คลังเก็บป้ายกำกับ: MINDSHARE_THAILAND

เม็ดเงินโฆษณาปี 2021 ยังมีโอกาสโต มายด์แชร์แนะอย่าหยุดโฆษณาถ้าไม่อยากให้แบรนด์ล้ม

มายด์แชร์ เผยภาพรวมการใช้จ่ายสื่อในช่วงโควิด-19 โดยแบรนด์และผู้บริโภคยังคงต้องปรับตัวจากสถานการณ์ในการระบาดของไวรัสที่ยังไม่ได้หายไป แต่ประชาชนก็มีการเรียนรู้และพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น

คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) มองว่า หากคาดการณ์ภาพรวมการใช้จ่ายปี 2021 นั้นต้อนย้อนกลับไปปี 2019 ที่เรายังไม่เกิดเรื่องการแพร่ระบาด จะเห็นว่ามีการเติบโตกว่าเทียบกับปี 2020 เล็กน้อย โดยในกลุ่มทีวีที่แม้ว่าจะติดลบแต่ด้วยภาวะโควิดที่คนอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีตัวเลขฟื้นกลับมา 3% และคาดว่าปีนี้จะมีการโตที่ค้างจากปีที่แล้ว แต่ภาพรวมการใช้สื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือสื่อดิจิทัล ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องไปยังปี 2021 ที่น่าจะสอดคล้องกับ gdp ของประเทศที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 3+ 

โดยตารางนี้คือตัวเลขคาดการณ์ภาพรวมสื่อโฆษณาของปี 2021 หากมีการเติบโตหรือฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 3% แม้ว่าตัวเลขที่คาดการณ์นี้ยังไม่อาจการันตีได้ว่าจะสะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีหรือไม่ แต่มายด์แชร์แนะนำว่าอยากให้แบรนด์ยังคงใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาชื่อของแบรนด์ไว้ตลอดจะดีกว่าการเงียบหายและรอเวลาฟื้นทางเศรษฐกิจค่อยมาลงทุน

ทั้งนี้ แบรนด์ที่ยังคงสานต่อการโฆษณาในช่องทางต่างๆ หรือบริหารช่องทางการโฆษณาอย่างเหมาะสม ก็ยังช่วยสร้างการรับรู้และเพิ่มโอกาสซื้อได้ดีกว่า แม้ว่าสื่อ Out of Home (OOH) ในปีที่ผ่านมามีตัวเลขลดลงมาก เพราะคนไม่ค่อยออกนอกบ้าน แต่ปี 2021 น่าจะมีแนวโน้มกลับมาดีขึ้น

ทางด้านของสถิติการรับชมสื่อทีวีในปีที่ผ่านมา มีตัวเลขที่ฟื้นกลับมาดีขึ้นอาจเพราะคนอยู่บ้านเยอะขึ้น และใช้เวลาในการรับชมนานขึ้น อาจเป็นเพราะการเปิดทิ้งไว้เพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงาหรือเพื่อรับฟังข่าวสารที่ผู้บริโภคยังคงมองว่าสื่อทีวีน่าเชื่อถือกว่าสื่อประเภทอื่นๆ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ยังคงสานต่อในการโฆษณาและใช้สื่อต่อเนื่องและสร้างโอกาสทางการขายได้ดีขึ้นนั้น เห็นได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับนมและกลุ่มสินค้าบำรุงสุขภาพ

แต่กลุ่มธุรกิจที่เจอปัญหาหรือผลกระทบเยอะที่สุดคือ กลุ่มสินค้าประเภทมอเตอร์ไซต์ กลุ่มภาครัฐ และธุรกิจสื่อ

ทางด้านของมายด์แชร์ก็ได้แนะนำแนวทางสำหรับธุรกิจที่กำลังหาทางออกว่าควรจะโฟกัสในเรื่องใดและมองหาโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ หรือการปรับตัวเพื่อรับโอกาสในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้ง 5 ข้อดังกล่าวของปี 2021 ไม่ได้แตกต่างจากปี 2020 เท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่คือเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยจะอธิบายให้ละเอียดขึ้น ดังนี้

