คลังเก็บป้ายกำกับ: ENTERPRISE_CONTAINER

Red Hat แจกฟรี E-Book ภาษาไทย เรียนรู้ 8 ขั้นตอนสู่ Cloud-Native

การปรับระบบสถาปัตยกรรม IT เพื่อให้รองรับการพัฒนา Cloud-Native Application นั้นถือเป็นงานสำคัญของธุรกิจองค์กรที่จะช่วยให้การทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น และพัฒนา Digital Product/Service ออกมาสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทาง Red Hat จึงได้ทำการเขียน E-Book ขึ้นมาเพื่อให้ทุกท่านที่สนใจนำไปศึกษาได้ฟรีๆ ทันที

 

Credit: ShutterStock.com

 

E-Book ฉบับนี้มีชื่อว่า “แนวทางสู่การรองรับระบบ CLOUD-NATIVE APPLICATIONS” โดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาไทย ความยาว 18 หน้า ครอบคลุมถึงความจำเป็นของการก้าวสู่การทำ Cloud-Native Application และแนวทางในการนำมาใช้งาน พร้อมเล่ากรณีศึกษาของเหล่าธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมถึงผลของการนำมาใช้งานจริง ไปจนถึงเทคโนโลยีของ Red Hat ที่เกี่ยวข้องด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มที่ https://go.techtalkthai.com/2018/11/red-hat-free-e-book-8-steps-to-cloud-native-application/ เพื่อโหลดเอกสารได้ฟรีๆ ทันที

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-free-8-steps-to-cloud-native-applications-thai-e-book/

เปิดตัว Cisco Hybrid Solution for Kubernetes on AWS ตอบโจทย์ Container องค์กรร่วมกัน

Cisco ได้ออกมาประกาศความร่วมมือกับ Amazon Web Services (AWS) เพื่อพัฒนาโซลูชัน Hybrid Cloud สำหรับ Container ในตลาดองค์กรร่วมกัน ภายใต้ชื่อ Cisco Hybrid Solution for Kubernetes on AWS

 

Credit: Cisco

 

โซลูชันนี้มีแนวคิดคือการติดตั้งระบบ On-Premises Kubernetes บน Cisco ให้มี Environment ที่ใกล้เคียงกับ Amazon Elastic Container Service for Kubernetes (EKS) มากที่สุด และเสริมด้วยเทคโนโลยีด้าน Networking, Security, Management และ Monitoring จาก Cisco เข้าไป เพื่อให้ระบบ Kubernetes ทั้งสองสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีที่สุด

โซลูชันนี้จะทำให้องค์กรสามารถทำการติดตั้งใช้งาน Containerize Application ได้ทั้งบน On-Premises และ Cloud ได้อย่างอิสระ และสามารถย้าย Workload ระหว่างกันได้ตามต้องการ ทำให้สามารถลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการทำงานและบริหารจัดการด้วยเครื่องมือชุดเดียวกันทั้งหมดได้ ซึ่งทาง Cisco จะรับบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลังการขายทั้งหมด

Cisco Hybrid Solution for Kubernetes on AWS นี้จะวางจำหน่ายในตลาดอย่างเป็นทางการภายในเดือนธันวาคม 2018 โดยสามารถเลือกใช้งานได้บนทั้ง Cisco Container Platform และ Cisco HyperFlex

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.cisco.com/c/en/us/products/cloud-systems-management/hybrid-solution-kubernetes-on-aws/index.html

 

ที่มา: https://newsroom.cisco.com/press-release-content?type=webcontent&articleId=1952730

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-hybrid-solution-for-kubernetes-on-aws-is-announced/

VMware เผยแผนเข้าซื้อกิจการของ Heptio ดัน Kubernetnes ตอบโจทย์ Multi-Cloud

VMware ได้ออกมาเผยถึงแผนการเข้าซื้อกิจการของ Heptio ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้เหล่าองค์กรสามารถใช้งาน Kubernetes ง่ายขึ้น โดยใน Heptio นี้มีผู้ร่วมสร้าง Kubenetes ด้วยกันถึง 2 คนเลยทีเดียว

 

Credit: VMware

 

Heptio นั้นก่อตั้งขึันมาเมื่อปี 2016 โดย Joe Beda และ Craig McLuckie สองคนจากกลุ่มของผู้พัฒนา Kubernetes ในช่วงแรกเริ่ม โดย Heptio เองก็ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes รวมถึงยังได้ Contribute ในโครงการ Kubernetes ต่อไปด้วย เพื่อช่วยให้เหล่าองค์กรนั้นสามารถนำ Kubernetes ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเข้าซื้อกิจการของ Heptio ในครั้งนี้โดย VMware จะทำให้ VMware มีทรัพยากรสำหรับโซลูชันทางด้าน Container มากขึ้น โดยเดิมที VMware เองก็มีโซลูชันร่วมกับ Pivotal PKS ซึ่งเป็นโซลูชันระบบ Kubernetes สำหรับใช้งานภายในองค์กร และมี VMware Cloud PKS อยู่แล้ว หลังการเข้าซื้อกิจการแล้วเสร็จ ทีมงานของ Heptio เองก็จะเข้ามาช่วยให้โซลูชันทางด้าน Container ของ VMware แข็งแกร่งมากขึ้นภายใต้ทีม VMware Cloud Native Apps

