คลังเก็บป้ายกำกับ: VIRTUAL_PERSONAL_ASSISTANT

10 เทคโนโลยีที่จะมาเป็นหัวใจของธุรกิจองค์กรปี 2017 โดย Gartner

ในงาน Gartner Symposium/ITxpo 2016 ทาง Gartner ได้ออกมาวิเคราะห์ถึง 10 เทคโนโลยีที่เหล่าองค์กรจะนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปี 2017 เพื่อสร้างเทคโนโลยีเฉพาะของตนเองขึ้นมาสำหรับการแข่งขันทางธุรกิ ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอเรียบเรียงสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. AI และ Advanced Machine Learning

Artificial Intelligence (AI) และ Advanced Machine Learning (ML) นั้นประกอบไปด้วยเทคโนโลยีภายใตต่างๆ มากมาย โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้เราสามารถก้าวข้ามการควบคุมระบบด้วยการกำหนดกฎต่างๆ ขึ้นมาได้จากการสร้างระบบที่สามารถทำความเข้าใจ, ทำนาย, ปรับตัว และทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ ทำให้เครื่องจักรต่างๆ มีความชาญฉลาดขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในแง่มุมต่างๆ แล้วก้จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, รถยนต์ไร้คนขับ, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ช่วยเสมือน (Virtual Personal Assistant/VPA), ระบบให้คำแนะนำ และอื่นๆ เป็นต้น

 

2. Intelligent Apps

Application ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็น Virtual Personal Assistant (VPA) ที่ให้คำแนะนำในการทำงานทั่วๆ ไปอย่างเช่นการจัดการ Email, การช่วยอ่านเนื้อหาหรือโต้ตอบการสื่อสารต่างๆ โดยัอตโนมัติ หรือระบบ Virtual Consumer Assistant (VCA) ที่จะมาช่วยให้งานของเซลส์และทีมงานสนับสนุนง่ายขึ้นนั้น ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของเราไปเป็นอย่างมากในอนาคต

 

3. Intelligent Things

สิ่งของต่างๆ ที่จะมีความชาญฉลาดเหนือกว่าการทำงานตามคำสั่งที่โปรแกรมเอาไว้ โดยมีการฝัง AI และ ML เพื่อให้สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างซับซ้อนยิ่งขึ้นและสามารถโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวและผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Drone, รถยนต์ไร้คนขับ, เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ หรืออื่นๆ รวมถึงการเปลี่ยนไปจากการทำงานแบบ Stand-alone ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ที่อยู่รายรอบได้

 

4. Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)

VR และ AR จะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ผู้คนจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และเปลี่ยนวิธีการที่ผู้คนจะใช้งาน Software โดยตลาดของ VR, AR และ Content ที่เกี่ยวข้องนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 และเทคโนโลยี VR/AR นี้จะถูกผนวกเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้การนำเสนอข้อมูลไปยังผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถทำได้แบบ Hyperpersonalized พร้อมกับนำเสนอ App และบริการต่างๆ ด้วย โดยการเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ Mobile, Wearable, IoT และ Sensor ก็จะทำให้ Immersive Application บน VR และ AR ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก พื้นที่ว่างภายในห้องนั้นนอกจากจะมีสิ่งต่างๆ และ IoT แล้ว ก็จะยังมีข้อมูลจากโลก Immersive Virtual World แสดงอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน

 

5. Digital Twin

Digital Twin หรือการบันทึกข้อมูลของสิ่งของในโลกจริงในรูปแบบ Digital ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Sensor เพื่อวัดสถานะปัจจุบัน, ความเปลี่ยนแปลง และอื่นๆ ในรูปแบบของ Metadata, Condition/State, Event และ Analytics นั้นจะเริ่มกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยภายใน 3-5 ปี สิ่งของต่างๆ หลายร้อยล้านชิ้นทั่วโลกจะถูกจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Digital Twin และองค์กรต่างๆ ก็จะใช้ข้อมูล Digital Twin นี้ในการซ่อมบำรุงสิ่งของต่างๆ ล่วงหน้าและวางแผนจัดการกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้ การทำนายว่าอุปกรณ์ใดจะเสียล่วงหน้าหรือการปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นก็จะเกิดขึ้นจากข้อมูลเหล่านี้

