คลังเก็บป้ายกำกับ: EDUCATION

NASA จับมือ Minecraft ออกบทเรียนสอนเรื่องสร้างจรวด-ยิงจรวด Artemis ไปดวงจันทร์

NASA จับมือกับ Minecraft ออกบทเรียนให้ผู้สนใจภารกิจยิงจรวดไปดวงจันทร์ Artemis สัมผัสประสบการณ์ได้ในเกม Minecraft

  • Artemis: Rocket Build เรียนเรื่องการออกแบบจรวด Artemis ทั้งในแง่ฟิสิกส์ (กฎของนิวตันในการดันจรวดขึ้นฟ้า) และแผนการ งบประมาณสร้างจรวด
  • Artemis: Return to the Moon เน้นการโค้ดดิ้งด้วยบล็อค MakeCode หรือ Python เพื่อนำทางยานอวกาศ Orion ไปลงดวงจันทร์ รองรับการเล่นมัลติเพลเยอร์ 4 คน

Rocket Build เล่นได้ทั้งบน Minecraft เวอร์ชันปกติและ Minecraft Education ส่วน Return to the Moon เล่นได้เฉพาะบน Education เท่านั้น

ที่มา – NASA via IGN

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133019

Advertisement

YouTube ร่วมมือมหาวิทยาลัย Arizona เปิดโครงการเรียนมหาวิทยาลัยราคาประหยัด

YouTube ร่วมมือกับ Arizona State University (ASU) เปิดโครงการ Study Hall เรียนมหาวิทยาลัยจริงผ่าน YouTube ในราคาประหยัด

ตอนนี้ยังมีวิชาเปิดในโครงการนี้เพียง 4 วิชา ได้แก่ English Composition, College Math (คณิตศาสตร์พื้นฐาน), US History (ประวัติศาสตร์สหรัฐฯ), และ Human Communication วิชาเหล่านี้เป็นวิชาปีหนึ่งทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มวิชาไปจนถึง 12 วิชาภายในปี 2025 ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บหน่วยกิตปีหนึ่งทั้งปีได้ใน YouTube

ค่าลงเรียนอยู่ที่ 25 ดอลลาร์ เมื่อลงทะเบียนเรียนแล้วจะสามารถเรียนได้เรื่อยๆ จนกว่าจะได้เกรดที่พอใจ จากนั้นสามารถจ่ายเพิ่ม 400 ดอลลาร์เพื่อนำวิชาใส่ในทรานสคริปต์ตัวจริงเพื่อไปเรียนที่ ASU หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ยอมรับเกรดของ ASU ได้ทั้งสิ้น

ASU มีโครงการ Universal Learner Courses ของตัวเองที่รูปแบบคล้ายกับโครงการนี้อยู่ก่อนแล้ว และก็สามารถนำเกรดไปใช้ได้จริงเหมือนกัน

ที่มา – YouTube

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132422

มหาวิทยาลัยระดับท็อป UT Austin เปิด ป.โท สาขา AI เรียนออนไลน์ ราคาถูกกว่าที่อื่น 5-10 เท่า

University of Texas at Austin (UT Austin) เปิดหลักสูตรปริญญาโทด้าน AI เป็นหลักสูตรออนไลน์ 100% ผ่านแพลตฟอร์ม EdX ด้วยค่าเรียนประมาณ 10,000 ดอลลาร์ (ราว 3.3 แสนบาท) ต่อระยะเวลา 2 ปี ถือเป็นมหาวิทยาลัยระดับท็อปด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์รายแรกๆ ที่เปิดคอร์ส AI แบบออนไลน์ราคาถูกขนาดนี้

University of Texas at Austin เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน Top 10 ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกา (อ้างอิงจากอันดับ US News) ตัวอย่างศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการไอทีคือ Michael Dell (เรียนไม่จบ) และ John Hanke ผู้สร้าง Google Earth

หลักสูตรนี้เป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงานภายในคือ Department of Computer Science, Machine Learning Laboratory, the Master of Science in Artificial Intelligence (MSAI) เนื้อหาที่สอนครอบคลุมเรื่อง machine learning, deep learning, natural language processing, optimization, reinforcement learning ค่าเรียนประมาณ 10,000 ดอลลาร์ ถูกกว่าคอร์สปริญญาโทออนไลน์ของสถาบันระดับเดียวกัน 5-10 เท่า (คอร์สปริญญาโท AI แบบออนไลน์ของ Johns Hopkins University ราคา 45,000 ดอลลาร์)

ก่อนหน้านี้ University of Texas at Austin เปิดคอร์สปริญญาโทออนไลน์สาขา Computer Science และ Data Science มาแล้ว ใช้โมเดลคอร์สราคาถูกลักษณะเดียวกัน และมีผู้เรียนรวม 2,500 รายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นแนวทางการผลิตบุคลากรในสาขาที่มีความต้องการสูง ในราคาที่เข้าถึงได้

คอร์สจะเปิดรับสมัครเดือนมิถุนายน 2023 และเริ่มเรียนช่วงฤดูใบไม้ผลิต้นปี 2024 รายละเอียดคอร์สและหลักสูตร

ที่มา – University of Texas at Austin

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132400

รู้จัก Equality Marketing วิธีสร้างแบรนด์ด้วยความเท่าเทียม ที่เซ็นทรัลเดินหน้าตั้งแต่ต้นปี 2023

กลยุทธ์การทำธุรกิจเพื่อสังคมเริ่มถูกขับเคลื่อนจากหลายองค์กร หนึ่งในนั้นคือ บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC ที่ประเดิมปี 2023 ด้วยแผน Equality Marketing หรือแผนการตลาดที่เน้นเรื่องความเท่าเทียม

CRC เลือกสื่อสารแบรนด์ผ่านเรื่องความเท่าเทียมด้วยแคมเปญ Thematic ประเดิมด้วยโครงการ Gift to Gifted ที่ให้ทุนการศึกษาผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

แคมเปญดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์เรื่ององค์กร Green & Sustainable Retail กับ CRC อย่างไร และการศึกษาเชื่อมโยงตรงไหนของการทำธุรกิจโดยยึด ESG ติดตามกันได้ในบรรทัดถัดจากนี้

CRC

CRC กับการเดินหน้าแผน ESG

ปิยวรรณ ลีละสมภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบัน CRC เริ่มเดินหน้าแผน Equality Marketing หรือการตลาดที่เน้นความเท่าเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจที่เน้นเรื่อง ESG

“Equality Markting เป็นการตลาดแนวใหม่ เน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องต่าง ๆ เพราะถ้าไม่รีบแก้ไข ความห่างระหว่างคนรวย กับคนจนจะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ และ CRC อยากเอาตัวเองไปอยู่ตรงกลางเพื่อลดช่องว่างดังกล่าวให้แคบลง”

เบื้องต้น CRC ทำแคมเปญ Thematic ที่เน้นสนับสนุนเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ เริ่มต้นปี 2023 ด้วยโครงการ Gift to Gifted เด็กเก่ง แจ้งเกิด ผ่านการร่วมมือกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เพื่อเป็นตัวกลางผ่านการกระตุ้นให้คนทั่วไปสนับสนุนเด็ก ๆ ที่ขาดแคลนทุนในการศึกษา

ทำสื่อช่วยกระตุ้นการสมทบทุนการศึกษา

สำหรับโครงการ Gift to Gifted ทาง CRC มีการพัฒนาสื่อโฆษณาที่นำเสนอความฝันของเด็ก 4 คน ที่มีพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ เช่น การเล่นดนตรี, การวาดภาพ และการประดิษฐ์ เป็นต้น โดยสื่อดังกล่าวมีการเผยแพร่ในช่องทางป้ายโฆษณาในจุดต่าง ๆ รวมถึงช่องทางออนไลน์

“โครงการ Gift to Gifted ถือเป็นหนึ่งในแผนการทำธุรกิจโดยเน้นเรื่อง ESG โดยโครงการดังกล่าวจะอยู่ในส่วน S หรือ Social ผ่านการสนับสนุนการศึกษาให้มีความเท่าเทียม และสร้างคนที่มีคุณภาพขึ้นมาในสังคมไทย ไม่ให้มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

ต่อยอดด้วยการจำหน่ายสินค้า และทำกิจกรรมต่าง ๆ

ทั้งนี้ CRC ยังเตรียมนำสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงงานศิลปะต่าง ๆ ของเด็กทั้ง 4 คนมาต่อยอดเป็นการจำหน่ายสินค้า และการทำกิจกรรมทางการตลาดในมุมอื่นร่วมกัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กรุ่นใหม่ และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของ CRC ในอนาคต

สรุป

กระแส ESG เกิดขึ้นในทุกองค์กร เพราะปัจจุบันผู้บริโภคใส่ใจกับเรื่องสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นถ้าองค์กรใดยังไม่เดินหน้า โอกาสที่ภาพจำเรื่ององค์ที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืนจะไม่มีในผู้บริโภครุ่นใหม่ก็มีสูง จึงไม่แปลกที่องค์กรชั้นนำในไทย และโลก ต่างเดินหน้ากลยุทธ์ธุรกิจ ESG อย่างจริงจัง

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รู้จัก Equality Marketing วิธีสร้างแบรนด์ด้วยความเท่าเทียม ที่เซ็นทรัลเดินหน้าตั้งแต่ต้นปี 2023 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/crc-equality-marketing-2023/

คุยกับ Emmanuel Pillai หัวหน้าฝ่ายเทรนนิ่งของ AWS ภูมิภาคอาเซียน กับทิศทางการเพิ่มทักษะคลาวด์ให้แรงงานในไทย

ในงาน AWS re:Invent 2022 นอกจากเราจะได้พูดคุยกับคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ เรื่องการเปิดรีเจี้ยนของ AWS ในประเทศไทยแล้ว เรายังได้พูดคุยกับ Emmanuel Pillai หัวหน้าฝ่ายเทรนนิ่งและการสอบรับรองของ AWS ประจำภูมิภาคอาเซียน (Head of AWS Training and Certification for ASEAN) เกี่ยวกับทิศทางการเพิ่มทักษะด้านคลาวด์ให้แรงงานในประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้คลาวด์ที่จะเพิ่มมากขึ้นในประเทศ ตอบรับการเข้ามาเปิดรีเจี้ยนในประเทศไทยของ AWS

Emmanuel อยู่ในตำแหน่งนี้มานาน 3 ปีแล้ว โดยประจำอยู่ที่สิงคโปร์ เขาดูแลด้านการเทรนนิ่งโดยโฟกัสกับชาติอาเซียนโดยเฉพาะ ซึ่งเขาระบุว่าจากการศึกษาเมื่อปี 2021 พบว่ามีแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากถึง 86 ล้านคนต้องถูก reskill หรือก็คือการเรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อเปลี่ยนสายงาน เฉพาะในสิงคโปร์ก็มีถึง 6 แสนคนที่ต้อง reskill เพื่อตามให้ทันนวัตกรรมใหม่ๆ โดย AWS ก็ทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับคนทุกวัยตั้งแต่เด็กอายุ 12-14 ปี, นักศึกษา ไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่อยู่ในสายงานไอทีอยู่แล้วแต่ต้องการเปลี่ยนมาทำงานด้านคลาวด์ และผู้ที่อยู่ในสายงานอื่นเลย เช่นการเงิน แต่สนใจเปลี่ยนมาทำงานสายไอที (แม้แต่ตัว Emmanuel เองก็เรียนจบมาทางด้านเคมี แต่ก็ย้ายมาทำงานใน AWS ได้) โดยล่าสุด AWS ได้อบรมแรงงานไปแล้วกว่า 7 แสนคนเฉพาะในอาเซียน

alt="JWCM1R.jpg"Emmanuel Pillai – Head of AWS Training and Certification for ASEAN

