คลังเก็บป้ายกำกับ: INSURTECH

[Guest Post] สถานเอกอัครราชทูตอิสเอล ขอเชิญร่วมงาน “Fintech and Insurtech: The Future of Financial Disruption” ในวันที่ 15 (ฟินเทค) – 16 ธันวาคม (อินชัวร์เทค) 2564 ทางแพลทฟอร์มออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.ilthtechcon.com

ภาคการเงินรอบตัวเรากำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คำศัพท์และแนวคิดทางการเงินใหม่ เช่น Blockchain, Defi, Embedded Finance กำลังเข้ามาเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่ความท้าทายที่สำคัญยังคงเป็นความสามารถของภาคการเงินที่มีอายุมานานในการปรับตัวให้เข้ากับภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่มาใหม่

ภาคฟินเทคของโลกกำลังเฟื่องฟูอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2564 เงินทุนทั่วโลกของสตาร์ทอัพ Fintech สูงถึง 91.5 พันล้านดอลลาร์โดยมียูนิคอร์นฟินเทคใหม่ 200 บริษัทตามข้อมูลของ CB Insights ปัจจุบันในอิสราเอลมียูนิคอร์นและ Decacorn มากกว่า 70 บริษัท และยูนิคอร์นใหม่ของอิสราเอลมากกว่า 20 บริษัทถูกเพิ่มในรายการจนถึงปี 2021

 

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Fintech and InsurtechThe Future of Financial Disruption
วันเวลา: วันพุธที่ 15 และ วันพฤหัสบดี 16 ธันวาคม 2021 เวลา 14:00 – 16:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงก์ลงทะเบียนhttps://cutt.ly/1YxlEm5

โดยสมัครได้ที่: https://cutt.ly/9YQV1wk

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม:

ติดต่อนัดหมายกับบริษัทอิสราเอล: ณัฏฐรียา 089-679-8844 nathareeya.n@israeltrade.gov.il

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-israeltrade-fintech-and-insurtech-the-future-of-financial-disruption/

Sunday บริษัทอินชัวร์เทคสัญชาติไทย รับเงินลงทุน Series B มูลค่า 45 ล้าน มี Tencent ร่วมด้วย

Sunday กลุ่มบริษัทอินชัวร์เทค หรือเทคโนโลยีประกันภัยสัญชาติไทย ได้รับเงินลงทุน Series B มูลค่า 45 ล้าน จาก Tencent, SCB 10X, Vertex Growth, Vertex Ventures Southeast Asia & India, Quona Capital, Aflac Ventures และ Z Venture Capital หลังบริษัทมีรายได้เติบโตเป็นเท่าตัว นับตั้งแต่ปี 2020

Sunday เป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีประกันภัยที่ก่อตั้งในปี 2017 ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 1.6 ล้านคน ให้บริการประกันรถยนต์และประกันท่องเที่ยวที่สามารถซื้อได้แบบออนไลน์ รวมไปถึงประกันสุขภาพแบบกลุ่มสำหรับองค์กร Sunday Health for Business โดยมุ่งเน้นด้านการเป็นประกันแบบ “สั่งตัด” ที่สามารถปรับแต่ง ซื้อเฉพาะส่วนที่ลูกค้าต้องการได้

Sunday ยังมีการใช้ AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อประมวลผลการทำประกันรถยนต์และประกันสุขภาพแบบกลุ่ม เพื่อประเมินความเสี่ยง และปรับราคาแบบอัตโนมัติ รวมถึงมีแผนเปิด Suntech บริการด้านดาต้า เทคโนโลยี และแพลตฟอร์มในอนาคต

บริษัทระบุว่าเงินทุนรอบ Series B จะถูกนำไปใช้ในการขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศอินโดนีเซีย ขยายตลาดค้าปลีก (Retail) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ การรับประกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และประกันภัยรถยนต์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการให้บริการลูกค้าประกันสุขภาพกลุ่ม กลุ่มลูกค้าองค์กร SMEs และพาร์ทเนอร์

No Descriptionภาพจาก Sunday

ที่มา – Sunday via Techcrunch

from:https://www.blognone.com/node/124570

ไดเร็ค เอเชีย เผยสูตรสำเร็จ UX/UI Design สร้างยอดขายออนไลน์ปฏิวิติวงการประกันรถยนต์

New normal คือสิ่งที่กระตุ้นให้ทีมงาน ไดเร็ค เอเชีย ยิ่งต้องพัฒนาเว็บไซต์เพื่อทำให้การเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ เป็นเรื่องง่ายและการซื้อประกันรถออนไลน์จะเป็นเรื่องที่ทำได้เองสำหรับทุกคน จากความพยายามทำให้เรามียอดขายออนไลน์สูงขึ้นถึง 5 เท่า พร้อมเผยเทคนิคทำเว็บไซต์ให้เข้าใจง่ายตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด มุ่งต่อยอดประสบการณ์ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่ผ่านมาเว็บไซต์ ไดเร็ค เอเชีย https://www.directasia.co.th เป็นที่รู้จักโดยเฉพาะในแวดวงประกันภัยรถยนต์ ต่างทราบกันดีว่า ไดเร็ค เอเชีย เป็นผู้นำด้านประกันรถยนต์ออนไลน์ที่ครบวงจร ลูกค้าสามารถเช็กเบี้ยประกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชำระเบี้ยประกันรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน ไดเร็ค เอเชีย สู่ Social Commerce ที่ตอบสนองการซื้อและการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกช่องทางของ Social Media

การศึกษาการใช้งานบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ ไดเร็ค เอเชีย ให้ความสำคัญเป็นหลัก เพื่อที่จะทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ เรียนรู้ Customer Journey จึงเป็นเรื่องที่ทีมเราวางแผนปรับปรุง User Experience (UX) ที่มุ่งเน้นการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ตอบสนองถึงจุดมุ่งหมายของการเข้าเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด รวมถึงการพัฒนา User Interface (UI) ที่มุ่งเน้นเรื่องของ หน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่าย โดยทีม UX/UI ของไดเร็ค เอเชีย ได้ออกแบบโดยยึดหลัก Bold Bright Direct มาผสานไปกับ User Friendly Design เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อเว็บไซต์

  • Bold – เน้นดีไซน์ที่สวยงามแต่ยังคงไม่ทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ของ ไดเร็ค เอเชีย ที่โดดเด่นแต่เข้าใจง่าย ไม่ทำให้เกิดความสับสน 
  • Bright – เน้น Technology หรือ Tools ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่พิเศษ สะดวกกว่าที่ไหน เช่น ระบบนับเวลาถอยหลังเพื่อเตือนลูกค้าสำหรับโปรโมชันที่จำกัดเวลา หรือต่ออายุกรมธรรม์ด้วยระบบ QR Code
  • Direct – เน้นความกระชับ รวดเร็วของ Journey ในการใช้งานเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ของผู้ใช้งานได้อย่างตรงประเด็น เช่น การให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อประกันรถยนต์ไปสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบราคา สามารถตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ในส่วนของการศึกษาถึง Insights ของผู้ใช้งาน ไดเร็ค เอเชียได้ทำการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง หรือมีการแฝงอยู่ในขั้นตอนของการใช้งาน เช่นในกรณีที่ลูกค้าไม่ต้องการดำเนินการซื้อต่อ ระบบจะสอบถามเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ใช้งานต้องการและไม่ต้องการอะไร เพื่อทางทีมงานจะได้กลับไปปรับปรุง และนั่นทำให้เราสามารถเข้าถึง Insight ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง

