป็นตัวแทนและมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ
  16. มุ่งเน้นเรื่องความเป็นส่วนตัวต่อลูกค้าเป็นหลัก

 

ที่มา : Asana

from:https://www.thumbsup.in.th/16-stategy-marketing?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=16-stategy-marketing

ความสำคัญของ Youtube tag ที่เหล่าครีเอเตอร์ควรรู้

แท็กบน YouTube ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มโอกาสการค้นหาได้ง่ายขึ้น เพราะ SEO เข้ามาช่วยให้ YouTube เข้าใจเนื้อหาของวิดีโอของคุณและช่วยให้วิดีโอของคุณแสดงผลขึ้นเมื่อเกิดการค้นหาของผู้ใช้งาน หากคุณต้องการโปรโมตเนื้อหาของคุณกับผู้ชมกลุ่มใหม่หรือแสดงในผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ trend มากขึ้น ยิ่งเป็นเหตุผลสมควรที่คุณจะต้องใช้แท็กบน YouTube เป็นอย่างยิ่ง

ขั้นตอนในการสร้างแท็ก

  • ขั้นตอนที่ 1 ไปที่ YouTube แล้ววางเมาส์เหนือรูปโปรไฟล์ เลือก YouTube Studio จากเมนูแบบเลื่อนลง

  • ขั้นตอนที่ 2 เลือกเนื้อหาจากเมนูด้านซ้าย

  • ขั้นตอนที่ 3 ในการแก้ไขวิดีโอ เพียงวางเมาส์เหนือวิดีโอนั้น แล้วคลิกรายละเอียด
  • ขั้นตอนที่ 4 เลื่อนลงไปที่หน้ารายละเอียดวิดีโอแล้วคลิกแสดงเพิ่มเติม
  • ขั้นตอนที่ 5 เพิ่มแท็กที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมดไม่เกิน 500 ตัวอักษร

เมื่อคุณเสร็จสิ้นการติดตั้งแท็กวิดีโอบน YouTube แล้ว ก็ถึงเวลาติดตามประสิทธิภาพของแท็กบน YouTube ของคุณ นี่คือเมตริกบางส่วนที่คุณสามารถใช้เพื่อติดตามความสำเร็จของแท็ก YouTube ซึ่งสามารถดูผลรายละเอียดทั้งหมดได้จาก YouTube Analytics

ตัวอย่างข้อมูลที่จะมีการแสดงผลบน Youtube Analytics

  1. จำนวนการดู : มีคนดูวิดีโอของคุณกี่คน
  2. เวลาในการรับชม : ผู้คนดูวิดีโอของคุณนานแค่ไหน?
  3. การมีส่วนร่วม : ผู้ชมมีส่วนร่วมกับวิดีโอของคุณกี่เปอร์เซ็นต์ (ไลค์ แชร์ แสดงความคิดเห็น)

ข้อแนะนำในการใช้แท็ก

  • อย่าใช้แท็กมากเกินไป : อัลกอริทึมของ YouTube ได้รับการออกแบบมาเพื่อนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมากที่สุดสำหรับผู้ใช้แต่ละราย ดังนั้นหากคุณใช้แท็กมากเกินไป หรือหากแท็กของคุณไม่เกี่ยวข้อง YouTube อาจลดระดับวิดีโอของคุณไปที่ด้านล่างสุดของผลการค้นหาก
  • เลือกใช้แท็กที่กำลังมาแรง : YouTube มีระบบแนะนำอัตโนมัติที่ช่วยให้คุณระบุได้ว่าแท็กใดกำลังเป็นที่นิยม เพียงเริ่มพิมพ์แท็กของคุณลงในแถบค้นหาของ YouTube และดูแท็กที่แนะนำที่ปรากฏขึ้น
  • ใช้ทั้งแท็กเฉพาะกลุ่มและแท็กยอดนิยม : เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาวิดีโอของคุณ ให้ใช้แท็กทั้งแบบเจาะจงและแบบกว้าง ยิ่งแท็กของคุณมีความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงมากเท่าใด YouTube ก็จะยิ่งจับคู่วิดีโอของคุณกับการค้นหาของผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
  • เลือกใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน : เช่น vlog travel vacation หรือ trip เพื่อขยายขอบเขตการเข้าถึงของแท็กให้ง่ายขึ้น

ที่มา : https://blog.hubspot.com/marketing/youtube-tags

from:https://www.thumbsup.in.th/important-youtube-tag-for-creator?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=important-youtube-tag-for-creator

5 เรื่อง (ไม่) ลับ ที่ทำให้ “ชัชชาติ” ครองใจคนยุคนี้


ทำงาน ทำงาน ทำงาน หนึ่งในคำพูดติดปากช่วยปลุกไฟของคนในยุคนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง เกี่ยวกับวลีเด็ดของผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ด้วยบุคลิกที่แข็งแรง มาพร้อมกับคำพูดสุดเชื่อมั่นและเข้าใจผู้คน และแสดงออกผ่านการกระทำที่แน่วแน่จึง ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย ที่ชายคนนี้สามารถครองใจคนรุ่นใหม่ได้อย่างล้นหลาม

