คลังเก็บป้ายกำกับ: INFRASTRUCTURE_AS_A_SERVICE

IaaS สำหรับปี 64 โตขึ้น 41% กว่า 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Amazon ยังคงครองเบอร์หนึ่งสำหรับผู้ให้บริการ IaaS โดยมี Microsoft, Alibaba, Google และ Huawei ห้าอันดับแรกที่มีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 80% ของตลาดทั้งหมด

Gartner ทำการสำรวจตลาดระบบคลาวด์ Infrastructure as a Service (IaaS) สำหรับปี 2564 ที่ผ่านมา และได้เห็นตัวเลขการเติบโตขึ้นในกลุ่มนี้มากถึง 41.4% โดยภาพรวมมีมูลค่ากว่า 90,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 64,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
เมื่อแบ่งก้อนเค้กทั้ง 5 ผู้นำ จะเห็นสัดส่วนตัวเลขของสองอันดับแรกรวมกันสูงเกินกว่าครึ่งของภาพรวมตลาด IaaS ทั้งหมด
  • Amazon มีส่วนแบ่งตลาด IaaS ทั่วโลก 38.9% หรือกว่า 35,580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • Microsoft มีส่วนแบ่งตลาด IaaS ทั่วโลก 21.1% หรือกว่า 19,153 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • Alibaba มีส่วนแบ่งตลาด IaaS ทั่วโลก 9.5% หรือกว่า 8,679 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • Google มีส่วนแบ่งตลาด IaaS ทั่วโลก 7.1% หรือกว่า 6,436 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • Huawei มีส่วนแบ่งตลาด IaaS ทั่วโลก 4.6%
 
Gartner ได้ลองวิเคราะห์เจาะรายตัวที่น่าจับตามองถึงทิศทางการเติบโตไปสู่ความยั่งยืน โดยมองว่า Microsoft ได้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำด้านไอทีระดับองค์กร ซึ่งมีส่วนผลักดันการเติบโตของแพลตฟอร์ม Azure ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ในส่วนของ Alibaba ใช้ความเป็นสายเลือดแผ่นดินใหญ่ในการครองความเป็นผู้นำตลาดคลาวด์ในประเทศจีน และยังมีการขยายฐาน Data Center ในแถบแปซิฟิกเพื่อรองรับการให้บริการครอบคลุมทั้งภูมิภาค เช่น ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่นๆ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยล่าสุดด้วย
 
จากรายได้ 6,436 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของ Google Cloud ทำให้ได้รับรางวัลสำหรับอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 63.7% ผลพวงมาจากการเข้าถึงองค์กรด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยอย่างเช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ และ Kubernetes ที่นำเสนอเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ รวมถึงได้รับการสนับสนุนที่ดีจากพันธมิตรทางการค้าทำให้สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าในวงกว้างได้ง่ายขึ้น
 
ทางด้าน Huawei น้องเล็กในห้าอันดับผู้นำด้านการให้บริการระบบคลาวด์ IaaS ยังคงก้าวเดินบนแผ่นดินบ้านเกิดประเทศจีนเป็นหลัก ด้วยการนำเสนอด้าน open-hardware และ open-source software ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าเพื่อขยายตลาดให้เข้าถึงลูกค้าในวงกว้าง
 
สำหรับเทคโนโลยีที่น่าจับตาที่กำลังเกิดขึ้นมาใหม่ คือ metaverse, chatbots และ digital twins โดยที่กล่าวมานี้จำเป็นต้องอาศัยการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลจากโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์สเกลเป็นสำคัญ
 

from:https://www.techtalkthai.com/iaas-grew-2564-to-90-billion-by-gartner/

[Guest Post] “ดิจิทัลโอเชียน” เปิดตัว “แอปแพลตฟอร์ม” ช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์ง่ายขึ้น

ดิจิทัลโอเชียน (DigitalOcean) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้ง สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันยุคใหม่ เปิดตัว ดิจิทัลโอเชียนแอปแพลตฟอร์ม (DigitalOcean App Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรูปแบบบริการ (PaaS – Platform as a service) ที่ช่วยบริหารจัดการโครงสร้างแอปพลิเคชันแบบอัตโนมัติ ช่วยให้นักพัฒนานำแอปพลิเคชันที่พัฒนาเสร็จแล้วไปรันบนเครื่องจริงได้ภายในไม่กี่คลิก บริการใหม่นี้เป็นการรุกคืบของบริษัทในการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร เพื่อให้นักพัฒนาแอป รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMBs) จะได้มีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์เปลี่ยนแปลงโลก

อพูวาร์ โจชิ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดิจิทัลโอเชียน

 

อพูวาร์ โจชิ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดิจิทัลโอเชียน กล่าวว่า “ด้วยจำนวนธุรกิจหลายล้านรายที่เริ่มต้นบนคลาวด์ในแต่ละปี นักพัฒนาแอปจำเป็นต้องมีวิธีการที่ง่าย รวดเร็ว และย่อขยายได้ เพื่อส่งมอบแอปที่เสริมสมรรถนะแนวคิดของพวกเขา” พร้อมกับเสริมว่า “แอปแพลตฟอร์ม สร้างสรรค์จากเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วของดิจิทัลโอเชียน ที่สามารถสร้างโค้ดได้อย่างง่ายดายอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท จะทำให้นักพัฒนาแอปไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานอีกต่อไป และสามารถปล่อยแอปสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และเนื่องจากแอปแพลตฟอร์มทำงานอยู่บนดิจิทัลโอเชียน องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถรักษาต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำได้แบบง่ายดาย และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ในขณะที่ธุรกิจเติบโตขึ้น”

แอปแพลตฟอร์มจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถึงขีดสูงสุด โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแอปเคลื่อนย้ายโค้ดจากที่เก็บใน กิตฮับ (GitHub) ได้โดยตรง และนักพัฒนาแอปยังสามารถเลือกย้ายโค้ดซ้ำอัตโนมัติเมื่อต้องมีการอัปเดต

 

 

แอปแพลตฟอร์ม ซึ่งสร้างอยู่บน คูเบอร์เนเตส (Kubernetes) ของดิจิทัลโอเชียน ช่วยสร้างขุมพลัง แอปที่สามารถขยายการรองรับการเติบโต และมีความยืดหยุ่นของ ช่วยให้ส่งมอบงานกับลูกค้าโดยปราศจากความซับซ้อน และเนื่องจากแพลตฟอร์มนี้สร้างบนมาตรฐานแบบเปิด ลูกค้าจึงสามารถมองเห็นโครงสร้างพื้นฐานได้ชัดเจนกว่าการใช้แพลตฟอร์มแบบปิดที่นิยมใช้กันทั่วไป ปัจจัยนี้ทำให้ลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการแอปพลิเคชันขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน ต้องการให้แอปแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ หรือลูกค้าต้องการเข้าไปควบคุมการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

จากรายงานของ DigitalOcean Currents ผู้ก่อตั้งธุรกิจประมาณ 65 เปอร์เซนต์ ระบุว่า ความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการเข้าไปยังธุรกิจใหม่ ๆ การรับมือกับภาระหน้าที่ทั่วไปของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดเตรียมและบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ระยะเวลาดำเนินการของแอปพลิเคชัน และภาระอื่น ๆ แต่ แอปแพลตฟอร์ม บนคลาวด์ของดิจิทัลโอเชียนเข้าถึงได้ง่าย สำหรับสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่มีเวลาหรือความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง

แลร์รี คาร์วาโล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ไอดีซี กล่าวว่า “การย่นย่อเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ทำให้นักพัฒนาแอปยินดีอ้าแขนรับแพลตฟอร์มใหม่ที่สร้างบนมาตรฐานแบบเปิด” และกล่าวต่อว่า “เทคโนโลยีคลาวด์จากโอเพนซอร์สแบบคูเบอร์เนเตส กลายเป็นตัวเลือกแรกของนักพัฒนาแอปขององค์กรทุกขนาด และสำหรับสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ปัจจัยหลักที่บริษัทพิจารณาคือ ราคา ความง่ายต่อการใช้งาน และความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถทำงานเองโดยอัตโนมัติ”

ปัจจุบัน แอปแพลตฟอร์ม รองรับภาษายอดนิยม และกรอบการทำงานหลากหลาย รวมถึง Python, Node.js, Go, PHP, Ruby, Hugo และ static sites ต่าง ๆ  ผลิตภัณฑ์นี้ให้บริการฟรี สำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่มีไว้เพื่อการแสดงผลข้อมูลอย่างเดียว (static sites) และแบบเสียค่าบริการเพื่อตอบสนองความต้องการเจริญเติบโตของธุรกิจ สามารถดูรายละเอียดราคาและพื้นที่ให้บริการได้ที่ https://www.digitalocean.com/pricing/#app-platform

เรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แอปแพลตฟอร์ม ได้ในงานประชุมออนไลน์ของดิจิทัลโอเชียน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 โดยเข้าไปลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่  https://www.digitalocean.com/deploy/ 

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

 

เกี่ยวกับ ดิจิทัลโอเชียน

ดิจิทัลโอเชียน และ ดิเวลอปเปอร์ คลาวด์ ช่วยให้การสร้างสรรค์แอปพลิเคชันเป็นเรื่องง่ายสำหรับนักพัฒนาแอป ตั้งแต่รายบุคคลไปจนถึงผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก บริการของบริษัททั้งโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบบริการ (infrastructure-as-a-service (IaaS)) และแพลตฟอร์มในรูปแบบบริการ (platform-as-a-service (PaaS)) ช่วยให้นักพัฒนาแอปทุ่มเทพลังงานไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ ในการผนวกประสิทธิภาพของความเรียบง่าย ความรักที่มีต่อชุมชนนักพัฒนาแอป ความหลงใหลในการบริการลูกค้า และข้อได้เปรียบของโอเพนซอร์ส ดิจิทัลโอเชียน ได้นำเสนอการพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ทุกคนทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่  digitalocean.com หรือติดตามได้บนทวิตเตอร์ที่ @digitalocean

from:https://www.techtalkthai.com/digitalocean-app-platform/

Gartner เผยยอดขาย IaaS ทั่วโลกประจำปี 2016 AWS, MS, Alibaba ครองอันดับ 1-3

Gartner ได้ออกมาเผยส่วนแบ่งตลาด Infrastructure as a Service (IaaS) ทั่วโลกประจำปี 2016 ที่มีการเติบโตมากถึง 31% โดยมี Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure และ Alibaba Cloud ครองอันดับ 1 ถึง 3

Credit: Gartner

 

ทาง Gartner ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่าตลาด Cloud นี้เป็นตลาดที่เติบโตรวดเร็วมากกว่าตลาดอื่นๆ ในวงการ IT ทุกวันนี้ และคาดว่า IaaS นี้จะเติบโตรวดเร็วที่สุดในบรรดาบริการ Cloud ทั้งหมดต่อเนื่องไปอีก 5 ปีนับถัดจากนี้ เมื่อเทียบกับ Platform as a Service (PaaS) และ Software as a Service (SaaS)

สำหรับส่วนแบ่งตลาดในครั้งนี้ อันดับหนึ่งได้แก่ AWS ที่มีรายรับ 9,775 ล้านเหรียญ มีส่วนแบ่ง 44.2% ตามมาด้วย Microsoft ที่มีรายรับ 1,579 ล้านเหรียญ ที่ส่วนแบ่ง 7.1% และ Alibaba ที่มีรายรับ 675 ล้านเหรียญ พร้อมส่วนแบ่ง 3.0% ในขณะที่ Google นั้นครองอันดับ 4 ด้วยรายรับ 500 ล้านเหรียญและส่วนแบ่ง 2.3%

แน่นอนว่าเหล่าผู้ให้บริการแต่ละรายต่างก็แข่งขันกันอย่างเข้มข้นและลงทุนเสริมบริการใหม่ๆ ของตนเองกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตลาด Cloud เองก็น่าจับตามองว่าผู้ผลิตแต่ละรายจะสามารถขึ้นมาตีตื้นกับ AWS ในส่วนของ IaaS กันได้อย่างไรบ้าง

สำหรับรายงานฉบับเต็ม ลูกค้าของ Gartner สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.gartner.com/document/3805667 ครับ

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3808563

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-reveals-worldwide-iaas-market-share-for-2016/

[Review] ทดลองใช้งานจริงกับ IRIS STARTUP บริการ IaaS ราคาประหยัดจาก CAT เริ่มใช้ได้ใน 20 วินาที

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้รีวิว IRIS CLOUD กันไปแล้ว ในครั้งนี้ทาง CAT ก็ได้ส่ง Account ของบริการ IRIS STARTUP  คลาวด์สำหรับลูกค้ากลุ่ม Startup, SME ที่ยังไม่เปิดตัวมาให้ได้ลองทดสอบกันครับ ซึ่งถือว่าค่อนข้างประทับใจเลยทีเดียวกับความเร็วในการสร้าง Virtual Machine ใหม่ๆ มาใช้งานได้ในเวลาไม่ถึง 20 วินาที ผู้ที่สนใจลองอ่านรีวิวฉบับเต็มกันได้ดังนี้เลยครับ

 

เกริ่นนำกันก่อน IRIS STARTUP คืออะไร?

ก่อนหน้านี้ทีมงาน TechTalkThai ได้รีวิว IRIS CLOUD ซึ่งเป็นบริการ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) สำหรับองค์กรเป็นหลักไป ซึ่งบริการนั้นจะมีจุดเด่นในแง่ของการที่เราสามารถเลือกจัดการระบบเครือข่ายระหว่าง VM และการเชื่อมต่อออกไปยัง Public IP หรือการทำ Site-to-site VPN เองได้ และใช้เทคโนโลยีจาก Microsoft เป็นหลักในการให้บริการ Cloud ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี แต่  IRIS STARTUP  นี้มีจุดขายที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง

IRIS STARTUP  นี้เป็นบริการ Public Cloud ที่ใช้เทคโนโลยีฝั่ง Container และ Open Source เป็นหลักแทน ทำให้สามารถเปิดให้บริการได้ในราคาประหยัด เหมาะสำหรับธุรกิจ Startup ที่ต้องการใช้ต้นทุนในการเริ่มต้นที่ต่ำ ในขณะที่ระบบเองนั้นก็ต้องรองรับต่อการเพิ่มขยายในอนาคตได้เป็นอย่างดีด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจบริการ IRIS STARTUP  นี้อาจต้องอดใจรอกันอีกซักนิด เพราะบริการนี้จะเปิดให้ใช้งานได้อย่างเป็นทางการก็ช่วงครึ่งหลังของปี 2017 นี้เอง ยังไงก็รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก CAT อีกครั้งหนึ่งนะครับ

 

เริ่มต้นใช้งาน Login ผ่านหน้าเว็บกันก่อนเลย!

เป็นธรรมชาติของบริการ Cloud ที่จะต้องมี Web Portal สำหรับให้ผู้ใช้งานได้ Login เข้าไปทำการบริหารจัดการ ซึ่งหน้า Login ก็ดูสวยงามทันสมัยดีดังนี้ครับ

จุดนี้ยังถือว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากบริการ IRIS CLOUD ตามปกตินัก แต่สิ่งที่ต่างคือถัดจากนี้ไปครับ

 

สร้าง VM แรก! ใช้เวลาไม่ถึง 20 วินาที! รองรับทั้ง Windows และ Linux

จุดประทับใจแรกมาถึงแล้ว กับการทดลองซนกดสร้าง Virtual Machine (VM) เป็น Windows Server 2012 R2 กันอย่างรวดเร็ว และเครื่องก็ถูกสร้างเสร็จพร้อมมี IP Address จริงให้ใช้งานได้ภายในเวลาเพียงไม่ถึง 20 วินาทีเท่านั้น!

