คลังเก็บป้ายกำกับ: AMAZON_WEB_SERVICE

[NEWS] AWS ประกาศลงทุนในไทยกว่า 1.9 แสนล้านบาท เปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) หวังดึงการลงทุนใหม่จากทั่วโลก

AWS ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ มูลค่ามากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี เริ่มต้นด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย โดย Region แห่งใหม่นี้ มีชื่อว่า AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย

แผนลงทุนในไทย

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. (NASDAQ:AMZN) ในวันนี้ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) โดย Regionแห่งใหม่นี้จะประกอบด้วย Availability Zone สามแห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย

AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทยจะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ทอัพ และองค์กรต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐ การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ AWS มีต่อภูมิภาคนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS สามารถดูได้ที่ aws.amazon.com/about-aws/global-infrastructure/

ปราสาท กัลยาณรามัน รองประธานฝ่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานของ AWS กล่าวว่า เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและการนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่รวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้ศักยภาพทั้งหมดของคลาวด์เพื่อเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานและนำเสนอบริการต่างๆ

“AWS Asia Pacific (Bangkok) region จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญของ AWS เช่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ด้วยเครื่องมือใหม่เหล่านี้ AWS ยังช่วยให้ลูกค้าภาครัฐสามารถมีส่วนร่วมกับพลเมืองได้ดียิ่งขึ้น องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเติบโตในระยะต่อไป รวมถึงสร้างธุรกิจและแข่งขันในระดับโลก”

AWS Region ประกอบด้วย Availability Zone ที่วางโครงสร้างพื้นฐานในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกันและแตกต่างกัน โดยมีระยะห่างเพียงพอที่จะลดความเสี่ยหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานที่ต่อเนื่องของลูกค้า แต่ใกล้พอที่จะให้เวลาแฝงต่ำสําหรับแอปพลิเคชันที่มีความพร้อมใช้งานสูงซึ่งใช้หลาย Availability Zone ซึ่ง Availability Zone แต่ละแห่งมีแหล่งพลังงาน การระบายความร้อน และการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่แยกจากกัน และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายเวลาแฝงที่ซ้ำซ้อนและต่ำเป็นพิเศษ ลูกค้า AWS ที่เน้นความพร้อมใช้งานสูงสามารถออกแบบแอปพลิเคชันให้ทํางานในหลาย ๆ Availability Zone และในหลาย region เพื่อให้เกิดความทนทานต่อความเสียหาย (fault tolerance) ที่ดียิ่งขึ้น

AWS Asia Pacific (Bangkok) แห่งใหม่นี้ จะช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยพร้อมให้เวลาแฝงที่ต่ำทั่วประเทศ ลูกค้าตั้งแต่สตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรต่าง ๆ องค์กรภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงผลกำไรจะสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากคลาวด์ชั้นนำของโลกเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม AWS นำเสนอบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญที่สุด รวมถึงการวิเคราะห์ การประมวลผล ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง แมชชีนเลิร์นนิง บริการมือถือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์อื่น ๆ

ลูกค้าต้อนรับแผนการเปิดตัว AWS Region ในประเทศไทย

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในลูกค้าหลายล้านรายที่ใช้งาน AWS ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก องค์กรไทยที่เลือกใช้ AWS เพื่อรันปริมาณงานในการเร่งสร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว และประหยัดต้นทุน ได้แก่ 2C2P, บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, เอ็นเรส (ENRES), ปาปิรุส สตูดิโอ, ปตท. จำกัด, เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย

วิวัฒน์ พงษ์ฤทธิ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทางไซเบอร์บริษัท ซีพี ออลล์ กล่าวว่า บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการร้าน 7-Eleven มากกว่า 13,000 แห่งในประเทศไทยและกัมพูชา การใช้ AWS ช่วยให้เรามีความคล่องตัวและสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในช่วงการระบาดใหญ่เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถเข้าไปที่ร้านได้

“เราสร้างแอปพลิเคชัน 7-Eleven และ 7-Delivery บน AWS ในเวลาน้อยกว่าหกเดือน ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุด ซื้อแพ็คเกจออนไลน์ รวบรวมและแลกคะแนน และใช้ e-wallet เพื่อชำระเงินออนไลน์ เราต้องการมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นให้กับลูกค้าต่อไป และเราได้ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง เช่น Amazon Personalize ที่ช่วยเราแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า AWS Asia Pacific (Bangkok) Region แห่งใหม่จะช่วยให้เราเดินหน้าสู่เส้นทางดิจิทัลและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่เป็นนวัตกรรมและเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า 7-Eleven ของเรา”

ไพสิฐ จารุณนำศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ที่ ENRES กล่าวว่า เอ็นเรส (ENRES) สตาร์ทอัพผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคโนโลยี AI ในการประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ของอาคารและโรงงานขนาดใหญ่ทั่วเอเชีย “ในฐานะที่เป็นสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้น เราต้องมีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรและวิธีการปรับขนาดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการ AWS Activate ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและให้เครดิตที่เป็นเครื่องมือในการช่วยให้ ENRES สามารถพัฒนา proof-of-concept แพลตฟอร์มของเราบนคลาวด์”

“ด้วยภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกของเรา เราเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง AI และเทคโนโลยีนวัตกรรมอื่น ๆ สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานให้ดีขึ้นสำหรับบริษัทต่าง ๆ ลดการใช้พลังงาน และในขณะเดียวกันสร้างประโยชน์ให้กับโลกอีกด้วย การเปิดตัว AWS รีเจี้ยนใหม่ในประเทศไทย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความร่วมมือกับ AWS และช่วยให้ลูกค้าจำนวนมากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น”

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) เป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย “การทำงานร่วมกันกับ AWS ช่วยให้เราขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในธุรกิจของเราได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ที่ช่วยให้เราปรับขนาดได้”

ณัฐพล จงจรูญเกียรติ หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ PTTGC กล่าว “PTTGC สร้าง Data Lake บน AWS ที่ช่วยให้เราป้อนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น และรันแมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ เช่น โซลูชัน BPA Catalyst Life Prediction เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เราใช้ในธุรกิจ การทำความเข้าใจสภาวะที่เหมาะสมที่สุดที่จะยืดอายุของตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและประหยัดต้นทุนในการผลิตปิโตรเคมี เราตั้งใจที่จะร่วมมือกับ AWS ต่อไปเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคปิโตรเคมีมากขึ้นกับ AWS Region ในประเทศไทย”

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของประเทศไทย มีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ พีทีที สเตชั่น กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศและคาเฟ่อเมซอนมากกว่า 3,700 แห่งทั้งในและต่างประเทศ “เราร่วมมือกับ AWS เพื่อย้าย Loyalty Management System ของเราไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับแอปแบบครบวงจรใหม่ที่มุ่งเน้นที่จะเป็นโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับทุกไลฟ์สไตล์”

วิศน สุนทราจารย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืนของ OR กล่าว “อุตสาหกรรมพลังงานกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และเรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในขณะที่เราสร้างความหลากหลายให้กับธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน”

เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนที่มุ่งเน้นในการกำกับดูแลกิจการที่แข็งแกร่งและมีหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานกว่า 100 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง เอสซีจีได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและแบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ วัสดุก่อสร้างซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

ยุทธนา เจียมตระการ รองประธานฝ่ายองค์กร SCG กล่าวว่า “เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อธุรกิจของเราเพราะเราพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในขณะที่ดำเนินงานภายใต้สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับ AWS เอสซีจีและบริษัทในเครือได้ย้ายซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร SAP ทั้งหมดจากภายในองค์กรไปยังระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้เราเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุน และเร่งสร้างนวัตกรรม เพื่อเร่งความมุ่งมั้นสู่ยุคดิจิทัล เราวางแผนที่จะปรับปรุงแอปพลิเคชันที่ไม่ใช่ SAP ของเราบน AWS ให้ทันสมัย ​​เช่น CPAC Green Solution และระบบ Vendor Managed Inventory AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป”