มูลค่าการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ไม่เป็นที่เปิดเผย โดยผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Heptio สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://heptio.com/

 

ที่มา: https://www.vmware.com/radius/intent-to-acquire-heptio/?src=so_5a314d05e49f5&cid=70134000001SkJn

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-plans-to-acquire-heptio-to-boost-its-kubernetes-portfolio/

เปิดตัว Splunk on Docker ใช้ Splunk แบบ Container ได้แล้ว

Splunk ได้ออกมาประกาศรองรับการทำงานบน Docker ได้อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการทดสอบและใช้งาน Splunk บนระบบ Production ได้มากขึ้น

 

Credit: Splunk

 

ก่อนหน้านี้ Splunk เคยประกาศเปิดตัว Docker Image สำหรับ Splunk รุ่น Community Edition ไปแล้วเมื่อปี 2016 และได้รับการตอบรับที่ดี ทำให้ Splunk ตัดสินใจเปิดตัว Splunk Enterprise 7.2 Image บน DockerHub อย่างเป็นทางการในครั้งนี้

การรองรับการทำงานบน Docker ได้อย่างเป็นทางการนี้จะทำให้ Splunk Image สามารถถูกติดตั้งและบริหารจัดการแบบอัตโนมัติได้ด้วยเครื่องมืออย่าง Kubernetes, Docker Swarm, Mesos และ Rancher โดยปัจจุบันนี้ยังรองรับเฉพาะ Docker Engine 17.06.02 หรือรุ่นใหม่กว่าเท่านั้น และยังรองรับการติดตั้งเฉพาะการใช้งานในรูปแบบ Single Server (S1) เพียงอย่างเดียว

Splunk ได้โพสต์ตัวอย่างการ Deploy ระบบใน Docker เอาไว้ที่ https://www.splunk.com/blog/2018/10/24/announcing-splunk-on-docker.html และมีวิธีการ Deploy ระบบบน Kubernetes เอาไว้ที่ https://github.com/splunk ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาได้ทันที

 

ติดต่อ STelligence ได้ทันที


ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด, เทคโนโลยี และเครื่องมือในการทำ Data Analytics, Big Data, Machine Learning และ Business Intelligence (BI) กับทาง STelligence ได้ดังต่อไปนี้

    • เยี่ยมชมเว็บไซต์ STelligence เพื่อศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และโหลด Software หรือ Whitepaper ต่างๆ ได้ฟรีที่ http://stelligence.com/
    • ติดต่อบริษัท STelligence ได้ที่ sales@stelligence.com
    • ติดต่อฝ่ายขาย โทร 02-024-6661
    • สามารถกด Like เพื่อรับข่าวสารข้อมูลอัพเดต และ Use case ที่น่าสนใจมากมาย: www.facebook.com/stelligence

 

ที่มา: https://www.splunk.com/blog/2018/10/24/announcing-splunk-on-docker.html

from:https://www.techtalkthai.com/splunk-on-docker-is-announced/

รู้จัก Red Hat OpenShift: โซลูชัน Docker และ Kubernetes ตอบโจทย์ DevOps และ Multi-Cloud สำหรับองค์กร

แนวโน้มของการใช้งานเทคโนโลยี Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อดีหลากหลายประการทั้งในเชิงเทคนิคและการลงทุน Red Hat เองก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกตลาด Container ในองค์กรรายแรกๆ ด้วยโซลูชัน Red Hat OpenShift ที่ได้นำ Docker และ Kubernetes มาผสานและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในองค์กร ก้าวสู่การทำ Platform-as-a-Service (PaaS) ได้ด้วยเทคโนโลยี Enterprise Container เพื่อตอบโจทย์การทำ DevOps และ Multi-Cloud ภายในองค์กร

 

ใช้ Container ในการพัฒนา Application สามารถช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างไร?

