คลังเก็บป้ายกำกับ: EASY

ไอเดียดี ไทยพาณิชย์ชวนส่งอั่งเปาดิจิทัลเลขสวย เพิ่มความเฮงตรุษจีน

เป็นแคมเปญรับตรุษจีนที่น่าสนใจทีเดียวกับการเปิดคุณสมบัติใหม่ SCB Easy Gifts ให้ผู้ใช้งานส่งอั่งเปาดิจิทัลในแบบที่เงินสดไม่สามารถทำได้ โดยมาพร้อม Gimmick ชุดตัวเลขมงคลที่เป็นจุดทศนิยม ความหมายดี เสริมโชครอบด้าน 

เรียกว่าเป็นแคมเปญที่น่าจะโดนใจผู้ใช้งานไทยได้ไม่น้อย กับตัวเลขมงคลที่ไทยพาณิชย์เตรียมมา ไม่ว่าจะเป็น 545.45 บาท มีปัญญา เจริญรุ่งเรือง, 565.65 ให้โชคลาภ ร้วยรวย, 595.95 บาท ให้แข็งแรง สุขภาพดี, 999.99 ชีวิตก้าวหน้า บารมีเยอะ, 2424 บาท ให้ค้าขายคล่องๆ ฯลฯ

คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า “หลังจากที่ธนาคารเปิดตัวแอปพลิเคชัน SCB EASY โฉมใหม่ไปเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2560 ที่ผ่านมา ทำให้มีลูกค้าดาวน์โหลดใช้แอปพลิเคชัน SCB EASY เพิ่มเป็น 6 ล้านราย ด้วยยอดผู้ใช้งานที่ Active กว่า 70%”

สำหรับคุณสมบัติใหม่ “SCB EASY Gifts” เป็น Seasonal Marketing ที่ดึงมาจากวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่นิยมส่งความสุขด้วยอั่งเปากัน เมื่อรวมกับการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประเทศไทย ธนาคารจึงได้คิด Gimmick อั่งเปาจิทัลแบบที่เงินสดไม่สามารถทำได้ ด้วยชุดตัวเลขมงคลที่เป็นจุดทศนิยม ความหมายดี เล่นกับ insight ผู้บริโภคที่มีความเชื่อในตัวเลข และเชื่อว่าการได้รับเลขมงคลจะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีแต่ความสุขรับปีใหม่จีน คาดจะมียอดผู้ใช้งานผ่านฟีเจอร์ใหม่นี้ได้กว่าแสนคน และไทยพาณิชย์บอกว่ามั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน SCB EASY ทะลุ 10 ล้านราย ภายในสิ้นปี 2561 ได้อย่างแน่นอนด้วย

งานนี้เรียกได้ว่ามีการเกทับคู่แข่งนะฮะ 🙂

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/02/scb-chineses-new-year-hungpao-digital/

เปิด 6 มุมมองผู้บริโภคต่อ “Voice Assistant” ง่าย รวดเร็ว ทันใจ จริงหรือ?

คุณปรัชวัน เกตวัลห์ Director of Planning บริษัท เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทย

เมื่อใกล้สิ้นปี สิ่งหนึ่งที่ทุกธุรกิจให้ความสนใจหนีไม่พ้นเรื่องของ “เทรนด์” ว่าจะมีเทรนด์ใดโดนใจผู้บริโภคในปีหน้ากันบ้าง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราอาจได้เห็นการแนวโน้มของเทรนด์ที่ถูกจับตามองกันมาบ้าง เช่น เรื่องของ AR/VR/MR ที่เริ่มมีการใช้ในวงกว้างมากขึ้น (เทศกาล 11.11 ที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างได้ดี) หรือเทรนด์ด้าน QR Code ที่นักการตลาดสามารถนำมาเล่นได้อีกมาก แต่ในมุมของสามบริษัทยักษ์ใหญ่ J.Walter Thompson Intelligence – Kantar – Mindshare นั้นต่างออกไป เพราะได้มีการเปิดเผยรายงานเรื่อง “Speak Easy” ที่ระบุว่า เทรนด์ของการ “สั่งการด้วยเสียง” ก็มีแนวโน้มที่น่าจับตา และอาจกลายเป็นอินเทอร์เฟสใหม่ของแบรนด์ในปี 2018 ได้เช่นกัน

