คลังเก็บป้ายกำกับ: สจล

สจล. เปิดตัว “UNICON” รถ EV ฝีมือวิศวกรไทย ปั้นนวัตกรรมรับเทรนด์พลังงานสะอาด

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัว รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า UNICON รุ่นที่ 1 วิจัยและพัฒนาโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางภายใน สจล. ด้วยพลังสะอาด ต้นแบบในการคิดค้นนวัตกรรม ลดมลพิษทางอากาศ และมีจุดเด่นด้านการประหยัดพลังงาน

ทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตั้งแต่ขณะเรียน รวมถึงการนำงานวิจัยมาสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้งานจริง เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและองค์ความรู้รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะกลายเป็นยานพาหนะหลักในอนาคต

ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยว่า สจล. มุ่งมั่นในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชนที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ จึงได้ดำเนินนโยบาย KMITL for SDGs ด้วยการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาดในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการ Innovated in KMITL ที่ส่งเสริมให้นักวิจัยบูรณาการองค์ความรู้ในหลากหลายสาขาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อใช้จริงภายในสถาบัน

โดยนักวิจัย นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้พัฒนาโครงการวิจัยรถต้นแบบ UNICON ซึ่งเป็นรถโดยสารเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% สำหรับใช้ภายในสถาบันฯ มุ่งลดมลพิษจากเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันอันเป็นต้นเหตุของฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพของประชาชน ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่าการใช้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันซึ่งมีราคาผันผวนตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นยานยนต์แห่งอนาคต

แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากรถรางที่ใช้ในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเมืองที่มีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว เมื่อนำมาใช้ภายในพื้นของสถาบันฯ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของ สจล. ยุคใหม่ที่มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เช่นกัน โดยชื่อรถ UNICON มาจากคำว่า University และ Connection ที่นอกจากจะสื่อความหมายถึงรถโดยสารที่เชื่อมต่อการเดินทางภายในพื้นที่สถาบันฯ แล้ว ยังสื่อถึงการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนการสอน การทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมของสถาบันฯ เข้าด้วยกัน ยิ่งไปกว่านั้นนวัตกรรมรถ UNICON ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกรคนไทยทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ประกอบ ตลอดจนบำรุงรักษา โดยความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ศิษย์เก่าและนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาเป็นยานพาหนะกระแสหลักในอนาคต ศ.ดร.สุรินทร์ กล่าวเสริม

//////////////////

สมัครสมาชิก Enterprise ITPro เพื่อรับข่าวสารด้านไอที

form#sib_signup_form_4 {
padding: 5px;
-moz-box-sizing:border-box;
-webkit-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 input[type=text],form#sib_signup_form_4 input[type=email], form#sib_signup_form_4 select {
width: 100%;
border: 1px solid #bbb;
height: auto;
margin: 5px 0 0 0;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn {
margin: 5px 0;
padding: 6px 12px;
color:#fff;
background-color: #333;
border-color: #2E2E2E;
font-size: 14px;
font-weight:400;
line-height: 1.4285;
text-align: center;
cursor: pointer;
vertical-align: middle;
-webkit-user-select:none;
-moz-user-select:none;
-ms-user-select:none;
user-select:none;
white-space: normal;
border:1px solid transparent;
border-radius: 3px;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn:hover {
background-color: #444;
}
form#sib_signup_form_4 p{
margin: 10px 0 0 0;
}form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message {
padding: 6px 12px;
margin-bottom: 20px;
border: 1px solid transparent;
border-radius: 4px;
-webkit-box-sizing: border-box;
-moz-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-error {
background-color: #f2dede;
border-color: #ebccd1;
color: #a94442;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-success {
background-color: #dff0d8;
border-color: #d6e9c6;
color: #3c763d;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-warning {
background-color: #fcf8e3;
border-color: #faebcc;
color: #8a6d3b;
}

from:https://www.enterpriseitpro.net/unicon-ev-kmitl/

สจล. เปิดศูนย์ KMITL Interactive Digital Center แห่งแรกในไทย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผนึก บริษัท อิออน เรียลลิตี้ (Eon Reality) ผู้นำเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์จากสหรัฐอเมริกา เปิด “ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center” ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเสมือนจริงแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าในยุคเมทาเวิร์ส (Metavearse) ที่ได้เชื่อมคนเข้าสู่โลกเสมือนจริงได้อย่างไร้รอยต่อ จะช่วยให้การชีวิตของผู้คนเป็นไปอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากการนำบิ๊กเดต้า (Big Data) เข้าสู่กระบวนการประมวลผลและประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ อาทิ การจำลองภาพพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์ความปลอดภัยเชิงพื้นที่ก่อนเริ่มการก่อสร้าง การนำข้อมูลการจราจรมาประมวลผลเป็นการเฝ้าระวังการข้ามถนนของผู้คน ซึ่งสอดรับกับแนวคิด “KMITL FIGHT” ของสถาบันในการขับเคลื่อนประเทศอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเดินหน้าพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รับศตวรรษที่ 21

ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันได้ขยายความร่วมมือกับ บริษัท อิออน เรียลลิตี้ (Eon Reality) ผู้นำเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) และเสมือนจริง (Augmented Reality) ระดับโลก ในการจัดตั้ง “ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center” (KIDC) ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเสมือนจริงแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันได้อย่างก้าวกระโดด ตลอดจนสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเออาร์-วีอาร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมลดต้นทุนของการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์กร

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมบรรยากาศศูนย์ดังกล่าวแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยติดต่อผ่านเพจเฟซบุ๊ก http://www.facebook.com/KMITL.IDC