ความท้าทายของทีมคือ การทำให้ผู้ใช้งานดำเนินการซื้อจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายภายในเวลาที่สั้นที่สุด เพราะเรารู้ว่าเวลาเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทีมได้คอยทำการสำรวจปัญหาด้านการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง การพัฒนา Page Speed ให้คงที่และไวตลอดเวลาจึงเป็นกลไกหลัก ควบคู่ไปการทำ User Research ร่วมกับการทำ A/B Test เข้ามาใช้ในทุก ๆ การปรับบนหน้าเว็บไซต์ ว่าดีไซน์ไหนทำให้ลูกค้าไปถึงยังจุดหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด

ทีม UX/UI ให้ความสำคัญกับการทดสอบ A/B Test เป็นอย่างมาก จึงกำหนดค่ามาตรฐานของช่วงความเชื่อมั่น (Confidence Interval) อยู่ที่ 95% ขึ้นไป ถึงจะเชื่อได้ว่าดีไซน์ใหม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะนำมาให้ผู้ใช้งานเข้าใช้บริการได้ ในส่วนของผลลัพธ์เรียกได้ว่าเกินความคาดหมาย สามารถร่นระยะเวลาในการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ได้อย่างน่าพึงพอใจ จากสถิติเมื่อปี 2019-2020 ลูกค้าเข้ามาใช้งานบนเว็บไซต์เฉลี่ยอยู่ที่ 5 นาที เมื่อเทียบกับปี 2021 เราสามารถลดเวลาการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ให้เหลือเพียง 2.5 นาที เท่านั้น ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2020

ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนทั่วไปเริ่มมีความคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์ หรือ  E-commerce มากขึ้น นี่ถือเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ไดเร็ค เอเชีย จึงได้ปรับทั้งในส่วนของขั้นตอนการซื้อและการออกแบบบนหน้าเว็บไซต์ให้คล้ายคลึงกับเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ เพื่อให้ได้ใช้งานได้ง่าย และไม่มองว่าการซื้อประกันรถยนต์ผ่านทางออนไลน์เป็นเรื่องยากอีกต่อไป อีกทั้ง ไดเร็ค เอเชีย  ยังให้ผู้ที่สนใจสามารถออกแบบ (Customization) กรมธรรม์ได้อย่างอิสระ เช่น หากลูกค้าปรับแต่งกรมธรรม์โดยปรับเพิ่มทุนประกันรถยนต์ ลูกค้าเห็นค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นทันที โดยไม่ต้องกดคำนวณใหม่ ทำให้ลูกค้าเพลิดเพลินกับการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ และสอดคล้องกับนโยบายของ ไดเร็ค เอเชีย ที่ว่า ลูกค้าจะได้รับเบี้ยประกันรถยนต์ในราคาที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการขับขี่ที่สุด 

ทั้งนี้ ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีก พบว่า 98% ของผู้ที่สนใจซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ต้องการชำระเงินแบบผ่อนมากกว่าจ่ายเบี้ยประกันแบบเต็ม ทีมงานจึงวางแผนพัฒนารูปแบบการชำระเงินให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น และในลูกค้าบางกลุ่มยังคงต้องการคุยกับพนักงานอยู่ จึงเพิ่มฟีเจอร์ Hot Lead หรือบริการเจ้าหน้าที่โทรกลับภายใน 60 วินาที มาให้บริการลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์เพื่อช่วยตอบข้อสงสัยในการใช้งาน หรือสำหรับลูกค้าที่ไม่สะดวกชำระเงินแบบออนไลน์ ไม่มีเวลากรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ หรือต้องการชำระค่าเบี้ยประกันรถยนต์แบบผ่อน 0% 10 เดือน เมื่อกดปุ่มส่งข้อมูล เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับอย่างรวดเร็ว

ไดเร็ค เอเชีย  ขอตอกย้ำการเป็นผู้นำประกันรถยนต์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล (Digital) ไม่หยุดที่จะพัฒนาในทุก ๆ วันเพื่อให้บริการผู้ใช้งานอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเช็กเบี้ย ซื้อประกัน จนถึงการเคลม เสริมความแข็งแกร่งและเป็นหนึ่งในธุรกิจประกันรถยนต์ออนไลน์ ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์ที่คุ้มค่า ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และบริการที่จริงใจแก่ผู้บริโภค ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่ ไดเร็ค เอเชีย ยังคงยึดถือเสมอมา

from:https://www.techtalkthai.com/ux-ui-design-for-insurtech-by-direct-asia/

PolicyBazaar แพลตฟอร์มขายประกันออนไลน์จากอินเดีย เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์

PolicyBazaar ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเปรียบเทียบและจำหน่ายประกันออนไลน์ของอินเดียยื่นไฟลิ่งเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์อินเดียแล้ว พร้อมระดมทุนราว 504 ล้านดอลลาร์จากการไอพีโอครั้งนี้

สำหรับ PolicyBazaar เป็นสตาร์ทอัพกลุ่ม InsurTech อายุ 12 ปีในอินเดีย หนึ่งในผู้ลงทุนรายใหญ่คือ SoftBank โดยธุรกิจหลักคือแพลตฟอร์มเปรียบเทียบและขายกรมธรรม์จากหลายบริษัท ครอบคลุมทั้งประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, ประกันการเดินทาง, ประกันรถยนต์ และประกันอสังหาริมทรัพย์

ปัจจุบัน อินเดียมีประชากรราว 1.3 พันล้านคน ซึ่งปัจจุบันยังมีประชากรน้อยมากที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ด้านประกัน ดังนั้นธุรกิจประกันยังมีช่องให้เติบโตอยู่อีกไม่น้อย โดยนอกจากตลาดอินเดียแล้ว PolicyBazaar ยังทำตลาดในประเทศแถบตะวันออกกลางอีกด้วย

PolicyBazaar ระบุว่า ธุรกิจประกันของอินเดียน่าจะเติบโตราว 18.8% ต่อปี โดยคาดการณ์ว่าตลาดนี้จะมีมูลค่าราว 31.9 ล้านล้านรูปีภายในปี 2030 ซึ่งปัจจุบัน PolicyBazaar ขายกรมธรรม์ได้ราว 1 ล้านกรมธรรม์ต่อวัน และนักวิเคราะห์จาก Bernstein ประมาณการว่า PolicyBazaar น่าจะมีส่วนแบ่งตลาดขายประกันออนไลน์ราว 90% ในอินเดีย โดยคู่แข่งหลักของบริษัทคือ Acko และ Amazon