Prioritization : คือการย้อนกลับไปดูแผนหรือแคมเปญที่เคยคิดจะทำว่าแกนธุรกิจของคุณคืออะไร แล้วมีส่วนไหนสามารถนำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยด้วยการใส่นวัตกรรมลงไป หรือเลือกลงทุนในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น เช่น สินค้าเครื่องสำอางค์เริ่มปรับไลน์การผลิตมาผลิตเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ หรือแบรนด์เสื้อผ้าผลิตหน้ากากออกมาขาย เป็นต้น

Audience : “ลูกค้าสำคัญเสมอ” ยังเป็นกฏข้อสำคัญของทุกธุรกิจ เพราะแบรนด์จำเป็นต้องรู้จักลูกค้าของตนเอง รู้จักพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มลูกค้าของเรา เพื่อสร้างโอกาสในการขายและรักษาแบรนด์ให้อยู่รอด

Media : เรื่องของการวางแผนสื่อโฆษณานั้น จะช่วยรักษาโอกาสในการสื่อสารแบรนด์อยู่ เพื่อให้เรายังอยู่ในใจของผู้บริโภคและการจดจำจะดีกว่าหายไปและเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดผ่านไปค่อยกลับมาสร้างแบรนด์ใหม่ จะยิ่งฟื้นฟูยากกว่า

Agile Communication : ด้วยไลฟ์สไตล์ที่คนหยุดการออกนอกบ้าน แบรนด์ควรปรับคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น โดยควรมุ่งเน้นไปกับสิ่งที่เกี่ยวกับการอยู่บ้านและครอบครัว หากจะมีการจัดกิจกรรมใดๆ ก็ควรที่จะเหมาะสมกับสถานการณ์

Ecommerce : เมื่อสถานการณ์ทุกอย่างกลับมาดีขึ้น อยากให้มองเรื่องของการเข้าสู่โลกออนไลน์ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมจากสถานการณ์ต่างๆ อยากให้เชื่อมโยงการขายออนไลน์และออฟไลน์เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งวางกลยุทธ์ทางการขายทั้งหมดให้เชื่อมโยงกัน รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาของผู้บริโภคด้วยว่ามีความต้องการอะไร ค้นหาสิ่งใด และพฤติกรรมเป็นอย่างไร และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ให้ผู้บริโภคมองเห็นเราทุกช่องทาง เพื่อสร้างโอกาสทางการขายและการอยู่รอดของธุรกิจ

from:https://www.thumbsup.in.th/mindshare-advertising-2021-for-marketer?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=mindshare-advertising-2021-for-marketer

มายด์แชร์คาดปี 2021 เม็ดเงินโฆษณายังเติบโตบนสื่อดิจิทัล แนะปรับกลยุทธ์ตอบรับวิถีชีวิตแบบใหม่

ปี 2021 ยังคงเป็นปีที่มีความท้าทายจากการระบาดของ Covid-19 จากการเตรียมตัวและตั้งรับตั้งแต่ในช่วงแรกของการระบาดในปีที่ผ่านมา ทำให้แบรนด์เรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญในการทำการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภค โดยการใช้ data เพื่อปรับกลยุทธิ์และเสนอคอนเทนต์อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ของผู้บริโภคที่เกิดการรับรู้และสั่งซื้อสินค้าได้จากปลายนิ้ว

ทั้งนี้ โอกาสและความท้ายทายสำหรับแบรนด์ในการสื่อสารการตลาดในปี 2021 ยุคที่ผู้บริโภคมีวิถีชีวิตแบบใหม่สืบเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19

คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาทั้งแบรนด์และผู้บริโภคต่างจำเป็นที่จะต้องปรับตัวจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส ซึ่งมาจนถึงวันนี้โควิท-19 ยังไม่ได้หายจากเราไป แต่ทั้งแบรนด์และผู้บริโภคมีประสบการณ์และเรียนรู้ในการรับมือกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของเม็ดเงินโฆษณา ทางเราเชื่อว่าปี 2021 จะเติบโตขึ้นจากปี 2020 ทั้งบนสื่อดิจิตัลและทีวี และแน่นอนว่า eCommerce ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 นี้เช่นกัน

