คลังเก็บป้ายกำกับ: MAINFRAME

IBM ยกระดับฟังก์ชั่นเข้ารหัสควอนตัมสำหรับเมนเฟรม z16

แม้หลายคนมองว่าน่าจะอีกหลายปีถึงจะได้เห็น แต่ล่าสุด IBM ก็ได้เพิ่มระบบป้องกันการโจมตีด้านควอนตัมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเข้ามาแล้ว ด้วยเมนเฟรมตัวใหม่ z16 ที่มีการพัฒนาให้รับมือกับอันตรายที่เกี่ยวกับควอนตัมโดยเฉพาะ โดยรองรับอแดปเตอร์ Crypto Express8S เพื่อใช้ API ที่ Quantum-Safe

องค์กรต่างๆ สามารถใช้พัฒนาการเข้ารหัสที่ปลอดภัยสำหรับระบบควอนตัมร่วมกับการเข้ารหัสแบบปกติในปัจจุบัน รวมทั้งยกระดับแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ หรือสร้างแอพพลิเคชั่นแบบใหม่ได้เลย IBM ยังเพิ่มอัลกอริทึมจากทาง U.S. National Institute of Standards and Technology (NIST) ถึง 4 ตัวด้วย

อัลกอริทึมที่ถูกคัดเลือกในเดือนนี้จะนำมาสร้างมาตรฐานเข้ารหัสหลังควอนตัมหรือ PQC ที่สร้างขึ้นบนอัลกอริทึมเข้ารหัสที่ป้องกันการโจมตีมายังหน่วยประมวลผลควอนตัมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังแพลนที่จะเพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาในมาตรฐานนี้อีกเรื่อยๆ

IBM เองตั้งใจกับการพัฒนาอัลกอริทึมเหล่านี้มาก โดยเป็นผู้ร่วมสร้างเทคโนโลยีเหล่านี้ถึง 3 ใน 4 รายการ ซึ่งอัลกอริทึมของ NIST นี้ออกแบบเพื่อใช้เข้าเฟรมข้อมูลพับลิกคีย์ที่ใช้ทั้งการสร้างและการเข้ารหัสคีย์ และลายเซ็นดิจิตอลที่ใช้ยืนยันตัวตน และป้องกันการดูดและส่งต่อข้อมูลซ้ำใหม่

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Networkworld

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-bolsters-quantum-cryptography-for-z16-mainframe/

IBM เปิดบริการแอพแบบไฮบริดคลาวด์บนเมนเฟรม z/OS

IBM เปิดตัวบริการใหม่แก่ลูกค้าเมนเฟรมของตัวเอง สำหรับสร้างระบบบนคลาวด์ในการพัฒนาและทดสอบแอพโดยเฉพาะ ในชื่อ Wazi as a Service ที่เปิดให้สร้างอินสแตนช์ที่เป็นระบบบน z/OS สำหรับทดสอบแอพ z/OS ได้

โดยอยู่ในรูปแซนด์บ็อกซ์แบบคอนเทนเนอร์ที่เวอร์ช่วลไลซ์ขึ้นมา ทำงานบนระบบ Red Hat OpenShift ที่อยู่บนฮาร์ตแวร์ x86 อีกที บริการนี้ยังเปิดให้เข้าถึงระบบ z/OS และผสานการทำงานเข้ากับแพลตฟอร์มจัดการซอร์สโค้ดอย่าง GitHub และ GitLab ได้ด้วย

เพียงแต่บริการ Wazi as a Service นี้ไม่สามารถใช้รีแฟคเตอร์หรือปรับแต่งแก้ไขแอพพลิเคชั่นบน z/OS ที่มีอยู่เดิมเพื่อเปลี่ยนแพลตฟอร์ม และไม่สามารถใช้กับโหลดงานโปรดักชั่นหลัก บริการนี้รองรับการจัดสรรระบบ z/OS ด้วยตนเองใน IBM Cloud Virtual Private Cloud (VPC)