การไอพีโอเข้าตลาดหุ้นของ PolicyBazaar นี้ ทางบริษัทจะระดมทุน 809 ล้านดอลลาร์ โดยจะเป็นการออกหุ้นใหม่ 504 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือจะเป็นการขายหุ้นจากนักลงทุนของบริษัท โดย SoftBank จะนำหุ้นออกขายมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ ส่วนผู้ก่อตั้งบริษัทจะนำหุ้นออกขาย 52.7 ล้านดอลลาร์

ที่มา – TechCrunch

No Description
ภาพจาก PolicyBazaar (Facebook)

from:https://www.blognone.com/node/124024

[Guest Post] อินชัวร์เทคสตาร์อัพของไทย แฟร์ดี โบรกเกอร์ควบรวมกิจการกับ Qoala อินชัวร์เทคระดับภูมิภาคที่เติบโต อย่างรวดเร็วที่ได้รับเงินทุนในซีรี่ส์ เอ มูลค่า 405 ล้านบาท

  • แฟร์ดีเป็น สตาร์อัพอินชัวร์เทคชั้นนำของไทยที่เปิดตัวในปี 2562 ซึ่งช่วยให้ตัวแทนอิสระ ทำงานในช่องทางดิจิทัลและทำให้ตัวแทนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้มากขึ้น
  • แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายในช่วงของการแพร่ระบาดทั่วโลก แต่แฟร์ดีกลับมียอดรวมเบี้ยประกันภัยเติบโตขึ้น 7 เท่าในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ การควบรวมกับ Qoala อินชัวร์เทคที่เป็นผู้นำด้านการทำตลาดแบบ Omni channel จะช่วยยกระดับอินชัวร์เทคในไทยให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายมากขึ้น ด้วยบริการที่มีคุณภาพ และการเข้าที่สะดวกสบายมากขึ้น

 

วันนี้ บริษัท ชั้นนำด้านอินชัวร์เทค แฟร์ดี ประกาศควบรวมกิจการกับ  Qoala บริษัทอินชัวร์เทคชั้นนำ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งระดมทุนได้ 405 ล้านบาท (13.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในซีรีส์ A ในปีที่ผ่านมา การควบรวมกิจการครั้งนี้จะช่วยให้แฟร์ดีสามารถเข้าถึงเครือข่ายและความเชี่ยวชาญของ Qoala ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ความสะดวกสบายและบริการแก่ตัวแทนและลูกค้าในประเทศไทย ในปีที่ผ่านมาโบรกเกอร์หลายพันรายเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และตอนนี้แฟร์ดีได้ร่วมมือกับ Qoala ทำให้แฟร์ดีมีความพร้อมที่จะขยายการบริการและคำมั่นสัญญาในการก้าวไปในอนาคตข้างหน้า

แฟร์ดีก่อตั้งขึ้นในปี 2562 และนับตั้งแต่ก่อตั้งมาได้ช่วยให้ตัวแทนอิสระใช้งานในระบบดิจิทัลโดยเชื่อมต่อกับบริษัทประกันภัยต่างๆ ในประเทศไทยมากกว่า 20 ราย ผ่านโมบายแพลตฟอร์ม ในช่วงระยะกว่า 18 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก แต่แฟร์ดีสามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมายด้วยยอดเบี้ยประกันภัยเติบโตขึ้น 7 เท่า สามารถรองรับการให้บริการกับตัวแทนได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ

พันธมิตรธุรกิจใหม่ของแฟร์ดี นั่นคือ Qoala เป็นอินชัวร์เทคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2561 ขายกรมธรรม์มากกว่า 2 ล้านฉบับต่อเดือน ซึ่งมีพันธมิตรหลากหลายกลุ่ม ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ตัวอย่างเช่น ยานยนต์ สุขภาพ ชีวิต การเดินทาง ฟินเทค คอนซูเมอร์ โลจิสติกส์ และประกันสุขภาพพนักงาน ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา Qoala มีเบี้ยประกันภัยเติบโตขึ้น 6 เท่าใน กลุ่มประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม โดยให้บริการกับลูกค้านับล้านราย และมีความร่วมมือกับพันธมิตรมากกว่า 60 ราย ทั้งที่เป็นพาร์ตเนอร์ทั่วไป และพาร์ตเนอร์ด้านบริการดิจิทัล เช่น ช้อปปี้, ทราเวลโลก้า, โอโย่ (Oyo), แกร็บคีออส, OVO และโมโม รวมถึงพันธมิตรชั้นนำระดับโลกที่ทำงานกันอย่างใกล้ชิด เช่น อัลลิแอนซ์, ชับบ์, โตเกียว มารีน และซูริค

ในฐานะที่ไทยเป็นตลาดประกันภัยสำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีตัวแทนประกันภัยในประเทศหลายพันราย ซึ่ง 70 เปอร์เซ็นต์ของตัวแทนประกันเป็นตัวแทนอิสระ แฟร์ดีเล็งเห็นว่าตลาดตัวแทนอิสระเป็น ผู้ประกอบการรายย่อย ที่สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลในการแสวงหาโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้น และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลาดประกันภัยเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต ทั้งนี้ Swiss Re Institute ได้คาดการณ์ว่าในเอเชียแปซิฟิคจะครองส่วนแบ่งตลาดประกันภัยถึง 42% จากเบี้ยประกันภัยทั่วโลกภายในปี 2572    

จากความร่วมมือครั้งนี้แฟร์ดีมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์การทำประกัน วิธีการรับรู้ และส่งมอบการประกันภัยในประเทศไทย โดยการเพิ่มขีดความสามารถให้ตัวแทนอิสระในการให้บริการที่ยอดเยี่ยมและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าผู้ซื้อประกัน นายธนศักดิ์ ฮุ่นตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทแฟร์ดี จำกัด เชื่อว่าการควบรวมกิจการกับ Qoala จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าว่า แฟร์ดีจะยืนหยัดทำธุรกิจในไทย มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างทีมที่แข็งแกร่งในประเทศไทย

นายธนศักดิ์ กล่าวเสริมว่า “พวกเราเริ่มต้นแฟร์ดีเพื่อเปลี่ยนแปลงวงการประกันภัย และนำประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการทำประกันให้กับลูกค้าในภูมิภาค การเป็นส่วนหนึ่งของ Qoala จะทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น พวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ส่งมอบนวัตกรรมให้กับผู้ใช้ชาวไทย และที่อื่นๆ การมี Qoala ช่วยสนับสนุน พวกเราให้คำมั่นสัญญาในการยกระดับคุณภาพบริการให้กับพันธมิตรและลูกค้าในประเทศไทย”    

Qoala Co-Founders Tommy Martin (left) and Harshet Lunani (right)

               

Harshet Lunani ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Qoala ให้คำมั่นสัญญาในการทำงานร่วมกับผู้ทำประกัน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการเติบโตให้กับตลาดประกันภัย

Harshet กล่าวเพิ่มเติมว่า “ แฟร์ดี และ Qoala มีวิสัยทัศน์เดียวกันในการเปลี่ยนภาพการทำประกันภัย ดังนั้นเราจึงพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งมอบประสบการณ์การประกันภัยที่ดีที่สุดให้กับคนไทยจากประสบการณ์การทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา การควบรวมกิจการครั้งนี้เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการตั้งเป้าสู่บริษัทเทคโนโลยีประกันภัยอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อให้บริการผู้ที่ทำประกันภัยที่ยังด้อยโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคนในภูมิภาคนี้ ด้วยวิสัยทัศน์และความเชี่ยวชาญร่วมกันที่ทีมงานของแฟร์ดี” Harshet กล่าว .”