แม้จะปิดฉากศึกเลือกตั้งไปแล้วก็ตามแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ชัชชาติ ยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะผ่านคอนเทนต์ของแฟนเพจ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หรือจากสื่ออื่นๆ ก็ยังคงนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ของเขาอยู่เสมอ โดยเนื้อหาที่โลดแล่นบนโซเชียลมีเดียไม่ได้มีเพียงแต่เรื่องผลงาน แต่…เนื้อหาเหล่านั้นยังทำให้เราได้เห็นถึงตัวตนของชัชชาติที่ช่วยทำให้คนรู้จักเขามากยิ่งขึ้น
.
และวันนี้ทีมงาน Thumbsup ก็ได้รวบรวมข้อมูล พร้อมศึกษาถึงเบื้องหลังเกี่ยวกับ 5 เรื่อง (ไม่) ลับของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ที่ทำให้ครองใจคนยุคนี้ได้อยู่หมัด โดยจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรบ้าง รวมถึงการวางแผนหรือทีมงานที่ช่วยในเรื่องนี้อย่างไร เราไปติดตามกันเลย

 

ความไว้ใจที่เป็นพื้นฐาน

หนึ่งในทีมสมาชิกของ ชัชชาติ อย่าง “ปราบ เลาหะโรจนพันธุ์” ได้เล่าถึงเบื้องหลังการทำงาน และจุดเริ่มต้นของแคมเปญการเลือกตั้งที่สร้างปรากฏการณ์มากมาย ว่าทั้งหมดนี้เริ่มมาจากความรู้สึกไว้ใจ และความเชื่อมั่นของทีมงานที่มีต่อ ชัชชาติ จึงทำให้แก่นแนวคิดหลักของแคมเปญนั้น คือ “การส่งต่อความไว้ใจ (Trust)” ให้แก่ประชาชน ผ่านรูปแบบที่มีการบาลานซ์ระหว่าง การเปิดเผยตัวตนของชัชชาติเพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้ใจ กับ การไม่ต้องเปิดเผยตัวตนมาก เพียงแต่เน้นทำผลงานที่มีคุณภาพ และได้ประโยชน์กับประชาชนสูงสุด

ซึ่งถ้าเราสังเกตท่าทีของประชาชนหลังจากผลการเลือกตั้งออกมาเป็นที่เรียบร้อย ส่วนใหญ่จะมีแต่พลังงานด้านบวกที่มอบให้ชัชชาติ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นใจ และความเชื่อมั่นที่มีต่อสิ่งที่ชัชชาติกำลังพยายามทำอยู่มากกว่าที่เคยเป็น สาเหตุหลักนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าประชาชนรู้สึกเหมือนเป็นความหวังใหม่ที่สามารถยึดเหนี่ยวและพึ่งพาได้

โดยถ้าถามว่าความรู้สึกพวกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ก็ต้องขอชื่นชมถึงเหล่าทีมงานชัชชาติที่สามารถสื่อสาร Key Messege ได้อย่างตรงจุด และยึดมั่นที่จะส่งต่อความไว้ใจนี้มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ก่อนลงสมัครเลือกตั้ง ขณะหาเสียง และหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้จากความตั้งใจในการทำคอนเทนต์ การประชาสัมพันธ์ต่างๆ เมื่อผสมผสานกับตัวตนของชัชชาติที่พื้นฐานเป็นคนแบบนี้อยู่แล้ว จึงไม่แปลกใจเลยถ้าประชาชนยุคนี้จะรู้สึกไว้ใจ

 

ความเฟรนด์ลี่ที่เข้าถึงง่าย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้หนึ่งในหน้าผู้ชายที่เราเห็นบ่อยที่สุดบนโซเชียลมีเดียต่างๆ คงหนีไม่พ้นชัชชาติ เพราะจากบุคลิกลักษณะที่เป็นมิตร และเข้าถึงง่ายของเจ้าตัว ทำให้เราจะเห็นชัชชาติไปแสดงตัวตามงานกิจกรรมมากมาย พูดคุยเล่นกับประชาชน หรือมีภาพลงพื้นที่ใกล้ชิดกับผู้คนที่ทำงานจริง

อีกทั้งชัชชาติยังมีการใช้ชีวิตที่เหมือนคนธรรมดาทั่วไป ไม่ได้วิเศษไปกว่าคนอื่นๆ ดังที่เราเคยเห็นภาพชัชชาติ เดินทางด้วยบริการขนส่งโดยสารสาธารณะ หรือภาพการใช้ชีวิตที่ธรรมดาเรียบง่าย ซื้อข้าวแกงกินตามร้านอาหาร ไม่ต้องเลิศหรู

นอกจากนี้ แคมเปญเลือกตั้งของชัชชาติก็มีความแปลกใหม่ เฟรนด์ลี่เข้าถึงง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะเป็นการทำแคมเปญหาเสียงด้วยการใช้การ์ตูน ซึ่งคงเป็นอีกคำถามที่หลายคนสงสัยว่า เอ๊ะ!? ทำไมถึงเลือกใช้การ์ตูนในการหาเสียงกัน

ทางทีมงานชัชชาติมองว่าการใช้การ์ตูนนำเสนอ สามารถสื่อสาร Key Emotion ได้ดีกว่า รวมถึงในบางครั้งก็ยังช่วยเพิ่มความนุ่มนวลในการสื่อสารประเด็นที่หนักๆ อย่างเรื่องการเมือง หรือการตอบคำถามประเด็นต่างๆ ที่เซนซิทีฟได้

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองส่งผลให้ประชาชนยิ่งรู้สึกว่า ชัชชาติ เป็นผู้นำที่เข้าถึงง่าย แต่ในทางกลับกันเราก็จะเห็นว่า ชัชชาติ ต้องรับมือกับประชาชนบางคนที่เข้ามาร้องทุกข์ด้วยน้ำที่เสียงโวยวายบ้าง ร้องไห้บ้าง โดยเจ้าตัวก็ได้รับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า ด้วยความใจเย็น พร้อมพูดคุยอย่างมีเหตุผล และช่วยดำเนินการประสานงานแก้ไขปัญหาให้