บริการนี้ยังเปิดให้จัดการทรัพยากรประมวลผล, สตอเรจ, และเน็ตเวิร์กต่างๆ ได้ Alan Peacock ผู้จัดการทั่วไปด้านปฏิบัติการและลริการคลาวด์ของ IBM กล่าวว่า “บริการนี้สามารถสร้างระบบ z/OS ออกมาได้ในเวลาไม่ถึง 6 นาที”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Networkworld

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-mainframe-z-os/

IBM z16 เมนเฟรมสำหรับ AI, ไฮบริดคลาวด์, งานด้านความปลอดภัย, และโอเพ่นซอร์ส

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ได้เปิดตัวเมนเฟรมใหม่ล่าสุด z16 ที่โฆษณาว่าตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้ทั้งงาน AI, ด้านความปลอดภัย, การทำไฮบริดคลาวด์, และโอเพ่นซอร์ส ทรงพลัง อุดมด้วยฟีเจอร์มากมายเพื่อรองรับอนาคต

ทำงานบนคอร์ชิป Telum ที่ทำดีฟเลิร์นนิ่งได้มากถึง 3 แสนล้านอินเฟอร์เรนซ์ต่อวัน มีเวลาหน่วงเพียงแค่หนึ่งมิลลิวินาทีเท่านั้น มาพร้อมกับระบบที่ IBM เรียกว่า Quantum-Safe เพื่อปกป้ององค์กรจากการโจมตีระดับควอนตัม

ชิปดูอัลของ IBM Telum นี้มี 16 คอร์ ทำงานที่ความเร็ว 5.2 GHz มาพร้อมกับคอร์ที่ปรับแต่งได้สูงสุดถึง 200 คอร์ในรุ่นเดี่ยวอย่าง Model A01 และมีแอเรย์หน่วยความจำอิสระ (RAIM) สำรองมากถึง 40TB ต่อระบบ

คาดว่าจะออกมาสู่ตลาดให้จับจองกันในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ แม้จะดูทรงพลัง แต่ IBM ก็เน้นว่าพัฒนาออกมาเพื่อตอบโจทย์การประมวลผลแบบไฮบริดจ์ และระบบองค์กรที่เป็นโอเพ่นซอร์สด้วย โดยเฉพาะการใช้รันแอพ AI

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Networkworld

//////////////////

สมัครสมาชิก Enterprise ITPro เพื่อรับข่าวสารด้านไอที

form#sib_signup_form_4 {
padding: 5px;
-moz-box-sizing:border-box;
-webkit-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 input[type=text],form#sib_signup_form_4 input[type=email], form#sib_signup_form_4 select {
width: 100%;
border: 1px solid #bbb;
height: auto;
margin: 5px 0 0 0;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn {
margin: 5px 0;
padding: 6px 12px;
color:#fff;
background-color: #333;
border-color: #2E2E2E;
font-size: 14px;
font-weight:400;
line-height: 1.4285;
text-align: center;
cursor: pointer;
vertical-align: middle;
-webkit-user-select:none;
-moz-user-select:none;
-ms-user-select:none;
user-select:none;
white-space: normal;
border:1px solid transparent;
border-radius: 3px;
}
form#sib_signup_form_4 .sib-default-btn:hover {
background-color: #444;
}
form#sib_signup_form_4 p{
margin: 10px 0 0 0;
}form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message {
padding: 6px 12px;
margin-bottom: 20px;
border: 1px solid transparent;
border-radius: 4px;
-webkit-box-sizing: border-box;
-moz-box-sizing: border-box;
box-sizing: border-box;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-error {
background-color: #f2dede;
border-color: #ebccd1;
color: #a94442;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-success {
background-color: #dff0d8;
border-color: #d6e9c6;
color: #3c763d;
}
form#sib_signup_form_4 p.sib-alert-message-warning {
background-color: #fcf8e3;
border-color: #faebcc;
color: #8a6d3b;
}

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-z16-a-mainframe-designed-for-ai/

