คลังเก็บป้ายกำกับ: FEATURE

IBM Business Automation โซลูชั่นเพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจด้วยการผสมผสานระบบ BPM, ECM และ Case Manager

บทความนี้จะแนะนำการใช้ IBM Business Automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร โดยเน้นไปที่ระบบ Business Process Management (BPM) Enterprise Content Management (ECM) และ Case Manager ที่ทำงานผสมผสานกัน โดยเนื้อหาของบทความจะยกตัวอย่างการใช้งานสำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ (PR/PO) ในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์กับโรงงาน โดยระบบ ERP ขององค์กรอาจจะเป็น SAP หรือ Oracle Financial หรืออื่นๆ ก็ได้

บทนำ

ในยุคปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ IBM Business Automation

IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ธุรกิจที่ช่วยองค์กรในการเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีความสามารถในการจัดการกระบวนการธุรกิจที่ซับซ้อน โดยสามารถช่วยในการทำงานและการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ IBM Business Automation ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

การผสมผสานระบบ BPM (Business Process Management) ECM (Enterprise Content Management) และ Case Manager สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้อย่างไร โดยเชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า Intelligent Automation ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีและอัลกอริทึมเพื่อปรับปรุงและทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย IBM Business Automation เป็นโซลูชั่นที่ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการธุรกิจ และช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผสมผสานระบบ BPM, ECM และ Case Manager

การนำระบบ BPM (Business Process Management), ECM (Enterprise Content Management) และ Case Manager มาใช้ในองค์กรสามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้หลากหลายด้าน อย่างเช่นในกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ จัดการเอกสารต่างๆ ขอราคาจากคู่ค้า และออกใบสั่งซื้อให้กับคู่ค้า โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

1. กำหนดกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ: การกำหนดกระบวนการเป็นหลักเพื่อให้มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและมีความสอดคล้องกับนโยบายและกฎระเบียบขององค์กร
2. สร้างและจัดการเอกสาร: การใช้ ECM เพื่อจัดเก็บและจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ เช่น ใบเสนอราคาจากคู่ค้า ใบเสนอราคาตอบกลับ ใบสั่งซื้อ ฯลฯ
3. ติดตามกระบวนการ: การใช้ BPM เพื่อติดตามกระบวนการที่กำลังดำเนินการ โดยการกำหนดขั้นตอนการทำงาน และติดตามสถานะของงาน
4. จัดการและตรวจสอบรายการสั่งซื้อ: การใช้ Case Manager เพื่อจัดการและตรวจสอบรายการสั่งซื้อ รวมถึงตรวจสอบสถานะการชำระเงิน และติดตามสถานะการจัดส่งสินค้า
5. ออกใบสั่งซื้อ: การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น การอนุมัติการสั่งซื้อ ที่ถูกผสมผสานกับระบบ Case Manager และ ECM เพื่อทำให้กระบวนการนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและเร็วขึ้น นอกจากนี้ BPM ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อและอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับราคาและสินค้าได้ง่ายขึ้น

กระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในองค์กรที่ต่างกัน

การใช้งาน IBM Business Automation ในการปรับปรุงกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในองค์กรต่างๆ จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการดำเนินงานของแต่ละองค์กร โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบระบบ IBM Business Automation สำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ ระหว่างโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์กับระบบ IBM Business Automation สำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อของโรงงาน อาจจะมีความแตกต่างกันได้ดังนี้

การใช้งาน IBM Business Automation ในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ การดำเนินการในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์มักเกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าและบริการทางการแพทย์ เช่น การสั่งซื้อเวชภัณฑ์ ยา และอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ระบบ IBM Business Automation สามารถช่วยลดเวลาในการดำเนินการต่างๆ เช่น การขออนุมัติและพิมพ์ใบสั่งซื้อ การตรวจสอบสถานะของการสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้า การใช้งานระบบ IBM Business Automation ยังช่วยเพิ่มความเป็นมืออาชีพของผู้ใช้บริการและรองรับการทำงานซึ่งเป็นภาระหน้าที่ทางด้านการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้งาน IBM Business Automation ในโรงงาน การดำเนินการในโรงงานมีลักษณะการดำเนินงานที่เน้นการผลิตสินค้า และการจัดการสินค้าสำเร็จรูป เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบ การจัดส่งสินค้า และการควบคุมคุณภาพสินค้า ระบบ IBM Business Automation สำหรับการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงงานมีลักษณะการใช้งานที่ต้องการการปรับแต่งสูงสุดเพื่อให้ตรงกับกระบวนการการผลิตที่แตกต่างกันไป โดยระบบจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้อย่างตรงเวลา รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน และสามารถจัดการความเสี่ยงและการควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะของการสั่งซื้อและการจัดส่งได้อย่างง่ายดาย โดยระบบ IBM Business Automation สำหรับโรงงานนั้นยังสามารถปรับแต่งได้เพื่อตรงกับความต้องการของแต่ละองค์กรและกลุ่มผู้ใช้งานโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างดีที่สุด


สรุป

IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ในการจัดการกระบวนการธุรกิจต่างๆ ในหลากหลายธุรกิจ อย่างที่ได้ยกตัวอย่าง กระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ กับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงงาน มากไปกว่านั้น ยังนำไปใช้จัดการเอกสารในกระบวนการ QA ในการผลิต การจัดการงบประมาณ การขอสินเชื่อ และอื่นๆ โดยการนำเทคโนโลยีที่มีใน IBM Business Automation มาช่วยในการทำงานทั้งหมด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการทำงาน และช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานด้วยการทำงานอัตโนมัติ สรุปได้ว่า IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำไปใช้งานได้ในหลากหลายธุรกิจและกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

หากสนใจสอบถามข้อมูล หรือกำลังมองหาผู้ช่วยพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโต บริษัท C-Level Co., Ltd. ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมค้นหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ

เราเป็น IBM Certified Gold Business Partner และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริการเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร IBM Business Automation และมีพื้นฐานความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้ารวมถึงโซลูชั่นเป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถให้คำปรึกษา หรือให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ติดต่อเรา
หรือติดต่อ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

Email : cu_mkt@cu.co.th หรือ โทร 02 3116881 #7156, 7158

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-business-automation/

Advertisement

ไซเบอร์ อีลีทและไอบีเอ็มแนะทางออกจัดการไซเบอร์ด้วย SOC Modernization

หลายองค์กรเริ่มต้นปี 2023 ด้วยความหวาดหวั่นจากรายงานของสถาบันต่าง ๆ ด้านแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่าสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปีนี้ อ้างอิงจากการรายงานผลสำรวจของ IBM X-Force Threat Intelligence Index 2023 พบว่าในทวีปเอเชียแปซิฟิกครองอันดับหนึ่งในด้านอัตราการเกิดเหตุการณ์การโจมตี โดยคิดเป็น 31% ของเหตุการณ์ภัยคุกคามทั่วโลก และเพิ่มสูงขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ก็ยังคงเป็นปัญหาหนักอกที่ยังคงแก้กันไม่ตกในหลายองค์กร องค์กรขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมก็จะสามารถดึงดูดบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญได้มากกว่าบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง จึงส่งผลให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้านที่องค์กรได้มีการลงทุนไปแล้วด้วยเม็ดเงินมหาศาลไม่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตามที่คาดหวัง ซึ่งความท้าทายนี้เป็นปัจจัยปัญหาหลักที่องค์กรต้องกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือความท้าทายดังกล่าวอย่างจริงจังและต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ

ไอบีเอ็ม (IBM) ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยระดับองค์กรนำเสนอสถาปัตยกรรมแบบเปิด (Open Architecture) โดยใช้โซลูชั่น QRadar XDR ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนการทำงานในศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือศูนย์ CSOC ที่จะเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างโซลูชั่นต่าง ๆ อาทิ เช่น SIEM, SOAR, NDR, EDR อย่างครบถ้วน ประกอบกับเทคโนโลยี QRadar XDR Connect ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของโซลูชั่นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มความแข็งแกร่ง การป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามภายใต้การทำงานของศูนย์ CSOC ได้อย่างแม่นยำ ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กรหยิบยกขึ้นมาให้ผู้บริหารพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือการใช้บริการงานด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากผู้ให้บริการภายนอก หรือ MSSP ซึ่งแนวโน้มการใช้บริการเป็นแบบครบวงจร (Turn key) กล่าวคือองค์กรส่งมอบงานด้านความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ผู้ให้บริการภายนอกบริหารจัดการงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดโดยที่องค์กรเองทำหน้าที่กำกับดูแลประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการทำงานของผู้ให้บริการเท่านั้น ด้วยแนวทางนี้องค์กรสามารถมุ่งเป้าให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กรโดยการสนับสนุนจากผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ได้ความไว้วางใจจากองค์กร

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ชูเป้าหมายทางธุรกิจ “Managed Everything” ซึ่งยึดมั่นในแนวทางที่จะแบ่งเบาภาระงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรให้ได้แบบครบวงจร โดยมีบริการเฝ้าระวังและตอบสนองเหตุการณ์ภัยคุกคามตลอด 24 ชั่วโมงเป็นบริการพื้นฐานสำคัญ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถของศูนย์เฝ้าระวัง ฯ แบบดั้งเดิมให้มีความทันสมัยหรือที่เรียกว่า SOC Modernization ซึ่งสนับสนุนโดยเทคโนโลยีจาก IBM ที่จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและมีความแม่นยำในการวิเคราะห์ตรวจจับภัยคุกคามประเภทต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมถึงการเชื่อมโยงการบริการบริหารจัดการโซลูชั่นเข้าด้วยกัน อาทิเช่น Managed Cloud Security, Managed Network Security, Managed Detection and Response, Managed Endpoint Detection & Response, Managed Web Application Firewall, Managed DDoS และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย การให้บริการผู้เชี่ยวชาญในการรวมศูนย์การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน (Managed Security Program) ยังส่งผลให้การรายงานสถานะความเสี่ยงขององค์กรแก่ผู้บริหารระดับสูงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถติดตามสถานะความเสี่ยงด้านไซเบอร์ผ่านทาง CISO Dashboard ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสามกับแต่ละองค์กรอีกด้วย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด
คุณณัฐพล อาภาแสงเพชร โทร 094-480-4838 หรือ email : mkt@cyberelite.co
หรือติดต่อ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด โทร 02 3116881 #7151,7158 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-x-force-threat-intelligence-index-2023/

ทรานส์ฟอร์มองค์กร ขับเคลื่อนธุรกิจโลกดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ด้วยระบบอัจฉริยะ กับ Atos x SAP

ก้าวเข้าสู่ปี 2023 กับความท้าทายในทุกๆ มิติบนโลกธุรกิจ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการฟื้นตัวจากโควิด-19 องค์กรทั่วโลกต่างเดินหน้าเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล เพื่อรองรับการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงทีด้วยการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรในการก้าวล้ำคู่แข่ง ซึ่งหากองค์กรใดที่ปรับตัวได้ช้าหรือไม่ทันกับกระแสของธุรกิจในโลกดิจิทัลอาจตกขบวนและเสียเปรียบเพลี่ยงพล้ำให้แก่คู่แข่งด้านธุรกิจในตลาดที่มีการแข่งขันตลอดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลานี้ได้ การทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กรทั้งขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ไม่อาจมองข้ามและหลีกเลี่ยงได้

ดังนั้นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูงและรองรับการปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมทุกสถานการณ์ สามารถจัดการข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และยังมีระบบความปลอดภัยที่สามารถปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้แบบไม่มีสะดุด เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่พันธมิตรและลูกค้าได้นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่สามารออกแบบและนำซอฟต์แวร์อัจฉริยะประสิทธิภาพสูงมาใช้ พร้อมทั้งมีการบริการแบบครบวงจรที่เชื่อถือได้ระดับโลก อย่าง Atos x SAP เข้ามาช่วย

