คลังเก็บป้ายกำกับ: SMART_CLASSROOM

เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนแบบอัจฉริยะ ด้วย Huawei IdeaHub

จากการเรียนการสอนในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นตัวผลักดันสำคัญให้ทั้งอาจารย์ผู้สอนและนักเรียนต้องปรับตัว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้สามารถทำการเรียนการสอนในช่วงเวลาดังกล่าว และการเรียนการสอนหลังจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงให้เข้ากับการเรียนการสอนยุคใหม่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ Hybrid Learning

ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom solution) คืออะไร?

เป็นระบบห้องเรียนที่ถูกออกแบบและพัฒนาด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านดิจิทัล เพื่อช่วยเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารระหว่างครูผู้สอน วิทยากร กับนักเรียนนักศึกษา หรือ ผู้เข้าร่วมประชุม/ผู้เข้าร่วมสัมมนา ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยรูปแบบการเรียนการสอนนั้นกระทำได้ทั้งแบบในห้องเรียน/ห้องสัมมนา หรือจะผ่านทางระบบประชุมทางไกลผ่านทางออนไลน์ โดยผู้เรียนหรือผู้เข้าร่วมประชุมอาจจะอยู่ในสถานที่อื่นก็ได้เช่นกัน อีกทั้งในกรณีของการเรียนการสอนเราสามารถดึงเอาข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้งานหรือต้องค้นหาผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ทันที สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้ระบบการเรียนการสอนถูกพัฒนาให้ล้ำสมัยและช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้เข้าประชุมเข้าใจสิ่งที่กำลังศึกษาหรือเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นกว่าระบบเดิม

คุณสมบัติพิเศษของระบบห้องเรียนอัจฉริยะของหัวเว่ย

ระบบห้องเรียนอัจฉริยะของหัวเว่ย Smart Classroom solution ออกแบบมาสำหรับยกระดับห้องเรียน และเพื่อตอบสนองการเรียน การสอนในปัจจุบันและอนาคต เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งครู อาจารย์ และนักเรียนให้ง่าย และทันสมัย รวมถึงมีความอัจฉริยะมากขึ้น

ให้ความสามารถในการเรียนการสอนที่หลากหลาย

โดยหัวเว่ยได้รวมความสามารถของอุปกรณ์ที่มีอยู่ พร้อมทั้งระบบแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบห้องเรียนอัจฉริยะให้ตอบสนองความต้องการของระบบการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต โดยสามารถแยกออกได้เป็น

การเรียนการสอนในรูปแบบ Digital Classroom

โดยอุปกรณ์ Idea Hub พร้อมทั้ง Digital Board จะทำให้อาจารย์สามารถนำความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานในการสอนกับนักเรียน นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงรูปภาพ วีดีโอ การเขียน การจดบันทึก รวมถึงการรับส่งไฟล์ ต่าง ๆ และสามารถทำการแชร์ข้อมูลได้ผ่านทาง QR Code ไปที่นักเรียนได้อย่างง่ายดาย

การเรียนการสอนในรูปแบบ Collaboration หรือ Group discussion

โดยการใช้อุปกรณ์ Idea Hub เสริมเข้ามาในชั้นเรียน และจับกลุ่มนักเรียน เพื่อให้สามารถมีการพูดคุย วิจารณ์ ทำงานกลุ่ม รวมถึงให้ห้องเรียนขนาดใหญ่ ได้เห็นข้อมูลพร้อม ๆ กัน ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และให้นักเรียนกลุ่มต่าง ๆ สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งพรีเซนต์ข้อมูลในกลุ่มของตัวเองไปยังกลุ่มต่าง ๆ ได้พร้อมกันอีกด้วย

การเรียนการสอนในรูปแบบของ Hybrid

โดยใช้อุปกรณ์ Idea Hub ในการทำการเรียนการสอน ที่ห้องปกติ และทำการกระจายการสอน ให้เป็นออนไลน์ไปยังนักเรียนที่อยู่ในที่ต่าง ๆ โดยการใช้อุปกรณ์เสริมในเรื่องของ กล้อง เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประโยชน์สูงสุด และยังสามารถใช้ได้กับ platform การเรียนออนไลน์ได้เกือบทุกยี่ห้อ