 

6. Blockchain และ Distributed Ledgers

Blockchain และ Distributed Ledgers นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมได้ โดยถึงแม้ปัจจุบันสองเทคโนโลยีนี้มักจะถูกพูดถึงในการนำไปใช้สำหรับเทคโนโลยีทางด้านการเงินเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain และ Distributed Ledgers นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเพลง, การตรวจสอบยืนยันตัวตน หรือแม้แต่ Supply Chain ก็ตาม

 

7. Conversational System

ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังถูกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบ Chatbot และอุปกรณ์ที่ใช้งานไมโครโฟนได้เป็นหลัก แต่ในอนาคตนั้น แนวคิดของ Digital Mesh จะเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่มนุษย์เราเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วยมากขึ้นเหนือไปจากแค่ PC, Notebook และ Mobile Device กลายไปเป็นทุกๆ อุปกรณ์ที่มนุษย์เราสามารถสื่อสารด้วยได้ รวมไปถึงอุปกรณ์เหล่านี้เองก็จะต้องสื่อสารระหว่างกันได้ด้วย กลายเป็นโลกของ Digital Experience ที่ทุกสิ่งทุกอย่างสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา

 

8. Mesh App and Service Architecture (MASA)

MASA นี้คือการที่ Mobile App, Web App, Desktop App และ IoT App เชื่อมต่อไปยังบริการ Back-end จำนวนมากเพื่อสร้างสิ่งที่ผู้ใช้งานอย่างเรามองเห็นว่าเป็น Application ใดๆ โดยสถาปัตยกรรม MASA นี้จะทำการนำเสนอบริการใดๆ ให้อยู่ในรูปของ API เพื่อเชื่อมต่อไปยังบริการอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มขยายได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นจะสามารถนำอุปกรณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็น Desktop, Smartphone, รถยนต์ไร้คนขับเข้ามาเชื่อมต่อกับบริการในสถาปัตยกรรม MASA ได้อย่างอิสระ และเข้าถึงข้อมูลหรือบริการต่างๆ ได้อยู่ตลอดเวลาแม้จะเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้งานไปตามอิริยาบถใดๆ ก็ตาม

 

9. Digital Technology Platforms

Digital Technology Platform จะเป็นฐานแบบ Building Block ที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปสู่การเป็น Digital Business ได้ โดยในการเปลี่ยนธุรกิจให้กลายเป็น Digital Business นี้จะมีจุดที่ต้องมุ่งเน้นด้วยกัน 5 ประเด็น ได้แก่ Information Systems, Customer Experience, Anallytics and Intelligence, IoT และ Business Ecosystems ซึ่งแต่ละองค์กรอาจจะมุ่งเน้นในประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นที่แตกต่างกัน และอาจใช้ Digital Technology Platform ที่แตกต่างกันไปก็ได้

 

10. Adaptive Security Architecture

เทคโนโลยีใหม่ข้างต้นทั้งหมดนั้นจะทำให้การรักษาความปลอดภัยมีความซับซ้อนขึ้นไปอีกเป็นอย่างมาก โดยการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานให้กับเหล่าอุปกรณ์ IoT นั้นควรจะเป็นสิ่งที่เหล่าองค์กรบรรลุให้ได้ และการติดตามผู้ใช้งานและพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ดี IoT เองนั้นก็เป็นปัญหาแก่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่เปิดกว้างค่อนข้างมากและยังต้องการวิธีการในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไป

 

สำหรับรายงานฉบับเต็มสามารถกรอกแบบฟอร์มและอ่านกันได้ที่ http://www.gartner.com/technology/research/top-10-technology-trends/ เลยนะครับ

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3482617

from:https://www.techtalkthai.com/10-strategic-technology-for-organization-in-2017-by-gartner/

