คลังเก็บป้ายกำกับ: OFFLINE

เปิด 9 ไฮไลท์ จาก LINE CONFERENCE 2019 เดินหน้าสู่ทุกไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน

LINE เผยวิสัยทัศน์ประจำปี 2019 ด้วยแนวคิด “LIFE ON LINE” เข้าไปอยู่ในทุกไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เน้น 3 นวัตกรรมใหญ่ Offline, Fintech และ AI

9 ไฮไลท์สำคัญของ LINE อยู่ในไลฟ์สไตล์ทุกมิติ

LINE Corporation หรือ LINE ที่คนไทยรู้จักกันดี ได้ประกาศวิสัยทัศน์ประจำปีภายในงานภายในงาน LINE CONFERENCE 2019 โดยที่ปีนี้มาในแนวคิด “LIFE ON LINE” กล่าวง่ายๆ ก็คือการยกระดับให้ LINE เป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในทุกๆ ย่างก้าว

ในปีนี้ได้เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ ใน 3 เรื่อง ได้แก่ Offline, Fintech และ AI ที่จะเป็นความท้าทายสำคัญของ LINE ในการพัฒนาบริการต่างๆ

ทาง Brand Inside ได้มีโอกาสไปเยือนงาน LINE CONFERENCE 2019 ณ Maihama Amphitheater กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เก็บภาพบรรยากาศมาฝาก พร้อมกับสรุป 9 ประเด็นวิสัยทัศน์สำคัญของ LINE ในปีนี้ด้วย

  1. ก้าวสู่ “LIFE ON LINE” ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคต้องมี LINE

เริ่มต้นงานด้วยจุงโฮ จิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (CWO) ได้ผู้ประกาศวิสัยทัศน์ใหญ่ของ LINE ภายใต้แนวคิด WOW ที่จะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ส่งต่อให้ผู้บริโภค บริการสุด WOW จะต้องเพิ่มสะดวกให้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันโดยแบ่งออกเป็ น3 กลยุทธ์หลักได้แก่ Offline, Fintech และ AI ที่จะเป็นคีย์สำคัญของปีนี้ เป็นแนวทางการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “LIFE ON LINE” ให้เกิดขึ้นจริงได้ในที่สุด

ทั้งนี้จุงโฮ จิน ยังดำรงตำแหน่ง Chief WOW Officer จึงเป็นผู้อธิบายความ WOW ได้ดีที่สุด เดินหน้าสร้างนวัตกรรมด้วยความ WOW จะมามอบประบสบการณ์ใหม่ๆ แก่ผู้บริโภค และภายใต้แนวคิดนี้ ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย

การขายของไม่ใช่แค่ O2O (Online-to-Offline) แต่ต้องเป็น OMO (Online Merges with Offline) โดยที่ใช้ LINE ให้มากกว่าขอบเขตในโลกออนไลน์แต่จะขยายไปสู่ออฟไลน์ พร้อมสร้างศูนย์กลางทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกสบายมากขึ้น

เปิดตัว LINE Mini App เป็นแพลตฟอร์มบริการใหม่ที่จะเป็นตัวช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างเพจของตัวเองบน LINE ได้ สามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับบริการ เช่น เมนู และราคา รวมถึงการทำการจอง, การออกคูปองพิเศษ และตั้งค่าบัตรสะสมคะแนนหรือ Loyalty Cards พร้อมดัวยความสามารถในการแจ้งเตือนที่สามารถส่งถึงผู้ใช้รายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน LINE ที่มีผู้ใช้งานกว่า 80 ล้านคนในญี่ปุ่น และยังมี Official Account ขององค์กร, ร้านค้า และธุรกิจต่างๆ อีกมากมาย การทำแพลตฟอร์มเข้าสู่ OMO นี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

ความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของแพลตฟอร์ม ด้วยการมุ่งมั่นปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดและสร้างหลักสูตรผู้นำในอนาคต

  1. เปิด OpenChat ฟีเจอร์ใหม่สำหรับการสื่อสารให้สนุกขึ้น

เตรียมเปิดบริการใหม่ในชื่อ OpenChat ที่จะทำให้การสนทนาผ่าน LINE มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยเน้นการตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์ ความสนใจ หรือความต้องการเฉพาะบุคคลของผู้ใช้งาน โดย OpenChat จะมีส่วนช่วยให้การสนทนาบน LINE ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ด้วยการที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างกลุ่มเฉพาะตามความสนใจ

ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อกลุ่มได้อย่างหลากหลายในแต่ละกลุ่ม และสามารถดูบทสนทนาย้อนหลังได้แม้จะเพิ่งเข้าไปร่วมกรุ๊ป รวมถึงการเพิ่มฟีจอร์พิเศษสำหรับผู้ที่เป็น admin กลุ่มที่จะตอบรับให้ใครเข้ามาร่วมสนทนาเพิ่มเติม และยังสามารถสร้างรหัสในการเข้าร่วม โดย OpenChat พร้อมให้บริการในญี่ปุ่นแล้วในฤดูร้อน 2019 สำหรับประเทศไทยมีแผนที่จะเปิดให้บริการ OpenChat ภายในปีนี้เช่นกัน

  1. ผนึกพาร์ทเนอร์ เสริมแกร่งด้านคอนเท็นท์

ในส่วนของคอนเทนต์ ปีนี้ LINE มีอีกหลายฟีเจอร์ ถึงแม้จะเป็นฟีเจอร์ที่เปิดให้บริการแต่ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ในญี่ปุ่นมีฟีเจอร์ LINE NEWS สำหรับอ่านข่าวบนสมาร์ทโฟนผ่าน LINE ได้ร่วมมือกับสื่อกว่า 900 รายการในการสร้างคอนเทนต์ ในแต่ละวันมีคอนเทนต์มากกว่า 7,000 คอนเท็นท มีผู้ใช้งานกว่า 65 ล้านคน โดยเป้าหมายของ LINE NEWS ต้องการเป็นคอนเท็นท์แพลตฟอร์มด้านข่าวสารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น

อีกทั้งยังประกาศความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ TV Tokyo ที่จะเตรียมเปิดตัวในฤดูร้อน 2019 ด้วยคอนเซ็ปต์ “Replay Cast” ที่จะช่วยแจ้งเตือนให้กับผู้ใช้แบบ real-time ถึงการเตรียมออกอากาศของรายการสำคัญ ซึ่งทันทีที่คลิ๊กที่แถบแจ้งเตือน ผู้ใช้งานจะสามารถรับชมรายการได้เลยทันที

นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับครีเอเตอร์นักผลิตคอนเทนต์ ได้เปิดตัว VISION โปรเจ็ควีดีโอสำหรับ LINE NEWS ที่เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ได้ร่วมสร้างสรรค์ไอเดียในการทำคอนเทนต์ โดยรูปแบบจะเป็นคอนเท็นท์วีดีโอแนวตั้งที่จะปรากฏขึ้นบนแท็ป News ในแอป LINE ล่าสุดได้ร่วมมือกับครีเอเตอร์ชื่อดังในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อาทิ Masahiko Sato, Kundo Koyama, และ Gakuto Akashi