 

Credit: Red Hat

 

สำหรับหลายๆ องค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มมีการใช้งาน Container ในการพัฒนาระบบ Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นก็อาจยังไม่เห็นภาพประโยชน์ของการใช้งาน Container นัก ซึ่งหากสรุปโดยย่นย่อแล้ว Container จะมีประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้

  • ทีมพัฒนาและทดสอบ Application สามารถควบคุม Environment ของระบบที่ใช้ Develop, ระบบ Production และระบบ Test ให้เหมือนกันได้ ทำให้ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และช่วยให้การทำ DevOps มีขั้นตอนที่ชัดเจนมากขึ้น
  • รองรับการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบมีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น, สามารถอัปเดตเฉพาะส่วนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ได้
  • การ Deploy ระบบสามารถทำได้อย่างง่ายดายและไม่ขึ้นกับ Environment ที่ใช้มากนัก รวมถึงสามารถเพิ่มขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งานจำนวนมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถลดปริมาณทรัพยากรที่ต้องใช้ในระบบโดยรวมได้ดีกว่าการใช้ Virtual Machine (VM) เป็นหลัก
  • สามารถออกแบบระบบให้ทำงานทดแทนกันได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความทนทานให้กับ Application โดยรวม

จะเห็นได้ว่าการนำ Container มาใช้งานนี้จะช่วยลดภาระด้านการดูแลรักษาระบบและลด Downtime ที่จะเกิดขึ้นกับ Application ได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การพัฒนา Software ต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การนำ Container มาใช้ภายในองค์กรจึงได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับการพัฒนา Cloud-native Application หรือระบบงานขนาดใหญ่

IDC ได้เคยทำการสำรวจเหล่าองค์กรขนาดใหญ่ 9 แห่ง ที่มีพนักงานเฉลี่ย 44,000 คน ซึ่งมีการใช้งานระบบ Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นโซลูชันด้าน Container ของ Red Hat และพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

  • Return on Investment (ROI) ของการใช้งาน 5 ปีนั้นจะอยู่ที่ 531%
  • Life Cycle ในการพัฒนา Application นั้นเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 66%
  • พนักงานฝ่าย IT ใช้เวลาในการพัฒนา Application น้อยลงกว่าเดิม 33%
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ IT Infrastructure ในการพัฒนา Application นั้นน้อยลง 38%

และทั้งหมดนี้ก็นำมาสู่การที่องค์กรสามารถทำการพัฒนา Application ออกมาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง เป็นการเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยผู้ที่สนใจรายงานฉบับเต็มสามารถศึกษาได้ที่ https://www.redhat.com/en/engage/application-development-platform-20170713

 

Red Hat OpenShift: Docker และ Kubernetes ที่ถูกเสริมความสามารถสำหรับตอบโจทย์องค์กรโดยเฉพาะ

เพื่อตอบรับต่อกระแสความต้องการในการนำระบบ Container ที่มีทั้งประสิทธิภาพ, ความง่ายในการบริหารจัดการ, ความมั่นคงปลอดภัย และบริการดูแลรักษาจากมืออาชีพโดยตรง ทาง Red Hat จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชัน Red Hat OpenShift ขึ้นมาตอบโจทย์เหล่านี้สำหรับตลาดระดับองค์กร ให้สามารถใช้งานโซลูชันระบบ Open Source Software ขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Application สำคัญของธุรกิจได้โดยตรง

 

Credit: Red Hat

 

Red Hat OpenShift นี้คือการรวมเอาเทคโนโลยีจาก Docker และ Kubernetes เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อให้การใช้งาน Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ เป็นไปได้อย่างครบวงจร อีกทั้ง Docker และ Kubernetes นี้ก็ยังเป็นโครงการ Open Source Software ที่เหล่า Developer ใช้งานกันเป็นมาตรฐานทั่วโลกไปแล้ว ดังนั้นการที่เหล่า Software Developer ภายในองค์กรจะหันมาเรียนรู้และปรับใช้งานภายในองค์กรนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก โดยทาง Red Hat เองก็ได้พัฒนาและทดสอบระบบ Red Hat OpenShift จนสามารถให้บริการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