โดยรายงานเรื่อง “Speak Easy” ที่ทั้งสามบริษัททำการสำรวจร่วมกันนี้เผยให้เห็นถึงแนวโน้มว่าผู้บริโภคในเอเชียกำลังจะกลายเป็นทัพหน้าของการเปิดรับเทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียง เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะผลการวิจัยพบว่า ในมุมของผู้บริโภคนั้น การสั่งการด้วยเสียงมีความสะดวกสบายมากกว่าการพิมพ์ค่อนข้างมาก และยังแตกต่างจากเทคโนโลยี AR/VR/MR ที่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติมจึงจะสัมผัสประสบการณ์เหล่านั้นได้

อีกหนึ่งเหตุผลที่น่าสนใจคือการมาถึงของ Amazon ที่มาปักหลักแล้วในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Amazon จะต้องแผ่มาถึงไทยด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย

ทั้งนี้ จากรายงานเรื่อง Speak Easy นั้นพบว่า เทคโนโลยีการสั่งการด้วยเสียงจะก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ใน 6 ด้าน ได้แก่

ด้านการใช้ชีวิตของผู้บริโภค

รายงาน Speak Easy พบว่าคนไทยสนใจ Voice Technology เพราะมองว่าจะทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น (59%) ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ (48%) ช่วยให้ทำงานแบบ Multi-tasking ได้มากขึ้น ไม่ต้องจดจ่ออยู่กับหน้าจออีกต่อไป (28%)

ส่วนคำถามที่ว่าเวลาใดที่ต้องการให้ Voice Assistant ปรากฏตัวขึ้นมาช่วยมากที่สุด คำตอบของผู้บริโภคไทยตอบว่า เวลาขับรถสูงถึง 41% เลยทีเดียว และที่น่าสนใจคือ มีถึง 40% ที่รู้สึกว่าเทคโนโลยีนี้ ใช้แล้วมีผลต่อภาพลักษณ์คือทำให้ “เท่” ด้วย (ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้แล้ว จะพบว่าตัวเลขนี้จะค่อนข้างต่ำ เช่น จีน 14% ญี่ปุ่น 7% ออสเตรเลีย 20% เท่านั้น แต่มองในมุมกลับกันจะพบว่านี่ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ต่าง ๆ ในไทยได้ดีเลยทีเดียว)

ด้านการเป็น Buddy คนใหม่

ในจุดนี้ คนไทยใช้ Voice Assistant กับ 3 กิจกรรมยอดนิยมซึ่งไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจมากนัก นั่นคือ หาข้อมูลทางออนไลน์ 56% สอบถามเส้นทาง 46%  และถามคำถามทั่วไป 37% แต่เมื่อลงลึกไปถึงเรื่องที่ว่าหาข้อมูลอะไรนั้น พบว่า ผู้ใช้งานชาวไทย 40% นิยมใช้ Voice Assistant เพื่อค้นหาข้อมูลท่องเที่ยว เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้เพียง 10% เท่านั้น

ส่วนรูปแบบการใช้ Voice Assistant ในจีนนั้น ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลสภาพอากาศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวญี่ปุ่นใช้สำหรับบันทึกข้อความและเป็นเครื่องเตือนความจำ และในประเทศสิงคโปร์ใช้สำหรับสอบถามเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

สำหรับสถานการณ์ที่คนไทยใช้ Voice Assistant มากที่สุดนั้น ได้แก่ ใช้ตอนอยู่บ้าน, ใช้ขณะขับรถ, ใช้คุยขณะอยู่บนเตียง, ใช้ขณะโทรทัศน์ และใช้ระหว่างการออกกำลังกาย

ด้านความรัก

ข้อนี้มีเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศกับการที่ผู้ใช้งานหลงรัก Voice Assistant ยกตัวอย่างเช่น Voice Assistant ชื่อ “Xiaoice” ที่มีผู้ใช้งานอยู่ราว 40 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้ที่เคยบอกว่า “I Love You” กับ Xiaoice มากถึง 25%  เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Voice Assistant ไม่เพียงตอบสนองด้านการใช้งาน แต่มันยังตอบสนองความต้องการในด้านอารมณ์ได้ เช่น สามารถจดจำข้อมูลเก่า ๆ ของเราได้ เวลาทุกข์ใจก็สามารถเล่าเรื่องตลกให้รู้สึกดีขึ้นได้ รวมถึงสามารถเสนอบางสิ่งบางอย่างให้เราได้โดยที่ไม่ต้องร้องขอ ซึ่งอาจจะต่างจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกันเองในทุกวันนี้ และ Speak Easy ยังพบด้วยว่า 