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU) พัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายศูนย์การศึกษาทางไกลระดับภูมิภาคที่กว้างขวางเพื่อรองรับนักศึกษากว่า 200,000 คนทั่วประเทศ “เราเลือก AWS เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์เชิงกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” ดร.ศรันย์ นาคถนอม ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าว “STOU เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกที่อยู่บน AWS และใช้งานระบบคลาวน์อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากการย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดของเรา รวมถึงอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์ 137 เครื่อง โดยการดำเนินการบนคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบทำให้เราสามารถเร่งการเปิดตัวข้อเสนอดิจิทัลเพื่อมอบประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมมากขึ้นสำหรับนักเรียนของเรา ความสามารถในการปรับขนาดของ AWS ช่วยให้แผนกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 60 แผนก สามารถเปิดสอนหลักสูตรออนไลน์ 700 หลักสูตรในช่วงระยะเวลาสามเดือน เมื่อเทียบกับการสร้างแพลตฟอร์มบนระบบภายในองค์กรที่อาจต้องใช้เวลาถึงห้าปี เรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) รีเจี้ยนแห่งใหม่นี้ที่จะช่วยนำเสนอเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัลและปรับปรุงความสามารถในการสอนและการเรียนรู้ที่ STOU ต่อไป”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นสถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ทุกประเภทของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2518 โดยแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ชั้นนำคือ settrade.com ที่รองรับบัญชีกว่า 3.1 ล้านบัญชี และมีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 850 ล้านดอลลาร์ต่อวัน (32.3 พันล้านบาท) “AWS มอบโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่ง ปรับขนาดได้สูง และเวลาแฝงต่ำสำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด”นายถิรพันธุ์ สรรพกิจ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าว “ด้วยการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนดิจิทัล ตลาดหลักทรัพย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ของตลาด และนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตนี้ การใช้ AWS สำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ของตลท. ช่วยให้เราปรับขนาดได้อย่างง่ายดายเพื่อรองรับผู้ใช้พร้อมกันมากกว่า 400,000 ราย ในขณะที่ยังคงให้บริการซื้อขายใหม่สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลและหุ้นเศษส่วนอย่างต่อเนื่อง การเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของตลท. ในการนำเสนอข้อมูลตลาดที่มีความหน่วงต่ำ เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนพร้อมที่จะตัดสินใจซื้อขายได้ดีที่สุด”

พันธมิตร AWS ตั้งตารอโอกาสใหม่ในประเทศไทย

พันธมิตรในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของ AWS Partner Network (APN) ที่รวมผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และผู้รวมระบบ (SI) กว่า 100,000 รายทั่วโลก พันธมิตร AWS สร้างโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่บน AWS และ APN ให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ เทคนิค การตลาด และการเข้าสู่ตลาดแก่ลูกค้า AWS SI พันธมิตรที่ปรึกษา (consulting partners) และ ISV ช่วยให้ลูกค้าองค์กรและภาครัฐสามารถโยกย้ายไปยัง AWS ปรับใช้แอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อภารกิจ ให้บริการการตรวจสอบ การทำงานอัตโนมัติ และการจัดการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับสภาพแวดล้อมของลูกค้า ตัวอย่างพันธมิตรของ AWS ในประเทศไทยได้แก่ เดลิเทค (DailiTech), G-Able, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NTT), และ ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี) AWS ISV ในประเทศไทยอย่าง 2C2P และเอมิตี้ (Amity) ใช้ AWS เพื่อส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าทั่วโลกและวางแผนที่จะให้บริการลูกค้าชาวไทยจาก AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เมื่อเปิดตัว สำหรับรายชื่อสมาชิก APN ทั้งหมด สามารถดูได้ที่ aws.amazon.com/partners

บริษัทที่ปรึกษาเดลิเทค (DailiTech) เป็นพันธมิตร AWS Advanced Tier Services และพันธมิตรที่ปรึกษา (AWS Consulting Partners) ประจำปี 2564 ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2557 DailiTech ช่วยลูกค้าองค์กรและลูกค้าสตาร์ทอัพมากกว่า 150 รายในประเทศไทย ทั้งในภาคการเงิน โทรคมนาคม สื่อมวลชน อุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง และการค้าปลีก ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลบน AWS “DailiTech ทำงานร่วมกับธุรกิจที่ให้บริการทางการเงินและองค์กรภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งหมายความว่าการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ” ดร. วิชญ์ เนียรนาทตระกูล, กรรมการผู้จัดการ DailiTech กล่าว “เนื่องจากประเภทธุรกิจของลูกค้าซึ่งมีข้อมูลและการดำเนินงานเป็นความลับอย่างสูง เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการย้ายไปยังคลาวด์เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุด AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะเพิ่มความมั่นใจให้แก่เราในการนำเสนอโซลูชันการเงินที่ช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงธุรกิจของตนให้ทันสมัย ​​ในขณะที่ปฏิบัติตามความต้องการเก็บข้อมูลหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล”

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทโทรคมนาคมของรัฐของประเทศไทยและเป็นพันธมิตรภาครัฐของ AWS “เราได้ร่วมมือกับ AWS ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาครัฐของประเทศไทย” ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจดิจิทัล บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติกล่าว “ด้วยการใช้บริการและโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของอุตสาหกรรมของ AWS เราได้ช่วยหน่วยงานรัฐบาล 14 แห่งในการสร้างรากฐานทางดิจิทัลเพื่อให้บริการพลเมืองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น และแก้ปัญหาความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคม AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะทำให้โทรคมนาคมแห่งชาติมีโอกาสมากขึ้นในการนำเสนอโซลูชันที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าภาครัฐของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดและถิ่นที่อยู่ของข้อมูล ซึ่งสำคัญมากสำหรับรัฐบาลในการย้ายปริมาณงานไปยังระบบคลาวด์”

NTT Thailand เป็นพันธมิตรบริการระดับพรีเมียร์ของ AWS “ตั้งแต่ปี 2563 เราได้ปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยในประเทศไทยโดยใช้ AWS สำหรับแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญของภาคธุรกิจ ซึ่งช่วยให้บริษัทได้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่รวดเร็ว ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น และการประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของระบบคลาวด์” สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำประเทศไทย และ Communications Lifecycle Management (CLM) ของ NTT กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เนื่องจากลูกค้าของเราต้องการโซลูชันที่มีเวลาแฝงต่ำมากขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและแอปพลิเคชันการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในขั้นต่อไป โครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS จะช่วยให้ลูกค้าของเราใช้บริการการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์โดยมีเวลาแฝงที่ต่ำกว่า เพื่อทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เราตั้งตารอที่จะได้ช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจด้วย AWS”

การลงทุนของ AWS ในประเทศไทย

AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ที่กําลังจะเกิดขึ้นเป็นการลงทุนล่าสุดอย่างต่อเนื่องของ AWS ในประเทศไทยเพื่อมอบเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงและปลอดภัยแก่ลูกค้า ตั้งแต่ปี 2563 AWS ได้เปิดตัว Amazon CloudFront edge ทั้งหมด 10 แห่งในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ Amazon CloudFront เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ที่มีความปลอดภัยสูงและตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยเร่งการส่งข้อมูล วิดีโอ แอปพลิเคชัน และ API ให้กับผู้ใช้ทั่วโลกด้วยเวลาแฝงต่ำและความเร็วในการถ่ายโอนสูง โดยในปี 2563 AWS Outposts ได้เปิดตัวในประเทศไทย AWS Outposts เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWSไปยังตำแหน่งภายในองค์กรหรือตำแหน่ง Edge แทบทุกแห่งเพื่อประสบการณ์ไฮบริดที่สอดคล้องกันอย่างแท้จริง

AWS วางแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการเปิดตัว AWS Local Zone ที่กำลังจะมีขึ้นในกรุงเทพฯ AWS Local Zones เป็นหนึ่งในบริการการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่จัดวางการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการอื่น ๆ ที่เลือกสรรไว้ใกล้กับประชากรจำนวนมาก อุตสาหกรรม และศูนย์ไอที ทำให้ลูกค้าสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันที่ต้องการเวลาแฝงในหน่วยมิลลิวินาทีให้กับผู้ใช้ปลายทาง

