คลังเก็บป้ายกำกับ: PLATFORM_AS_A_SERVICE

Heroku ประกาศปิดบริการ Free Tier ทั้งหมด

Heroku ประกาศปิดบริการ Free Tier ทั้งหมด หลังจากที่เปิดให้บริการมาร่วม 10 ปี

Credit: Heroku

Heroku ผู้ให้บริการ Platform as a Service (PaaS) สำหรับนักพัฒนา ภายใต้การดูแลของ Salesforce ประกาศปิดบริการ Free Tier ทั้งหมดและผลักดันให้ลูกค้าไปใช้บริการ Paid Plan แทน โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้จะมีการลบข้อมูลบัญชีที่ไม่มีการใช้งานมากกว่า 1 ปี ออกจากระบบภายในวันที่ 26 ตุลาคม หลังจากที่พบการนำบริการ Free Tier นี้ไปใช้งานในทางที่ผิดจำนวนมาก ส่งผลให้ทีมพัฒนาต้องเสียเวลาเข้าไปจัดการปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับนักเรียนนักศึกษา สามารถใช้บริการได้ฟรีผ่านทาง Dreamforce Program และยังคงให้บริการสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่อไป

Heroku เป็นบริการที่ช่วยนักพัฒนาให้สามารถรันโค้ดบน Cloud Platform รองรับภาษาหลากหลาย เช่น Java, PHP, Scala และ Go โดยถูก Salesforce เข้าซื้อกิจกการไปเมื่อปี 2010 ด้วยมูลค่ากว่า 212 ล้านเหรียญ ปัจจุบันมีแอพพลิเคชันที่ใช้ Heroku มากกว่า 13 ล้านตัว

ที่มา: https://techcrunch.com/2022/08/25/heroku-announces-plans-to-eliminate-free-plans-blaming-fraud-and-abuse/

from:https://www.techtalkthai.com/heroku-shutting-down-free-tier-services/

[Guest Post] “ดิจิทัลโอเชียน” เปิดตัว “แอปแพลตฟอร์ม” ช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์ง่ายขึ้น

ดิจิทัลโอเชียน (DigitalOcean) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้ง สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันยุคใหม่ เปิดตัว ดิจิทัลโอเชียนแอปแพลตฟอร์ม (DigitalOcean App Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรูปแบบบริการ (PaaS – Platform as a service) ที่ช่วยบริหารจัดการโครงสร้างแอปพลิเคชันแบบอัตโนมัติ ช่วยให้นักพัฒนานำแอปพลิเคชันที่พัฒนาเสร็จแล้วไปรันบนเครื่องจริงได้ภายในไม่กี่คลิก บริการใหม่นี้เป็นการรุกคืบของบริษัทในการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร เพื่อให้นักพัฒนาแอป รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMBs) จะได้มีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์เปลี่ยนแปลงโลก

อพูวาร์ โจชิ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดิจิทัลโอเชียน

 

อพูวาร์ โจชิ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดิจิทัลโอเชียน กล่าวว่า “ด้วยจำนวนธุรกิจหลายล้านรายที่เริ่มต้นบนคลาวด์ในแต่ละปี นักพัฒนาแอปจำเป็นต้องมีวิธีการที่ง่าย รวดเร็ว และย่อขยายได้ เพื่อส่งมอบแอปที่เสริมสมรรถนะแนวคิดของพวกเขา” พร้อมกับเสริมว่า “แอปแพลตฟอร์ม สร้างสรรค์จากเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วของดิจิทัลโอเชียน ที่สามารถสร้างโค้ดได้อย่างง่ายดายอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท จะทำให้นักพัฒนาแอปไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานอีกต่อไป และสามารถปล่อยแอปสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และเนื่องจากแอปแพลตฟอร์มทำงานอยู่บนดิจิทัลโอเชียน องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถรักษาต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำได้แบบง่ายดาย และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ในขณะที่ธุรกิจเติบโตขึ้น”

แอปแพลตฟอร์มจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถึงขีดสูงสุด โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแอปเคลื่อนย้ายโค้ดจากที่เก็บใน กิตฮับ (GitHub) ได้โดยตรง และนักพัฒนาแอปยังสามารถเลือกย้ายโค้ดซ้ำอัตโนมัติเมื่อต้องมีการอัปเดต

 

 