 

ความสม่ำเสมอที่เห็นได้ตลอด

สำหรับใครที่กดติดตามเฟซบุ๊คแฟนเพจของชัชชาติ เชื่อว่าในทุกๆ วันคงได้เห็นแจ้งเตือนไลฟ์ที่ขึ้นมาอยู่สม่ำเสมอ โดยในทุกครั้งที่เจ้าตัวออกไปลงพื้นที่ หรือสำรวจปัญหาในด้านต่างๆ ก็จะมีทีมงานที่คอยซัพพอร์ตในส่วนนี้อยู่ตลอด ซึ่งเราก็มองว่าการไลฟ์สดนั้น ถือว่าเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว รวมถึงมีประโยชน์จริงๆ อีกด้วย

เพราะประชาชนก็สามารถเห็นถึงวิธีการทำงานของชัชชาติได้ รวมถึงได้รับรู้ถึงปัญหามากมายจากหลายพื้นที่ ยกตัวอย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมในช่วงที่ฝนตกหนัก มีพายุเข้าจนทำให้น้ำท่วมซอยสุขุมวิท 67 เจ้าตัวก็ได้ลงดูพื้นที่น้ำท่วมด้วยการเรียกรถวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และถ่ายทอดสดไลฟ์ผ่านมือถือด้วยตัวเอง พร้อมรายงานสถานการณ์ให้ประชาชนทราบ

และความสม่ำเสมอนี้เอง ทำให้ประชาชนได้เห็นถึงความพยายามในการดูแลกรุงเทพมหานครฯ ให้ดีมากขึ้น และเห็นถึงการเริ่มแก้ไขปัญหาเส้นเลือดฝอยตามนโยบายที่วางไว้ เรียกได้ว่าสิ่งที่ชัชชาติกำลังทำอยู่ในทุกวันค่อยๆ เริ่มซื้อใจประชาชนบางส่วนไปได้บ้างแล้ว

 

ความไวที่คาดไม่ถึง

หนึ่งในจุดเด่นของชัชชาติที่ไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือความว่องไวในการทำงาน หรือการ Take Action ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากพื้นฐานนิสัยทุนเดิมของชัชชาติที่เป็นคนว่องไว กระฉับกระเฉง และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เวลามีปัญหาสถานการณ์ด่วนในกรุงเทพ ไม่ว่าจะน้ำท่วม หรือเกิดเหตุขัดข้องเข้าใจผิดตรงไหน เราจะเห็นชัชชาติรีบไปสถานที่นั้น เพื่อคอยแก้ปัญหา และสแตนบายอยู่ข้างประชาชนตลอด

จะเห็นได้ในตอนที่มีคลิปไวรัลว่าชัชชาติก็เคยโดนแท็กซี่ปฏิเสธ ทำให้ชาวเน็ตต่างแซวกันว่า ไม่ว่าจะแข็งแกร่งแค่ไหนก็แพ้ก๊าซหมด ซึ่งในส่วนของประเด็นนี้ที่เป็นไวรัลในข้ามคืน ชัชชาติไม่รอช้า..เช้าวันถัดมาได้ออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงว่าพี่คนขับไม่ได้ปฏิเสธ แต่เขารอลูกค้าจากแอป Grab อยู่นั่นเอง พร้อมไปหาพี่คนขับแท็กซี่คนดังกล่าว และขอโทษอย่างจริงใจที่ทำให้โดนกระแสต่อว่าจากประชาชน

โดยจาก 2 เหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมาดังกล่าว ก็ยิ่งทำให้ซื้อใจประชาชนได้อยู่หมัด ด้วยความรวดเร็วและใส่ใจในการแก้ไขสถานการณ์ บวกกับการรายงานสถานการณ์ต่างๆ แบบเรียลไทม์ก็ยิ่งทำให้ครองใจผู้คนได้ขึ้นไปอีก

 

ความสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์

สุดท้ายแล้วจาก 4 หัวข้อที่กล่าวมา นับว่าเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเพียงชัชชาติเท่านั้น แต่มีสิ่งๆ หนึ่งที่ทำให้ชัชชาตินั้นต่างออกไปจากคนอื่นก็คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

ในช่วงเลือกตั้งผู้สมัครจากหลากหลายพรรคต่างก็มีการคิดแคมเปญ นโยบายต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ซึ่งรูปแบบในการนำเสนอส่วนใหญ่ก็จะมีลักษณะคล้ายกัน ไม่ค่อยแตกต่างกันสักเท่าไหร่

ซึ่งเราอยากให้ทุกคนได้ลองสังเกตถึงแคมเปญของชัชชาติดู โดยเนื้อหาที่นำเสนอนั้นก็คือเรื่องเดียวกันกับพรรคอื่น แต่ทีมชัชชาติกลับเลือกนำเสนอในมุมที่ต่างออกไป และทำให้เป็นที่จดจำหรือประสบความสำเร็จได้มากกว่า อาทิ การนำเสนอนโยบาย 200 ข้อ ภายใน 2 นาทีผ่านการแร็ป ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนไม่มีใครชอบอ่านนโยบาย ทำให้ทีมชัชชาติเลือกนำ Pain Point ตรงนี้มาครีเอทเป็นวิธีการนำเสนอใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้น

หรือการเลือกทำไวนิลหาเสียงที่มีขนาดเล็ก พอดี ไม่เกะกะทางเดินเท้า ซึ่งชัชชาติถือว่าเป็นกลุ่มแรกเลยที่เลือกทำด้วยวิธีนี้ และยังทำให้ประชาชนเห็นอีกว่าป้ายไวนิลนี้จะไม่ได้เป็นขยะ เพราะถูกคิดมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าหลังจากจบการเลือกตั้งจะมีการนำไปทำเป็นกระเป๋าสะพายได้อีกด้วย