Atos x SAP ช่วยเปลี่ยนแปลงธุรกิจยุคดิจิทัลด้วยระบบจากองค์กรอัจฉริยะเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายสูงสุด ได้อย่างไร

Atos และ SAP คือ สององค์กรยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ERP ระดับโลกที่มีประสบการณ์และความร่วมมือมายาวนานกว่า 40 ปี ในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจผ่านระบบไอทีบนดิจิทัลแพลตฟอร์มให้แก่องค์กรชั้นนำทั่วโลกมากมาย ความชำนาญและมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง จึงทำให้เราเข้าใจในระบบงานของทุกอุตสาหกรรมอย่างลึกซึ้ง สามารถออกแบบและจัดการระบบข้อมูลองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่องค์กรอัจฉริยะได้อย่างราบรื่นแบบไร้รอยต่อ

Atos ยังเป็น SAP Platinum Partner ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ระดับสูงสุดของ SAP เป็นผู้ให้บริการด้านการจัดการข้อมูลบนคลาวด์รายใหญ่ที่สุดและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในแต่ละปีของ SAP มีฐานลูกค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านบริการและจัดการข้อมูลของ SAP พร้อมให้บริการแบบ end-to-end แนะนำโซลูชั่นและแพ็คเกจ ผ่านจุดบริการของ Atos ได้ในจุดเดียว

สำหรับปี 2023 ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของ Atos IT Solutions and Services Ltd. หรือ บริษัท อาโทส (ประเทศไทย) ในการเดินหน้าเพื่อพัฒนาและรักษามาตรฐานระดับสูงด้านการให้บริการแก่องค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ภายใต้การบริหารของ คุณวรรณี ไชยปัญญา กรรมการผู้จัดการ ของบริษัท อาโทส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้บริหารหญิงคนแรกของบริษัท อาโทส (ประเทศไทย) และเป็นผู้หญิงคนเดียวในทีม Atos APAC ซึ่งคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วงการไอที รวมถึงที่ปรึกษาทางธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 30 ปี โดยเฉพาะธุรกิจการให้บริการงานด้านไอทีแบบครบวงจร และเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการและเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไอทีที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในประเทศไทย

ด้วยความสามารถอันโดดเด่น ประสบการณ์ในการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ ความเข้าใจในธุรกิจด้านไอทีอย่างลึกซึ้ง และวิสัยทัศน์ในการบริหารองค์กรที่ชัดเจน จึงทำให้ คุณวรรณี ไชยปัญญา สามารถนำองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปรับรูปแบบองค์กรได้อย่างทันท่วงที จนทำให้บริษัทสามารถเติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคง ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับพาร์ทเนอร์ในธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งในการร่วมงานกันในโอกาสต่างๆ อีกด้วย

 

คุณวรรณี ไชยปัญญา กรรมการผู้จัดการ ของบริษัท อาโทส (ประเทศไทย)

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการยกระดับการให้บริการด้านไอทีและช่วยนำองค์กรธุรกิจในประเทศไทยให้แข็งแกร่งสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมในโลกยุคดิจิทัล บริษัท อาโทส (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์คนสำคัญซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของวงการ ERP อย่าง SAP ในการใส่เกียร์เดินหน้าอย่างเต็มตัวในการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นส์ที่ทันสมัยจาก SAP เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถ “ทรานส์ฟอร์มสู่องค์กรอัจฉริยะ” ได้แบบไร้รอยต่อ พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ด้านการใช้งานบนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และมีความยืดหยุ่นสูงสามารถรองรับการทำงานได้ทุกอุตสาหกรรม โดยมีทีมงานจากบริษัท อาโทส (ประเทศไทย) ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการออกแบบ จัดทำและติดตั้งระบบโครงสร้างองค์กร พร้อมให้คำปรึกษา และให้บริการแบบครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล

โซลูชั่นและบริการจาก Atos x SAP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่องค์กรได้อย่างไร

RISE with SAP เป็นบริการโซลูชั่นครบวงจรจาก SAP เพื่อการปฏิวัติรูปแบบธุรกิจสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะในทุกมิติ ที่ช่วยลดความซับซ้อนในการใช้งาน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ช่วยปลดล็อกธุรกิจให้สามารถทำทรานส์ฟอร์มองค์กรเข้าสู่ระบบ Cloud ได้อย่างเต็มรูปแบบบนเครือข่ายความร่วมมือทางการค้ากับพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญด้าน Cloud Solution ชั้นนำมากมายเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในทุกขั้นตอน เพื่อการก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล ด้วยกระบวนการ

  • การออกแบบกระบวนการธุรกิจรูปแบบใหม่ ด้วยการทำ Business Process Intelligence จากการพัฒนาโมเดลธุรกิจและความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการของ SAP ในหลากหลายอุตสาหกรรม จึงสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการขับเคลื่อนธุรกิจของตนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปรับแนวทางการทำงานให้ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างตอบโจทย์และตรงเป้าหมาย เช่น โซลูชั่น Robotic Process Automation (RPA) และบริการ Artificial Intelligence (AI) อื่นๆ
  • การย้ายฐานข้อมูลทางเทคนิคอย่างไร้รอยต่อ ขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมในระบบ Cloud โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ และการสนับสนุนด้านการใช้งานจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อช่วยให้สามารถย้ายข้อมูลได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน Cloud Data Center ของ SAP หรือ ศูนย์จัดเก็บข้อมูลระดับ Hyperscale เอื้อต่อการใช้งานและขยายขีดความสามารถของการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน

ก้าวสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ โดยการนำโซลูชั่น SAP Business Technology Platform (BTP) มาพร้อม Semantic Layer ที่พร้อมเชื่อมประสานองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจในทุกมิติอย่างไร้รอยต่อ โดยโซลูชั่นดังกล่าวช่วยดูแลฐานข้อมูลศูนย์กลาง ให้เป็นระเบียบและเอื้อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้น

SAP Business Technology Platform (BTP) เป็นแพลตฟอร์มที่คำนึงถึงความยืดหยุ่นและมีตัวเลือกหลากหลายรูปแบบที่ช่วยเร่งนวัตกรรมและปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้นักพัฒนาระบบและผู้ใช้งานในองค์กรสามารถใช้งานข้อมูล เพิ่มส่วนขยาย และปรับแต่งแอปพลิเคชัน SAP หรือรวมและเชื่อมต่อภูมิทัศน์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ในด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาแอปพลิเคชัน ด้วยระบบอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบครบวงจร เพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลในทุกๆ ด้าน สามารถใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง ทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด โดย

• Personalize experiences for SAP Applications
ปรับแต่งแอปพลิเคชันให้เป็นรูปแบบที่เหมาะกับองค์กร ด้วยการรวมนวัตกรรมเข้ากับแอปพลิเคชันจาก SAP และประมวลผลโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบอัตโนมัติ เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกและครอบคลุม และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์

• Innovate faster with business context
ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วด้วยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นรองรับทั้งแบบใช้โค้ดและไม่ใช้โค้ด เพื่อใช้และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง โดยมีรูปแบบพร้อมกรณีศึกษาที่เหมาะสำหรับแต่ละธุรกิจในการจำลองตัวอย่าง

• Run on a trusted, enterprise-grade platform
ดำเนินการผ่านระบบคลาวด์ซึ่งบริหารจัดการโดยระบบ SAP ได้ สามารถปรับแต่งระบบการทำงานได้ไม่ต้องมีการบำรุงรักษา และยังทำงานร่วมกับระบบคลาวด์รายอื่นๆ ที่ใช้อยู่ได้อีกด้วย

Atos Cybersecurity นั้นเป็นผู้นำอันดับ 1 ในยุโรปและเป็นผู้นำระดับโลกด้าน Cybersecurity ที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 6,000 คน ด้วยเครือข่ายศูนย์การดูแลความปลอดภัย (SOCs) และมีพันธมิตรดูแลด้านความปลอดภัยทั่วโลก ให้บริการได้อย่างครบวงจร โดยมีบริการ ดังนี้

  • Big Data Analytics เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับระบบอัตโนมัติทั่วโลกเพื่อควบคุมความปลอดภัยเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
  • Atos Trusted Digital Identities การเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายได้หลากหลายอุปกรณ์ ด้วยระบบตรวจสอบที่รัดกุม
  • Industrial and IoT Security เสริมความปลอดภัยแก่ระบบ IOT ขององค์กรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
  • Atos Digital Workplace Security ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา บนอุปกรณ์ที่หลากหลายด้วยความปลอดภัยสูงสุด
  • Data Protection and Governance ทำงานผ่านระบบ Cloud แบบ real time ดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบ IoT & OT ปกป้องข้อมูลที่สำคัญขององค์กรไม่ให้รั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Hybrid Cloud Security โอนย้ายข้อมูลผ่านระบบคลาวน์ได้อย่างปลอดภัย มีความยืดหยุ่นสูง เข้าถึงข้อมูลด้วยความสะดวกและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • ควบคุม ดูแล และตรวจสอบระบบภายในองค์กรทั้ง on-premise และบนคลาวน์ ได้ 360° ด้วย Atos Managed Detection and Response (MDR) สามารถให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ในการตรวจจับ ตอบสนอง และป้องกันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยความรวดเร็วย่างอัตโนมัติ

พร้อมกันนี้บริษัท อาโทส (ประเทศไทย) ได้ยกระดับความแข็งแกร่งด้าน Cyber Security ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการจับมือกับ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรใหม่ที่เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security โดยเฉพาะ มาเป็นผู้ดำเนินการด้านการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางธุรกิจบนโลกไซเบอร์อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย


บริษัท อาโทส (ประเทศไทย) ยังมี Digital Solutions และบริการต่างๆ อีกมากมาย ที่ตอบโจทย์หน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบเข้าสู่ระบบดิจิทัลเพื่อเป็นองค์กรอัจฉริยะอย่างเต็มตัว ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน นี่จึงเป็นกลไกการตลาดที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร เพื่อลดต้นทุน และการบริหารจัดการเวลาได้อย่างคุ้มค่า ทำให้องค์กรก้าวกระโดดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

สนใจบริการ RISE with SAP และ Atos Services
สามารถติดต่อได้ที่ คุณรตนพร สุริย์ อีเมล ratanaporn.suri@atos.net
หรือ ส่งข้อมูลความสนใจผลิตภัณฑ์มาที่ https://forms.gle/WCiXH3ZdFJUf1gFx6

from:https://www.enterpriseitpro.net/sap-collapse-atos-to-transformations-for-digital-business/

จีนยกเลิกการรับรองเครื่องส่งแฟ็กซ์ รวมถึงระบบ ISDN และชุดเฟรมรีเลย์แล้ว

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมและโทรคมนาคมของจีนประกาศการปฏิรูปมาตรฐานการเข้าถึงเครือข่าย ที่มีใจความสำคัญในการสิ้นสุดการใช้เทคโนโลยีเก่าเกินไป แม้ยังมีหลายองค์กรรักที่จะใช้งานต่อ

โดยจะไม่มีการให้ใบอนุญาตให้เข้าถึงเครือข่ายอีกสำหรับโทรศัพท์ตามบ้านทั้งแบบใช้สายและไร้สาย เครื่องส่งแฟ็กซ์ โมเด็ม และเพจเจอร์ นอกจากนี้ยังรวมผลิตภัณฑ์ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่อจากนี้ในบางประเภทด้วย