Amazon เปิดบริการ Echo Simulator ทดสอบใช้งาน Amazon Echo ได้ฟรีๆ บน Browser

สำหรับใครที่สนใจอยากลองพูดกับ Alexa ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยที่รับคำสั่งด้วยเสียงจาก Amazon ตอนนี้ทาง Amazon ได้เปิดบริการ Amazon Echo Simulator ให้เราได้ลองคุยกับ Alexa กันฟรีๆ แล้ว

amazon_echo_simulator

เว็บไซต์ https://echosim.io/ เป็นเว็บไซต์ที่จะเปิดให้เราล็อกอินด้วย Account ของ Amazon เพื่อให้เราเข้าสู่การทดสอบพูดคุยกับ Alexa ได้ทันทีผ่าน Web Browserได้ทันที

อันที่จริงแล้ววัตถุประสงค์ของเว็บไซต์แห่งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ทำการทดสอบความสามารถของ Alexa ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ใช้ Alexa และมุ่งเน้นที่กลุ่มของเหล่านักพัฒนาที่ต้องการทำความเข้าใจความสามารถของ Alexa ก่อนจะทำการพัฒนาโปรแกรมต่อยอดเพื่อให้ Alexa กลายเป็นผู้ช่วยเอนกประสงค์นั่นเอง

ที่มา: http://venturebeat.com/2016/05/27/amazon-built-an-echo-simulator-you-can-use-in-the-browser/

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-opens-echo-simulator-on-web-browser/

Gartner เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับปี 2016

เป็นแนวโน้มที่ Gartner ได้ออกมาประกาศทุกปี และทางทีมงาน TechTalkThai ก็เห็นว่ามีความน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน จึงขอหยิบยกมาสรุปให้ได้อ่านกันที่นี้ โดยในปีนี้ Gartner จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจค่อยๆ ตอบโจทย์ของ Digital Business ได้สำเร็จภายในปี 2020 ได้เป็นหลัก และถือเป็นอีกการทำนายแนวโน้มที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างหลากหลาย ดังต่อไปนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. The Device Mesh

เป็นแนวโน้มที่ต่อยอดไปอีกจาก Internet of Things โดยประเด็นแรกคือการที่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device, Wearable, เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน, อุปกรณ์บนรถยนต์ และอุปกรณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ Sensors ในระบบ Internet of Things นั่นเอง

นอกจากนี้ระบบ Back-end สำหรับ Internet of Things ที่ปัจจุบันยังมีการแยกขาดจากกันสำหรับแต่ละผู้ผลิตนั้น ทาง Gartner ก็ได้ทำนายไว้ว่า Device Mesh จะทำให้ระบบ Internet of Things ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อีกด้วย

 

2. Ambient User Experience

Device Mesh จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Ambient User Experience โดยการนำเสนอ User Experience นั้นจะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ตอนที่ผู้ใช้งานกำลัง Interact กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเป็นรายๆ อีกต่อไป แต่ผู้ผลิตจะต้องมุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ในการที่ผู้ใช้งานจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยประกอบขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things ที่หลากหลายให้กลายเป็นประสบการณ์เพียงหนึ่งเดียว โดยประเด็นนี้จะเป็นตัวสร้างความแตกต่างหลักๆ สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แต่ละราย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร ซึ่งการออกแบบ Mobile Application ก็จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับองค์กร และอาจมีบางส่วนที่ Augmented Reality หรือ Virtual Reality มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

3. วัตถุดิบสำหรับ 3D Printing

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3D Printing นั้นได้ก้าวไปถึงการพัฒนาวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่หลากหลายขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่ทำจาก Advanced Nickel Alloy, Carbon Fiber, แก้ว, Conductive Ink, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ยา หรือแม้แต่วัตถุทางชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ก็จะทำให้สามารถสร้างความต้องการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และเติมเต็มความต้องการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทั้งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ, เภสัชศาสตร์, รถยนตร์และยานพาหนะ, พลังงาน และการทหาร และทำให้การเติบโตของอุปกรณ์ 3D Printer สำหรับองค์กรนั้นเติบโตขึ้นถึง 64.1% ต่อปีไปจนถึงปี 2019 และจะยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องไปอีกถึง 20 ปีนับจากวันนี้

 

4. Information of Everything

เป็นก้าวที่พัฒนาต่อจาก Internet of Things และ Big Data Analytics ที่ในอนาคตเมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างหรือการใช้ชีวิตของมนุษย์นั้นได้ทำการสร้างข้อมูลขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกอยู่แยกกันเหล่านี้ก็จะถูกนำมาผสานรวมกันเพื่อค้นหาความหมายหรือความรู้ต่างๆ จากข้อมูลเหล่านี้