จึงทำให้เห็นเลยว่าการจะทำคอนเทนต์หรือสื่อสารอะไรสักอย่างให้ประชาชน ควรมองจาก Pain Point ก่อน และสร้างสรรค์คิดวิธีนำเสนอใหม่ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ข้อมูลเราสื่อสารเข้าถึงคนได้ถูกที่ และก่อให้เกิดแอ็กชันต่างๆ ที่ตามมา ทั้งในแง่ของความร่วมมือในการทำตามนโยบาย หรือความไว้ใจที่มากขึ้นของประชาชน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียง 5 เรื่องเท่านั้นที่ทำให้ชัชชาติครองใจคนยุคนี้ได้ ยังมีเรื่องราวและเบื้องหลังความสำเร็จอีกมากมายที่ส่งผลให้ชัชชาติ สิริพันธุ์ ประสบความสำเร็จ และครองใจคนในยุคนี้

โดยสามารถฟังภาคต่อได้ที่งาน iCreator Conference 2022 พบปะกับคุณแมว และคุณปราบ Branding Consultancy จากทีมชัชชาติ ที่จะมาร่วมพูดคุยกันในเซสชัน “The Next Bangkok ถอดรหัส ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ สร้างตำนานบทใหม่ของกรุงเทพฯ” เซสชันที่จะเปิดมุมมองการทำงานทั้งในแง่กลยุทธ์ และความครีเอทีฟผ่านแคมเปญเลือกตั้ง

ใครที่สนใจสามารถซื้อบัตร โปรแรงสุดปังรับวัน 10.10 จาก iCreator Conference 2022 Presented by SUPALAI
บัตร 1 ใบเหลือ 2,000 บาท (จาก 3,000 บาท) พร้อมโปรซื้อ 4 แถม 2
.
ซื้อบัตรโปร 10.10 ได้ที่นี่ https://www.eventpop.me/e/13411/icreator-conference-2022

from:https://www.thumbsup.in.th/5-story-chatchard-icreator-2022?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=5-story-chatchard-icreator-2022

ทำความรู้จัก TikTok Creator Marketplace จุดนัดพบของแบรนด์และครีเอเตอร์

หนึ่งในเทรนด์การตลาดออนไลน์ที่ยังคงมีประสิทธิภาพมากที่สุดคืออินฟลูเอนเซอร์/ครีเอเตอร์ ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ กำลังมองหาช่องทางใหม่โปรโมตแบรนด์ ซึ่ง TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มองข้ามไปไม่ได้เลย

TikTok ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะ Gen Z ด้วยจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทรงพลังและสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดได้มากมาย

ดังนั้น TikTok Creator Marketplace หรือ TCM จึงเป็นเหมือนจุดนัดพบระหว่างแบรนด์และครีเอเตอร์ โดยเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานร่วมกัน ได้ง่ายผ่านการประเมินข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยอดไลค์ ยอดแชร์ จำนวนความคิดเห็น

จุดเด่นของ TikTok Creator Marketplace

  • TikTok มีจำนวนผู้ใช้กว่า 1 พันล้านคนในแต่ละวัน (Active Users)
  • TikTok มีครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์กว่า 8 ล้านคนในแต่ละวัน (Active Creators)
  • สามารถเชื่อมต่อกับครีเอเตอร์ได้โดยตรง
  • เข้าถึงข้อมูลของครีเอเตอร์ทั้งยอดไลค์ ยอดวิว ยอดแชร์ จำนวนการมีส่วนร่วม
  • ช่องทางใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

แบรนด์จะเข้าร่วม TCM ได้อย่างไร?

หากแบรนด์มีบัญชีอยู่ใน TikTok อยู่แล้วจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงลงทะเบียนแบรนด์ของคุณใน TCM จากนั้นก็ดำเนินการค้นหาครีเอเตอร์และร่วมงานกันได้ตามขั้นตอน ดังนี้

  • – ค้นหาครีเอเตอร์ผ่านตัวกรองตามหัวข้อความสนใจของครีเอเตอร์
  • – วิเคราะห์จำนวนผู้ติดตาม ยอดวิวเฉลี่ย ผลงานในอดีตของครีเอเตอร์
  • – วิเคราะห์กลุ่มผู้ชมว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหรือไม่
  • – ติดตามแนวโน้มเพราะคาดการณ์ผลลัพธ์ของแคมเปญ

ครีเอเตอร์จะเข้าร่วม TCM ได้อย่างไร?

TikTok จะส่งคําเชิญให้คุณสมัครเข้าร่วม TCM หากคุณมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ดังนี้

  1. อายุ 18 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ติดตามมากกว่า 100k
  3. มีอย่างน้อย 3 วิดีโอที่โพสต์ในช่วง 28 วันที่ผ่านมา
  4. มียอดไลค์วิดีโอมากกว่า 100,000 ครั้งในช่วง 28 วันที่ผ่านมา

โดยสรุป TikTok Creator Marketplace ในฝั่งแบรนด์จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าถึงครีเอเตอร์ได้โดยตรงไม่มีตัวกลาง และยังช่วยติดตามและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของแคมเปญทั้งหมดได้ในที่เดียว และสำหรับครีเอเตอร์ก็เป็นเครื่องมือสร้างรายได้จากการสร้างสรรคเนื้อหา และมีฟีเจอร์ต่างๆ ช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา

influencermarketinghub

armfulmedia

from:https://www.thumbsup.in.th/tiktok-creator-marketplace?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=tiktok-creator-marketplace