จากหน้าจอแรกเริ่มหลัง Login เข้ามาใหม่ๆ โดยที่ยังไม่ได้มีการใช้งานอะไรในระบบเลย ก็จะพบกับหน้าจอแบบนี้

เมื่อคลิกต่อไปยังปุ่ม Create Server ก็จะพบกับหน้าจอสำหรับให้เลือกระบบปฏิบัติการ (Operating System/OS) และ Package การใช้งานที่กำหนด CPU, RAM, SSD และ Bandwidth ดังนี้ (ตรงนี้จะเห็นว่ามีราคาบอกอยู่ด้วย แต่ราคานี้ยังไม่เป็นทางการนะครับ เป็นแค่ตัวเลขที่ตั้งไว้สำหรับทดสอบใช้งานเฉยๆ ของจริงต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการกันอีกทีนะครับ)

หลังจากกดปุ่มสร้าง VM ไปแล้ว ก็นั่งรอไปประมาณไม่ถึง 20 วินาที ระบบก็จะส่งหน้า Console ให้ใช้งานได้ผ่าน Browser มาให้ทันทีครับ โดยสำหรับ VM ของ Windows นี้เราต้องหา License มาใส่เองด้วยนะครับ

ด้วยความตกใจในความเร็ว ทางทีมงาน TechTalkThai เลยทดลองสร้าง Linux VM ขึ้นมาอีกเครื่อง (ต้องลบเครื่องเก่าก่อน เพราะระบบมีการจำกัดจำนวน VM ที่จะสร้างเอาไว้ตาม Package Plan ที่เราเลือก) ก็ใช้เวลาไม่ถึง 20 วินาทีเช่นกัน ก็เข้าหน้า Login ได้แล้ว

แน่นอนว่าระบบนี้มาพร้อมกับ Public IP ให้พร้อมใช้งานเชื่อมต่อออก Internet ภายนอกได้เลยดังรูปด้านล่างนี้ครับ (ขอปิด IP Address เอาไว้นะครับ)

 

แถมยังสามารถ Backup และ Restore VM ได้ด้วย จะเห็นว่าหน้าจอคำสั่งก็มีการ Localize เป็นภาษาไทยให้เราเข้าใจกันง่ายๆ อยู่ด้วยครับ

จะเห็นได้ว่าไม่มีหน้าจอสำหรับเอาไว้จัดการเรื่องของระบบเครือข่ายเลย ทำให้สามารถใช้งานได้เฉพาะเป็น Public Cloud เท่านั้น โดยหากอยากทำไปใช้ในเชิง Private Cloud ก็ต้องทำการตั้งค่า VPN จาก VM ออกมาโดยตรง และปิดการเข้าถึงในช่องทางอื่นๆ เอง ซึ่งอันนี้ก็เป็นจุดแตกต่างที่ชัดเจนจากบริการ IRIS CLOUD ก่อนหน้าที่เคยรีวิวกันไปนะครับ

 

ใส่ SSH Key เอาไว้ล่วงหน้าได้ ง่ายต่อการสร้างเครื่องใหม่ๆ เพิ่มในอนาคต

สำหรับเหล่าผู้ที่ใช้งาน Linux เป็นหลัก บริการ IRIS STARTUP  นี้ก็มีการเสริมระบบให้เราใส่ SSH Key เอาไว้ล่วงหน้าได้เลย ทำให้เราไม่ต้องมาคอยตั้งรหัสผ่านของ Linux Instance ใหม่ทุกครั้งด้วยตัวเอง และใช้ Key เดิมๆ ในการเข้าถึง Linux VM เหล่านั้นได้ทันทีอย่างง่ายดาย

 

เปิด Ticket ขอการสนับสนุนแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันที

อีกหนึ่งความสะดวกสบายที่มีมาให้ใน  IRIS STARTUP  นี้ ก็คือการที่เราสามารถเปิด Support Ticket หาทีมงานได้โดยตรงจากหน้าจอ Web Portal นี้เลยครับ ไม่ต้องโทรศัพท์หรือส่งอีเมล์ให้วุ่นวายกันอีกต่อไป การติดตามว่าเคสไหนอัพเดตไปถึงไหนแล้วก็จะมีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้นไปด้วยในตัว

 

คิดค่าใช้จ่ายตามเวลาการใช้งานจริง  ปรับ Package ที่ใช้งานได้ทุกเวลาที่ต้องการ

อีกความแตกต่างจาก IRIS CLOUD ที่เคยรีวิวไปก่อนหน้า คือ IRIS STARTUP  นี้มีการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงเป็นรายนาที ดังนั้นหากเราใช้งานเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงแล้วทำการปิด VM ไป เราก็จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะชั่วโมงที่เราเปิดใช้เท่านั้นครับ และระบบยังมีประเมินให้เราทราบได้อีกด้วยว่า ด้วยวงเงินที่เรามีอยู่ในระบบ จะสามารถใช้งานบริการนี้ต่อไปได้อีกกี่วัน ทำให้เราสามารถประเมินค่าใช้จ่ายได้ง่ายดีทีเดียวครับ

ด้วยแนวคิดในลักษณะนี้ การอัปเกรด VM ในระหว่างเดือนที่ใช้งานอยู่จึงเป็นไปได้ โดยทาง IRIS STARTUP  นี้ก็เปิดให้เราทำการอัปเกรด VM นั้นๆ ได้หลังจากทำการปิด VM เรียบร้อยแล้ว และจะให้เราเลือก Package ที่ต้องการใช้งาน รวมถึงพื้นที่ความจุของ Storage ที่ต้องการเพิ่มเองได้เลย ก่อนจะทำการเปิด VM ขึ้นมาใช้งานและคิดค่าใช้จ่ายตามเวลาที่ใช้งานจริง อ้างอิงจากสเป็คที่เราเลือกไป

 

สรุป: IRIS STARTUP  สร้างเครื่องไว  ใช้งานง่าย  คิดค่าใช้จ่ายตามจริง เหมาะสำหรับ Startup และธุรกิจขนาดเล็ก

การรีวิวครั้งนี้เรียกได้ว่า IRIS STARTUP  เอาคะแนนความเร็วและความง่ายไป 10/10 ได้เลยครับ ทั้งหมดนี้ทดสอบโดยไม่ได้อ่านคู่มืออะไรเลย แค่กดตามหน้าจอที่มีให้กดเท่านั้นก็สามารถเริ่มต้นใช้งานได้แล้ว ง่ายกว่าบริการ Cloud อื่นๆ ที่เคยใช้งานมาพอสมควรเลยครับ ส่วนการใช้งาน VM ทั้งหมดก็เหมือนการใช้งาน VM Instance ในบริการ Cloud ทั่วๆ ไปที่เราต้องไปทำการติดตั้ง Application ต่างๆ ที่ต้องการใช้งานเอาเอง ซึ่งลองใช้งานดูแล้วก็ไม่ได้มีติดขัดอะไรครับ

หากเทียบกับ IRIS CLOUD ตามปกติ  IRIS STARTUP  นี้ถือว่าซับซ้อนน้อยกว่ามากทีเดียว หาก CAT ต้องการจะตอบโจทย์ของกลุ่ม Startup และธุรกิจขนาดเล็ก IRIS STARTUP นี้ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียวครับ แต่อย่างที่กล่าวถึงไปในตอนแรก บริการนี้จะเปิดตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2017 นี้ครับ ใครสนใจก็รอติดตามข่าวสารจากทาง IRIS CLOUD กันได้เลย

 

ติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้ทันที

ผู้ที่สนใจบริการ IRIS CLOUD และต้องการติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาในการใช้ Cloud, การย้ายระบบหรือบริการต่างๆ ขึ้น Cloud หรือต้องการขอใบเสนอราคา รวมถึงผู้พัฒนา Software หรือผู้ดำเนินธุรกิจ Systems Integrator ที่ต้องการเป็น Partner กับ IRIS CLOUD สามารถติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้ทันทีที่ e-mail : iris_marketing@cattelecom.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการ IRIS CLOUD และ IRIS STARTUP  ได้ที่ iris.cloud

from:https://www.techtalkthai.com/review-iris-startup-cat-iaas-service-for-startups/

[Review] ทดสอบการใช้งานจริงกับ IRIS CLOUD บริการ Cloud IaaS จาก CAT

ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ทดลองใช้งาน IRIS CLOUD เป็นบริการ Cloud Infrastructure as a Service (IaaS) จาก CAT มาครับ ซึ่งก็ถือว่าเลือกเทคโนโลยีมาให้บริการ Cloud สำหรับตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรในการเช่าใช้ Server ได้ค่อนข้างดี ทางทีมงานจึงขอสรุปมาให้พิจารณาเป็นทางเลือกกันดังนี้ครับ

 

IRIS CLOUD ใช้ Microsoft Azure Pack ในการบริหารจัดการทั้งหมด ง่ายต่อการใช้งาน

หลังจากที่ทางทีม IRIS CLOUD ได้ให้ Account ในการเข้าทดสอบใช้งานระบบ IRIS CLOUD มาเรียบร้อยแล้ว (วิธีการติดต่อขอทดสอบอยู่ท้ายบทความ) ก็สามารถเข้าไปยืนยันตัวตนเพื่อเริ่มใช้งานได้ที่หน้า https://neoportal.iris.cloud ทันที โดยมีหน้าตาดูดีประมาณนี้ครับ

ใครที่เคยเล่น Cloud จากฝั่ง Vendor รายใหญ่มาก่อนก็อาจเริ่มคุ้นๆ จากนั้นเมื่อ Login เข้าไปจนเสร็จเรียบร้อย ก็จะพบกับหน้า Dashboard ที่ทำให้มั่นใจได้เลยว่าเป็น Microsoft Azure Pack ดังนี้ครับ