ตัวอย่างก็มีอาทิเช่น อุปกรณ์เทอมินัล ISDN (Integrated Services Digital Network), เฟรมรีเลย์, สวิตช์ที่ใช้โหมดรับส่งข้อมูลแบบ Asynchronous ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตก่อนหน้าก็ยังสามารถใช้เข้าถึงเครือข่ายของจีนได้ต่อไปอยู่

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ดูไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ดูจะดีใจที่ได้ขายอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ น่าจะมีแต่ผู้ใช้งานปลายทางที่ถูกกดดันให้ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ขึ้นก่อนจะถูกระงับการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Theregister

from:https://www.enterpriseitpro.net/china-to-stop-certifying-fax-machines/

Alibaba เตรียมตั้งรกรากในตุรกี ทั้งศูนย์กลางขนส่งสินค้า และดาต้าเซ็นเตอร์

ประธานบริษัท Alibaba Group Holding Ltd. คุณ Michael Evans กล่าวว่า ตัวเองเตรียมลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตุรกี เพื่อตั้งฮับโลจิสติกในสนามบินเมืองอิสตันบูล และตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ใกล้กับเมืองหลวงของตุรกีด้วย

Evans ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Sabah เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า “เรามีแผนที่จะลงทุนอย่างจริงจังในสนามบินอิสตันบูล ที่ที่เราจะสามารถวางแผนการส่งออกของการค้าออนไลน์ในฐานะฮับกลางไปยังภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่เอเชียตะวันออกได้

ที่อาลีบาบาเล็งตุรกีเป็นที่ขยายธุรกิจตัวเองเพราะมีความสามารถในการผลิตที่แข็งแกร่ง ที่พร้อมสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ และเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนบริษัทในยุโรปและตะวันออกกลางได้ โดยคาดว่าการขยายธุรกิจการค้าและบริการคลาวด์ที่นี่จะช้วยเพิ่มรายได้ของบริษัทโดยรวม

Evans ในฐานะอดีตผู้บริหาร Goldman Sachs Group Inc. ได้เรียกร้องตุรกีมาตลอดให้ปรับปรุงกฎหมายการค้าที่ “เป็นอุปสรรค” ต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะสร้างใหม่จะเป็นที่ที่ใหญ่ที่สุดของตุรกีในเมือง Temelli ใกล้กับเมืองหลวงของ Ankara

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – DCK

from:https://www.enterpriseitpro.net/alibaba-plans-logistics-hub-at-istanbul-airport-turkey/

ของดีต้องบอกต่อ : 10 ทูลโอเพ่นซอร์สสุดเจ๋งประจำปี 2022

ทูลที่เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สนั้นกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นจากข้อดีหลายประการไม่ว่าจะเป็นการประหยัดเงินลงทุนทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ประหยัดค่าดูแลระยะยาว ไม่โดนผูกขาด จัดการไลเซนส์ได้ง่ายกว่า แถมได้รับการสนับสนุนจากชุมชนออนไลน์มากมาย

ยิ่งตอนนี้ที่คนแห่กันขึ้นคลาวด์ พากันปฏิวัติระบบเป็นแบบดิจิตอล ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญในการหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และแพลตฟอร์มจัดการคอนเทนเนอร์ Kubernetes

นอกจากสองตัวยอดนิยมนี้แล้ว ยังมีอีกหลายตัวมากที่น่าสนใจทั้งด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแอพทางธุรกิจ ใช้สร้างคอนเทนต์ทั้งภาพและเสียง ไปจนถึงด้าน AI แมชชีนเลิร์นนิ่ง ด้านความปลอดภัย อีเมล บราวเซอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ลองมาดูทูลที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 10 ตัวที่น่าสนใจประจำปีนี้กัน มีทั้งที่เพิ่งเปิดตัวไม่กี่ปี หรือในปีนี้เองก็มี ไปจนถึงตัวที่มีใช้งานกันมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัดจนอยู่ในรายการนี้ด้วย ได้แก่:

Apache Druid
เป็นอีกซอฟต์แวร์จาก Apache Software Foundation ในรูปของฐานข้อมูลสำหรับทำงานวิเคราะห์ที่จัดเรียงข้อมูลเป็นคอลัมน์ ทำงานแบบประสิทธิภาพสูง ใช้กับงานอนาไลติกยุคใหม่ที่ตอบคำร้องขอข้อมูลได้เร็วจี๋ไม่ถึงวินาที

สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งแบบเรียลไทม์ แบบไทม์ซีรี่ย์ หรือข้อมูลย้อนหลังได้หมด นิยมนำมาใช้กับการร้องขอข้อมูลหรือเหตุการณ์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจหรือ Business Intelligence (BI) แบบ OLAP (Online Analytical Processing)

Apache Iceberg
เป็นตารางข้อมูลวิเคราะห์ขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูง ช่วยทำให้ตารางข้อมูลในรูป SQL เรียบง่ายและเสถียรพอสำหรับงานด้านบิ๊กดาต้า ขณะที่สามารถใช้กับเอนจิ้นประมวลผลข้อมูลอย่าง Spark, Trino, Flink, Presto, Hive, และ Impala ได้

Dbt Core
ย่อมาจาก Data build tool เป็นเฟรมเวิร์กแบบคอมมานด์ไลน์ที่เป็นโอเพ่นซอร์ส รวมเอาโมดูล SQL เข้ากับแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยทั้งนักวิเคราะห์ข้อมูลและวิศวกรข้อมูลร่วมกันแปลง ทดสอบ และทำเอกสารด้านข้อมูลในดาต้าแวร์เฮาส์ได้ดีขึ้น

Drupal
เป็นระบบจัดการคอนเทนท์หรือ CMS ที่ตอนนี้อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์กว่า 1.7 ล้านแห่ง ถือเป็น 14 เปอร์เซ็นต์ของ 10,000 เว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยทีเดียว อยู่คู่กับเรามา 20 ปีจนถึงเวอร์ชั่นล่าสุด Drupal 10 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ที่ผ่านมา