—————————–

สมัครสมาชิกรับข่าวสารด้านไอทีฟรี

ชื่อของคุณ

กรุณากรอกอีเมล์*

from:https://www.enterpriseitpro.net/kmitl-interactive-digital-center/

ว้าว!! ตามไปดูระบบ “CiRA CORE” แพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หนึ่งในหัวเรือสำคัญผู้สร้างแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) สัญชาติไทยที่ชื่อว่า CiRA CORE (ซีร่า คอร์) กล่าวว่า “โครงการ CiRA CORE ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2562 เป็นงานวิจัยที่ได้รับความร่วมมือของ 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผนวกความร่วมมือจากพันธมิตรที่เป็นบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้ CiRA CORE ได้มีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์และมีการนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว”

ในปัจจุบัน CiRA CORE ถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น นำ AI ไปตรวจสอบคุณภาพของหน้ากากอนามัย การช่วยตรวจสอบตำแหน่งของการเติมปูนในรถบรรทุกในภาคอุตสาหกรรมอย่างโรงงานปูนซีเมนต์ และยังมีการใช้ตรวจเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์ในการวิเคราะห์สายพันธุกรรมของไวรัสจากตัวอักษร เพื่อให้สามารถมองภาพรวมแล้วเทียบได้ว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใด ความแม่นยำสูงถึง 99% โดยในปีนี้มีโอกาสได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบริษัทจีเอเบิลที่มีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของไทยสามารถใช้งานได้จริงและแข่งขันในระดับนานาประเทศได้ โดยจีเอเบิลเข้ามาช่วยทางเทคนิคหลายด้าน อาทิ เครือข่าย สตอเรจ การออกแบบระบบ ซึ่งต้องสอดรับกับแผนการเติบโตของ CiRA CORE โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีเอเบิลช่วยในเรื่องการจัดหาเครื่องมือที่ต้องมีพลังการประมวลระดับสูงอย่างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาสร้างโมเดล สร้างเซิร์ฟเวอร์ AI นั่นคือการจัดหา NVIDIA DGX A100 ที่สามารถตอบโจทย์ระบบการทำงานของแพลตฟอร์ม CiRA CORE ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “จีเอเบิลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการ CiRA CORE แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นของไทยเอง โดยจีเอเบิลได้เข้ามาช่วยในเรื่องการติดตั้งเครื่อง ‘NVIDIA DGX A100’ ซึ่งมีประสิทธิภาพ เป็นศูนย์ข้อมูลแบบเร่งความเร็วระดับ 5 Petaflops ซี่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะกับการทำปัญญาประดิษฐ์ สิ่งสำคัญที่ช่วยนักวิจัยในการเร่งสปีดของงานวิจัยและนวัตกรรม ทั้งด้านประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการประมวลผล การที่จีเอเบิลได้มีโอกาสเข้ามาสนับสนุนในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาจากบุคลากรของไทยที่มีความรู้ความสามารถ ในการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ที่ผ่านการพิสูจน์และได้การยอมรับจากสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมของไทย”

รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

“สิ่งที่หวังไว้คือ CiRA CORE จะต้องเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยพัฒนาประสบความสำเร็จ และอยู่ในตลาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถต่อยอดไปได้เรื่อยๆ สามารถออกบริการใหม่ๆ ถึงจะอยู่รอดในโลกของนวัตกรรมได้ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ของคนไทยเอง มีข้อดีในหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น การขยายผลไปสู่เศรษฐกิจสรางสรรค์ ที่เราจะสามารถหารายได้โดยที่ไม่ต้องสูญเสียทรัพยากร โดยการจ่ายเงินราคาแพงเพื่อซื้อแอปพลิเคชันจากต่างชาติมาใช้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้” รศ.ดร.ศิริเดช กล่าวเสริม

from:https://www.enterpriseitpro.net/ai-cira-core/

ว้าว ! สุดยอดงานประชุมด้านการศึกษา ผนึกความร่วมมือ หัวเว่ย และ สจล.

มาแล้วกับสุดยอดงานประชุมด้านการศึกษา ภายใต้แคมเปญ Huawei Asia Pacific Education Summit โดยครั้งนี้เป็นการผนึกร่วมระหว่าง หัวเว่ย และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มากับธีม “Leading New ICT, The Road to Smart Education” ตอบโจทย์ความสำคัญ Thailand 4.0 และ Digital University Trend

โดยในงานนี้ทุกท่านจะได้พบกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Campus, Smart Classroom, SDN และ Education Cloud Data Center และคุณยังจะได้พบกับหัวข้อการบรรยายต่างๆ ที่น่าสนใจจากทั้งผู้บริหารหัวเว่ย และ เหล่าคณาจารย์จาก สจล. เช่น Education IT Construction Challengers and Trends, The Next Generation of Campus Network and Data Center : The Convergence และที่สำคัญทุกท่านจะได้เข้าไปเยี่ยมชม SDN Campus Network ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งภาคการศึกษา ณ สถานที่จริงด้วย

สำหรับงานดังกล่าวนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2560 นี้ โดยวันที่ 14 พ.ย. จะบรรยายที่โรงแรม Sofitel Bangkok Sukhumvit ส่วนวันที่ 15 พ.ย. จะไปเยี่ยมชมแคมปัสจริงที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สำหรับกำหนดการและรายละเอียดทั้งหมด ดูได้ที่ http://bit.ly/2lA0gK0 (สงวนสิทธิลงทะเบียนสำหรับหน่วยงานด้านการศึกษาเท่านั้น)

from:https://www.enterpriseitpro.net/archives/8647