IBM เปิดตัวเมนเฟรม z16 ใช้ซีพียูใหม่ Telum ชูจุดเด่นเรื่อง AI และการเข้ารหัสความปลอดภัย

IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมรุ่นใหม่ (ที่น่าจะเหลือทำอยู่บริษัทเดียวแล้ว) คือ IBM z16 ที่ต่อยอดมาจาก z15 ในปี 2019

จุดเด่นของ IBM z16 คือซีพียูใหม่ Telum ที่เปิดตัวมาก่อนเมื่อปีที่แล้ว มีจุดเด่นด้านการประมวลผล AI รองรับได้ 3 แสนล้าน inference ต่อวัน ซึ่ง IBM ยกตัวอย่างว่าสามารถนำไปใช้ในภาคการเงิน เพื่อป้องกันธุรกรรมที่ผิดปกติ (fraud) ได้ในขนาดที่เยอะกว่าเดิมมาก

ฟีเจอร์เด่นอีกอย่างคือ ระบบการเข้ารหัสความปลอดภัย lattice-based cryptography ที่ IBM บอกว่าคิดมาเพื่ออนาคต และสามารถป้องกันการถอดรหัสด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ (quantum-safe cryptography)

IBM z16 จะเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าในวันที่ 31 พฤษภาคม 2022

No Description

ที่มา – IBM

from:https://www.blognone.com/node/127960

ปิดตำนาน SPARC – Fujitsu หยุดขายเซิร์ฟเวอร์ SPARC ปี 2029, หยุดขายเมนเฟรมปี 2030

Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC

  • เมนเฟรม Fujitsu จะออกเมนเฟรมซีรีส์ GS21 รุ่นสุดท้ายในปี 2024, หยุดขายในปี 2030, หยุดซัพพอร์ตในปี 2035
  • เซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ Fujitsu จะออกเซิร์ฟเวอร์ SPARC M12 รุ่นปรับปรุงเพิ่มเติมในช่วงปลายปี 2022, หยุดขายในปี 2029, หยุดซัพพอร์ตในปี 2034

Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ

ประกาศของ Fujitsu ถือเป็นจุดสิ้นสุดของเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC ของ Sun เดิม โดยก่อนหน้านี้ Oracle (ที่ซื้อ Sun) ออกเซิร์ฟเวอร์ SPARC M8 รุ่นสุดท้ายในปี 2017 ทำให้เหลือ Fujitsu เพียงบริษัทเดียวที่ยังขาย SPARC อยู่

หน้าตาของเมนเฟรม Fujitsu GS21

No Description

คลิปแนะนำผลิตภัณฑ์ Fujitsu SPARC M12

Roadmap ผลิตภัณฑ์ของ Fujitsu

No Description

No Description

ที่มา – Fujitsu via The Register

from:https://www.blognone.com/node/127367

IBM เตรียมเปิดให้เช่าเครื่องเมนเฟรม z/OS ผ่านคลาวด์

คอมพิวเตอร์เมนเฟรมกับคลาวด์อาจเป็นเทคโนโลยีคนละยุค ที่ฟังชื่อแล้วดูห่างไกลกันมาก แต่ถ้ามีหน่วยงานที่ต้องการเช่าเครื่องเมนเฟรมผ่านคลาวด์ ตอนนี้ IBM เปิดให้ทำได้แล้ว

IBM ถือเป็นผู้ขายเมนเฟรมรายใหญ่ของโลก เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ z/OS ของตัวเอง ประกาศทำ Wazi as a Service (Wazi aaS) เปิดให้เช่าเครื่อง z/OS แบบออนดีมานด์ผ่านคลาวด์ IBM Cloud VPC โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2022

กลุ่มเป้าหมายของบริการ IBM Wazi aaS คือลูกค้าองค์กรที่มีเครื่องเมนเฟรม Z ของ IBM อยู่แล้ว แต่ต้องการหาเครื่องมาทดสอบการพัฒนาแอพเพิ่มเติม โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ให้เปลืองงบประมาณ