  • ผู้บริโภค 77% คาดหวังว่าอยากให้เทคโนโลยีเสียงมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
  • ผู้บริโภค 68% ต้องการรู้สึกว่าตนเองพูดอยู่กับคนจริงๆ เมื่อคุยอยู่กับผู้ช่วยเสียง
  • ผู้บริโภค 39% หลงรักน้ำเสียงของ Voice Assistant

รวมถึงมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเลยที่มี Sexual Fantasy กับ Voice Assistant ของตัวเอง (สิงคโปร์ 33% จีน 26% ออสเตรเลีย 22% ญี่ปุ่น 16% ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ที่ 39%)

ด้านความเป็นส่วนตัว 

ความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวนี้ถูกยกขึ้นมาเป็นหัวข้อสำคัญ โดยผู้ใช้งานชาวไทยกังวลเรื่องนี้มากถึง 48% จีน 61% สิงคโปร์ 49% ออสเตรเลีย 45% ญี่ปุ่น 21% สังเกตได้จากรูปแบบการใช้งาน Voice Assistant ที่พบว่า 44% ใช้เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดในขณะที่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว โดยเฉพาะที่บ้าน เช่น ในห้องน้ำ เป็นต้น

โดยความกังวลหลัก ๆ ของผู้ใช้งาน พบว่า 59% กังวลว่าจะถูกภาครัฐได้ยินข้อมูลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งขณะที่กำลังพูดอยู่กับเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูด 

ความกังวลนี้เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ใช้งานเกิดความผูกพัน และเชื่อใจ Voice Assistant ก็จะมีการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวเองให้ผู้ช่วยฟังมากขึ้น และคาดหวังว่าผู้ช่วยจะเก็บเป็นความลับนั่นเอง

คุณหรรษา วงศ์สิริพิทักษ์ SEA Director of Digital บริษัท เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทย

ด้านความ Fearful Excitement ในการใช้งานในอนาคต

การสำรวจของ Speak Easy พบว่า Voice Assistant สามารถเข้ามาช่วยได้ในหลายด้าน เช่น 65% มองว่าทำให้มนุษยเราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดีขึ้น หรือ 87% รู้สึกว่า Voice Assistant เข้ามาช่วยจัดการชีวิตได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังพบว่า

  • 80% ใช้ซื้อสินค้าและบริการจากแหล่งต่างๆ
  • 70% ใช้ซื้อสินค้าเดิมซ้ำอีกครั้ง
  • 60% ใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สนใจ
  • 47% ใช้เพื่อความบันเทิง อาทิ การถามคำถามที่สนุกสนาน

แม้ว่าผู้คนจะให้ความสนใจในเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดเป็นอย่างมาก แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังเป็นอุปสรรค โดยร้อยละ 42 ยังไม่มั่นใจกับเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูด ซึ่งร้อยละ 57คิดว่าอาจจะใช้เทคโนโลยีนี้ในอนาคตถ้าหากสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้ง่ายและสะดวกขึ้น และร้อยละ 50 ต้องการให้เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดนี้ทำงานได้ดีกับอุปกรณ์อื่นๆ ของพวกเขาด้วย

สำหรับการสำรวจครั้งนี้มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 6,780 คนใน 9 ประเทศได้แก่ สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, สเปน, ไทย, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, จีน และสิงคโปร์พบว่า ในปี ค.ศ. 2020 ครึ่งหนึ่งของประชากรจะทำการค้นหาข้อมูลผ่านการสั่งงานด้วยเสียง และผู้ใช้สมาร์ทโฟนร้อยละ 47 จะใช้เทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียงพูดอย่างน้อย ครั้งต่อเดือน ที่น่าสนใจคือ Ovum ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยเทคโนโลยี ประเมินว่าภายในปี 2021 จะมีอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานและมีผู้ช่วยดิจิทัลติดตั้งไว้จำนวนมากกว่า 7,500 ล้านเครื่อง ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรโลกที่คาดการณ์ว่าในปีนั้นโลกเราจะมีประชากรประมาณ 7,000 ล้านคนด้วย