ซึ่งจากในภาพนี้จะมี Virtual Machine (VM) และ Virtual Network (VN) ที่ทางทีมงาน TechTalkThai ได้ทดสอบสร้างขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วทางทีมงาน IRIS CLOUD ก็ให้คู่มือมาด้วยแต่ทางทีมงานไม่ได้อ่านครับ เพราะอยากลองเล่นดูเองก่อนว่าถ้าไม่เคยใช้มาก่อนเลย จะเจอกับปัญหาหรืออะไรยังไงบ้างไหม ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเจอปัญหาอะไร ถือว่าง่ายดีอยู่เหมือนกันครับ

อีกจุดเด่นที่น่าสนใจของบริการ IRIS CLOUD ก็คือการที่ CAT ให้เช่าทรัพยากรบน Cloud ในลักษณะของ Resource Pooling ที่ทาง IRIS CLOUD จะระบุมาว่าเราใช้งาน Resource อะไรได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนเราจะไปแบ่งใช้งานอย่างไรนั้นก็สามารถทำได้อย่างอิสระตามความต้องการของเราเลย ก็ถือว่ายืดหยุ่นดีครับ โดยค่าใช้จ่ายก็คิดรวมตาม Maximum Capacity ที่เราใช้ได้เช่นกัน และสามารถร้องขอให้เพิ่มทรัพยากรในแต่ละส่วนได้ตามต้องการ

ส่วนการติดตามว่าเราใช้ Resource ไปเท่าไหร่แล้ว ก็ดูได้ที่หน้า Subscription เลย จะมีกราฟให้ดูว่าใน Resource Pool ของเรา เราใช้อะไรไปมากน้อยแค่ไหนแล้วครับ

 

Virtual Machine: รองรับได้ทั้ง Windows Server และ Linux ให้เลือกใช้ได้

ในส่วนของการสร้าง VM นั้น ทาง IRIS CLOUD ได้มีการเตรียม Template สำหรับการสร้าง Guest Server หรือ VM ให้เรากดเลือกและสร้างได้เลย โดยมี CPU/RAM/Disk ในสเป็คที่แตกต่างกันออกไป และเลือกได้ว่าจะติดตั้งระบบปฏิบัติการอะไร ซึ่งในพื้นที่ทดสอบนี้ก็มี CentOS 7.2 และ Windows Server 2012 R2 ให้เลือกใช้ครับ

ตอนกดสร้าง เราจะสามารถเลือกตั้งชื่อ VM ให้ง่ายต่อการจดจำได้ สามารถตั้ง Password เข้าไปใช้งานเองได้ (มี Password Policy ด้วยว่าต้องตั้งให้ปลอดภัย) และเลือกได้ว่าจะเชื่อมต่อกับระบบ Virtual Network ไหน (ต้องสร้าง Virtual Network ขึ้นมาเองก่อน) ซึ่งหลังจากที่เราได้สร้างเครื่องนี้ขึ้นมาแล้ว เราจะยังไม่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้นะครับ ต้องไปตั้งค่าที่ฝั่ง Virtual Network ให้จัดการเรื่องการทำ NAT ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยในกรณีที่เราต้องการออกเครือข่ายนอก หรือหากเราต้องการทำ Site-to-Site VPN เพื่อให้ระบบเครือข่ายภายใน IRIS Cloud เชื่อมกับเครือข่ายภายในองค์กรก็สามารถทำได้เช่นกัน แล้วค่อยให้ Traffic วิ่งมาออกที่ฝั่งองค์กรก็ได้

สำหรับการเข้าไปบริหารจัดการแต่ละ VM บน Cloud นี้ ใน IRIS CLOUD จะมีปุ่ม Connect ให้กดเพื่อสร้างไฟล์ .rdp สำหรับการ Remote เข้าไปยังหน้าจอของแต่ละ VM ได้โดยตรงผ่านทาง Secure Gateway ของบริการ IRIS CLOUD ซึ่งถึงแม้เราจะยังไม่ได้ตั้งค่าระบบเครือข่ายใดๆ ให้กับ VM เครื่องนี้เลย เราก็ยังเข้าไปบริหารจัดการกับเครื่องนี้ได้ผ่านช่องทางนี้นั่นเอง ซึ่งวิธีการนี้ก็สามารถใช้ได้ทั้งกับ VM ที่เป็น Windows Server และ Linux เลยครับ (ถ้าใครยังไม่เคย RDP เข้า Linux ก็จะได้ลองกันตอนนี้แหละครับ)

หลังจากนั้นก็ต้องจัดการกับการตั้งค่าการทำงานต่างๆ ของ Server, การจัดการระบบเครือข่ายภายในแต่ละ Server, การติดตั้ง Software ที่ต้องการใช้งานเองครับ บริการ IRIS CLOUD นี้ให้บริการเราในระดับของ IaaS เป็น VM ว่างๆ มาให้เราปรับแต่งแก้ไขได้ตามต้องการ ซึ่งก็แน่นอนว่ายังต้องอาศัย System Engineer มาคอยจัดการให้เครื่องเหล่านี้ทำงานได้ถูกต้อง มั่นคงปลอดภัย และมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

Virtual Network: สร้างระบบเครือข่ายภายในเองได้ เลือกได้ว่าจะเปิดบริการแบบ Public หรือใช้ในองค์กรแบบ Private

บริการ IRIS CLOUD นี้ผู้ใช้งานจะต้องทำการสร้างระบบ Virtual Network สำหรับเชื่อมต่อแต่ละ VM กันเองครับ และต้องกำหนด Network Policy ในการทำงานของแต่ละระบบเครือข่ายที่สร้างขึ้นมานี้ด้วย ว่าวงไหนจะสามารถเชื่อมต่อออกไปยัง Internet ได้ด้วยวิธีการอะไรและช่องทางไหนบ้าง หรือจะทำการเชื่อมต่อทำ Site-to-Site VPN กลับมายังองค์กรด้วยการยืนยันตัวตนและเข้ารหัสแบบใด ไปจนถึงเชื่อมต่อไปยังระบบเครือข่ายวงไหน ทำให้เราออกแบบได้อิสระพอสมควรว่าจะประยุกต์ใช้ IRIS CLOUD อย่างไรได้บ้างครับ

ระบบ Virtual Network ภายใน IRIS CLOUD นี้รองรับได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 ซึ่งถือว่าตอบโจทย์ต่อหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยที่กำลังมีการผลักดันให้หันไปใช้ IPv6 กันอยู่ โดยเราสามารถกำหนดได้ว่าจะมี Subnet อะไรบ้าง ใช้ DNS Server จากที่ไหน ทำ NAT หรือไม่กำหนดค่าการทำ NAT อย่างไร เปิด BGP หรือเปล่า ก็เรียกได้ว่าครอบคลุมความต้องการพื้นฐาน เหมือนเป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กรให้เราปรับแต่งได้ระดับหนึ่งครับ

อีกประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือการทำ Site-to-Site VPN ที่เราสามารถสร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายใน IRIS CLOUD เข้ากับ Data Center ขององค์กรได้เอง ทั้งการทำ VPN มายัง VPN Server ขององค์กร หรือการทำ VPN ร่วมกับ Router/Firewall ขององค์กร ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อ VM เหล่านั้นเข้ากับทรัพยากรต่างๆ ที่เรามีอยู่ภายในองค์กรได้ เสมือนกับเป็น Server ที่ตั้งอยู่ภายใน Data Center ขององค์กรนั่นเอง

ทั้งนี้โดยเบื้องต้นบริการ IRIS CLOUD นี้จะให้ Public IP Address มา 1 เบอร์ สำหรับในกรณีที่ต้องการเปิดบริการสาธารณะให้บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ ซึ่งถ้าหากต้องการเพิ่มมากกว่านี้ก็สามารถติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้เช่นกันครับ

 

IRIS CLOUD เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการ Infrastructure ที่ยืดหยุ่น และมี System Engineer ที่มีประสบการณ์

โดยสรุปแล้ว จากประสบการณ์การทดสอบ IRIS CLOUD นี้ก็เหมือนกับเป็นการที่เราใช้เช่าใช้ Server ซึ่งตั้งอยู่ภายนอกองค์กรนั่นเอง แต่มีอิสระในการเลือกวิธีการเชื่อมต่อเครือข่าย การติดตั้ง Software ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ และการจัดการ VM ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าอิสระที่ได้มานี้ก็ต้องอาศัย System Engineer ผู้มีประสบการณ์ในการเข้ามาจัดการให้ระบบต่างๆ ใช้งานได้อย่างถูกต้องตามที่เราต้องการนั่นเองครับ

