คลังเก็บป้ายกำกับ: ETDA

ความท้าทายของ AI อยู่ตรงไหน ในวงการแพทย์ไทย

ตั้งแต่เปิดต้นปี 2566 เป็นต้นมา หลายคนคงได้อัปเดตเทรนด์ใหม่ตามสายอุตสาหกรรมต่างๆ กันไปอย่างเข้มข้นไม่น้อย ซึ่งถ้าลองดูประเด็นฮอตในช่วงเวลานี้ที่มีการพูดถึงมากขึ้นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคนในอนาคต ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องเทรนด์ Health & Wellness ในวงการสุขภาพ โดยเฉพาะในประเด็นที่ผนวกกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการดูแลทางการแพทย์ให้ดีขึ้น ที่ปัจจุบันไทยเรามีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ หลายแห่งแล้ว โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการใช้งานในวงกว้างมากขึ้น ฉะนั้น โอกาสของ ‘สุขภาพกับเทคโนโลยี AI วันนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว’ จะสามารถก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน เพื่อยกระดับชีวิต สุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นกว่าที่เคยได้อย่างไรบ้าง รวมถึงปัญหาและความท้าทายที่นักพัฒนา ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้ให้บริการ (Digital Service Provider) หน่วยงานรัฐ-เอกชน และประชาชน จะต้องจับตาคืออะไร

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จะพาทุกคนไปร่วมถอดบทเรียน จากวงเสวนาสุดฮิตประจำปีของ ETDA ที่เรียกว่าเต็มทุกที่นั่ง กับเวทีเสวนาในหัวข้อ “AI for Better Health and Well-being” ในงาน Digital Governance Thailand 2023 หรือ DGT 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เวทีนี้ นำโดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA ร่วมกับ ผศ.ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร จาก สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) คุณพงษ์ชัย เพชรสังหาร จาก DietZ (ไดเอทซ์) ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกล นพ.เดโชวัต พรมดา จาก HealthTAG (เฮลธ์แท็ก) เทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ และคุณนพฤทธิ์ กมลสุวรรณ จาก Spring News ที่ร่วมกันเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง เกี่ยวกับการใช้ AI ในวงการด้านสุขภาพของไทย ซึ่งจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขับเคลื่อนวงการแพทย์ให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งจากการพูดคุยของผู้เชี่ยวชาญในวงเสวนา มี 3 ประเด็นหลักที่น่าสนใจ ดังนี้

AI

รู้หรือไม่? ไทยใช้ AI ช่วยรักษาและดูแลสุขภาพคนไทยแล้ว

ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นวัตกรรมล้ำสมัยได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเราในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมตลอดจนสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตลาดและโฆษณา การศึกษา เทคโนโลยี การให้คำปรึกษา การเกษตร การขนส่ง การผลิต หรือแม้แต่วงการแพทย์ เพื่อเข้ามาช่วยให้การทำงานหลายอย่างของมนุษย์ที่ต้องใช้ข้อมูลและระยะเวลาในการประมวลผลสามารถทำได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น จะเห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในหลายๆ ประเทศมีผู้ประกอบการได้เริ่มแสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ โดยเฉพาะวงการสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้นจะมีทั้งในส่วนที่เป็นแอปพลิเคชัน ตลอดจนการผนวกกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วย ช่วยในการวินิจฉัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนแพทย์ ซึ่งถือว่าช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการเข้าถึงผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่าเดิม อาทิ

แอปพลิเคชัน ‘CHIVID’ ที่มีชื่อเต็มๆ ว่า AI-Driven Community/Home Isolation-Based Electronic Health Record during COVID-19 pandemics แค่ชื่อก็ทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า แอปพลิเคชันนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเฝ้าระวัง ติดตามสังเกตอาการ คัดกรองและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ระยะทางไกล ถือว่าช่วยเบาแรงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น การอยู่ระหว่าง Home Isolation หรืออยู่ศูนย์โรงพยาบาลสนาม ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงของการแพร่ระบาด โดยแอปพลิเคชันนี้จะนำ AI เข้ามาช่วยทั้งในการตรวจสอบประวัติเบื้องต้น คัดกรอง และอนุมัติผู้ป่วยเข้าระบบ ถือเป็นการจัดการข้อมูลก่อนการวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งช่วงที่มีการแแพร่ระบาด แอปพลิเคชันนี้สามารถดูแลผู้ป่วยได้มากกว่า 3 หมื่นคนในกว่า 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และช่วยให้ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเข้าถึงหมอได้ง่ายขึ้น มีการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลได้ทันเวลา

‘Perceptra (เพอเซ็ปทรา)’  AI สัญญาติไทยที่สามารถอ่านผลเอกซเรย์ หรือภาพรังสีต่างๆ พร้อมชี้จุดตำแหน่งผิดปกติให้แพทย์ได้ทราบ ซึ่พงถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและลดภาระให้กับรังสีแพทย์ ที่ปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากๆ แต่กลับต้องแบกรับหน้าที่ในการอ่านภาพเอกซเรย์ของผู้ป่วยตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นภาพต่อวันเลยทีเดียว ดังนั้น การนำ AI เข้ามาวินิจฉัยช่วยแพทย์ จึงไม่ได้แค่ช่วยลดงาน แต่ยังทำให้ประสิทธิภาพของการวินิจฉัยดีขึ้นด้วย จากการทำงานบนข้อมูล Big Data ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยโมเดลที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ละเอียดและมีประโยชน์ต่อแพทย์มากที่สุด โดยปีที่แล้ว Perceptra สามารถช่วยอ่านผลเอกซเรย์ในช่วงโควิด-19 ได้กว่า 1 ล้านภาพและติดตั้งในโรงพยาบาลแล้วกว่า 80 แห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์ และโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นต้น

แอปพลิเคชัน ‘PharmaSee’  คิดค้นขึ้นจากปัญหาที่คนไข้ไม่ทราบว่า ยาที่ทานอยู่ประจำคือยาอะไร  และมักจะถือยาใส่ถุงมาให้เภสัชกรดูบ่อยครั้ง ซึ่ง PharmaSee ได้รับการสนับสนุนจากเภสัชกรและแพทย์ในการรวบรวมภาพถ่ายยา พร้อมช่วยแยกแยะลักษณะยาและป้อนข้อมูลเข้าแอปพลิเคชันนี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องสงสัยหรือลืมชื่อยาที่ทานอีกต่อไป เพราะยาถูกบันทึกไว้ในแอปพลิเคชันนี้แล้ว โดยที่แพทย์ก็สามารถทราบข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ได้ด้วยเพียงเปิดแอปพลิเคชัน

และ ‘Dietz (ไดเอทซ์)’ แอปพลิเคชันสำหรับแพลตฟอร์มการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล ให้เข้าถึงการรักษาจากแพทย์มากขึ้น พร้อมมีการประยุกต์ใช้ AI ในการเข้ามาคัดกรองผู้ป่วยและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วย โดยปี 2565 ที่ผ่านมา แอปพลิเคชันนี้ สามารถช่วยผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาได้กว่า 2 แสนราย จาก 200 โรงพยาบาล

โดยแอปพลิเคชันและระบบที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อการรักษาทางการแพทย์ที่ล้วนเกิดขึ้นจากการร่วมมือของหน่วยงานรัฐและเอกชน นับเป็นหนึ่งสัญญาณที่ดีของไทยที่เกิดขึ้นแล้ว

“ข้อมูล (DATA)” คือความท้าทายครั้งใหญ่ ในการพัฒนา AI ผู้ช่วยแพทย์

แม้ปัจจุบัน AI เริ่มมีการนำมาใช้ในวงการแพทย์ไทยแล้ว แต่ประเด็นท้าทายที่สำคัญ คือการจัดการ‘ข้อมูล (Data)’ ซึ่งข้อมูลนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา AI ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่มี Open Data แหล่งข้อมูลที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาเติมความรู้ด้าน AI และขาดแคลนทั้งในมุมของผู้ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อนำมาติด Label แล้วทำให้เกิด Dataset ซึ่งอาจจะเรียกผู้ที่ทำหน้าที่นี้ว่าเป็น AI Creators ได้ ถ้ามีแบบนี้เกิดขึ้น ประเทศไทยอาจจะมี Healthcare Dataset ของไทยก็ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการมีแหล่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และประมวลผล เช่น แหล่งข้อมูลภาพเอกซ์เรย์ปอด ภาพแมมโมแกรม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ด้วยสาเหตุจากประเด็นเรื่องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ขณะที่ข้อมูลที่มีอยู่ ก็กระจัดกระจายตามหน่วยงานโรงพยาบาลต่างๆ ที่สำคัญหลายแห่งยังไม่ถูกเก็บหรือบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ไม่มีการเชื่อมต่อหรือแชร์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้วยกันเอง ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นข้อมูลส่วนตัวและเป็นข้อมูลประวัติการรักษาที่เป็นสิทธิของผู้ป่วย ไม่สามารถเปิดเผยได้หากไม่ได้รับการยินยอม

สิ่งที่อยากชวนมองหรือพัฒนาต่อ คือ การมี National Healthcare Open Dataset ในระดับประเทศ โดยอาจแบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ ส่วนแรกคือ ด้านเจ้าของข้อมูล เช่น โรงพยาบาล คลินิก ร้านยา ส่วนที่สอง คือ ด้านมาตรฐานข้อมูล ดูแลเรื่องรหัสแล็บ ยา โรค อาการ วิธีการตรวจ ซึ่งอาจจะต้องมีหน่วยงานกลาง ภายใต้ Business Model ที่ดูแลให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ และสามารถนำข้อมูลไปศึกษาต่อได้ เช่น ข้อมูลเซตภาพปอด ภาพแมมโมแกรมมะเร็งเต้านม โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเจ้าของภาพคือใคร นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ การปรับชุดความคิดในการทำงานของหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ที่คิดว่าตนเป็นเจ้าของข้อมูล เป็นเจ้าของคนไข้  ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลของคนไข้ได้ ซึ่งถ้าสามารถเปิดข้อมูลได้ เกิด Open Data ได้ จะทำให้การพัฒนา AI เป็นไปได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีเรื่องของระเบียบทางราชการ การจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ รวมถึงเรื่องระเบียบในการขอข้อมูล ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความท้าทายเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ขณะที่ความเหมาะสมและปลอดภัยในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI กับการรักษาก็ยังคงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายต่างเฝ้าระวังด้วย

