คลังเก็บป้ายกำกับ: Social_Network

Meta ยืนยัน กำลังพัฒนาโซเชียลตัวใหม่ ทำงานแบบกระจายศูนย์

Meta ยืนยันรายงานข่าวที่ระบุว่าบริษัทกำลังพัฒนาบริการโซเชียลตัวใหม่ โดยให้รายละเอียดเบื้องต้นว่า เป็นบริการใหม่ที่แยกจากโซเชียลอื่นของ Meta ทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เนื่องจากเชื่อว่าตอนนี้มีโอกาส สำหรับการสร้างเครื่องมือให้ครีเอเตอร์และบุคคลมีชื่อเสียง สามารถสื่อสารไปยังผู้สนใจได้แบบทันที

ทั้งนี้ Meta ไม่ได้ให้รายละเอียดชื่อบริการโซเชียลตัวนี้ รวมทั้งไม่ได้บอกว่าจะเปิดตัวเมื่อใด

ข้อมูลจาก Platformer บอกว่าโซเชียลแบบกระจายศูนย์นี้ มีโค้ดเนมภายใน Meta เรียกชื่อว่า P92 ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาช่วงแรก การล็อกอินจะใช้ระบบของ Instagram มี Adam Mosseri หัวหน้าฝ่าย Instagram เป็นผู้ดูแลโครงการนี้ รูปแบบโซเชียลจะเน้นการโพสต์ข้อความตัวหนังสือเป็นหลัก

คาดกันว่า Meta ต้องการสร้างโซเชียลตัวใหม่นี้เพื่อดึงผู้ใช้งานจาก Twitter ซึ่งตอนนี้มีกระแสย้ายออกไปหาโซเชียลตัวใหม่ และแพลตฟอร์มหนึ่งที่นิยมกันคือ Mastodon โซเชียลแบบกระจายศูนย์บนโปรโตคอล ActivityPub และคาดว่าโซเชียลใหม่ของ Meta นี้ ก็จะรองรับ ActivityPub เช่นกัน

ที่มา: Platformer ภาพ Pixabay

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132963

Advertisement

Bluesky โซเชียลกระจายศูนย์ที่แยกตัวจาก Twitter ออกแอพ iOS แล้ว, ยังจำกัดผู้ใช้งาน

Bluesky บริการโซเชียลเน็ตเวิร์คแบบกระจายศูนย์ ที่ริเริ่มโดย Jack Dorsey อดีตซีอีโอ Twitter ตั้งแต่ปี 2019 และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 2021 ออกแอพเวอร์ชัน iOS แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้น (App Store)

สถานะของ Bluesky ตอนนี้คือแยกออกมาจาก Twitter เป็นบริษัทใหม่ชื่อ Bluesky PBLLC มีสำนักงานที่เมืองซีแอทเทิล เป็นบริษัทที่จดทะเบียนแบบ Public Benefit Limited Liability Company หวังผลกำไรแต่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยก่อนหน้านี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก Twitter และมี Dorsey นั่งเป็นบอร์ด (ไม่แน่ชัดว่ายังได้เงินจาก Twitter หรือไม่ หลัง Elon ตัดค่าใช้จ่าย)

หน้าตาของแอพ Bluesky แทบไม่ต่างอะไรจาก Twitter ในยุคก่อน Elon Musk เข้ามาบริหาร มีปุ่ม retweet, favorite เหมือนกัน แต่ยังขาดฟีเจอร์อย่าง list และ DM

No Description

สิ่งที่แตกต่างคือโปรโตคอลเบื้องหลัง ใช้โปรโตคอลใหม่ที่เรียกว่า AT (Authenticated Transfer Protocol) ทำงานแบบกระจายศูนย์ มีแนวคิดว่าทุกคนสร้างเซิร์ฟเวอร์ได้เองแล้วมาเชื่อมต่อกัน (federated) ลักษณะคล้ายกับโปรโตคอล ActivityPub ที่ใช้ในแอพโซเชียล Mastodon