  1. Live Steaming มาแน่ เพิ่มแพลตฟอร์มด้านความบันเทิง

การที่ผู้บริโภคมีการใช้โซเชียลมีเดียกันมากขึ้น ใช้ในชีวิตประจำวันในทุกไลฟ์สไตล์ LINE เองก็ต้องการยกระดับความบันเทิงให้เหมือนโซเชียลมีเดียเช่นกัน ปีนี้แพลตฟอร์มด้านความบันเทิงมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพียบ

LINE Creators Market

  • สามารถซื้อสติกเกอร์จาก Creator Stickers ได้ไม่จำกัดผ่านบริการ LINE Stickers Premium เริ่มให้บริการในกรกฎาคม 2019 ซึ่ง LINE Stickers Premium เป็นบริการแบบ Subscription หรือสมัครสมาชิก ที่จะช่วยให้ผู้ที่ชื่นชอบสติกเกอร์สามารถเข้าถึงสติกเกอร์มากกมายกว่า 3ล้านชุด โดยตลาดสติกเกอร์มีมูลค่ากว่า 380 ล้านเยน ซึ่งแพ็คเกจ LINE Stickers Premium คิดค่าบริการเพียง 240 เยนต่อเดือน (สำหรับนักเรียน นักศึกษา คิดราคา 120 เยนต่อเดือน)

LINE LIVE

  • เตรียมเปิดบริการ Live Streaming บนแพลตฟอร์ม LINE ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เหล่าเซเลบริตี้ หรือใครก็ตามได้สานฝันในการเป็น LINE LIVERs ในการสร้างคอนเท็นท์สดๆ สำหรับคนที่เป็นเซเลบริตี้ก็ได้มีช่องทางพูดคุยกับแฟนคลับ หรือแม่ค้าก็ใช้ LINE LIVE ในการขายของได้เช่นกัน
  • เป็นบริการ LIVE Commerce ที่จะเปิดบริการปี2020 เป็นฟีเจอร์ที่จะช่วยผู้ชมสามารถช้อปหรือซื้อสินค้าระหว่างที่ชม Live ได้ทันที นอกจากนี้ผู้ชมยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับสินค้าได้ในระหว่างชม Live เป็นอีกหนึ่งช่องทางการหารายได้ที่น่าสนใจในอนาคต

LINE MUSIC

  • ในปีนี้จะทำการ ยกเครื่อง UI ใหม่ทั้งหมด ด้วยการใช้ AI เข้ามาช่วย เพิ่มฟีเจอร์ MUSIC VIDEO และเปิดตัว Freemium model ONE PLAY ผู้ใช้จะสามารถฟังเพลงทั้ง 54 ล้านเพลงได้อย่างสะดวก และง่ายดายขึ้น
  • ปัจจุบันมีจำนวนผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 32 ล้านคนจำนวนเพลงใน LINE MUSIC มากกว่า 54 ล้านเพลงและจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 11 ล้านคน
  1. Mobile Payment Platform เดินหน้าปั้น LINE Pay ให้เป็นเบอร์ 1

ปัจจุบันรูปแบบการจ่ายเงินได้เปลี่ยนไปเป็นสังคมไร้เงินสด โดยนิยมทำธุรกรรมผ่านทางมือถือเป็นหลัก ซึ่งทางLINE ได้วางโดเมนเงินสดเป็นกลยุทธ์สำคัญผ่านบริการกระเป๋าเงินดิจิตัลอย่าง LINE Pay โดยในเดือนมิถุนายน2019 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 48 ล้านคนทั้งในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย

LINE Pay ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในไต้หวัน มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นจาก 2.9 ล้านคน เป็น 6.3 ล้าน เติบโตถึง 30% ในประเทศไทยมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเพิ่มชึ้นจาก 3.1 ล้าน เป็น 6 ล้านคน ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีผู้ใช้งานถึง36 ล้านคน

โดยที่ในไต้หวัน และไทย มีการใช้ LINE Pay กับการเดินทางต่างๆ แต่ในญีปุ่นมีบริการที่หลากหลายครอบคลุมมากกว่า ทำให้มีผู้ใช้บริการสูง

ในปีนี้ได้จับมือร่วมกับร้านกาแฟ Starbucks ในญี่ปุ่นเปิดตัวบัตร LINE Starbucks เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตอนนี้มียอดสมาชิกผู้ถือบัตรเพิ่มขึ้นถึง1 ล้านรายจากจำนวนสมาชิกเดิม 3.3 ล้านราย

  1. แพลตฟอร์มการเงิน ไฮไลท์ของการทำ Fintech

เป้าหมายของเรื่องแพลตฟอร์มทางการเงินของ LINE คือการพัฒนา LINE Wallet ให้เป็นการให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบไร้รอยต่อ ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์ม Fintech และตอบโจทย์วิสัยทัศน์ “LIFE ON LINE” โดยLINE ตั้งเป้าเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินและธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

เตรียมเปิดตัวบริษัทหลักทรัพย์ LINE โดยที่ LINE Financial ได้ร่วมทุน Nomura Holdings เปิดบริษัทหลักทรัพย์ LINE เพื่อให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ในแอพ LINE ซึ่งบริการนี้จะรวบรวมหุ้นที่คัดสรรจากบริษัทชั้นนำ 100 แห่งในญี่ปุ่นและอนุญาตให้ผู้ใช้เริ่มต้นลงทุนขั้นต้นที่ 150 เยน ถึง 3,000 เยนต่อหุ้น

เตรียมเปิดตัว LINE Pocket Money โดยที่ LINE Credit จะเปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ต้องใช้หลักประกันภายใต้บริการชื่อLINE Pocket Money ซึ่งจะมอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้ LINE Score โดยบริการใหม่นี้จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยและวงเงินสินเชื่อประจำปีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้แต่ละรายโดยพิจารณาจากคะแนน LINEScore เป็นหลัก

  1. แพลตฟอร์ม Commerce ต้องเป็น OMO

แพลตฟอร์มทางด้านการซื้อขายสินค้าของ LINE ประกอบด้วย 3 บริการ คือ LINE Shopping, LINE Delima และ LINE Travel ซึ่งหลังจากนี้จะเน้นการผสานกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ผ่านแนวคิดOMO

LINE Travel

  • LINE Travel ได้เปิดตัวบริการใหม่ Odekake NOW เป็นบริการค้นหาใหม่อยู่ใน LINE Travel ที่เข้าถึงตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งานทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและจองร้านอาหารและที่พักใกล้เคียงได้ บริการนี้ร่วมกับเว็บไซต์อาหารอย่าง Ozmall และ Ikyu.com Restaurant เว็บไซต์ท่องเที่ยวและที่พักอย่าง  Asoviewและ Walker plus และเว็ปไซต์จองร้านอาหารและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างง่ายดาย

LINE Shopping

  • LINE Shopping มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนกับLINE มากกว่า 27 ล้านคน SHOPPING GO เป็นหนึ่งในบริการของ LINE Shopping ที่มุ่งเน้นไปที่ OMO ที่ช่วยให้ผู้ใช้รับคะแนนจาก LINE เมื่อซื้อสินค้าที่ร้านค้าออฟไลน์ นอกเหนือจากการทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาร้านค้าที่เข้าร่วมตามตำแหน่งปัจจุบันของพวกเขาแล้วยังเป็นจุดเชื่อมระหว่างผู้ใช้และร้านค้าในหลายๆ ด้านรวมถึงการนำเสนอบัตรสมาชิกดิจิทัลและการเชื่อมกับ LINE Pay