เขาระบุว่า AWS จะลงทุนในประเทศไทย 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.75 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งจะทำงานร่วมกับภาครัฐ, ภาคเอกชน ไปจนถึงสถาบันการศึกษา โดยเขายกตัวอย่างการร่วมมือระหว่าง AWS กับกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่ง AWS ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าจะอบรมเจ้าหน้าที่รัฐราว 1,200 คนเพื่อให้รัฐบาลไทยเริ่มใช้คลาวด์ได้เร็วขึ้น และเขายังยกตัวอย่างว่าในอินโดนีเซียที่ AWS เปิดรีเจี้ยนไปเมื่อปี 2019 ก็ได้อบรมแรงงานชาวอินโดนีเซียไปแล้วกว่า 3 แสนคน ซึ่ง AWS ก็เล็งจะทำอย่างเดียวกันกับประเทศไทย แต่ยังไม่มีการประกาศเป้าหมายออกมาว่าจะอบรมเป็นจำนวนเท่าไร

นอกจากนี้ยังมีโครงการ AWS Academy ที่มีบทเรียนฟรีเปิดให้อาจารย์และครูเข้ามาดึงเนื้อหาไปใช้ในหลักสูตรได้เลย โดยในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาจำนวน 15 แห่ง เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการ AWS Academy แล้ว (รายชื่อสถาบันการศึกษาทั้งหมด)

alt="JWu7kZ.png"

AWS ยังมีเนื้อหาบทเรียนสำหรับเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง โดยขณะนี้มีวิดีโอกว่า 30 เรื่องที่เป็นภาษาไทย และ AWS เล็งจะเพิ่มเนื้อหาภาษาไทยให้มากขึ้นในอนาคต ซึ่ง Emmanuel ยกตัวอย่างว่า AWS มีวิดีโอบทเรียนกว่า 500 เรื่องที่เป็นภาษาเกาหลีและจีน

เมื่อถูกถามว่า AWS ตั้งเป้าจะเพิ่มทักษะด้านไหนเป็นพิเศษบ้าง Emmanuel ก็ตอบว่าจากการศึกษาโดย AlphaBeta เห็นว่าทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดสูงสุด 5 อย่าง เกี่ยวข้องกับคลาวด์ไปแล้ว 3 อย่าง คือทักษะในการใช้เครื่องมืออย่าง CRM และ Spreadsheet อีกอย่างคือทักษะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และอย่างสุดท้ายคือทักษะการไมเกรตจาก on-premise ไปคลาวด์ ซึ่ง AWS ก็ตั้งเป้าจะเพิ่มทักษะในด้านเหล่านี้ รวมถึงหัวข้อที่ลงลึกไปอีก เช่น AI/ML และการวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ AWS ก็ยังเตรียมการสอบรับรอง (Certification) ไว้ด้วยเพื่อเป็นการวัดผลที่เป็นรูปธรรม รวมถึง AWS ยังมีเนื้อหาสำหรับผู้ทำงานแต่ละสาย เช่น Solution Architect ก็จะมีหลักสูตรที่เหมาะสมไว้ให้ อีกทั้ง AWS ก็ยังมี Cloud Quest ที่เป็นเกมให้ผู้เล่นเข้ามาทำเควสเรียนตามเส้นทางที่สนใจ และในงาน re:Invent ปีนี้ได้เปิดตัว Industry Quest เพิ่มมา โดยเป็นหลักสูตรสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมแรกที่เปิดตัวคือด้านบริการทางการเงิน (FSI – Financial Service Industry)

Emmanuel ระบุว่าในอาเซียนยังมีช่องว่างทางทักษะด้านดิจิทัลอยู่อีกมาก โดยผู้ที่ทำงานสายเทคโนโลยี 85% เคยเข้าร่วมการอบรมในสายงานตนเองในเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แต่แรงงานฝั่งที่ไม่ได้อยู่สายเทคโนโลยีกลับเคยเข้าร่วมอบรมเพียง 45% เท่านั้น แต่หากคนกลุ่มนี้ได้รับการอบรม 90% จะบอกว่ามีโอกาสได้งานมากขึ้น ซึ่ง AWS ก็ต้องการเข้ามาเติมเต็มช่องว่างด้านทักษะเหล่านี้

นอกจากนี้ AWS ยังดำเนินโครงการ re/Start ในอินโดนีเซียและสิงคโปร์ โดยนำผู้ว่างงานหรือผู้ที่ทำงานไม่เต็มเวลาจากนอกสายงานเทคโนโลยีเข้ามารับการอบรมทักษะคลาวด์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พร้อมช่วยหาผู้จ้างงานด้วย ผลคือแรงงานเหล่านี้ได้งานใหม่ถึง 90% เลยทีเดียว

AWS ยังมีแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อีกตัวที่ได้รับความนิยมสูงคือ Skill Builder โดยมีคอร์สฟรีให้เรียนกว่า 500 หลักสูตร แต่หากต้องการทำแล็บ, เข้าคอร์สเตรียมสอบใบรับรอง, เล่นเกม AWS Industry Quest ที่เพิ่งเปิดตัว และอื่นๆ ต้องสมัครสมาชิกเดือนละ 29 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,000 บาท) หรือปีละ 299 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10,500 บาท)

alt="JWuVne.png"