GIMP
GNU Image Manipulation Program เป็นโปรแกรมแก้ไขรูปภาพที่ใช้ได้นหลายแพลตฟอร์ม ทำได้ทั้งปรับแต่งรูปภาพ วาดภาพแบบฟรีฟอร์ม หรือแม้แต่แปลงไฟล์ภาพเป็นสกุลต่างๆ นิยมใช้กันในหมู่กราฟิกดีไซน์ ช่างภาพ นักวาดอิลัส หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์

Grafana
เป็นแพลตฟอร์มแสดงแผนภาพข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์สที่รวบรวม วิเคราะห์ และแสดงค่าต่างๆ บันทึก Log และติดตามข้อมูลสำหรับใช้เฝ้าดูประสิทธิภาพและพฤติกรรมของฐานข้อมูล แอพพลิเคชั่น คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ IoT รวมไปถึงระบบในอุตสาหกรรม

Gravitee
เป็นแพลตฟอร์มจัดการ API ที่อิงตามเหตุการณ์ ช่วยให้องค์กรสร้าง ปกป้อง ตรวจสอบ จัดการ และควบคุมดูแลวงจรชีวิตของ API ที่ใช้เชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นข้ามเครือขข่ายทั้ง On-Premises และคลาวด์ หรือระหว่างคลาวด์ด้วยกันได้

Paratus
เป็นทูลโอเพ่นซอร์สน้องใหม่สำหรับจัดการการเข้าถึง Kubernetes อย่างปลอดภัย พัฒนาโดย Rafay Systems ที่เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการการทำงานของ K8S ชั้นนำ เพิ่งเปิดตัวเมื่อมิถุนายนนี้เอง เป็นตัวให้เข้าถึงคลัสเตอร์ K8S ได้อย่างปลอดภัยสำหรับนักพัฒนาหรือแม้แต่ทูล CI/CD

PyScripter
เป็นโปรแกรมแก้ไขโค้ดแบบครบวงจรหรือ Integrated Development Environment (IDE) แบบไม่หนักเครื่องบนวินโดวส์ พัฒนาขึ้นด้วย Object Pascal ของ Delphi ที่ให้ความสามารถในการจัดการโค้ด Python ให้โปรแกรมเมอร์ใช้งานพร้อมไลบรารีมากมายบนเว็บบราวเซอร์ได้

TensorFlow
แพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิ่งสำหรับเตรียมพร้อมและโหลดข้อมูลสำหรับใช้พัฒนาโมเดลแมชชีนเลิร์นนิ่งระดับที่ใช้งานจริงในองค์กร มาพร้อมกับทูล ไลบรารี และทรัพยากรจากชุมชนออนไลน์ที่สนับสนุนมากมายเพื่อใช้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CRN

from:https://www.enterpriseitpro.net/the-10-coolest-open-source-software-tools-of-2022/

สิ่งที่ทุกคนอยากเห็น! ในวินโดวส์เวอร์ชั่นถัดไปอย่าง Windows 12

เป็นที่ทราบกันว่าไมโครซอฟท์กำลังเร่งพัฒนาวินโดวส์เวอร์ชั่นถัดไป โดยตอนนี้อยู่ในช่วงวางแผนและเริ่มโค้ดโปรแกรมภายใต้โค้ดเนม “Next Valley” ที่ตั้งเป้าจะออกมาให้ใช้กันปลายปี 2024 นั่นคืออีกประมาณสองปีต่อจากนี้

ปรับแต่งฟีเจอร์ให้ไม่หน่วงเครื่อง
แน่นอนว่ามีหลายอย่างที่หลายคนคาดหวังในเวอร์ชั่นใหม่นี้ เวอร์ชั่นที่ชื่อจริงๆ ยังไม่รู้ว่าใช้คำว่าวินโดวส์ 12 หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการสเกลเปิดกว้างรองรับทุกอุปกรณ์ทุกสเปกอย่างแท้จริง ถ้าลงเครื่องสเปกต่ำก็สามารถปรับแต่งฟีเจอร์ให้ไม่หน่วงเครื่องได้อัตโนมัติ

One Product Fit All
จริงๆ วินโดวส์ก็ออกมาในฐานะ “One Product Fit All” อยู่แล้ว ไม่ว่าจะอยู่บนเครื่องเวิร์กสเตชั่นไฮเอนด์สเปกแรง เครื่องเกมมิ่งพีซี ไปจนถึงพีซีเพื่อการศึกษาแบบประหยัดที่กำลังประมวลผลต่ำ แต่ก็ยังไม่ได้สเกลปรับตามฮาร์ดแวร์จริงบนเครื่อง

เราคาดหวังว่าเมื่อลงวินโดวส์ 12 บนบนอุปกรณ์โลว์เอนด์ระดับโครมบุ๊กเป็นต้น ก็ควรสเกลให้ตรงกับประสิทธิภาพและวัตถุประสงค์การใช้งานบนเครื่อง เช่น พีซีประหยัดเพื่อการศึกษาก็อาจไม่จำเป็นต้องมี Widget, Phone Link, หรือฟังก์ชั่นที่ใช้งานร่วมกับ Xbox

รองรับกับแอพต่างๆ
โดยเฉพาะการติดตั้งโอเอสแบบประหยัดเนื้อที่มากที่สุดบนคอมพิวเตอร์สเปกต่ำเหล่านี้ และควรรวมไปถึงการรองรับความเข้ากันได้ของแอพ ที่ไม่จำเป็นต้องรองรับแอพเต็มรูปแบบก็ได้ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชิป ARM ที่มักเอามาใช้แค่ออกเน็ตเปิดเว็บแอพอย่างเดียว