LINE Delima

  • ปัจจุบัน LINE Delima มีร้านค้าที่เข้าร่วมมากกว่า 16,500 แห่งนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อสองปีก่อนและรายได้มีการเติบโตถึง179% จากไตรมาส 4 ปี 2018 ถึงไตรมาส 1 ปี 2019
  1. เครื่องมือด้านการตลาด ช่วยผู้ประกอบการง่ายขึ้น

LINE ประกาศเป้าหมายในการเป็น “Life-marketing Platform” ที่จะช่วยเหลือผู้ใช้งานผ่านแนวคิดสำคัญสองประการ คือ การเพิ่ม Touchpoint กับผู้ใช้และการเสนอข้อมูลส่วนตัว ที่เรียกว่า “Comfortable Personalization” เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ใช้อย่างมากที่สุด

ช่องทางอัจฉริยะในการแสดงโฆษณาวิดีโอ

ตั้งแต่ปลายปี 2018 มีข่าวการแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีภัยพิบัติและเนื้อหาอื่น ๆ รวมถึงโฆษณาได้รับการแสดงด้านบนของแชท LINE โดยพื้นที่โฆษณานี้เรียกว่าทางช่องทางอัจฉริยะ เมื่อผู้ใช้แตะที่ภาพโฆษณาบนแบนเนอร์ จะสามารถขยายเพื่อเล่นวิดีโอทำให้ผู้โฆษณาสามารถส่งเนื้อหาที่หลากหลายไปยังผู้ใช้ และผู้ใช้ยังสามารถเพลิดเพลินกับการดูโฆษณาทางโทรทัศน์และรับข้อมูลล่าสุด คาดว่าบริการนี้จะเปิดตัวในประเทศไทยช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2019

LINE Ads Platform สำหรับ Publisher

LINE จะเปิดตัว LINE Ads Platform โฉมใหม่สำหรับ Publisher ที่จะอนุญาตให้ third party เข้ามาร่วมเพื่อออกแบบโฆษณาที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายแบบรายบุคคล ซึ่งจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง LINE และผู้บริหารโฆษณาเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคาดว่าจะเปิดตัวในปลายเดือนกรกฎาคม

LINE Flyer เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2019

LINE Flyer คือการนำเอารูปแบบการใช้ใบปลิวและไดเร็คเมลล์ แบบออฟไลน์มาปรับให้เป็นรูปแบบใหม่ในดิจิทัล โดยผู้ใช้ LINE จะได้รับโฆษณาส่วนบุคคล ตามความต้องการบนพื้นที่ที่อยู่อาศัยเวลาของวันและเงื่อนไขอื่นๆ โดยผู้ใช้จะสามารถแตะที่หน้าจอ LINE Flyer จาก LINE Timeline, Smart Channel หรือ LINE Wallet ผู้ใช้สามารถบันทึกร้านค้าที่ต้องการในรายการโปรดเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑ์แต่ละรายการใน LINE Flyer ซึ่งบริการนี้ยังใช้ร่วมกับLINE Beacon เพื่อแจ้งลูกค้าเกี่ยวกับการลดราคาหรือโปรโมชั่นต่างๆ ของร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม

  1. AI/Search เข้าสู่วงการ Search Engine

ปีนี้ LINE ได้นำเอา AI เข้ามาใช้ร่วมกับบริการค่อนข้างเยอะ เป็นไฮไลท์ที่เน้นในปีนี้ สำรหับเรื่องของ AI มีผู้ช่วยอย่าง Clova AI, LINE BRAIN AI โดยที่เป้าหมายของ LINE ในการเข้าสู่ธุรกิจเครื่องมือค้นหา (Search Engine)

ร่วมมือกับ Richmond Hotels และ Bridge Motion Tomorrow

ติดตั้งอุปกรณ์ฝังตัว Clova ในห้องพักเพื่อให้แขกของโรงแรมสามารถใช้ Clova เพื่อขอเส้นทางไปยังร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุดแทนการโทรไปที่แผนกต้อนรับและบริการอื่นๆ ได้มากมาย

การติดตั้ง Clovaใน Gatebox

การผลิต Gatebox โมเดลใหม่ที่เชื่อมกับ Clova เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานจากโมเดลเดิม โดยโมเดลใหม่นี้ไม่เพียงแต่จะให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทักษะ Clova ขั้นพื้นฐานเช่นการตรวจสอบสภาพอากาศและข่าว แต่ยังรวมเทคโนโลยีล่าสุดของ Clova อาทิ การวิเคราะห์เสียงและเพิ่มเครื่องมือการสนทนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

LINE Car Navigator

นอกเหนือจากโครงการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่องกับโตโยต้าในการประกอบ Clova ไว้ในยานพาหนะ LINE ยังได้ประกาศเปิดแอปใหม่คือ LINE Car Navigator โดยผู้ขับขี่และผู้โดยสารสามารถใช้ผ่านการควบคุมด้วยเสียงเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศของจุดหมายปลายทาง ส่งและรับข้อความ LINE ค้นหาเส้นทางและควบคุมการนำทางด้วยวิธีอื่นๆบริการนี้ยังเป็นการบริการในรุปแบบแอปอิสระและรองรับ Smart Device LINK (SDL) ที่เชื่อมโยงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ในรถยนต์เพื่อให้สามารถใช้ในยานพาหนะอื่นได้ LINE Car Navigator คาดว่าจะเปิดให้ใช้บริการได้ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2562

LINE BRAIN

LINE เตรียมเปิดตัว LINE BRAIN ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ของ LINE ที่มีความเชี่ยวชาญผ่าน Clova และธุรกิจอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม 2562 รวมถึง LINE BRAIN CHATBOT (เทคโนโลยีแชท AI), LINE BRAIN OCR (เทคโนโลยีการจดจำตัวอักษร) และ LINE BRAIN SPEECH TO TEXT (เทคโนโลยีการจดจำเสียง)

LINE Search

LINE Search เป็นบริการค้นหาแบบครบวงจรให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ใน LINE โดยผู้ใช้สามารถค้นหาผ่านฐานข้อมูลทั้งหมดของ LINE รวมถึงการแชทบัญชีอย่างเป็นทางการ LINE NEWS, LINE Manga, LINE MUSIC และบริการอื่นของLINE เปิดตัวในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2562

สรุป

เรียกว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของ LINE ในการพัฒนาบริการให้เข้าสู่ไลฟ์สไตล์ทุกอย่างของผู้บริโภคใน 24 ชั่วโมง เพราะตอนนี้ฐานผู้ใช้เริ่มนิ่งไม่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนหลายปีก่อน การขยายบริการให้ผู้ใช้ได้ใช้งานได้ถี่ขึ้นจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “LIFE ON LINE”

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/line-conference-2019-life-on-line/

ง่ายไปอีก Walmart จับมือ PayPal ให้บริการถอนและเติมเงินในร้าน

PayPal ไม่ได้จำกัดช่องทางให้บริการเฉพาะการซื้อสินค้าออนไลน์เท่านั้น แต่กำลังขยายมายังออฟไลน์อย่างเป็นรูปธรรม โดย Walmart ระบุว่าจะร่วมมือกับ PayPal ให้บริการในร้านสาขา เพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสามารถใช้จ่ายได้สะดวกขึ้น