ด้วยจุดเด่นนี้ ทำให้ IRIS CLOUD ค่อนข้างเหมาะกับองค์กรที่กำลังมองหา Server เช่าใช้งานสำหรับติดตั้ง Application เฉพาะทางต่างๆ อย่างอิสระ ไม่ได้ถูกจำกัดด้วย Template ของการติดตั้งได้เฉพาะชุด Software ที่รองรับเท่านั้น ทำให้ทั้งองค์กรที่มีการพัฒนา Application ของตนเอง เหมาะกับองค์กรที่กำลังมองหา Server สำหรับติดตั้งระบบงานต่างๆ ทั้งยังเหมาะกับSystems Integrator ที่กำลังมองหาบริการ Cloud สำหรับไปต่อยอดสร้าง Managed Service ของตน ตลอดไปจนถึงเหล่านักพัฒนาที่ต้องการ Virtual Machine ที่มีความมั่นคงปลอดภัยและปรับแต่งได้ค่อนข้างมาก ก็สามารถเลือกพิจารณาใช้ IRIS CLOUD ได้เลยครับ

 

ติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD เพื่อขอทดสอบได้ฟรีๆ ทันที

จุดหนึ่งที่ถือว่าค่อนข้างแฟร์กับเหล่าองค์กรที่ต้องการประเมินการใช้งานของ IRIS CLOUD คือการเปิดให้เราทดลองใช้งานได้ฟรีๆ ด้วยฟีเจอร์แบบเต็มๆ ก่อนนั่นเองครับ เพราะองค์กรที่มองหาโซลูชั่นระบบ Cloud เพื่อใช้งานนั้นก็มักจะมีความต้องการเฉพาะทางค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปทำ Disaster Recovery (DR), การทำ DevOps และอื่นๆ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ ความเร็วเครือข่าย การใช้งาน และปัญหาที่อาจพบได้จริงหน้างาน ซึ่งทางทีมงาน IRIS CLOUD ของ CAT เองก็พร้อมจะคุยและให้การทดสอบเป็นรายๆ หรือนำเสนอบริการเสริมเพิ่มเติมให้ตอบโจทย์กับแต่ละองค์กรเป็นครั้งๆ ไป ทำให้องค์กรสามารถทดลองใช้งานจนมั่นใจได้ว่าสามารถใช้งานและตอบโจทย์ได้จริง จึงค่อยตัดสินใจซื้อเป็นขั้นตอนถัดไป

ผู้ที่สนใจบริการ IRIS CLOUD และต้องการติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาในการใช้ Cloud, การย้ายระบบหรือบริการต่างๆ ขึ้น Cloud หรือต้องการขอใบเสนอราคา รวมถึงผู้พัฒนา Software หรือผู้ดำเนินธุรกิจ Systems Integrator ที่ต้องการเป็น Partner กับ IRIS CLOUD สามารถติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้ทันทีที่ e-mail : iris_marketing@cattelecom.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการ IRIS CLOUD ได้ทันทีที่ iris.cloud

from:https://www.techtalkthai.com/review-iris-cloud-by-cat/

แนะนำ IRIS CLOUD บริการ Cloud IaaS จาก CAT

สำหรับองค์กรหรือธุรกิจ Startup ที่กำลังมองหาบริการ Cloud สำหรับใช้งานนั้น ทาง TechTalkThai ขอเสนอบริการ IRIS CLOUD จาก CAT ผู้ให้บริการ Cloud อันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ซึ่งเป็น Cloud ที่มีเสถียรภาพสูง การันตีมาตรฐานการให้บริการด้วยรางวัลผู้ให้บริการด้าน Cloud Computing แห่งปี ของประเทศไทย ถึง 2 ปีซ้อน โดย IRIS CLOUD ได้รับรางวัล 2017 Thailand Data Communications Infrastructure as a Service Provider of the Year และ 2015 Thailand Data Communications Infrastructure as a Service Provider of the Year จากงานประกาศรางวัลระดับโลกที่จัดขึ้นโดย Frost & Sullivan องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกการันตี

 

โดยทาง CAT ซึ่ง เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของชาติ มีบริการ Cloud สำหรับให้บริการองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงธุรกิจ Startup โดยมี Cloud ที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Machine ภายใต้แบรนด์ “IRIS CLOUD” ซึ่งตอบโจทย์ได้ในทุกระดับความต้องการใช้งาน และราคา อีกทั้งมีข่าวดีสำหรับ Startup ของไทย โดย TechTalkThai ขอสรุปรายละเอียดบริการ IRIS CLOUD มาให้ผู้ที่กำลังสนใจใช้บริการนี้ ดังนี้

 

IRIS CLOUD บริการ IaaS Cloud จาก CAT ช่วยให้การทำงานของธุรกิจองค์กรและ Startup ง่ายขึ้น

IRIS CLOUD เป็นบริการ Cloud ที่ CAT ออกแบบขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานที่ครอบคลุมทั้งการใช้งานในระดับองค์กรไปจนถึงความต้องการของ Startup ที่กำลังเริ่มต้น ทำให้บริการ IRIS CLOUD นี้สามารถถูกนำไปใช้ได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย ตอบโจทย์ได้ทั้ง Traditional IT Infrastructure ที่เน้นเรื่องของการใช้ Virtual Machine (VM) เป็นหลัก ควบคู่ไปกับโจทย์ Cloud-Native IT Infrastructure ที่เน้นการผสมผสานระหว่าง VM ตามความเหมาะสมของงานและแนวทางในการทำ DevOps ในปัจจุบัน

และเพื่อให้ทุกองค์กรธุรกิจและ Startup สามารถใช้งานบริการ IRIS CLOUD ได้อย่างมั่นใจ CAT จึงได้ทำการเพิ่มระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยหลากหลายให้พร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Data Center Firewall ที่สามารถตรวจจับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนในปัจจุบันได้, มีระบบป้องกัน Distributed Denial of Service (DDoS) เบื้องต้นให้ใช้งาน และยังมี Anti-virus ช่วยตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติและซอฟต์แวร์อันตรายที่แอบแฝงอยู่ภายในแต่ละ VM ได้ โดย CAT นั้นมีทีมงานคอยบริการกำหนดค่าทางด้านความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ เหล่านี้ให้กับลูกค้าทุกราย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบจะมีความมั่นคงปลอดภัยในระดับสูง ในขณะที่ลูกค้าผู้ใช้งานนั้นไม่ต้องกังวลกับการเรียนรู้การตั้งค่าด้านความมั่นคงปลอดภัยเหล่านี้

ในขณะเดียวกัน IRIS CLOUD เองก็ยังมีบริการในส่วนของ IRIS Startup ที่เป็นบริการ VM แบบราคาประหยัดเป็นพิเศษ และมีขนาดหลากหลายให้เลือกใช้งานได้ตามต้องการ เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้งานสามารถเริ่มต้นสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับธุรกิจ Startup ของตนได้อย่างรวดเร็วที่สุดนั่นเอง

 

IRIS Cloud รองรับ Virtual Machine ด้วย Microsoft Azure Pack

บริการของ IRIS CLOUD ในส่วนของ VM นี้จะใช้เทคโนโลยีของ Microsoft Azure Pack เป็นหลัก ทำให้สามารถรองรับ VM ได้ทั้ง Microsoft Windows Server และ Linux ตามความต้องการขององค์กร ตอบโจทย์ได้ทั้งองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีของฝั่ง Microsoft และ Open Source ได้อย่างครบถ้วน

IRIS CLOUD ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำของไทยมากมาย ที่ได้เปลี่ยนการทำงานด้าน IT มาบนระบบ Cloud ทั้งในส่วนของ Private Cloud, Public Cloud และ Hybrid Cloud อีกทั้งทาง CAT ยังมีทีมวิศวกรคอยออกแบบและแนะนำ Solution ที่ดีและคุ้มค่าให้กับลูกค้าอีกด้วย

สะดวกในการใช้งานด้วยการให้บริการแบบ self service portal ที่ลูกค้าสามารถจัดการ VM และ Virtual Network ได้ด้วยตนเองเช่น สร้าง ,ลบ , ปรับขนาด VM ได้เอง สามารถ start / stop VM ได้เอง

ภายในบริการส่วนของ VM นี้องค์กรจะสามารถเลือกขนาดของเครื่อง Virtual Machine ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของ vCPU, RAM, Storage โดยระบบ Storage นั้นจะมีขนาดเริ่มต้นที่ 50GB และใช้เทคโนโลยีการทำ Storage Tiering ร่วมกันระหว่าง Solid State Drive (SSD) และ Nearline SAS (NL SAS) เพื่อให้ได้รับข้อดีทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความทนทาน รวมถึงยังสามารถเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการได้ เรียกได้ว่าเหมือนองค์กรได้ทำการเช่า Server บน Cloud มาใช้งาน และติดตั้ง Software ต่างๆ ได้อย่างอิสระนั่นเอง

