คลังเก็บป้ายกำกับ: 3D_PRINTER

คุยกับ Epson และการเติบโตของธุรกิจเครื่องพิมพ์ในการบริหารของ “ยรรยง มุนีมงคลทร”

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มักมองว่าเทรนด์การใช้กระดาษหรือเครื่องพิมพ์ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ลดการใช้งานกระดาษลงและส่งผลกระทบถึงธุรกิจเครื่องพิมพ์ ซึ่งทีมงาน Thumbsup ได้พูดคุยกับทางคุณยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ในเรื่องของการรับตำแหน่งใหม่และมุมมองในอุตสาหกรรมนี้จนถึงการเติบโตในอนาคต

หากย้อนถึงประวัติการทำงานของคุณยรรยงนั้น ต้องเรียกว่าเริ่มต้นทำงานกับเอปสัน มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของเอปสันที่เปิดให้บริการผ่านพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยจนถึงการขยายธุรกิจมาดำเนินธุรกิจในไทยด้วยตนเอง ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีก็น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้วว่าบริษัทเครื่องพิมพ์รายใหญ่นี้ยังคงยึดมั่นในการให้บริการในไทยต่อเนื่อง

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา หลายธุรกิจเจอผลกระทบค่อนข้างเยอะ แม้กระทั่งเอปสันเอง ในช่วง 3 เดือนแรกของการเกิดสถานการณ์วิกฤต และการปรับกลยุทธ์เข้าสู่ออนไลน์ก็ช่วยให้ยอดขายและโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าออนไลน์เป็นไปได้ดีขึ้น

“เรามีออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของตัวเองอย่างเป็นทางการบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จากเดิมที่ทำผ่านพาร์ทเนอร์ แต่เมื่อหน้าร้านต้องปิดตัว การทำออฟฟิเชียลแอคเคาท์ก็เป็นอีกทางรอดหนึ่งที่เรากับคู่ค้ารายย่อยช่วยเหลือกัน เพื่อให้พยุงธุรกิจไปได้”

คนอาจจะมองว่าช่วงโควิดไม่มีการทำงานออฟฟิศและไม่ต้องไปเรียนอาจจะลดการใช้เครื่องพิมพ์ลง เพราะเรียนหรือทำงานออนไลน์แทน แต่โอกาสใหม่ที่เอปสันได้รับคือ มีคนสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ไปใช้งานที่บ้านมากขึ้น เพราะเขายังต้องทำงานและยังต้องเรียน

กลยุทธ์ออนไลน์ที่เอปสันปรับใช้คือ

  • E-commerce โปรโมทออฟิเชียลสโตร์ เพื่อช่วยเติมเต็มช่องทางของร้านค้าที่ปิดไป และมีกิจกรรมต่อเนื่อง
  • Online Communication มีแพลตฟอร์มที่จะสื่อสารกับลูกค้า เปิดตัว LINE OA และเพิ่มช่องทางในการขอความช่วยเหลือจากลูกค้า ฮอตไลน์เยอะมาก
  • E-learning มีการทำงานเยอะขึ้นทำเทรนนิ่งผ่านแอพต่างๆ

แม้ว่าภาพรวมของหลายๆ อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบลดลงอย่างหนัก อย่างในกลุ่ม IT เอง ติดลบ 12% หรือกลุ่มค้าปลีกติดลบ 23% หรือกลุ่มกล้องที่ติดลบสูงถึง 57% ส่วนธุรกิจปริ้นเตอร์ก็ลดลง 20% ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกังวลว่าสถานการณ์วิกฤตในครั้งนี้ส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมและยังเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นกลับมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ทำให้กลยุทธ์ของเอปสันในปีนี้ ปรับสัดส่วนเป็น B2B 30% และ B2C 70% เพราะมองว่าธุรกิจ B2B ไม่ปรับขึ้นและลงรุนแรงแต่สามารถเป็นสัญญาร่วมกันระยะยาว และมีการใช้งานสินค้าต่อเนื่อง เช่น การเปิดให้เช่าเครื่องใช้งาน ค่าบริการเริ่มต้น 900 บาท (เหมาะกับกลุ่ม SME) เสมือนการเช่าซื้อและราคาที่ให้เลือกก็หลากหลายไม่ต้องลงทุนและรับผิดชอบต่างๆ เอง เพราะเอปสันจะเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องของการบำรุงรักษา เปลี่ยนหมึก และให้บริการได้ตลอด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เอปสันมองว่าน่าจะเป็นไปได้ดี

โดยเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตได้ดี เน้นไปที่สินค้าหลักคือ Inkjet เครื่องพิมพ์หน้ากว้าง เครื่องพิมพ์ฉลาก หรือแม้แต่การทำโรบอตเพื่อใช้งานในโรงพยาบาล เป็นต้น

“โปรเจคใหญ่ที่เราภูมิใจคือการร่วมมือกับโรงพยาบาลพิมพ์ฉลากสั่งยา ใบสั่งจ่าย รวมทั้งพิมพ์ตารางสำหรับให้ผู้ป่วยสามารถกินยาตามเวลาที่หมอกำหนด เพื่อลดความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งเป็นแนวทางที่เอปสันจะมุ่งไป”

ส่วนกลุ่มคอนซูเมอร์ของปีนี้คาดว่าจะเหนื่อย เพราะยังไม่ได้มีการใช้งานที่มากนัก แม้จะมีทิศทางการสั่งซื้อไปใช้งานที่บ้านแต่ก็ยังเป็นกลุ่มเล็ก ซึ่งเรายังจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการใช้จ่ายอยู่

นอกจากนี้ เอปสันยังต้องการพาร์ทเนอร์ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นทั้งเชิงลึกและกว้างโดยจะมีเพิ่มอีก 7 รายจากเดิมที่มีอยู่เพื่อให้องค์กรทำงานได้เต็มที่ ประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้งานเครื่องได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งกลุ่มหน่วยงานการศึกษา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีการใช้งานโปรเจคเตอร์ของเอปสัน

“เราจะมีการให้บริการในกลุ่มประกัน ธนาคาร โรงเรียน ห้าง บริษัทท่องเที่ยว ก็เป็นลูกค้าหลัก ในรูปแบบของ as a serviceมากขึ้น”

ส่วนรายได้ของปีที่ผ่านมา ด้วยปีบัญชีของเอปสันที่เป็นช่วงเมษายน-มิถุนายน ทำให้รายได้ของปีที่แล้วค่อนข้างติดลบ แต่ก็เริ่มกลับมาฟื้นดีขึ้นในไตรมาสแรกของปีและเชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังจนถึงปีหน้า เอปสันจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

from:https://www.thumbsup.in.th/epson-interview-overview-printer?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=epson-interview-overview-printer

ICON สร้างบ้านทั้งหลังจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้ใน 24 ชั่วโมง ด้วยงบประมาณราว 121,300 บาท

ICON เป็นบริษัทที่รับสร้างบ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่เรียกว่า Vulcan ซึ่งบริษัทฯ มั่นใจว่าสามารถสร้างบ้านทั้งหลังบนเนื้อที่ 600 – 800 ตารางฟุต หรือ 55 – 74 ตารางเมตร ได้ในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ด้วยงบประมาณ 4,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 121,300 บาท

เครื่องพิมพ์บ้าน 3 มิติ ของ ICON สามารถสร้างบ้านทั้งหลังได้โดยไร้รอยต่อ ยกเว้นประตูและหน้าต่างที่จะต้องติดตั้งภายหลัง โดยสามารถก่อผนังได้สูงราว 2.6 เมตร กว้าง 8.5 เมตร และปูนซีเมนต์ที่ใช้ยังทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง สามารถควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต จึงใช้คนงานในการก่อสร้างเพียงไม่กี่คน เหมาะสำหรับนำไปใช้ในพื้นที่ชนบท

ปัจจุบัน เครื่องพิมพ์บ้าน 3 มิติ ของ ICON ได้รับการอัพเกรดเป็น Vulcan II และมีแผนนำไปใช้สร้างบ้านราคาประหยัดในพื้นที่ต่างๆ แถบละตินอเมริกา