นี่จึงเป็นโจทย์ท้าทายครั้งสำคัญ ที่ทำให้ ETDA โดยศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance Clinic by ETDA ที่ขอเรียกย่อๆ จากนี้ว่า “ศูนย์ AIGC” พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ทั้งไทยและต่างประเทศจึงเดินหน้าร่วมกันศึกษาเพื่อพัฒนากรอบธรรมาภิบาลด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์กับทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศเป็นเซคเตอร์แรกๆเพื่อให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ทางการแพทย์และทางด้านสาธารณสุขของไทยมีความเหมาะสม ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ควรจะเป็น พร้อมๆ กับการให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI สำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการที่สนใจด้วย

การพัฒนา AI คนใช้งานไม่ได้มีแค่แพทย์ แต่ยังมีผู้ป่วย

การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้เป็นความท้าทายสำหรับภาครัฐเท่านั้น แต่สำหรับภาคเอกชน โดยเฉพาะนักพัฒนาเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน หรือระบบต่างๆ ล้วนแต่ต้องเจอความท้าทายเช่นกัน เพราะจะสร้างแพลตฟอร์ม แอปฯ หรือระบบที่เข้ามาช่วยในการรักษาสักอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญนอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพของเทคโนโลยี และเรื่องของเงินทุน ก็คือ ผู้พัฒนาต้องมองภาพใหญ่ว่า ผู้ใช้งานไม่ได้มีแค่แพทย์เท่านั้น แต่ยังมีผู้ป่วยด้วย ซึ่งผู้ป่วยนั้น มีทั้งผู้สูงอายุที่ติดเตียง เด็กที่มีความรู้ ภูมิหลัง ตลอดจนพื้นฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ท่ามกลางกระแสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ควรคำนึงถึงความง่ายต่อการใช้งาน ไม่ซับซ้อน ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความปลอดภัย

AI ถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนวงการแพทย์ไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียมสากลและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการรักษาได้ ไม่ว่าจะเป็น ลดการทำงานซ้ำซ้อนของบุคลากร ที่ต้องทำงานแบบ Routine จนอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจากการทำงาน เช่น งานที่ต้องตรวจสอบข้อมูลจำนวนมากๆ ที่ต้องใช้ทั้งเวลา และบุคลากรที่มีอย่างจำกัด ช่วยในการวินิจฉัยโรคเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรแพทย์ ในกรณีที่แพทย์ไม่ต้องลงมือทำเอง เช่น การตรวจการนอนหลับผู้ป่วยที่ต้องใช้เวลา 7-8 ชั่วโมง ซึ่งต้องใช้เวลาดูแลตลอดคืน ส่งผลให้ร่างกายล้า ดังนั้น การใช้ AI เข้ามาช่วยวินิจฉัย จะไม่ได้หมายถึง AI มาทำหน้าที่แทนแพทย์ทั้งหมด โดยแพทย์จะเป็นผู้สอนให้ AI รับทราบเกี่ยวกับจุดที่ควรตรวจจับ และไฮไลท์จุดที่ผิดปกติขณะตรวจได้ เช่น กรณีภาพถ่ายเนื้อเยื่อเซลล์มะเร็งที่ต้องตรวจจากภาพย้อม ซึ่งภาพมีขนาดใหญ่มาก แต่ต้องหาจุดผิดปกติจุดเดียว อาจทำให้ตาลาย และเทคนิคการย้อมมีหลายแบบที่ไม่ใช่ทุกคนอ่านได้ ดังนั้น AI จะเข้ามาช่วยทำงานคู่กับแพทย์ในการตรวจจับจุดที่ผิดปกติให้เร็วขึ้น และ  AI ช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ โดยให้ AI ระบุสิ่งที่ไม่เคยสังเกตเห็นหรือว่าผิดปกติ ซึ่งเมื่อแพทย์ตรวจพบจะศึกษา ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ และอธิบายทางชีววิทยาไปพร้อมกัน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ทางการแพทย์ต่อไป นอกจากนี้ AI ยังสามารถลดต้นทุนที่ส่งผลในเชิงเศรษฐกิจ ที่ภาครัฐต้องเข้ามาอุดหนุนด้านค่ารักษาพยาบาลที่ต้องตรวจซ้ำๆ ในหลายๆ จุดได้ จากการเปลี่ยนมาใช้ AI แทนมนุษย์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ดังนั้น หากพิจารณาในวันนี้…ที่เริ่มมีการพัฒนา AI ใช้ในวงการแพทย์แล้ว แนวโน้มในอนาคตคาดว่าจะมีการพัฒนาและนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเทคโนโลยี AI ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลสุขภาพของคนไทย โดย ประชาชน จะได้รับบริการทางแพทย์ที่รวดเร็วขึ้น ข้อจำกัดทางด้านระยะทางจะค่อยๆ หมดไป บุคลากรทางแพทย์ได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดสู่การรักษาคนไข้ต่อไป ภาครัฐ ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย และค่าจ้างบุคลากร นำงบประมาณไปบริหารส่วนอื่นๆ เพื่อประชาชนได้อย่างคุ้มค่าขึ้น ภาคเอกชน พัฒนาระบบการใช้ AI ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ทางดิจิทัล ขยายขีดความสามารถทางการแข่งขันและสร้างรายได้สู่ประเทศ และประเทศ เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างกว้างขวาง เพื่อยกระดับชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น ที่สำคัญยังนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าสัดส่วน GDP ทางดิจิทัลให้แก่ประเทศ ฉะนั้น ความท้าทายในการพัฒนา AI อย่างไร ให้ตอบโจทย์วงการแพทย์ไทยนั้น ท้ายที่สุดจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันจากทุกฝ่าย ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างพื้นที่เชื่อมต่อข้อมูล การใช้เทคโนโลยีอย่างมีธรรมาภิบาล และการสร้างมาตรฐานในการใช้ AI เพื่อให้การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี มีความมั่นคง ปลอดภัย มากที่สุด

from:https://www.thumbsup.in.th/ai-medical-thailand?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ai-medical-thailand

ETDA จัดใหญ่! โชว์ผลงานเด่นรอบปี เผยปี 66 รุกหนัก ลุยปิดช่องโหว่ เผชิญความท้าทาย ดันคนไทยชีวิตดีกว่าที่เคย…เมื่อมีดิจิทัล

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงาน “ETDA 12 ปี #ชีวิตดี เมื่อมีดิจิทัล” เปิดผลงานเด่นรอบปี 2565 ผ่าน 5 งานไฮไลท์ “เร่งเครื่องการทำธุรกรรมฯ ประเทศ-ดันใช้ดิจิทัลไอดีในวงกว้าง-กำกับดูแลดิจิทัลแพลตฟอร์ม-ยกระดับการทำงาน ธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยี-พัฒนาคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน”

พร้อมประกาศโจทย์ใหญ่ก้าวต่อไปในปี 2566 เดินหน้าก้าวผ่านทุกช่องโหว่ ความท้าทาย ตั้งเป้า “ประเทศ ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐ ประชาชน ชีวิตต้องดีกว่าที่เคย…เมื่อมีดิจิทัล”

พร้อมเดินหน้าผนึกกำลังพาร์ทเนอร์ดิจิทัลทั้งไทยและต่างประเทศ จัดงานใหญ่แห่งปี Digital Governance Thailand 2023 (DGT 2023) ภายใต้แนวคิด  Happiness Creation วันที่ 24-25 ก.พ. 66 นี้

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การทำให้ชีวิตคนไทยทุกกลุ่มง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มั่นใจขึ้น ปลอดภัยขึ้น มีชีวิตดิจิทัลดีขึ้นกว่าที่เคย…ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ ETDA เดินหน้าเร่งเครื่องให้ประเทศเกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติต่างๆ อย่างมั่นคงปลอดภัยน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างสังคมดิจิทัล เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ETDA มุ่งยกระดับชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีขึ้น ผ่านการดำเนินงานหลักๆ 5 ส่วนด้วยกัน 

ส่วนที่ 1 การผลักดัน National Strategic plan เร่งเครื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ผ่าน ร่างแผนยุทธศาสตร์ธุรกรรมฯ ชาติปี 66-70, การคาดการณ์อนาคตระยะ 10 ปี โดยศูนย์ Foresight Center by ETDA เพื่อหาแนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น 

ส่วนที่ 2 การส่งเสริมให้เกิด Digital ID Ecosystem รองรับการใช้งาน Digital ID ในวงกว้าง ผ่านการเตรียมทั้งร่างกฎหมาย มาตรฐาน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID และการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเห็นตัวอย่างการใช้งาน Digital ID ในปัจจุบัน ด้วยแคมเปญ MEiD บริการไทย…ไร้รอยต่อ 

ส่วนที่ 3 การกำกับ ดูแล Digital Platform ให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสในการแข่งขัน ผ่านร่างกฎหมาย Digital Platform 

ส่วนที่ 4 Digital Adoption & Transformation ยกระดับความรู้ความสามารถ เพื่อให้คนไทยยกระดับการทำงานและธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ไปกับสถาบัน ADTE by ETDA แหล่งรวมความรู้เพื่อคนดิจิทัล และแคมเปญ ETDA Launchpad ที่สร้างพื้นที่ของการจับคู่ธุรกิจระหว่าง SMEs และผู้ให้บริการดิจิทัล และกิจกรรม AI Governance Webinar  