นอกจากนี้ IRIS CLOUD ยังมีการให้บริการ Firewall สำหรับ VM เหล่านี้เพื่อรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น พร้อมมีทีมงานคอยให้บริการตลอด 24×7 ในกรณีที่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นกับระบบ พร้อม Public IP Address

ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ต้องการนำระบบ Application ขององค์กรย้ายขึ้นมาบนระบบ Cloud เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มขยายในอนาคต และยังต้องการการติดตั้ง Software ต่างๆ ได้อย่างอิสระอยู่ ก็สามารถพิจารณาเลือกใช้บริการ IRIS CLOUD ในส่วนของ VM ได้ทันที เพื่อลดค่าใช้จ่ายในแง่ต้นทุนทั้งการจัดซื้อและการดูแลรักษาลง ทำให้องค์กรมีผลกำไรมากขึ้น ในขณะที่ฝ่าย IT ขององค์กรเองก็สามารถลดภาระในการดูแลรักษาระบบ Server ลงไปได้ด้วยการให้เจ้าหน้าที่มืออาชีพจาก CAT คอยช่วยดูแลระบบแทน และทำให้สามารถนำทรัพยากรบุคคลทางฝ่าย IT เหล่านี้ไปร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในเชิงรุกเพื่อให้ธุรกิจขององค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

IRIS CLOUD สนับสนุนธุรกิจ Startup เต็มกำลัง ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีและราคา

IRIS CLOUD จับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ POP NIX ผู้ให้บริการ Cloud เพื่อให้ตอบรับต่อความต้องการของเหล่า Developer ที่เริ่มพัฒนา Application กันมากขึ้นในทุกวันนี้ ที่มีความต้องการให้ต้นทุนในการให้บริการถูกลง เหมาะสำหรับองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้น หรือธุรกิจ Startup ที่ต้องการบริการ Cloud เริ่มต้นสำหรับทดลองใช้งานนั่นเอง

บริการในส่วนที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ POP NIX นี้จะใช้เทคโนโลยี Open Source ที่ทำงานบน Server ประสิทธิภาพสูงซึ่งใช้ Solid State Drive (SSD) ในการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด ทำให้ราคาของบริการนั้นถูกมาก อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี Self Service Portal เพื่อให้ลูกค้าแต่ละรายสามารถเข้าไปบริหารจัดการ VM ของตนเองทั้งหมดได้ตามต้องการอย่างง่ายดาย และปรับแต่งทุกความต้องการได้เองทันที

 

ใช้บริการ IRIS CLOUD อย่างมั่นใจ ด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013

ในส่วนขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับประเด็นทางด้านความปลอดภัยและการบริหารจัดการต่างๆ ภายใน Data Center ที่ต้องมีกระบวนการในการทำงานต่างๆ ที่โปร่งใส ชัดเจน และปลอดภัย บริการ IRIS CLOUD นี้พร้อมจะเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรของคุณด้วยการผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 สำหรับ Data Center ที่ให้บริการ IRIS CLOUD เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึง CAT มี Internet Gateway ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มั่นใจได้ในเรื่องของความเร็วการรับส่งข้อมูลได้

 

ติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้ทันที

ผู้ที่สนใจบริการ IRIS CLOUD และต้องการติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาในการใช้ Cloud, การย้ายระบบหรือบริการต่างๆ ขึ้น Cloud หรือต้องการขอใบเสนอราคา รวมถึงผู้พัฒนา Software หรือผู้ดำเนินธุรกิจ Systems Integrator ที่ต้องการเป็น Partner กับ IRIS CLOUD สามารถติดต่อทีมงาน IRIS CLOUD ได้ทันทีที่ e-mail : iris_marketing@hotmail.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการ IRIS CLOUD ได้ทันทีที่ iris.cloud

from:https://www.techtalkthai.com/introduction-to-iris-cloud-the-cloud-iaas-service-powered-by-cat/

ไอเน็ตจับมือเน็ตแอพเปิดตัว 4 บริการใหม่ พร้อมให้ทดลองฟรี 1 เดือน ส่วนหนึ่งของบริการดีดีจาก INET Microsoft Cloud ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าองค์กรนับพันราย

กรุงเทพฯ (12 ตุลาคม 2559)บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต (INET) ร่วมมือกับบริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดหาเทคโนโลยีบริหารและจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของไอเน็ต นำเสนอ 4 บริการใหม่ ได้แก่ INET Microsoft Cloud Services ตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งาน, INET Microsoft DRaaS ที่ช่วยลดความเสี่ยงด้านไอทีสำหรับองค์กร, INET Microsoft Exchange Mail เป็นบริการอีเมล์สำหรับองค์กรบนแพลตฟอร์ม Microsoft Exchange, และ INET Microsoft SQL DBaaS ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้ทั่วโลก

inet_microsoft_cloud

นางมรกต  กุลธรรมโยธิน  กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ปัจจุบัน บริการการจัดเก็บและบริหารข้อมูลบนคลาวด์ เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ไอเน็ตเน้นพัฒนาการบริการด้านนี้โดยเรามีพันธมิตรสำคัญที่ให้ความร่วมมืออย่างดีมาตลอดคือ เน็ตแอพ บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางโครงสร้างการทำงานและสามารถบริหารจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา เราเปิดตัวบริการ INET Microsoft Cloud ให้เป็นบริการที่มีการควบคุมความปลอดภัยด้านสารสนเทศเทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งช่วยให้ลูกค้าองค์กรประหยัดการลงทุนได้จริง โดยปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจกว่าพันรายหันมาใช้ INET Microsoft Cloud ทั้งนี้ เน็ตแอพได้สนับสนุนเราด้วยเทคโนโลยีชั้นนำที่เป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการบริหารงานหลังบ้านอย่างครบวงจรทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลในดาต้า เซนเตอร์ของไอเน็ต”

ในโอกาสนี้ นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าวว่า “เน็ตแอพเล็งเห็นถึงแนวโน้มของการใช้งานบนคลาวด์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ภาคธุรกิจขยายตัวและรูปแบบการทำธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศขององค์กรจึงต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ความร่วมมือระหว่างเน็ตแอพและไอเน็ตอีกก้าวหนึ่งต่อจากนี้ จะเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตลาดปัจจุบันได้เป็นอย่างดี จาก 4 บริการใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไอเน็ตและเน็ตแอพ ที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการทางด้านไอทีที่มีความเสถียร รวดเร็ว ปลอดภัยและสามารถเชื่อมต่อบนอุปกรณ์ใดก็ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของเน็ตแอพยังสนับสนุนบริการในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ให้บริการการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที , Platform-as-a-Service (PaaS) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถนำแอพพลิเคชันมาทำงานบนระบบนี้ โดยไม่ต้องลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอง รวมทั้ง Software-as-a-Service (SaaS) ที่ให้บริการแอพพลิเคชันเช่น Email on Cloud, Antivirus”

ไอเน็ตเปิดโอกาสให้องค์กรที่สนใจสามารถทดสอบประสิทธิภาพบริการ INET Microsoft Cloud VMaaS และ INET Microsoft Exchange Mail ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 1 เดือน เพียงเลือกแพคเกจที่ต้องการได้ที่นี่  สำหรับ INET Microsoft Cloud VMaaS และเลือกแพคเกจที่ต้องการได้ที่นี่ สำหรับ INET Microsoft Exchange Mail  หรือสอบถามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02 257 7111

inet_vmaas

# # # # #

ข้อมูลเกี่ยวกับไอเน็ต

ไอเน็ตผู้ให้บริการ ICT Infrastructure as a Service Provider

จากประสบการณ์การให้บริการด้านไอซีทีโซลูชั่นมายาวนาน ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาแนวทางการให้บริการเป็น ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที (ICT Infrastructure as a Service Provider) เพื่อมุ่งมั่นคิดค้น พัฒนานวัตกรรม สินค้า บริการและแอพลิเคชั่นส์ต่างๆ รวมถึงให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบโครงข่าย เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าและสร้างความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง

 

เกี่ยวกับ เน็ตแอพ

บริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างไว้วางใจนวัตกรรมยูนิไฟน์สตอเรจและการบริหารจัดการข้อมูลจากเน็ตแอพ ด้วยความเชื่อมั่นในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ความเชี่ยวชาญ และความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจให้ลูกค้าประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต อ่านรายละเอียดความมุ่งมั่นของเราในการช่วยให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกให้เติบโตและทำงานได้เร็วขึ้นได้ที่  www.netapp.com

from:https://www.techtalkthai.com/inet-and-netapp-provide-4-new-cloud-services-with-1-month-free-trial/