แอปแพลตฟอร์ม ซึ่งสร้างอยู่บน คูเบอร์เนเตส (Kubernetes) ของดิจิทัลโอเชียน ช่วยสร้างขุมพลัง แอปที่สามารถขยายการรองรับการเติบโต และมีความยืดหยุ่นของ ช่วยให้ส่งมอบงานกับลูกค้าโดยปราศจากความซับซ้อน และเนื่องจากแพลตฟอร์มนี้สร้างบนมาตรฐานแบบเปิด ลูกค้าจึงสามารถมองเห็นโครงสร้างพื้นฐานได้ชัดเจนกว่าการใช้แพลตฟอร์มแบบปิดที่นิยมใช้กันทั่วไป ปัจจัยนี้ทำให้ลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการแอปพลิเคชันขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน ต้องการให้แอปแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ หรือลูกค้าต้องการเข้าไปควบคุมการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

จากรายงานของ DigitalOcean Currents ผู้ก่อตั้งธุรกิจประมาณ 65 เปอร์เซนต์ ระบุว่า ความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการเข้าไปยังธุรกิจใหม่ ๆ การรับมือกับภาระหน้าที่ทั่วไปของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดเตรียมและบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ระยะเวลาดำเนินการของแอปพลิเคชัน และภาระอื่น ๆ แต่ แอปแพลตฟอร์ม บนคลาวด์ของดิจิทัลโอเชียนเข้าถึงได้ง่าย สำหรับสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่มีเวลาหรือความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง

แลร์รี คาร์วาโล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ไอดีซี กล่าวว่า “การย่นย่อเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ทำให้นักพัฒนาแอปยินดีอ้าแขนรับแพลตฟอร์มใหม่ที่สร้างบนมาตรฐานแบบเปิด” และกล่าวต่อว่า “เทคโนโลยีคลาวด์จากโอเพนซอร์สแบบคูเบอร์เนเตส กลายเป็นตัวเลือกแรกของนักพัฒนาแอปขององค์กรทุกขนาด และสำหรับสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ปัจจัยหลักที่บริษัทพิจารณาคือ ราคา ความง่ายต่อการใช้งาน และความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถทำงานเองโดยอัตโนมัติ”

ปัจจุบัน แอปแพลตฟอร์ม รองรับภาษายอดนิยม และกรอบการทำงานหลากหลาย รวมถึง Python, Node.js, Go, PHP, Ruby, Hugo และ static sites ต่าง ๆ  ผลิตภัณฑ์นี้ให้บริการฟรี สำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่มีไว้เพื่อการแสดงผลข้อมูลอย่างเดียว (static sites) และแบบเสียค่าบริการเพื่อตอบสนองความต้องการเจริญเติบโตของธุรกิจ สามารถดูรายละเอียดราคาและพื้นที่ให้บริการได้ที่ https://www.digitalocean.com/pricing/#app-platform

เรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แอปแพลตฟอร์ม ได้ในงานประชุมออนไลน์ของดิจิทัลโอเชียน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 โดยเข้าไปลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่  https://www.digitalocean.com/deploy/ 

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

 

เกี่ยวกับ ดิจิทัลโอเชียน

ดิจิทัลโอเชียน และ ดิเวลอปเปอร์ คลาวด์ ช่วยให้การสร้างสรรค์แอปพลิเคชันเป็นเรื่องง่ายสำหรับนักพัฒนาแอป ตั้งแต่รายบุคคลไปจนถึงผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก บริการของบริษัททั้งโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบบริการ (infrastructure-as-a-service (IaaS)) และแพลตฟอร์มในรูปแบบบริการ (platform-as-a-service (PaaS)) ช่วยให้นักพัฒนาแอปทุ่มเทพลังงานไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ ในการผนวกประสิทธิภาพของความเรียบง่าย ความรักที่มีต่อชุมชนนักพัฒนาแอป ความหลงใหลในการบริการลูกค้า และข้อได้เปรียบของโอเพนซอร์ส ดิจิทัลโอเชียน ได้นำเสนอการพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ทุกคนทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่  digitalocean.com หรือติดตามได้บนทวิตเตอร์ที่ @digitalocean

from:https://www.techtalkthai.com/digitalocean-app-platform/

Google ออกตารางเทียบระหว่าง VM, Container, PaaS, FaaS พร้อมสรุปขั้นตอนในการใช้งาน

ด้วยความที่ปัจจุบันนี้มี Infrastructure ให้เหล่านักพัฒนาเลือกใช้งานได้หลากหลายบน Cloud จนอาจสร้างความสับสน ทาง Google จึงได้ออกมาตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยี VM, Container, PaaS, FaaS เพื่อให้เหล่านักพัฒนาเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียและการนำไปใช้งานที่เหมาะสม พร้อมระบุขั้นตอนการใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

 

Credit: Google

 