Huawei IdeaHub เหมาะกับทุกหน่วยงานอย่างแท้จริง

Huawei IdeaHub เป็นระบบที่จะให้คุณสามารถสร้างห้องเรียนอัจฉริยะที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนในแนวใหม่ หรือ New Normal ได้เป็นอย่างดี มาพร้อมฟีเจอร์ฟังก์ชันการทำงานที่ครบถ้วน ช่วยยกระดับด้านการศึกษาในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยองค์กรที่สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริงๆ ตัวอย่างสถาบันการศึกษา ที่นำเอามาเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ทั้งครูผู้สอนและเด็กนักเรียนนักศึกษา รวมถึงหน่วยงานและบริษัทต่างๆ สำหรับใช้ในการประชุมทั้งในห้องประชุมและนอกสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

G-Able มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญคอยช่วยให้คำปรึกษาตั้งแต่การออกแบบ Solution และการติดตั้ง รวมถึงบริการหลังการขาย โดยเป็นการให้บริการแบบครบวงจร สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : contactcenter@g-able.com โทร. 02-781-9333

from:https://www.enterpriseitpro.net/huawei-ideahub-smart-classroom-solution/

ม.มหิดลกับพัฒนาการใหม่ เพื่อก้าวสู่ “Digital Convergence University”

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศที่ก่อตั้งมายาวนานมากกว่า 130 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเรียนการสอนยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีที่ดี รวมถึงมีโซลูชันเพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต ซึ่งการนำเทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้วยภาพมาประยุกต์ใช้งานถือเป็นหนึ่งในจิกซอว์สำคัญของมหาวิทยาลัย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทั้งคุณภาพคนและคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับวิถีการเปลี่ยนแปลงของโลก การพัฒนาประเทศ ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่ และตรงกับความต้องการของเศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี นอกเหนือจากการสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการแล้ว การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการเรียนการสอน ก็ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยเช่นกัน

ความท้าทายของมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล

“ทุกวันนี้โลกแคบลงเรื่อยๆ และกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดน สิ่งที่เราต้องทำคือต้องตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ทัน นั่นจึงเป็นที่มาของนโนบายเพื่อก้าวสู่ความเป็นต้นแบบแห่ง “Digital Convergence University” โดยมุ่งไปที่เป้าหมาย 7 ด้าน ซึ่งถูกร้อยเรียงเข้าด้วยกันเพื่อผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เป็นจริง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี กล่าว

แนวนโยบายเพื่อมุ่งสู่การเป็น “Digital Convergence University” ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย

– IT Development Ownership การสร้างระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินการ ประกอบด้วย การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ
– Digital Analytic การสร้างมีระบบสารสนเทศวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– IT for Diversity การสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
– IT Infrastructure for Communication and Collaboration การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการทำงานร่วมกัน
– IT Supports for Workforce Mo bility การสร้างระบบไอทีสนับสนุนการเรียนการสอนได้จากทุกที่ทุกเวลา
– Digital Expert การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลบุคลากรและนักศึกษา
– Innovation การพัฒนาด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และงานวิจัย

ในส่วนของระบบไอทีเพื่อสนับสนุนเป้าหมาย Workforce Mobility ในภารกิจการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยมองว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ กล่าวเสริมว่า “มหาวิทยาลัยมหิดลมีหลายวิทยาเขต อยู่ในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา บางกอกน้อย พญาไท วิทยาเขตกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์และวิทยาเขตอำนาจเจริญ เป็นต้น

จะทำอย่างไรให้ทุกวิทยาเขตได้รับสิ่งต่างๆ พร้อมกัน นั่นหมายความว่าต้องจัดการกับอุปสรรคทางด้านระยะทางทิ้งไปให้ได้ ตัวอย่างเช่น หากมหาวิทยาลัยได้วิทยากรเก่งๆ สักคนหนึ่งมาบรรยาย ก็ต้องหาทางกระจายเนื้อหาในการบรรยายออกไปให้กว้างที่สุด ซึ่งโครงการสมาร์ทคลาสรูม (Smart Classroom) จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ตั้งแต่ต้น”