Walmart และ PayPal ประกาศความร่วมมือเพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชัน PayPal บนสมาร์ทโฟนสามารถเบิกถอนและฝากเงินสดเข้าบัญชี PayPal ได้ที่ร้านค้า Walmart นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ใช้ PayPal สามารถทำธุรกรรมทั้ง 2 ส่วนนี้ได้ในพื้นที่ร้านค้าดั้งเดิมอย่าง Walmart

จ่ายเงินสะดวกขึ้น

ทั้งคู่ระบุในแถลงการณ์ว่า ภายใต้ข้อตกลงนี้ Walmart จะคิดค่าธรรมเนียม 3 เหรียญหรือประมาณ 100 บาท สำหรับบริการ “cash-in” และ “cash-out” หรือการถอนและเติมเงิน จุดนี้ผู้ใช้บริการ PayPal Cash Mastercard จะสามารถตรวจหรือใช้จ่ายเงินจากยอดคงเหลือได้ที่จุดบริการในร้าน Walmart โดยการใช้บริการจากตู้เอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดใน Walmart ก็จะถูกคิดค่าบริการอัตราเดียวกัน

เบื้องต้น บริการเติมเงิน PayPal (cash-in) นั้น เปิดให้บริการแล้วที่ร้าน Walmart ทั่วสหรัฐฯ ขณะที่บริการถอนเงินจาก PayPal (cash-out) มีกำหนดเปิดตัวใน Walmart ทุกสาขาภายในตุลาคมนี้

ความเคลื่อนไหวนี้ของ PayPal ถูกมองว่าเป็นการขยายธุรกิจบนโมเดล “Online to offline” ซึ่งจะช่วยให้ PayPal มีช่องทางรองรับผู้ใช้ในสหรัฐฯที่หลากหลายกว่าเดิม ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้เกิดในแง่ของผู้ใช้ PayPal ฝ่ายเดียว แต่เกิดกับผู้ใช้ Walmart ด้วย การเป็นพันธมิตรครั้งนี้จึงเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น สู่การขยายผลในโมเดล O2O อื่นเพิ่มเติมอีกในอนาคต

ที่มา: MM

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/10/walmart-paypal-partner-offline/

Google Maps แบบออฟไลน์พร้อมให้บริการในไทยแล้ว พร้อมโหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

Google Maps ช่วยให้คุณไปถึงที่หมายได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่า Google Maps ทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ต่อไปนี้หากคุณต้องการสำรวจสถานที่ใหม่ๆ นัดพบปะกับเพื่อนฝูง หรือต้อนรับผู้ที่มาเยือนกรุงเทพฯ Google Maps จะช่วยให้คุณค้นหาสถานที่ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นและดูน่าสนใจมากกว่าเดิม

ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Google Maps

1. ฟีเจอร์สำรวจ

หากยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปที่ไหน ให้เปิด Google Maps แล้วคลิกที่ฟีเจอร์ “สำรวจ” เพื่อสำรวจร้านค้าและร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาพื้นที่ที่คุณที่คุณกำลังจะไป โดยคลิกฟีเจอร์ “สำรวจ” (หรือหากคุณเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ อย่างเต็มที่ ทำไมไม่ลองค้นหาสิ่งทั่วๆ ไป เช่น “ร้านอาหารยอดนิยมในกรุงเทพฯ” )

2. ฟีเจอร์ค้นหาเส้นทาง

เมื่อค้นพบสถานที่ที่น่าสนใจแล้ว คุณสามารถใช้ Google Maps เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการเดินทางไปยังสถานที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เดินเท้า หรือพาหนะส่วนตัว Google Maps จะแสดงตัวเลือกเส้นทางสำหรับการเดินทางจากจุดที่คุณอยู่ไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ พร้อมด้วยการคาดคะเนเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามวิธีการเดินทางและเส้นทางที่ใช้

3. โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

หากคุณเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ คุณจะรู้ดีว่ารถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่แตกต่างจากผู้ที่ขับรถยนต์ โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์จะช่วยค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และคาดคะเนเวลาที่ใช้ในการเดินทางได้แม่นยำมากขึ้น

4. ฟีเจอร์แสดงสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์

หากการจราจรติดขัด แม้แต่การใช้ทางลัดก็อาจจะเสียเวลามากกว่าเดิม Google Maps แสดงสภาพการจราจรในบริเวณรอบๆ คุณและตามเส้นทางที่คุณเดินทางแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งแสดงเวลาที่ใช้ในการเดินทางและเวลาที่จะถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อให้คุณคาดการณ์ได้ว่าจะไปถึงที่หมายได้เร็วหรือช้ากว่าเวลาที่กำหนด

5. ฟีเจอร์ใช้งานแบบออฟไลน์

หากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่เสถียร หรือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือว่าคุณอยากประหยัดอินเทอร์เน็ตบนมือถือ คุณสามารถดาวน์โหลดแผนที่ที่คุณต้องการไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้งานแบบออฟไลน์ในภายหลังได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาแผนที่ที่คุณดาวน์โหลดไว้ได้ ฟีเจอร์นี้ช่วยให้คุณค้นพบสิ่งใหม่ๆ ได้ขณะที่อยู่นอกบ้านและไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

6. ฟีเจอร์แชร์ตำแหน่งและการเดินทางแบบเรียลไทม์


หากมีใครถามว่า “คุณอยู่ที่ไหน?” คุณสามารถตอบคำถามนี้ได้ง่ายๆ ด้วยฟีเจอร์แชร์ตำแหน่งและการเดินทางแบบเรียลไทม์บน Google Maps เพียงแตะที่จุดสีน้ำเงินที่แสดงให้เห็นตำแหน่งปัจจุบันของคุณ จากนั้นเลือก “แชร์ตำแหน่ง” เลือกว่าคุณต้องการแชร์ตำแหน่งให้กับใคร และใช้เวลานานเท่าใด โดยคนที่คุณแชร์ตำแหน่งให้จะเห็นข้อมูลการเดินทางของคุณบน Google Maps ของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถปิดการแชร์ตำแหน่งได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ  

สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Google Maps

– นับตั้งแต่ที่ Google Maps เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในปี 2547 เราได้จัดทำแผนที่ครอบคลุมระยะทางกว่า 21 ล้านไมล์ ใน 220 ประเทศทั่วโลก และรวบรวมสถานที่ต่างๆ จำนวยหลายร้อยล้านแห่งไว้บน Google Maps
– ขณะนี้มีผู้ใช้ Google Maps มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก
– โดยเฉลี่ยแล้วผู้คนใช้ Google Maps ช่วยในการเดินทางเป็นระยะทางเกือบ 250 ล้านไมล์ต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 2.5 เท่าของระยะทางจากโลกไปยังดวงอาทิตย์!