มายด์แชร์ คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น 3% เทียบจากปี 2563  หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 97,100 ล้านบาท ดิจิทัลยังคงเป็นสื่อที่มีการเติบโตสูงที่สุด ในขณะที่ทีวียังคงเป็นสื่อที่แข็งแกร่งที่ขับเคลื่อนด้วยทีวีดิจิทัล เนื่องด้วยวิถีของผู้บริโภคที่ work from home ในช่วงการระบาด

ข้อคิดต่อนักการตลาดในการทำกลยุทธิ์การสื่อสารในปี 2564

  • Prioritization – ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อวิเคราะห์กลยุทธิ์การสื่อสารผลิตภัณฑ์ที่จะตอบโจทย์ต่อสถานการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
  • Audience วิเคราะห์สถานการณ์ ข้อมูล และคาดการณ์ถึงการปรับตัวของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการขาย
  • Media เลือกใช้สื่อที่เข้าตรงถึงกลุ่มผู้บริโภคของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ 
  • Agile Communication ปรับการสื่อสารที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้จะสามารถซื้อสินค้าได้จากที่บ้านได้ทันที และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรวมตัว
  • eCommerce and Search ให้แน่ใจว่าผู้บริโภคสามาถหาเราพบจากการ search และพิจารณาการทำแคมเปญสำหรับการสั่งซื้อจำนวนมากรวมไปถึงเรื่องการจัดส่ง

from:https://www.thumbsup.in.th/mindshare-advertising-2021?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=mindshare-advertising-2021

Mindshare เผยผลสำรวจคนไทยยังวิตกเรื่อง COVID-19 มากและหวังให้รัฐช่วยธุรกิจไปต่อได้

มายด์แชร์ ประเทศไทย (Mindshare Thailand) มีเดียเอเยนซี่ชั้นนำในเครือ กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) ได้ทำการศึกษาขั้นต้นต่อการรับรู้ของผู้บริโภคไทยต่อความเข้าใจเรื่องวิกฤต Coronavirus รวมถึงประเมินการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในแง่การใช้ชีวิต การบริโภคสื่อ และการรับรู้บทบาทของแบรนด์ที่ต้องทำในสถานการณ์ COVID-19 นี้ ผ่านการสำรวจทางออนไลน์และรวบรวมผลจิวัยจากคนไทย 908 คน ในระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2563 และมีการทำ infographic เพื่อให้เนื้อหากระชับ เข้าใจง่ายต่อผู้อ่านทั่วไป

จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคไทยถึง 68% มีความวิตกกังวลอย่างมากต่อวิกฤตการระบาดของ Coronavirus แต่ในขณะเดียวกันก็มีการตระหนักถึงการป้องกัน และเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์

พร้อมกันนั้น ก็ยังมีความใจในยโยบายของภาครัฐเป็นอย่างดี โดยคนไทย 72% ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19 ส่วนรายการข่าวบนสื่อโทรทัศน์ (59%) และข่าวทางเว็ปไซต์ออนไลน์ต่างๆ (54%) เป็นสื่อที่ใช้หาข้อมูลรองลงมา

นอกจากนี้ ยังพบว่า 66% ของผู้บริโภคหันไปใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะในสื่อโซเชียลมีเดียและแอพพลิเคชั่นอื่นๆบนมือถือ

ในส่วนของแบรนด์และบริษัทต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวังจะเห็นการยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่เดือดร้อนและรวมถึงการนำนโยบายของภาครัฐไปปรับใช้ในองค์กรอีกด้วย

ทางด้านของการช่วยเหลือจากภาคเอกชนสู่กลุ่มผู้ป่วยหรือมีความเสี่ยงนั้น 55% ยังอยากให้บริษัทเอกชนช่วยเหลือเรื่องเงินบริจาค 54% ปฏิบัติตามข้อบังคับของทางรัฐบาล 52% บริจาคของใช้จำเป็น