ส่วนที่ 5 Human Development พัฒนาคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน ผ่านโปรเจกต์ ETDA Digital Citizen (EDC) โค้ชดิจิทัลชุมชนและได้รับการช่วยเหลือ…เมื่อตกเป็นเหยื่อ  ผ่านศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (1212ETDA) เป็นต้น

จากการดำเนินงานต่างๆ ข้างต้น เป็นการคำนึงถึง Ecosystem หรือระบบนิเวศในการพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งล้วนเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การทำธุรกรรมฯ ทั้งในมุมของประเทศ ผู้ประกอบการ Service Provider  หน่วยงานรัฐและประชาชน ดีขึ้นในหลากหลายมิติ ที่จะช่วยเติมเต็มสิ่งที่เรายังขาด  เช่น

ในมุมของประเทศ วันนี้เรามีทิศทางที่ชัดขึ้นในการเร่งเครื่องการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญได้มีการพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศที่พร้อมกับการใช้งาน Digital ID ในวงกว้าง ผ่านบริการที่ใช้ได้จริง และพร้อมสำหรับการพัฒนาในระดับต่อไปเพื่อให้สามารถขยายการใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น เช่น บริการ Mobile ID ของสำนักงาน กสทช. และ บริการ D.DOPA ของกรมการปกครอง

การมีกลไกดูแล Digital Platform ของผู้ให้บริการทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรม โปร่งใสในการประกอบกิจกรรมธุรกิจบริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม มีข้อมูลที่สะท้อนภาพอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ในรูปแบบ Strategic Foresight 

และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมฯ ในภาพรวมของประเทศที่สะท้อนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย เช่น การสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือ Internet User Behavior (IUB) และการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (e-Commerce Survey) ทำให้มีข้อมูลสำหรับประกอบการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการพัฒนาของประเทศสอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ในมุมของผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล ภายใต้สถาบัน ADTE และแคมเปญ ETDA Launchpad ไปแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 คน ภายใต้หลักสูตรดิจิทัล (ADTE Digital Courses) ที่ได้รับออกแบบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ไม่ว่าจะเป็น e-Signature (ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์), Digital ID (การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล), Digital Transformation (กระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ), e-Document (เอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ฯลฯ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ (ADTE Consult Team) ที่คอยให้คำปรึกษาช่วยให้คำแนะนำเพื่อการก้าวผ่านข้อจำกัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องตามกฎหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง

ทำให้การเปลี่ยนผ่านการทำงานไปสู่ดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ETDA ยังได้รวบรวมรายชื่อเครื่องมือดิจิทัล (e-Tool) รวมกว่า 47 โซลูชันจาก 47 ผู้ให้บริการ ครอบคลุมการทำงานหลากหลายมิติ เช่น ด้านบัญชีการเงิน การขนส่ง การเก็บข้อมูล ฯลฯ มาอยู่ในรูปแบบ e-Catalog ที่ชื่อ “Service Provider Profile” ให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้บริการ เพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบ e-Office 

และวันนี้  หลายองค์กร หลายบริษัท สามารถทำงานในรูปแบบ Remote Working ที่การทำงานไม่จำกัดแค่ในสำนักงานเท่านั้น โดย ETDA ได้ยกระดับการทำงานแบบ Remote working ได้ 100% เพื่อเป็นต้นแบบกับหน่วยงานที่สนใจ พร้อมกันนี้ยังมีการสนับสนุนในมุมของการยื่นใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) ผ่านระบบและผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองระบบสารสนเทศ

ในมุมของผู้ให้บริการ Service Provider มีพื้นที่ในการร่วมสร้างและการันตีความน่าเชื่อถือของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมฯ ผ่าน Digital Service Sandbox สนามทดสอบความพร้อมของนวัตกรรมว่ามีความสอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ก่อนให้บริการจริงและกิจกรรม Hackathon ต่างๆ ที่ ETDA จัดขึ้น เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมด้าน Digital ID และ e-Office ทำให้มีเวที Showcase และประลองไอเดีย ร่วมพัฒนานวัตกรรม ช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

จนนำมาสู่การจับคู่ทางธุรกิจ ระหว่าง ผู้ให้บริการ และ SMEs แล้วไม่น้อยกว่า 200 คู่ พร้อมโอกาสในการเป็นพาร์ทเนอร์กับ ETDA ในการร่วมแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ต่อยอดให้เกิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสม ไปกับ ETDA Live และกิจกรรม Workshop ต่างๆ

ตลอดจนการผลักดันให้เกิดการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นธรรม เท่าเทียม โปร่งใส ภายใต้การเสนอร่างกฎหมาย Digital Platform และ Digital ID ที่รอการประกาศใช้ ทำให้ ETDA ได้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมทั้งผู้ประกอบการ และจัดเตรียมมาตรฐาน แนวทาง และมาตรการที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง

ในมุมของหน่วยงานรัฐ ทำงานสะดวก เร็วขึ้น ด้วย e-Saraban โมเดลต้นแบบพัฒนาโดย ETDA เพื่อยกระดับงานเอกสารภาครัฐ จากกระดาษสู่อิเล็กทรอนิกส์ สามารถลงนาม ส่งต่อได้ ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันเกิดการนำร่องใช้งานแล้ว 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำนักงาน ป.ย.ป.

พร้อมร่วมผลักดันเอกสารสำคัญๆ ของรัฐ เช่น ใบอนุมัติอนุญาต, ใบเสร็จรับเงิน, ใบรับรองแพทย์ และ Digital Transcript ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลแล้ว ส่งเสริมการให้บริการ หรือ e-Government Service โดยการทำางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ภาครัฐที่สำคัญ

พร้อมกันนี้ ขณะนี้เนื่องจากอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านงานทางด้าน  Cybersecurity จึงยังมีการดำเนินงานในการเฝ้าระวังและจัดการภัยคุกคามไซเบอร์ ให้กับหน่วยงานรัฐซึ่งในปี 65 ได้ดำเนินการไปแล้ว 280 หน่วยงาน พร้อมเปิดพื้นให้หน่วยงานรัฐนำนวัตกรรมร่วมทดสอบใน Digital Service Sandbox การรันตีความพร้อมก่อนให้บริการจริง อย่าง ไปรษณีย์ไทย (บริการ e-Timestamp)  กสทช. (บริการ Mobile ID) และ NECTEC (บริการ e-Meeting ระบบเลือกตั้งออนไลน์) โดยไม่ลืมที่จะพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล แก่บุคลากรภาครัฐ ที่ผ่านการอบรมโดยสถาบัน ADTE ไปแล้วไม่น้อยกว่า 1,500 คน

ในมุมของประชาชน ได้รับการพัฒนาทักษะสู่พลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันโลกออนไลน์ไปกับโครงการ EDC (ETDA Digital Citizen) แล้วไม่น้อยกว่า 5,700 คน ทั่วประเทศ ต่อยอดสู่เทรนเนอร์ดิจิทัล (EDC Trainer) ที่พร้อมส่งต่อความรู้สู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 250 คน

ทั้งยังมีสื่อเรียนรู้วิดิทัศน์สร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ ที่คนไทยเข้าชมแล้วมากกว่า 26 ล้านการเข้าชม นอกจากนี้ คนในชุมชนกว่า 186 ชุมชน ยังสามารถโกออนไลน์ สร้างรายได้จากการขายสินค้าท้องถิ่นสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลแล้วกว่า 70.65% ภายใต้โครงการโค้ชดิจิทัลชุมชน

นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงเมื่อประชาชนพบกับปัญหา เมื่อเกิดปัญหาออนไลน์ยังสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้ง่ายมากขึ้น ผ่านศูนย์ 1212 ETDA ที่ให้บริการตลอด 24 ชม. ช่วยประสานส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่ครอบคลุมทั่วประเทศในระดับชุมชน

ส่งผลให้ผู้บริโภคออนไลน์เข้าถึงการดูแลแล้วกว่า 95% จากจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด ที่สำคัญคนไทยยังมีความรู้ ความเข้าใจ  เกี่ยวกับ Digital ID รวมถึงได้รู้จัก Use Case ของบริการภาครัฐและเอกชนที่เชื่อมต่อกับบริการ Digital ID เพิ่มมากขึ้นและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนได้มีรู้จัก มีความตระหนัก สำหรับการเข้าสู่การใช้บริการทั้งในภาคการเงิน หรือการให้บริการภาครัฐ ผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในแคมเปญ MEiD (มีไอดี…บริการไทย ไร้รอยต่อ)  เป็นต้น

ดร.ชัยชนะ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้คนไทยมีชีวิตดิจิทัล ที่ดียิ่งขึ้นกว่าที่เคย ในก้าวต่อไป ปี 2566 ETDA จึงมีเป้าหมายในการทำงานในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 66-70) ด้วยโจทย์ 30:30 คือ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP เป็น 30% และวางเป้าให้ไทยเป็น 30 อันดับแรกของโลกที่มีความสามารถการแข่งขันทางดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์ในการเติมเต็มอนาคตธุรกรรมฯ ของไทย  คือ

ประเทศ ต้องเกิดการประยุกต์ใช้กลไกการกำกับดูแล Digital Platform ภายใต้มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ เกณฑ์การกำกับที่จำเป็น เกิดแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม รู้ว่าบริการไหนที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและที่ได้รับการยกเว้น

และต้องมีข้อมูล Strategic Foresight ที่ช่วยให้การมองอนาคตดิจิทัลชัดขึ้นในรูปแบบงานวิจัยและข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะในมิติ Well-being, Digital Tourism ภายใต้ Foresight Center ที่ ETDA ร่วมกับ Partner ไทยและต่างประเทศจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลการทำธุรกรรมฯ ของประเทศ ที่พร้อมกระจายความรู้สู่ทุกภาคส่วน ต้องมีกรอบธรรมาภิบาลสำหรับการประยุกต์ใช้ AI หรือ AI Governance Framework 