No Description

หน้าตาของเมนเฟรม IBM Z ในปัจจุบัน (ภาพจาก IBM)

ที่มา – IBM via The Register

from:https://www.blognone.com/node/127234

IBM เปิดตัวซีพียูใหม่ Telum ใช้กับเมนเฟรม Z รุ่นถัดไป มีหน่วยประมวลผล AI ในตัว

IBM เปิดตัวหน่วยประมวลผลใหม่ Telum ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลรุ่นแรกของ IBM ที่มีชิปเร่งความเร็วประมวลผล AI ที่พัฒนาเองโดย IBM Research ใช้เวลาพัฒนามานาน 3 ปี

Telum จะถูกนำมาใช้ในเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรมตระกูล IBM Z และ LinuxONE รุ่นถัดไป แทนชิป z15 ตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

สเปกทางเทคนิคของ IBM Telum เท่าที่เปิดเผยคือ

  • มีจำนวนซีพียูหลัก 8 คอร์ ทำงานที่ความถี่เกิน 5GHz ประมวลผลงานทั่วไป
  • แคช L2 ขนาด 32MB ต่อคอร์ ต่อกันผ่านบัสพิเศษเพื่อให้ “เสมือนเป็น” หน่วยความจำผืนเดียวกัน (L3 ขนาด 256MB)
  • มีตัวเร่งความเร็ว AI ที่ทำงานอยู่บนหน่วยความจำ 256MB นี้ ยังไม่เปิดเผยข้อมูลละเอียด แต่บอกว่าชิปมีสมรรถนะ AI 6 TFLOPs ต่อชิป
  • มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย Secure Execution สำหรับรันงานที่เข้ารหัส

Telum จะใช้โรงงานผลิตของซัมซุงขนาด 7nm EUV และนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์จริงๆ ช่วงครึ่งแรกของปี 2022

ที่มา – IBM

from:https://www.blognone.com/node/124373

IBM Z เมนเฟรมที่รองรับธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงระบบ core banking และ mission-critical ให้กับ SCB มายาวนานกว่า 20 ปี

“เวลาที่ลูกค้าถอนเงิน ชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิต หรือทำธุรกรรมผ่านบริการธนาคารทางมือถือ มีน้อยคนที่จะทราบว่าเบื้องหลังคือเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน… IBM Z เมนเฟรม คือแพลตฟอร์มที่รันแอพ core banking และ mission-critical ให้กับ SCB มายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว” คุณตรัยรัตน์ สุวรรณประทีป รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Technology ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

วันนี้ IBM Z ช่วยให้ธนาคารสามารถส่งมอบประสบการณ์และการบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าและองค์กร ธุรกิจหลายล้านรายได้ทุกวันตลอด 24 ชม ผ่านช่องทางดิจิทัลและโมบายแบงค์กิ้ง พร้อมด้วยนวัตกรรม Tailored Fit Pricing ที่ช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับเวิร์คโหลดที่มักจะพุ่งสูงในช่วงปลายเดือนและช่วงวันหยุดที่มีการช็อปปิ้งออนไลน์กันมาก โดยคาดว่าธนาคารจะสามารถลดค่าไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ลงได้ถึง 14% ในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สามารถลดได้ในเรื่องของการบริหารจัดการระบบอีกด้วย

ปัจจุบัน ฐานลูกค้าออนไลน์และโมบายล์แบงค์กิ้งของ SCB เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่ข้อมูลระบุตัวตน ข้อมูลการใช้งาน และความเป็นส่วนตัวของลูกค้าหลายล้านคนเหล่านี้ยังคงได้รับการปกป้องด้วยระบบการเข้ารหัสของ IBM Z ทุกที่ทุกเวลา พร้อมด้วยขีดความสามารถในการเรียกคืนข้อมูลได้ทันที