เพื่อรองรับการเติบโตของการนำคลาวด์ไปใช้ในประเทศไทย AWS ยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะให้กับนักพัฒนาไทย นักเรียน และผู้นําด้านไอทีรุ่นต่อไปในประเทศไทยผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น AWS re/Start, AWS Academy และ AWS Educate โครงการด้านการศึกษาของ AWS เหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทุกรูปแบบในการเตรียมพร้อมสําหรับประกอบอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ ตั้งแต่หลักสูตรระดับวิทยาลัยไปจนถึงโปรแกรมการฝึกอบรมเต็มเวลา และเนื้อหาสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โปรแกรมเพื่อการศึกษาของ AWS มอบการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถเริ่มต้นหรือต่อยอดอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ได้ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่งในกรุงเทพฯ เชียงราย และปทุมธานี ได้รวมหลักสูตร AWS Academy ไว้ในหลักสูตรของสถาบัน AWS ยังทํางานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น Siam Cement Group เพื่อช่วยสร้างทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการและฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯ อีกด้วย นอกจากนี้ AWS วางแผนร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในแผนพัฒนาทักษะ และให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 1,200 คนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ หลักสูตรดิจิทัลแบบออนดีมานด์และอํานวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรภาครัฐสามารถพัฒนาทักษะที่จําเป็นในการนําเทคโนโลยีระบบคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ทําการตัดสินใจด้านการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้ดีขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นสําหรับประชาชน

AWS ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทย ผ่านโปรแกรม AWS Activate โปรแกรมนี้ให้การเข้าถึงคําแนะนําและการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของ AWS แบบตัวต่อตัว การสนับสนุนทางเทคนิค การให้คําปรึกษาทางธุรกิจ และโอกาสในการเข้าถึงเครดิตบริการของ AWS สูงสุด 100,000 เหรียญสหรัฐ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ AWS ยังทํางานร่วมกับชุมชนผู้ร่วมทุน (venture capital community) โครงการผลักดันและบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (startup accelerators and incubators) เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตในระบบคลาวด์อีกด้วย ในประเทศไทยซึ่งรวมถึงองค์กรผลักดันสตาร์ทอัพต่าง ๆ เช่น AIS The Startup และ Stormbreaker เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพ

ในปี 2564 AWS ได้ขยายโปรแกรม Startup Ramp มายังอาเซียน โปรแกรมนี้ ทุ่มเทให้กับการสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น ในขณะที่พวกเขาสร้าง เปิดตัว และขยายโซลูชันด้านต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ รัฐบาลดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การเกษตร และเทคโนโลยีอวกาศ AWS Startup Ramp ช่วยขจัดอุปสรรคสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐโดยการให้การตรวจสอบการออกแบบทางเทคนิคและสถาปัตยกรรม การให้คําปรึกษา เครดิต และการสนับสนุนด้วยแผนออกสู่ตลาด เพื่อช่วยในเรื่องข้อกําหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยที่ซับซ้อน สตาร์ทอัพในระยะแรกที่ทํางานเพื่อค้นหาความเหมาะสมของตลาดผลิตภัณฑ์และมองหาลูกค้ารายแรกสามารถสมัครเป็น Startup Ramp Innovators ได้ และสตาร์ทอัพที่มีรายได้จากลูกค้าแล้วและมุ่งเน้นการเติบโตและการขยายขนาดสามารถสมัครเป็นสมาชิก Startup Ramp เพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของโปรแกรมได้

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา AWS EdStart ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของ AWS ได้ช่วยผู้ประกอบการสร้างโซลูชันการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และการจัดการวิทยาเขต สมาชิก AWS EdStart ในประเทศไทยประกอบด้วย แกนติค (Gantik), โอเพ่นดูเรียน (OpenDurian) และ วอนเดอร์ (Vonder) ด้วยการใช้ AWS EdStart สมาชิกเหล่านี้ได้สร้างโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษา มอบประสบการณ์การเรียนรู้จากประสบการณ์ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ และเปิดใช้งานการให้คำปรึกษาเสมือนจริงระหว่างนักเรียนและผู้ประกอบการ

from:https://www.thumbsup.in.th/news-aws-invest-thai?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=news-aws-invest-thai

ชาวไอทีมีเฮ AWS เปิดอบรมหลักสูตร ML ฟรี 3 คอร์ส

ในยุคที่ความรู้ไม่มีจุดสิ้นสุดความต้องการด้านเทคโนโลยีก็เช่นกัน ด้วยระบบความสามารถของการทำงานด้านดิจิทัลจำเป็นต้องอัปเกรดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ คนเองก็เช่นกัน ทาง AWS (amazon web service) ได้เปิดตัวชุดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลแบบตามความต้องการ (on-demand) ฟรี 3 หลักสูตร เพื่อช่วยเสริมศักยภาพให้กับผู้นำธุรกิจและผู้ดูแลด้านเทคโนโลยี ด้วยความรู้พื้นฐานในการนำแมชชีนเลิร์นนิ่งมาใช้สร้างกลยุทธ์ แม้ผู้เข้าอบรมจะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนก็ตาม

คุณมิเชล เค.ลี รองประธานของอะเมซอน แมชชีนเลิร์นนิง โซลูชั่น แล็บ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Michelle K. Lee, Vice President of the Amazon Machine Learning Solutions Lab at Amazon Web Services) เปิดเผยว่า การเปิดตัว  Machine Learning Essentials for Business and Technical Decision Makers ซึ่งเป็นชุดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลแบบตามความต้องการ (on-demand) ฟรี 3 หลักสูตรนี้ เป็นเพราะบริษัทต้องการที่จะให้หลักสูตรนี้ เข้ามาช่วยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้นำธุรกิจและผู้ดูแลด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่ระบบของการปูความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเริ่มสร้างกลยุทธ์ในการใช้แมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning: ML) ในองค์กร แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์ด้านแมชชีนเลิร์นนิงมาก่อนก็ตาม

 

แต่ละหลักสูตรใช้เวลา 30 นาที ประกอบด้วยตัวอย่างการใช้งานจริง (real-world) จากประสบการณ์กว่า 20 ปีของ Amazon ในการขยาย ML ภายในองค์กรของตนเอง ตลอดจนบทเรียนที่ได้จากการใช้งานของลูกค้าที่ประสบความสำเร็จนับไม่ถ้วน หลักสูตรใหม่เหล่านี้อ้างอิงตามเนื้อหาที่อยู่บน AWS Machine Learning Embark program ซึ่งเป็นหลักสูตร ML แบบเร่งรัดพิเศษ ช่วยให้ผู้บริหารและนักเทคโนโลยีในองค์กรสามารถแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วย ML ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้แบบองค์รวม

หลังจากจบหลักสูตรทั้งสามแล้ว ผู้นำธุรกิจและผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีจะสามารถประเมินความพร้อมขององค์กรได้ดีขึ้น ระบุความต้องการของธุรกิจที่ ML จะส่งผลมากที่สุด รวมถึงระบุขั้นตอนต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม

ความต้องการทักษะ ML ที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แมชชีนเลิร์นนิง (ML) มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายอุตสาหกรรม แต่องค์กรส่วนใหญ่เผชิญกับปัญหาในการนำ ML มาปรับใช้ในระดับที่เหมาะสม การวิจัยล่าสุดของ Gartner แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 53% ของโครงการ ML เกิดขึ้นได้สำเร็จตั้งแต่ต้นแบบจนถึงการผลิต อุปสรรคที่เราพบบ่อยที่สุดในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับธุรกิจและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นองค์กรต่าง ๆ มักจะประสบปัญหาในการระบุการใช้งาน ML ที่ถูกต้องในช่วงเริ่มต้น

ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นปัญหาที่หนักขึ้น เนื่องจากองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะการใช้ ML ให้ตรงตามเป้าหมายขององค์กร จากการศึกษาอื่น ๆ ของ Gartner พบว่า “ทักษะของพนักงาน” เป็นความท้าทายหรืออุปสรรคอันดับแรกในการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ ML มาใช้ ผู้นำธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ด้วยการขับเคลื่อนวัฒนธรรมด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรยังขาดทรัพยากรในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับ ML และการใช้งาน

เมื่อปีที่แล้ว Amazon ประกาศว่าเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีด้วยการฝึกอบรมทักษะการประมวลผลบนคลาวด์ฟรีภายในปีพ.ศ. 2568 โดยหลักสูตรใหม่ Machine Learning Essentials for Business and Technical Decision Makers คืออีกก้าวหนึ่งของเราสำหรับแนวทางดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่