  • การจัดการ Image และ Quickstart Template สำหรับ Application ที่พัฒนาด้วย Java, Node.js, .NET, Ruby, Python, PHP และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้สามารถรองรับภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและ Framework ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
  • การสร้าง Database Instance สำหรับใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของ Application ต่างๆ ซึ่งรวมถึง MariaDB, MySQL, PostgreSQL, MongoDB, Redis, SQLite ทำให้องค์กรสามารถเลือกใช้ฐานข้อมูลที่ตนเองต้องการในแต่ละโครงการได้
  • มี Red Hat JBoss Middleware Service Image และ Template ให้ใช้สำหรับรองรับระบบ Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้ ทำให้องค์กรที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีของ Red Hat มาแต่เดิมสามารถก้าวมาสู่การทำ Microservices บนระบบ Enterprise Container ได้อย่างเต็มตัว
  • สามารถเชื่อมต่อไปยัง Container Catalog ของ DockerHub และอื่นๆ ได้ รวมถึงยังมี Red Hat Container Catalog ซึ่งเป็นการรวบรวมเอา Container Image สำหรับการใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะเอาไว้ให้ใช้งานได้ด้วย
  • มีเครื่องมือ Source-to-Image (S2I) สำหรับใช้สร้าง Docker Container Image ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ช่วยลดภาระของทีมพัฒนาลงไปได้อีกระดับหนึ่ง
  • มีเครื่องมือ Red Hat Container Development Kit, Minishift และ OpenShift Command Line Tool เพื่อให้สามารถสร้าง OpenShift Instance ภายในเครื่อง Local Machine และทำการพัฒนาหรือทดสอบระบบพร้อมทั้ง Deploy ขึ้นไปยังระบบ Production ได้อย่างง่ายดาย
  • สามารถทำการ Deploy ระบบต่างๆ ได้ในการคลิกเพียงครั้งเดียวหรือการใช้ Git Push ทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่น
  • รองรับการทำ Port Forwarding ได้ในตัว ทำให้สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังแต่ละ Service ภายในแต่ละ Pod ได้อย่างปลอดภัย
  • สามารถทำงานร่วมกับ Jenkins เพื่อทำ Automated Test และ Build ได้
  • ใช้แนวคิดการแบ่งระบบออกเป็น Pods ของ Kubernetes ทำให้สามารถทำ Pods Autoscaling และ High Availability ได้
  • สามารถทำ Container Orchestration ด้วย Kubernetes ได้
  • สามารถทำการ Deploy ระบบไปยัง Physical, Virtual และ Cloud ได้
  • สามารถบริหารจัดการได้ผ่าน Web Console และ CLI
  • มีเครื่องมือ Remote Execute Command และ SSH ไปยัง Container ต่างๆ ในระบบได้
  • มีเครื่องมือในการ Integrate เข้ากับ IDE อย่าง Eclipse, JBoss Developer Studio และ Visual Studio เพื่อให้ Developer ทำงานได้ง่ายขึ้น
  • การพัฒนาระบบให้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ อย่าง CPU, GPU, FPGA และอื่นๆ มาใช้งานบน Container ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ Red Hat เองก็ยังได้พัฒนาโซลูชันเสริมต่อยอดขึ้นไปจาก Red Hat OpenShift ด้วยกันอีกถึง 3 โซลูชัน เพื่อตอบโจทย์การสร้างระบบ IT Infrastructure สำหรับรองรับความต้องการที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ได้แก่

  • Red Hat OpenShift Application Runtimes รวบรวม Runtime และ Framework ที่หลากหลายมาให้พร้อมใช้ในการพัฒนา Application เช่น Red Hat JBoss Enterprise Application Platform (EAP), Eclipse Vert.x, WildFly Swarm, Node.js, Spring Boot, Netflix Ribbon และ Netflix Hystrix เป็นต้น
  • Red Hat Mobile Application Platform รวบรวมเครื่องมือ, SDK และ Framework สำหรับการพัฒนา Mobile Application และบริการต่างๆ ที่จำเป็นในฝั่ง Backend เอาไว้เพื่อรองรับการพัฒนา Mobile Application สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ
  • Red Hat Cloud Suite ระบบ Cloud IT Infrastructure สำหรับรองรับ Application ขนาดใหญ่ที่เพิ่มขยายได้อย่างง่ายดาย ด้วยการนำเทคโนโลยี Red Hat Virtualization, Red Hat OpenStack Platform, Red Hat Satellite และ Red Hat CloudForms เข้ามาใช้ร่วมกับ Red Hat OpenShift ทำให้การบริหารจัดการ, การเพิ่มขยายระบบ และการดูแลรักษาระบบขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นไปได้อย่างครบวงจร

 

 

ใช้เทคโนโลยี Open Source มาตรฐาน ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ด้วยความที่ Red Hat OpenShift นั้นอาศัยการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก Docker และ Kubernetes ซึ่งต่างก็เป็นโครงการ Open Source Software ชั้นนำที่ได้รับการยอมรับและการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้ Red Hat OpenShift นั้นสามารถทำงานร่วมกับโครงการ Open Source Software ชั้นนำอื่นๆ จำนวนมากได้ เช่น

  • CoreOS ระบบปฏิบัติการสำหรับ Container โดยเฉพาะที่ Red Hat ได้เข้าซื้อกิจการมา
  • Cri-O ระบบ Container Runtime ขนาดเล็กสำหรับ Kubernetes
  • Prometheus ระบบ Monitoring ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในระบบ Production ขนาดใหญ่และ DevOps

และหลังจากนี้ทาง Red Hat เองก็ยังมีแผนที่จะนำโครงการ Open Source ชั้นนำอื่นๆ เข้ามาใช้งานใน Red Hat OpenShift ด้วย และโครงการอย่าง Ist.io ซึ่งเป็นระบบสำหรับ Service Mesh ที่มาแรงมากในปีนี้เองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการนำเข้ามาเสริมให้กับโซลูชันนี้ด้วยเช่นกัน

 