Emmanuel กล่าวว่าปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับการอบรมเพิ่มทักษะในภูมิภาคอาเซียนคืออินเทอร์เน็ตที่อาจจะไม่ทั่วถึงนักในพื้นที่ห่างไกล ซึ่ง AWS ก็ทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตด้วย ส่วนความท้าทายอีกอย่างคือการที่นายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง แต่กลับไม่ค่อยลงทุนเพิ่มทักษะให้แรงงานมากเท่าที่ควร AWS จึงอยากเรียกร้องให้ทั้งนายจ้างและภาครัฐทำงานร่วมกันเพื่อลงทุนเสริมสร้างทักษะให้แรงงาน อีกทั้งยังมีความท้าทายในแรงงานที่รู้ว่าตนเองยังขาดทักษะ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน ซึ่ง AWS ก็มีหลักสูตรที่ทำมาเป็น role-based หรือก็คือหลักสูตรสำหรับแต่ละสายงานวางเป็นขั้นให้ว่าสายงานนี้ควรเรียนอะไรบ้าง

Emmanuel กล่าวปิดท้ายว่าสำหรับประเทศไทยที่ AWS กำลังจะเปิดรีเจี้ยนและตั้งเป้าลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการเพิ่มทักษะต่างๆ ที่มีในประเทศอื่นจะเข้ามายังประเทศไทยแน่นอน

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/131906

GoodNotes เปิดให้ใช้งานบน Windows ได้แล้ว โหลดฟรี! ตอนนี้เป็นเวอร์ชัน Beta

GoodNotes ✍️ แอปจดโน้ต เลคเชอร์ ที่ใช้งานได้ในระบบ iOS […] More

from:https://www.iphonemod.net/goodnotes-for-windows-is-now-in-beta.html

“ถ้าจบไม่ตรงสาย จะเป็น Developer ได้ยังไง” กับคุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone

งานนักพัฒนาอย่าง Developer หรือ Software Engineer กำลังได้รับความนิยม เงินเดือนก็ค่อนข้างสูง แต่จบไม่ตรงสาย จะเปลี่ยนมาสายนี้ได้อย่างไร คำถามนี้น่ากลายเป็นหนึ่งคำถามยอดฮิตไปแล้วในปัจจุบัน

คุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone และ CTO ของ MFEC บริษัทให้คำปรึกษา พัฒนาและวางระบบไอทีองค์กรชั้นนำของไทย ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบมาทางสาย Computer Science แต่มีความสนใจจะพัฒนาทักษะด้านโปรแกรมมิ่ง ไปจนถึงหางานด้านนี้อย่างจริงจัง

No Description

คิดว่าคนที่จบไม่ตรงสายและอยากเป็น Dev ควรจะเริ่มต้นยังไงดี?

ลองเริ่มต้นเขียนโค้ดและรันโปรแกรมดูเลยว่าชอบไหมและเข้ากับเราไหม เช่น ทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มฝึกเขียนโปรแกรมอย่าง CodeWars หรือ IDE ออนไลน์อย่าง CodePen เราสามารถลงมือทำเลยได้เพราะปัจจุบันการซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องเล็กลง คอมพิวเตอร์อยู่กับเราในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และราคาก็ไม่แพงเหมือนเมื่อก่อน

อีกอย่างหนึ่งคือการลองลงคอร์สเรียนระยะสั้นหรือคลิปวิดีโอ Tutorial ต่าง ๆ ใน YouTube ที่มีอยู่แล้วและฟรีค่อนข้างเยอะ หรือถ้าจะซื้อคอร์สเรียนที่ต้องเสียเงินก็หาได้ง่าย

ส่วนถ้าเราลองเรียนคอร์ส Basic Programming ซักคอร์สนึงไม่ยาวนัก ก็เป็นจุดเริ่มต้นอีกส่วนที่ดีและมีราคาไม่แพง ถ้ารู้สึกว่ายังไม่ใช่ ให้ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเราอาจจะต้องการคอร์สที่มีคนช่วยแนะนำและสามารถถามตอบคำถามระหว่างทางหากเราติดปัญหา ซึ่งราคาอาจจะสูงหน่อยซักประมาณ 10,000-20,000 บาทหรือเรียน onsite ราว 50,000-100,000 บาท แต่การเรียนคอร์สแบบนี้ก็จำเป็นที่จะต้องคิดให้มากขึ้น

ก่อนฝึกโค้ดดิ้งหรือลงเรียนสักภาษา ควรทำความเข้าใจภาพรวมของการทำงานคอมพิวเตอร์ก่อนไหม เช่น ระบบ binary การคอมไพล์ต่างๆ เพื่อปูพื้นแบบ 0 ก่อนไป 1

อันนี้เป็นเรื่องที่เถียงกันยังไม่จบว่าเราควรให้คนเรียนแบบ top-down หรือ bottom-up กันดี มุมมองของคุณลิ่วคือไม่จำเป็นนัก เราสามารถสอนให้คนเข้าใจการควบคุมคอมพิวเตอร์ได้โดยคนควบคุมไม่ต้องเข้าใจคอมพิวเตอร์ไปทั้งหมดว่าภายในมันทำงานอย่างไร และความเข้าใจอย่างจำกัดก็สร้างมูลค่าได้แล้ว

No Description

เรื่องการคิด algorithm รู้สึกมันเหมือนการทำโจทย์เลขที่อาจต้องใช้ความคุ้นเคยและคลุกคลีกับมันบ่อยๆ ควรฝึกควบคู่ไปกับการเรียนภาษาโค้ดดิ้งแค่ไหน อย่างไร

ถ้าโจทย์แบบ algorithm เพียวๆ หลายคนอาจจะเรียกว่า leetcode ล้อไปกับชื่อเว็บฝึกเขียนโปรแกรมชื่อดังที่ใช้ฝึกสัมภาษณ์งานบริษัทใหญ่ๆ คุณลิ่วแนะนำว่า ถ้าเป็นคนทำงานเขียนโปรแกรมอยู่แล้วก็ควรฝึกพวกนี้เป็นช่วง ๆ เพราะหลายครั้ง การฝึกพวกนี้ต้องคลุกคลี การฝึกเป็นช่วง ๆ จะทำให้เราเจอปัญหาใหม่ ๆ แล้วนึกออกว่าถ้าจะแปลงปัญหาให้กลายเป็นคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจจะแปลงอย่างไร