รวมทั้งรับรู้ถึงแบรนด์ที่ช่วยเหลือประชาชนเป็นอย่างดีในรูปแบบต่างๆ ด้วย

from:https://www.thumbsup.in.th/mindshare-survey-worry-covid

เปิดพฤติกรรม “แม่” ในหัวเมืองรองของต่างจังหวัดที่นักการตลาดควรรู้ จาก Mindshare (1)

ในขณะที่ข้อมูลของผู้บริโภคกลุ่ม “แม่” (Mom) ในเขตเมืองนั้นมีอยู่ทั่วไป แถมแบ่งกลุ่มหลากหลาย แต่กรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ไม่ใช่ประเทศไทย และประชากรกลุ่ม “แม่” อีก 65% ในจังหวัดอื่น ๆ ก็มีความสำคัญ Mindshare เอเจนซีด้านการตลาดและการสื่อสารจึงได้มีการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มแม่ในสามจังหวัดหัวเมืองรอง ได้แก่ น่าน ชุมพร และบุรีรัมย์ ในชื่อ Mom Hunt 2016 และนำผลการศึกษามาแบ่งปันให้ได้ทราบกัน

คุณณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ Mindshare กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจวิถีชีวิต บทบาท และแรงจูงใจของคุณแม่ในหัวเมืองรองต่อการเลือกซื้อของอุปโภคบริโภคเข้าบ้าน เพื่อให้นักการตลาดนำไปปรับกลยุทธ์การขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเสริมด้วยการศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คุณแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 0 – 3 ปี, 3 – 6 ปี และ 6 – 12 ปี อาศัยในจังหวัดน่าน บุรีรัมย์ และชุมพร และเป็นครอบครัวฐานะปานกลาง เป็นเวลา 90 ชั่วโมง เพื่อทำความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • แรงจูงใจต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทตามไลฟ์สไตล์ครอบครัว
  • การเฝ้าสังเกตการเสพสื่อของครอบครัว
  • การร่วมสังเกตพฤติกรรมการเลือกซื้อของเข้าบ้าน

โดยสิ่งที่พบได้มากที่สุดคือคุณแม่ในหัวเมืองรองนั้นให้ความสำคัญกับการปรับหลักการเลี้ยงลูกจากรุ่นสู่รุ่น และเปิดรับการเลี้ยงดูแนวใหม่จากสื่ออินเทอร์เน็ตให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของตนเอง นอกจากนี้ แม่ในต่างจังหวัดยังเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และเลือกเสพสื่อตามที่ตนเองสนใจ รวมถึงเปิดรับข้อมูลจากชุมชนผ่านทาง Facebook ด้วย

“การทำวิจัยครั้งนี้เราเจาะจงศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เรียกตัวเองว่าแม่ เนื่องจากเป็นผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนและแตกต่างอย่างมีจุดร่วม แม่ในปัจจุบันไม่เพียงแต่มีบทบาทหลักในการเลี้ยงลูก แต่ยังจัดการดูแลสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน และยังเป็นบุคคลสำคัญในการตัดสินใจซื้อของเข้าบ้านอีกด้วย” คุณณัฐากล่าว

โดยการศึกษาของ Mindshare พบมิติของความเป็นแม่ในหัวเมืองรอง ดังต่อไปนี้

1.ความสุขของแม่ในหัวเมืองรองนั้น “เรียบง่าย”

Mindshare พบว่า ความสุขของแม่ที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรองนั้นเรียบง่าย ขอแค่ลูกมีความสุข แม่ก็มีความสุขแล้ว นอกจากนี้ การได้อยู่ท่ามกลางครอบครัวที่ใกล้ชิดก็เป็นความสุขของแม่กลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งรูปแบบอาจเป็นการตื่นเช้าไปตลาด ได้พบปะทักทายกับเพื่อนบ้านหรือคนรู้จักในตลาด การเข้าร่วมงานเทศกาลที่จัดขึ้นในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่งความสุขของลูกนั้นอาจเป็นการไปรับประทานอาหารอาหารฟาสต์ฟู้ดด้วยกันในโอกาสพิเศษ หรือการได้มีของเล่นที่หาซื้อไม่ได้จากในท้องถิ่นนั้น ๆ อีกประการหนึ่งที่ Mindshare พบก็คือ แม่กลุ่มนี้มองว่าเงินคือใบเบิกทางสู่ความสุข และให้ความสนใจกับการซื้อสลากกินแบ่ง