คุณอาภาภัทร บุญรอด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทกันตาร์  อินไซต์ ประเทศไทย จำกัด

เสียงคือนวัตกรรม

จากผลสำรวจ พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดสามารถเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ต้องการให้ Voice Assistant มีบุคลิกเฉพาะตัวมากขึ้น 86%,  ตอบคำถามได้ดีมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องให้ผู้ใช้งานเข้าไปอ่านจากเว็บหรือแอปพลิเคชันอื่น ๆ เอง 46%, รักษารูปแบบการสนทนาที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้ 54% และรองรับการใช้งานภาษาอื่น ๆ ได้ 46%

โดยนวัตกรรมที่อาจเกิดขึ้นจาก Voice Assistant ยกตัวอย่างเช่น ใช้ควบคุมสั่งการเทคโนโลยีที่ห้องพักภายในโรงแรม, ใช้สื่อสารกับร้านค้าต่างๆ ไปจนถึงใช้สั่งรายการอาหารในภัตตาคารผ่านเสียงแทนการสั่งกับพนักงานเสิร์ฟ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้อาจเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการปรับใช้เทคโนโลยีการสั่งการด้วยเสียง เพื่อเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้งาน โดยจากทั้ง 6 ข้อนี้ สิ่งที่ต้องหาทางก้าวข้ามให้ได้มากที่สุดอาจเป็นเรื่องความเป็นส่วนตัวที่จะเห็นได้ว่ามีตัวเลขความกังวลของฝั่งผู้ใช้งานสูงมาก และเป็นเรื่องที่อ่อนไหว หากเสียความเชื่อมั่นไปแล้วก็ยากจะดึงกลับมาได้อีก

อีกข้อหนึ่งคือเรื่องของตัวผู้ช่วยเอง ที่ปัจจุบัน ยังไม่สามารถรองรับภาษาไทยได้ดีเพียงพอ ซึ่งถ้าเกิดกรณีคุยกันไม่รู้เรื่องบ่อย ๆ ต่อให้คำตอบจะฟังดูขำแค่ไหน แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าไปเสิร์ชหาเอาเองเร็วกว่าอยู่ดี และถ้าเป็นเช่นนั้น บริการ Voice Assistant ก็คงเกิดได้ยากเช่นกัน

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/11/voice-assistant-jwt-kantar-mindshare-research-speak-easy/

แอปพลิเคชันจากธนาคาร VS บริการจ่ายเงินจาก Social Media ศึกครั้งนี้ใครคือตัวจริง

หากยังจำกันได้กับคำกล่าวของผู้ชายคนนี้ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เคยกล่าวไว้ว่า คู่แข่งของธนาคารในอนาคตไม่ใช่ธนาคารด้วยกันเองอีกต่อไปแล้ว แต่อาจหมายถึง “บริษัทเทคโนโลยี?” ที่จะก้าวขึ้นมาแข่งด้วยแทน แถมยังมาแข่งในเรื่องของ “บริการรับชำระเงิน” ที่เคยเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของ “ธนาคาร” และได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคมาโดยตลอดเสียด้วย

ดังนั้น ในช่วงต้นสัปดาห์ที่สองยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว SCB Easy 3.0 ก่อนจะตามมาด้วยธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ส่งแอปพลิเคชัน KMA มาให้ได้ยลโฉมกันพร้อมแถลงเกี่ยวกับ “Krungsri Digitalization and Innovation Roadmap” จึงนำไปสู่สถานการณ์ที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งเราขอพาไปชมกันอีกทีว่าแต่ละแอปพลิเคชันนั้นมีคุณสมบัติเด่นอย่างไรบ้าง

SCB Easy 3.0

โดย SCB Easy 3.0 ชูความเป็นไลฟ์สไตล์แบงก์กิ้งที่ต้องการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคปัจจุบันที่มีพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน จึงได้ยกระดับด้วยการลงทุนสร้างแพลตฟอร์มให้เข้มแข็งกว่า 4,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อ API กับพาร์ทเนอร์อื่น ๆ ในอนาคต