ที่มา – BusinessInsider
https://www.flashfly.net/wp/281803

from:https://www.flashfly.net/wp/281803

เครื่องพิมพ์ 3 มิติหลายพันเสี่ยงต่อการโจมตีผ่านอินเทอร์เน็ต

SANS Internet Storm Center ได้เผยว่ามีเครื่องพิมพ์ 3 มิติประมาณ 3,700 ตัว (อ้างอิงจาก Shodan Search) ที่ใช้งาน OctoPrint มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะตั้งค่าป้องกันการเข้าถึงได้ไม่ดีพอ ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วย เยอรมันนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และแคนนาดา เป็นต้น

credit : https://www.securityweek.com

OctoPrint เป็นโอเพ่นซอร์สอินเทอร์เฟสเว็บสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตาม ควบคุมอุปกรณ์และงานที่ต้องการพิมพ์ได้ เช่น สามารถสั่ง เริ่ม หยุดและยกเลิกงานได้ นอกจากนี้ยังได้รองรับการใช้งานกล้องเว็บแคมที่ฝังอยู่กับอุปกรณ์ด้วย อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นคือผู้ใช้งานมีการตั้งค่าควบคุมการเข้าถึงได้ไม่ดีพอ ดังนั้นแฮ็กเกอร์อาจฉวยโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้

ตัวอย่างของการโจมตีดีมีหลายรูปแบบ เช่น แฮ็กเกอร์อาจเข้าถึงไฟล์ G-code ซึ่งเก็บคำสั่งที่จำเป็นในการพิมพ์วัตถุ 3 มิติ ในกรณีขององค์กรอาจเสี่ยงต่อความลับทางการค้าได้ หรือ อัปโหลดไฟล์ G-code ที่สร้างขึ้นแบบพิเศษและใช้ให้อุปกรณ์พิมพ์ตอนที่ไม่มีใครอยู่ รวมถึงอาจเข้าแก้ไขโค้ดเดิมได้ นอกจากนี้ตัวเครื่องพิมพ์เองอาจก่อให้เกิดดหตุการณ์ไฟไหม้ได้เพราะแฮ็กเกอร์อาจสามารถสร้างอุณหภูมิสูงขณะกำลังใช้งานระบบ สุดท้ายยังสามารถสอดแนมกล้องเว็บแคมที่ฝังในอุปกรณ์ได้ด้วย

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้เป็นช่องโหว่ของตัว OctoPrint แต่เป็นผลจากผู้ใช้ในการตั้งค่าเอง เนื่องจากนักพัฒนา OctoPrint ได้แนะนำให้ผู้ใช้ป้องกันแล้วโดยใจความของคำแนะนำในเอกสารคือ “ถ้าผู้ใช้ต้องการเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ต ควรเปิด Access Control นอกจากนี้ไม่ควรให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเตอร์เน็ตแต่ใช้งานผ่าน VPN หรืออย่างน้อยมีการพิสูจน์ตัวตนผ่าน HTTP บนเลเยอร์เหนือ OctoPrint

from:https://www.techtalkthai.com/3d-printer-risk-from-attack-over-internet/

นักวิจัยชี้ เครื่องพิมพ์แบบ 3D อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตี!

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยประจำ SANS Internet Storm Center (ISC) พบเครื่องพิมพ์ 3D จำนวนกว่า 3,700 เครื่องที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง และไม่มีระบบความปลอดภัยใดๆ ป้องกัน จนทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะถูกเข้าควบคุม ดูดข้อมูลความลับทางการค้า หรือแม้แต่สร้างความเสียหายทางกายภาพร้ายแรง

โดยพบว่าเครื่องพิมพ์เหล่านี้ถูกควบคุมด้วยชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ชื่อ “OctoPrint” และซอฟต์แวร์อื่นที่คล้ายกัน ซึ่งน่าแปลกใจตรงที่ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเหล่านี้ก็มีคู่มือแนะนำการตั้งค่าให้เกิดความปลอดภัยอยู่แล้ว แต่เหมือนผู้ใช้จำนวนมากกลับเพิกเฉยไม่ระวังในส่วนนี้