“มันไม่คุ้ม” .. สาเหตุที่ Bank of America ไม่ใช้ Public Cloud

ถึงแม้ว่า Bank of America หนึ่งในสี่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งสหรัฐฯ จะมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี Infrastructure ครั้งใหญ่มากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เทคโนโลยีหนึ่งที่ทางธนาคารไม่มีแผนจะนำเข้ามาใช้ คือ Infrastructure-as-a-Service Public Cloud เนื่องจาก “มันไม่คุ้ม”

bank-of-america-branch-100648813-primary.idge
Credit: Bank of America

ไม่คุ้มค่าที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ Cloud

David Reilly, CTO ของ Bank of America ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ทางธนาคารไม่ใช้ระบบ Cloud สำหรับให้บริการ Infrastructure ของตนเอง เนื่องจากมันไม่คุ้มที่จะลงทุน ทางธนาคารมีระบบ IT ขนาดใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว และธนาคารยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ Cloud

ฝ่าย IT ของ Bank of America ทำการประเมินและวิเคราะห์ระบบ Infrastructure เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปในแต่ละปี กับเงินลงทุนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ Cloud โดยเปรียบเทียบปีละ 2 ครั้ง พบว่า “ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนที่จะเปลี่ยน เรายังไม่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้เราเปลี่ยนไปใช้ Public Cloud” — Reilly ระบุ

ไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัย

ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเศรษฐกิจ Reilly เชื่อว่า ระบบ Software-defined, commodity-infrastructure ของเขาที่มีทั้งความยืดหยุ่นและความคล่องตัว สามารถทำงานได้เหมือนหรือใกล้เคียงกับ IaaS Public Cloud และที่สำคัญคือ การทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมภายในธนาคารแห่งนี้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น ข้อมูลสำคัญจะถูกเก็บไว้ที่ไหน ใครเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นบ้าง หรือถ้าธนาคารจำเป็นต้องการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดจะต้องทำอย่างไร

Reilly ยังระบุอีกว่า ทางธนาคารไม่ได้มีกฏระเบียบหรือข้อบังคับที่ไม่ให้ใช้ระบบ Cloud แต่อย่างใด สักวันหนึ่งเขาก็คงต้องเปลี่ยนไปใช้บริการบนระบบ Cloud แต่ ณ วันนี้ ถึงแม้ว่าธนาคารจะได้ราคาส่วนลดพิเศษจาก Cloud Provider สำหรับการใช้งานระยะยาวก็ตาม มันก็ยังไม่คุ้มค่าสำหรับ Bank of America อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม Bank of America ถือว่าเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญแก่เรื่อง IT สูง ธนาคารลงทุนกว่า $3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 100,000 ล้านบาทในแต่ละปีทางด้านเทคโนโลยี Infrastructure และยังจ้างพนักงานกว่า 100,000 คนสำหรับดูแลระบบ Reilly ยอมรับว่า สำหรับองค์กรที่ไม่ได้มีลักษณะ Infrastructure แบบของธนาคาร ระบบ Cloud อาจจะตอบโจทย์การใช้งานในอนาคตก็เป็นได้

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3041344/cloud-computing/why-bank-of-america-is-not-using-the-public-cloud.html

from:https://www.techtalkthai.com/why-bank-of-america-not-use-public-cloud/

[PR] ทรู ไอดีซี ขับเคลื่อนสู่การเป็น ผู้ให้บริการ Cloud Marketplace รายเเรกในไทย

กรุงเทพฯ 26 กุมภาพันธ์ 2559 – ทรู ไอดีซี ผู้นำดาต้าเซ็นเตอร์และผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบครบวงจร เผยวิสัยทัศน์ปี 2559 มุ่งสู่การเป็นผู้นำบริการคลาวด์อันดับ 1 ในประเทศไทย และเตรียมก้าวขึ้นไปเป็น 1 ใน 5 ของผู้นำในตลาดอาเซียน ล่าสุดเดินหน้ารุกตลาดเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง เปิดตัว Cloud Marketplace แหล่งรวมสินค้าและบริการด้านคลาวด์ นำเสนอซอฟท์เเวร์เเละโซลูชั่นคุณภาพหลากหลายรูปแบบการให้บริการ จากผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลก ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและเอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เลือกเเละนำมาปรับใช้สร้างการเติบโตเเก่ธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ขานรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ และเสริมให้ธุรกิจทำงานอย่างมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่จำกัดสถานที่เเละเวลา รวมถึงช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสร้างสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพเเก่ธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

นายฐนสรณ์ ใจดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า การให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์เซอร์วิสในประเทศไทย จากผลการสำรวจของ สวทช ประมาณการปี 2558 คาดว่า ดาด้าเซ็นเตอร์เซอร์วิสเติบโตสูงขึ้นถึง 19.7% และการให้บริการคลาวด์โครงสร้างพื้นฐาน ( Cloud Infrastructure as a Service ) เติบโต 33.6% ประกอบกับข้อมูลของ Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าดาด้าเซ็นเตอร์เซอร์วิส ในเอเชียแปซิฟิก จะเติบโตสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 14% และคลาวด์เซอร์วิส จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละ 33% ในช่วงปี 2014-2019 อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของกลุ่มเอสเอ็มอี จะมีบทบาทมากขึ้นในการเลือกใช้คลาวด์เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็นด้าน Software as a Service และ Infrastructure as a Service ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่กระตุ้นให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น มาจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ กลาง หรือขนาดเล็ก ต้องการความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลดต้นทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และธุรกิจเอสเอ็มอีได้เห็นความสำคัญและหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการในยุคดิจิทัลมากขึ้น

“เราเชื่อมั่นว่าการเปิดตัว Cloud Marketplace เเละโซลูชั่นการให้บริการคลาวด์ของ True IDC ที่ออกแบบใหม่นี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ได้ดี ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังเปิดตัวคาดว่าจะเปิดโอกาสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้เข้าถึงเเละเลือกใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่เหมาะสมกับธุรกิจเเละบริการของตนเองได้ นอกจากนี้ ทรูไอดีซี ยังมีบริการให้คำปรึกษาสำหรับองค์กรที่เริ่มใช้งานระบบคลาวด์ รวมถึงให้คำแนะนำการใช้งาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ ลดภาระการบริหารจัดการด้าน IT ทำให้สามารถมุ่งเน้นกับการพัฒนาธุรกิจและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายฐนสรณ์กล่าวเพิ่มเติม

นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การตลาดปีนี้ ต้องการเจาะกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่รู้เทคโนโลยีแต่มีความต้องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ และผู้ประกอบการที่ใช้ซอฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นอยู่แล้ว แต่ต้องการอัพเกรดธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น การเปิด Cloud Marketplace จะช่วยให้เอสเอ็มอีเลือกซื้อสินค้าและบริการเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการนำโซลูชั่นของเอ็นเตอร์ไพรส์มาปรับแต่งให้เหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอี เน้นความสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ Cloud Infrastructure และ Cloud Application เพื่อช่วยผู้ประกอบการใน 3 เรื่องหลัก คือ การสร้างรายได้ การลดต้นทุน และเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาด โดย คลาวด์มาร์เก็ตเพลสจะเปิดให้บริการภายในไตรมาสแรกของปี 2016

นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด
นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

“ทั้งนี้ นอกจาก Cloud Marketplace จะเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีหลากหลายได้ในที่เดียวแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตซอฟท์แวร์บนคลาวด์ ได้มีช่องทางการจำหน่ายและนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ” นายศุภรัตน์กล่าวสรุป

 

เกี่ยวกับ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

true-idc-logo

ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ( ทรู ไอดีซี ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 เป็นผู้นำในการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ มีศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยมีศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ 2 แห่งคือ ศูนย์ทรู ทาวเวอร์ และศูนย์เมืองทองธานี ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 20000-1, ISO/IEC 27001 ISO 22301,ISO5001 และ CSA Star เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก อาทิ อแมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส Google ไมโครซอฟท์ อาวาย่า ฯลฯ เพื่อนำเสนอบริการคลาวด์แบบ One Stop Shop ทั้ง Infrastructure as a service ( IaaS ), Platform as a Service ( Paas ), Software as a Service ( SaaS ) และ Professional Services ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ธุรกิจ SME และองค์กรขนาดใหญ่ ในทุกประเภทธุรกิจและทุกภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ http://www.trueidc.com

from:https://www.techtalkthai.com/true-idc-unveil-cloud-marketplace/

[PR] ไขข้อสงสัยสำหรับบริการ PaaS

ดย คุณฉิน ยิง ลุง Chin Ying Loong ) รองประธานกรรมการฝ่าย Oracle Fusion Middleware