คุณสมบัติหลักที่ได้รับการพูดถึงก็คือ

  • Cardless ATM ที่สามารถกดเงินได้โดยไม่ต้องมีบัตร เพียงทำรายการผ่านแอปพลิเคชันแล้วนำรหัส 6 หลักที่ได้รับไปกดที่ตู้ ATM ก็จะถอนเงินออกมาได้ทันที เหมาะสำหรับคนที่ลืมกระเป๋าสตางค์ หรือคนในครอบครัวที่อาจต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน
  • Request Money เป็นบริการใบแจ้งหนี้ เพื่อเก็บเงินปลายทางกรณีไปรับประทานอาหารกันแล้วค่อยมาแชร์ค่าอาหารภายหลัง
  • QR Scan Payment เป็นการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลอยู่แล้วในการส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้เงินสด หันมาสู่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์มากยิ่งขึ้น
  • มีบริการปรนเปรอลูกค้า (คุณธนาแกว่าเช่นนั้น) ระดับที่ธนาคารไม่เคยให้กับลูกค้าออมทรัพย์มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วหนังฟรี โดนัทฟรี และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • มีบริการรับประกันความเสียหายจากการทำธุรกรรมบนแอปพลิเคชันเอาไว้ที่วงเงิน 100,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าสูงมากทีเดียว

KMA (Krungsri Mobile Application)

ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มาในคอนเซ็ปต์ “เรื่องเงินเรื่องง่าย” ด้วยการปรับโฉม Krungsri Mobile Application (KMA) แพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้งที่ใช้งานง่ายขึ้น เร็วขึ้น และครบทุกผลิตภัณฑ์ พร้อมรองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน อาทิ AI, Robo Advisor, Digital Lending และ Mobile Payment ที่จะทยอยนำเสนอภายในสิ้นปี 2560 นี้

โดยคุณสมบัติเด่นของ KMA ได้แก่

  • การนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning มาประยุกต์ใช้ในลักษณะ chatbot ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้จะสามารถช่วยตอบคำถามผู้ใช้งานทั้งในแบบข้อความและเสียง (Voice Response) ในอนาคต
  • นำ Robo Advisor ซึ่งเป็นบริการให้คำแนะนำด้านการเงินที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าด้านการลงทุน และการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำงานของพนักงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เทคโนโลยี Digital Lending ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดย KMA จะอำนวยความสะดวกในการเป็นช่องทางดิจิทัลที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการสินเชื่อของกรุงศรีแบบครบวงจร (end-to-end digital lending) เริ่มตั้งแต่การสมัครสินเชื่อ ติดตามผล และรับเงิน หรือ Virtual Card ดู statement แบบเรียลไทม์ผ่าน KMA แพลตฟอร์มได้อีกด้วย
  • รองรับการชำระเงินด้วย QR Code ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ซึ่งปัจจุบัน QR Scan เป็นส่วนหนึ่งในเมนูการใช้งานหลักของ KMA เรียบร้อยแล้ว และธนาคารกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับร้านค้าให้สามารถรองรับการจ่าย-โอนเงินผ่าน QR Code ที่เป็นมาตรฐานเดียว พร้อมทั้งมีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มเติมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของร้านค้า
  • Request To Pay ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ที่ KMA ก็รองรับเช่นกัน

เรียกว่าเป็นการเปิดตัวที่กินกันไม่ลง และต่างฝ่ายต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง รวมถึงมีเสน่ห์ในความเป็นตัวเองกันทั้งคู่

อย่างไรก็ดี คู่แข่งตัวจริงอาจนั่งเงียบ ๆ และกำลังทยอยเก็บลูกค้าไปเรื่อย ๆ อยู่ก็ได้ ซึ่งคู่แข่งที่ว่านี้ก็คือ Facebook Messenger แพลตฟอร์มส่งข้อความที่คนไทยคุ้นเคยนั่นเอง

เพราะท่ามกลางความร้อนแรงของธุรกิจสถาบันการเงินที่เปิดตัวแอปพลิเคชันเวอร์ใหม่กันให้มากมายนั้น เจ้าพ่อ Social Media อย่าง Facebook เองออกมาประกาศว่า จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมของการชำระเงินค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต – เดบิตผ่านทาง “Facebook Messenger” ของเพจร้านค้าบนระบบนานถึง 3 เดือนเต็ม ๆ (ตั้งแต่ 15 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน)