เลือกใช้งานได้ 3 แบบ ตอบโจทย์ IT Infrastructure ได้ยืดหยุ่นตามต้องการ

Credit: Red Hat

 

Red Hat OpenShift นี้สามารถเลือกใช้งานได้ด้วยกันถึง 3 รูปแบบ ดังนี้

  • Red Hat OpenShift Online เช่าใช้บริการ Hosted Service สำหรับ OpenShift บน Cloud ของ Red Hat โดยตรง
  • Red Hat OpenShift Dedicate เช่าใช้ Red Hat OpenShift ที่ทำงานอยู่บน AWS และ Google Cloud โดยมีทีมงานของ Red Hat คอยสนับสนุนและดูแลการใช้งาน
  • Red Hat OpenShift Container Platform ติดตั้งและใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Data Center หรือ Public Cloud ที่ต้องการด้วยตนเอง

ดังนั้นแล้วไม่ว่ากลยุทธ์ทางด้านการพัฒนา Application ใหม่ๆ ขององค์กรจะอยู่ในรูปแบบใด Red Hat OpenShift ก็มีทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับตอบโจทย์ความต้องการได้อยู่เสมอ ไม่ต้องยึดติดกับผู้ผลิต Hardware รายใดหรือผู้ให้บริการ Cloud รายใดเป็นพิเศษ ทำให้องค์กรสามารถลงทุนอย่างคุ้มค่าได้ในระยะยาว ไม่เกิดปัญหา Vendor Lock-in

 

เปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage

ล่าสุด Red Hat เองก็ได้ทำการเปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage 3.10 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับระบบ Container โดยเฉพาะด้วยประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ด้วยแนวคิดการทำ Software-Defined Storage สำหรับ Cloud-native Application โดยเฉพาะ รองรับได้ทั้ง Stateful และ Stateless Container ได้อย่างครอบคลุม

 

ทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจอยากทดสอบเทคโนโลยี Red Hat OpenShift หรือต้องการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Container สามารถทดสอบได้ฟรีทันที 2 ช่องทาง ได้แก่

  • สำหรับ Developer สามารถทดการทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift บน Cloud ได้ฟรีๆ ทันทีโดยการลงทะเบียนที่ https://www.openshift.com/products/online/ และจะสามารถทำการใช้งานได้ทันที 4 Service โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • สำหรับ System Administrator ที่ต้องการทดลองทำแล็บสำหรับ Red Hat OpenShift สามารถลงทะเบียนได้ฟรีๆ ที่ https://www.redhat.com/en/engage/openshift-storage-testdrive-20170718 เพื่อทดลองใช้งานระบบแล็บออนไลน์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงใช้ SSH Client และ Web Browser เพื่อทำแล็บเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ต้องการทดสอบ Red Hat OpenShift ในเชิงลึกยิ่งขึ้นโดยมีทีมงานของ Red Hat คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำในเชิงเทคนิค สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat ในประเทศไทยได้ทันที

 

ติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีต่างๆ ของ Red Hat สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ได้ทันทีที่โทร 02-624-0601 หรืออีเมล์ asaeung@redhat.com

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-openshift-enterprise-docker-and-kubernetes-solutions/

Google แนะ 7 Best Practice สำหรับการสร้าง Container

เมื่อ Container และ Kubernetes ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทาง Google เองก็ได้ออกมาแนะนำถึงหลัก 7 ประการในการสร้าง Container ให้ดี ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่าเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ จึงนำมาสรุปเป็นภาษาไทยให้อ่านกันได้ง่ายๆ ดังนี้ครับ

 

1. มี 1 Application ต่อ 1 Container เท่านั้น

ใน Container หนึ่งๆ นั้นควรจะมี Application เดียวที่มี Parent Process ร่วมกันเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้งานทั้ง PHP และ MySQL ใน Container เดียวกัน เพราะจะทำให้แก้ปัญหาได้ยาก, ไม่สามารถจัดการ Linux Signal สได้ดี และไม่สามารถ Scale ระบบเฉพาะส่วนได้

Credit: Google

 

2. จัดการกับ PID 1, Signal Handling และ Zombie Process ให้ดี

Kubernetes และ Docker นั้นอาศัยการส่ง Signal เข้าไปเพื่อหยุดการทำงานของ Application ใน Container โดย Signal ดังกล่าวจะถูกส่งไปยัง Process ที่มี PID 1 ดังนั้นหากต้องการให้ Application หยุดการทำงานได้ทันทีที่ต้องการ ก็ต้องออกแบบ Container ให้สามารถรับ Signal เหล่านี้ให้ได้ดีๆ

 