  • Machine Learning: The Art of the Possible เป็นหลักสูตรแรกในชุดนี้ มีการใช้ภาษาที่ชัดเจนรวมถึงมีตัวอย่างประกอบต่าง ๆ ที่เฉพาะเจาะจง ช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานของ ML กรณีการใช้งานทั่วไป หรือแม้แต่อุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  • Planning a Machine Learning Project คือหลักสูตรที่ 2 ซึ่งบอกถึงวิธีที่คุณสามารถช่วยองค์กรวางแผนโครงการ ML เริ่มต้นด้วยขั้นตอนการประเมินว่า ML เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณหรือไม่ และดำเนินการผ่านคำถามต่าง ๆ ที่คุณต้องถามระหว่างการปรับใช้ หลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น ความพร้อมของข้อมูล ระยะเวลาของโครงการ และการปรับใช้
  •  Building a Machine Learning Ready Organization คือหลักสูตรสุดท้าย นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีเตรียมองค์กรเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการนำ ML ไปใช้ ตั้งแต่การประเมินกลยุทธ์ข้อมูล ไปจนถึงวัฒนธรรม และการเริ่มนำร่อง ML และอื่น ๆ

การเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการฝึกอบรม ML อย่างกว้างขวางโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โปรแกรม AWS Machine Learning Embark เป็นบริการโดยตรงสำหรับลูกค้าบางราย และด้วยหลักสูตร Machine Learning Essentials for Business and Technical Decision Makers เรากำลังจัดทำส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัล AWS ML Embark ที่มีให้บริการทั่วโลกในรูปแบบสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองฟรี

นอกจากนี้ เรายังขยายความพร้อมใช้งานของโปรแกรม ML Embark แบบเต็มรูปแบบ ผ่าน AWS Partners ที่สำคัญที่รวมถึง Slalom Consulting เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมกันนำเสนอโปรแกรมเร่งรัดสุดพิเศษนี้ให้กับลูกค้าองค์กรที่ต้องการเริ่มต้นประสบการณ์การใช้ ML ของพวกเขา

from:https://www.thumbsup.in.th/aws-open-learning-matchine-learning?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=aws-open-learning-matchine-learning

วัฒนธรรมองค์กรแบบ Amazon ทำไมถึงสร้างนวัตกรรมได้ต่อเนื่อง 25 ปี

ภาพจาก Amazon Web Services ประเทศไทย

มาถึงวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Amazon ในฐานะหนึ่งบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก (มูลค่าตามราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่อันดับ 2 ของโลก รองจาก Microsoft)

Amazon ก่อตั้งโดย Jeff Bezos อดีตนักการเงินจากวอลล์สตรีทในปี 1994 ปัจจุบันมีอายุได้ 25 ปีแล้ว บริษัทเริ่มต้นจากการขายหนังสือออนไลน์ และพัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา Amazon สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ผู้บริโภคมองเห็น (เช่น หน้าเว็บที่ใช้งานง่าย, บริการสมาชิกพรีเมียม Amazon Prime, ผู้ช่วยอัจฉริยะ Amazon Alexa, บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง AWS, ร้านค้าปลีกไฮเทค Amazon Go) และที่ผู้บริโภคมองไม่เห็น (เช่น ระบบแนะนำสินค้าที่ผู้บริโภคน่าจะสนใจ, การปรับปรุงประสิทธิภาพของโกดังสินค้าให้ต้นทุนต่ำ ส่งของได้เร็วกว่าคู่แข่ง)

Jeff Bezos
Jeff Bezos ภาพจาก Amazon

คำถามที่น่าสนใจจึงเป็นว่า เพราะเหตุใด Amazon จึงสามารถผลิตนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้ตลอดเวลา คำตอบคงเป็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการสร้าง “นวัตกรรม” อยู่ใน DNA ของบริษัทตั้งแต่วันแรก

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล่าเรื่องวัฒนธรรมองค์กรของ Amazon ในโอกาสเปิดบ้านสำนักงานใหม่ของ AWS Thailand ที่ตึกสิงห์คอมเพล็กซ์ ถ.เพชรบุรี ว่านวัตกรรมของ Amazon เกิดจากการปลูกฝังของผู้ก่อตั้ง Jeff Bezos โดยตรง

มุมมองของ Bezos มองว่าถึงแม้ Amazon เปิดมานาน 25 ปี แต่ถ้ามองภาพรวมระยะยาวในระดับเป็นร้อยปีแล้ว เรายังอยู่ในยุคเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เขาจึงใช้คำว่า “Day 1” ในจดหมายประจำปีถึงผู้ถือหุ้น เพื่อตอกย้ำให้พนักงานรับรู้ว่า Amazon ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นตลอดเวลา และจะไม่มีวันเปลี่ยนไปเป็น Day 2 หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกระบวนการเทอะทะมากมาย ที่ไม่ก่อประโยชน์ให้ใครเลย

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย Amazon Web Services (AWS)

ให้ค่าลูกค้าคือที่หนึ่ง ลูกค้าไม่เคยผิด

ในมุมของคนทั่วไป อาจมองว่า Amazon เป็นบริษัท “ค้าปลีก” แต่ถ้าให้นิยามตัวเอง Amazon กำหนดภารกิจของบริษัทไว้สั้นๆ แค่เพียงว่า “We want to be earth’s most customer centric company” หรือเราจะเป็นบริษัทที่ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากที่สุดในโลกเพียงเท่านั้น ไม่กำหนดตายตัวว่าจะต้องอยู่ในธุรกิจค้าปลีกหรือธุรกิจอื่นใด

Bezos ย้ำตลอดเวลาว่าวิธีการทำงานของ Amazon จะให้ค่าลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง มีความคลั่งไคล้ในตัวลูกค้า (customer obsession) อย่างยิ่งยวด

ตัวอย่างวิธีการทำงานภายใน Amazon จะมีกระบวนการที่เรียกว่า Working Backward หรือการทำงานย้อนกลับหลัง บริษัททั่วไปเมื่อต้องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะทำงานโดยมุ่งไปข้างหน้า ได้แก่การค้นหาไอเดียที่คิดว่าน่าจะเหมาะสม พัฒนาจนออกเป็นผลิตภัณฑ์ ทดสอบกับตลาด และแถลงข่าวเปิดตัว พร้อมแจกเอกสาร press release ต่อนักข่าวว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองดีอย่างไรบ้าง

แต่กระบวนการทำงานของ Amazon จะเริ่มจากการเขียน press release จำลองสถานการณ์ในวันที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์จริงๆ ก่อนว่า สิ่งที่ Amazon นำเสนอต่อสื่อ (เพื่อถ่ายทอดไปยังลูกค้า) มีข้อดีอย่างไร แก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างไรบ้าง เมื่อได้ภาพฝันนั้นแล้ว จะนำกลับมาคิดกระบวนการถอยกลับมาเรื่อยๆ เพื่อค้นหาเส้นทางว่าทำอย่างไรถึงจะไปยังผลลัพธ์ที่ฝันไว้ได้ วิธีการนี้จะช่วยให้องค์กรไม่หลงทิศไประหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังรักษาความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา

อีกวัฒนธรรมหนึ่งใน Amazon คือ “Red Chair” หรือเก้าอี้สีแดง ที่ตั้งไว้ในห้องประชุมโดยไม่มีคนนั่ง เก้าอี้ตัวนี้เป็นตัวแทนของคนที่สำคัญที่สุดของบริษัทนั่นคือ “ลูกค้า” เมื่อใดก็ตามที่พนักงานเกิดการถกเถียง และไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ก็จะมองไปยังเก้าอี้ตัวนี้เพื่อประเมินว่า ถ้าเป็นลูกค้าจะตัดสินใจอย่างไร และตัดสินใจไปตามแนวทางนั้น

ภาพจาก Amazon Web Services (ประเทศไทย)

จงอดทน เล่นเกมระยะยาว

กฎข้อสำคัญอีกประการของ Amazon ที่ Bezos ตั้งเอาไว้ คือ “Be Patient” หรืออดทนเพื่อเป้าหมายในระยะยาว หลายเรื่องที่ Amazon คิดค้นขึ้นมา ไม่ประสบความสำเร็จในทันที แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป มันก็ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