– Google Maps แสดงเส้นทางขนส่งสาธารณะมากกว่า 600 ล้านไมล์ต่อวัน

 

from:http://www.flashfly.net/wp/224335

ใช้ Google Translate แบบไม่เปลืองเน็ตได้แล้ว

เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว Google ได้เปิดตัวระบบ Neural Machine Translation (NMT) สำหรับ Google Translate ซึ่งช่วยให้การแปลภาษาออนไลน์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น วันนี้ Google ได้นำระบบดังกล่าวมาไว้ในอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแปลภาษาแบบออฟไลน์ได้ นั่นหมายความว่า ระบบจะทำงานในแอปพลิเคชัน Google Translate ได้โดยตรงแบบไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว 

Neural Machine Translation ทำอะไรได้

สำหรับระบบ Neural Machine Translation จะแปลประโยคทั้งประโยคได้ในครั้งเดียว จากเดิมที่แปลแยกเป็นคำๆ หรือวลี จากนั้นนำความหมายมารวมกัน การอัพเดทล่าสุดนี้ จะรองรับบริบทที่กว้างขึ้น เพื่อช่วยให้แปลได้ตรงกับความหมายที่ถูกต้องที่สุด จากนั้นจะจัดเรียงและปรับให้ตรงหรือใกล้เคียงภาษาพูดของมนุษย์มากขึ้น ด้วยไวยากรณ์ที่เหมาะสม ทำให้ย่อหน้าและบทความที่ได้รับการแปลมีความลื่นไหล อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การแปลภาษาแบบออฟไลน์มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเวลาเดินทางไปต่างประเทศและไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อาจเป็นเพราะไม่ได้เปิดโรมมิ่งหรือซื้อแพจเกจไป จะเชื่อมสัญญาณไวไฟก็ต้องลงทะเบียนวุ่นวาย เครื่องมือนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแม้จะไม่ได้เชื่อมต่อ โดยแต่ละชุดภาษามีขนาดไฟล์เพียง 35-45 MB เท่านั้น ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในโทรศัพท์ของคุณ

ขั้นตอนการติดตั้ง

วิธีการติดตั้งระบบ Neural Machine Translation แบบออฟไลน์ก็แสนง่าย เพียงเข้าไปที่แอปพลิเคชัน Google Translate บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของคุณ จะระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS ก็ได้ทั้งสิ้น

หากคุณเคยใช้การแปลภาษาแบบออฟไลน์มาก่อน จะเห็นแบนเนอร์บนหน้าจอหลัก ซึ่งจะแนะนำให้อัปเดตไฟล์ออฟไลน์นี้ แต่ถ้าไม่เคยใช้งานการแปลภาษาแบบออฟไลน์มาก่อน ให้ไปที่การตั้งค่าการแปลภาษาออฟไลน์ เลือกลูกศรที่อยู่ถัดจากชื่อภาษาเพื่อดาวน์โหลดชุดภาษาที่คุณต้องการ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถแปลข้อความต่างๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป

โดย Google จะเริ่มทะยอยปล่อยการอัปเดตนี้ในอีกไม่กี่วัน (ซึ่งตอนนี้ Google Assistant ก็เพิ่งจะมาไม่นาน) โดยการแปลภาษานี้จะรองรับ 59 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย ด้วย ไปลองติดตั้งใช้งานกันค่ะ

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/06/google-translate-offline/

เปิดความสำเร็จเมื่อ VGI จับ Big Data เชื่อมสื่อออฟไลน์-ออนไลน์เพิ่ม Purchase Intention ได้ 60%

 

ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่น่าสนใจของการใช้สื่อแบบผสมผสานร่วมกับ Big Data ของค่าย VGI Group ที่สามารถเพิ่มตัวเลข Purchase Intention ให้กับ 11street อีคอมเมิร์ซยี่ห้อดังสัญชาติเกาหลีได้ถึง 60% จากการซื้อสื่อโฆษณาแบบเหมาสถานี Station Takeover ครั้งแรกในประเทศไทยบนสถานีรถไฟฟ้า 3 สถานี (สยาม ชิดลม พร้อมพงษ์) ร่วมกับการซื้อสื่อ Online ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางและการจับจ่ายใช้สอยและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจากบัตรแรทบิทการ์ด

คุณเนลสัน เหลียง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ผู้ให้บริการเครือข่ายสื่อโฆษณานอกบ้านพร้อมฐานข้อมูลรายแรกในไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสื่อโฆษณานอกบ้านของไทย (OOH) ได้ก้าวสู่จุดเปลี่ยนแปลงโดยเป็นผลจากพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นและสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น VGI จึงชูแนวคิด Data Centric Media Hypermarket เป็นแนวทางดำเนินงานโดยปรับเปลี่ยนวิธีการขายแพคเกจสื่อโฆษณาให้มีการผสมผสานระหว่างสื่อ Offline และ Online (O2O-โอทูโอ) โดยนำ Big Data จากบัตรแรบบิทการ์ด ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางและการจับจ่ายใช้สอยและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมาใช้วิเคราะห์เพื่อการจัดสรรสื่อโฆษณานอกบ้านให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทำให้นักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณาทำตลาดได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และยังกระตุ้นการตัดสินซื้อของผู้บริโภคให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

คุณเนลสัน เหลียง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) ได้ทำวิจัยผลการใช้สื่อต่อการรับรู้และการตัดสินใจใช้บริการของ 11street ผู้ประกอบการค้าปลีกออนไลน์จากประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นลูกค้ารายแรกของ VGI ที่ใช้สื่อผสมผสานระหว่างสื่อของ VGI คือการซื้อสื่อโฆษณาแบบเหมาสถานี Station Takeover ครั้งแรกในประเทศไทยบนสถานีรถไฟฟ้า 3 สถานี (สยาม ชิดลม พร้อมพงษ์) ซึ่งเป็นสื่อ Offline ร่วมกับการซื้อสื่อ Online ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางและการจับจ่ายใช้สอยและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจากบัตรแรทบิทการ์ด

โดยงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่เป็นผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสถานีสยาม ชิดลมและพร้อมพงษ์ พบว่าการใช้สื่อโฆษณาในสถานีและรถไฟฟ้าบีทีเอสร่วมกับสื่อออนไลน์ควบคู่กันนั้น สามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้สูงถึง 60% ในขณะที่การเลือกใช้สื่อทีวีหรือสื่อออนไลน์เพียงอย่างเดียวสามารถกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้เพียง 27% จะเห็นได้ว่าการเลือกซื้อสื่อโฆษณาที่มีทั้ง Offline และ Online (O2O-โอทูโอ) ร่วมกันนั้น สามารถกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้มากว่าการเลือกใช้สื่อใดสื่อหนึ่งเพียงอย่างเดียวถึงเท่าตัว

ทั้งนี้ ข้อมูล Demographic ของผู้โดยสาร BTS ต่อวันนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2 ล้านคน เป็นผู้หญิงถึง 2 ใน 3 และเป็นพนักงานออฟฟิศอายุระหว่าง 25 – 44 ปีถึง 2 ใน 3 เช่นกัน ส่วนระดับการศึกษานั้น 90% คือกลุ่มปริญญาตรี – ปริญญาโท และ 75% มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 35,000 บาท

ส่วนรูปแบบการเดินทางนั้น มี 4 สถานียอดฮิตที่ก็คือสยาม, อโศก, หมอชิต และศาลาแดง ช่วงเวลาเร่งด่วนคือวันจันทร์-ศุกร์ระหว่าง 7.00 – 10.00 น. และ 17.00 – 19.00 น.