3. ใช้ Docker Build Cache ให้มีประสิทธิภาพ

Docker นั้นสามารถทำการ Cache ข้อมูลใน Layer ต่างๆ ภายใน Image เพื่อช่วยให้การ Build ภายหลังทำได้เร็วขึ้น แต่การจะใช้ความสามารถนี้ก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเขียน Dockerfile อยู่บ้าง เช่น การใส่ Source Code ของเราลงไปนั้นควรใส่เป็นบรรทัดท้ายๆ เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ Base Image และ Dependency ต่างๆ ถูก Cache ให้มากที่สุด เป็นต้น

 

4. เอาเครื่องมือที่ไม่จำเป็นออกไปจาก Image

การลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ Host ถูกโจมตีให้เหลือน้อยที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงควรกำจัดสิ่งที่ Application ของเราไม่ได้ใช้ออกไปจาก Container ให้มากที่สุด หรือจะใช้ Distroless (https://github.com/GoogleContainerTools/distroless) ซึ่งเป็น Image เปล่าๆ ที่ไม่มี Package Manager, Shell หรือโปรแกรมอื่นๆ อยู่เลยในการสร้าง Image ก็ได้เช่นกัน และทาง Google ก็แนะนำให้กำหนดค่า Filesystem ให้เป็นแบบ Read-only เท่านั้น เพื่อให้ปลอดภัยสูงสุด

 

5. สร้าง Image ให้เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การทำ Image ให้มีขนาดเล็กนั้นนอกจากจะประหยัดพื้นที่แล้ว จะยังช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการ Download Image ลง และยังลดเวลาในการบูทให้น้อยลงอีกด้วย

Credit: Google

 

6. ทำการ Tag Image ที่ใช้ให้เรียบร้อย

การ Tag นั้นจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ Image ในรุ่นที่ต้องการได้ง่าย ซึ่งไม่ว่าจะใช้การ Tag แบบ Semantic Versioning หรือ Git Commit Hash ก็ตาม ก็ควรที่จะต้องเขียนลงเอกสารให้ชัดเจนพร้อมคำอธิบายเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้งาน Image ได้ถูกรุ่น ที่สำคัญคือ Image รุ่นใดที่ถูก Tag แล้วต้องไม่มีการถูกแก้ไขภายใน Tag เดิมอีก เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานสับสน

 

7. พิจารณาให้ดีก่อนจะเลือกใช้ Public Image ใดๆ

ถึงแม้การใช้ Public Image จะทำให้ง่ายต่อการทำงานในหลายๆ ครั้ง แต่ Public Image เองก็อาจไม่ได้ถูกปรับแต่งมาให้ใช้ทรัพยากรน้อยหรือปลอดภัยก็เป็นได้ ดังนั้นการสร้าง Image เองสำหรับทุกๆ ส่วนของระบบ Software เองก็จะช่วยให้มั่นใจในประเด็นเหล่านี้ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ต้องเลือกให้ดีว่ากรณีไหนควรจะใช้ Public Image และกรณีไหนควรจะสร้าง Image เอง

 

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเชิงลึก สามารถอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ https://cloudplatform.googleblog.com/2018/07/7-best-practices-for-building-containers.html ครับ

from:https://www.techtalkthai.com/7-best-practices-for-building-container-by-google/

เปิดตัว VMware Kubernetes Engine จัดการ Kubernetes ได้อย่างปลอดภัยผ่าน Cloud

VMware ได้ออกมาประกาศเปิดตัว VMware Kubernetes Engine (VKE) แล้วในแบบ Beta โดยจะเป็นบริการ Kubernetes-as-a-Service เสริมอยู่ในผลิตภัณฑ์และบริการกลุ่ม VMware Cloud Services

 

Credit: VMware

 

VKE นี้เป็นบริการ Kubernetes-as-a-Service สำหรับองค์กรเพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถใช้งานและบริหารจัดการ Kubernetes ได้อย่างง่ายดาย, ปลอดภัย และคุ้มค่า โดย VKE นี้จะเริ่มต้นเปิดให้บริการบน AWS ก่อน และในอนาคตก็จะรองรับ Azure และระบบ Cloud อื่นๆ ด้วย ซึ่งตลาดหลักๆ ของ VKE นี้ได้แก่เหล่านักพัฒนา Software และเหล่าผู้ให้บริการเป็นหลัก โดย VKE นี้จะมาพร้อมกับ VMware Smart Cluster ด้วยในตัว

สำหรับความสามารถเบื้องต้นของ VKE มีดังนี้

  • เชื่อมต่อกับ Kubernetes ได้โดยตรง และใช้งานได้ง่าย
  • ทำงานร่วมกับบริการของ AWS ได้
  • กำหนด Policy ตามสิทธิ์ของผู้ใช้งานได้
  • ใช้งานทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและทำ High Availability ได้ด้วย VMware Smart Cluster
  • ทำงานร่วมกับบริการอื่นๆ ใน VMware Cloud Services อย่างเช่น Wavefront ได้

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการทดลองใช้งาน VKE สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://cloud.vmware.com/vmware-kubernetes-engine ครับ

 

ช่องทางการเข้าร่วม VMUG Thailand

สำหรับช่องทางการเข้าร่วมชุมชน VMUG Thailand หรือติดตามข่าวสาร มีดังนี้นะครับ

ทั้งนี้อนาคตอาจมีการเปิดช่องทางใหม่ๆ เพิ่มอีก ก็จะมีการอัปเดตให้ทราบกันเป็นระยะครับ

 

จะช่วยสร้างชุมชน VMUG Thailand ด้วยกันอย่างไรบ้าง?