 

เกี่ยวกับ Qoala

Qoala เป็นบริษัทอินชัวร์เทคที่ทำตลาดแบบ omnichannel ด้วยพันธกิจในการยกระดับภาพลักษณ์การประกันที่เข้าใจเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนการเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สนับสนุนโดยเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถขยายได้ และการเคลมด้วยรูปภาพ รวมถึงเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งที่นำมาช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งนี้ Qoala ได้รับการสนับสนุนจาก Sequoia Capital, Centauri Fund by Kookmin Bank and MDI Ventures, Flourish Ventures, Mirae Asset Management, Central Capital Ventura, MassMutual Ventures, และ SeedPlus นอกจากนี้ Qoala มีเป้าหมายที่จะให้บริการประกันภัยกับลูกค้าผู้ใช้บริการผ่านพันธมิตร สู่ผู้บริโภค และผ่านทางช่องทาง Qoala Mitras ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บริษัทประกันลดต้นทุนและความเสี่ยงผ่านการตรวจจับการฉ้อโกงทางดิจิทัล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม qoala.app

 

เกี่ยวกับแฟร์ดี

แฟร์ดี เป็นสตาร์ทอัพด้านประกันภัยระดับภูมิภาคที่มีการดำเนินงานในประเทศไทยและสิงคโปร์ ภารกิจของเรา คือ การส่งมอบความคุ้มครองการประกันภัยราคาไม่แพงให้กับผู้ที่ไม่มีประกันภัย หรือ มีประกันความคุ้มครองต่ำ ซึ่งมีหลายล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยีและความรู้เพื่อให้บริการกับผู้ซื้อประกันในแต่ละพื้นที่ของตนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีความร่วมมือกับบริษัท ประกันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการสำหรับลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-fairdee-merges-qoala/

[Guest Post] “กองทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีก้าวไกลไปด้วยกัน 1 โดยมี สยาม อัลฟ่า เอคควิตี้ (SAE) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน” “กรุงศรี ฟินโนเวต” “แคสแมท” “กลุ่มบริษัท KTBST Group” และ “POEMS Ventures กลุ่มหลักทรัพย์ฟิลลิป” จับมือร่วมลงทุนใน “แอพแมน” ผู้นำด้าน Insurtech มูลค่ากว่า 139 ล้านบาท ในรอบ Series A

แอพแมน (AppMan) ประกาศความสำเร็จได้รับเงินลงทุนมูลค่ากว่า 139 ล้านบาท จาก 5 ผู้ร่วมลงทุนประกอบด้วย  กองทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีก้าวไกลไปด้วยกัน 1  (Private Equity Trust for SME Growing Together 1) โดยมี บริษัท สยาม อัลฟ่า เอคควิตี้ จำกัด (SAE) ในฐานะที่ปรึกษาการลงทุน  กรุงศรี ฟินโนเวต (Krungsri Finnovate) บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แคสแมท จำกัด (Casmatt) กลุ่มบริษัทสถาบันการเงิน KTBST Group และ POEMS Ventures ภายใต้กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป ประเทศสิงคโปร์  เพื่อสนับสนุน ขยาย และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก รวมถึงการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการคัดกรองข้อมูลเชิงลึกและนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจของสถาบันการเงินและการลงทุนและอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยการนำ Agent Mate ผลิตภัณฑ์หลักของ AppMan ที่ได้รับความไว้วางใจจากหลากหลายบริษัทประกันภัยชั้นนำในไทยมาช่วยพัฒนาช่องทางการขายแบบ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถช่วยทุกขั้นตอนการขายประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในทุกรูปแบบ อาทิ แอปพลิเคชัน ไมโครไซต์ และปลั๊กอิน โมดูล นอกจากนี้ AppMan ได้รวมคุณสมบัตินี้ไว้ใน AgentMate on Chat ซึ่งเป็นแชทบ็อตอัจฉริยะที่สามารถให้บริการลูกค้าของ คุณได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

นายธนภูมิ เจริญศิริ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แอพแมน จำกัด กล่าวว่า“ทางบริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรกับผู้นำทางด้านสถาบันการเงินและการลงทุน และ ธุรกิจประกันภัย ผมมั่นใจอย่างยิ่งความร่วมมือนี้จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ ต่อธุรกิจ จากการนำเอกลักษณ์อันโดดเด่นของผู้ร่วมลงทุนมาร่วมกันพัฒนาศักยภาพ รองรับการเติบโตในอนาคต”  

นอกจากนี้ AppMan ยังมีเทคโนโลยีล้ำสมัย สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ Digital Face to Face  การขายประกันภัยในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมเป็นตัวช่วยบริษัทประกันภัยที่เผชิญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม และ AppMan Optical Character Recognition (OCR) นวัตกรรมใหม่โดยคนไทย ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือแปลงไฟล์ภาพเอกสาร ให้กลายเป็นไฟล์ข้อความตัวอักษร เป็นโซลูชั่นมีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด ตามมาตรฐาน Banking Grade Security, CSA- Star Level2, ISO / IEC27001: 2013 เพื่อปกป้องข้อมูลลูกค้าของคุณ 

รวมถึงการก้าวสู่อันดับ 1 ด้าน Insurtech AppMan ก้าวไปพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง Software as a Service (SaaS) ที่เข้าถึงการใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดในการใช้งานจากทุกแพลตฟอร์มดิจิทัล และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ควบคู่ไปกับขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งบริษัทฯ จัดตั้งสำนักงานเพิ่มเติมในเวียดนาม และ อินโดนีเซีย แล้ว  

ขณะที่ นายอัคพันธุ์ อมาตยกุล Managing Director บริษัท สยาม อัลฟ่า เอคควิตี้ จำกัด (SAE)ในฐานะที่ปรึกษาการลงทุนของ Private Equity Trust for SME Growing Together 1  กล่าวว่า “Private Equity Trust for SME Growing Together 1 ร่วมสนับสนุน ลงทุนในSMEs ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโต ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิตและบริการ โดย AppMan เป็นบริษัทเทคโนโลยีของคนไทยด้าน Insurtech ที่มีความโดดเด่นและมีพัฒนาการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาได้พัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ใช้งานได้จริงและช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมให้กับผู้บริโภค ทำให้ Appman สามารถ Capture ลูกค้ารายใหญ่ในตลาดธุรกิจประกันในประเทศไทยได้มาตลอดและยังมีโอกาสที่จะขยายต่อไปยังต่างประเทศซึ่งทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งในอนาคต โดย Software ที่ AppMan พัฒนาขึ้นมานั้นยังสอดคล้องกับสภาวะตลาดโลก ณ ปัจจุบันและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนมาอยู่บน Online กันมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน AppMan ที่จะช่วยส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันภัยมากขึ้นและขับเคลื่อนตลาดธุรกิจประกันในประเทศไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้นต่อไป”