แนวทางการดำเนินงาน

หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การศึกษาที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการศึกษาและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนการสอนและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาและ e-Learning ผ่านบทเรียนออนไลน์แบบ SPOC (Small Private Online Course) และรายวิชาออนไลน์แบบ MOOC (Massive Open Online Course) อันเป็นระบบตั้งต้นของการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการสร้างห้องสมาร์ทคลาสรูมก็เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนได้จากทุกเวลาและทุกสถานที่

“เรามองว่า สมาร์ทคลาสรูมไม่ใช่แค่เป็นการให้คนออกไปพูดแล้วคนอื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทั่วถึงเท่านั้น แต่ยังมองในแง่ของการวางโครงสร้างและติดตั้งอุปกรณ์อย่างไรเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกันได้ดีที่สุด เพราะเรากำลังเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนจากการเรียนแบบ Passive Learning ไปสู่ Active Learning ซึ่งโซลูชันสมาร์ทคลาสรูมที่เรานำมาใช้งานก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเดิมที่เรามีอยู่ได้ด้วย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ กล่าว

“เราเริ่มต้นจากการคุยแผนงานกันก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วจะต้องมีการเตรียมอะไรกันบ้าง เนื่องจากจะมีเรื่องของการวางโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นเราต้องมีขั้นตอนเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมก่อน ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายหลักด้านไอทีของมหาวิทยาลัยมหิดลคือจะต้องสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายในสถานที่ที่มีการเรียนการสอนให้ครอบคลุมพื้นที่ 100% ทำให้ต้องมีการขยายแบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ต ปรับปรุงอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารในระดับส่วนงาน รวมถึงปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยด้านไอทีควบคู่กันไป จากนั้นในส่วนของสมาร์ทคลาสรูมก็จะตามมาอีกขั้นตอนหนึ่ง เรามีการวางแผนไว้แล้วว่าจะต้องทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นก็ค่อยๆ อิมพลีเมนต์ไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนงาน”

เลือกโซลูชันที่ใช้

กระบวนการคัดเลือกโซลูชันที่จะนำมาใช้ในการติดตั้งสมาร์ทคลาสรูมนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่าคงไม่ใช่การเอาอุปกรณ์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเท่านั้น แต่มองโซลูชันที่จะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถออกแบบแพลตฟอร์มทางด้านการศึกษา ที่สามารถสนองตอบต่อการเรียนการสอนยุคใหม่ได้

สิ่งที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกโซลูชันประกอบด้วย

– ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ
– ต้องเป็นโซลูชันที่สามารถขยายและเติบโตไปด้วยกันได้ เพราะมหาวิทยาลัยต้องการโซลูชันทางด้านการศึกษา ที่สามารถทำงาน- ร่วมกันได้กับระบบที่มีอยู่เดิมให้ได้มากที่สุด
– จะทำอย่างไรเพื่อให้การสอนเป็นแบบ Active Learning มีการตอบโต้กันระหว่างผู้สอนกับนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกห้อง
– ต้องมีความเป็นมิตรกับผู้ใช้ เรียนรู้และใช้งานง่าย เพราะแม้จะมีระบบแล้ว แต่ไม่เอื้อต่อการใช้งาน หรือใช้งานยาก ก็จะไม่มีคนใช้

“ด้วยปัจจัยข้างต้น ทำให้เราตัดสินใจเลือกโซลูชันจากซิสโก้ เป็นอุปกรณ์หลักภายในห้อง โดยโครงการติดตั้งระบบสมาร์ทคลาสรูมเริ่มต้นเมื่อกลางปี 2561 ในระยะแรกมีการติดตั้งพร้อมกัน 4 ห้อง โดยมีการติดตั้งแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน จากนั้นก็มีการตรวจสอบระบบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นระบบต้นแบบของมหิดล จากนั้นเราก็ได้มีการสำรวจทุกหน่วยงานที่มีการเรียนการสอน เพื่อวางแผนติดตั้งระบบสมาร์ทคลาสรูมระยะต่อไปในอนาคต