ในการใช้งาน ผู้ใช้จะได้ชื่อเป็น @username.domain ของเซิร์ฟเวอร์ กรณีนี้คือใช้บนเซิร์ฟเวอร์ของ Bluesky เองคือ @username.bsky.social

No Description

ไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจของโปรโตคอล AT คือผู้ใช้สามารถเลือก “อัลกอริทึม” ในการแสดง feed ได้เองตามแต่ละเซิร์ฟเวอร์ (Personal Data Servers – PDS) เช่น ดูเฉพาะโพสต์ยอดนิยม, ดูเฉพาะโพสต์แมว ฯลฯ และส่งเสริมแนวคิดการสร้างอัลกอริทึมมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน แทนการกำหนดอัลกอริทึมโดยแพลตฟอร์ม

No Description

แน่นอนว่าทีมผู้สร้าง Mastodon ย่อมไม่ชอบใจ Bluesky ที่มีแนวคิดคล้ายๆ กันกลายมาเป็นคู่แข่ง และพยายามชูว่าควรมาใช้โปรโตคอล ActivityPub ที่เป็นมาตรฐานกลางของ W3C แทนการไปสร้างโปรโตคอลใหม่ของตัวเอง

ตัวของ Jack Dorsey เองไม่ได้สนับสนุนแต่ Bluesky เท่านั้น ก่อนหน้านี้ เขาเพิ่งออกมาเชียร์โซเชียลแบบกระจายศูนย์อีกตัวชื่อ Nostr ที่มีแนวคิดเรื่อง public key มาใช้ยืนยันตัวตน และมีแนวคิดแบบ relay ที่ต่างจากเซิร์ฟเวอร์แบบ ActivityPub หรือ AT

ที่มา – TechCrunch

from:https://www.blognone.com/node/132837

ลาก่อน Yammer ไมโครซอฟท์จับรีแบรนด์เป็น Microsoft Viva Engage

ไมโครซอฟท์ประกาศรีแบรนด์ Yammer บริการโซเชียลสำหรับที่ทำงานที่ซื้อกิจการมาในปี 2012 เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Viva Engage ในชุด Microsoft Viva บริการสำหรับพนักงานภายในองค์กร ที่เปิดตัวในปี 2021

Microsoft Viva เป็นซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ที่ไม่มี frontend ของตัวเอง แต่รันผ่านอินเทอร์เฟซของ Microsoft Teams/Outlook อีกทีหนึ่ง โดยไมโครซอฟท์เปิดตัว Viva Engage มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และมาแทนแอพ Yammer Communities ของเดิม

แบรนด์ Yammer จะถูกเลิกใช้อย่างถาวร เปลี่ยนมาเป็น Viva Engage แทนในเดือนมีนาคม 2023 นอกจากการยกเลิกแบรนด์แล้วทุกอย่างยังเหมือนเดิม ลูกค้าเก่าของ Yammer ยังสามารถใช้งานต่อได้ตามปกติ

ที่มา – Microsoft

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132621

Jack Dorsey หายเงียบบน Twitter ไปเล่นโซเชียลใหม่ Nostr สถาปัตยกรรมกระจายศูนย์

Jack Dorsey อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter เงียบไปมากในช่วงหลัง แต่มีคนพบว่าเขาย้ายไปโพสต์ในโซเชียลตัวใหม่ชื่อ Nostr

Nostr เป็นโปรโตคอลโซเชียลหน้าตาแบบเดียวกับ Twitter แต่ออกแบบสถาปัตยกรรมให้กระจายศูนย์ (ด้วยไอเดียที่ต่างจาก Mastodon) ตัวโครงการพัฒนาแบบโอเพนซอร์สบน GitHub

แนวคิดของมันคือผู้ใช้แต่ละคนยืนยันอัตลักษณ์ด้วย public key (เหมือนกับวงการเงินคริปโต) แต่ไม่ต้องเลือกเซิร์ฟเวอร์แบบ Mastodon เพราะผู้ใช้แต่ละคนกระจายเนื้อหาของตัวเองจากไคลเอนต์เลย แล้วกระจายต่อผ่าน “relay” ที่ใครก็สามารถรันได้ เป็นเครือข่ายกระจายศูนย์ที่ไปไกลกว่า Mastodon