หน้าจอล็อกสกรีนใหม่!
อีกจุดที่คนอยากจะเห็นคือหน้าจอล็อกสกรีนใหม่ ที่วินโดวส์ไม่เคยปรับปรุงมาตั้งแต่วินโดวส์ 8 มีโชว์แค่เวลา หรือแจ้งเตือนแค่บางแอพอย่างปฏิทินหรือข้อมูลอากาศที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ จริงๆ ควรโชว์การแจ้งเตือนของทุกแอพเหมือนโทรศัพท์ที่เห็นได้แม้บังไม่ต้องล็อกอินเข้าเครื่อง

ผสานเข้ากับแอนดรอยด์ได้เนียนขึ้น
นอกจากนี้ก็มีเรื่องของการอยากเห็นโอเอสสำหรับแท๊บเล็ตหรือหน้าจอสัมผัสอย่างแท้จริง ลื่นไหลจริง ไม่ใช่แค่ปรับแต่งจากโอเอสปกติเล็กน้อยแบบนี้ การผสานเข้ากับโทรศัพท์แอนดรอยด์ได้เนียนยิ่งขึ้นเหมือนที่แอปเปิ้ลทำกับอีโคซิสเต็มของตัวเอง

ทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่เราอาจจะเห็นได้ใน Windows 12 แต่จริงๆ แล้วฟีเจอร์และคุณสมบัติเหล่านี้อาจจะมาเร็วกว่าที่คาดผ่านทางระบบ Windows Update, หรือการอัปเดตด้านความปลอดภัย ก็เป็นได้ เรามาคอยติดตามกันต่อไปดีกว่า

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Windowscentral

from:https://www.enterpriseitpro.net/windows-12-the-top-things-the-next-version-of-windows-needs-to-succeed/

อยากเป็นแอดมินเน็ตเวิร์ก…รู้ไหมต้องเจอกับอะไรบ้าง?

การเป็นชาวเน็ตเวิร์กต้องทรหดอดทนมากรู้ไหม เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพไม่ว่าบนแอพพลิเคชั่นหรือเซอร์วิสใดก็ตาม จำเลยอันดับแรกๆ ก็มักเป็นคนดูแลเครือข่ายที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ในการตอบคำถาม ในการพิสูจน์ว่าต้นตอปัญหาดังกล่าวไม่ได้มากจากเน็ตเวิร์กที่ตัวเองดูแลอยู่

การเลือกสายอาชีพในด้านไอทีไม่ใช่เรื่องง่าย มีมือใหม่เข้าวงการหลายรายคิดไม่ตกเวลาเลือกสานงานเริ่มต้นที่มีอยู่หลากหลายมาก แต่ถ้ามองเฉพาะบทบาทการเป็นแอดมิน โดยเฉพาะในสายเน็ตเวิร์กระดับองค์กรแล้ว ก็มีทักษะหลายตัวที่สำคัญที่นายจ้างต้องการ

และหลายครั้งที่ผู้สมัครเลือกงานสายหนึ่งโดยที่ไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตัวเองต้องเจอในแต่ละวันจะมีอะไรบ้าง ดังนั้นเราจึงเอางานการเป็นแอดมินเครือข่ายที่เค้าจ้างกันทั่วไปมาตีแผ่ให้รู้กัน ทั้งหน้าที่งาน ประโยชน์ที่จะได้ ไปจนถึงข้อเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้

ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ “การเชื่อมต่อ”

หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของแอดมินเน็ตเวิร์กก็คือ ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการเชื่อมต่อที่ดีไปยังแอพและบริการต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อออกไปยังอินเทอร์เน็ต, เครือข่าย WAN, ดาต้าเซ็นเตอร์, หรือคลาวด์เท่านั้น แต่รวมถึงการรักษาสถานะการทำงานของพอร์ตต่างๆ, สายเคเบิล, และแอคเซสพอยต์ด้วย

เรามักเจอว่าแอดมินเน็ตเวิร์กระดับเริ่มต้นมักวุ่นกับการแก้ปัญหาการเชื่อมต่อให้ผู้ใช้ปลายทาง ตั้งแต่ซ่อมหัวต่อหรือรูเสียบสายแลนทั้งในออฟฟิศหรือตู้ชุมสาย ไปจนถึงการตรวจสถานะการเชื่อมต่อไวไฟชนิดตรวจแล้วตรวจอีก จนต้องใส่รองเท้าดีๆ ที่จะเดินไปเดินมาทั้งวันได้โดยไม่เหนื่อยมาก

ความปลอดภัยบนเครือข่าย

เครื่องมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นมักติดตั้งบนเครือข่ายองค์กรโดยตรง จึงกลายเป็นความรับผิดชอบของแอดมินเครือข่ายด้วยโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นไฟร์วอลล์, IPS/IDS, ระบบตรวจจับและตอบสนองบนเครือข่าย (NDR)

รวมไปถึงระบบป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP), และอุปกรณ์ทำวีพีเอ็นโดยเฉพาะ (Concentrator) ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ระบบใหม่ๆ อย่าง Secure Access Service Edge (SASE) ก็ยังถูกส่งต่อมาให้แอดมินเครือข่ายจัดการ และไม่ว่าระบบอื่นจะมีฝ่ายอื่นจัดการโพลิซีและ IR แต่การบำรุงรักษาก็มักตกเป็นงานของแอดมินเครือข่ายอยู่ดี

การเฝ้าตรวจสอบทราฟิกและแจ้งเตือน

แอดมินเครือข่ายใช้ทูลหลายตัวในการมองเห็นสถานะและประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กร ซึ่งมีทูลตั้งแต่แพลตฟอร์มตรวจ SNMP พื้นฐาน ไปจนถึงทูลตรวจจับแพ็กเก็ตเชิงลึก (DPI) ที่ซับซ้อนขึ้น ที่ใช้ทั้งแมชชีนเลิร์นนิ่งและ AI

แอดมินเครือข่ายก็ต้องเป็นคนตั้งค่าการตอบสนองเหตุการณ์ หรือปรับค่าเพดานการแจ้งเตือนสำหรับปัญหาประสิทธิภาพต่างๆ ไปจนถึงการสืบหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด รวมทั้งมีความรู้ในการอัพเกรดระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิสต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