 

5. Advanced Machine Learning

การทำ Machine Learning จะเติบโตก้าวหน้าต่อไปด้วยการทำ Deep Neural Nets (DNNs) ที่พัฒนาไปถึงขั้นกลายเป็นระบบที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ด้วยตัวเอง และมาทดแทนการจำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ และทำให้ Hardware หรือ Software ต่างๆ ในอนาคตสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ใน Environment ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ได้อย่างครอบคลุม และจะกลายเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์กรใช้เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้

 

6. ผู้ช่วยและสิ่งของที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้

ต่อเนื่องจากการพัฒนาของระบบ Machine Learning ก็จะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีความชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, ยานยนตร์อัตโนมัติ, ผู้ช่วยส่วนตัว (Virtual Personal Assistant/VPA) และผู้ให้คำแนะนำที่สามารถทำงานได้เองและโต้ตอบกันได้ ซึ่งระบบผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Google Now, Microsoft Cortana หรือ Apple Siri นั้นก็จะมีความชาญฉลาดมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบเหล่านี้ และการโต้ตอบกันได้ในลักษณะนี้ก็จะกลายเป็น User Interface หลักของการทำ Ambient User Interface และทำให้การพูดมาแทนการกดปุ่มต่างๆ ทางหน้าจอได้ และเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องยาวนานไปอึกถึง 20 ปี

 

7. Adaptive Security Architecture

การเติบโตของโลกที่ระบบ IT มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการสร้างรายได้จากการ Hack ได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างนั้น ทำให้ภัยคุกคามที่มีต่อองค์กรนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรักษาความปลอดภัยโดยการกำหนดกฎในแบบเดิมๆ นั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว และการที่องค์กรมีการสร้างบริการบน Cloud หรือ API เพื่อเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้านั้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้น ซึ่งผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรก็ต้องคอยตรวจสอบและตอบโต้ภัยต่างๆ ในขณะที่ก็ยังคงละทิ้งการป้องกันภัยแบบเดิมๆ ไปไม่ได้ ระบบ Application ที่ป้องกันตัวเองได้ และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มาเติมเต็มสถาปัตยกรรมแบบ Adaptive Security Architecture

 

8. Advanced System Architecture

เพื่อตอบรับการมาของ Device Mesh และ Advanced Machine Learning รวมถึงอุปกรณ์ที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้ Advanced System Architecture จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มาตอบโจทย์ความต้องการพลังในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าต่อพลังงานสูง โดย FPGA จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับการสร้างสถาปัตยกรรมการประมวลผลในรูปแบบเดียวกับสมองมนุษย์นี้ และมีความเร็วมากกว่า 1 Teraflops ได้โดยใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ในอนาคตอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ Internet of Things เองก็จะมีความสามารถในการทำ Machine Learning ได้ด้วย ในขณะที่ GPU ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอยู่

 

9. Mesh App และ Service Architecture

ด้วยการมาของ Internet of Things และ Mobile ที่ต้องการใช้ Back-end ที่มีประสิทธิภาพสูงและยืดหยุ่น สถาปัตยกรรมแบบ 3-tier จะค่อยๆ กลายเป็นสถาปัตยกรรมแบบ App & Service Architecture แทน ด้วยบริการ Software-defined Application นี้ก็จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้งานระบบที่มีประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความรวดเร็วได้ถึงแบบ Web-scale ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ Microservice ก็จะยังคงตอบโจทย์การพัฒนา Application ที่เพิ่มขยายได้ทั้งแบบ On-premise และ Cloud อีกทั้ง Container ก็จะกลายมาเป็นเทคโนโลยีหลักที่เป็นพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Microservice นั่นเอง

 

10. Internet of Things Platforms

เทคโนโลยีและมาตรฐานต่างๆ สำหรับระบบ Internet of Things จะถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารจัดการ, การรักษาความปลอดภัย และความสามารถต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบ Internet of Things มาใช้งาน และจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำ Device Mesh และ Ambient User Experience นั่นเอง

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-predicted-10-technology-it-trends-2016/