ซึ่งก็ถือว่าใช้จุดแข็งอย่างได้ผล เพราะในวันที่ร้านค้ามาอยู่บนแพลตฟอร์ม Social Media กันมากขึ้นนี้ การมีบริการชำระเงินอยู่บนแพลตฟอร์มเลยก็ช่วยอำนวยความสะดวกได้ไม่น้อย ไม่ต้องออกไปอยู่บนแพลตฟอร์มอื่นเพื่อหาช่องทางการชำระเงิน แถมพอลดค่าธรรมเนียม ยิ่งดูดีเข้าไปใหญ่เลย

ที่สำคัญ ระบบของ Facebook Messenger เองก็ส่งใบแจ้งหนี้ได้เช่นกัน

ส่วนใครที่อาจพลาดไปไม่ทราบว่าสามารถจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตและเดบิตบน Messenger ได้แล้ว ก็ลองเข้ามาทำตามขั้นตอนนี้ได้เลยค่ะ โดยในการเริ่มต้นใช้งาน คุณควรสร้างส่วนร้านค้าเอาไว้เรียบร้อยก่อนแล้ว ให้เข้ามาเลือก “ส่งข้อความเพื่อสั่งซื้อ” เป็นวิธีการชำระเงิน และเลือกสกุลเงินเป็น “บาท” จากนั้นไปที่ “การตั้งค่า” จากหน้าเพจ และคลิก “การชำระเงิน”

  • คลิก “ตั้งค่าการชำระเงิน” เพื่อสร้างบัญชีชำระเงินกับ 2C2P
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อ “เชื่อมโยงบัญชีธนาคาร” เพื่อให้คุณสามารถเรียกเก็บเงินได้
  • ยืนยันรายละเอียดบัญชีโดยไปที่ส่วนการตั้งค่าบนพอร์ทัลของ QWIK และสามารถเพิ่มวงเงินการทำธุรกรรมและยอดเงินจากการขายที่จะได้รับโอนเข้าบัญชีได้อีกด้วย

หมายเหตุ :สามารถตั้งค่าการรับชำระเงินได้จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://fb.me/commercepayment

เรื่องการอำนวยความสะดวกให้จ่ายเงินบนแพลตฟอร์มได้เลยน่าจะเป็นจุดแข็งที่ดีของ Facebook แต่จุดอ่อนของ Facebook เองมีเหมือนกัน นั่นคือการไม่ใช่สถาบันการเงิน  ซึ่งต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา คนไทยหลายคนยังคงเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอยู่มาก ศึกครั้งนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งกันในตัวเอง ส่วนใครจะเป็นตัวจริงนั้น คงต้องรอดูกันยาว ๆ ค่ะ
 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/08/banking-application-vs-facebook-messenger-payment/

เมื่อแนวคิด “เป็นทุกอย่างเพื่อคุณ” ของธนาคารไทยพาณิชย์คือการ “เป็นทุกอย่างบนโลกดิจิทัล”

เป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ของเดือนสิงหาคมเลยทีเดียวสำหรับการเปิดตัว “SCB Easy 3.0” แอปพลิเคชันโมบายล์แบงค์กิ้งโฉมใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายุค 4.0 ตั้งเป้าดันยอดผู้ใช้งานสองเท่าตัวทะลุ 8 ล้านคนในสิ้นปีหน้า พร้อมประกาศเป้าหมายใหม่สู่การเป็น “ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด” (The Most Admired Bank) ด้วย

จากสถาบันการเงินที่มีแอปพลิเคชันด้าน Mobile Banking ให้บริการ ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการพลิกโฉมในหลาย ๆ ด้านสู่การเป็น Digital LifeStyle Banking อย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นการจับมือกับ TOO FAST TO SLEEP เปิดตัว TOO FAST TO SLEEP.SCB สาขาสยามสแควร์อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งเข้าถึงวัยรุ่นวัยเรียน และเป็น Co-Working Space สุดชิค

ล่าสุด อีกหนึ่งการพลิกโฉมครั้งสำคัญก็เกิดขึ้น นั่นก็คือ แอปพลิเคชัน SCB Easy 3.0 ซึ่งก้าวของการเปิดตัวแอปพลิเคชันนี้ไทยพาณิชย์ทำได้อย่างน่าสนใจ ผ่านโฆษณาความยาวเกือบ 8 นาทีชิ้นนี้