โดยเริ่มในกลุ่ม Health Sector และมี AI Governance Course เพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริการและบุคลากรในการประยุกต์ Framework และต้องมีดัชนีความพร้อมทางด้านดิจิทัล หรือ Digital Transformation Maturity Index เพื่อให้ทราบถึงสถานะของผู้ประกอบการ ปัญหา อุปสรรคและนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไข

ส่งเสริมเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่ตรงความต้องการมากที่สุด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ของประเทศ และสุดท้าย คือ การมีแนวทางการบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain

เอกชน ผู้ประกอบการ SMEs และ Service Provider ต้องเร่งเครื่องการจับคู่ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ผ่านกิจกรรม Business matching ร่วมสร้างบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ รองรับธุรกิจดิจิทัล ผ่านการจัดกิจกรรม Hackathon และการทดสอบนวัตกรรม ภายใต้ Innovation Sandbox by ETDA และ ETDA Testbed สำหรับ SMEs จะมีแหล่งให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ผ่านศูนย์ ADTE by ETDA ที่ร่วมกับพาร์ทเนอร์พัฒนาหลักสูตร Mandatory course ที่จำเป็นสำหรับคนยุคดิจิทัล

หน่วยงานรัฐ เร่งเครื่องสนับสนุนกับหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบเร็วที่สุด ภายใต้กฎหมาย มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการให้คำปรึกษาแนวทางปฏิบัติจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ ETDA ทั้งยังต้องมีหลักสูตรความรู้ที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยสถาบัน ADTE เพื่อให้เกิดการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งขยายผลให้เกิดการใช้งานระบบ e-Saraban ระบบ e-Timestamp ระบบ e-Signature กับหน่วยงานสำคัญๆ ของภาครัฐขยายวงกว้างยิ่งขึ้น

ประชาชน จะเดินหน้าพัฒนาคนไทยและกลุ่มที่เปราะบาง ตลอดจนกลุ่มผู้พิการ ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ผ่านการต่อยอดโครงการ ETDA Digital Citizen (EDC) และ EDC Trainer ที่กระจายความรู้ไปทั่วประเทศมากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งมีการเข้าถึงทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์

พร้อมมุ่งยกระดับความรู้ของคนในชุมชน สู่การสร้างรายได้ ผ่านเครือข่ายในพื้นที่ อย่าง สถาบันการศึกษาและผู้นำชุมชน ไปกับโค้ชดิจิทัลชุมชน หรือ ETDA Local  Digital Coach (ELDC) ที่จะกระจายสู่ 4 ภูมิภาค

พร้อมๆ กับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ ผ่านหลักสูตร  EASY e-Commerce ที่สามารถเข้าเรียนได้ผ่านออนไลน์ต่อยอดสู่กิจกรรม Pitching เพิ่มทักษะการคิดในเชิงธุรกิจมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ด้วยการเพิ่มเครือข่ายการทำงานของ ศูนย์ 1212 ETDA ที่ลงลึกระดับพื้นที่มากขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน  ETDA จึงเดินหน้าจัดงานใหญ่ ครั้งแรกกับงาน Digital Governance Thailand หรือ DGT 2023 ภายใต้คอนเซปต์ Happiness Creation ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ สามย่านมิตรทาวน์ นับเป็นมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะรวมพลพาร์ทเนอร์ด้านดิจิทัลจากทั้งไทยและต่างประเทศมาไว้ที่งานนี้ที่เดียว เพื่อมาร่วมขับเคลื่อนและร่วมสร้างสรรค์ให้ชีวิตดิจิทัลของคนไทย….มีความสุข พร้อมก้าวสู่โลกอนาคตได้เร็วและสำเร็จยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ตัวเลข 30:30 ไปด้วยกัน

“การทำให้ชีวิตดิจิทัลของคนไทย ดีกว่าที่เคยเป็น ปิด GAP ที่คนไทยพบเจอ ถือเป็นโจทย์ท้าทายที่จะเกิดขึ้นโดยที่ ETDA เดินหน้าไปเพียงลำพังไม่ได้ เพราะการเดินทางครั้งนี้ไม่ง่าย เราจึงอยากชวนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชน คุณมาร่วมเป็น Partner เป็นส่วนหนึ่งที่ ร่วมสร้างชีวิตดี…เมื่อมีดิจิทัล อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน”

สำหรับหน่วยงานใดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการจัดงานและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน Digital Governance Thailand หรือ DGT 2023 Happiness Creation กับ ETDA ในครั้งนี้ สามารถสอบถามหรือติดตามรายละเอียดได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/etda-organizes-a-big-event-showcase-outstanding-work-of-the-year/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=etda-organizes-a-big-event-showcase-outstanding-work-of-the-year

ETDA เตรียมเปิดตัว AI Governance Clinic by ETDA (AIGC) ดันคนไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีธรรมาภิบาล 8 พ.ย.นี้ [Guest Post]

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เตรียมจัดงาน “Building Trust and Partnership in AI Governance” เปิดตัว“ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” แหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาล การประยุกต์ใช้ AI ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมจับมือ 3 พาร์ทเนอร์สำคัญ “เนคเทค กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” ลงนาม MOU เร่งสร้างกรอบธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ AI เริ่มกับวงการการแพทย์ของไทย และเตรียมสำหรับแหล่งความรู้เกี่ยวกับ AI Governance วันที่ 8 พ.ย.นี้ สดพร้อมกันที่เพจ ETDA Thailand

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ กล่าวว่า  ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนชีวิตของเราในทุกมิติ ทั้ง การทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนการสอน การทำธุรกรรมทางการเงิน การรักษาพยาบาล และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้แทบทั้งสิ้น และล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) ไปแล้ว โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนดังกล่าว คือ การเตรียมพร้อมให้การประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดย ETDA ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยมีระบบนิเวศ (Ecosystem) ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และเกิดความเชื่อมั่นในการใช้งาน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในประเด็นต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงในมุมของการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันมากขึ้น โดยได้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ อย่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ร่วมกันผ่านโครงการสำคัญ อาทิ การศึกษา AI Standard Landscape ของประเทศไทย เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะ/มาตรฐานการประยุกต์ใช้ AI การศึกษาหลักเกณฑ์การตรวจประเมินการทำงานของโปรแกรมที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

       นำมาสู่ก้าวสำคัญของการยกระดับมาตรฐานของการใช้งาน AI ได้อย่างมีธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด กับงาน Building Trust and Partnership in AI Governance” ที่จะจัดขึ้น ในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นี้ เพื่อเปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ที่ ETDA ร่วมกับพาร์เนอร์ทั้งจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของไทยและสอดคล้องกับแนวนโยบายในระดับสากล พร้อมเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรในระดับต่างๆ ที่มีการดำเนินงานร่วมกับ สถาบัน ADTE (Academy of Digital Transformation by ETDA) และศูนย์ AIGC นี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศที่จะคอยให้คำปรึกษาด้านนโยบายและธรรมาภิบาลในการประยุกต์ใช้งาน AI  โดยคำนึงถึงมิติต่างๆ ที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ETDA และพาร์ทเนอร์ ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค), กรมการแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการร่วมกันพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ในวงการแพทย์ ที่สอดคล้องกับบริบทของคนไทยและร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี AI ระหว่างกัน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ AI Governance Clinic แห่งแรกของประเทศไทยไปด้วยกัน

ที่สำคัญ ในงานดังกล่าวยังเปิดพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์จากผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศ ผ่านหัวข้อการพูดคุยที่น่าสนใจ ได้แก่

  • การบรรยายพิเศษในหัวข้อ The need for Thailand AI Governance: Why What and How?” โดย ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA ที่จะมาบอกเล่าถึงที่มาและความสำคัญของการมีศูนย์ AI Governance Clinic by ETDA หรือ AIGC ที่จะทำให้การใช้งาน AI อย่างมีธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของสากลได้อย่างไร?
  • การเสวนาหัวข้อ The Need for AI Governance” ที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักตัวอย่างของความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ AI ทางการแพทย์ ตลอดจนผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และทิศทางของการมีธรรมาภิบาลในการประยุกต์ใช้ AI ที่น่าสนใจ และความสำคัญของการกำหนดนโยบายและธรรมาภิบาลในการใช้ AI สำหรับกลุ่มการแพทย์และสาธารณสุข นำโดย
    ดร. น.พ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ และอาจารย์ ภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์ คลินิก น.พ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมสาขาจักษุวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ศาสตราจารย์ คลินิก ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี มหาวิทยาลัยรังสิต, Professor Dr. Urs Gasser คณบดีคณะสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA (ดำเนินรายการ)

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงาน “Building Trust and Partnership in AI Governance” ได้ในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live ที่เพจ ETDA Thailand (https://www.facebook.com/ETDA.Thailand)

from:https://www.techtalkthai.com/etda-building-trust-and-partnership-in-ai-governance-gueat-post/

ผลสำรวจเผย Gen Y ครองแชมป์ใช้เน็ตวันละ 9 ชม. ส่วนคนไทยนิยมใช้ Facebook ขายของมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น

ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้เน็ตของคนไทย พบว่าคน Gen Y ใช้เน็ตกันมากที่สุด วันนึงเฉลี่ยใช้สูงถึง 8 ชั่วโมง 55 นาที ในขณะที่คนไทยทั่วไปใช้เน็ตวันละ 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการสำรวจเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่นกิจกรรมที่คนมักจะทำผ่านอินเทอร์เน็ต หรือจะเป็นเรื่องแพลตฟอร์มที่นิยมใช้สำหรับขายของออนไลน์ที่สุด

จำนวนการใช้เน็ตตามพื้นที่

ข้อมูลผลสำรวจจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) พบว่าเฉลี่ยคนไทยใช้เน็ตกันวันละ 7 ชั่วโมง 4 นาที แต่ถ้าเป็นคนที่อาศัยอยู่กรุงเทพจะใช้เน็ตสูงสุดถึง 10 ชั่วโมง 5 นาทีเลยทีเดียว ส่วนพื้นที่ ๆ คนใช้เน็ตน้อยที่สุดคือภาคใต้ ใช้กันเฉลี่ยที่ 5 ชั่วโมง 35 นาทีเท่านั้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และเหนือใช้กันอยู่ไม่แตกต่างกันมากที่ 6 ชั่วโมง 59 นาที, 6 ชั่วโมง 45 นาที และ 6 ชั่วโมง 17 นาที ตามลำดับ