“การสร้างการรับรู้และกระตุ้นพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้นจำเป็นต้องใช้สื่อที่มีการผสมผสานระหว่างสื่อ Offline และ Online (O2O-โอทูโอ) เข้าไว้ด้วยกัน มากกว่าการทุ่มเม็ดเงินโฆษณาไปยังสื่อใดสื่อหนึ่งเพียงสื่อเดียว เราเชื่อมั่นว่า Bundle Package จาก VGI จะตอบโจทย์ลูกค้า ช่วยให้เจ้าของสินค้า นักการตลาด และเอเยนซี่สื่อโฆษณาประสบความสำเร็จในการนำเสนอสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว สื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นายเนลสัน เหลียง กล่าว

VGI Group ยังเผยอีกด้วยว่า ปัจจุบันบริษัทมีสื่อโฆษณาที่ครอบคลุมทั้งสื่อป้ายโฆษณาและจอดิจิทัลทั้งหมดของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส (VGI) มากกว่า 6,00 จุด สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงานและสื่อในลิฟท์คอนโดมิเนียมมากกว่า 300 อาคาร ป้ายโฆษณาและจอดิจิทัลทั่วประเทศ (MACO) กว่า 2,000 จุด สื่อโฆษณาในสนามบิน (Aero Media) ที่มีจอดิจิทัลมากกว่า 300 จอ รวมถึงสื่ออื่นๆ เช่น รถเข็นในสนามบินดอนเมือง รถกอล์ฟที่สนามบินสุวรรณภูมิ งวงช้าง 5 สนามบินทั่วประเทศและสื่อโฆษณาของสายการบินแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์และนกแอร์มากกว่า 70 ลำ

ขณะที่ฐานข้อมูลนั้น VGI Group มีฐานข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคจากแรบบิท การ์ด ที่มีสมาชิกลงทะเบียนถึง 3 ล้านคน มีทั้งข้อมูลประชากรศาสตร์ (Demographic) และพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค (Consumer Spending Behavior) โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อผสานการใช้สื่อโฆษณาทั้ง Offline และ Online (O2O-โอทูโอ) เข้าด้วยกัน ด้วยรูปแบบ Bundle Package ที่มีให้ลูกค้าเลือกซื้อทั้งแบบสำเร็จรูปที่จัดไว้แล้วและแบบ Customize package ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่ง VGI มองว่า จะทำให้เอเจนซี่ นักการตลาดและเจ้าของสินค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย สามารถสื่อสารโฆษณาหรือทำโปรโมชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/08/vgi-big-data-o2o-11street-purchase-intention-increase/

6 ประเภทสินค้าขายดีออนไลน์ ที่จะวางขายหน้าร้านออฟไลน์มากขึ้นในอินเดีย

แม้จะเป็นบทวิเคราะห์ในอินเดีย แต่ผลการวิเคราะห์นี้น่าสนใจมากเพราะอาจสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของหน้าร้านค้าปลีกทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้า 6 ประเภทนี้ที่คาดว่าบางส่วนจะได้เห็นหนาตามากขึ้นตามห้างซูเปอร์สโตร์ของไทยเช่นกัน

Karan Kashyap นักเขียนของ Forbes วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในวงการค้าปลีกอินเดียโดยยกสถิติจากบริษัทวิจัย Forrester มาอ้างอิงเรื่องการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซอินเดีย เบื้องต้นมีการพยากรณ์ว่าเงินสะพัดในวงการค้าปลีกออนไลน์ของอินเดียจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1 ใน 3 เป็น 7.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐจาก 4.8 หมื่นล้านเหรียญในปี 2020

แม้ยอดขายออนไลน์จะขยายตัว แต่แบรนด์ค้าปลีกออนไลน์ในอินเดียกำลังส่งสัญญาณบุกหนักโลกออฟไลน์ ด้วยการเปิดร้านค้าปลีกบนถนนหรือห้างสรรพสินค้ามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ตลาดออฟไลน์คึกคักเห็นได้ชัด โดย 1 ใน 6 ประเภทสินค้าที่จะถูกนำมาเปิดร้านขายมากขึ้นในอินเดียคือสมาร์ทโฟน

สมาร์ทโฟนเป็น 1 ใน 6 สินค้าที่ถูกมองว่าจะมีการเปิดร้านสาขามากขึ้นในอินเดียช่วงปีนี้ เนื่องจากวันนี้แบรนด์ที่วางจำหน่ายสมาร์ทโฟนเฉพาะออนไลน์ทั้ง Xiaomi, OnePlus, LeEco, Motorola และ InFocus ต่างพยายามดึงให้ชาวอินเดียได้สัมผัสกับแบรนด์ในโลกออฟไลน์ กรณีของ LeEco นั้นมีแผนเปิดศูนย์บริการในอินเดียมากกว่า 100 แห่ง

ประเภทที่ 2 คือเสื้อผ้า แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้าออนไลน์ในอินเดียเริ่มหันมาเปิดร้านออฟไลน์บ้างแล้ว ตัวอย่างเช่นแบรนด์ในเครือ Flipkart ชื่อ Myntra ที่เปิดร้านพร้อมหน้าจอทัชสกรีนหลากหลายเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าจับจ่ายซื้อเสื้อผ้าได้สะดวกกว่าเดิม เทรนด์นี้กำลังเริ่มขยายตัวในอินเดีย ไม่แน่ว่าอาจจะขยายในประเทศอื่นเช่นกัน

ประเภทที่ 3 คือบริการสินเชื่อ บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยแดนโรตีนั้นได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์สูงในขณะนี้ ทั้ง Flipkart, Snapdeal, Amazon, Paytm และ Pepperfry วันนี้บริการนี้กำลังเริ่มขยายมายังตลาดออฟไลน์มากขึ้น

กลุ่มที่ 4 คือเฟอร์นิเจอร์ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ชื่อดังในอินเดีย Urban Ladder ประกาศแผนตั้งโชว์รูม 10 จุดบนงบประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว โดยจะจับมือกับ Tata Housing เพื่อแสดงสินค้าในเมืองใหญ่อย่าง Mumbai, Bengaluru และ Gurgaon

กลุ่มที่ 5 คืออาหาร เจ้าพ่อออนไลน์อเมริกันอย่าง Amazon เปิดแผนสร้างร้านชำที่ลูกค้าไม่ต้องลงจากรถ แม้จะยังเป็นข่าวที่ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่ก็เป็นสัญญาณที่ปลุกให้วงการของชำในอินเดียตื่นตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ Grofers และ Bigbasket บริการของชำออนไลน์จากเยอรมนีก็ประกาศพร้อมลงทุนในตลาดของชำอินเดียเช่นกัน

ประเภทสุดท้ายคือสินค้ากลุ่ม White goods เช่นเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ (ที่มักทาสีขาวที่สินค้า) เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตจะต้องการให้ชาวอินเดียได้สัมผัสที่จุดชำระเงินหรือ point of sale ในร้านค้ามากขึ้น เพื่อดันให้ยอดจำหน่ายออนไลน์เติบโตขึ้นอีก หลังจากที่มีแนวโน้มดีด้วยการเติบโต 7.7% จาก 6.6% ในปี 2015