อย่างไรก็ตาม คุณลิ่วบอกว่าไม่น่าจะต้องกังวลกับการออปติไมซ์ หรือต้องเขียนโปรแกรมให้ทำงานเร็วที่สุด งานส่วนมากไม่ต้องการความรู้ algorithm ขนาดนั้น ขนาดข้อมูลที่เจอ ถ้าไม่ใช่องค์กรขนาดใหญ่จริงๆ เช่น ธนาคาร เราอาจจะไม่ได้เจอปัญหาระดับที่ต้องออปติไมซ์มาก แม้จะเขียนไม่ดีไปบ้างแต่ก็พอชดเชยด้วยการขยายขนาดเซิร์ฟเวอร์ไปได้ แต่แน่นอนว่าคนที่ทำได้ดีก็ได้เปรียบในงานที่ยากขึ้นไปมากกว่า ถ้าฝึกข้อยากๆ ได้ก็ฝึก แต่คุณลิ่วมองว่าทำข้อระดับที่ไม่ยากมากแต่ฝึกเพื่อให้ใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว เข้าใจข้อจำกัดและฟีเจอร์ของภาษาได้ดีก็เพียงพอกับการทำงานส่วนมาก

อีกจุดหนึ่งคือแพลตฟอร์มฝึกเขียนโปรแกรมอย่าง LeetCode หรือ ​CodeWar นั้นเมื่อเราทำโจทย์เสร็จแล้ว ตัวแพลตฟอร์มจะมีเฉลยที่เขียนมาเป็นอย่างดีให้อ่าน ทำให้ได้เรียนรู้โค้ดจากคนอื่น เราอาจจะไม่เคยรู้ว่าภาษาที่เราใช้มีฟังก์ชั่นในตัวที่ไม่ต้องเขียนเอง หรือเทคนิคการเขียนบางอย่างที่ไม่ใช่แค่โค้ดเร็วขึ้น แต่อาจจะทำให้โค้ดสวยขึ้น อ่านง่ายขึ้นอีกด้วย

No Description

กระบวนการเรียนรู้ควรเป็นยังไง? หรือจะเลือกคอร์สเรียนยังไงดี?

เลือกวิธีเรียนให้เหมาะกับรูปแบบที่ตัวเองชอบ บางคนชอบฟัง Lecture หรือดูคนสอนทางวิดีโอ บางคนชอบอ่านเองจะได้ปรับระดับความเร็ว-ช้าในการเรียนได้ แต่การอ่านหนังสือก็จะมีข้อจำกัดเพราะอาจข้ามขั้นตอนไปบ้างทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ส่วนการดูวิดีโอเราจะเห็นทุกขั้นตอนในการทำอยู่แล้ว

ส่วนเวลาที่เรามีคำถามและค้นหาใน Google โดยเฉพาะใน Stack Overflow ต้องระวังปัญหาอย่างนึงคือการสนใจแค่การหาคำตอบและ Copy & Paste คำสั่งมา แต่กลับไม่สามารถทำความเข้าใจว่าคำตอบที่คนมาตอบเขาเสนอแนวทางมาให้นั้นเขากำลังทำอะไร ทำให้หลายคนมองการเขียนโปรแกรมกลายเป็นการลองหาเฉลยมาลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผลที่ต้องการ แต่กลับมองข้ามข้อสำคัญคือการ Copy & Paste คำตอบนั้นเราต้องการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่เคยเจอปัญหาเดียวกับเราว่าเขาแก้ปัญหาอย่างไรหากเราเข้าใจเราก็จะปรับเปลี่ยนได้เวลาที่เราเจอปัญหาใหม่ ๆ หรือได้โจทย์ใหม่ ๆ ซึ่งการประยุกต์ใช้เป็นเรื่องสำคัญเพราะงานโปรแกรมมิ่งถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์

การค้นหาคำตอบโดยไม่พยายามเข้าใจคอนเซปต์ว่าแต่ละอันมีที่มาที่ไปยังไงเชื่อมโยงไปถึงการศึกษาไทยที่เน้นการให้คำตอบมากกว่ากระบวนการคิดด้วย

เลือกเรียนภาษาโปรแกรมมิ่งจากอะไร?

ภาษาที่เลือกเรียนจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเจองานประเภทไหน เพราะฉะนั้นคนที่สนใจควรศึกษางานที่ต้องการทำก่อน แต่แนะนำว่าในช่วงแรก ควรเลือกเรียนแค่ภาษาใดภาษาหนึ่งก่อน

ภาษายุคใหม่ส่วนมากจะเป็น JavaScript และ TypeScript เพราะเป็นภาษาที่มีคนใช้เยอะและมักใช้กับการทำงานเป็น Full Stack Developer แต่งานจำนวนมากในโลกความเป็นจริงก็ยังใช้ภาษา PHP กันเยอะมากทั้งงานเว็บและอีคอมเมิร์ชทั้งหลาย ถ้าทำงานในระดับองค์กรก็ใช้ Java ส่วนด้าน Data หรือ AI นั้นก็แทบจะจำเป็นต้องเรียนภาษา Python ยืนพื้นไว้

ข่าวดีก็คือในตลาดแรงงานยังขาด Developer ในทุก ๆ ภาษาอยู่ และภาษาโปรแกรมมิ่งต่าง ๆ ก็มักมีแนวคิดที่หยิบยืมกันไปมาได้ การเรียนภาษาใหม่หลังจากคล่องภาษาแรกแล้วจึงง่ายขึ้นพอสมควร

หลังจากภาษาได้แล้ว เข้าใจ syntax แก้ปัญหาต่าง ๆ แล้ว ควรเรียนรู้อะไรต่อ เช่น เฟรมเวิร์ค ทูลส์ต่างๆ