ใช้ PR และ Influencer Marketing ในการทำงานร่วมกันในภาวะวิกฤตของแบรนด์

การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์เติบโตขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 เป็น 16.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของแนวทางการบริหารการประชาสัมพันธ์ของแบรนด์และการจัดการวิกฤตสำหรับแบรนด์ส่วนใหญ่

นักการตลาดไม่ควรลังเลที่จะมองออกไปนอกองค์กรเพื่อบรรเทาวิกฤติ หากใช้อย่างถูกวิธี อินฟลูเอนเซอร์สามารถโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชนต่อพวกเขาได้ ไม่ว่าวิกฤตจะเลวร้ายเพียงใด

ข้อมูลจาก IZEA แสดงให้เห็นว่า 62% ของผู้บริโภคไว้วางใจอินฟลูเอนเซอร์ ดังนั้น นอกเหนือจากการเป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ของคุณแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ยังสามารถช่วยในการสร้างแบรนด์ใหม่ได้ด้วยการคืนความไว้วางใจบางส่วนที่อาจสูญเสียไปหลังจากการประชาสัมพันธ์ที่ผิดพลาด

การรับรู้ถึงแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและแบรนด์ใหม่ๆ นอกเหนือจากนี้ การรับรู้ถึงแบรนด์ก็มีความสำคัญในการจัดการวิกฤตเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทเองที่ทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ และการใช้กระแสของอินฟลูเอนเซอร์จะช่วยทปรับปรุงผลการค้นหาเชิงลบเกี่ยวกับแบรนด์ได้

และส่วนสำคัญของการจัดการวิกฤตประชาสัมพันธ์คือความสามารถในการวัดการรับรู้ของผู้คนต่อแบรนด์แบบเรียลไทม์ ซึ่งการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์จะช่วยให้แบรนด์ได้รู้ผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์จึงสามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤตได้ก่อนที่สถานการณ์จะลุกลาม และแบรนด์จะสามารถหาวิธีเปลี่ยนการเล่าเรื่องตามที่ต้องการได้

ด้วยผู้ติดตามจำนวนมาก พวกเขาสามารถช่วยให้แบรนด์ของคุณฝ่าฟันปัญหาได้ด้วยการปรับปรุงความไว้วางใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชม และเพิ่มปริมาณการค้นหาในเชิงบวก สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือใช้เวลาในการค้นคว้าหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ เมื่อผสมผสานการประชาสัมพันธ์และการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์แล้วนั้น แบรนด์จะมีเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยในการผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี

ที่มา : prezly.com

from:https://www.thumbsup.in.th/pr-and-marketing-incluencer?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=pr-and-marketing-incluencer

Pickle แพลตฟอร์มสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ ขยายฐานครีเอเตอร์สู่ TikTok ตอบรับเทรนด์คอนเทนต์วิดีโอแบบสั้น

Pickle แอปพลิเคชัน Influencer Marketing Platform พื้นที่เชื่อมต่อแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์อย่างจริงใจ ผลงานการพัฒนาจาก Rabbit’s Tale ล่าสุดมีการอัปเดตฟีเจอร์ ด้วยการเพิ่มแพลตฟอร์ม TikTok เข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างแคมเปญให้กับแบรนด์

เปิดโอกาสให้อินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์ม TikTok สมัครเลือกร่วมงานกับแบรนด์ที่สนใจ ตอบรับเทรนด์ TikTok ที่กำลังมาแรง พร้อมเครื่องมือสนับสนุนครบครัน ให้แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบแคมเปญได้ง่ายภายในแอปฯ เดียว

“หลังการรีแบรนด์สู่ Rabbit’s Tale ในฐานะ Experience Agency เรายังคงมุ่งมั่นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ประกอบเข้ากับดาต้า และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการทำงาน และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

ซึ่ง Pickle เป็นหนึ่งในผลงานที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจในการแก้ pain point ให้แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และตอบโจทย์ความต้องการซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย โดยเราเลือก Instagram เป็นแพลตฟอร์มแรก เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่มีการทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) มากที่สุด” สุนาถ ธนสารอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Rabbit’s Tale กล่าวถึงที่มาของการสร้าง Pickle

“หลังเปิดให้ใช้บริการ Pickle ได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งจากแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ จนมียอดอินฟลูเอนเซอร์สมัครเข้าร่วมแคมเปญกับแบรนด์กว่า 120,000 ครั้งตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เพื่อที่จะตอบรับเทรนด์การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และขยายให้ Pickle สามารถตอบสนองความต้องการได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจึงเพิ่ม TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน เข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้กับนักการตลาด และแบรนด์ในการทำแคมเปญ”

รุ่งโรจน์ ตันเจริญ Head of Rabbit X, Co-founder of Rabbit’s Tale พูดถึงเทรนด์และความนิยมของ TikTok ในช่วง 2-3 ปี
ที่ผ่านมา ซึ่ง TikTok มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาดต้องให้ความสนใจ ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า1,000 ล้านคน สำหรับผู้ใช้ในไทยเฉพาะที่อายุมากกว่า 18 ปี ก็มีมากถึง 35.8 ล้านคน หรือคิดเป็น 63.6% ของประชากรทั้งประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

“แพลตฟอร์ม TikTok กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยรูปแบบวิดีโอขนาดสั้นที่มีเนื้อหาสนุกสนาน เข้าใจง่าย ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เราเห็นว่าการใช้อินฟลูเอนเซอร์บน TikTok ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากทีเดียว ประกอบกับปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ เองก็เริ่มหันมาทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์บน TikTok กันมากขึ้น

โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีการใช้จ่ายด้านการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์บน TikTok เพิ่มขึ้นจนสามารถแซง YouTube ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจาก Instagram ได้ภายใน 2 ปี จึงเป็นเหตุผลที่ Pickle เลือกนำ TikTok เข้ามาเป็นแพลตฟอร์มถัดไปในการช่วยแบรนด์ทำแคมเปญการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์” รุ่งโรจน์ กล่าว

สำหรับแพลตฟอร์ม TikTok ที่เพิ่มเข้ามา Pickle เปิดรับอินฟลูเอนเซอร์ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Nano Micro หรือ Macro เพียงมียอดผู้ติดตามตั้งแต่ 5,000 แอคเคาท์ขึ้นไป อินฟลูเอนเซอร์ยังสามารถเลือกความสนใจเฉพาะ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้พวกเขาได้แมทช์กับแบรนด์ที่อยากร่วมงาน ในขณะที่แบรนด์ก็สามารถเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และงบประมาณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ Pickle ยังพยายามผลักดันอินฟลูเอนเซอร์ให้ผลิตชิ้นงานคุณภาพมากขึ้น ด้วยการเพิ่มการมองเห็นให้กับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผลงานโดดเด่นในแต่ละหมวดหมู่

“Pickle ยังคงตั้งใจที่จะช่วยแบรนด์ในการค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ ตามหา KOL ที่ตรงใจ และตอบโจทย์แคมเปญได้มากยิ่งขึ้น ด้วยฟีเจอร์ Influencer Analysis แสดงข้อมูลเชิงลึกของอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Active Followers, ค่า Engagement เฉลี่ย รวมไปถึงผลงานที่เคยรีวิวบน Pickle เพื่อเป็นตัวช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้แบรนด์สามารถวิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น แบรนด์ยังสามารถพูดคุยกับอินฟลูเอนเซอร์ จัดการแคมเปญ ติดตามผลลัพธ์แบบ Real-time ไปจนถึงวิเคราะห์ผลแคมเปญผ่านฟีเจอร์ Campaign Analysis ได้ครบ จบ ภายในแอปฯ เดียว” รุ่งโรจน์ กล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบัน Pickle ยังเปิดให้แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถใช้บริการครบทุกฟีเจอร์ อย่างเต็มรูปแบบได้ฟรี ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pickle.co.th

ดาวน์โหลด Pickle สำหรับแบรนด์ ได้ที่: Pickle for brand และ Pickle สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ ได้ที่: Pickle for Influencer

from:https://www.thumbsup.in.th/pickle-influencer-platform?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=pickle-influencer-platform

ครีเอเตอร์ควรรู้ 5 เทรนด์ยอดนิยมบน YouTube

YouTube เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสนใจของผู้คนที่ใช้งานยูทูปให้ฟังว่า ผู้คนไม่ได้เพียงเข้ามาชมวิดีโอบันเทิงทั่วไปอีกต่อไป แต่ YouTube กลายเป็นแหล่งคำตอบสำหรับการค้นหาที่แตกต่างไปตามความสนใจจากวิดีโอหลากหลายประเภท ทั้ง การเงิน ประวัติศาสตร์ ครอบครัว อาหาร ท่องเที่ยว รวมไปถึงคอนเทนต์ประเภทไลฟ์สตรีม และพอดแคสต์ ที่ถูกอัปโหลดบนแพลตฟอร์ม แล้วอะไรคือปัจจัยให้การรับชมวีดีโอที่กล่าวมานั้น ได้รับความนิยม เรามาดูข้อมูลเชิงลึกกันค่ะ

 

ความสำเร็จของวิดีโอภาคต่อ

พฤติกรรมการรับชมวิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุดของปี 2021 คือ ภาคต่อของวิดีโอยอดฮิต เหตุผลที่วีดีโอภาคต่อได้รับความนิยมอาจเป็นเพราะผู้ชมสบายใจที่ได้รับชมอะไรที่คุ้นเคย ในช่วงเวลาที่ความไม่แน่นอน เมื่อผู้ชมเริ่มชื่นชอบในวิดีโอหรือยูทูปเบอร์ที่พวกเขาดติดตามแล้ว ผู้ชมก็จะเริ่มหาวิดีโอที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันมากขึ้น

ยกตัวอย่างซีรี่ย์ Money Matters ของ พอล ภัทรพล ที่มีผู้ติดตามกว่า 1.18 ล้านคน และซีรี่ย์นนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจนมียอดวิวมากถึง 1.7 ล้านวิว กันเลยทีเดียว

 

ไลฟ์สตรีมกลายมาเป็นกระแสหลัก

ครีเอเตอร์คนดังที่ใช้ไลฟ์สตรีมเชื่อมต่อกับผู้ชมแบบเรียลไทม์ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้คนได้พูดคุยกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันกระแส ไม่จำเป็นต้องมีงบประมาณจำนวนมาก หรือสคริปท์ที่ซับซ้อน ความยอดนิยมของไลฟ์สตรีมยังแสดงให้เห็นว่าผู้ชมให้คุณค่ากับเนื้อหาที่จริงใจและเร็วทันใจที่สามารถสะท้อนถึงชีวิตจริง

ช่องโคตรคูล เพิ่มผู้ติดตามได้มากถึง 2.4 ล้านคน จากการทำไลฟ์ “หมีLIVEป่ะ” และมียอดวิวสูงถึง 1.4 ล้านครั้งไปแล้ว