ตัวอย่างความอดทนของ Amazon มีอยู่มากมาย เรื่องที่สำคัญคือบริการคลาวด์ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดจากความต้องการของบริษัทแม่ Amazon ฝั่งอีคอมเมิร์ซเอง ที่ต้องการปรับปรุงระบบไอทีของตัวเองให้ทันสมัย เอื้อให้เกิดนวัตกรรมของโลกอีคอมเมิร์ซได้อย่างรวดเร็ว พนักงานของ Amazon ที่มีไอเดียใหม่ๆ สามารถปรับเปลี่ยนระบบไอทีภายในได้ตามต้องการ เพื่อให้ธุรกิจก้าวได้รวดเร็วขึ้น ไม่ไปติดคอขวดที่ฝ่ายไอที

เมื่อ Amazon ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมในฝั่งคอมเมิร์ซแล้ว ก็เกิดไอเดียขึ้นว่า ทุกบริษัทน่าจะต้องการระบบไอทีภายในที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเช่นกัน

ในปี 2006 Jeff Bezos จึงเปิดตัว Amazon Web Services ต่อสาธารณะ ซึ่งในตอนนั้นบริการลักษณะนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และนักลงทุนในวอลล์สตรีทก็ตั้งคำถามกับ Amazon ว่าทำไมถึงแยกไปทำธุรกิจด้านไอทีองค์กร ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักด้านคอมเมิร์ซเลย

แต่มาถึงปัจจุบันนี้ ไม่มีใครตั้งคำถามต่อ AWS อีกแล้ว เพราะ AWS คือบริการคลาวด์อันดับหนึ่งของโลกแบบทิ้งห่างคู่แข่ง และมีรายได้เฉพาะฝั่ง AWS ถึงปีละ 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) และมีกำไรมหาศาล กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงองค์กร เพราะฝั่งคอมเมิร์ซของ Amazon ยอมขาดทุนตลอดเวลา

วัฒนธรรมองค์กรข้อหนึ่งที่ Bezos เขียนไว้คือ It’s about having a long-term horizon and being tenacious, but also being flexible enough to ultimately accomplish the long-term vision หรือจงมองเป้าหมายในระยะยาว และมั่นคงกับมัน แต่ยืดหยุ่นได้ในรายละเอียดระหว่างทาง เพื่อไปให้ถึงจุดหมายนั้นให้ได้

ภาพจาก Amazon.com

ทีมงานขนาดเล็ก คล่องตัว กล้าล้มเหลว

มาถึงยุคสมัยนี้ แนวคิดเรื่องการสร้างทีมขนาดเล็กที่ทำงานคล่องตัว ตามแนวทาง agile กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่แนวคิดเรื่องทีมขนาดเล็ก ถือว่ามีต้นกำเนิดมาจาก Amazon ด้วยเช่นกัน

Amazon มีชื่อเสียงมายาวนานเรื่อง Two-Pizza Team ที่เกิดจากมุมมองของ Bezos ว่าการสร้างทีมที่มีคนเยอะเกินไปจะใหญ่เทอะทะ ประชุมกันจะมีคนที่ไม่เกี่ยวข้องมากเกินไป เสียเวลาและทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์

ไอเดียของ Bezos จึงมองว่าทีมที่มีขนาดเหมาะสม ต้องอยู่ในขอบเขตที่สั่งพิซซ่ามา 2 ถาดแล้วเลี้ยงได้ครบทั้งทีม หรือประมาณ 4-10 คนเท่านั้น แนวทาง Two-Pizza Team ของ Bezos ถือว่ามีชื่อเสียงในวงการไอที และขยายมายังโลกธุรกิจอื่นๆ ในปัจจุบัน

เป้าหมายของการกำหนดขนาดทีม คือต้องการให้ทีมโฟกัสกับงานหลักเพียงเรื่องเดียว (single-threaded focus) และทีมงานรู้สึกเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ มีอิสระในการดำเนินงาน (self-directed and autonomous) เพื่อให้เกิดนวัตกรรม

ในอีกด้าน การจะปล่อยให้ทีมงานที่ค่อนข้างมีอิสระแบบนี้ สร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ องค์กรเองก็ต้องมีวัฒนธรรมกล้ายอมรับความล้มเหลว กล้าทดลองอะไรใหม่ๆ (An inventive mindset that is okay with failure and willing to experiment) และทีมงานก็ต้องรับทราบแต่แรกว่า การลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ก็ต้องทนกับเสียงวิจารณ์หรือความเข้าใจผิดๆ ของคนนอกทีมด้วยเช่นกัน (having the willingness to be misunderstood)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/amazon-day-1-innovative-culture/

วงสัมมนาชี้ธุรกิจไทยเดินหน้าไอทีมากขึ้น เพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจ

เรื่องของการเดินหน้านวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับภาครัฐและเอกชนในไทยนั้น ต้องยอมรับว่าเริ่มตื่นตัวมากขึ้นกว่าในอดีตเพราะภาคธุรกิจเริ่มรู้แล้วว่าหากไม่ปรับตัวให้ทัน จะเสียโอกาสและรายได้มหาศาล โดยบนเวทีสัมมนาของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) มีเนื้อหาที่น่าสนใจบนเวทีมากมายเลยนะคะ และทาง Thumbsup จะมาสรุปสิ่งที่น่าสนใจให้ค่ะ

จากปาฐกถาในหัวข้อ Realizing Digital Thailand โดยคุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เล่าว่า คำว่า Disruption กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากผู้บริหารระดับสูงตระหนักรู้และมีการพัฒนาตามเทรนด์ หากใครมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ก็หาโอกาสใหม่ๆ จับมือคู่ค้าใหม่ ถึงจะเรียกว่าเป็นโอกาสของผู้ชนะ

นอกจากนี้เทรนด์ Fintech, Startup, Digital Disruption ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว หากรู้จักปรับตัวตามให้ทัน ไม่ได้หมายความว่าการลงทุนเม็ดเงินเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานในองค์กรอย่างเดียว แต่เป็นการลงทุนเครื่องมือสำหรับอนาคต เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้ทันสมัยและตามผู้บริโภคได้ทัน

แม้ว่าการพัฒนาดิจิทัลในยุคนี้ จะเน้นเรื่องการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้งาน แต่การใช้ระบบอัจฉริยะต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่องค์กรมองเห็นความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน อย่างเช่นการนำเทคโนโลยี Cognitive มาใช้พัฒนาระบบความปลอดภัยและระบบสั่งการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพของธุรกิจ เป็นต้น

เช่นเดียวกับ ในวงอภิปราย Powering Business Competitiveness through Digitalization โดยดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ Country Manager ของ Amazon Web Service ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิคส์ (องค์กรมหาชน) นายสุวัฒน์มีมุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น ดร.กำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ โสจิพรรณ วัชโรบล Executive Director บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) ที่ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ว่า

ธุรกิจเร่งลงทุนไอที

ภาคธุรกิจค้าปลีก ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการลงทุนด้าน IT เยอะมาก ซึ่งแน่นอนว่าเม็ดเงินของการลงทุนช่วงแรกอาจจะสูง แต่ระบบต่างๆ ที่ลงทุนไปสามารถตอบสนองด้านความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี หรือการทำ Private Banking ของกลุ่มธุรกิจธนาคาร ที่แต่เดิมจะให้บริการเฉพาะลูกค้าระดับสูง ก็ปรับมาให้บริการแก่ลูกค้าทุกระดับ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ต้องการเดินทางมาที่สาขาได้ดีขึ้น ทำให้สามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และเพิ่มโอกาสทางรายได้ใหม่ๆ

ทั้งนี้ การลงทุน IT สำหรับองค์กรทุกระดับไม่ใช่เรื่องของกระแสอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพราะเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสามารถเข้าถึงคนหมู่มากและสร้างฐานรายได้ใหม่ๆ ได้ หากสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ได้