โดยทั่วไปแล้วการทำงานมักจะไม่สามารถหยุดที่การเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง ยกตัวอย่าง ถ้าคนอยากทำงาน Full Stack Developer เราอาจจะเขียน TypeScript ได้คล่องพอสมควรก็ต้องไปเรียน SQL ต่อ สำหรับเฟรมเวิร์คต่าง ๆ ถ้าตอนนี้เองที่ครองตลาดอยู่ก็คงเป็น React หรือ Vue ก็สามารถเลือกฝึกได้

สำหรับคนทำเว็บไซต์ เครื่องมือหนึ่งที่ควรฝึกให้คล่อง ๆ คือ Inspector Tools ในเบราว์เซอร์เราเอง เพื่อให้เราตอบคำถามได้ว่าเบราว์เซอร์เราส่งข้อมูลอะไรไปกลับเซิร์ฟเวอร์บ้าง

เครื่องมือที่ควรเรียนค่อนข้างแน่นอนทุกวันนี้ เช่น Git หรือ Docker/Docker-Compose ก็เป็นสิ่งที่ Developer หนีกันไม่พ้น

Soft Skills อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์และคนจบไม่ตรงสายสามารถพัฒนาได้?

ทักษะที่เป็นประโยชน์กับการเป็น Developer อย่างแรกคือการทำงานด้วยความแม่นยำและความชัดเจน เพราะการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานกับอุปกรณ์ที่ทำงานแบบตายตัว การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เลยไม่เหมือนกับการสื่อสารกับคนปกติที่ไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น เวลามีปัญหาเราต้องอธิบายปัญหาในรูปแบบที่ชัดเจนที่สุด ไม่ใช่แค่บอกว่ารันโค้ดแล้วคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน ถ้าเราขอความช่วยเหลือในอินเทอร์เน็ต เราจำเป็นต้องบอก error code ตรง ๆ ต้องบอกขั้นตอนการทำงานว่าทำอย่างไรจึงเกิด error นั้น เราไม่สามารถสื่อสารได้ว่า มันทำไม่ได้ หรือบอกว่าเราเจอ error โดยไม่บอกว่า error อะไร

การฝึกสังเกตและความละเอียดก็เป็น Soft Skills อีกอย่างหนึ่ง อย่างถ้าเกิด error ขึ้น เราต้องดูสิ่งที่โชว์บนหน้าจอให้ละเอียดจะได้รายงานปัญหาได้ถูก และต้องรู้วิธีสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ รู้ว่าเวลามีปัญหาแล้วเราต้องจัดการยังไง

No Description

คนที่จบไม่ตรงสายจะเตรียมความพร้อมยังไงให้เป็น Candidate ที่น่าสนใจพอ ๆ กับคนที่จบตรงสาย?

ถ้านับงานเฉพาะด้านแล้ว คนจบตรงสายไม่ได้ได้เปรียบขนาดนั้นเพราะเทคโนโลยีที่ใช้งานมักต้องการความเชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีบางตัว เช่น React, NodeJS ที่ได้รับความนิยมทุกวันนี้ หรืองานจำนวนมากต้องการผู้ที่ปรับแต่ง WordPress ได้คล่อง ๆ ซึ่งไม่ใช้ความรู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยนัก แม้แต่มหาวิทยาลัยเองก็เริ่มปรับหลักสูตรมากขึ้น ช่วงหลังเราเริ่มเห็นวิชาที่สอนเนื้อหาตรงเพื่อใช้ในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น บางที่ก็มีวิชาที่สามารถนำไปใช้ทำงานเป็น Full Stack Developer ที่กำลังได้รับความนิยม โดยรวมก็เป็นคำถามว่าการออกแบบหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยควรจะมีวิชาพื้นฐานเยอะ ๆ หรือจะเน้นไปที่ทักษะที่ได้ใช้ในการทำงานโดยตรง

ส่วนคนจบไม่ตรงสายแล้วมาเรียนเปลี่ยนสายงานสามารถเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่ตรงกับการทำงานจริงๆ อาจจะสามารถเรียนจบภายใน 3 เดือนก็ได้

ทั้งนี้ เมื่อเจองานที่ลึกมากขึ้น ตรงนี้คนจบตรงสายจะได้เปรียบมากกว่า เช่น ถ้าโจทย์คือการสร้างเว็บไซต์ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมาก ๆ คนจบตรงสายจะรู้วิธีสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าเพราะรู้เรื่องการทำงานและเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ไม่ได้รู้แค่งานเฉพาะด้าน เช่น การเขียนโปรแกรม อย่าง Front End หรือ Back End เท่านั้น แต่สามารถทำความเข้าใจว่าคอขวดของการทำงานคืออะไร หรืออย่างประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ คนที่เข้าใจพื้นฐานของโปรโตคอลต่าง ๆ ก็จะเห็นภาพได้ง่ายกว่าว่าคนร้ายโจมตีอย่างไร จุดใด หรือเข้าใจระบบป้องกันต่าง ๆ เช่น ไฟร์วอลล์นั้นทำงานอย่างไร จนสามารถออกแบบหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ทำงานร่วมกับระบบเหล่านั้นได้ดีขึ้น

คนที่จบไม่ตรงสายเมื่อต้องการทำงานที่ลึกขึ้นอาจจะต้องกลับไปเรียนความรู้พื้นฐานไปด้วยขณะที่ทำงาน ซึ่งอาจจะใช้เวลามากหน่อย ไม่ใช่เหมือนตอนเรียนเขียนโปรแกรมที่จบ 3 เดือนแล้วทำงานได้เลย

No Description

ปัญหาที่คนไม่ได้จบตรงสายอาจจะเจอมีอะไรบ้าง และจะแก้ได้ยังไง?