งานวางแผนกินไปแล้ว 95%

การที่ต้องคอยเปลี่ยนอุปกรณ์เครือข่ายที่เก่าหรือเสื่อมแล้ว และการขยายเครือข่าย LAN, WAN, คลาวด์, หรือ Edge เมื่อจำเป็นนั้น เนื่องจากล้วนเป็นงานที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ จึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมให้ทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ดังนั้นผู้ที่จะมาเป็นแอดมินเครือข่ายก็ต้องเตรียมใจกับการทำงานด้านวางแผนเป็นส่วนใหญ่ถึง 95% ทั้งด้านการเตรียมอัพเกรดและติดตั้ง โดยจะเหลือเวลาอีกแค่ 5% เท่านั้นในการลงมือทำงานจริง อย่าลืมต้องวางแผนหาสล็อตเวลาบำรุงรักษาในช่วงหยุดสุดสัปดาห์หรือนอกเวลางานด้วย

ต้องอยู่พร้อมโดนเรียกใช้ (On Call) ตลอดเวลา

ถ้าให้พูดว่างานไหนจะได้ทำในช่วงเวลาที่เอาแน่นอนไม่ได้มากสุด ก็คงหนีไม่พ้นงานแอดมินเครือข่ายที่มักโดนเรียกตัวได้ตลอดเวลา แม้องค์กรขนาดใหญ่มักมีทีมผลัดเวรเปลี่ยนกะให้ แต่แอดมินระดับอาวุโสก็มักทำใจแล้วว่าต้องมีงานฉุกเฉินที่โดนเรียกให้ไปช่วยนอกเวลาอยู่เรื่อยๆ

ที่มา : NWC

from:https://www.enterpriseitpro.net/so-you-want-to-be-a-network-administrator/

Baidu ของจีน บอกว่ามาตรการกันส่งออกชิปของสหรัฐฯ “ก็อยู่แค่ในวงจำกัด”

ผู้บริหารของบริษัทไอทีจีน Baidu กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนระหว่างเซสชั่นตอบคำถาม ในงานประชุมนักลงทุนประจำไตรมาสที่สาม ระบุบริษัทคาดว่าผลกระทบจากมาตรการกีดกันการส่งออกชิปจากสหรัฐฯ ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา จะ “มีแค่ในวงจำกัด”

มาตรการของสหรัฐฯ นี้เป็นการควบคุมการส่งออกที่จำกัดธุรกิจในประเทศสำหรับการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์เครื่องมือทำชิปไปยังผู้ผลิตชิปของจีน คุณ Dou Shen รองประธานบริหารและหัวหน้ากลุ่ม AI Cloud ของ Baidu กล่าวว่า “ในช่วงใกล้ๆ นี้ คิดว่าผลกระทบไม่ได้มีมากมายเท่าไร”

เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับผลของมาตรการที่อาจกระทบความสามารถในการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงและ AI โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่จำเป็นต้องใช้ชิปสำหรับ AI ชั้นสูง เขาย้ำว่า “ทั้งธุรกิจ AI Cloud และ AI อื่นๆ ไม่ได้พึ่งพาชิปชั้นสูงจากสหรัฐฯ มากขนาดนั้น”

ตอนนี้ Baidu มีธุรกิจแท๊กซี่หุ่นยนต์หรือโรโบแท็กซี่ชื่อ Apollo Go ที่เพิ่งได้ใบอนุญาตประกอบกิจการทั้งในปักกิ่ง อู่ฮั่น และฉงชิ่งในจังหวัดหยงฉวน เพื่อให้บริการแท๊กซี่ไร้คนขับในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยถึงแม้กลุ่มนี้ต้องการชิปชั้นสูง แต่ “เราก็สต็อคไว้ก่อนหน้านี้เหลือเฟือแล้ว”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/baidu-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99-%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b1/

Baidu ของจีน บอกว่ามาตรการกันส่งออกชิปของสหรัฐฯ “ก็อยู่แค่ในวงจำกัด”

ผู้บริหารของบริษัทไอทีจีน Baidu กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนระหว่างเซสชั่นตอบคำถาม ในงานประชุมนักลงทุนประจำไตรมาสที่สาม ระบุบริษัทคาดว่าผลกระทบจากมาตรการกีดกันการส่งออกชิปจากสหรัฐฯ ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา จะ “มีแค่ในวงจำกัด”

มาตรการของสหรัฐฯ นี้เป็นการควบคุมการส่งออกที่จำกัดธุรกิจในประเทศสำหรับการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์เครื่องมือทำชิปไปยังผู้ผลิตชิปของจีน คุณ Dou Shen รองประธานบริหารและหัวหน้ากลุ่ม AI Cloud ของ Baidu กล่าวว่า “ในช่วงใกล้ๆ นี้ คิดว่าผลกระทบไม่ได้มีมากมายเท่าไร”

เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับผลของมาตรการที่อาจกระทบความสามารถในการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงและ AI โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่จำเป็นต้องใช้ชิปสำหรับ AI ชั้นสูง เขาย้ำว่า “ทั้งธุรกิจ AI Cloud และ AI อื่นๆ ไม่ได้พึ่งพาชิปชั้นสูงจากสหรัฐฯ มากขนาดนั้น”

ตอนนี้ Baidu มีธุรกิจแท๊กซี่หุ่นยนต์หรือโรโบแท็กซี่ชื่อ Apollo Go ที่เพิ่งได้ใบอนุญาตประกอบกิจการทั้งในปักกิ่ง อู่ฮั่น และฉงชิ่งในจังหวัดหยงฉวน เพื่อให้บริการแท๊กซี่ไร้คนขับในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยถึงแม้กลุ่มนี้ต้องการชิปชั้นสูง แต่ “เราก็สต็อคไว้ก่อนหน้านี้เหลือเฟือแล้ว”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/baidu-china-say-limited-chip/