ด้าน นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า “กรุงศรี ฟินโนเวต ผู้นำด้านการสนับสนุนและลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ทอัพทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค มุ่งขยายอีโคซิสเต็ม (Ecosystem) ผ่านการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เรื่องของสุขภาพและการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลกดังนั้นสตาร์ทอัพในกลุ่ม Insurtech หรือเทคโนโลยีในด้านประกันเป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง  ขณะเดียวกันการลงทุนใน Insurtech จะช่วยต่อยอดธุรกิจด้านประกันของกรุงศรีให้แข็งแกร่งขึ้น การลงทุนในครั้งนี้จึงก่อให้เกิดพลังความร่วมมือที่ส่งเสริมกัน ทำให้กรุงศรีเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลด้านประกันภัยที่ดีที่สุดจากAppMan ได้ก่อนใคร นำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายที่จะทำให้ลูกค้าของกรุงศรีได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด” 

“กรุงศรีจะนำดิจิทัลแพลตฟอร์มของ AppMan เข้ามาปรับใช้ในทุกช่องทางการขายประกันเพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจ ขณะเดียวกันกรุงศรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ MUFG สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกที่มีเครือข่ายอยู่ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก จะช่วยสนับสนุนให้ AppMan สามารถขยายตลาดการให้บริการไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย” นายแซม กล่าว

ด้าน ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ‘การร่วมทุนในครั้งนี้เราไปในนามของบริษัท แคสแมท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ทั้งนี้ Casmatt เป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการทำงานของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มด้วยกันซึ่งเป็นธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งนี้ มั่นใจในศักยภาพของ AppMan ที่จะเข้ามาเสริมทัพเทคโนโลยีของ Casmatt ในทุกด้าน อาทิ IT Solution ,Digital Marketing ให้แข็งแกรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการนำมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และขยายธุรกิจประกันชีวิตให้เติบโตขึ้น อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองนโยบายด้านการเป็นผู้นำด้าน Digital Insurance Broker ของบริษัทฯ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ”   

ส่วน นายกิติวัจน์ อักรังษี ตัวแทนผู้บริหารจากกลุ่มบริษัท KTBST Group กล่าวว่า “ทางกลุ่มบริษัท KTBST Group เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการเงิน โดยมี Appman หนึ่งในผู้เล่นหลักที่ร่วมผลักดัน Digital Transformation แก่อุตสาหกรรมประกันภัย มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการใช้ Deep tech เช่น เทคโนโลยี OCR สำหรับอ่านข้อความในไฟล์ภาพหรือเอกสาร หรือ Chatbot ที่ให้ประสบการณ์ไร้รอยต่อในการซื้อประกัน  ในการลงทุนกับ Appman รอบนี้ เราจึงเชื่อมั่นว่านอกจากจะสร้างความเติบโตในด้านมูลค่าของการลงทุนแล้ว เรายังได้พันธมิตรคนสำคัญที่สร้างความรับรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้และต่อยอดกับธุรกิจในกลุ่มของ KTBST Groupได้เป็นอย่างดี”

และ มร. ลุกซ์ ลิม ตัวแทนผู้บริหารจากกลุ่มบริษัท PhillipCapital Group ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า ”พื้นที่วงการประกันภัยอยู่ในจุดสุกงอม เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทแทน บริษัทอินชัวร์เทค(InsurTech) ที่พร้อมสร้างระบบ Software as a Service (SaaS) สำหรับกลุ่มเป้าหมายอย่าง B2B2C อย่าง AppMan ซึ่งมีความพร้อมและแข็งแกร่งสำหรับตลาดดังกล่าว เทคโนโลยีจาก AppMan ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในเรื่องการดึงลูกค้าให้หันมาสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ แทนคู่แข่ง และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของ AppMan ยังเป็นที่น่าสนใจ ที่เราคาดหวังว่าจะดึงดูดลูกค้าให้สนใจเพิ่มเติม” 

 

เกี่ยวกับ บริษัท แอพแมน จำกัด (AppMan )

บริษัท แอพแมน จำกัด (AppMan) ผู้นำด้าน อินชัวร์เทค (InsurTech) ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมประกันภัย และ สถาบันการเงินและการลงทุน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีหลากหลายและทันสมัยใหม่จากบริษัทฯ อาทิ เอเจนเมท (AgentMate),เคลมเมท (ClaimMate) และ Optical Character Recognition (OCR)ป็นต้น โดยรับรองความปลอดภัย ตามมาตรฐาน Banking Grade Security, CSA- Star Level2, ISO / IEC27001: 2013 เพื่อปกป้องข้อมูลลูกค้า แอพแมนยังก้าวสู่การพัฒนา Software as a Service (SaaS) และ การสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ที่หลากหลาย สำหรับรูปแบบธุรกิจ  Business-to-Business (B2B) และ Business-to-Consumer (B2C) ในปัจจุบันแอพแมนขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งบริษัทฯ จัดตั้งสำนักงานเพิ่มเติมในเวียดนาม และ อินโดนีเซีย แล้ว  

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-appman-series-a-funding/

ทางเลือกใหม่! “ประกันขับดี” ขับแค่ไหนจ่ายเท่านั้น มิติใหม่ของ InsurTech โดยความร่วมมือจาก AIS และ MSIG นวัตกรรมประกันภัยแรกในไทยที่รับรองโดยสำนักงาน คปภ.

AIS ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Digital Service ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมประกันรถยนต์ยุคใหม่ “ประกันขับดี” เปิดมิติใหม่แห่งวงการประกันภัยรถยนต์ ภายใต้แนวคิด “ขับไม่เหมือนกัน ทำไมต้องจ่ายเท่ากัน” พร้อมนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นจุดแข็งของทางค่าย มาผสานเข้ากับนวัตกรรม IoT เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมประกันภัย ภายใต้ความร่วมมือกับ MSIG ผู้นำธุรกิจประกันภัยและบริการด้านการเงินระดับโลก และได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ซึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ที่ใช้ InsurTech เต็มรูปแบบ เป็นครั้งแรกของเมืองไทย 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจในทุกภาคส่วน รวมถึงอุตสาหกรรมประกันภัยด้วยเช่นกัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวด้วยการมองหาโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home นั้นส่งผลให้การเดินทาง รวมถึงการขับรถลดน้อยลง แต่ในขณะที่ยังต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม จึงเป็นที่มาของแนวคิดการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ของการประกันภัยรถยนต์ โดยที่ผ่านมาทาง MSIG ได้พัฒนาระบบประกันภัย “ประกันขับดี” มาระยะเวลาหนึ่ง  พบว่ามีความจำเป็นที่ต้องใช้การขับเคลื่อนร่วมกับเทคโนโลยีสื่อสาร และนวัตกรรม IoT  อันล้ำสมัย จึงได้ร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับทางเอไอเอส ซึงมีศักยภาพและเป็นโอเปอเรเตอร์เพียงรายเดียวที่มีความพร้อม ทั้งในแง่ของ Digital Platform และสัญญาณที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากที่สุดอีกด้วย