Oracle ASEAN และ SAGE

เทคโนโลยีคลาวด์ได้สร้างแนวความคิดทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้นจำนวนมหาศาลสำหรับธุรกิจเริ่มต้น บริษัทขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีอะไรที่จะน่าตื่นเต้นไปมากกว่าการที่องค์กรได้ใช้รูปแบบของเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์และล้ำหน้าเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจและประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ พึงระลึกกันไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ยากลำบากของลูกค้าในเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังดึงดูดให้องค์กรทั้งหลายนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

ประโยชน์ทางธุรกิจของการประมวลผลแบบคลาวด์ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แต่ผมเชื่อมั่นว่าบรรดาผู้จัดการด้านไอทีและธุรกิจยังมีเกิดความสับสนไม่น้อยเกี่ยวกับรูปแบบที่แตกต่างของการประมวลผลแบบคลาวด์ ได้แก่ Software-as-a-Service ( SaaS ), Platform-as-a-Service ( PaaS ) และ Infrastructure-as-a-service ( IaaS ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทที่จะต้องทำความเข้าใจวิธีของรูปแบบทั้งสามจะตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของบริษัทด้านไอที เพื่อที่จะสามารถนำรูปแบบเหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างเต็มที่สำหรับธุรกิจผ่านองค์ประกอบด้านไอทีที่สำคัญทั้งหมด เช่น ซอฟแวร์ ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง/ฐานข้อมูล/เครื่องมือสำหรับบูรณาการหรือฮาร์ดแวร์

Software as a Service คือซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ และเป็นรูปแบบแรกสุดของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์อันเป็นที่รู้จักและมีการนำมาปรับใช้ ในปัจจุบันแอพพลิเคชันทางธุรกิจจำนวนมากสามารถใช้งานได้บนระบบคลาวด์ในรูปแบบจ่ายตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทรัพยากรขององค์กรหรือการบริหารทรัพยกรมนุษย์ การบริหารประสบการณ์ลูกค้า/การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กร หรือแอพพลิเคชันเฉพาะด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ( FSI/โทรคมนาคม/การเงิน ฯลฯ ) จากการใช้งานแอพพลิเคชันบนระบบคลาวด์ ผู้ใช้งานด้านธุรกิจและแผนกไอทีไม่จำเป็นต้องติดตั้ง ทำการบำรุงรักษา หรืออัปเกรดโปรแกรมเหล่านี้สำหรับอุปกรณ์และผู้ใช้จำนวนหลายพัน ซอฟแวร์ดังกล่าวช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายจากการจัดสรรทางไอที

Platform as a Service เป็นซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์สำหรับระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เครื่องมือบูรณาการ และฐานข้อมูล PaaS มอบการเข้าถึงช่วงการบริการในวงกว้างแก่ผู้บริโภคตั้งแต่ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางไปจนถึงฐานข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์หน่วยความจำ อุปกรณ์เคลื่อนที่ บิ๊กดาต้า ขั้นตอน และการจัดการเอกสาร ฯลฯ เพื่อทำให้สามารถรวบรวมแอพพลิเคชันที่ได้รับการปรับแต่งด้วยความสามารถอันหลากหลาย เช่นเดียวกับรูปแบบ “as a service” อื่น ๆ PaaS ช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการใช้งาน ความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการซื้อ การบูรณาการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ PaaS ข้อดีที่ไปไกลเกินกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงคือ PaaS ได้ลดการพัฒนาของแอพพลิเคชันและเวลาในการนำมาปรับใช้ ซึ่งทำให้ PaaS กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในการประมวลผลคลาวด์ในปัจจุบัน

Infrastructure as a Service เป็นรูปแบบของระบบคลาวด์ที่ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายบนระบบคลาวด์ด้วยพื้นฐานการติดตามแบบสมาชิก IaaS จะมอบทางเลือกเพื่อเข้าถึงความสามารถในการคำนวณในรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายผ่านพอร์ทัลแบบเว็บแก่องค์กร ซึ่งจะให้บริการในฐานะคอนโซลการจัดการเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้บริการจะเป็นเจ้าของและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และทำการติดตั้งในศูนย์ข้อมูลโดยทั่วไป โครงสร้างพื้นฐานจะทำการประเมินตามความต้องการซึ่งทำให้แนวคิดเป็นที่ดึงดูดสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตและยังไม่เติบโตเต็มที่ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีด้วยตนเอง

PaaS และ IaaS

มีความสับสนระหว่าง Iaas และ PaaS อยู่บ่อยครั้งและองค์กรส่วนมากไม่เข้าใจว่ารูปแบบทั้งสองนี้มีไว้สำหรับความต้องการที่แตกต่างกันไปในองค์กรด้านไอที IaaS เกี่ยวกับการช่วยทำให้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ เช่น พลังในการคำนวณ เซิร์ฟเวอร์ บริการเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลในฐานะการบริการที่จ่ายตามการใช้งาน

PaaS คือแพลตฟอร์มที่ติดตั้งบนชั้นด้านบนของฮาร์ดแวร์นี้ และผู้จัดจำหน่ายชั้นนำในตลาดก็คือออราเคิล อิทธิพลของ PaaS เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนา การนำไปปรับใช้ การบริหารจัดการ และการขยายแอพพลิเคชัน SaaS ทีมพัฒนาแอพพลิเคชันสามารถใช้สถาปัตยกรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์ และผลิตภัณฑ์ เช่น IDEs หรือ Integrated Development Environments และจากนั้นนำแอพไปปรับใช้งานภายในองค์กรหรือคลาวด์แบบสาธารณะ การนำแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ และการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อรองรับแอพพลิเคชันดังกล่าวสามารถทำสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นพร้อมกับความเสี่ยงที่ลดน้อยลงไปจากการใช้ PaaS

PaaS รูปแบบคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุด

การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่าตลาด PaaS จะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2015 และจะมีรายได้ทั่วโลกถึง 2.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2016 องค์กรทั้งหลายกำลังมองหาบริการด้านแพลตฟอร์มที่ปล่อยให้สร้างและนำแอพพลิเคชันมาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนระหว่างระบบคลาวด์และระบบภายในองค์กรพร้อมกับลดความยุ่งยากลง องค์กรต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นที่จะมีแอพพลิเคชันทางธุรกิจที่คล่องตัวมากขึ้น และมีความสามารถที่จะผสมผสานความสามารถทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ และด้านโซเชียลชนิดใหม่เข้าด้วยกัน

จะเกิดประสิทธิภาพและความสามารถมากยิ่งขึ้นหากมีการสร้างความสามารถเหล่านี้ใน PaaS ดังนั้นก็จะสามารถนำไปใช้งานและแบ่งปันโดยแอพพลิเคชันจำนวนมากได้ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยม การรองรับการทำงานภายนอกหรือที่ต่าง ๆ ต้องมีการตระเตรียมอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ แพลตฟอร์มการพัฒนา และมาตรฐาน การมีแพลตฟอร์ม PaaS เพื่อจัดการแพลตฟอร์มและอุปกรณ์เคลื่อนที่จำนวนมากจะลดความยุ่งยากด้านไอทีซึ่งสอดคล้องกับการบูรณาการ ความปลอดภัย และความสามารถเชิงปฏิบัติการ ในบางกรณี เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นที่จะเคลื่อนย้ายแอพพลิเคชันทางธุรกิจของคุณไปยังระบบคลาวด์ที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมุมมองด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ โซเชียล และการร่วมมือกันของแพลตฟอร์ม PaaS กว่าการสร้างบริการแอพพลิเคชันใหม่เหล่านี้จากการทำเองมาตั้งแต่ต้น

ขณะที่เราเคลื่อนตัวไปยังเศรษฐกิจดิจิทัล การบริการ PaaS จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจแก่การเข้าถึงตลาดที่เร็วขึ้นและการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นพร้อมกับพนักงานและผู้บริโภค PaaS กำลังกลายเป็นทางเลือกที่นิยมอย่างสูงสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชันที่คล่องตัวมากขึ้นสำหรับการพัฒนา การทดสอบ และการนำแอพพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

from:https://www.techtalkthai.com/oracle-paas-saas-iaas/