OctoPrint เป็นเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับเข้าจัดการเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าควบคุมและตรวจสอบเครื่องพิมพ์ต่างๆ ได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการตั้งค่าความปลอดภัยไว้เพียงพอ แต่ละอินซแตนซ์ของ OctoPrint ก็สามารถเข้าถึงได้โดยไม่โดนบังคับให้ต้องยืนยันตนแต่อย่างใด ซึ่งแค่แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมเครื่องพิมพ์ได้ ก็จะสามารถดูดไฟล์แบบสามมิติที่ถูกสั่งมาปริ๊นท์ที่เครื่องดังกล่าวเอาไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากความลับทางการค้าที่อาจหลุดรั่วไปแล้ว ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจตั้งค่าเครื่องจากระยะไกล หรืออัพโหลดไฟล์อื่นแทนที่ให้ผลิตชิ้นส่วนที่ไม่ได้คุณภาพแทน หรืออัพไฟล์อันตรายที่ทำให้เครื่องพิมพ์ร้อนเกินไป และเกิดเพลิงไหม้ได้ด้วย ทั้งนี้ทางผู้เชี่ยวชาญย้ำเสมอว่าอุปกรณ์ที่ต้องการให้เข้าถึงจากอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ควรตั้งค่ามักง่ายเพียงแค่ฟอร์เวิร์ดพอร์ต โดยที่ไม่ได้ตั้งค่าความปลอดภัยอย่าง ACL หรือแบ่งส่วนเครือข่ายพร้อมใช้โซลูชั่นความปลอดภัยมาควบคุม

from:https://www.enterpriseitpro.net/3d-printers-hackable/

HP เปิดตัว 3D Printer สำหรับโรงงาน พิมพ์พลาสติกหลายสีในชิ้นงานเดียวกันได้ พิมพ์โลหะได้

HP ได้ออกมาประกาศเปิดตัวถึง 3D Printer รุ่นใหม่ล่าสุดที่รองรับการพิมพ์พลาสติกหลายสีในชิ้นงานเดียวกันได้ และรองรับการพิมพ์โลหะได้ เพื่อใช้ในการผลิตต้นแบบและชิ้นส่วนภายในโรงงานได้เลยในตัว ตอบโจทย์การทำ Digital Manufacturing ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Credit: HP

 

Dion Weisler ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO แห่ง HP ได้ออกมาประกาศถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 3D Printer รุ่นใหม่นี้ที่ใช้เทคโนโลยี Multi Jet Fusion ทำให้สามารถพิมพ์วัสดุหลายสีในชิ้นงานเดียวกันได้ และมีผิวงานที่เรียบเนียนกว่าเดิม ทำให้การผลิตชิ้นงานแบบ Prototype สามารถทำได้สวยงามและรวดเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน

ในเวลาเดียวกัน HP ยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่ม 3D Metal Printing ที่ใช้พิมพ์โลหะโดยเฉพาะ ต่างจาก 3D Printer รุ่นก่อนๆ ของ HP ที่ใช้พลาสติกโพลีเมอร์เป็นหลัก ซึ่ง HP ได้ลงทุนวิจัยและมีสิทธิบัตรด้านการพิมพ์โลหะเป็นของตัวเองเป็นจำนวนมากด้วย

ผลิตภัณฑ์ทั้งสองนี้คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2018 และถึงแม้ว่าปัจจุบันส่วนแบ่งยอดขายของผลิตภัณฑ์ 3D Printer ของ HP นั้นจะยังน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากยอดขายรวมทั้งหมดของ HP ที่ 50,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1.75 ล้านล้านบาท แต่ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงถึง 12 ล้านล้านเหรียญหรือราวๆ 420 ล้านล้านบาทซึ่งเป็นตลาดเครื่องจักรการผลิตในโรงงานทั่วโลกแล้ว การลงทุนผลักดันเทคโนโลยีครั้งนี้ของ HP ก็ถือว่าน่าติดตามไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ที่มา: http://www.crn.com/news/components-peripherals/300093846/3d-blockbusters-hp-ups-3d-printing-ante-with-new-low-cost-color-model-and-metals-functionality.htm?itc=refresh

from:https://www.techtalkthai.com/hp-announces-full-color-3d-printer-and-3d-metal-printer/

HP ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการนำเทคโนโลยี 3D มาปฏิวัติวงการรองเท้า

HP ประกาศเปิดตัว FitStation powered by HP, พร้อมปฏิวัติวงการรองเท้าด้วยการนำเสนอวิธีการเลือกรองเท้าในรูปแบบใหม่ พร้อมนำเทคโนโลยีและเครื่องพิมพ์แบบ 3D มาช่วย รองรับการเติบโตของตลาดรองเท้า