ช่วงอายุ

หากแบ่งตามช่วงอายุจะพบว่า Gen Y หรือช่วงอายุ 22-41 ปี ใช้เน็ตกันมากที่สุด เฉลี่ย 8 ชั่วโมง 55 นาที ส่วนอันดับสองเป็น Gen Z (อายุต่ำกว่า 22) ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง อยู่ที่ 8 ชั่วโมง 24 นาที อันดับสาม Gen X (อายุ 42-57 ปี) ใช้กัน 5 ชั่วโมง 52 นาที และกลุ่มที่ใช้เน็ตน้อยสุดคือ Baby Boomers (อายุ 58 ปีขึ้นไป) ใช้ราว 3 ชั่วโมง 21 นาที

อาชีพ

ส่วนอาชีพที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดตกเป็นของ ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ใช้เฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมง 37 นาที เพิ่มขึ้นมาสูงเกินอาชีพอื่นลิ่วเลย อาจเพราะเริ่มเปลี่ยนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น ส่วนอาชีพรองลงมาคือพวกนักเรียนและนักศึกษา ใช้กันสูงไม่ใช่น้อย วันละ 8 ชั่วโมง 57 นาที อาชีพใช้เน็ตน้อยสุดคือพวกพนักงานเอกชน ใช้วันละ 7 ชั่วโมง 6 นาที

กิจกรรมยอดฮิต

ทางด้านกิจกรรมที่คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตทำกัน อันดับ 1 เลยคือการจองคิวและปรึกษากับแพทย์ สูงถึง 85.16% ซึ่งคาดว่ามาจากการที่มีโรคโควิด-19 ระบาดทำให้คนต้องใช้บริการทางการแพทย์กันเยอะ เช่นต้องหาที่รักษาตัว จองฉีดวัคซีน ตรวจโรคและอื่น ๆ อีก อันดับที่ 2 คือใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร อย่างการแชทและคอลออนไลน์ 65.70% อันดับ 3 คือการเสพสื่อ อย่างดูหนัง คลิป ทีวี ฟังเพลง 41.51% อันดับ 4 คือใช้ดูไลฟ์ขายของ มีนักช็อปรอดูไลฟ์อยู่ไม่น้อยเลยด้วย 34.10%  อันดับ 5 ใช้เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน 31.29%

แพลตฟอร์มยอดฮิตสำหรับนักขาย-นักช้อป

ETDA ยังเลยข้อมูลด้านช่องทางการซื้อของออนไลน์ของคนไทย อันดับ 1 คือ e-Marketplace อย่างเช่น Lazada Shopee Kaidee หรือพวกแอปที่เกิดมาให้ซื้อขายของกันโดยเฉพาะ อันนี้คนนิยมถึง 75.99% อันดับ 2 Facebook คนไทยก็ตามหาซื้อของกันเยอะอยู่ถึง 61.51% อันดับ 3 Website ซื้อของจากหน้าเว็บร้านโดยตรง 39.7% อันดับ 4 LINE ซื้อของเยอะใช้ได้ที่ 31.04% อันดับ 5 Instagram 12.95% ส่วนอันดับ 6 Twitter คนซื้อของกันน้อยลงมามากเพียง 3.81%

ส่วนทางฝั่งพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ ช่องทางนิยมขายของกันอันดับ 1 เป็นของ Facebook มีคนใช้ขายของกัน 66.76% อันดับ 2 เป็น e-Marketplace อย่างเช่น Lazada Shopee Kaidee มีคนนิยมถึง 55.18% อันดับ 3 LINE 32.05% อันดับ 4 Website ขายผ่านตามหน้าเว็บไซต์ 26.67% อันดับ 5 Instagram ที่ทั้งลงภาพให้คนทักมาหรือใช้ตัว Shop ก็ได้ 19.91% และ อันดับ 6 Twitter มีคนใช้อยู่ที่ 9.90% ครับ

 

ที่มา: etda

from:https://droidsans.com/thai-most-internet-usage-gen-y/

ETDA เผย Gen Y ทวงบัลลังก์ ใช้เน็ตมากสุด เกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ฮิตสุด ดู LIVE COMMERCE ข้าราชการ-จนท.รัฐ ชนะขาดทุกอาชีพ ใช้เน็ตเกือบ 12 ชั่วโมงต่อวัน

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 หรือ Thailand Internet User Behavior 2022 ในงาน “IUB 2022: WHAT’S NEXT INSIGHT AND TREND เจาะลึกไลฟ์สไตล์คนไทย ในวันที่ขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้”

พบ Gen Y กลับมาทวงบัลลังก์คืน ใช้เน็ตครองแชมป์ สูงถึง 8 ชั่วโมง 55 นาทีต่อวัน ฮิตสุดดู Live Commerce ชนะขาด Gen Z แชมป์เก่าที่ปีนี้ใช้เน็ต 8 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวัน

ภาพรวมคนไทยใช้เน็ต เฉลี่ย 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เน็ตเพื่อทำ e-Health (จองคิวขอรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์) ติดต่อสื่อสารออนไลน์  ดูรายการโทรทัศน์/ดูคลิป/ดูหนัง/ฟังเพลงออนไลน์ ดู Live Commerce เพื่อซื้อสินค้า/บริการ และทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์ (e-Payment) ติด TOP 5  กิจกรรมยอดฮิต

ส่วนข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ใช้เน็ตมากกว่าอาชีพอื่น สูงถึง 11 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน สะท้อนรัฐพร้อมสู่ดิจิทัลขั้นสุด!

ETDA

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย หรือ Thailand Internet User Behavior มาต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 แล้ว โดยทศวรรษที่ผ่านมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการสำรวจต่อเนื่องทุกปี พบว่า กิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ได้แก่ กิจกรรมการติดต่อสื่อสารออนไลน์ กิจกรรมออนไลน์เพื่อความบันเทิง อย่างการดูหนัง ฟังเพลง, กิจกรรรมการซื้อขายของออนไลน์, การทำธุรกรรมทางการเงิน และ การอ่านข่าว โพส บทความ หนังสือ

ส่วนกิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มลดลงและอาจหายไปในอนาคต ได้แก่ การค้นหาข้อมูล search engine, การรับส่ง อีเมล เพราะปัจจุบัน คนมักค้นหาข้อมูลและรับส่งข้อมูล ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมากขึ้น

เช่นเดียวกับ กิจกรรมการดาวน์โหลดซอฟแวร์ เพลง ละคร เกม เพื่อเก็บไว้ดูย้อนหลัง ในอนาคตก็อาจไม่มีอีกแล้ว เพราะถูกแทนที่โดย Streaming ที่สามารถชมได้แบบ Real time และย้อนหลังได้ผ่านแพลตฟอร์มนั้น ๆ

จากการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2565 หรือ Thailand Internet User Behavior (IUB) 2022 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 46,348 ราย ทั่วประเทศ กระจายตาม อายุ และจังหวัดในแต่ละภูมิภาค

ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ปีนี้ Gen Y (ช่วงอายุ 22-41 ปี) กลับมาครองแชมป์ ใช้อินเทอร์เน็ต มากที่สุด 8 ชั่วโมง 55 นาทีต่อวัน แซงหน้า Gen Z (อายุน้อยกว่า 22 ปี) อดีตแชมป์หนึ่งสมัย ที่ลงมา

อันดับ 2 ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 8 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวัน ตามด้วย Gen X (ช่วงอายุ 42-57 ปี) 5 ชั่วโมง 52 นาทีต่อวัน และ Baby Boomers ขึ้นไป (ช่วงอายุ 58 ปีขึ้นไป) 3 ชั่วโมง 21 นาที

ขณะที่ ภาพรวม พบว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดถึง 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน 

ขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและเหนือ ใช้ไม่ต่างกันมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 59 นาทีต่อวัน,  6 ชั่วโมง 45 นาทีต่อวัน และ 6 ชั่วโมง 17 นาทีต่อวัน ตามลำดับ  ส่วนภาคใต้ ใช้น้อยสุด เฉลี่ยอยู่ที่ 5 ชั่วโมง 35 นาทีต่อวัน

แต่เมื่อพิจารณาตามอาชีพพบข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจมาก เพราะข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ติดอันดับ 1 ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น อยู่ที่ 11 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจ รวมถึงความพร้อมของบุคลากรภาครัฐ ในการยกระดับการทำงานสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Office มากขึ้น 

รองลงมาคือ นักเรียน/นักศึกษา8 ชั่วโมง 57 นาทีต่อวัน ฟรีแลนซ์ 7 ชั่วโมง 40 นาทีต่อวัน เจ้าของกิจการ ธุรกิจส่วนตัว 7 ชั่วโมง 29 นาทีต่อวัน และพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน 7 ชั่วโมง 6 นาทีต่อวัน เป็นต้น

ขณะที่ 10 กิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตขวัญใจสังคมออนไลน์คือ คนไทยนิยมใช้เน็ตเพื่อปรึกษาและรับบริการทางการแพทย์ (จองคิว,ปรึกษาแพทย์) มากที่สุด 86.16% อาจเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้คนสนใจและหันมาจองคิวรับวัคซีน ตรวจหาเชื้อ และปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์มากขึ้น หรือเพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 

รองลงมา คือ เพื่อติดต่อสื่อสาร 65.70% ดูรายการโทรทัศน์/คลิป/ดูหนัง/ฟังเพลง 41.51% ดูถ่ายทอดสดเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (Live Commerce) 34.10% ทำธุรกรรมทางการเงิน 31.29% อ่านโพสต์/ข่าว/บทความ/หนังสือออนไลน์ 29.51% รับ-ส่งอีเมล 26.62% ช้อปปิ้งออนไลน์ 24.55% ทำงาน/ประชุมออนไลน์ 20.67% และเล่นเกมออนไลน์ 18.75% ตามลำดับ