2. แม่ในหัวเมืองรองนั้นทุ่มเทเพื่อลูกไม่แพ้ใคร

Mindshare พบว่า แม่ในหัวเมืองรองนั้นสามารถทุ่มเททำสิ่งต่าง ๆ เพื่อลูกได้ไม่แพ้ใคร ในจุดนี้คุณณัฐาเล่าว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ได้พบเห็นคุณแม่หลายบ้านที่เสื้อผ้าของตัวเองนั้นใส่อะไรก็ได้ เก็บตรงไหนก็ได้ แต่กับของลูกนั้น หลายคนได้จัดตู้เสื้อผ้าให้ลูกเป็นการเฉพาะ โดยให้เหตุผลว่าจำมาจากในทีวี และคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อลูก

นอกจากนั้นยังพบว่าบางบ้านมีการจัดโซนห้องของเล่นของลูกเป็นพิเศษ และเมื่อมีเด็ก ๆ ในละแวกบ้านให้ความสนใจมาขอเล่นกับลูกของเธอ ก็ทำให้แม่กลุ่มนี้รู้สึกพอใจที่ลูกของตนเองโดดเด่นกว่าเด็กคนอื่นในชุมชนด้วย

ในด้านการเลี้ยงลูกนั้น Mindshare พบว่า Influencer, เซเลบ หรือกุมารแพทย์นั้นอาจมีอิทธิพลไม่เท่าคนรอบตัวของพวกเธอเอง เช่น แม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะแม่ของตัวเอง เนื่องจากแม่ในหัวเมืองรองจะมองว่า แม่ของตัวเองนั้นเลี้ยงพวกเธอมา ขณะที่เซเลบหรือกุมารแพทย์มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกว่ามาก ดังนั้น Words of mom จึงมีผลต่อการตัดสินใจของแม่ในหัวเมืองรองได้มากกว่า

อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ การใช้เซเลบก็ได้ผลดี ยกตัวอย่างเช่น ปอ-ทฤษฎี ที่มีอิทธิพลต่อคนบุรีรัมย์ เป็นต้น

ติดตามตอน 2 ได้เร็ว ๆ นี้ค่ะ

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/05/mindshare-local-mom-behavior-part-1/

คนดิจิทัลแนะวิธีรับมือ “ทัวร์ 18 มงกุฎ” มุมมืดของ Social Media ที่ผู้บริโภค – แบรนด์ต้องรู้เท่าทัน

 

จากกรณี “ซินแสลวงโลก” ที่กลายเป็นเหตุการณ์ต้มตุ๋นระดับชาติจนมีผู้เสียหายถูกหลอกให้ไปรวมตัวกันที่สนามบินสุวรรณภูมินับพันคนและถูกปล่อยเกาะอย่างไร้เยื่อใยนั้น บนโลกออนไลน์ก็มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเกาะกระแสนี้กันอย่างเหนียวแน่นผ่านแพลตฟอร์ม Social Media ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงคืนที่ 11 เมษายนต่อเนื่องจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งในฝั่งของผู้บริโภคแล้ว ทั้งสองเหตุการณ์นี้กำลังสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยข้อหนึ่งในเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านการรู้เท่าทันในการใช้สื่อ Social Media ที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ในฝั่งของภาคธุรกิจนั้น เราก็ต้องยอมรับว่ามีการดึงแบรนด์ยักษ์ใหญ่หลายแบรนด์เข้ามาพัวพันเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการต้มตุ๋นครั้งนี้อย่างแนบเนียน

โดยสิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับกันก็คือ เราอยู่ในยุคที่ผลสำรวจต่างชี้ว่าการเติบโตของประชากรอินเทอร์เน็ตคือสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องให้ความสนใจ เช่นที่ Hootsuite ระบุว่า ปัจจุบัน ประชากรอินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีสูงถึง 3.7 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกทั้งหมด (เติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2016) ขณะที่ผู้ใช้งาน Social Media นั้นก็สูงถึง 2.7 พันล้านคน (เติบโตขึ้น 21% จากปี 2016) โดยในจำนวนนี้เข้าถึง Social Media เป็นประจำทุกวันผ่านสมาร์ทโฟนมากถึง 2.5 พันล้านคน

สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทยนั้น Hootsuite ก็ได้มีการเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตออกมาเช่นกัน โดยระบุว่า จากประชากร 68.2 ล้านคนของไทยนั้นมีถึง 46 ล้านคนที่เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือคิดเป็น 67% ของจำนวนประชากร แถมทั้ง 46 ล้านคนนี้มีการใช้งาน Social Media เป็นประจำทุกวันด้วย โดยเป็นการเล่นผ่านอุปกรณ์โมบายล์ถึง 42 ล้านคน ส่วนแพลตฟอร์ม Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงสุดหนีไม่พ้น Facebook (65%), YouTube(64%) และ Line (59%)

อย่างไรก็ดี จากความเสียหายกรณีซินแสโชกุนที่เกิดขึ้นโดยอาศัย Social Media เป็นเครื่องมือนั้นก็แสดงให้เห็นเช่นกันว่า แม้ Social Media จะสามารถเข้าถึงคนหมู่มากของประเทศได้ แต่ความรู้เท่าทันสื่อ Social Media ของคนในประเทศนี้ยังมีไม่เพียงพอ

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยถึงปัญหาการถูกต้มตุ๋นผ่าน Social Media ว่า คนมีแนวโน้มเชื่อข้อมูลใน Line เพราะมาจากเพื่อนหรือญาติ

“คนไทยยังขาดความรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล จึงถูกหลอกให้เชื่อผ่านทางคนรู้จักได้ง่าย และให้ถือกรณีนี้เป็นบทเรียนว่าอย่าเชื่อทุกอย่างบนโลก Social Media ควรมีสติ และตรวจเช็คให้มั่นใจก่อน”

พร้อมกันนี้ ดร.มานะยังชี้ด้วยว่า ในอนาคตอาจมีการฉ้อโกงผ่าน Social Network มากขึ้นกว่านี้ เนื่องจากคนเสพ Social กันมาก และมีความไว้ใจข้อมูลใน Social กันเยอะขึ้นนั่นเอง

ด้านคุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ซีอีโอ Pantip.com ในฐานะเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มแรก ๆ ของโลก Social Media ที่มีการนำเสนอข้อมูลความไม่ชอบมาพากลของธุรกิจขายอาหารเสริม – แพกเกจท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของซินแสลวงโลกนี้  ก็ได้ให้ทัศนะว่า

“กรณีทัวร์โชกุนนั้น จุดเด่นของแพลตฟอร์ม Pantip คือมีสมาชิกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแวดวงต่าง ๆ เยอะมาก  เรามีสมาชิกที่มีความรู้เรื่องการบิน การท่องเที่ยวญี่ปุ่น และธุรกิจ MLM เข้ามาช่วยกันวิเคราะห์ว่าโปรโมชันทัวร์โชกุนมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกัน คือเป็นไปได้ยากที่จะมีทริปแบบนี้เกิดขึ้นได้จริง”

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ในกระทู้ที่ผู้ใช้งานเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของทัวร์ดังกล่าวจะได้ความสนใจจากสมาชิก Pantip.com จำนวนมาก ทั้งมีการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง แต่เหตุการณ์ในวันที่ 11 เมษายนก็ยังร้ายแรง ในจุดนี้คุณอภิศิลป์ให้ความเห็นไม่ต่างจาก ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ว่า เป็นเพราะผู้เสียหายส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นที่มาของภาพคนนับพันที่ถูกทิ้งให้เคว้งคว้างกลางสนามบินสุวรรณภูมิจนกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญเตือนแบรนด์เฝ้าระวังถูกอ้างอิงหาประโยชน์

นอกจากในมุมของผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ต้มตุ๋นดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ในฟากของแบรนด์เองก็มีหลายองค์กรที่ถูกดึงเข้ามาเพื่อใช้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับการหลอกลวงด้วยเช่นกัน ซึ่งในจุดนี้ คุณชลฤทัย ทวิธารานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ดิจิทัล ของ MindShare Thailand ได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า 

“สำหรับกรณีการใช้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาใช้ในการอ้างอิงในเชิงการตลาด หรือที่เราเรียกว่า brand endorsement นั้น มีการใช้กันมานาน ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้าให้มาสนใจในตัวสินค้าและบริการ และสร้างความน่าเชื่อถือได้”

“แต่เมื่อมาถึงยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง การที่แบรนด์ยอดนิยมหรือเครื่องหมายทางการค้าที่ดูมีมูลค่าถูกดึงนำมาใช้ในการสร้างความน่าเชื่อถือนั้นยิ่งทำได้ง่ายขึ้นไปอีก ทั้งมาด้วยวิธีการถูกต้องและไม่ถูกต้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะตัวแบรนด์ที่ถูกนำไปใช้อ้างอิง ไม่สามารถเข้ามาดูแลและจัดการได้ทั่วถึง ยิ่งเป็นสินค้าและบริการที่เกิดใหม่ ต้นทุนต่ำ ต้องการดึงดูดความสนใจจากลูกค้าโดยการโน้มน้าวและปิดการขายให้เร็วที่สุด การใช้แบรนด์ดังมาอ้างอิงก็ถูกนำมาใช้เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้น”

ในจุดนี้คุณชลฤทัยชี้ว่า ในโลก Social Media จะเห็นการทำธุรกิจในลักษณะนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและพบได้บ่อยมาก การอ้างแบรนด์หรือผู้มีชื่อเสียงนั้นง่ายและไม่มีต้นทุน นอกจากนี้หากมีการอ้างอิงในวงที่จำกัดหรือวงปิดแล้ว แบรนด์ก็ยากที่จะรับรู้ได้

อย่างไรก็ดี คุณชลฤทัยแนะนำว่า หากแบรนด์เคยมีประสบการณ์ในการจัดการปัญหาในลักษณะนี้แล้ว ก็สามารถเพิ่มการทำ social listening มาสังเกตุการณ์ว่าแบรนด์เราถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดียและเว็บบอร์ดต่าง ๆ อย่างไร จะได้เข้าไปจัดการได้อย่างทันท่วงทีเพื่อจำกัดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ ส่วนแบรนด์ที่ยังไม่มี social listening อาจเริ่มประเมินว่าเคยเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้บ่อยครั้งหรือไม่ และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการโฆษณาชวนเชื่อประเภทใด เพื่อจำกัดขอบเขตการสังเกตการณ์ให้นักการตลาด monitor ต่อไปได้นั่นเอง

สำหรับแบรนด์ใดที่กำลังมองหาวิธีป้องกันเพิ่มเติมนั้น คุณชลฤทัยแนะนำว่า “ในส่วนการป้องกันคงจะเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องเตรียมข้อมูลสื่อสารกับลูกค้า และสร้างความประทับใจในการตอบข้อซักถามเมื่อมีการติดต่อเข้ามาทางแบรนด์อย่างรวดเร็วค่ะ ช่องทางการพูดคุยและติดต่อกับลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ หากลูกค้ารู้สึกว่าสามารถติดต่อกับแบรนด์ได้เสมอ แบรนด์เองก็จะได้ประโยชน์จากข้อมูลที่ลูกค้าให้ เพื่อใช้จัดการปัญหาก่อนที่จะขยายต่อค่ะ” 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/04/how-to-deal-with-social-fraud-by-3-digital-experts/