Credit: HP


FitStation
ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของบริษัท HP ที่ได้นำหลายๆ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ 3 มิติ มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง

FitStation powered by HP เป็นนวัตกรรมที่ประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ทำงานด้วยการสแกนเท้าของผู้ใช้งานแต่ละคน วัดน้ำหนักและแรงกดในการลงเท้า รวมไปถึงวิเคราะห์ลักษณะของการเดิน จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และสร้างเป็น Digital Profile ของเท้าในแต่ละข้าง เมื่อทำการสร้าง Digital Profile เสร็จแล้ว HP จะนำเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D มาใช้ เป็นการพิมพ์พื้นในรองเท้า (แผ่นรอง) โดยใช้ HP Multi Jet Fusion รวมไปถึงตัวรองเท้าเองที่เป็นแบบลักษณะเฉพาะของบุคคลเท่านั้น

Credit: HP

 

ทั้งนี้ FitStation จะเริ่มช่วง Pilot​ Project กับร้านรองเท้าชื่อดังอย่าง Superfeet ที่มีหน้าร้านมากกว่า 4,000 สาขาเป็นช่วงทดลอง รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตรองเท้า Safety ในเยอรมัน ก็จะนำ FitStation ไปช่วยในการทำให้รองเท้าที่ตนเองผลิตมีความสบายในการสวมใส่มากขึ้น ช่วยป้องกันในเรื่องของสุขภาพและอุบัติเหตุ

ที่มาhttp://www8.hp.com/us/en/hp-news/press-release.html?id=2512130

from:https://www.techtalkthai.com/hp-steps-up-with-3d-technology/

Adidas เผยโฉมรองเท้าจากเครื่องปรินท์ 3D รุ่นใหม่ เตรียมวางขายปลายปีนี้

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานี้ Adidas ได้เผยโฉมรองเท้ารุ่น Futurecraft 4D ที่ใช้เทคโนโลยีการปรินท์ 3D ผลิตพื้นรองเท้าที่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง และทนทาน มีแผนออกวางจำหน่ายจริง 5000 คู่ปลายปีนี้และมากกว่า 100,000 คู่ภายในปี 2018

Adidas Futurecraft 4D (Credit: Carbon)

โดยทั่วไปแล้ว รองเท้าสำหรับโอกาสต่างๆมักต้องการความหนาแน่นในพื้นรองเท้าในจุดต่างๆไม่เท่ากัน เช่นรองเท้าวิ่งอาจต้องการให้พื้นรองเท้าส่วนนิ้วเท้ามีความแข็งแรงกว่าส่วนอื่นๆ ผู้ผลิตรองเท้าจึงต้องทำการผลิตส่วนต่างๆตามความหนาแน่นแล้วนำมาประกอบกันภายหลัง การใช้เทคโนโลยี 3D printing ในการผลิตจึงจะทำให้ Adidas สามารถผลิตพื้นรองเท้าที่มีความหนาแน่นแต่ละจุดต่างกันแต่เป็นชิ้นเดียวกันชึ้นมาได้ ด้วยการปรับรูปทรงของ lattice เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่ต้องการตามจุดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ปรับเปลี่ยนไปเป็นการผลิตพื้นรองเท้าสำหรับรุ่นอื่นๆง่ายขึ้นอีกด้วย

ภาพการเรียงตัว lattice เรซิ่นในพื้นรองเท้า (Credit: Carbon)

ก่อนหน้านี้ในปี 2016 Adidas เคยออกวางจำหน่ายรองเท้าที่ผลิตจาก 3D printer มาแล้วในราคาคู่ละ $333 เหรียญ แต่ก็ไม่สามารถวางขายให้ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากยังประสบปัญหาในการผลิตสินค้าปริมาณมากสู่ตลาด แต่ในคราวนี้ Adidas ร่วมมือกับ Carbon บริษัท 3D-printing จาก Silicon Valley ผู้สร้างเทคโนโลยีที่ทำให้การปรินท์ 3D เพื่อการผลิตขนาดใหญ่ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