Nostr ถูกออกแบบมาให้ “เซ็นเซอร์ไม่ได้” เพราะไม่มีเซิร์ฟเวอร์ตรงกลาง สิ่งที่ทำได้คือเลือกตามหรือไม่ตามผู้ใช้แต่ละคนเท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิของทั้งผู้ใช้และ relay เอง ตัว relay อาจเลือกเก็บเงินจากผู้ใช้เพื่อกระจายข้อความต่อให้ก็ได้ เป็นโมเดลธุรกิจที่เป็นไปได้ของ relay (ที่ตัวโปรโตคอลไม่สนใจ) และจูงใจให้คนมารัน relay กันมากขึ้น

ตอนนี้ Nostr ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตัวมันมีสถานะเป็นโปรโตคอลเท่านั้น และมีไคลเอนต์หลายตัวกำลังพัฒนาให้รองรับฟีเจอร์ของ Nostr บนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่ง Dorsey เพิ่งออกมาโพสต์เชียร์ Damus (iOS), Amethyst (Android) และ Snort (Web)

No Description

โพสต์ล่าสุดของ @jack บน Twitter เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ แนะนำให้คนใช้ Nostr

from:https://www.blognone.com/node/132572

Bondee ปฏิเสธข่าวข้อมูลบัตรเครดิตผู้ใช้งานรั่วไหล – ยืนยันไม่มีการขอข้อมูลเหล่านี้

Metadream บริษัทผู้พัฒนา Bondee แอปโซเชียลแนวโลกเสมือน ที่กำลังมาแรงในไทยและหลายประเทศในเอเชีย ออกมาปฏิเสธหลังมีรายงานข่าว ว่ามีข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ใช้งานบางคนหลุดรั่วออกไปจากแพลตฟอร์ม

Metadream ยืนยันว่าข่าวดังกล่าวเป็นเท็จ ไม่มีมูลความจริง เนื่องจากแพลตฟอร์มเองไม่มีการขอเก็บข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลทางการเงินใด ๆ จากผู้ใช้งาน รวมทั้งบอกว่าระบบออกแบบมาควบคุมข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานเป็นอย่างดี มีความปลอดภัย ทั้งนี้ข้อมูลที่ Bondee เก็บในการสมัครใช้งานได้แก่ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อใช้ยืนยันตัวตน และข้อมูลวันเกิดเท่านั้น

ปัจจุบันการซื้อไอเท็มต่าง ๆ ใน Bondee ยังใช้คำว่าฟรีแบบจำกัดช่วงเวลา แต่ในข้อมูลของ App Store ระบุว่าตัวแพลตฟอร์มมี In-App Purchase สำหรับซื้อเงินเสมือนเรียกว่า B-Bean โดยมีราคาแตกต่างกันไป ทั้งนี้ข้อมูลในข้อกำหนดการใช้งานก็บอกว่า ผู้ใช้งานสามารถสร้างวอลเลตบนบล็อกเชน เพื่อใช้เงิน B-Beans ในการซื้อ NFT บนแพลตฟอร์ม

ที่มา: Bondee TH ผ่าน CNA

from:https://www.blognone.com/node/132421

Meta ปลดแบน Donald Trump ทั้งบน Facebook และ Instagram หลังแบนครบ 2 ปี

บริษัท Meta ประกาศคืนบัญชีให้ Donald Trump ทั้งบน Facebook และ Instagram หลังโดนแบนเมื่อ 2 ปีก่อน ในเหตุการณ์ม็อบผู้สนับสนุน Trump บุกอาคารรัฐสภาของสหรัฐ

กระบวนการแบนบัญชีของ Meta พิจารณาโดยคณะกรรมการคนนอกที่เรียกว่า Oversight Board เพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้บริษัท กรณีของ Trump นั้น บอร์ดเห็นชอบกับการแบน แต่เสนอให้กำหนดขอบเขตระยะเวลาของการแบนด้วย ซึ่ง Meta เพิ่มนโยบายแบน 2 ปีเข้ามา