ยกตัวอย่าง เทคโนโลยีที่มีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ เช่น AI ที่ดึงเรื่องของ Voice, Image, Video และ Technology ต่างๆ มาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการให้บริการทีดีขึ้น เช่น Pinterest ที่มีมูลค่าทางธุรกิจกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็นำเรื่องของวิเคราะห์ภาพเพื่อหาโอกาสเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน จนเกิดช่องทางรายได้ เช่น กลุ่มเสื้อหา กระเป๋า สินค้าแฮนด์เมด ที่นอกจากนำเสนอสินค้าแล้วยังลิ้งไปยังต้นทางเพื่อหาโอกาสทางรายได้ใหม่ๆ ด้วย หรือแม้แต่จานซูชิบนสายพานก็มีการติดเครื่องมือแบบ IOT ไว้เพื่อดูว่าเมนูไหนลูกค้าสั่งเยอะ เมนูไหนลูกค้ากินไม่หมด เพื่อวิเคราะห์หาพฤติกรรมและปรับรูปแบบเมนูอาหารให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็พยายามที่จะตอบสนองธุรกิจเรื่องการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ด้วยราคาต้นทุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ เพราะส่วนใหญ่สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือนวัตกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เลย ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องลงทุนใหม่ หรือเริ่มต้นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เพราะเสียเวลาและต้นทุน ทำให้ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมต่างก็ต้องพยายามนำเสนอเครื่องมือที่เหมาะสมให้ธุรกิจเหล่านี้เลย

หรือแม้แต่สตาร์ทอัพเอง ก็มีเครื่องมือที่น่าสนใจเข้ามานำเสนอได้ตรงจุดกับความต้องการของลูกค้ามากกว่า เพราะเข้าใจในพฤติกรรมและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นได้ดี

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/07/tma-digital-disruption/

Sunny ประกันรูปแบบใหม่ ที่มาแรงหวังแย่งแชร์ธุรกิจประกันแบบเดิม

Sunday (ซันเดย์) แพลตฟอร์มประกันรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าเป็น InsurTech ก่อต้ังขึ้นเมื่อสิงหาคม 2560 ด้วยการดึงเทคโนโลยี AI และ Machine Learning  เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-Time ทำให้เกิดนวัตกรรมทางด้านประกันภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า หลังเป็นหลังบ้านให้ Grab ในการคุ้มครองพาร์ทเนอร์ผู้ขับของแกร็บ ขณะรับ –ส่ง ผู้โดยสาร ประกันสุขภาพ และประกันรถยนต์ราคาพิเศษสำหรับแกร็บโกลด์ (GrabGold) ล่าสุดก็ได้ลงทุนหลังบ้านเพิ่มเติมโดยใช้โซลูชั่นจาก Amazon Web Services หรือ AWS ในการเชื่อมระบบผ่าน Cloud Computing

ซินดี้ กัว ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซันเดย์ อินส์

จุดกำเนิดของ Sunday

Sunday เป็นดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ให้บริการประกันภัยรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการเป็นอินชัวร์เทค (InsurTech) ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มายกระดับการให้บริการด้านประกันภัยที่สะดวกและเป็นมิตรกับผู้ใช้ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์ที่ลูกค้าได้จากประกันภัยแบบเดิม โดยการใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น AI (Artificial Intelligence) และ Machine Learning พร้อมทั้งดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ทันสมัยเพื่อทำให้ประกันภัยเข้าถึงง่าย และมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับไลฟ์ไสตล์ยุคดิจิตอล

ปัจจุบันผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบการประกันภัยแบบปัจจุบัน   ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม ประกอบกับธุรกิจปัจจุบันต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทรานส์ฟอร์มเมชัน (Digital Transformation) ที่ต้องนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้เจาะตลาดลูกค้า ทำให้เราเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่างในธุรกิจประกันภัย

เทคโนโลยีที่ทันสมัยคือจุดแข็งของซันเดย์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัยที่เหนือกว่า อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์ความต้องการทั้งแบบเฉพาะบุคคล หรือองค์กรธุรกิจได้อย่างลงตัว แพลตฟอร์มของซันเดย์สร้างขึ้นโดยยึดลูกค้าเป็นหลัก โดยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึกและฐานข้อมูลสถิติด้านอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าทั้งรายย่อย และลูกค้าองค์กร (Corporate Clients)

“จุดเด่นของซันเดย์คือ ลูกค้าจะได้รับราคาที่เหมาะสม โดยลูกค้าสามารถเลือกความคุ้มครองได้ด้วยตนเองทำให้ได้รับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ลูกค้าพอใจในงบประมาณที่กำหนดเอง ซึ่งเหนือกว่าการซื้อประกันภัยแบบแพ็คเกจที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือก”

อีกจุดเด่นคือ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย โดยการใช้ Big data analytics มาวิเคราะห์ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น และออกแบบโปรโมชั่นและผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้า อีกทั้งยังทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วแบบบูรณาการ ทั้งระบบการขายและการเคลม สุดท้ายนี้เราต้องการให้ทำให้ ประกันภัยเป็นเรื่องง่าย และประหยัดเวลาเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เวลากับสิ่งอื่นๆที่สำคัญในชีวิต

เพิ่มโซลูชั่นรองรับการใช้งาน

การเลือกใช้โซลูชั่นจากอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services) หรือ AWS ซึ่งเป็นผู้นำการให้บริการระบบ Cloud Computing จะช่วยให้ซันเดย์สามารถนำเทคโนโลยี Machine Learning มาช่วยประมวลผลบน AWS Cloud Services เพื่อผสานกับแนวคิดการบริการประกันภัยที่ล้ำสมัย ทำให้บริษัทเป็นผู้นำทางตลาด InsurTech และยังเป็นรายแรกในไทย

“การผสานเทคโนโลยี AWS Cloud Computing และ Machine Learning ช่วยทำให้ซันเดย์สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซด์ หรือแอพพลิเคชั่น เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลเข้ามาในระบบ ระบบจะทำการประมวลผลข้อมูลหลายล้านหน่วยที่จัดเก็บบน AWS ในทันที เพื่อทำการคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย”

นอกจากนี้ ระบบฃยังสามารถรองรับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์จำนวนหลายหมื่นรายได้พร้อมกัน ส่งผลให้ลูกค้าได้รับข้อเสนอในราคาที่ดีกว่าประกันภัยแบบเดิมๆ ถึง 20% และยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความสร้างสรรค์ สำหรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของลูกค้าได้ อาทิ ประกันการเดินทางที่จ่ายชดเชยกรณีความล่าช้าของสายการบินแบบเรียลไทม์ (Flight Delay) โดยซันเดย์เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทางสภาพอากาศ และการบิน ทำให้สามารถจ่ายค่าชดเชยให้ลูกค้าได้ทันทีที่มีการล่าช้าตามเงื่อนไขที่กำหนด, บริการประกันสุขภาพรายเดือน หรือบริการประกันภัยการเดินทางขนาดย่อย (Micro Travel Insurance) ที่คิดเบี้ยประกันตามวันเวลาที่มีการเดินทางและประเทศที่ไป ซึ่งซันเดย์เป็นรายแรกที่สามารถเสนอความคุ้มครองแบบดังกล่าว ที่กล่าวมานี้ล้วนเกิดจากความสามารถของเทคโนโลยี AWS Cloud Computing และระบบ Machine Learning ในการคำนวณข้อมูลและรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางด้านของการสร้างความแตกต่างจากประกันภัยแบบปัจจุบันเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีบนดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัยซึ่งเข้าถึงง่าย และ ใช้งานสะดวก ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ด้วยราคาที่ประหยัดกว่า ช่วยลดต้นทุนในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure Cost) ทำให้สามารถเสนอราคาประกันภัยที่ถูกลงให้กับลูกค้า

ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายและพัฒนาธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเราต้องการจะขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจ นอกเหนือจากลูกค้าทั่วไป ช่วยสนับสนุนธุรกิจของพันธมิตรให้เติบโตและเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ ด้วยการมอบบริการประกันภัยที่ดีและคุ้มค่าให้ลูกค้าของพันธมิตรธุรกิจเพื่อร่วมเดินหน้าสร้างความสำเร็จในธุรกิจไปด้วยกัน

โดยที่ผ่านมามีองค์ธุรกิจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับซันเดย์และนำบริการประกันภัยรูปแบบใหม่ของซันเดย์ไปใช้ในธุรกิจแล้วหลายแหล่ง อาทิ แกร็บ (Grab) และดีแทค (Dtac) นอกจากนี้ ยังวางแผนจะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจาก Cloud Service ทำให้ไม่ต้องลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไอทีในตลาดใหม่ ส่งผลให้ซันเดย์กลายเป็นบริษัท Asset-Light ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต และเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว อันจะเห็นได้จากฐานลูกค้าภายใน 1 ปีที่เราเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2560 มีจำนวนผู้ใช้บริการแล้วกว่า 200,000ราย และ มียอดขายเติบโตถึงกว่า 30% ต่อเดือน