สำหรับ 3 ประเด็นหลักที่ Google มองว่าข้อสำคัญในการเลือกใช้สถาปัตยกรรมนั้น ได้แก่

  • ระดับของการทำ Abstraction ว่าจะโฟกัสในส่วนโค้ดเพียงอย่างเดียว หรือสนใจในส่วนอื่นๆ ของระบบด้วย
  • ความต้องการของระบบและขีดจำกัดทางเทคนิคของแต่ละเทคโนโลยี
  • ทีมงานและองค์กรต้องการมุ่งไปในทิศทางใดในอนาคต

ถัดจากนั้นก็เป็นประเด็นเรื่องการเลือกใช้ภาษาในการพัฒนาและเทคโนโลยีของแต่ละภาษาให้เหมาะสมกับงาน และสุดท้ายก็คือการทำความเข้าใจว่าแต่ละสถาปัตยกรรมนั้นมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร ซึ่ง Google ก็ได้สรุปออกมาเป็นตารางดังนี้ครับ

 

 

Getting from point A to point B Time check and getting started resources
Compute Engine

Basic steps:

  1. Create & set up a VM instance
  2. Set up Node.js dev environment
  3. Code “Hello, World”
  4. Start Node server
  5. Expose the app to external traffic
  6. Understand how scaling works

Details: building with virtual machines.

4.5 hours

Kubernetes Engine

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Package the app into a container
  3. Push the image to Container Registry
  4. Create a Kubernetes cluster
  5. Expose the app to external traffic
  6. Understand how scaling works

Details: building with Docker containers.

6 hours

App Engine

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Configure an app.yaml project file
  3. Deploy the application
  4. Understand scaling options

Details: building on top of app platform.

1.5-2 hours

Cloud Functions

Basic steps:

  1. Code “Hello, World”
  2. Deploy the application

Details: building with code functions.

15 minutes

 

ที่มา: https://cloudplatform.googleblog.com/2018/06/Time-to-Hello-World-VMs-vs-containers-vs-PaaS-vs-FaaS.html

from:https://www.techtalkthai.com/google-compares-vm-container-paas-faas/

SAP Cloud Platform รองรับการทำ Multi-Cloud ได้ด้วย Cloud Foundry แล้ว

ในงาน Cloud Foundry Summit ทาง SAP ได้ออกมาประกาศถึงการรองรับการทำงานแบบ Multi-Cloud ได้ในตัว ด้วยการที่ SAP Cloud Platform นั้นถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก Cloud Foundry นั่นเอง

 

การรองรับ Multi-Cloud ได้ของ SAP นี้ ครอบคลุมถึงทั้งบริการ Cloud จาก SAP, AWS, Microsoft Azure และ Google Cloud Platform ซึ่งสามารถบริหารจัดการทั้งหมดนี้ได้ผ่านทางหน้าจอบริหารจัดการของ SAP Cloud Platform ทั้งสิ้น โดยตัว Cloud Foundry เองนี้ก็รองรับทั้ง Java, Node.js และ SAP HANA ได้ด้วย

SAP เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Cloud Foundry และถัดจากนี้ไป SAP เองก็จะยังคงผลักดัน Cloud Foundry ให้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบ Enterprise Platform as a Service (PaaS) ให้จงได้

นอกจากนี้บน SAP Cloud Platform ยังมีระบบ SAP App Center ซึ่งเป็น Digital Marketplace ที่มีระบบต่างๆ สำหรับธุรกิจให้ซื้อไปใช้งานได้อย่างง่ายดายอยู่ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถเลือกซื้อเทคโนโลยีสำหรับต่อยอดระบบ SAP ของตนได้อย่างง่ายดาย

 

ที่มา: http://news.sap.com/sap-cloud-platform-goes-multi-cloud-with-cloud-foundry/

from:https://www.techtalkthai.com/sap-cloud-platform-supports-multi-cloud-with-cloud-foundry/

ไอเน็ตจับมือเน็ตแอพเปิดตัว 4 บริการใหม่ พร้อมให้ทดลองฟรี 1 เดือน ส่วนหนึ่งของบริการดีดีจาก INET Microsoft Cloud ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าองค์กรนับพันราย

กรุงเทพฯ (12 ตุลาคม 2559)บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต (INET) ร่วมมือกับบริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดหาเทคโนโลยีบริหารและจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของไอเน็ต นำเสนอ 4 บริการใหม่ ได้แก่ INET Microsoft Cloud Services ตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งาน, INET Microsoft DRaaS ที่ช่วยลดความเสี่ยงด้านไอทีสำหรับองค์กร, INET Microsoft Exchange Mail เป็นบริการอีเมล์สำหรับองค์กรบนแพลตฟอร์ม Microsoft Exchange, และ INET Microsoft SQL DBaaS ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้ทั่วโลก