โฆษณาทิ้งท้ายว่าให้ติดตามตอนจบได้ในวันที่ 21 สิงหาคม ซึ่งคำตอบปรากฏในห้องประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ เมื่อคุณอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยว่าสิ่งที่จุดประกายสู่การพลิกโฉมครั้งนี้จริง ๆ คือความต้องการของลูกค้า แล้วจึงค่อยหาเทคโนโลยีที่จะสามารถตอบโจทย์ได้มารองรับ

โดยการสร้าง SCB Easy 3.0 นี้เป็นการพัฒนา Digital Platform ขึ้นมาใหม่ทั้งหมดภายใต้ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ มากมายสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาอีกข้อหนึ่งที่ธนาคารต้องเปลี่ยนไปนั่นคือการร่วมมือกับหลายภาคส่วนมากขึ้น ไม่ใช่การทำคนเดียว เก่งคนเดียวอีกต่อไป ซึ่งพาร์ทเนอร์ที่ไทยพาณิชย์ดึงมามีทั้งในด้านเทคโนโลยีและพาร์ทเนอร์ด้านการปรนเปรอลูกค้าดังที่เห็นจากในงานก็คือ “Wongnai” ที่จะมาปรากฏตัวใน SCB Easy 3.0 ด้วยสำหรับแนะนำร้านอร่อยทั้งที่มีดีลกับ SCB และไม่มี

อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือธนาคารไทยพาณิชย์มองโจทย์ออกว่าธนาคารในแบบเดิม ๆ นั้นคือความน่าเบื่อ เป็นที่ที่เข้ามาแล้วอยากจะรีบออกไปให้ไวที่สุด ดังนั้น ไทยพาณิชย์จึงต้องการปรับใหม่ให้ธนาคารเป็นพื้นที่ที่ให้บริการ “ด้านอื่นๆ” ในชีวิตของลูกค้า มากกว่าการเป็นแค่ธนาคาร ด้วยการทำให้ธนาคารมีสีสัน และน่าสนุกยิ่งขึ้น

ความสนุกที่ว่าจึงมาปรากฎในแอปพลิเคชัน SCB Easy 3.0 กับคุณสมบัติใหม่ นั่นคือ

  • Cashless ATM บริการกดเงินสดแบบไม่ต้องใช้บัตร ATM โดยไทยพาณิชย์อาศัยจุดแข็งที่มีตู้ ATM เยอะที่สุดในประเทศ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปกดเงินสดได้เลย เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชัน SCB Easy เท่านั้น ซึ่งกรณีนี้เหมาะสำหรับลูกค้าที่ลืมหยิบกระเป๋าสตางค์มา หรือต้องการโอนเงินให้กับบุคคลที่รักโดยด่วน ก็สามารถกดถอนเงินแล้วนำรหัสที่ได้รับจากแอปพลิเคชันป้อนเข้าไปในตู้ ATM ของไทยพาณิชย์สาขาใกล้ที่สุด เงินก็จะออกมาทันที 

  • Easy Bonus เป็นสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ให้กับลูกค้าเมื่อทำรายการ เช่น ตั๋วหนังฟรี โดนัทฟรี และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งไทยพาณิชย์เคลมว่า เป็นธนาคารแรกที่ปรนเปรอลูกค้า Saving ระดับนี้เสียด้วย
  • Easy App Protection เป็นบริการคุ้มครองความเสียหายจากแอปพลิเคชัน เช่น กรณีโดนเจาะระบบ ที่วงเงินสูงสุด 100,000 บาท และถือเป็นครั้งแรกของวงการธนาคารเช่นกัน
  • บริการเรียกเก็บเงิน โดยบริการนี้ออกมาสำหรับลูกค้าธนาคารที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารไทยพาณิชย์แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถส่งรายละเอียดการเรียกเก็บเงินจากผู้อื่นได้
  • รองรับการชำระเงินผ่าน QR code ได้ภายในแอปพลิเคชัน ซึ่งแม้จะยังไม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล แต่ปัจจุบันก็มีบางร้านค้าที่ให้บริการแล้วด้วย
  • ร่วมมือกับ Wongnai แสดงส่วนลดมื้อพิเศษ
  • เปิดให้บริจาคเงินเพื่อการกุศลได้ผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy 3.0 รวมถึงแชร์ไปยัง Social Media ได้