 

คุณเล่นให้ฉันดู

ปัจจุบันเกมได้กลายเป็นวัฒนธรรมป๊อปที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพียงแค่ครึ่งแรกของปี 2021 การรับชมวิดีโอเกมมีมากกว่า 8 แสนล้านครั้ง การเล่นเกมเป็นมากกว่าแค่บังคับเครื่องเล่น แต่เป็นการเข้าร่วมกลุ่มกับผู้คนที่มีความสนใจคล้ายกัน

ผู้ชมชอบเนื้อหาและชุมชนที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ วัฒนธรรมในการเล่นเกมทำให้การเล่าเรื่องนั้นมีความหลากหลายและสร้างประสบการณ์ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ชมทำให้ทุกคนรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น

Zbing z. กับสไตล์การเล่าเรื่องที่สดใสพร้อมมุกตลก ทำให้มีผู้ติดตาม 15.7 ล้านครั้ง และมียอดวิวสูงถึง 17 ล้านครั้ง

 

ผู้คนชื่นชอบพอดแคสต์

YouTube กลายเป็นช่องทางการฟังพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากผู้คนมีความสนใจคอนเทนต์ประเภทเสียงและประสบการณ์แบบ multi-sensory มากขึ้น ซึ่งความยอดนิยมของวิดีโอพอดแคสต์แสดงให้เห็นว่าผู้ชมต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับเนื้อหาและครีเอเตอร์ที่พวกเขาสนใจ

การแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปหรือเปิดเผยถึงเบื้องหลังจะช่วยทำให้ผู้ชมรู้สึกใกล้ชิดมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์และแบรนด์ได้แสดงความเป็นตัวเองหรือมุมมองที่แตกต่างออกไปด้วย

The Standard Pocdcast มีผู้ติดตามกว่า 4 แสนคน ยอดวิวกว่า 40 ล้านครั้งด้วยเนื้อหาที่หลากหลายตั้งแต่สุขภาพ ธุรกิจ ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ปัจจุบัน

 

สั้นแต่ได้ใจความ

ครีเอเตอร์ยอดนิยมใช้ประโยชน์จาก Shorts ที่มีเนื้อหารวดเร็วและเข้าใจง่าย เพื่อสื่อถึงมุขตลกและเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สิ่งหนึ่งที่วิดีโอ Shorts มีเหมือนกัน คือ ทุกวิดีโอนั้นเข้าถึงง่าย และไม่กลั่นกรอง ผู้ชมในปัจจุบันอยากดูเนื้อหาที่ไม่สะท้อนชีวิตจริง และไม่แต่งเติมอะไรมากมาย

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก MomMe Chidjun ที่เสนอเนื้อหาสะท้อนความเป็นแม่และชีวิตประจำวันคนทำให้มีผู้ติดตามถึง 1.52 ล้านคนและคลิปยอดนิยมมีผู้ชมถึง 6.3 ล้านครั้ง

การทำคลิปบน YouTube ไม่ใช่ว่าจะโด่งดังติดอันดับได้ภายในชั่วข้ามคืน ของเพียงตั้งใจและสร้างสรรค์ต่อเนื่อง รับรองว่าวันหนึ่งพวกคุณก็จะโด่งดังแบบพวกเขาได้เช่นกัน

from:https://www.thumbsup.in.th/5-trends-for-youtube?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=5-trends-for-youtube

เลือกตั้งผู้ว่าฯ 2565 กระตุ้นเม็ดเงินสื่อโฆษณามีการตื่นตัว คาดเงินสะพัดเพิ่ม 200 ลบ.

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งแรกในรอบ 9 ปี ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นี้ รอบนี้มีจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกกว่า 7 แสนคน บุคคลที่อายุเกิน 18 ปี อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพเกินกว่าหนึ่งปีและมีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนกว่า 4.5 ล้านคน

ด้วยรูปแบบการใช้เม็ดเงินในสื่อโฆษณาก็เปลี่ยนจากสื่อหลักมาเป็นสื่อออนไลน์ เพราะประชาชนเกือบทุกรุ่น สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์กันสะดวกมากขึ้น ทำให้การสร้างสรรค์คอนเทนต์ของผู้สมัครสำหรับการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ต้องวางแผนเรื่องการนำเสนอนโยบาย การลงพื้นที่เพื่อพบเจอประชาชนของผู้สมัครผ่านรูปแบบการไลฟ์ รวมทั้งการยิงแอดเพื่อประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัครเอง ต่างก็ต้องมีแนวทางที่ชัดเจน

ดังนั้น ทีมงานของผู้สมัครฯ จะต้องทำการบ้านเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย รวมทั้งการใช้งบสื่อโฆษณาออฟไลน์และออนไลน์ให้หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่ทำคอนเทนต์และยิงแอดเพียงอย่างเดียว

เพราะหากเทียบกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในครั้งก่อน สื่อหลักที่เข้าถึงประชาชนดีที่สุด คงหนีไม่พ้นสื่อหลักอย่างโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และวิทยุ ทำให้ตัวเลขการใช้เม็ดเงินชัดเจนกว่ายุคนี้ท่ีช่องทางกระจายไปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

หากเปรียบเทียบรูปแบบการหาเสียงหรือการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ

  1. The Changing Media Landscape : ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป จากสื่อทรงพลังอย่างโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ถูกแทนที่สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียซึ่งกลายเป็นสื่อกระแสหลักของคนเมือง
  2. From Linear to Omni Customer Journey : เส้นทางของผู้บริโภคที่เข้ามาสัมผัสกับผู้สมัคร ประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้สมัคร ไม่ได้มีลำดับหรือรูปแบบที่ตายตัวเหมือนแต่ก่อน
  3. New Political Era & New Eligible Voters : การเมืองยุคใหม่ที่ฟอร์มตัวจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดการตื่นตัวต่อการติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว นโยบายและองค์ประกอบต่างๆ ในหลายมิติของผู้สมัครแต่ละคน

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบการใช้เม็ดเงินในสื่อโฆษณาเพื่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ของปี 2556 ที่ใช้ไปกว่า 40.9 ล้านบาทนั้น พบว่า เน้นหนักไปที่สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อนอกบ้าน สื่อนอกบ้านที่ใช้รถเป็นสื่อ (Transit) สื่อส่งเสริมการขาย (In-store) แต่ส่วนใหญ่จะใช้แบบผสมผสานทุกสื่อหลักเพื่อเพิ่มโอกาสพบเห็นและจดจำ โดยในยุคนั้นคุณเสรีพิศุทธิ์ ถือว่าเป็นผู้ที่ใช้งบในสื่อแบบผสมผสานมากที่สุด เพราะเป็นผู้สมัครอิสระหน้าใหม่ของยุคนั้น จึงต้องเพิ่มโอกาสการทำความรู้จักกับประชาชน

MI Group จึงเก็บข้อมูลเรื่องเสียงของสังคม ผ่านเครื่องมือ Social Listening ว่าสังคมออนไลน์คิดเห็นอย่างไรกับนโยบายและการหาเสียงของผู้สมัคร พร้อมวิเคราะห์ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละ Generation เค้าเสพสื่ออะไรเป็นหลักและอยู่บน Social Media ไหนกันมากที่สุด มีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจในการเข้าถึงและมัดใจฐานเสียงหลักแต่ละกลุ่มได้

จากข้อมูล Social Listening ของ WISESIGHT ในช่วงกว่า 6 เดือนที่ผ่านมา ชัชชาติ สุชัชวีร์ อัศวิน & วิโรจน์ ถูกพูดถึงและมีส่วนร่วมจากชาวโซเชียลมากที่สุด (ตามลำดับ) บนโลกโซเชียล

โดยนโยบายของผู้สมัครที่ได้รับการพูดถึง (engage) มากที่สุดจากโลกโซเชียล คือ

  1. ความโปร่งใส
  2. บริการสาธารณสุข
  3. บำบัดน้ำเสีย
  4. บริหารงาน
  5. น้ำท่วม

ทั้งนี้ ข้อมูลยังสะท้อนเป็นคะแนนความคิดเห็นของชาวโซเชียลในเชิงบวก โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ชัชชาติ วิโรจน์ และรสนา ตามลำดับ

ในแง่นโยบายของผู้สมัครแต่ละคน ภาพรวมนโยบายของ ชัชชาติและ วิโรจน์ ได้รับการพูดถึง (engage) จากโซเชียลมากที่สุด 2 อันดับแรก ส่วนนโยบายในแง่การแก้ไขและพัฒนากรุงเทพ “เรื่องน้ำท่วม” ดูได้รับความสนใจจากโซเชียลมากที่สุด ตามมาด้วยการพัฒนาโดยองค์รวม และการแก้ปัญหารถติด ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีสิทธิเลือกในตั้งแต่ละ Generation (Gen Z, Gen Y, Gen X, Baby Boomer) นิยม เสพคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง บนสื่อหรือแพลตฟอร์มอะไร รวมทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Twitter, และสำนักข่าวโทรทัศน์เป็นหลัก

แม้ว่า Instagram และ TikTok จะเป็นที่นิยมมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ก็เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ช่วยขยายการเข้าถึงและการรับรู้  แต่อาจจะไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มหลักที่ช่วยสร้าง Engagement ระหว่างผู้สมัครและผู้ใช้งานมากนัก

นอกจากนี้ การสร้างสรรค์เนื้อหาให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย แนะนำว่าควรสร้างคอนเทนต์ให้เหมาะกับธรรมชาติของแพลตฟอร์มที่เลือกใช้  เช่น Tiktok ควรเน้น VDO สั้นกระชับ, Facebook เน้นภาพหรือ คลิปวิดีโอสั้น, หากจะสร้างคอนเทนต์บน YouTube ความยาวของคลิปวิดีโอก็ไม่ควรยาวเกินไปหากประเด็นหรือเรื่องราวนั้นไม่ได้โดนใจมากนัก รวมทั้งการทำ LIVE ก็มีธรรมชาติของสื่อที่แตกต่างกัน

หากดูภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาและการใช้เม็ดเงินโฆษณาเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในปีนี้ เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% หรือประมาณ 84,000 ล้านบาท เฉพาะในช่วงเดือนเมษายน

โดย MI Group มองว่า ภาพรวมความคึกคักของเม็ดเงินสื่อโฆษณา น่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 15-20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนของปีที่ผ่านมา โดยการใช้เม็ดเงินโฆษณาสำหรับการเลือกตั้ง น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเน้นหนักไปที่ สื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน (OOH: Digital Billboard, Billboard) และสื่อโทรทัศน์ ตามลำดับ

ส่วนเม็ดเงินประชาสัมพันธ์ของผู้สมัคร น่าจะเน้นไปอยู่ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การผลิตคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์, การทำพีอาร์, ขบวนTroop และรถแห่, ป้ายหาเสียง (Cut-out) และการจัดปราศรัย (Hyde Park) เป็นต้น

from:https://www.thumbsup.in.th/election-2022-media-spending?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=election-2022-media-spending