inet_microsoft_cloud

นางมรกต  กุลธรรมโยธิน  กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ปัจจุบัน บริการการจัดเก็บและบริหารข้อมูลบนคลาวด์ เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ไอเน็ตเน้นพัฒนาการบริการด้านนี้โดยเรามีพันธมิตรสำคัญที่ให้ความร่วมมืออย่างดีมาตลอดคือ เน็ตแอพ บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางโครงสร้างการทำงานและสามารถบริหารจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา เราเปิดตัวบริการ INET Microsoft Cloud ให้เป็นบริการที่มีการควบคุมความปลอดภัยด้านสารสนเทศเทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งช่วยให้ลูกค้าองค์กรประหยัดการลงทุนได้จริง โดยปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจกว่าพันรายหันมาใช้ INET Microsoft Cloud ทั้งนี้ เน็ตแอพได้สนับสนุนเราด้วยเทคโนโลยีชั้นนำที่เป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการบริหารงานหลังบ้านอย่างครบวงจรทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลในดาต้า เซนเตอร์ของไอเน็ต”

ในโอกาสนี้ นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าวว่า “เน็ตแอพเล็งเห็นถึงแนวโน้มของการใช้งานบนคลาวด์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ภาคธุรกิจขยายตัวและรูปแบบการทำธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศขององค์กรจึงต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ความร่วมมือระหว่างเน็ตแอพและไอเน็ตอีกก้าวหนึ่งต่อจากนี้ จะเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตลาดปัจจุบันได้เป็นอย่างดี จาก 4 บริการใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไอเน็ตและเน็ตแอพ ที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการทางด้านไอทีที่มีความเสถียร รวดเร็ว ปลอดภัยและสามารถเชื่อมต่อบนอุปกรณ์ใดก็ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของเน็ตแอพยังสนับสนุนบริการในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ให้บริการการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที , Platform-as-a-Service (PaaS) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถนำแอพพลิเคชันมาทำงานบนระบบนี้ โดยไม่ต้องลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอง รวมทั้ง Software-as-a-Service (SaaS) ที่ให้บริการแอพพลิเคชันเช่น Email on Cloud, Antivirus”

ไอเน็ตเปิดโอกาสให้องค์กรที่สนใจสามารถทดสอบประสิทธิภาพบริการ INET Microsoft Cloud VMaaS และ INET Microsoft Exchange Mail ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 1 เดือน เพียงเลือกแพคเกจที่ต้องการได้ที่นี่  สำหรับ INET Microsoft Cloud VMaaS และเลือกแพคเกจที่ต้องการได้ที่นี่ สำหรับ INET Microsoft Exchange Mail  หรือสอบถามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02 257 7111

inet_vmaas

# # # # #

ข้อมูลเกี่ยวกับไอเน็ต

ไอเน็ตผู้ให้บริการ ICT Infrastructure as a Service Provider

จากประสบการณ์การให้บริการด้านไอซีทีโซลูชั่นมายาวนาน ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาแนวทางการให้บริการเป็น ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที (ICT Infrastructure as a Service Provider) เพื่อมุ่งมั่นคิดค้น พัฒนานวัตกรรม สินค้า บริการและแอพลิเคชั่นส์ต่างๆ รวมถึงให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบโครงข่าย เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าและสร้างความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง

 

เกี่ยวกับ เน็ตแอพ

บริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างไว้วางใจนวัตกรรมยูนิไฟน์สตอเรจและการบริหารจัดการข้อมูลจากเน็ตแอพ ด้วยความเชื่อมั่นในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ความเชี่ยวชาญ และความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจให้ลูกค้าประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต อ่านรายละเอียดความมุ่งมั่นของเราในการช่วยให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกให้เติบโตและทำงานได้เร็วขึ้นได้ที่  www.netapp.com

from:https://www.techtalkthai.com/inet-and-netapp-provide-4-new-cloud-services-with-1-month-free-trial/

Intel เปิดตัวบริการ Building Management Platform เปลี่ยนอาคารให้กลายเป็น Smart Building

บริการ Platform-as-a-Service จาก Intel เพื่อช่วยผสานอาคารเข้ากับ Internet of Things

intel_bmp_diagram

Intel ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชัน Intel Building Management Platform (Intel BMP) บริการ Platform-as-a-Service (PaaS) เพื่อเปลี่ยนให้อาคารขนาดเล็กและขนาดกลางสามารถปรับปรุงให้กลายเป็น Smart Building ได้โดยไม่ต้องลงทุนกับระบบ Building Management Systems (BMS) ซึ่งมักมีราคาสูงและคุ้มทุนสำหรับอาคารขนาดใหญ่เท่านั้น