เบื้องหลังความสนุก คือแพลตฟอร์มมูลค่า 4,000 ล้านบาท

สีสันข้างต้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการลงทุนด้านแพลตฟอร์ม โดยไทยพาณิชย์ได้ควักเงินจำวน 4,000 ล้านบาทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เหตุที่ต้องสร้างแพลตฟอร์มนั้น คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์เผยว่า เป็นเพราะความต้องการของลูกค้ายุคนี้ไม่ธรรมดา จากเดือนมกราคม 2016 จำนวน Transaction ที่เคยทำกับธนาคารอยู่ที่ 200,000 Transactions ต่อชั่วโมง เพียง 18 เดือนผ่านไปพบว่า Transaction ได้โตขึ้น 5 เท่าขึ้นไปอยู่ที่ 1,000,000 Transactions แล้ว

จากความเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้ธนาคารขยายตัวแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป เพราะความต้องการของลูกค้ากำลังเติบโตในลักษณะ Exponential นั่นจึงทำให้ไทยพาณิชย์ตัดสินใจสร้าง “แพลตฟอร์ม” โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาทกับเวลาทั้งสิ้น 10 เดือน

โดยแพลตฟอร์มของไทยพาณิชย์ออกแบบมาบนสถาปัตยกรรมแบบเปิด และสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ในอนาคตได้ ซึ่งคุณธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า แพลตฟอร์มใหม่ของ SCB Easy 3.0 นั้นรองรับได้ 2,000 Transactions ต่อวินาทีเป็นอย่างต่ำ และสามารถขยายเพิ่มเติมได้ในอนาคตอีกด้วย

เวทีหลักปิดลงด้วยการนำเสนอเวอร์ชันจบของภาพยนตร์โฆษณาตัวล่าสุดจากไทยพาณิชย์ ที่เราเชื่อว่านอกจากจะมีกลิ่นอายของ Pantip.com อยู่เต็มไปหมดแล้ว แต่แกนหลักของเรื่องยังบ่งบอกตัวตนของไทยพาณิชย์ในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างสมบูรณ์

ลองใช้กันดู แล้วจะรู้ว่าสิทธิพิเศษเพื่อลูกค้าออมทรัพย์มีอยู่จริง

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/08/scb-easy-lifestyle-most-admired-banking/

อัพเดท Profile ของคุณผ่านหน้า Twitter Profile ได้แล้ว!

อัพเดทใหม่ของ Twitter บน Web วันนี้ เป็นเรื่องของการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ของเราใน Twitter ครับ ซึ่งต่อจากนี้ เราไม่ต้องเข้าไปที่รูปเฟือง แล้วจิ้ม Setting ให้ยุ่งยาก ตอนนี้สามารถทำผ่านหน้า Profile ของเราได้แล้วจ้า  :h_jufff:

ไม่มีอะไรมากครับ ไปที่หน้า Twitter Profile ของเรา จิ้มไปที่ปุ่ม Edit Profile จากนั้นช่อง Profile ของเราก็จะมีจุดที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ Cover Photo, Avatar, ชื่อ Twitter , Bio, Location และเว็บไซต์ของเรา เมื่อแก้ไขข้อมูลเสร็จ ก็จิ้มปุ่ม Save change เป็นอันเสร็จพิธีครับ  :h_whaaaa:

twitter2
twitter3
twitter4

from:http://faceblog.in.th/2013/06/update-twitter-profile-directly/

อัพเดท Profile ของคุณผ่านหน้า Twitter Profile ได้แล้ว!

อัพเดทใหม่ของ Twitter บน Web วันนี้ เป็นเรื่องของการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ของเราใน Twitter ครับ ซึ่งต่อจากนี้ เราไม่ต้องเข้าไปที่รูปเฟือง แล้วจิ้ม Setting ให้ยุ่งยาก ตอนนี้สามารถทำผ่านหน้า Profile ของเราได้แล้วจ้า  :h_jufff:

ไม่มีอะไรมากครับ ไปที่หน้า Twitter Profile ของเรา จิ้มไปที่ปุ่ม Edit Profile จากนั้นช่อง Profile ของเราก็จะมีจุดที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ Cover Photo, Avatar, ชื่อ Twitter , Bio, Location และเว็บไซต์ของเรา เมื่อแก้ไขข้อมูลเสร็จ ก็จิ้มปุ่ม Save change เป็นอันเสร็จพิธีครับ  :h_whaaaa:

twitter2
twitter3
twitter4

from:http://faceblog.in.th/2013/06/%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%97-profile-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2-twitter-pr/