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าการเรียนคอร์สเฉพาะทางเพื่อเขียนโปรแกรมทำให้สามารถเริ่มทำงานได้เลยก็จริง แต่มักมีปัญหาจากการขาดความรู้พื้นฐานบางอย่าง ทำให้มีข้อจำกัดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการที่เราจะไม่รู้ว่าปัญหานั้น ๆ เกิดขึ้นมาจากส่วนไหน บางครั้งอาจจะอธิบายปัญหาด้วยคำเรียกเฉพาะทางไม่ถูก เช่น ทำเว็บได้แต่ไม่ได้เข้าใจว่า HTTP Request หน้าตาเป็นอย่างไร เห็น error แล้วแต่บอกไม่ได้ว่า error มันเกิดจากตรงไหน

วิธีแก้ปัญหาคือต้องไปหาความรู้พื้นฐานมากขึ้นระหว่างทำงานไปด้วย ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มีโครงการเปิดให้คนทำงานลงเรียนบางวิชากันได้แล้ว

เป็นไปได้ไหมที่คนจบไม่ตรงสายจะเก่งเท่าหรือเก่งกว่าคนที่จบตรงสาย?

เป็นไปได้ เพราะถ้าเราทำงานกับเรื่องเฉพาะทางที่เราทำอยู่ตลอด เราก็จะทำงานได้คล่องกว่าและดีกว่า ยกตัวอย่างคนเรียนตรงสายอาจจะได้ใช้ React อยู่เทอมเดียว แต่คนจบไม่ตรงสายอาจจะเรียนทำเว็บอย่างเดียว 3 เดือนเต็ม เจอ error ทุกรูปแบบ ทำให้แก้ปัญหามาทุกรูปแบบก็ทำให้จัดการกับงานได้คล่องกว่า

มองว่าอนาคตของสาย Developer จะเป็นอย่างไรบ้าง

คำว่า Developer จะถูกใช้เยอะขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบันก็มีคนจบไม่ตรงสายที่เรียนเขียนโปรแกรมมากขึ้นและจะมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งในอนาคตน่าจะมีเทคโนโลยีที่ทำให้การเขียนโค้ดเป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่างตอนนี้ที่มีการเอา AI มาช่วยเขียนโค้ด ทำให้คนเข้าถึงการสายงาน Developer ได้มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ตำแหน่งงานในสายอื่นอาจจะควบตำแหน่ง Developer มากขึ้นเรื่อย ๆ ในบางระดับ อย่างทุกวันนี้เองเราเห็นการใช้งาน Excel กับซับซ้อนมากในโลกธุรกิจ ซึ่งคนพัฒนาไฟล์ Excel เหล่านั้นก็มักไม่ใช่คนจบคอมพิวเตอร์โดยตรงเหมือนกัน รูปแบบเดียวกันนี้ในอนาคตคนทำงานที่เชี่ยวชาญหน้าที่เฉพาะอื่น ๆ ก็น่าจะมีเครื่องมือที่ทำให้ทำงานเหมือนเป็นคนพัฒนาซอฟต์แวร์ไปในตัว คนทำงานตำแหน่งต่าง ๆ จะควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น จนหลายครั้งก็กลายเป็นซอฟต์แวร์เต็มตัวใช้งานกันในองค์กร

ในช่วงนี้ก็เริ่มมีกระแส No Code/ Low Code เข้ามาด้วยที่ทำให้เราสามารถเขียนโค้ดจำนวนน้อย ๆ แบบเดียวกับการใช้ Excel แต่สร้างซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยที่ตำแหน่งของเขาอาจจะไม่ใช่ Developer โดยตรง

สำหรับ Developer แบบเต็มเวลาจริง ๆ ก็จะเจอกับความเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น เราอาจจะต้องเตรียมตัวว่าภาษาหรือเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมสูงอยู่ช่วงหนึ่งอาจจะเปลี่ยนไปภายในเวลาไม่กี่ปี แล้วเราก็ต้องเรียน stack ใหม่อีกครั้ง แต่ความเปลี่ยนแปลงแบบนี้ก็อาจจะไม่จริงกับทุกคนนัก ทุกวันนี้บริการจำนวนมากที่เราใช้งานกันก็ยังเป็นเทคโนโลยีเดิม ๆ ที่ใช้มาแล้วหลายสิบปี PHP ยังมีการใช้งานสูงมาก หรือฐานข้อมูลที่หลายคนอาจจะตื่นเต้นกับ NoSQL กันพักใหญ่แต่ความรู้ SQL ก็ยังใช้งานกันจนทุกวันนี้ และอาจจะได้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ อยู่ดี

คำแนะนำในการหางาน โปรโมทตัวเองลง Resume เช่น อัพผลโหลดงานลง Github ฯลฯ

สำหรับคนที่ยังไม่เคยทำงานเลยคิดว่าควรเขียนให้ชัดว่าถนัดเทคโนโลยีตัวใด การอัพโหลดผลงานลง GitHub สามารถทำได้เลยและถ้าคิดว่าเป็นโปรเจคที่ใหญ่พอก็อาจจะใส่ไว้ใน Resume ได้ด้วย แต่ควรระวังว่าเราเข้าใจโปรเจคครบถ้วนดีไหม ถ้าใส่โปรเจคลงไปแต่คนสัมภาษณ์ขอเปิดโค้ดมาถาม หรือขอให้ไล่กระบวนการทำงานแล้วตอบไม่ได้ก็จะดูไม่ดี ตอนเรียนเราอาจจะแบ่งกลุ่มหรือแบ่งงานกันทำ แต่หลังจากเสร็จแล้วก็ควรรู้ว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจทั้งโปรเจคโดยเฉพาะโปรเจคที่ขนาดไม่ได้ใหญ่มากในวิชาเรียน เราอาจจะต้องลองเปิดโค้ดเพื่อนมานั่งดูให้เข้าใจว่าทำงานอย่างไรและให้เพื่อนอธิบายกันในกลุ่มให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่าทำอะไรไปบ้าง