โดยยึดเอา 4 ห้องแรกเป็นโครงการนำร่อง ทำให้ทีมไอทีมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบและรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น” ดร. ธัชวีร์ กล่าวเสริม “โชคดีที่เราได้พันธมิตรที่แข็งแรงอย่างธนาคารไทยพานิชย์และซิสโก้ เข้ามาสนับสนุนและให้คำปรึกษา จึงทำให้เราสามารถติดตั้งใช้งาน รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้อย่างลงตัว”

ปัจจุบันมีการติดตั้งห้องสมาร์ทคลาสรูมไปแล้ว 4 ห้อง ใน 4 วิทยาเขต คือ

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 ห้องมินิเธียเตอร์ (MU Cyber Club) ความจุ 30 ที่นั่ง
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อาคารเรียนรวม ห้องประชุมนิลกาญจน์ ความจุ 120 ที่นั่ง
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ อาคารเรียนรวม ห้อง 2260 ความจุ 64 ที่นั่ง
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ อาคารวิทยาศาสตร์ อเนกประสงค์ อาคารที่ 6 ชั้น 2 ห้อง Smart Classroom ความจุ 40 ที่นั่ง

โดยเป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือทุกหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนจะต้องมีสมาร์ทคลาสรูมทั้งหมด จากการประเมินเบื้องต้นจะมีจำนวนห้องที่ต้องดำเนินการติดตั้งมากกว่า 30 ห้อง

โซลูชันที่ใช้งาน

ห้องสมาร์ทคลาสรูมเป็นการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนหรือในห้องเรียนที่ต่างสถานที่ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบพกพาก็ได้ และผู้สอนสามารถพูดโต้ตอบกับผู้เรียนได้แบบเรียลไทม์ แชร์เอกสารการสอนได้

ระบบที่ใช้ในห้องสมาร์ทคลาสรูมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นชุดอุปกรณ์

Cisco Webex Room Kit Pro ประกอบด้วย กล้องวิดีโอ Cisco TelePresence Precision 60, ลำโพง Cisco TelePresence Speaker Track และไมโครโฟนความไวสูงแบบติดบนเพดาน

ชุดอุปกรณ์ระบบ TelePresence ซึ่งทางมหิดลติดตั้งไว้ในห้องประชุมมีระบบภาพคมชัดคุณภาพสูงระดับ HD บนจอแสดงภาพขนาดใหญ่ และใช้แบนด์วิดท์ในการติดต่อสื่อสาร 5 – 10 เมกะบิต

นอกเหนือจากองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์แล้ว แอปพลิเคชันก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับห้องสมาร์ทคลาสรูม ประกอบด้วย

Cisco WebEx Meeting : โปรแกรมที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมทางไกล การเรียนการสอนทางไกล การจัดอบรมออนไลน์ การสัมมนาออนไลน์ ในองค์กร ให้สะดวกมากขึ้น โดยใช้การเรียนการสอนทางไกล ผ่านทางหน้าเว็บหรือผ่านอุปกรณ์โมบายต่างๆ โดยไม่จําเป็นต้องเดินทางเข้ามาในห้องเรียน

Cisco Jabber Video for TelePresence : โปรแกรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมทางไกลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ Windows และ Mac สามารถเข้าถึง Instant Messaging (IM) ระบบเสียง ระบบวิดีโอ ระบบเสียง ระบบ Desktop Sharing และการประชุมร่วมกันในเวลาเดียวกันด้วย

นอกเหนือจากการใช้เพื่อการเรียนการสอนแล้ว มหาวิทยาลัยยังนำระบบดังกล่าวมาใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารทางไกลผ่านวิดีโอหรือระบบ Video Conference เพื่อการประชุมข้ามวิทยาเขต/ข้ามหน่วยงาน และการสอบวิทยานิพนธ์ข้ามประเทศ ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุด สามารถดำเนินกิจกรรมได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกันในลักษณะของการโต้ตอบกันตามเวลาจริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ความพึงพอใจในการใช้งาน

หลังจากใช้งานมาได้ระยะหนึ่ง นักศึกษา และอาจารย์ก็มีความพึงพอใจในระบบ สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น เนื่องจากทางมหิดลมีการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานไว้เรียบร้อยแล้ว โดยมีกลุ่มผู้ใช้งานก็จะเป็นอาจารย์ และนักศึกษาเป็นหลัก ส่วนในอนาคตมีแผนที่จะหาผู้บรรยายที่มีชื่อเสียงมาบรรยาย และมีการเผยแพร่ออกไปให้นักศึกษาในทุกวิทยาเขตได้มีโอกาสได้ดูและรับฟังไปพร้อมๆ กันอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ บางครั้งยังมีการใช้ระบบสมาร์ทคลาสรูมในการประชุมต่างๆ ด้วย