Intel BMP นี้ประกอบไปด้วย CANDI PowerTools ซึ่งเป็นบริการบริหารจัดการอาคารผ่านระบบ Cloud ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้หลากหลาย และสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาจาก Sensor ต่างๆ มาวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลบนระบบ Business Intelligence (BI), Analytics, Dashboard และเชื่อมต่อได้กับ Application อื่นๆ อีกด้วย โดยมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • มี CANDI PowerTools ที่มีระบบค้นหาอุปกรณ์ภายในและสามารถใช้งานได้แบบ Drag-and-Drop เพื่อจัดการข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดภายในระบบ โดยรองรับข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ กว่าร้อยชนิด https://candicontrols.com/the-candi-advantage/device-data-management
  • สามารถอัปเดต Software ของระบบได้แบบ Over-the-Air และจะมีฟีเจอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยโดย McAfee Embedded Control
  • รองรับ IoT Gateway, Software, Cloud Application ต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมี Library สำหรับใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ มากมายก
  • ใช้ระบบปฏิบัติการ Commercial Embedded Linux จาก Wind River ทำให้รองรับ Hardware ต่างๆ มากมายและมีความปลอดภัยสูง
  • รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้ทาง BACnet, ZigBee, Insteon, IP, UPnP และอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www-ssl.intel.com/content/www/us/en/smart-buildings/building-management-platform/overview.html ทันที

ที่มา: https://newsroom.intel.com/news/intel-building-management-platform-paves-way-smart-connected-buildings/

from:https://www.techtalkthai.com/intel-announces-building-management-platform-service/

[PR] ทรู ไอดีซี ขับเคลื่อนสู่การเป็น ผู้ให้บริการ Cloud Marketplace รายเเรกในไทย

กรุงเทพฯ 26 กุมภาพันธ์ 2559 – ทรู ไอดีซี ผู้นำดาต้าเซ็นเตอร์และผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบครบวงจร เผยวิสัยทัศน์ปี 2559 มุ่งสู่การเป็นผู้นำบริการคลาวด์อันดับ 1 ในประเทศไทย และเตรียมก้าวขึ้นไปเป็น 1 ใน 5 ของผู้นำในตลาดอาเซียน ล่าสุดเดินหน้ารุกตลาดเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง เปิดตัว Cloud Marketplace แหล่งรวมสินค้าและบริการด้านคลาวด์ นำเสนอซอฟท์เเวร์เเละโซลูชั่นคุณภาพหลากหลายรูปแบบการให้บริการ จากผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลก ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและเอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เลือกเเละนำมาปรับใช้สร้างการเติบโตเเก่ธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ขานรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ และเสริมให้ธุรกิจทำงานอย่างมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่จำกัดสถานที่เเละเวลา รวมถึงช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสร้างสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพเเก่ธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

นายฐนสรณ์ ใจดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า การให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์เซอร์วิสในประเทศไทย จากผลการสำรวจของ สวทช ประมาณการปี 2558 คาดว่า ดาด้าเซ็นเตอร์เซอร์วิสเติบโตสูงขึ้นถึง 19.7% และการให้บริการคลาวด์โครงสร้างพื้นฐาน ( Cloud Infrastructure as a Service ) เติบโต 33.6% ประกอบกับข้อมูลของ Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าดาด้าเซ็นเตอร์เซอร์วิส ในเอเชียแปซิฟิก จะเติบโตสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 14% และคลาวด์เซอร์วิส จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละ 33% ในช่วงปี 2014-2019 อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของกลุ่มเอสเอ็มอี จะมีบทบาทมากขึ้นในการเลือกใช้คลาวด์เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็นด้าน Software as a Service และ Infrastructure as a Service ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่กระตุ้นให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น มาจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ กลาง หรือขนาดเล็ก ต้องการความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลดต้นทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และธุรกิจเอสเอ็มอีได้เห็นความสำคัญและหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการในยุคดิจิทัลมากขึ้น

“เราเชื่อมั่นว่าการเปิดตัว Cloud Marketplace เเละโซลูชั่นการให้บริการคลาวด์ของ True IDC ที่ออกแบบใหม่นี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ได้ดี ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังเปิดตัวคาดว่าจะเปิดโอกาสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้เข้าถึงเเละเลือกใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่เหมาะสมกับธุรกิจเเละบริการของตนเองได้ นอกจากนี้ ทรูไอดีซี ยังมีบริการให้คำปรึกษาสำหรับองค์กรที่เริ่มใช้งานระบบคลาวด์ รวมถึงให้คำแนะนำการใช้งาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ ลดภาระการบริหารจัดการด้าน IT ทำให้สามารถมุ่งเน้นกับการพัฒนาธุรกิจและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายฐนสรณ์กล่าวเพิ่มเติม

นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การตลาดปีนี้ ต้องการเจาะกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่รู้เทคโนโลยีแต่มีความต้องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ และผู้ประกอบการที่ใช้ซอฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นอยู่แล้ว แต่ต้องการอัพเกรดธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น การเปิด Cloud Marketplace จะช่วยให้เอสเอ็มอีเลือกซื้อสินค้าและบริการเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการนำโซลูชั่นของเอ็นเตอร์ไพรส์มาปรับแต่งให้เหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอี เน้นความสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ Cloud Infrastructure และ Cloud Application เพื่อช่วยผู้ประกอบการใน 3 เรื่องหลัก คือ การสร้างรายได้ การลดต้นทุน และเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาด โดย คลาวด์มาร์เก็ตเพลสจะเปิดให้บริการภายในไตรมาสแรกของปี 2016

นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด
นายศุภรัตน์ ศิวะเพ็ชรานาถ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

“ทั้งนี้ นอกจาก Cloud Marketplace จะเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีหลากหลายได้ในที่เดียวแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตซอฟท์แวร์บนคลาวด์ ได้มีช่องทางการจำหน่ายและนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ” นายศุภรัตน์กล่าวสรุป

 

เกี่ยวกับ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

true-idc-logo

ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ( ทรู ไอดีซี ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 เป็นผู้นำในการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ มีศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยมีศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ 2 แห่งคือ ศูนย์ทรู ทาวเวอร์ และศูนย์เมืองทองธานี ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 20000-1, ISO/IEC 27001 ISO 22301,ISO5001 และ CSA Star เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก อาทิ อแมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส Google ไมโครซอฟท์ อาวาย่า ฯลฯ เพื่อนำเสนอบริการคลาวด์แบบ One Stop Shop ทั้ง Infrastructure as a service ( IaaS ), Platform as a Service ( Paas ), Software as a Service ( SaaS ) และ Professional Services ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ธุรกิจ SME และองค์กรขนาดใหญ่ ในทุกประเภทธุรกิจและทุกภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ http://www.trueidc.com

from:https://www.techtalkthai.com/true-idc-unveil-cloud-marketplace/

[PR] ไขข้อสงสัยสำหรับบริการ PaaS

ดย คุณฉิน ยิง ลุง Chin Ying Loong ) รองประธานกรรมการฝ่าย Oracle Fusion Middleware

Oracle ASEAN และ SAGE

เทคโนโลยีคลาวด์ได้สร้างแนวความคิดทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้นจำนวนมหาศาลสำหรับธุรกิจเริ่มต้น บริษัทขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีอะไรที่จะน่าตื่นเต้นไปมากกว่าการที่องค์กรได้ใช้รูปแบบของเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์และล้ำหน้าเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจและประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ พึงระลึกกันไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ยากลำบากของลูกค้าในเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังดึงดูดให้องค์กรทั้งหลายนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

ประโยชน์ทางธุรกิจของการประมวลผลแบบคลาวด์ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แต่ผมเชื่อมั่นว่าบรรดาผู้จัดการด้านไอทีและธุรกิจยังมีเกิดความสับสนไม่น้อยเกี่ยวกับรูปแบบที่แตกต่างของการประมวลผลแบบคลาวด์ ได้แก่ Software-as-a-Service ( SaaS ), Platform-as-a-Service ( PaaS ) และ Infrastructure-as-a-service ( IaaS ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทที่จะต้องทำความเข้าใจวิธีของรูปแบบทั้งสามจะตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของบริษัทด้านไอที เพื่อที่จะสามารถนำรูปแบบเหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างเต็มที่สำหรับธุรกิจผ่านองค์ประกอบด้านไอทีที่สำคัญทั้งหมด เช่น ซอฟแวร์ ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง/ฐานข้อมูล/เครื่องมือสำหรับบูรณาการหรือฮาร์ดแวร์

Software as a Service คือซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ และเป็นรูปแบบแรกสุดของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์อันเป็นที่รู้จักและมีการนำมาปรับใช้ ในปัจจุบันแอพพลิเคชันทางธุรกิจจำนวนมากสามารถใช้งานได้บนระบบคลาวด์ในรูปแบบจ่ายตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทรัพยากรขององค์กรหรือการบริหารทรัพยกรมนุษย์ การบริหารประสบการณ์ลูกค้า/การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กร หรือแอพพลิเคชันเฉพาะด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ( FSI/โทรคมนาคม/การเงิน ฯลฯ ) จากการใช้งานแอพพลิเคชันบนระบบคลาวด์ ผู้ใช้งานด้านธุรกิจและแผนกไอทีไม่จำเป็นต้องติดตั้ง ทำการบำรุงรักษา หรืออัปเกรดโปรแกรมเหล่านี้สำหรับอุปกรณ์และผู้ใช้จำนวนหลายพัน ซอฟแวร์ดังกล่าวช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายจากการจัดสรรทางไอที

Platform as a Service เป็นซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์สำหรับระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เครื่องมือบูรณาการ และฐานข้อมูล PaaS มอบการเข้าถึงช่วงการบริการในวงกว้างแก่ผู้บริโภคตั้งแต่ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางไปจนถึงฐานข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์หน่วยความจำ อุปกรณ์เคลื่อนที่ บิ๊กดาต้า ขั้นตอน และการจัดการเอกสาร ฯลฯ เพื่อทำให้สามารถรวบรวมแอพพลิเคชันที่ได้รับการปรับแต่งด้วยความสามารถอันหลากหลาย เช่นเดียวกับรูปแบบ “as a service” อื่น ๆ PaaS ช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการใช้งาน ความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการซื้อ การบูรณาการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ PaaS ข้อดีที่ไปไกลเกินกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงคือ PaaS ได้ลดการพัฒนาของแอพพลิเคชันและเวลาในการนำมาปรับใช้ ซึ่งทำให้ PaaS กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในการประมวลผลคลาวด์ในปัจจุบัน

Infrastructure as a Service เป็นรูปแบบของระบบคลาวด์ที่ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายบนระบบคลาวด์ด้วยพื้นฐานการติดตามแบบสมาชิก IaaS จะมอบทางเลือกเพื่อเข้าถึงความสามารถในการคำนวณในรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายผ่านพอร์ทัลแบบเว็บแก่องค์กร ซึ่งจะให้บริการในฐานะคอนโซลการจัดการเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้บริการจะเป็นเจ้าของและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และทำการติดตั้งในศูนย์ข้อมูลโดยทั่วไป โครงสร้างพื้นฐานจะทำการประเมินตามความต้องการซึ่งทำให้แนวคิดเป็นที่ดึงดูดสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตและยังไม่เติบโตเต็มที่ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีด้วยตนเอง

PaaS และ IaaS

มีความสับสนระหว่าง Iaas และ PaaS อยู่บ่อยครั้งและองค์กรส่วนมากไม่เข้าใจว่ารูปแบบทั้งสองนี้มีไว้สำหรับความต้องการที่แตกต่างกันไปในองค์กรด้านไอที IaaS เกี่ยวกับการช่วยทำให้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ เช่น พลังในการคำนวณ เซิร์ฟเวอร์ บริการเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลในฐานะการบริการที่จ่ายตามการใช้งาน

PaaS คือแพลตฟอร์มที่ติดตั้งบนชั้นด้านบนของฮาร์ดแวร์นี้ และผู้จัดจำหน่ายชั้นนำในตลาดก็คือออราเคิล อิทธิพลของ PaaS เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนา การนำไปปรับใช้ การบริหารจัดการ และการขยายแอพพลิเคชัน SaaS ทีมพัฒนาแอพพลิเคชันสามารถใช้สถาปัตยกรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์ และผลิตภัณฑ์ เช่น IDEs หรือ Integrated Development Environments และจากนั้นนำแอพไปปรับใช้งานภายในองค์กรหรือคลาวด์แบบสาธารณะ การนำแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ และการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อรองรับแอพพลิเคชันดังกล่าวสามารถทำสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นพร้อมกับความเสี่ยงที่ลดน้อยลงไปจากการใช้ PaaS

PaaS รูปแบบคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุด

การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่าตลาด PaaS จะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2015 และจะมีรายได้ทั่วโลกถึง 2.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2016 องค์กรทั้งหลายกำลังมองหาบริการด้านแพลตฟอร์มที่ปล่อยให้สร้างและนำแอพพลิเคชันมาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนระหว่างระบบคลาวด์และระบบภายในองค์กรพร้อมกับลดความยุ่งยากลง องค์กรต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นที่จะมีแอพพลิเคชันทางธุรกิจที่คล่องตัวมากขึ้น และมีความสามารถที่จะผสมผสานความสามารถทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ และด้านโซเชียลชนิดใหม่เข้าด้วยกัน