เรื่องหนึ่งคือแพลตฟอร์มฝึกเขียนโปรแกรมอย่าง CodeWar หรืองานแข่งเขียนโปรแกรมอย่าง Google CodeJam ตลอดจนเว็บสอนเขียนโปรแกรม นั้นมักมี profile ของผู้ใช้เหมือนกัน เราสามารถใส่ข้อมูลพวกนี้เข้าไปเพื่อให้คนอ่านเห็นว่าเราเรียนอะไรมาแล้วบ้าง รูปแบบก็คล้ายๆ การแนบใบรับรองที่ได้จากการอบรม แต่คนอ่านจะเข้าไปดูโค้ดที่เราเคยเขียน หรือระดับคะแนนได้เลย

ใครที่มีประสบการณ์ด้านนี้หรือเป็น Developer / Engineer มานานแล้วมีคำแนะนำให้กับคนนอกสายที่สนใจ สามารถคอมเมนท์ไว้ได้เลยครับ

ส่วนใครที่สนใจหางานประจำด้านโปรแกรมมิ่งและด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาดูงานได้เลยที่ Blognone Jobs

from:https://www.blognone.com/node/131603

Stack Overflow เผยสถิติผู้ชมเดือนละ 100 ล้านคน, เตรียมทำหลักสูตร-ใบรับรองทักษะเขียนโปรแกรม

Prashanth Chandrasekar ซีอีโอของ Stack Overflow ให้สัมภาษณ์กับ ZDNet เล่าสถานการณ์ในปัจจุบัน และแผนธุรกิจในอนาคต

  • ตอนนี้ Stack Overflow มีคลังข้อมูลคำถาม-คำตอบด้านเทคนิครวม 50 ล้านเรื่อง มีผู้เข้าชมเดือนละ 100 ล้านคน ติด Top 50 เว็บไซต์ที่มีคนเข้าเยอะที่สุดในโลก
  • หัวข้อที่เติบโตเร็วมากคือเรื่องคลาวด์ ทั้ง AWS, Microsoft Azure, Google Cloud โดขึ้น 50% ทุกปีมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ส่วนเรื่อง containerization, cloud-native services ก็มาแรงเช่นกัน
  • โมเดลธุรกิจมีทั้งการขายโฆษณาบนหน้าเว็บ และ Stack Overflow for Teams เป็นการนำซอฟต์แวร์ถาม-ตอบมาให้บริการกับลูกค้าองค์กรที่อยากได้ชุมชนถาม-ตอบแบบเดียวกัน แต่ไม่ต้องการเผยแพร่โค้ดของตัวเองต่อสาธารณะ แล้วคิดค่าบริการแบบ SaaS ตอนนี้มีลูกค้า 15,000 ราย ตัวอย่างลูกค้ารายใหญ่คือไมโครซอฟท์
  • ไม่หวั่นว่าเทรนด์ low-code, no-code, การใช้ AI เขียนโปรแกรมจะทำให้งานโปรแกรมเมอร์ลดลง แต่กลับกันด้วยซ้ำคือคนหน้าใหม่ๆ จำเป็นต้องเข้ามาเรียนรู้วิชาเขียนโปรแกรมมากขึ้น รู้ว่าระบบต่างๆ ทำงานอย่างไร
  • เมื่อคนเข้ามาเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เรื่องเทคนิคมากขึ้น จำเป็นต้องมีใบรับรองว่ามีทักษะความสามารถมากพอสำหรับไปทำงานจริงๆ ซึ่งตอนนี้ Stack Overflow กำลังพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และใบรับรองทักษะอยู่ โดยอาศัยทรัพยากรจากบริษัทแม่ Prosus (ขายกิจการปี 2021) ที่รวม Stack Overflow อยู่ในกลุ่มธุรกิจการศึกษา และจะประกาศข้อมูลรายละเอียดต่อไป

ที่มา – ZDNet

from:https://www.blognone.com/node/131390

กระทรวง อว. เปิดตัว “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ” คนทำงานเรียนคอร์สแล้วสะสมหน่วยกิตได้ เริ่มกลางปี 2566

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประกาศโครงการนำร่องเพื่อทำ “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ” (National Credit Bank System) ให้คนทุกช่วงวัยสามารถเรียนหลักสูตรต่างๆ หรือนำประสบการณ์ทำงาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ แล้วนำขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยได้

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ระบุว่าโครงการนี้มีเพื่อสนับสนุนนโยบายเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) คนไทยทุกช่วงวัยเข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา เรียนหลักสูตรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยฝึกอบรมอื่นๆ ที่ได้รับการรับรอง แล้วมาสะสมหน่วยกิตไว้ที่ National Credit Bank System ได้

โครงการนำร่องจะเริ่มต้นช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 โดยมีมหาวิทยาลัย 4 แห่งเข้าร่วมคือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีบริษัท SkillLane สตาร์ตอัพด้านการเรียนรู้ออนไลน์ของไทย เป็นผู้พัฒนาระบบเชื่อมต่อคลังหน่วยกิตของแต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน

No Description

No Description

No Description

ภาพกราฟิกอธิบายการใช้งาน NCBS ของกระทรวง อว.

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/131007

กลุ่มอมรินทร์ เข้าซื้อหุ้น 51% ของ Dek-D คิดเป็นมูลค่าดีล 204 ล้านบาท

บริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ประกาศเข้าลงทุนในบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด คิดเป็น 51% ของหุ้นทั้งหมด โดยจะลงทุนเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 204 ล้านบาท

เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Dek-D.com ที่ดำเนินการมาแล้วกว่า 23 ปี และยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และธุรกิจคอนเทนต์ สื่อโฆษณา

กลุ่มอมรินทร์มองว่าการลงทุนนี้ จะสามารถนำมาต่อยอดกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทได้เป็นอย่างดี คาดว่าดีลทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2567

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

No Description

from:https://www.blognone.com/node/130902