ในความร่วมมือครั้งนี้ AIS Insurance Service นำเสนอนวัตกรรมใหม่ด้วยการยกระดับ InsurTech มาใช้งานเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยประกอบไปด้วย อุปกรณ์ MSIG Car Informatics หรือ OBD II พร้อมซิมการ์ดที่ทำงานร่วมกัน

ซึ่งเป็นการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ขึ้นมา ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ MSIG ในการนำเสนอรูปแบบการประกันภัยที่ประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค New Normal  และได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) เป็นที่เรียบร้อย 

มาดูวิธีการติดตั้ง “ประกันขับดี” อย่างง่ายๆ

หลังจากที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ “ประกันขับดี” จะได้รับอุปกรณ์ MSIG Car Informatics หรือ OBD II พร้อมซิมการ์ดที่ถูกติดตั้งอยู่ภายใน ให้นำอุปกรณ์นี้ ไปติดตั้งภายในรถยนต์ จากนั้น ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ประกันขับดี” (รองรับทั้ง iOS
และ Android) มาติดตั้งลงในสมาร์ตโฟน เสร็จแล้วให้ทำการซิงค์อุปกรณ์เข้ากับสมาร์ตโฟน เพียงเท่านี้ ก็พร้อมใช้งาน “ประกันขับดี”  ได้เต็มประสิทธิภาพ 

สำหรับตัวอุปกรณ์ MSIG Car Informatics เป็นอุปกรณ์ IoT ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านโครงข่ายของเอไอเอส (3G/4G ) และประมวลผลเข้าสู่ระบบ Cloud ของ MSIG  โดยสามารถเก็บพฤติกรรมการใช้รถจาก 5 ตัวแปรหลัก ได้แก่ ระยะทาง / ความเร็ว / ระยะเวลาการขับขี่ / ช่วงเวลาการขับขี่ และพื้นที่การขับขี่  ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการใช้งานจริงของลูกค้าแบบ Real Time ผ่านทางสมาร์ตโฟนได้อย่างแม่นยำ มีเสถียรภาพ ด้วยสัญญาณที่ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังรองรับช่องทางการชำระค่าบริการรายเดือนผ่านระบบ Digital Payment Gateway ที่ช่วยอำนวยสะดวกและมีความปลอดภัยสูงสุด 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้งานจริง

  • ตัวอุปกรณ์ MSIG Car Informatics จะมีซิมการ์ดติดตั้งมาให้อยู่ภายใน ผู้ซื้อ “ประกันขับดี” ไม่ต้องจ่ายค่าบริการในส่วนของซิมการ์ดแต่อย่างใด โดยบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทั้งหมด 
  • ในกรณีผู้ซื้อ “ประกันขับดี” มีรถหลายคัน จะไม่สามารถถอด อุปกรณ์ MSIG Car Informatics ไปใช้กับรถทุกคันได้ เพราะจะมีการซิงค์ข้อมูลตัวถังรถได้เพียงคันเดียวเท่านั้น 
  • แม้จะอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ ตัวอุปกรณ์ MSIG Car Informatics ก็ยังสามารถทำงานได้ โดยการจัดเก็บผ่าน Data buffer และจะทำการโอนถ่ายข้อมูลในทันทีเมื่อมีการค้นพบสัญญาณใหม่ จึงมั่นใจได้ว่าการจัดเก็บข้อมูล จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องแม่นยำ ตลอดการใช้งาน 
  • สามารถทำความรู้จักกับ “ประกันขับดี” ในแง่มุมต่าง ๆ ได้ที่นี่ >>>  ประกันขับดี

บทสรุป

เรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ใจคนที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ช่วงนี้ได้อย่างพอเหมาะพอเจาะเลย สำหรับ “ประกันขับดี”ที่เป็นการผสานโซลูชั่นใหม่ของอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ เป็นนวัตกรรมประกันภัยที่เข้าใจคนไทยในช่วงสถานการณ์ได้อย่างลงตัว ซึ่งนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามองในตลาดประกันภัยรถยนต์ ด้วยรูปแบบที่มีความแปลกใหม่ โดยไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย เพราะเป็นโปรเจคแรกที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยให้บริการประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองครบทั้งประกันชั้น 1 และ 2+  ส่งผลให้  “ประกันขับดี”เป็นการเปิดมิติใหม่ พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ ที่นำเสนอแนวคิดและการนำ InsurTech มาใช้งานเต็มรูปแบบได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค New Normal  พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำ Digital Life Service Provider ของ
เอไอเอส ที่มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี Digital มาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักๆ ของประเทศอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจ “ประกันขับดี”สามารถศึกษาและสมัครแผน“ประกันขับดี” ผ่านช่องทาง 

  • “ขับดี Service Center by MSIG” โทร. 065-924-1175
  • เว็บไซต์ www.ais.co.th/insurance  
  • แอปพลิเคชัน ประกันขับดี

สามารถดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชัน “ประกันขับดี” ได้ที่นี่

playstore_kubdee_qr
playstore_kubdee
appstore_kubdee_qr
appstore_kubdee

from:https://www.mobileocta.com/good-driving-insurance-how-much-to-drive-pay-only-a-new-dimension-of-insurtech/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=good-driving-insurance-how-much-to-drive-pay-only-a-new-dimension-of-insurtech

ธุรกิจประกันต้องปรับตัว ไทยประกันภัยพัฒนา InsurTech หวังเป็นอันดับ 1 ใน 3 ปี

ไทยประกันพัฒนา InsurTech ปรับตัวก่อนโดน distrupt สร้าง ecosystem ให้ตอบโจทย์ทั้งบริษัท คนซื้อ และตัวแทน หวังขึ้นเป็นที่อันดับ 1 ด้านนวัตกรรมประกันภัยในสามปี

บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIC เปิดแผนพัฒนาธุรกิจด้วย 3 กลยุทธ์ Transform – Innovate – Expand รองรับกระแส disruption วงการประกันภัยไทยโดยตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ได้ก่อตั้ง  TIC Lab เพื่อศึกษาและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เช่น

  • พี่ช้างออนไลน์ (PChang Online) ระบบขายประกันออนไลน์บนคอมพิวเตอร์และมือถือที่ลูกค้าสามารถรับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ได้
  • การนำ Machine Learning มาปรับใช้บนเว็บไซต์ Thaiins.com เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและการใช้งานของลูกค้ามากขึ้น
  • ออกแอปพลิเคชัน TIC The Surveyor ในการเคลมประกันรถได้บนมือถือ
  • พัฒนา Agent Platform เพื่อช่วยให้ตัวแทนสามารถการคำนวณเบี้ยประกัน เคลม และให้บริการหลังการขายได้ดีขึ้น
  • พัฒนา Open API เพื่อร่นระยะเวลาในการเชื่อมต่อกับคู่ค้าให้สั้นลง