จะเกิดประสิทธิภาพและความสามารถมากยิ่งขึ้นหากมีการสร้างความสามารถเหล่านี้ใน PaaS ดังนั้นก็จะสามารถนำไปใช้งานและแบ่งปันโดยแอพพลิเคชันจำนวนมากได้ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยม การรองรับการทำงานภายนอกหรือที่ต่าง ๆ ต้องมีการตระเตรียมอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ แพลตฟอร์มการพัฒนา และมาตรฐาน การมีแพลตฟอร์ม PaaS เพื่อจัดการแพลตฟอร์มและอุปกรณ์เคลื่อนที่จำนวนมากจะลดความยุ่งยากด้านไอทีซึ่งสอดคล้องกับการบูรณาการ ความปลอดภัย และความสามารถเชิงปฏิบัติการ ในบางกรณี เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นที่จะเคลื่อนย้ายแอพพลิเคชันทางธุรกิจของคุณไปยังระบบคลาวด์ที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมุมมองด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ โซเชียล และการร่วมมือกันของแพลตฟอร์ม PaaS กว่าการสร้างบริการแอพพลิเคชันใหม่เหล่านี้จากการทำเองมาตั้งแต่ต้น

ขณะที่เราเคลื่อนตัวไปยังเศรษฐกิจดิจิทัล การบริการ PaaS จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจแก่การเข้าถึงตลาดที่เร็วขึ้นและการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นพร้อมกับพนักงานและผู้บริโภค PaaS กำลังกลายเป็นทางเลือกที่นิยมอย่างสูงสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชันที่คล่องตัวมากขึ้นสำหรับการพัฒนา การทดสอบ และการนำแอพพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

from:https://www.techtalkthai.com/oracle-paas-saas-iaas/

Gartner ชี้ บริการ Public Cloud อาจเติบโตถึง 7,400 ล้านเหรียญในกลุ่มบางประเทศของ Asia/Pacific ภายในสิ้นปี 2015

Gartner ได้ทำนายถึงตลาด Public Cloud ในกลุ่มประเทศ Mature Asia/Pacific ซึ่งได้แก่ประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ว่าจะเติบโตถึง 8.7% ภายในปี 2015 จนมีมูลค่ารวมถึง 7,300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 255,500 ล้านบาทไทย เติบโตจากปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 6,400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และใกล้เคียงกับมูลค่าของตลาด Public Cloud ในประเทศญี่ปุ่น โดยบริการ Cloud Management และ Security ยังคงเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดถึง 21% และมีมูลค่ารวม 234.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

Gartner ได้ทำนายไปถึงปี 2019 ว่าตลาด Public Cloud ในกลุ่ม Mature APAC นี้จะเติบโตไปจนถึง 12.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยมีส่วนแบ่งของบริการต่างๆ ดังนี้

  • Business-Process-as-a-Service (BPaaS) มีส่วนแบ่ง 7.7%
  • Platform-as-a-Service (PaaS) มีส่วนแบ่ง 2.2%
  • Software-as-a-Service (SaaS) มีส่วนแบ่ง 25.7%
  • Cloud Management/Security มีส่วนแบ่ง 3.8%
  • Infratructure-as-a-Service (IaaS) มีส่วนแบ่ง 8.3%
  • Cloud Advertising 51.8%

ทั้งนี้ Gartner ยังได้ทำนายอีกว่า นับตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปี 2019 SaaS, Cloud Management และ Security จะเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในบริการ Public Cloud

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3160718 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-projected-mature-apac-public-cloud-to-reach-7400-million-usd-in-2015/

IBM อัพเดต Bluemix เสริมความสามารถให้ใช้ Java และ XPages บน Cloud ได้ดีขึ้น

IBM Bluemix ระบบ Platform-as-a-Service (PaaS) ที่เน้นการตอบโจทย์สำหรับ Developer โดยเฉพาะ ได้ออกอัพเดตใหม่พร้อมความสามารถใหม่ๆ ดังนี้

ibm_bluemix_banner

  • รองรับ Java เพิ่มขึ้น – รองรับ Java EE 7 Liberty, รองรับ Java 8
  • IBM Eclipse Tools for Bluemix – เพิ่มการรองรับ JavaScript Debug, รองรับ Node.js, Java 8 Liberty, รองรับ Eclipse Mars รุ่นล่าสุด และรองรับการทำ Incremental Publish สำหรับ JEE ได้ดีขึ้น
  • รองรับ Domino XPages – ระบบพัฒนา Web และ Mobile Application จาก IBM ที่สามารถดึงข้อมูลจาก IBM Domino และ Database อื่นๆ มาประมวลผลได้

สำหรับนักพัฒนา สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยที่ https://console.ng.bluemix.net/ ครับ

ทั้งนี้ IBM Bluemix ได้เปิดตัวเมื่อปี 2014 ด้วยงบลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นระบบ Cloud ที่ต่อยอดมาจาก Cloud Foundry ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเติบโตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด PaaS ทั่วโลกกว่า 10 เท่า

ที่มา: http://www.ibm.com/press/us/en/pressrelease/47520.wss

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-updated-bluemix-better-support-java-and-xpages/