ศักยภาพในการทำงานได้อย่างต่อเนื่องของแพลตฟอร์ม IBM Z ช่วยให้ SCB สามารถหันมามุ่งเน้นที่พันธกิจและการทรานส์ฟอร์มเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรม และเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวนำในยุคของข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ โดยปล่อยให้เรื่องความปลอดภัยขั้นสูงสุด ประสิทธิภาพ และศักยภาพในการทำงานได้อย่างต่อเนื่องของระบบ เป็นหน้าที่ของแพลตฟอร์ม IBM Z

วันนี้ 80% ของข้อมูลองค์กรในโลกได้รับการจัดเก็บหรือมีที่มาจากเมนเฟรม และเกือบ 100% ของธุรกรรมบัตรเครดิตทั้งหมดยังใช้ระบบเมนเฟรมของไอบีเอ็ม

“โดยวิสัยทัศน์ของธนาคารเอง เราต้องการจะเป็นธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุดหรือ The Most Admired Bank และไอบีเอ็มเมนเฟรมก็ช่วยให้เราสร้างความแตกต่างข้อนี้ได้” คุณตรัยรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-z-mainframe-supports-scb-core-banking-and-mission-critical-applications/

BMC ซื้อกิจการซอฟต์แวร์เมนเฟรมคู่แข่ง Compuware

BMC บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าองค์กร ประกาศเข้าซื้อกิจการ Compuware ผู้พัฒนาโซลูชันซอฟต์แวร์บนเมนเฟรม โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีล

การควบรวมกิจการของสองบริษัทนี้ BMC ระบุว่าจะทำให้บริษัทมีชุดเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าองค์กรในการเปลี่ยนผ่านไปสูง DevOps ที่ครบถ้วนมากขึ้น ทั้งการจัดการเมนเฟรม, ความปลอดภัยไซเบอร์, การพัฒนาแอพพลิเคชั่น, การจัดการข้อมูล และการจัดการสตอเรจ

ที่น่าสนใจคือทั้ง BMC และ Compuware เป็นสองบริษัทซอฟต์แวร์บนเมนเฟรมที่เป็นคู่แข่งมานาน ซึ่งก็มาควบรวมกิจการกันในที่สุด

ที่มา: BMC และ ZDNet

alt="BMC acquires Compuware"

from:https://www.blognone.com/node/114970

Google เข้าซื้อกิจการ Conerstone ผู้เชี่ยวชาญด้านการ Migrate ระบบเมนเฟรม

Google ได้ยกระดับความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อย้าย Workload จากระบบเมนเฟรมสู่ Cloud ไปอีกขั้นด้วยการเข้าซื้อกิจการของ Conerstone

Credit: ShutterStock.com

Conerstone เป็นบริษัทสัญชาติเนเธอแลนด์ที่ให้บริการช่วยลูกค้าย้าย Legacy Workload สู่ Public Cloud โดยทีมงานใหม่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโซลูชัน mainframe-to-GCP ทั้งนี้ทาง Google เองเล็งเห็นแล้วว่ายังมีองค์กรจำนวนมากที่ยังใช้งานแอปพลิเคชันสำคัญบนเมนเฟรมอยู่ ซึ่งได้สอดคล้องกับที่ก่อนหน้าที่มีการเปิดตัวเมนเฟรม IBM Power Systems ใน Cloud ของตนด้วย

โดยเทคโนโลยีจาก Conerstone จะช่วยจัดการโปรเซสของ Workload แบบเก่าออกเป็นบริการแบบ Cloud-native โดยอัตโนมัติให้สามารถบริหารจัดการได้ในสภาพแวดล้อมแบบ Containerized นอกจากนี้ยังสามารถ Migrate ฐานข้อมูลได้ด้วย

ที่มา :  https://techcrunch.com/2020/02/19/google-cloud-acquires-mainframe-migration-service-cornerstone/

from:https://www.techtalkthai.com/google-cloud-to-acquire-conerstone-mainframe-migration-consultant/