ตอนนี้เวลาผ่านมาครบ 2 ปีแล้ว Meta จึงมาประเมินสถานการณ์อีกครั้ง และตัดสินใจปลดแบน Trump ด้วยเหตุผลว่าสถานการณ์เปลี่ยนไป สหรัฐอเมริกาเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบการบุกรัฐสภาแล้ว อีกทั้ง Trump ยังประกาศตัวชิงชัยประธานาธิบดีอีกครั้งในการเลือกตั้งปี 2024 ก็ควรให้มีพื้นที่หาเสียงเหมือนผู้สมัครคนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอีก Meta จึงเพิ่มมาตรการว่า หาก Trump ทำผิดเงื่อนไขการใช้งานแพลตฟอร์มซ้ำอีก โพสต์ของเขาจะถูกลบ และเขาจะถูกแบนซ้ำ 1 เดือน-2 ปี (ขึ้นกับระดับความรุนแรงในการละเมิด) และถ้าโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับเหตุการณ์บุกรัฐสภา (เช่น เกี่ยวกับกลุ่ม QAnon) โพสต์ของเขาจะถูกจำกัดการเผยแพร่ใน News Feed ของผู้ใช้ แต่ยังสามารถดูได้จากหน้าบัญชีของ Trump อยู่ รวมถึงโพสต์อาจไม่มีปุ่ม Share ให้ด้วย

Meta บอกว่าการปลดแบน Trump จะมีผลในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า (coming weeks)

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 Twitter เพิ่งปลดแบน Trump เช่นกัน (จากการตั้งโพลของ Elon Musk) แต่ Trump ก็บอกว่าไม่กลับมาใช้ Twitter อีกแล้ว เพราะเขาตั้งโซเชียล Truth Social ของตัวเองแล้ว จึงเป็นไปได้สูงว่า Trump จะไม่กลับมาใช้ Facebook/Instagram อีกแม้ได้ปลดแบนแล้ว

ที่มา – Meta

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132389

ฮาร์ดคอร์พอมั้ย ผู้นำตาลีบันจ่ายเงินซื้อ Twitter Blue กระจายข้อความให้เห็นเด่นชัดขึ้น

สำนักข่าว BBC รายงานว่าผู้นำของรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถานอย่างน้อย 2 ราย และผู้สนับสนุนอีกอย่างน้อย 4 ราย ได้เครื่องหมายถูก Twitter Blue มาต่อท้ายบัญชีแล้ว ซึ่งฟีเจอร์ของ Twitter Blue ในปัจจุบันเอื้อให้ข้อความของผู้ใช้ Blue เห็นเด่นชัดมากขึ้น ตัวอย่างคือ UI ใหม่แบบแท็บที่มีส่วนของผู้ใช้ Blue แยกเฉพาะ

ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่ากลุ่มผู้นำตาลีบันได้ Blue มาได้อย่างไร เพราะ Blue ยังขายเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น และนโยบายของ Twitter เองพยายามทำเครื่องหมายถูกสีเทา สำหรับบุคคลและหน่วยงานของภาครัฐ จึงเป็นไปได้ว่าเป็นการจ่ายเงิน 8 ดอลลาร์ซื้อตามปกติ และ Twitter ไม่มีระบบตรวจสอบ

Twitter ไม่มีฝ่าย PR มานานแล้ว (ตามแนวทางบริษัททุกแห่งของ Elon Musk) จึงไม่มีใครออกมาชี้แจงประเด็นนี้

จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าบัญชีที่ BBC ระบุชื่อ (BBC ไม่ได้ระบุชื่อทุกบัญชี)​ ถูกนำเครื่องหมายถูกสีฟ้าออกไปแล้ว

ที่มา – BBC

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132291

Discord ซื้อกิจการ Gas แอปโซเชียลทำโพลล์ ที่กำลังมาแรงในวัยรุ่น

Discord ประกาศซื้อกิจการ Gas แอปโซเชียลสำหรับสร้างโพลล์สอบถามความคิดเห็น โดยดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่า