โดยประเด็นที่น่าจับตา คือ แม้กิจกรรมการดู Live Commerce จะเป็นกิจกรรมที่นำมาสำรวจในปีนี้เป็นปีแรก แต่กลับติด TOP 5 กิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตที่คนไทยทำมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่า Live Commerce เป็นอีก 1 กิจกรรมที่น่าจับตาว่าเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความนิยมมากขึ้น

โดยกลุ่มคนที่เข้าชมมากที่สุด คือ Gen Y รับชมมากที่สุดถึง 64.65% และเพศหญิงรับชมมากกว่าเพศชาย นี่จึงทำให้ Gen Y ครองแชมป์ “นักช้อปออนไลน์” (88.36%) แซงหน้าทุก Gen รองลงมาคือ Gen X ( 84.55 %)  Gen Z (81.53%) Baby Boomers (74.04%) และ Gen Builders (52.30%) 

โดยประเภทสินค้าที่ Gen Y เลือกซื้อมากที่สุดคือ เสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ มากที่สุด รองลงมาคือ เครื่องสำอาง ส่วน Gen X เลือกซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ มากที่สุด รองลงมา สินค้าอุปโภคบริโภค 

Gen Z เลือกซื้อเสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ มากที่สุด รองลงมาคือ เครื่องสำอาง Baby Boomers เลือกซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมากที่สุด รองลงมา อาหารแห้ง และ Gen Builders เลือกซื้ออาหารสดมากที่สุด เป็นต้น

โดยเหตุผลที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่เลือกซื้อ เพราะราคาถูก 63.10% ความหลากหลายของสินค้า 58.73% แพลตฟอร์มใช้งานง่าย 45.81% การจัดโปรโมชัน เช่น 11.11, 12.12, Flash Sale ที่ 44.39% และค่าจัดส่งถูกหรือฟรี 34.10%  

โดยช่องทางที่คนไทยเลือกซื้อออนไลน์มากที่สุด คือ e-Marketplace (เช่น Shopee, Lazada, Kaidee) 75.99% รองลงมาคือ Facebook 61.51% Website 39.7% LINE 31.04% Instagram 12.95% และ Twitter 3.81%

สำหรับช่องทาง Social Commerce ที่ผู้ขายนิยมใช้ขายสินค้าหรือบริการมากที่สุด สูงถึง 66.76% คือ Facebook รองมาคือ e-Marketplace 55.18% LINE 32.05% Website 26.67% Instagram 19.91% และ Twitter 9.90% 

สำหรับช่องทางการชำระเงิน พบว่า คนไทยนิยมชำระเงินโดยการโอนผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันธนาคาร มากที่สุดถึง 67.32% 

รองมาคือ เก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery หรือ COD) 58.49% ชำระด้วยกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) 24.43% บัตรเครดิต 17.09% และบริการชำระเงินออนไลน์ เช่น บริการ PayPal หรือ Google Pay 15.51% เป็นต้น

นอกจากประเด็น พฤติกรรมการซื้อขายของออนไลน์แล้ว ผลสำรวจปีนี้ ยังพบว่า Gen Y และ Gen Z มีแนวโน้มมุ่งสู่การเป็น Content Creator มากกว่า Gen อื่นๆ เนื่องจากเป็น Gen ที่นิยมสร้าง Online Content มากที่สุด 

โดยประเภท Content ที่นิยมสร้างมากที่สุด คือ วิดีโอ/คลิป 49.85% เขียนบทความ/คอนเทนต์/เว็บไซต์ 41.79% ถ่ายทอดสด (Live) 36.77% สตรีมมิงเกม/สตรีมมิงอื่น ๆ 11.86% จัดรายการวิทยุออนไลน์ 10.32% และจัดรายการพอดแคสต์ 8.98%

 สำหรับใครที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียด ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 ฉบับเต็ม ที่จะเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand https://www.facebook.com/ETDA.Thailand

#ETDAThailand #ชีวิตดีเมื่อมีดิจิทัล #IUB #InternetUserBehavior

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/etda-reveals-gen-y-takes-the-throne-uses-the-internet-the-most-almost-8-hours-a-day/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=etda-reveals-gen-y-takes-the-throne-uses-the-internet-the-most-almost-8-hours-a-day

ETDA เผยผลสำรวจข้าราชการไทย-จนท.รัฐ ติดอันดับ 1 ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น

ETDA เผยผลสำรวจข้าราชการไทย-จนท.รัฐ ติดอันดับ 1 ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น แซงหน้าแชมป์ นักเรียน นักศึกษา

ปฏิเสธไม่ได้ในชีวิตประจำวันว่าทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากจะหาข้อมูลด้านตางๆเเล้ว ยังมีการซื้อขาย การสั่งสินค้า การจองคิวตามร้านอาหาร หรือเเม้แต่การจองคิวหรือปรึกษาแพทย์ อีกด้วย

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบว่า คน Gen Y กลับมาทวงบังลังก์คืนในการใช้อินเทอร์เน็ตครองเเชมป์ สูงถึง 8 ชั่วโมง 55 นาที ใช้ดู Live Commerce ชนะ Gen Z ที่ใช้อิเทอร์เน็ต 8 ชั่วโมง 24 นาที 

สำหรับภาพรวมคนไทยใช้อินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 7 ชั่วโมง 4 นาที ส่วนใหญ่ใช้อิเทอร์เน็ตเพื่อ e-Health ในการจองคิวเเละปรึกษาเเพทย์ผ่านออนไลน์    

โดย ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA ได้ดำเนินการผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 พบว่าในปัจจุบันกิจกรรมออนไลน์มีเเนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เช่น การติดต่อสื่อสารออนไลน์, การดูหนัง ฟังเพลง, การซื้อของออนไลน์, ธุรกรรมทางการเงิน และอื่นๆอีหลากหลาย

สำหรับกิจกรรมออนไลน์ที่มีเเนวโน้มลดลงเเละอาขสูญหายไปในอนาคต ได้เเก่ การค้นหาข้อมูล search engine, การรับส่ง อีเมล 

เเต่เมื่อพิจารณาตามอาชีพพบว่า ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ติดอันดับ 1 ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด เมื่อเทียบกับอาชีพอื่น อยู่ที่ 11 ชั่วโมง 37 นาที โดย ชัยชนะ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า เหตุผลที่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุดคือ หน่วยงานรัฐต่างๆ มีการปรับตัวใช้งานเอกสารบนระบบออนไลน์มากขึ้น เเทนเอกสารที่เป็นกระดาษ เเละมีการให้บริการผ่านเเอพพลิเคชั่น อีกทั้งระบบบัตรสวัสดิการรัฐต่างๆ 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ETDA เผยผลสำรวจข้าราชการไทย-จนท.รัฐ ติดอันดับ 1 ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/thai-civil-servants-and-ranked-1st-in-the-internet-as-the-most-when-compared-to-other-occupations/

ETDA จัดใหญ่ Digital Foresight Symposium เผยผล Foresight Research ฉายภาพอนาคตดิจิทัลในทศวรรษหน้า

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จับมือพาร์ทเนอร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab จัดงานใหญ่ ETDA Digital Foresight Symposium 2022 “Future Ready: Advancing Thailand for Digital Forward” เพื่อเปิดผล Foresight Research ที่จะมาคาดการณ์อนาคตดิจิทัลไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ผ่าน 4 ประเด็นสำคัญ “ธุรกรรมดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต” พร้อมยกขบวนทัพผู้เชี่ยวชาญด้าน Foresight จากภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองเตรียมพร้อมสู่โลกอนาคต เร่งเครื่องการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไทยขั้นสุด

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานในการเปิดงานกล่าวว่า “จากสถานการณ์การเติบโตทางด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็ว การที่เราจะรับมือและไปต่อได้นั้น เราต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง ถือเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญและต่างหาวิธีการต่างๆ มาช่วยในการเตรียมความพร้อม รวมถึง “กระบวนการมองภาพอนาคต หรือ Foresight” ที่ได้กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการสะท้อนภาพอนาคต เพื่อช่วยในการเตรียมตัวสำหรับการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ได้มากขึ้น อย่างประเทศฟินแลนด์ที่เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในด้านการทำ Foresight ที่ได้นำกระบวนการมาช่วยในการวางนโยบายการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชนจนประสบความสำเร็จ ทั้งยังกำหนดให้ทุกรัฐบาลต้องจัดทำรายงานการคาดการณ์อนาคตต่อรัฐสภาด้วย

สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มุ่งส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกด้าน เพื่อให้ประเทศมี Ecosystem ที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สู่การยกระดับชีวิตคนไทย ซึ่งท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การจัดทำภาพอนาคตหรือ Foresight จึงได้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญซึ่งจะเข้ามามีบทบาทช่วยให้ประเทศได้มีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น สอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศและกระแสโลกได้ ดังนั้น การที่ ETDA หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเดินหน้าศึกษาการจัดทำภาพฉายอนาคต หรือ Foresight Research ในประเด็นที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงาน และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำประเทศไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไป”