มหัทธนะ อัมพรพิสิฏฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปี 2563 เป็นเพียงแค่ Chapter แรกของ TIC ซึ่งเรายังมีนวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ที่น่าตื่นเต้นอีกมากมายสำหรับคนไทยทุกคนในตลอดปีหน้า สร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าด้วยประกันที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังยกระดับเทคโนโลยีให้แก่ตัวแทน TIC และพันธมิตรของเรา เพื่อเปลี่ยนแปลงวงการประกันในเมืองไทย เพราะจากนี้ไป Insurance Will Never be the Same

ก่อนหน้านี้บริษัทประกันไทยที่เคยนำ InsurTech มาใช้และพัฒนา ecosystem ในวงการประกันภัย ได้แก่ บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ที่เคยเปิดตัวประกันรถแบบเปิดปิดที่เชื่อมต่อกับการสตาร์ทและดับเครื่องยนต์ของรถได้ ทิพยประกันภัยกับแอปพลิเคชัน TIP COIN คืนเบี้ยประกันในรูปแบบเงินดิจิดทัล เมืองไทยประกันชีวิตที่ร่วมมือกับบริษัทเคลมดิพัฒนาแอปพลิเคชันเคลมประกันรถด้วยตนเอง หรือบริษัทประกันภัยออนไลน์ในไทยอื่นๆ เช่น รู้ใจ (Roojai), แฟรงค์ (Frank), RabbitFinance และ MoneyGuru ที่ให้บริการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบข้อมูลและการทำประกันรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ พ.ร.บ.รถ บัตรเครดิต และสินเชื่อเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามแม้วงการประภัยไทยจะมีการพูดถึงการ distruption ตลาดด้วย InsurTech อยู่บ่อยๆ แต่จำนวนผู้เล่นหรือบริษัทประกันภัยที่โดดเข้ามาเล่นในตลาด InsurTech อย่างจริงจังยังมีน้อยและครอบคลุมแค่การขายและเปรียบเทียบประกันออนไลน์ นอกจากนี้ยังเน้นไปที่ธุรกิจประกันภัยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่และยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงแบบ AI เข้ามาปรับใช้อย่างจริงแบบในต่างประเทศ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/tic-insurtech/

[Guest Post] Bluebik แนะธุรกิจประกัน เร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคดิจิทัล

Bluebik แนะธุรกิจประกัน เร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ เพิ่มความได้เปรียบ สู่การเป็น Innovative Insurer ครองใจผู้ซื้อกรมธรรม์

 

บลูบิค (Bluebik) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านกลยุทธ์และการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เผยเคล็ดลับสำหรับธุรกิจประกันว่าควรเร่งสร้างนวัตกรรมมัดใจลูกค้าด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างมีกลยุทธ์ พร้อมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจผ่านการหาพันธมิตรเพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครอบคลุม อาทิ เข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีประกันภัย หรือ Insurtech เพื่อนำนวัตกรรมที่ได้มาแก้ปัญหาหรือนำเสนอขายสินค้าด้านประกันภัยให้เหมาะสมครอบคลุมความต้องการของลูกค้าได้แบบเจาะจงลงลึกมากขึ้น รวมถึงจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาระบบโดยเฉพาะ พร้อมแนะ 3 แนวทางเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้านสำหรับธุรกิจประกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบและเสริมแกร่งให้ธุรกิจ

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด

 

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล รวมถึงล่าสุดจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายองค์กรในภาคอุตสาหกรรมต่างเร่งค้นหาแนวทางเพื่อปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว เนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องต้นทุน ศักยภาพของบุคลากร และข้อจำกัดในด้านอื่นๆ ดังนั้น การปรับใช้เทคโนโลยีอย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องทำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนและสามารถขึ้นเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมได้

นอกจากนั้น นายพชร ยังระบุถึงกุญแจสู่การขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจประกันภัยด้วยการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ หรือ Business Ecosystem เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยธุรกิจประกันควรดำเนินการผ่าน 3 แนวทาง ดังนี้

  1. เชื่อมต่อกับเครือข่ายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ : การแสวงหาพันธมิตรจะช่วยให้ธุรกิจประกันสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยสามารถนำเสนอกรมธรรม์ประเภทใหม่ๆ จากกรมธรรม์ประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว สู่กรมธรรม์แบบครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ไปจนถึงประกันการเดินทาง ตัวอย่างเช่นหากบริษัทประกันสามารถจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทเทคโนโลยีด้าน Big Data จะสามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์มาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการในเวลานั้นได้ตรงจุด นอกจากนี้ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรยังช่วยขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้า จากเดิมที่เข้าถึงผ่านช่องทางของบริษัทเพียงอย่างเดียวไปสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น แพลตฟอร์ม E-commerce  
  2. ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีประกันภัย (Insurtech) : การเข้าไปลงทุนในบริษัท Insurtech ที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี จะช่วยให้บริษัทประกันร่นระยะเวลาในการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่ เนื่องจากบริษัทฯ จะสามารถนำระบบและเทคโนโลยีของธุรกิจ Insurtech ที่มีการพัฒนามาระดับหนึ่งไปปรับใช้และพัฒนาต่อได้ เช่นกรณีบริษัท ประกันภัยรายใหญ่ของจีน ที่เข้าไปลงทุนในบริษัท Insurtech หลายแห่ง ทำให้สามารถสร้างระบบนิเวศธุรกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายให้ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เชื่อมโยงกัน และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เช่น การใช้ Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยทำให้ระบบการดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติ รวมถึงการนำระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบและสามารถรองรับฐานข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาระบบ (Research and Development) : การลงทุนพัฒนาระบบและนวัตกรรมมีความสำคัญเพื่อก่อให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว เนื่องจากจะทำให้องค์กรมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม อาทิ หากธุรกิจประกันสามารถลงทุนเพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics System) สำหรับทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในเชิงลึก จะสามารถพัฒนาสินค้าและบริการออกมาได้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด รวมถึงควรพัฒนาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรมต่างๆ

นายพชรยังเสริมอีกว่า นอกจากการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจแล้ว การเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้านที่มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยียังมีความสำคัญต่อธุรกิจประกันภัยเช่นกัน โดยแนวทางดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้

  1. ทลายขีดจำกัดของธุรกิจ (Boundaryless) ด้วยการพยายามลดช่องว่างและข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ควรมีการเตรียมพร้อมหากต้องเพิ่มการเชื่อมต่อระบบในอนาคตเพื่อพัฒนาให้ระบบการดำเนินงานต่างๆ มีความคล่องตัวมากขึ้นและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เช่น การสร้างระบบ Open API ที่เป็นการเปิดช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น หรือการวางระบบแบบ Micro Service ที่เป็นการแยกระบบต่างๆ ออกมาเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถแก้ไขหรือพัฒนาระบบส่วนนั้นได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
  2. ปรับธุรกิจให้ยืดหยุ่น (Adaptable) เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา เช่น การใช้คลาวด์คอมพิวติ้งมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อให้สามารถปรับลดหรือเพิ่มปริมาณการใช้งานให้เหมาะสมได้ในอนาคต
  3. ปรับวิธีคิดของคนในองค์กรให้พร้อมรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ (Radically Human) โดยนำหลักคิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Agile Mindset ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้กับหลายๆส่วนในองค์กรนั้น ต้องอาศัยความรวดเร็วและต้องมีแนวคิดที่เปิดกว้าง ดังนั้นวิธีคิดของคนในองค์กรจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องของเทคโนโลยีหรือระบบ

“การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและปรับธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประกันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุตสาหกรรมประกันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก หากไม่วางแผนไว้ตั้งแต่วันนี้ ก็ยากที่จะตามผู้เล่นรายอื่นได้ทัน และแน่นอนว่าการวางแผนให้เหมาะสมกับองค์กรนั้น ต้องทบทวนเพื่อประเมินศักยภาพองค์กรของตนเองด้วย เพื่อทำให้ได้ทราบแน่ชัดว่า จุดเด่น และช่องว่างขององค์กรคือสิ่งใด และเทคโนโลยีประเภทไหนที่ควรนำมาปรับใช้เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาด และจะได้เลือกเทคโนโลยีนั้นๆมาเป็นส่วนผสมในการสร้างนวัตกรรมและมอบให้กับลูกค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการให้ดีที่สุด” นายพชร ทิ้งท้าย

from:https://www.techtalkthai.com/bluebik-insurtech-innovative-insurer/

AIS-ไทยวิวัฒน์ นำร่อง NB-IoT มาประยุกต์ใช้กับ “ประกันรถเปิดปิด”

AIS ควงคู่กับประกันภัยไทยวิวัฒน์ ปฏิวัติวงการ InsurTech นำเทคโนโลยี NB-IoT Motor Tracker for UBI มาใช้กับประกันรถเปิดปิด แค่สตาร์ทรถก็เปิดประกันได้เอง

ประกันรถเปิดปิด ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ได้มีประกันรถยนต์ในชื่อ “ประกันรถเปิดปิด” ซึ่งเป็นบริการที่มองเห็น Pain Point ในตลาดประกันภัยที่ว่า ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันรายปี และมีราคาสูง 

ประกันรถเปิดปิดจึงเป็นเหมือนประกันภัยแบบ On Demand สามารถเปิดใช้ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง หรือช่วงที่ใช้รถ และปิดเมื่อจอดรถไว้ปกติไม่มีการใช้งานใด จากที่เก็บเบี้ยประกันเป็นรายปี ก็เก็บเป็นรายชั่วโมง รายนาทีแทน

รูปแบบนี้ทำให้ประหยัดค่าเบี้ยประกันราวๆ 40% เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น โดยที่มีราคาเริ่มต้นที่ 600 บาท เป็นแพ็คเกจ 30 วัน หรือ 144 ชั่วโมง เป็นประกันชั้น 3+ ราคาสูงสุดจะเป็นประกันชั้น 1 มีแพ็คเกจ 365 วัน หรือ 960  ชั่วโมง ในราคาหมื่นต้นๆ ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์ด้วย

ซึ่งประกันรถเปิดปิดก็ได้เริ่มมีเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมมากขึ้น ทั้งในเรื่องโลเคชั่น ที่สามารถรู้จุดที่ลูกค้าอยู่ได้ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องอธิบายมาก 

แต่ตอนนี้ได้ยกระดับเป็น InsurTech มากขึ้น ด้วยการเอาเทคโนโลยี NB-IoT มาใช้กับประกันภัย

Disrupt วงการประกันภัย ด้วย NB-IoT

โดยครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันของ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง AIS และประกันไทยวิวัฒน์ ซึ่ง AIS ที่พยายามขยายบริการเป็น Digital Life Service Provider ตอนนี้ได้มีนวัตกรรม IoT เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่มีโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ 

ทั้ง 2 แบรนด์ได้พัฒนาโซลูชันที่เรียกว่า NB-IoT Motor Tracker for UBI ในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ของไทยวิวัฒน์ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่าย NB-IoT เมื่อมีการสตาร์ทและดับเครื่องของรถที่ทำประกันรถเปิดปิด ประกันนั้นก็จะเปิดและปิดให้โดยอัตโนมัติ 

ทำให้บริษัทประกันภัยได้รับข้อมูลที่มีความแม่นยำ ถูกต้อง และให้การดูแลลูกค้าขององค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยี NB-IoT มาเสริมศักยภาพการบริการให้กับธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย และลูกค้าให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน

จีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กล่าวว่า 

“NB-IoT Motor Tracker for UBI จะทำงานโดยใช้เทคโนโลยีติดตามการทำงานของยานพาหนะบนเครือข่าย NB-IoT เมื่อมีการสตาร์ทรถยนต์ อุปกรณ์​ IoT จะส่งค่า Engine Start ผ่านแพลตฟอร์ม AIS IoT และมาประมวลผลยัง Thaivivat Server พร้อมแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชัน Thaivivat Motor เพื่อเริ่มต้นเปิดประกันภัยโดยอัตโนมัติ และเมื่อดับเครื่องยนต์ อุปกรณ์​ IoT ก็จะส่งค่า Engine Stop กลับมาอีกครั้ง เพื่อปิดประกันให้อัตโนมัติเช่นกัน”

บริการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของประกันภัยไทยวิวัฒน์ไม่ต้องเสียเวลาเปิด-ปิดด้วยตัวเองอีกต่อไป หรือในกรณีรถอยู่ในพื้นที่ห่างไกล อุปกรณ์จะเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ NB-IoT อีกครั้ง ก็จะส่งข้อมูลให้กับระบบทันที จึงได้ความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลสูง ช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองและจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง ขับค่อยจ่าย ไม่ขับไม่ต้องจ่าย ประหยัดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไปได้ถึง 40%

ลูกค้าที่ซื้อประกันรถเปิดปิดดังกล่าวจะได้รับอุปกรณ์ NB-IoT Motor Tracker for UBI พร้อมอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานตลอดระยะเวลาเอาประกัน ติดตั้งง่ายเพียงเสียบอุปกรณ์เข้ากับ USB Port ในรถยนต์ก็พร้อมใช้งานทันที ถือเป็นการนำนวัตกรรมดิจิทัลที่ทำให้ประกันภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

เมื่อดูตลาดประกันภัยมูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท เป็นตลาดที่ใหญ่มาก แต่ก็มีโอกาสในการเติบโตสูง การมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจะช่วยทำให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น 

ซึ่งปัจจุบันประกันรถเปิดปิดมีฐานลูกค้าราวแสนราย คาดว่าจะมีการเิตบโต 100% เหมาะกับผู้ที่ใช้รถเฉลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง เช่น พนักงานออฟฟิศที่ขับไปไปทำงาน แล้วจอดรถทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานรถทั้งวัน

สำหรับ AIS เองก็มีแผนที่จะขยายเทคโนโลยี NB-IoT ไปยังธุรกิจอื่นๆ สามารถนำโซลูชั่นนี้ขยายไปยังธุรกิจโลจิสติกส์ ส่งสินค้า เดลิเวอรี่ การเงิน ประกัน เช่ารถ และอื่นๆ ได้อีกในอนาคต

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ais-thaivivat-insurance-nb-iot/