Gas เป็นแอปที่เพิ่งเปิดตัวไม่นาน เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่น มีจำนวนผู้ใช้งานประจำทุกวัน (DAUs) มากกว่า 1 ล้านคน จุดเด่นคือการโหวตในคำถามเพื่อเลือกเพื่อนด้วยกัน เช่น ใครสวยที่สุด ใครที่คุยด้วยแล้วสบายใจ เป็นต้น ถ้าหากคุ้น ๆ กับแอปรูปแบบดังกล่าว ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Gas ก็คือผู้ร่วมก่อตั้ง tbh แอปโซเชียลที่ Facebook ซื้อกิจการไปเมื่อปี 2017

Discord บอกว่า Gas จะยังให้บริการเป็นแอปแยกต่อไป แต่ทีมงานของ Gas (ที่มีอยู่ 4 คน) จะเข้ามาร่วมทีม Discord และพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ต่อไป

ที่มา: The Verge

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132286

Evan Williams และ Biz Stone ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter เปิดบัญชี Mastodon แล้ว

สองผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter คือ Evan Williams และ Biz Stone เปิดบัญชี Mastodon แล้ว (ไล่เลี่ยกับ Medium ซึ่งเป็นบริษัทของทั้งสองคน เปิดเซิร์ฟเวอร์ Mastodon ของตัวเองชื่อ me.dm) โดย Stone โพสต์ว่าประสบการณ์ใช้งาน Twitter ช่วงหลังของเขาไม่ดีนัก เขาจึงมาลอง Mastodon ดูว่าเป็นอย่างไร

ส่วน Williams ให้สัมภาษณ์ว่าเขาสนับสนุนแนวคิดที่เปิดกว้าง เครือข่ายที่กระจายศูนย์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดนวัตกรรมในยุคที่แพลตฟอร์มขนาดใหญ่มีอำนาจมากเกินไป เขาบอกว่าตอนนี้เราอยู่ในช่วงเวลาพิเศษที่ผู้คนกำลังมองหาทางเลือกใหม่ๆ

บัญชีของ Stone อยู่บน me.dm แล้ว ส่วน Williams ยังเป็นบัญชีบน mastodon.social และยังไม่ได้เปิดบน me.dm

No Description

No Description

ที่มา – Bloomberg

from:https://www.blognone.com/node/132248

Medium เปิดเซิร์ฟเวอร์ Mastodon ของตัวเอง โดเมนสั้นมาก me.dm

Medium เป็นบริษัทล่าสุดที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ Mastodon ของตัวเองในชื่อสวยๆ me.dm เพื่อให้สมาชิก Medium มาร่วมสนทนาสร้างชุมชนกัน

Medium บอกว่าที่ผ่านมาแพลตฟอร์มตัวเองเน้นการเขียนบทความขนาดกลาง (ตามชื่อ “medium”) การขยายมาทำ Mastodon จึงเปิดทางสู่บทความขนาดสั้นไม่เกิน 500 ตัวอักษร บริษัทยังมองว่าแนวคิดการกระจายเซิร์ฟเวอร์ (federation) แต่ยังคุยข้ามกันได้ ถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญของโลกโซเชียล

บริษัทบอกว่าจุดขายของ me.dm เหนือเซิร์ฟเวอร์อื่นคือชื่อโดเมนสั้นมาก, เซิร์ฟเวอร์แข็งแกร่ง, การจัดการชุมชนที่ดี, เนื้อหาที่ฟีดจาก Medium เองมีความน่าสนใจ และปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ใหม่ให้ดีขึ้น

เซิร์ฟเวอร์ me.dm จะเปิดรับนักเขียนบางคนของ Medium ก่อนในขั้นแรก และจะเปิดให้สมาชิกทุกคนของ Medium เข้ามาสมัครในระยะถัดไป โดยจะเชื่อมระบบกันให้สามารถล็อกอินผ่านบัญชีสมาชิก Medium ได้เลย

ก่อนหน้าประกาศของ Medium มีบริษัทอื่นๆ หันมาเปิดเซิร์ฟเวอร์ Mastodon เองไม่น้อย เช่น Tumblr, Vivaldi, Mozilla

No Description

ที่มา – Medium

from:https://www.blognone.com/node/132239