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า “การส่งเสริม สนับสนุน ให้คนไทยมีความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ เพื่อส่งผลให้มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ถือเป็นภารกิจหลักที่ ETDA เดินหน้าขับเคลื่อนผ่านการดำเนินงานในมิติต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ตลอดจนกฎหมาย มาตรฐานดิจิทัล เพื่อรองรับทุกการทำธุรกรรมออนไลน์ การกำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัลที่สำคัญ รวมถึงเป็นแหล่งในการพัฒนาทักษะ การให้คำปรึกษา เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านกระบวนการทำงานในรูปแบบดิจิทัลของทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งยังรวบรวมข้อมูลสำคัญทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ทุกภาคส่วนจะนำไปประกอบการพิจารณากำหนดประเด็นในเชิงนโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ ตลอดจนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จนในปีนี้ ETDA ได้ต่อยอดสู่การมองภาพอนาคต ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Foresight ซึ่งจะช่วยให้เราได้มองภาพอนาคตในยุคดิจิทัลได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ผ่านการสะท้อนภาพอนาคตใน 4 ประเด็น ได้แก่ ธุรกรรมดิจิทัล, ปัญญาประดิษฐ์, การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้ง 4 ประเด็นนี้ จะเป็นกุญแจที่จะเปิดประตู่สู่การสร้างและพัฒนา Digital Ecosystem ได้ชัดเจนมากขึ้น

“Future Ready: Advancing Thailand for Digital Forward” ที่ ETDA ร่วมกับพาร์ทเนอร์และผู้เชี่ยวชาญ ไม่เพียงเพื่อนำเสนอผลการศึกษา Foresight Research ยังเปิดเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Foresight จากหลากหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะสร้าง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่านการลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อขับเคลื่อนงานและสนับสนุนการศึกษา การจัดทำข้อมูลด้าน Foresight ที่ครอบคลุมทุกมิติร่วมกันครั้งแรกของไทย ก่อนต่อยอดสู่ศูนย์ Digital Foresight ที่จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการคาดการณ์อนาคตด้านดิจิทัลของไทย ที่พร้อมเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้สนใจ และสามารถนำไปใช้หรือต่อยอดในการดำเนินงานได้”

ด้าน ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า จากการศึกษา Foresight Research ผ่าน 4 ประเด็น ได้แก่ ธุรกรรมดิจิทัล, ปัญญาประดิษฐ์, การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต พบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ ทุกประเด็นข้างต้น จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างแยกไม่ออก โดย ธุรกรรมดิจิทัล จะกลายเป็น “New Frontier of Barter Economy” หรือ พรมแดนใหม่ของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ที่ทุกการทำธุรกรรมจะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสื่อกลาง เราสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางดิจิทัล (เช่น NFT หรือ Non-Fungible Token เป็นต้น) ได้อย่างอิสระ หรือการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ในโลกเสมือนที่อาจจะคู่ขนานไปกับโลกแห่งความเป็นจริง นำไปสู่การกำหนดกฎระเบียบหรือแนวทางใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ ยังมีภาพอนาคตที่เราต้องจับตาเฝ้าระวัง เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น คือ “Backlash of e-Madness” หรือ การทำธุรกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผ่านตัวกลางหรือพื้นที่ที่ยากต่อการตรวจสอบและผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิมก็ได้ ขณะที่ ปัญญาประดิษฐ์ (หรือ AI) จะเข้ามาสร้างให้เกิดสมดุลในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “Micro Intelligence for Everyone” ที่การใช้งานจะไม่กระจุกตัวอยู่ที่หน่วยงานหรือองค์กร แต่จะขยายไปสู่ระดับบุคคลด้วย และจะเกิด AI ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละองค์กรหรือผู้ใช้งานได้มากขึ้น (Customized AI) และจะกลายมาเป็นผู้ช่วยเราได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น ช่วยสื่อสารข้อมูลตามข้อเท็จจริง และช่วยในการตัดสินใจ เป็นต้น เนื่องจากในอนาคต AI จะก้าวข้ามขีดจำกัดของมนุษย์ จนทำงานแทนมนุษย์ได้เกือบทุกด้าน ทำให้บทบาทของมนุษย์อาจถูกลดทอนและมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วย AI อย่างเต็มรูปแบบ จนอาจส่งผลให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้น้อยลง และในที่สุดอาจจะถูกครอบงำโดย AI ได้ หรือที่เรียกว่า “Big Brain Colonization”

สำหรับในประเด็น การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล จะทำให้พวกเราก้าวสู่โลกดิจิทัล มีตัวตนบนโลกเสมือน ที่เชื่อมโยงตัวตนบนโลกแห่งความเป็นจริง โดยที่ไม่มีใครสามารถสวมรอยเป็นเราได้ หรือที่เรียกว่า “All of Us Are Digitized” แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกเสมือนทุกคนสามารถกำหนดเพศ ศาสนา ตลอดจนความเชื่อในเชิงจริยธรรมเองได้ การรับมือกับปัญหานี้ อาจต้องมีการกำหนดแนวทาง รวมถึงกฎระเบียบที่เหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อและความปลอดภัยในการมีตัวตนบนโลกดิจิทัล ลดอัตราการเกิด “Battle of My Identity” หรือตัวตน ‘อวตาร’ ที่นำไปใช้ในการก่อเหตุในโลกออนไลน์และยากต่อการติดตาม นอกจากนี้ ในประเด็นของอินเทอร์เน็ต ก็เป็นเรื่องที่จะช่วยส่งเสริม Digital Ecosystem ในประเทศไทย โดยในอนาคตอินเทอร์เน็ตจะเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดสรรให้ประชาชนได้ใช้อย่างมีคุณภาพและครอบคลุม ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และทำให้เกิดกิจกรรมบางอย่างที่สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น การผ่าตัดทางไกลโดยใช้คนควบคุม เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังในเรื่องนี้ คือ อนาคตเราอาจพบข้อมูลมหาศาลในโลกอินเทอร์เน็ตที่อาจทำให้การตรวจสอบและการคัดกรองเป็นไปได้ยาก อาจมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การหลอกลวงและภัยคุกคามทางไซเบอร์ จนอาจขยายเป็นภัยที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง หรือที่เรียกว่า “Algorithmic Dystopia” เป็นต้น

Foresight Research ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกมากที่พร้อมให้ทุกคนได้เข้าไปศึกษา และเรียนรู้ สำหรับประชาชนท่านใดที่สนใจผลการศึกษา Foresight Research ฉบับเต็ม สามารถติดตามรายละเอียดการดาวน์โหลดได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand (https://www.facebook.com/ETDA.Thailand) หรือ ที่เว็บไซต์ ETDA.or.th

from:https://www.enterpriseitpro.net/etda-news-release/

สมัครฟรี! สร้างหน้าร้านออนไลน์ ปิดการขายง่ายในพริบตากับ “โครงการส่งเสริมธุรกิจไทย ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน”

“อยากมีเว็บขายของแต่ทำไม่เป็น”

“อยากมีหน้าร้านออนไลน์ แต่ไม่อยากเสียตังค์ทำเว็บ”

“สร้างเว็บไซต์หน้าร้านยังไงให้ลูกค้ากล้าเข้ามาซื้อ”

โอกาสดีและฟรี! ที่ไม่ควรปล่อยผ่านมาถึงแล้วสำหรับผู้ประกอบการยุค COVID-19 ที่ต้องการผันตัวสู่การเป็นผู้ค้าออนไลน์และอยากมีเว็บไซต์หน้าร้านของตัวเองกับ โครงการส่งเสริมธุรกิจไทย ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน” โดยมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNiC) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจไทยให้ทุกความฝันของคนอยากขายออนไลน์เป็นจริงได้ 

เตรียมลงสนามออนไลน์ เริ่มต้นขายอย่างมืออาชีพ เพียงสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ พร้อมรับสิทธิประโยชน์พิเศษจัดเต็มเพื่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความนี้

เปิดหน้าร้านออนไลน์ง่าย ๆ กับโครงการส่งเสริมธุรกิจไทยฯ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การซื้อขายสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์กลายเป็น New normal ผู้ประกอบการต่างต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันอันดุเดือดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและ E-marketplace ต่าง ๆ หรือความเสียเปรียบคู่แข่งเพียงเพราะไม่มีหน้าเว็บไซต์หน้าร้านที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของผู้ค้าเอง

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านอาจมีความเชื่อว่า การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องยาก ต้องมีความเชี่ยวชาญและมีเงินทุนมากพอถึงจะเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าของตนเองได้ ทว่าถึงแม้จะสร้างเว็บไซต์สำเร็จ ความกังวลข้อต่อมาคือจะทำอย่างไรให้ลูกค้าวางใจกับสินค้าและการทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ของตน

ข้อจำกัดเหล่านี้เองจึงเป็นที่มาของโครงการส่งเสริมธุรกิจไทยฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้ก้าวหน้าตามทันโลกด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNiC), กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (DBD), สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย, สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, สมาคมการค้าดิจิทัลไทย (TDTA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

มูลนิธิฯ และหน่วยงานภาคีล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยสานฝันของผู้ประกอบการในการสร้างเว็บไซต์หน้าร้านออนไลน์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ค้าและธุรกิจ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสและช่องทางการเติบโตในระยะยาว ช่วยปิดการขายได้อย่างราบรื่น ง่ายดายและรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

Image credit: Shutterstock

สิทธิประโยชน์มากมี จัดให้ฟรีแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

โครงการส่งเสริมธุรกิจไทยฯ ถือว่าเข้ามาช่วยตอบโจทย์ผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการมีเว็บไซต์หน้าร้านออนไลน์ของตน เพราะผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากเว็บไซต์ร้านค้า ได้แก่

โดเมน .th และ เว็บไซต์เริ่มต้น 1 ปี

โครงการฯ จะช่วยผู้ประกอบการสร้างเว็บไซต์ Sale Page ให้ พร้อมชื่อโดเมน .th ฟรี ภายใต้หมวด .co.th (สำหรับนิติบุคคลเท่านั้น) .online.th หรือ .shop.th ซึ่งจะช่วยให้สินค้าและบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนไทยได้ง่าย พร้อมการันตีความมั่นคงปลอดภัย ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในการให้บริการของธุรกิจบนโลกออนไลน์ด้วย

เว็บไซต์นี้จึงเปรียบเสมือนหน้าร้านดิจิทัลของธุรกิจที่ผู้ค้าสามารถกำหนดข้อมูลให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมได้โดยไม่ขึ้นกับเงื่อนไขของแพลตฟอร์มดิจิทัล เหมาะอย่างยิ่งสำหรับร้านค้าออนไลน์ พร้อมปิดการขายได้ในหน้าเดียว