สำหรับผู้ใช้งาน VMware ที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือชุมชน VMUG Thailand นั้น มีช่องทางด้วยกันหลายทาง ดังนี้

  • ร่วมแบ่งปันความรู้กับสมาชิกในชุมชน VMUG Thailand โดยติดต่อกับทางทีมงาน VMUG Thailand เพื่อเป็นอาสาสมัครได้ทันทีที่ Wuttikorn Limpitak <wuttikorn@unixdev.co.th>
  • ร่วมพูดคุยสอบถามและตอบปัญหาต่างๆ ได้ที่ Facebook Group https://www.facebook.com/groups/1502318113117280/
  • ติดตามเข้าร่วมงาน Meetup และงาน Webinar
  • สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลักดันชุมชนได้ที่ Wuttikorn Limpitak <wuttikorn@unixdev.co.th>

 

ที่มา: https://blogs.vmware.com/cloudnative/2018/06/26/introducing-vmware-kubernetes-engine-vke/

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-kubernetes-engine-is-announced/

Cisco จับมือ Google Cloud Platform เต็มตัว ผลักดันตลาด Multi-Cloud และ Container สำหรับองค์กร

ในงาน Cisco Live 2018 ทาง Chuck Robbins ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO แห่ง Cisco ได้ออกมาประกาศถึงวิสัยทัศน์ในอนาคต ว่าเทคโนโลยี Cloud และ Container นั้นเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้การออกแบบระบบเครือข่ายต้องเปลี่ยนแปลงไป และ Multi-Cloud จะกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของ Cisco ถัดจากนี้ โดยมีความร่วมมือกับ Google Cloud Platform เป็นหัวใจสำคัญ

 

Credit: TechTalkThai

 

ภายในงาน Diane Greene ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO แห่ง Google Cloud ได้ขึ้นเวทีเพื่อเล่าถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Kubernetes ระบบบริหารจัดการ Container ที่ได้กลายเป็นหนึ่งในโครงการ Open Source ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดโครงการหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งภายใน Google เองนั้นก็มีการสร้าง Kubernetes Instance มากถึง 4,000 ล้านครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งความร่วมมือระหว่าง Cisco และ Google ในครั้งนี้เองก็จะนำเทคโนโลยีอย่าง Container และ Kubernetes มาสู่องค์กร

โซลูชันด้าน Hybrid Cloud ที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่าง Cisco และ Google นั้นจะอาศัยเทคโนโลยีของ Kubernetes เป็นหัวใจหลัก และใช้ Istio ซึ่งเป็นโครงการ Open Source สำหรับการบริหารจัดการและตรวจสอบการทำงานของ Microservices เข้ามาช่วย ในขณะที่เทคโนโลยีด้าน Server, Data Center และ Hyper-Converged Infrastructure (HCI) ของ Cisco เองนั้นก็จะเป็นพื้นฐานทางด้านระบบ Hardware เพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถสร้างระบบ Cloud ขึ้นมาใช้งานเองได้ง่ายขึ้น

Diane Greene ยังได้ระบุด้วยว่าเทคโนโลยี Container นี้จะช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถทำงานได้มากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า โดยการใช้ Kubernetes ร่วมกับ Istio นี้จะทำให้ภาระทางด้านการเตรียม Environment สำหรับระบบนั้นหายไปทั้งหมด และทำให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางด้านการพัฒนาระบบเพื่อธุรกิจได้มากขึ้น

ในเดือนหน้า Cisco เองก็จะเริ่มเปิดโครงการ Early Access Program สำหรับเทคโนโลยี Container Platform ของ Cisco เองเพื่อให้เหล่า Partner และลูกค้าองค์กรที่สนใจได้เริ่มต้นทดลองใช้งาน

 

ที่มา: https://www.sdxcentral.com/articles/news/ciscos-robbins-cloud-containers-will-play-prominent-role-in-networkings-future/2018/06/

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-and-google-cloud-platform-will-push-multi-cloud-and-enterprise-container-market-together/

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาฟรี SUSE Expert Days 2018 เรียนรู้ Software-Defined Infrastructure 17 พฤษภาคม 2018