ที่มา: TechinAsia

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/05/6-items-offline-india/

AdWords ปรับใหม่ติดตามข้อมูลออฟไลน์ได้ดีขึ้น

ถือเป็นการอัปเกรดความสามารถฝั่งออฟไลน์ที่น่าสนใจ เมื่อ Google ประกาศว่าได้เพิ่มเครื่องมือวัดผลใหม่บนระบบโฆษณา AdWords ซึ่งจะทำให้นักการตลาดดิจิทัลสามารถติดตามผลผ่านการเดินทางไปที่ร้านค้าของผู้บริโภคได้ดีขึ้น โดยจะนำระบบ Google Earth, Street View และการสแกนความแรงของสัญญาณ Wi-Fi มาเป็นตัวช่วยเพื่อให้ระบบรู้ว่าชาวออนไลน์เดินทางมาที่ร้านจริง

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา Google ประกาศในบล็อกโพสต์ว่าได้อัปเกรดระบบติดตามการเดินทางมาที่ร้านให้กับระบบโฆษณา AdWords หลายจุด หนึ่งในนั้นคือการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงลึกที่จะทำให้นักการตลาดทราบข้อมูลการเดินทางไปที่ร้านของผู้บริโภคได้ละเอียดกว่าเดิม โดยที่ทั้งหมดยังเป็นการเก็บข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้เสียความเป็นส่วนตัว

การอัปเกรดนี้จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเชื่อมข้อมูลการเดินทางเข้าร้านของลูกค้ากับแคมเปญ AdWords ที่ทำอยู่ สิ่งที่ระบบของ Google ถูกปรับให้ดีขึ้นคือการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อทำนายการเดินทางเข้าร้านของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มความแม่นยำด้านภูมิศาสตร์ของร้านค้าผ่านเทคโนโลยี Google Earth, Street View และความแรงของ Wi-Fi คู่ไปกับการยืนยันตัวเพิ่มเติมที่จะเกิดขึ้นผ่านการสำรวจความเห็นผู้ใช้เกี่ยวกับการเข้าชมร้านค้า

การสำรวจความเห็นนี้ถูกระบุว่าเป็น extra layer ซึ่ง Google จะเพิ่มเติมให้เมื่อระบบพบว่าผู้ชมโฆษณา AdWords อาจเดินทางเข้าร้านแล้ว Google ระบุว่าจะถามผู้บริโภคโดยตรงว่าได้เดินทางไปที่ใด ซึ่งจะช่วยยืนยันได้ว่าผลการทำนายการเดินทางสู่ร้านของ Google มีความถูกต้องเที่ยงตรงเพียงใด

ก่อนหน้านี้ Google เริ่มให้บริการติดตามข้อมูลเข้าชมร้านค้าผ่านระบบวัดผลของ AdWords เมื่อ 2 ปีก่อน ตั้งแต่นั้นมา นักโฆษณาให้ความสนใจวัดผลการเข้าชมร้านค้าใน AdWords มากกว่า 4 พันล้านรายการ ถือเป็นอีกสถิติสำคัญที่ Google เปิดเผยในขณะนี้

ที่มา: : Google

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/04/adwords-offline-store-visit/

“ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล” มองเทรนด์ Digital Marketing แบรนด์จะทำงานร่วมกันมากขึ้น

ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ซีอีโอ Siri Venture และเจ้าพ่อสตาร์ทอัปเผยพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Mobile-first จะนำไปสู่การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ของแบรนด์ต่าง ๆ มากขึ้น


เป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลสำหรับเวทีสัมมนา GroupM FOCAL 2017 ซึ่งคุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ซีอีโอจาก Siri Venture หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่ได้ปรากฏตัวบนเวทีดังกล่าว ได้ให้ทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์ดังกล่าวเอาไว้ว่า

“เราทำเรื่อง Transformation มา 8 ปี เมื่อ Device มันดีขึ้น Network ดีขึ้น บริการแบบ on demand ก็เกิดตามมา ผู้บริโภคในยุคนี้เป็นยุคที่เราจะเสพอะไร เมื่อไรก็ได้ พฤติกรรมนี้ไม่ใช่แค่การเสพสื่อ แต่ดิจิตอลคือเครื่องมือที่ทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม สิ่งสำคัญคือเราต้องเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพต่อการแข่งขันนั้น ๆ ให้ได้”

สำหรับแพลตฟอร์มของแสนสิรินั้น (Home Service Application) ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเกือบสองหมื่นคน ซึ่งล้วนแต่เป็นลูกบ้านของแสนสิริ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจับจ่าย และในอนาคตอันใกล้จะมีการขยายแพลตฟอร์มดังกล่าวให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายอื่นได้ใช้งานด้วย

“ความท้าทายของการตลาดคือ อย่ายึดติดกับฟอร์ม ถ้ายึดติดจะทำให้การก้าวไปขั้นต่อไปลำบากมากขึ้น แบรนด์ต้อง formless ต้องไม่ยึดติดกับมัน ในอีกไม่กี่ปี ผมเชื่อว่าคำว่าดิจิทัลจะหายไป เพราะมันจะ blend ไปกับชีวิต ญาติผู้ใหญ่ของผม เมื่อก่อนเคยบอกว่า อย่ามาพูดเรื่องสมาร์ทโฟนกับท่าน ใช้โทรก็พอแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ ท่านซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์บ่อยกว่าผมเสียอีก”

จากจุดนี้คุณชาคริตเผยว่า สิ่งที่คนทำงานต้องตระหนักให้มากคือดิจิทัลและ Tradition นั้นมีการ Blend ร่วมกันไปหมดแล้ว ดังนั้นการที่แบรนด์ยังมาแบ่ง มาแยกทีมทำงาน จะเป็นการเพิ่มความยุ่งยากให้การทำงานมากกว่านั่นเอง

“พอเรา formless มันจะนำไปสู่ borderless ที่ทำให้แบรนด์มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น และแบรนด์ไม่จำเป็นต้องทำเองทุกอย่าง ปัจจุบันแบรนด์สามารถยิง notification ไปหาผู้ใช้งานของตนเองเพื่อจัดแคมเปญสักอย่าง อาจเป็นการแจกตั๋วชมภาพยนตร์ฟรี และดูการตอบรับ ลองทำสัก 2 -3 ครั้ง เราอาจพบว่า ในบรรดาผู้ใช้งานของเรา อาจมี 500 คนแล้วที่ชอบดูหนังแน่ ๆ เพราะร่วมกิจกรรมกับเราตลอด แต่แบรนด์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องจัดการกับลูกค้าในกลุ่มนี้เอง เพราะหากส่งต่อข้อมูลนี้ให้กับผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์เพื่อให้เขาดำเนินการต่อ ก็จะเกิดเป็นนวัตกรรมจากการทำงานร่วมกันในลักษณะนี้มากขึ้น”

แผนการต่อไปสำหรับแสนสิริคือการทำงานร่วมกันในลักษณะดังกล่าว โดยในปี 2017 นี้จะมีการร่วมมือกับโรงพยาบาล ในการใช้งานข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ลูกค้าของแสนสิริเมื่อไปโรงพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลสามารถให้บริการแบบ Personalized ได้ ซึ่งเทรนด์เหล่านี้สามารถนำไปสู่บริการได้อีกหลากหลายประเภทในอนาคต