Image credit: THNiC

เครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered)

เครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายสำคัญเพื่อแสดงความมีตัวตนของร้านค้าที่อยู่ในโลกของธุรกิจ E-commerece นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ร้านค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจเมื่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านที่มีเครื่องหมายนี้

พิเศษ! สำหรับนิติบุคคลที่ยังไม่มีเครื่องหมาย DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทางโครงการฯ ก็มีบริการอำนวยความสะดวกในการขอรับเครื่องหมาย DBD Registered สำหรับชื่อโดเมนที่ขอจดทะเบียนได้ทันทีอีกด้วย

สมาชิกวิสามัญ 1 ปี

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครสมาชิกวิสามัญสมาคมของโครงการฯ (สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสมาคมการค้าดิจิทัลไทย) เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแก่ผู้ประกอบการ การใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่สมาคมเป็นผู้จัดอีกด้วย

กิจกรรมอบรมสัมมนา

ผู้เข้าร่วมโครงการยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมสัมมนาหลากหลายหัวข้อ อาทิ 

  • กลยุทธ์เพิ่มยอดขายด้วยคอนเทนต์​บนเว็บไซต์ในปี 2022
  • Workshop: คอร์สเร่งรัดสร้างร้านค้าออนไลน์ด้วย WooCommerce
  • PDPA: พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับย่อสำหรับผู้ประกอบการ

และในเดือนมิถุนายนนี้ สำหรับมือใหม่หัดขายออนไลน์ พลาดไม่ได้กับหัวข้อ อบรม Zavanna Sale Page เพื่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เครื่องมือช่วยปิดการขายภายในหน้าเดียว ฉบับจับมือทำ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่จะพาผู้ค้ายุคใหม่ไปรู้จักและลงมือปฏิบัติจริงกับ Zavanna Sale Page เครื่องมือขายของออนไลน์ที่พัฒนาโดยบริษัท ยีราฟ จำกัด ซึ่งจะช่วยปิดการขายด้วยเว็บไซต์เพียงหน้าเดียว รองรับคอนเทนต์นำเสนอทุกรูปแบบ มาพร้อมกับระบบจัดการสินค้า ฟีเจอร์ส่งเสริมการตลาดที่ใช้งานง่าย พร้อมขายสินค้าได้ทันที ผู้ที่สนใจเข้าอบรมสัมมนาสามารถลงทะเบียนได้แล้ววันนี้

Image credit: THNiC

สาระความรู้ครบเครื่องจัดอบรมฟรีกันตลอดทั้งปีเพื่อผู้ประกอบการออนไลน์ที่เข้าร่วมโครงการยังมีอีกมากมาย โดยสามารถดูกำหนดการกิจกรรมงานสัมมนาอื่น ๆ ได้ที่นี่

สิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากพันธมิตรของโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากพันธมิตรของโครงการ เช่น 

  • ฟรี! อีเมลภาษาไทย
  • ฟรี! คู่มือทำเว็บและการตลาดอย่างมืออาชีพ 
  • ฟรี! ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์
  • ส่วนลดพิเศษอีกมากมาย
Image credit: THNiC

ผลตอบรับจากผู้เข้าร่วมโครงการฯ

การเข้าร่วมโครงการฯ นี้ นับว่าเป็นการเปิดโอกาสของผู้ค้าจากประเภทธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำจริงกับการสร้างเว็บไซต์หน้าร้านด้วย Zavanna Sale Page ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปีที่ผ่านมาต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการเพิ่มโอกาสในการขาย ตั้งเป้าให้ธุรกิจเติบโตด้วยช่องทางการขายที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และเพิ่มโอกาสให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น

คุณศุภกิจ ดีเจริญ จากร้าน Allnice99  (http://allnice.shop.th/) ผู้จำหน่ายผ้าม่าน และคุณชญาภัทร แก้วเนตร จากร้าน Miss Chaya Beauty House (http://misschaya.shop.th/) ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าแบรนด์คนไทย เป็นอีกตัวอย่างของผู้เข้าร่วมโครงการฯ  ที่สร้างเว็บไซต์ของร้านด้วย Zavanna Sale Page ได้สำเร็จ พร้อมเรียนรู้ต่อยอด และสนใจเข้าร่วมอบรมกับทางโครงการฯ ในโอกาสต่อไป

“อยากจะขอบคุณโครงการฯ ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจ SME เพราะถ้า SME รอด ประเทศไทยก็รอด” 

คุณชญาภัทร แก้วเนตร ร้าน Miss Chaya Beauty House

สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทางลัดสู่ความสำเร็จ

โครงการดี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมสาระความรู้จัดเต็มอัดแน่นแบบนี้ ต้องรีบคว้า อย่าปล่อยผ่านให้เสียโอกาส! ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ https://domain.online.th ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2565 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล info@domain.online.th และ Line: @domainthai

Image credit: THNiC

from:https://www.techtalkthai.com/domain-online-for-thai-sme/

[Guest Post] ETDA จับมือพาร์ทเนอร์ เตรียมจัด Virtual Seminar Digital Video Platform Seminar 4D เพื่ออุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย 30 ต.ค.นี้

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจและธุรกรรมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้คนไทยทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และเติบโตบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีคุณภาพ จึงร่วมกับพาร์ทเนอร์ ได้แก่ บริษัท Techsauce Media จำกัด, บริษัท Thai Livestream X จำกัด, Spring News และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เตรียมจัดเสวนาออนไลน์ ภายใต้ชื่องาน Digital Video Platform Seminar 4D : เผย 4 มิติ ดิจิทัลวิดีโอแพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย” ในวันที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-17.30 น. เพื่อให้ผู้ประกอบการ Digital Platform และผู้บริหารสื่อสำนักต่างๆ ผู้ผลิตคอนเทนต์ รวมถึงผู้ที่สนใจ ตระหนักถึงความสำคัญถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในการบริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศที่เข้ามามีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสื่อ ผู้ผลิตคอนเทนต์ไทย

 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเข้าใจและอัพเดททิศทางแนวโน้มการดูแลและการคุ้มครองผู้บริโภคจากการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาข้อมูล ทั้งด้านข้อความ ภาพ หรือเสียง ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ OTT (over-the-top) ในต่างประเทศรวมถึงในไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสื่อในไทย ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์มุมมองจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้บริหารธุรกิจสื่อชั้นนำของประเทศ ที่อยู่เบื้องหลังของการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยงานนี้นับเป็นงานใหญ่อีกงานที่จะก่อให้เกิดการผสานความร่วมมือในการยกระดับอุตสาหกรรมการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและวงการสื่อมวลชนยุคใหม่และ Video Streaming Platform ของประเทศไทย

ไฮไลท์ในงานที่น่าสนใจ ได้แก่ การเสวนาในหัวข้อ “ดูแลเพื่อหนุน สร้างกลไกให้เกิด และเพิ่มโอกาสพัฒนา Digital Media Platform ของคนไทย”  โดย รองศาสตราจารย์พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบ OTT ต่อการกำกับดูแลของ กสทช., ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อนุกรรมการกฎหมาย ภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.),  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาคและรายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมสื่อและธุรกิจดิจิทัล, นายระวี ตะวันธรงค์ บรรณาธิการบริหาร SpringNews และนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (Moderator) และปิดท้ายการเสวนากับหัวข้อ “Traditional Media Adaptation เผยเส้นทางการปรับตัวของสื่อดั้งเดิมสู่อนาคตยุค Full-Scale Digital Platform” โดยนายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร WorkpointTODAY, นางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อใหม่ Thai PBS, นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ธุรกิจสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ PPTV36 และนายพิภู พุ่มแก้วกล้า Program & Content Creator Director บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด (Moderator)

สำหรับผู้สนใจ เข้าร่วมงาน “Digital Video Platform Seminar 4D : เผย 4 มิติ ดิจิทัลวิดีโอแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยในวันที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 13.0017.30 น. สามารถลงทะเบียนและเข้าร่วมงานได้ที่ Link : https://etda-4d-vdo-seminar.tlsx.co.th/th/register  

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand (https://www.facebook.com/ETDA.Thailand)

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-etda-virtual-seminar-digital-video-platform-seminar-4d/

ETDA ประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกัน Ransomware สำหรับหน่วยงานรัฐ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ETDA ออกประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันและรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกี่ยวกับ Ransomware สำหรับหน่วยงานรัฐ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

Credit: ETDA.or.th

1. มาตรการพื้นฐานสำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ Ransomware

  • จัดทำหรือทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยต้องครอบคลุมการสำรองข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และการประเมินความเสี่ยง
  • มีมาตรการในการสำรองข้อมูลที่สำคัญอย่างน้อย 2 เวอร์ชันและทดสอบการกู้คืนข้อมูลสม่ำเสมอ
  • ควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศ
  • ประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ
  • จัดเก็บ Log ไปยังพื้นที่จัดเก็บในส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม
  • ทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องให้บริการ
  • กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่สำหรับประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • ให้ความรู้กับผู้ใช้งานในหน่วยงานเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดมัลแวร์เรียกค่าไถ่

2. มาตรการเพิ่มเติมสำหรับการดูแลบริการที่สำคัญ

  • ควรมีการเข้ารหัสข้อมูลสำรองเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์กรณีที่อุปกรณ์นั้นสูญหาย
  • มีมาตรการในการป้องกันมัลแวร์

นอกจากนี้ ETDA ยังได้แนะนำแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์เมื่อหน่วยงานรัฐถูก Ransomware โจมตี รวมไปถึงการแจ้งเหตุไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ ThaiCERT อีกด้วย สามารถดูประกาศฉบับเต็มได้ที่: https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-recommendation-protection-guideline.aspx

from:https://www.techtalkthai.com/etda-ransomware-protection-guideline/