“การติดตั้งและการใช้งานระบบไอทีต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างกองเทคโนโลยีสารสนเทศและบริษัทผู้ขายหรือติดตั้งผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมกันวางแผนอย่างรอบด้าน อันจะทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เทคโนโลยีที่นำมาใช้ ต้องเชื่อมโยงกับอะไร มีหน่วยงานไหนเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้าง และสามารถขยายไปในทิศทางใด เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างของโครงการสมาร์ทคลาสรูม เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กองเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพานิชย์ และซิสโก้ ซึ่งเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เพื่อการสร้างห้องที่ประกอบด้วยระบบการประชุมทางไกลเท่านั้น แต่เป็นการสร้าง Education Platform ที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และพร้อมต่อยอดสู่ภารกิจการเรียนการสอนต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างลงตัว”

โครงการในอนาคต

เป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือทุกหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนจะต้องมีห้องสมาร์ทคลาสรูม เพราะในอนาคตการเรียนการสอนอาจจะไม่ใช่การเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีระบบเสริมอย่างเช่น หลักสูตรออนไลน์ หรือบางคณะก็มีการสอนจากต่างประเทศ เพราะหลายหน่วยงานมีความร่วมมือกับต่างประเทศหลายๆ ประเทศ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยจึงต้องการผลักดันในส่วนนี้ ทุกหน่วยงานจะต้องมีในส่วนนี้ ซึ่งทางมหาวิยาลัยจะให้การสนับสนุน และโชคดีที่ได้ธนาคารไทยพาณิชย์และซิสโก้เข้ามาร่วมช่วยผลักดัน

“เราตั้งเป้าว่า ทุกส่วนงานที่มีการเรียนการสอนจะต้องมีห้องสมาร์ทคลาสรูม ซึ่งโครงการนี้จะต้องเสร็จสมบูรณ์ภายใน 2 ปีนี้ เพราะหลังจากนั้นก็จะต้องมีโครงการต่อยอดอื่นๆ ตามมาอีก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสตูดิโอเพิ่มเติม การขอใบรับรองสำหรับการเรียนการสอนด้านต่างๆ เป็นต้น”

from:https://www.enterpriseitpro.net/digital-convergence-university-mahidol/

โรงเรียนในประเทศจีน ทดลองใช้เทคโนโลยี Face Recognition เพื่อตรวจสอบพฤติกรรม และใช้แทนบัตรประจำตัวนักเรียน

ที่งาน China Beijing International High-tech Expo ครั้งที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง มีการสาธิตระบบห้องเรียนอัจฉริยะให้กับผู้ร่วมงานได้รับชม แสดงให้เห็นการทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า หรือ Face Recognition กับห้องเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในหางโจว

เทคโนโลยี Face Recognition มีใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศจีน เคยนำไปใช้ตรวจจับใบหน้าคนร้ายตามสถานีรถไฟ และล่าสุดถูกนำมาใช้กับโรงเรียน นักเรียนทุกคนในห้อง จะถูกตรวจจับใบหน้าทุกๆ 30 วินาที เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงอารมณ์ของเด็กนักเรียนด้วย ทั้งอารมณ์โกรธ, มีความสุข, สับสน หรือ ไม่พอใจ อีกทั้งยังตรวจสอบพฤติกรรมได้ อย่างเช่น การอ่าน, การเขียน, การยกมือ และ การนอนหลับบนโต๊ะ

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในโรงเรียน ยังสามารถนำมาใช้แทนบัตรประจำตัวนักเรียน สำหรับบันทึกการเข้าเรียน รวมทั้งใช้แทนบัตรสำหรับซื้ออาหารในโรงอาหาร และยังช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการที่ห้องสมุด

อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวสำหรับการนำเทคโนโลยี Face Recognition มาใช้ในโรงเรียน แต่ทางโรงเรียนให้ความมั่นใจว่า จะไม่มีการบันทึกภาพในห้องเรียน ส่วนข้อมูลต่างๆ จะจัดเก็บไว้ใน Local Server ไม่เก็บไว้ในระบบ Cloud

นอกจากประเทศจีนแล้ว โรงเรียนบางแห่งในอินเดีย ก็มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในห้องเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเฝ้าดูบุตรหลานได้ทันทีแบบเรียลไทม์

ที่มา – BusinessInsider

from:http://www.flashfly.net/wp/223074

ว้าว ! สุดยอดงานประชุมด้านการศึกษา ผนึกความร่วมมือ หัวเว่ย และ สจล.

มาแล้วกับสุดยอดงานประชุมด้านการศึกษา ภายใต้แคมเปญ Huawei Asia Pacific Education Summit โดยครั้งนี้เป็นการผนึกร่วมระหว่าง หัวเว่ย และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มากับธีม “Leading New ICT, The Road to Smart Education” ตอบโจทย์ความสำคัญ Thailand 4.0 และ Digital University Trend

โดยในงานนี้ทุกท่านจะได้พบกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Campus, Smart Classroom, SDN และ Education Cloud Data Center และคุณยังจะได้พบกับหัวข้อการบรรยายต่างๆ ที่น่าสนใจจากทั้งผู้บริหารหัวเว่ย และ เหล่าคณาจารย์จาก สจล. เช่น Education IT Construction Challengers and Trends, The Next Generation of Campus Network and Data Center : The Convergence และที่สำคัญทุกท่านจะได้เข้าไปเยี่ยมชม SDN Campus Network ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งภาคการศึกษา ณ สถานที่จริงด้วย

สำหรับงานดังกล่าวนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2560 นี้ โดยวันที่ 14 พ.ย. จะบรรยายที่โรงแรม Sofitel Bangkok Sukhumvit ส่วนวันที่ 15 พ.ย. จะไปเยี่ยมชมแคมปัสจริงที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สำหรับกำหนดการและรายละเอียดทั้งหมด ดูได้ที่ http://bit.ly/2lA0gK0 (สงวนสิทธิลงทะเบียนสำหรับหน่วยงานด้านการศึกษาเท่านั้น)

from:https://www.enterpriseitpro.net/archives/8647

Cisco จับมือ Optus วางระบบห้องเรียนอัจฉริยะ 15 แห่ง ภายใต้งบกว่า 2.3 พันล้าน AU$

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานั้น Optus Business ได้ประการแผนการวางระบบห้องเรียนอัจฉริยะกว่า 15 แห่งทั่วรัฐ Victoria ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย ที่ทำร่วมกับ South West TAFE โดยใช้โซลูชั่นจากยักษ์ใหญ่ด้านเน็ตเวิร์กอย่าง Cisco

โดยวิทยาเขตทั้งที่ Hamilton, Portland, และ Warrnambool ของ TAFE ต่างได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีการประสานงานและประชุมผ่านวิดีโอของซิสโก้ อันได้แก่ WebEx และ Jabber รวมทั้งมีการอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยด้วยเครือข่ายไร้สาย Cisco Meraki

Optus Business กล่าวในงาน Cisco Live ในเมืองเมลเบิร์นว่า เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะยกระดับวงการการศึกษาเข้าสู่โลกดิจิตอล เพื่อเพิ่มทักษะของนักศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ตำแหน่งงานเริ่มสูญเสียให้กับระบบอัตโนมัติที่นำมาใช้แทนมนุษย์ การอัพเกรดครั้งนี้จะมีผลกับนักศึกษาจำนวนกว่าห้าพันคนในสามวิทยาเขต

นอกจากนี้ Cisco กับ Optus Business ได้ประกาศว่าจะทำโครงการ 3 โครงการด้วยงบ 12 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้วยเวลาลงทุนสามปี เพื่อสนับสนุนแผนการอบรมและให้การศึกษา ยกระดับวิทยาเขตให้เป็นระบบอัจฉริยะผ่านคลาวด์อีกด้วย

ที่มา : http://www.zdnet.com/article/cisco-and-optus-deploy-15-smart-classrooms-in-au2-3m-project/

from:https://www.enterpriseitpro.net/?p=5851