ทั้งนี้คุณชาคริตได้ทิ้งท้ายเอาไว้ถึงความท้าทายของการทำตลาดในยุคต่อไปว่าอยู่ที่บรรดาสตาร์ทอัป ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมนั้นต้องสามารถลดช่องว่างของ geek gap ลงให้ได้

“จุดตายของสตาร์ทอัปคือทำเทคโนโลยีได้ แต่ขายของไม่เป็น เขาจึงต้องเข้าหานักการตลาดให้มากขึ้น เพราะนักการตลาดเข้าใจลูกค้า รู้ว่าลูกค้าอยู่ตรงไหน และขายของได้ อนาคตต้องมีการทำงานระหว่างคนสองกลุ่มนี้ให้มากขึ้น แบรนด์จึงจะประสบความสำเร็จครับ”

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/04/shakrit-chanrungsakul-siriventure-vision-digital-marketing-focal-2017/

ศึกค้าปลีก Walmart โยกคน Online – Offline อุดจุดอ่อนแต่ละด้าน พร้อมติดอาวุธชนคู่แข่ง

ก่อนหน้านี้เล่าเรื่อง Walmart ลดคน แต่ Amazon กลับจ้างเพิ่ม ไปแล้ว คราวนี้มาลองศึกษาการแก้เกมธุรกิจของทาง Walmart กันบ้าง เพราะถ้าอยู่เฉยๆ ก็คงรอวันหายไปจากโลกใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล

ภาพจาก Flickr ของ Walmart

ฉีกตำรา โยกคน Online – Offline ไปดูเรื่องใหม่

แนวคิดใหม่ของ Walmart เพื่อแข่งขันกับ Amazon.com รวมถึงค้าปลีกอื่นๆ คือการดึงความคิดของผู้บริหารระดับสูงฝั่ง Offline หรือหน้าร้านสาขาต่างๆ กับฝั่ง Online หรือเว็บไซต์ E-commerce ให้มาช่วยแก้ปัญหาของอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะ Doug McMillon ประธานเจ้าหน้าที่ของ Walmart ต้องการลดการทำงานซ้ำซ้อน และมองว่าทั้ง Offline และ Online ต่างมีแนวคิดของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องการวางกลยุทธ์

สำหรับการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ยักษ์ค้าปลีกรายใหญ่จะดึง Jeremy King ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี หรือ CTO ของ Walmart ฝั่ง E-commerce ให้ไปช่วยพัฒนาการใช้งานนวัตกรรมใหม่ในฝั่งหน้าร้านค้าปลีกทั่วสหรัฐอเมริกา พร้อมกับปรับ Tony Rogers จากเป็นประธานเจ้าหน้าที่การตลาด หรือ CMO ของ Walmart ฝั่งหน้าร้านค้าปลีก ก็ให้ไปช่วยด้านการตลาดให้กับเว็บไซต์ walmart.com และ jet.com สองเว็บ E-commerce ของบริษัทให้มีแนวโน้มดีขึ้น

“ตอนนี้ปัญหาทั้งฝั่งหน้าร้าน และเว็บไซต์ก็มีอยู่มาก และ Walmart ต้องการทำอะไรใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งการโยกผู้บริหารจาก Online เป็น Offline และ Offline เป็น Online ก็เข้าใจว่าคงปรับตัวยาก แต่ในอนาคตจะเป็นผลดีต่อบริษัทแน่นอน นอกจากนี้ Walmart ยังพยายามใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการยกระดับสาขาค้าปลีก, เว็บไซต์ และทุกๆ ช่องทางที่ลูกค้าเห็นเรา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างดีที่สุด” Doug McMillon ประธานเจ้าหน้าที่ของ Walmart กล่าว

สรุป

การกระทำของ Walmart เรียกว่าใหม่มาก เพราะส่วนใหญ่แล้วการแก้ปัญหาแบบนี้ก็จะจ้างผู้บริหารฝั่ง Online หรือ Offline ที่เก่งกว่าคนเดิมมาแก้ไข และเชื่อว่าการทำแบบนี้จะเห็นมุมมองใหม่ๆ ในการยกระดับธุรกิจแน่นอน นอกจากนี้การโยกผู้บริหารในรูปแบบดังกล่าวอาจเห็นได้ในประเทศไทยเร็วๆ นี้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/go-online-offline-with-walmart/

สื่อชี้ Facebook ลงทุนซื้อข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคออฟไลน์

131217073141-facebook-video-ads-620xa

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Facebook มีข้อมูลกิจกรรมออนไลน์ของคนทั่วโลกอยู่ในมือเรียบร้อยแล้ว แต่ที่ยังขาดไปคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตออฟไลน์ของทุกคนซึ่งเป็นอีกชุดข้อมูลสำคัญที่แบรนด์มักใช้วิเคราะห์และวางแผนเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ล่าสุดมีรายงานว่า Facebook ลงทุนซื้อข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคออฟไลน์แล้ว ครอบคลุมทั้งข้อมูลรายได้และข้อมูลการเป็นเจ้าของบัตรเครดิต

ความเคลื่อนไหวของ Facebook ได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย เนื่องจากชาวโลกรับรู้เพียงว่า Facebook เก็บข้อมูลออนไลน์บางส่วนของตัวเองไว้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ว่า Facebook เก็บข้อมูลออฟไลน์ของทุกคนด้วย โดยทั้งหมด Facebook ไม่ได้แถลงรายละเอียดด้วยตัวเอง แต่เป็นสำนักข่าว ProPublica ที่ไปทราบเบาะแสการซื้อข้อมูลครั้งนี้

ข้อมูลจาก ProPublica ระบุว่าข้อมูลออฟไลน์ที่ Facebook กำลังรวบรวมอาจมีทั้งข้อมูลรายได้ ข้อมูลร้านค้าที่ชอบใช้บริการ ข้อมูลจำนวนบัตรเครดิตที่ถือครอง รวมถึงข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าออฟไลน์อื่นๆ

เบื้องต้นมีการวิเคราะห์ว่า Facebook ซื้อข้อมูลเหล่านี้ไปเพื่อใช้งานร่วมกับระบบ algorithm หลายชั้นเพื่อวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้หลายพันล้านคนของตัวเองออกเป็นกลุ่มย่อยนับหมื่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็น micro-targetable group ให้นักโฆษณาสามารถเข้าถึงและกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

จุดนี้ ProPublica ระบุว่าบนเว็บไซต์ของ Facebook มีการแจ้งชัดเจนว่าบริษัทจะรวมรวบข้อมูลผู้ใช้จากแหล่งข้อมูลอื่น แต่ไม่มีการชี้แจงให้ชัดเจนว่าเป็นข้อมูลใดหรือจากแหล่งใด

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้จากข่าวนี้ คือการเปิดเผยของ ProPublica กลายเป็นข่าวสะท้อนเหรียญ 2 ด้านจากมุม Facebook เนื่องจากข่าวนี้แสดงว่า Facebook กำลังทำทุกทางให้สามารถแบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายชนิดถึงตัวผู้บริโภคแต่ละคน แต่ในมุมผู้บริโภคก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างน่าเป็นห่วง

ที่มา: NDTV

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/01/offline-facebook-data/