SUSE ขอเชิญเหล่า IT Manager, System Engineer, Linux Engineer และผู้ที่ดูแลระบบ Data Center เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี SUSE Expert Days 2018 เพื่ออัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางฝั่ง Open Source สำหรับใช้การทำ Digital Transformation และการสร้าง Cloud เพื่อใช้งานภายในองค์กร วันที่ 17 พฤษภาคม 2018 โดยมีรายละเอียดและวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีดังนี้

 

SUSE Expert Days 2018

 

 

วันที่ 17 พฤษภาคม 2018
เวลา 9.00 – 18.00
สถานที่ 2Fl., Lotus room, Swissotel Le Concorde, Bangkok (แผนที่)

 

SUSE ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Open Source สำหรับธุรกิจองค์กร ได้จัดงาน SUSE Expert Days 2018 ภายใต้ธีม Open. Redefined. เพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านการนำเทคโนโลยี Open Source ไปใช้ตอบโจทย์ในการทำ Digital Transformation และ IT Transformation ด้วยการชูเทคโนโลยี SUSE Software-Defined Infrastructure (SDI) และ Application Delivery Solutions ขึ้นมาเป็นแกนหลักในการเสริมความรวดเร็วและความคล่องตัวให้กับระบบ IT ขององค์กร ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้รับชมการนำเสนอและแสดงเทคโนโลยีฝั่ง Data Center ที่หลากหลายจาก SUSE ในงานครั้งนี้ ได้แก่

  • Software-Defined Infrastructure (SDI) & Application Delivery Solutions
  • SLES 12 SP3 & SLE 15
  • SUSE OpenStack Cloud (Enterprise Cloud)
  • SUSE Enterprise Storage
  • SUSE Studio Express (OBS)
  • SUSE Manager
  • SUSE CaaS Platform (Enterprise Container)
  • SUSE Cloud Application Platform

 

กำหนดการ

8:30AM Registration and light breakfast
9:00AM Welcome and Introduction
9:15AM Keynote – Introduction to SUSE SDI SUSE can help you win the game – SDI/ App Delivery
9:45AM Innovation – Short video, SUSE Container as a Service Platform and Demonstration
10:30AM Morning Tea Break
10:45AM Agility – Short video, SUSE OpenStack Cloud and Demonstration, SUSE Enterprise Storage and Demonstration
12:00PM Lunch & visit Sponsor’s booth
1.00PM Sponsor Presentation by Microsoft
1:30PM Transformation – Short video, SUSE Manager and Demonstration
2.15PM Transformation, SUSE Enterprise Linux / Mission Critical Computing
3:00PM Wrap-up, Q&A & Lucky Draw
3:30PM Tea break & visit Sponsor’s booth

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีทันที

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://events.suse.com/events/2018-apj-suse-expert-days-bangkok/registration-47629b45d47743fba22f8d277f8b0d0c.aspx?fqp=true

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://events.suse.com/events/2018-apj-suse-expert-days-bangkok/event-summary-47629b45d47743fba22f8d277f8b0d0c.aspx

 

สนับสนุนโดย

Sponsor

Distributor

from:https://www.techtalkthai.com/suse-expert-days-2018-seminar-invitation/

เปิดตัว Docker Enterprise Edition 2.0 จัดการ Kubernetes บน Environment ได้หลากหลาย

Docker ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Docker Enterprise Edition (Docker EE) 2.0 ที่มุ่งเน้นด้านการสนับสนุน Kubernetes เป็นหลัก โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

 

Credit: Docker

 

  • รองรับ Multi-Linux, Multi-OS, Multi-Cloud ได้ในตัว ใช้งานได้บนทั้ง Linux และ Server บนผู้ให้บริการหลากหลายค่ายได้ในระบบเดียว
  • เลือกใช้ Swarm หรือ Kuberentes ก็ได้
  • ปรับ Workflow การตั้งค่าและการบริหารจัดการให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
  • ทำ Multi-tenancy ได้โดยไม่ต้องสร้าง Cluster ใหม่ ด้วยการ Integrate เข้ากับ LDAP หรือ AD ที่มีอยู่ ก็สามารถแบ่งทรัพยากรระหว่างทีมได้แล้ว
  • ปรับ Layer 7 Routing ของ Swarm ให้ดีขึ้น
  • รองรับการบริหารจัดการด้วย Kubernetes ได้แบบสมบูรณ์
  • จัดการทำ Secure Supply Chain ได้บนทั้ง Swarm และ Kubernetes
  • จัดการทำ Secure Supply Chain สำหรับองค์กรที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกได้

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถทดสอบ Docker EE 2.0 ได้ฟรีๆ ที่ https://trial.docker.com/ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.docker.com/enterprise-edition และ https://docs.docker.com/enterprise/ ครับ

 

ที่มา: https://blog.docker.com/2018/04/announcing-docker-enterprise-edition-2-0/

from:https://www.techtalkthai.com/docker-enterprise-edition-2-0-is-released-with-more-kubernetes-support/