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/06/sunny-insurtech-aws/

Sunday ประกันรูปแบบใหม่ ที่มาแรงหวังแย่งแชร์ธุรกิจประกันแบบเดิม

Sunday (ซันเดย์) แพลตฟอร์มประกันรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าเป็น InsurTech ก่อต้ังขึ้นเมื่อสิงหาคม 2560 ด้วยการดึงเทคโนโลยี AI และ Machine Learning  เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-Time ทำให้เกิดนวัตกรรมทางด้านประกันภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า หลังเป็นหลังบ้านให้ Grab ในการคุ้มครองพาร์ทเนอร์ผู้ขับของแกร็บ ขณะรับ –ส่ง ผู้โดยสาร ประกันสุขภาพ และประกันรถยนต์ราคาพิเศษสำหรับแกร็บโกลด์ (GrabGold) ล่าสุดก็ได้ลงทุนหลังบ้านเพิ่มเติมโดยใช้โซลูชั่นจาก Amazon Web Services หรือ AWS ในการเชื่อมระบบผ่าน Cloud Computing

ซินดี้ กัว ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซันเดย์ อินส์

จุดกำเนิดของ Sunday

Sunday เป็นดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ให้บริการประกันภัยรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการเป็นอินชัวร์เทค (InsurTech) ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มายกระดับการให้บริการด้านประกันภัยที่สะดวกและเป็นมิตรกับผู้ใช้ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์ที่ลูกค้าได้จากประกันภัยแบบเดิม โดยการใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น AI (Artificial Intelligence) และ Machine Learning พร้อมทั้งดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ทันสมัยเพื่อทำให้ประกันภัยเข้าถึงง่าย และมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับไลฟ์ไสตล์ยุคดิจิตอล

ปัจจุบันผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบการประกันภัยแบบปัจจุบัน   ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม ประกอบกับธุรกิจปัจจุบันต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทรานส์ฟอร์มเมชัน (Digital Transformation) ที่ต้องนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้เจาะตลาดลูกค้า ทำให้เราเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่างในธุรกิจประกันภัย

เทคโนโลยีที่ทันสมัยคือจุดแข็งของซันเดย์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัยที่เหนือกว่า อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์ความต้องการทั้งแบบเฉพาะบุคคล หรือองค์กรธุรกิจได้อย่างลงตัว แพลตฟอร์มของซันเดย์สร้างขึ้นโดยยึดลูกค้าเป็นหลัก โดยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึกและฐานข้อมูลสถิติด้านอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าทั้งรายย่อย และลูกค้าองค์กร (Corporate Clients)

“จุดเด่นของซันเดย์คือ ลูกค้าจะได้รับราคาที่เหมาะสม โดยลูกค้าสามารถเลือกความคุ้มครองได้ด้วยตนเองทำให้ได้รับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ลูกค้าพอใจในงบประมาณที่กำหนดเอง ซึ่งเหนือกว่าการซื้อประกันภัยแบบแพ็คเกจที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือก”

อีกจุดเด่นคือ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย โดยการใช้ Big data analytics มาวิเคราะห์ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น และออกแบบโปรโมชั่นและผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้า อีกทั้งยังทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วแบบบูรณาการ ทั้งระบบการขายและการเคลม สุดท้ายนี้เราต้องการให้ทำให้ ประกันภัยเป็นเรื่องง่าย และประหยัดเวลาเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เวลากับสิ่งอื่นๆที่สำคัญในชีวิต

เพิ่มโซลูชั่นรองรับการใช้งาน

การเลือกใช้โซลูชั่นจากอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services) หรือ AWS ซึ่งเป็นผู้นำการให้บริการระบบ Cloud Computing จะช่วยให้ซันเดย์สามารถนำเทคโนโลยี Machine Learning มาช่วยประมวลผลบน AWS Cloud Services เพื่อผสานกับแนวคิดการบริการประกันภัยที่ล้ำสมัย ทำให้บริษัทเป็นผู้นำทางตลาด InsurTech และยังเป็นรายแรกในไทย

“การผสานเทคโนโลยี AWS Cloud Computing และ Machine Learning ช่วยทำให้ซันเดย์สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซด์ หรือแอพพลิเคชั่น เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลเข้ามาในระบบ ระบบจะทำการประมวลผลข้อมูลหลายล้านหน่วยที่จัดเก็บบน AWS ในทันที เพื่อทำการคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย”

นอกจากนี้ ระบบฃยังสามารถรองรับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์จำนวนหลายหมื่นรายได้พร้อมกัน ส่งผลให้ลูกค้าได้รับข้อเสนอในราคาที่ดีกว่าประกันภัยแบบเดิมๆ ถึง 20% และยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความสร้างสรรค์ สำหรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของลูกค้าได้ อาทิ ประกันการเดินทางที่จ่ายชดเชยกรณีความล่าช้าของสายการบินแบบเรียลไทม์ (Flight Delay) โดยซันเดย์เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทางสภาพอากาศ และการบิน ทำให้สามารถจ่ายค่าชดเชยให้ลูกค้าได้ทันทีที่มีการล่าช้าตามเงื่อนไขที่กำหนด, บริการประกันสุขภาพรายเดือน หรือบริการประกันภัยการเดินทางขนาดย่อย (Micro Travel Insurance) ที่คิดเบี้ยประกันตามวันเวลาที่มีการเดินทางและประเทศที่ไป ซึ่งซันเดย์เป็นรายแรกที่สามารถเสนอความคุ้มครองแบบดังกล่าว ที่กล่าวมานี้ล้วนเกิดจากความสามารถของเทคโนโลยี AWS Cloud Computing และระบบ Machine Learning ในการคำนวณข้อมูลและรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางด้านของการสร้างความแตกต่างจากประกันภัยแบบปัจจุบันเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีบนดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัยซึ่งเข้าถึงง่าย และ ใช้งานสะดวก ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ด้วยราคาที่ประหยัดกว่า ช่วยลดต้นทุนในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure Cost) ทำให้สามารถเสนอราคาประกันภัยที่ถูกลงให้กับลูกค้า

ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายและพัฒนาธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเราต้องการจะขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจ นอกเหนือจากลูกค้าทั่วไป ช่วยสนับสนุนธุรกิจของพันธมิตรให้เติบโตและเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ ด้วยการมอบบริการประกันภัยที่ดีและคุ้มค่าให้ลูกค้าของพันธมิตรธุรกิจเพื่อร่วมเดินหน้าสร้างความสำเร็จในธุรกิจไปด้วยกัน

โดยที่ผ่านมามีองค์ธุรกิจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับซันเดย์และนำบริการประกันภัยรูปแบบใหม่ของซันเดย์ไปใช้ในธุรกิจแล้วหลายแหล่ง อาทิ แกร็บ (Grab) และดีแทค (Dtac) นอกจากนี้ ยังวางแผนจะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจาก Cloud Service ทำให้ไม่ต้องลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไอทีในตลาดใหม่ ส่งผลให้ซันเดย์กลายเป็นบริษัท Asset-Light ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต และเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว อันจะเห็นได้จากฐานลูกค้าภายใน 1 ปีที่เราเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2560 มีจำนวนผู้ใช้บริการแล้วกว่า 200,000ราย และ มียอดขายเติบโตถึงกว่า 30% ต่อเดือน

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/06/sunday-insurtech-aws/

หนุนสตาร์ทอัพเริ่มธุรกิจง่ายขึ้น AWS Free Tier เพิ่มบริการ AI, Machine Learning และ IoT

การเริ่มต้นธุรกิจใหม่อาจต้องใช้ต้นทุน Amazon Web Service หรือ AWS เลยจัดการเพิ่มบริการใหม่ใน AWS Free Tier เพื่อให้สตาร์ทอัพและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ SME เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนด้านไอทีที่อาจมีราคาสูง