Carbon ใช้เทคโนโลยีการปรินท์ 3D ที่เรียกว่า Digital Light Synthesis ซึ่งสามารปรินท์ได้เร็วกว่าเครื่องปรินท์อื่นๆในท้องตลาดถึง 10 เท่า และใช้เรซิ่นเหลวซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่าวัสดุในการปรินท์ 3D ทั่วไป โดยเทคโนโลยีนี้ใช้ลำแสงส่องจากภายใต้ถาดในการเปลี่ยนให้เรซิ่นเหลวเป็นของแข็ง ค่อยๆปรินท์วัตถุจากด้านบนลงล่างด้วยการยกส่วนที่แข็งแล้วออกตามภาพประกอบ

การปรินท์โดยใช้พลังงานแสงจากข้างใต้ถาดเรซิ่นเหลว (Credit: Carbon)

เมื่อทำการพิมพ์พื้นรองเท้าจากเครื่องพิมพ์ 3D แล้ว Adidas ก็จะนำพื้นนี้ไปประกอบกับตัวรองเท้าซึ่งเป็นผ้าตามการผลิตปกติ

การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกในการใช้ 3D printer ในการผลิตรองเท้าระดับ mass production ซึ่งอาจจะกลายมาเป็นก้าวแรกของการผลิตรองเท้าแห่งโลกอนาคตเลยก็ว่าได้

 

ที่มา: https://techcrunch.com/2016/12/15/3didas/

from:https://www.techtalkthai.com/adidas-3d-printing-shoes-futurecraft-4d/

รู้จัก Mobile 3D Printer หุ่นยนต์ที่พิมพ์ 3 มิติได้ สร้างบ้านได้ใน 1 วัน

Apis Cor คือชื่อของ Startup ที่พัฒนาหุ่นยนต์ติด 3D Printer เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบเคลื่อนที่ได้ ทำให้สามารถพิมพ์งานขนาดใหญ่ เช่น บ้าน เสร็จได้ทั้งหลังภายในเวลาเพียงแค่ 1 วัน และไม่ต้องอาศัยคนประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันมากอย่างแต่ก่อน

Credit: Apis Cor

 

บ้านที่ Apis Cor สร้างขึ้นได้ภายใน 1 วันนี้ มีพื้นที่ 38 ตารางเมตร และมีราคาเพียงแค่ 10,134 เหรียญ หรือราวๆ 354,690 บาทเท่านั้น โดยราคานี้รวมทั้งโครงสร้าง, หลังคา, ประตู, หน้าต่าง และการตกแต่งภายนอกภานในหมดเรียบร้อยหมดแล้ว โดยนอกจากโครงสร้างของบ้านแล้ว ส่วนที่เหลือต้องมีคนมาประกอบเข้าไป

ลองดูโฆษณาการทำงานของ Apis Cor ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

การนำ 3D Printer มาใช้สร้างบ้านได้นี้ จะเปิดโอกาสให้กับงานออกแบบใหม่ๆ ของสถาปนิกทั่วโลก ในขณะที่การแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ธุรกันดารหรือหลังเกิดเหตุภัยพิบัตินั้นก็สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีนี้เช่นกัน

 

ที่มา: https://www.weforum.org/agenda/2017/03/this-robot-can-print-a-house-in-24-hours

from:https://www.techtalkthai.com/apis-cor-mobile-3d-printer-robot-startup-that-can-print-a-house-in-just-one-day/

[PR] เครื่องพิมพ์ 3มิติเปลี่ยนโฉมธุรกิจ เมื่อสร้าง economy of scale

กรุงเทพ – 15 มีนาคม 2560 – เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติทำให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้ง่ายขึ้น เปลี่ยนภูมิทัศน์ของธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตโดยสิ้นเชิง ทำให้มี “การประหยัดต่อขนาด” (economy of scale) ในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบสิ้นเปลืองระหว่างการผลิต และยังเปิดโอกาสให้นักออกแบบเห็นโมเดล 3 มิติที่ตนออกแบบ ปรับแก้ได้เอง ไม่ต้องว่าจ้างผู้ผลิต โรงงานผลิตสินค้าจำนวนการสั่งซื้อ จึงนิยมนำไปใช้ในธุรกิจหลายประเภท โดยเฉพาะด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้วยประโยชน์และบทบาทสำคัญเชิงธุรกิจเช่นนี้ บริษัทยิบอินซอยจำกัดซึ่งมีนโยบายในการให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการผลิตบุคลากรออกสู่วงธุรกิจและอุตสากรรมให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว บริษัทยิบอินซอยจำกัด โดยคุณมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารจึงได้มอบเครื่องพิมพ์ 3มิติ ให้แก่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน และสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อมีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี 3มิติให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้เมื่อจบการศึกษา โดยมี ผศ. ดร. ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ หัวหน้าภาควิชาวิศกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนรับมอบ

###

เกี่ยวกับยิบอินซอย

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีครบวงจร ทั้งซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่นส์ ฮาร์ดแวร์ รวมถึงให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ อาทิ การเงินและการธนาคาร โทรคมนาคม ภาครัฐและเอกชน ด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 คน ที่มุ่งมั่นให้บริการอย่างเต็มประสิทธิ ภาพแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น การบำรุงรักษาระบบเครือข่าย อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม โซลูชั่นศูนย์ข้อมูล และระบบเฝ้าระวัง (หรือระบบติดตามเฝ้าระวัง) โดยเน้นความร่วมมือกับลูกค้าอย่างเป็นระบบเพื่อการให้บริการและส่งมอบโซลูชั่นที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ลูกค้าเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยิบอินซอยยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมากมาย

from:https://www.techtalkthai.com/yip-in-tsoi-gives-chulalongkorn-university-3d-printers/

Ford ทดลองพิมพ์ชิ้นส่วนรถยนต์จาก 3D printer ที่สามารถปรินท์ชิ้นส่วนรถยนต์ขนาดใหญ่ได้

Ford ประกาศเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ทำการทดลองปรินท์ prototype ชิ้นส่วน
รถยนต์จาก 3D printer รุ่นใหม่ที่สามารถปรินท์ชิ้นส่วนรถยนต์ได้ทุกขนาดและรูปแบบ ซึ่งฟอร์ดได้กล่าวถึงว่าเป็นเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาปฏิวัติรูปแบบการผลิตรถยนต์ในอนาคต

Credit: Ford

ตัวละครเอกของการทดลองดังกล่าวคือเครื่องปรินท์ Stratasys Infinite-Build 3D Printer ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา Stratasys Infinite-Build เป็นเครื่องปรินท์ 3D ที่ถูกออกแบบมาเพื่องานทางอุตสาหกรรมเครื่องบินและรถยนต์เป็นหลัก จุดเด่นมีอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ

  1. รองรับวัสดุหลากหลายขึ้น – เครื่องปรินท์นี้มาพร้อมนวัตกรรมหัวปรินท์แบบใหม่ที่มีแรงดันสูงขึ้น ทำให้สามารถปรินท์ด้วยวัสดุอย่าง carbon fiber แทนการปรินท์ thermoplastic ในเครื่องปรินท์ทั่วไป
  2. สามารถพิมพ์ของได้ทุกขนาด – ด้วยแพลตฟอร์มการสร้างแนวนอนที่ไม่ถูกจำกัดด้วยพื้นที่การทำงานและองศาการปรินท์ที่ไม่กำจัดอยู่ที่ 3 แกน Stratasys Infitinite-Build จึงสามารถสร้างของในขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามพื้นที่ที่มี ในขณะที่พื้นที่การทำงานของเครื่องปรินท์ 3D ทั่วไปนั้นมัก fixed ตามจุดที่วาง

จุดเด่นทั้งสองข้อนี้ทำให้ฟอร์ดสามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์คาร์บอนไฟเบอร์ที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบากว่าชิ้นส่วนโลหะขึ้นมาได้ในการทดลอง เลยไปถึงการทดลองรวมชิ้นส่วนเล็กๆเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่เบาขึ้นโดยไม่ต้องมีการประกอบแต่อย่างใด

นอกจากฟอร์ดแล้ว Boeing พาร์ทเนอร์อีกรายของ Stratasys ก็กำลังทดลองใช้ 3D printer นี้ในการสร้างชิ้นส่วนเครื่องบินน้ำหนักเบาอีกด้วย

 

ที่มา: http://www.computerworld.com/article/3176585/3d-printing/ford-tests-new-3d-printer-that-can-manufacture-car-parts-of-any-size-and-shape.html

from:https://www.techtalkthai.com/ford-tests-3d-printer-that-can-print-in-unlimited-size/