ผู้ที่สนใจการพัฒนาบริการ หรือธุรกิจที่ต้องการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ สามารถใช้ AWS Free Tier เพื่อทดลองใช้บริการเพื่อการพัฒนาบริการด้าน AI ได้ฟรีผ่าน 3 บริการหลัก ได้แก่

Amazon Rekognition บริการตรวจหา Deep learning-based image recognition service ให้การค้นหาสูงถึง 5,000 ภาพฟรีต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี

Amazon Polly ให้บริการแปลงตัวหนังสือเป็นเสียงพูดที่เป็นธรรมชาติ (Text-to-Lifelike Speech) ฟรี 5 ล้านตัวอักษรต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี

Amazon Lex การสั่งงานด้วยเสียง ที่มีความสามารถในการเข้าใจเสียงที่เป็นธรรมชาติ นักพัฒนาสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างแชทบอท (Chatbots) ได้สูงถึง 10,000 text requests ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี

ด้านการพัฒนา IoT ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม AWS Free Tier ได้เพิ่ม 2 บริการหลัก ได้แก่

AWS IoT ให้บริการในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สู่คลาวด์ พร้อมการส่งข้อความ (message) ระหว่างกันถึง 250,000 ข้อความต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี

AWS Greengrass บริการซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประมวลผล ส่งข้อความ การทำ data caching และความสามารถในการซิงค์ข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ทีเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วย AWS Greengrass อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันจะสามารถใช้ AWS Lambda ได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย ถึงแม้ในขณะที่อุปกรณ์เหล่านั้นจะไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้อุปกรณ์ได้ 3 ชิ้น ฟรี เป็นเวลา 1 ปี

 

สำหรับสตาร์ทอัพที่สนใจ สามารถสมัครใช้บริการได้ทันที

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/aws-free-tier-for-startup/

Xiaomi ย้ายข้อมูลผู้ใช้งานออกจากเซิร์ฟเวอร์ในจีน เตรียมขยายธุรกิจสู่ระดับโลก

ปีที่ผ่านถือว่าเป็นปีที่มีสีสันสำหรับ Xiaomi บริษัทผู้ผลิตมือถือสัญชาติจีน จนถึงขณะนี้มีโทรศัพท์ของ Xiaomi วางจำหน่ายแล้วใน 7 ประเทศทั่วเอเชีย และยังมีฝันที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นรออยู่ ซึ่งถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้วก็ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับบริษัทที่มีโรงงานประกอบในจีนเพียงที่เดียว แต่มีแผนจะวางจำหน่ายไปทั่วโลก ล่าสุด ทาง Xiaomi กำลังย้ายข้อมูลผู้ใช้งานออกจากเซิร์ฟเวอร์ในจีน  ตามการเปิดเผยของ Hugo Barra (VP ของ Xiaomi) ใน Google+

ขั้นตอนนี้อาจส่งผลกระทบกับลูกค้าปัจจุบันของ Xiaomi และลูกค้าในอนาคตอยู่บ้าง ในขณะที่ผู้ใช้งานในจีนยังคงใช้เซิร์ฟเวอร์ภายในประเทศต่อไปได้

การจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานไว้นอกประเทศจีน จะทำให้บริการต่างๆ ของ Xiaomi รวดเร็วขึ้น เช่น บริการ Cloud ของแอป MIUI (คล้ายๆ iMessage) และฟีเจอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Barra อธิบายว่า การย้ายข้อมูลนี้จะทำให้ผู้ใช้งานในอินเดียและมาเลเซียสามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้เร็วกว่าเดิม

179657676-580

จะเห็นว่า Xiaomi ให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านการบริการค่อนข้างมาก จากกลยุทธ์การตั้งราคาให้ต่ำกว่าชาวบ้าน ทำให้กำไรจากการขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ของบริษัทค่อนข้างต่ำ ส่วนบริการในด้านซอฟท์แวร์ทำรายได้มากกว่า ก่อนหน้านี้ Barra เคยให้สัมภาษณ์กับ The Next Web ไว้ว่า Xiaomi ไม่ขาดทุนแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ทางบริษัทไม่ได้สนใจข้อมูลกำไรหรือขาดทุน “เราสนใจแต่ตัวเลขรายได้เท่านั้น” ช่างเป็นผู้บริหารที่มองโลกในแง่ดีจริงๆ

เมื่อพูดถึงการย้ายเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลแล้ว ความปลอดภัยของข้อมูลก็จะเป็นประเด็นที่ต้องถูกตั้งคำถามอย่างช่วยไม่ได้ ไม่กี่เดือนก่อน Xiaomi ตกเป็นข่าวเรื่องแอบแชร์ข้อมูลผู้ใช้งานบางส่วนกับเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ในจีน ข้อมูลนี้ถูกแฉโดยบริษัทเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่มีชื่อว่า F-Secure หลังจากพบว่าข้อมลจำพวกหมายเลข IMEI เบอร์โทรศัพท์ของลูกค้า ชื่อที่บันทึกไว้ใน contanct และข้อความใน inbox ถูกแชร์ไปให้กับคู่ค้าของ Xiaomi ที่เลวร้ายที่สุดคือลูกค้าไม่สามารถเลือกได้ว่าจะข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างไร

และข้อมูลอะไรก็ตามในจีนก็น่าจะถูกเปิดให้รัฐบาลจีนเข้ามาตรวจสอบได้อยู่แล้ว

หลังจากตกเป็นข่าวนี้ Xiaomi ก็รีบแก้วิกฤติด้วยการให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เลือกว่าจะเก็บข้อมูลของตัวเองไว้เป็นความลับ (มันก็ควรจะเป็นแบบนี้แต่แรกแล้วนะ) และข้อมูลของผู้ใช้งานก็จะถูกย้ายไปเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลของ Amazon AWS ในโอเรกอน สหรัฐฯ​และสิงคโปร์

นอกจากนี้ Xiaomi ยังตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มคุณภาพการบริการในตลาดใหญ่ๆ อย่างอินเดียและบราซิล (บราซิลเป็นประเทศต่อไปที่ Xiaomi จะเข้าไปทำตลาด)

ในปีนี้ Xiaomi ขายโทรศัพท์ไปแล้วมากกว่า 60 ล้านเครื่อง และด้วยเป้าหมายที่จะเข้าสู่ตลาดโลก Lei Jun ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง เชื่อว่าในปี 2015 Xiaomi จะปิดยอดขายด้วยตัวเลขมากกว่า 100 ล้านเครื่อง

ที่มา : TechCrunch

from:http://thumbsup.in.th/2014/10/xiaomi-is-moving-international-users-data-out-of-china-ahead-of-further-global-expansions/

Amazon Cloudfront เปิดให้ใช้งาน POST, PUT และ HTTP method อื่นๆ

Amazon Cloudfront คือผู้ให้บริการ Content Delivery Service รายใหญ่รายหนึ่งที่มีสตาร์ทอัพมากมายใช้บริการ เพื่อช่วยให้ฝั่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง content จากภูมิภาคต่างๆได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราสามารถดาวน์โหลดรูปภาพ Instagram จากประเทศไทยผ่าน Amazon Cloudfront ของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้เร็วกว่าการดาวน์โหลดจากเซิฟเวอร์ในอเมริกาโดยตรง เป็นต้น

โดยในวันนี้ Amazon Cloudfront ได้ประกาศรองรับ HTTP method เพิ่มเติม คือ POST, PUT, DELETE, OPTIONS และ PATCH ซึ่งจะทำให้สามารถใช้พัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้หลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการอัพโหลดผ่าน Amazon Cloudfront ได้โดยตรง จากแต่เดิมที่ต้องวางเซิฟเวอร์ไว้ตามภูมิภาคต่างๆ เองเพื่อรองรับการอัพโหลดจากผู้ใช้

หลังการเปลี่ยนแปลงนี้ ค่าบริการของ Amazon Cloudfront ก็ยังคงอยู่ในราคาเดิม คือ ไม่มีขั้นต่ำแต่คิดเอาจากจำนวนของข้อมูลที่ส่งผ่าน Amazon Cloudfront ทั้งหมด เพียงแต่ค่าบริการในการอัพโหลดจะถูกกว่าการดาวน์โหลดสูงสุด 83%

ที่มา: AWS what’s new, Amazon Cloudfront

Amazon cloudfront, Amazon web service

from:http://www.blognone.com/node/49902