คลังเก็บป้ายกำกับ: YIP_IN_TSOI

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

ปลายทางที่มัลติคลาวด์

Could Trust มูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) ซึ่งรวมกลุ่มโอเพ่นซอร์สในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์เนทีฟ ชี้เป้าให้ “มัลติคลาวด์” เป็นหนึ่งในเครื่องมือมาตรฐานกลางชิ้นสำคัญสำหรับพัฒนาอินฟราสตรัคเจอร์ หรือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันยุคใหม่ให้สามารถทำงานกับคลาวด์ได้หลายประเภท อาทิ vSphere โดยวีเอ็มแวร์ ไมโครซอฟท์อาซัวร์ เอดับบลิวเอส กูเกิล คลาวด์ ตลอดจนคลาวด์เนทีฟอื่น ๆ ด้วยมุมมองเชิงกลยุทธ์การลงทุนที่เปลี่ยนจากการเลือกใช้งานคลาวด์เป็นอันดับแรก มาเป็นการจัดกลุ่มแอปพลิเคชันที่จำเป็นใช้งานในองค์กรเสียก่อน จากนั้น จึงพิจารณาว่าจะโยกย้ายขึ้นสู่คลาวด์ประเภทไหนตามความเหมาะสม เช่น แอปพลิเคชันตัวไหนควรเป็นออนเพรม ตัวไหนที่น่าจะย้ายขึ้นบริการคลาวด์สาธารณะ อย่างไหนควรเขียนใหม่ทั้งหมดให้ใช้งานบนคลาวด์แบบเต็มตัว หรือคงไว้เหมือนเดิมเพราะไม่กระทบต่อธุรกิจมากพอให้ต้องเปลี่ยน เป็นต้น เพราะถ้าองค์กรวางแผนการใช้งานคลาวด์ได้ไม่ดี จะกลับกลายเป็นทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น อีกทั้งมาตรฐานของเครื่องมือที่เลือกใช้ต่างกันจะทำให้การจัดการยิ่งยุ่งเหยิง

แพลตฟอร์ม เอ็นจิเนียริ่งกับการพัฒนาแอปฯ ยุคใหม่

ในอดีต กรอบการพัฒนาแอปพลิเคชันถูกเขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์งานหน้าบ้าน หลังบ้าน และการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในโลกของคลาวด์ แอปพลิเคชันถูกสร้างให้อยู่ในรูปแบบไมโครเซอร์วิส หรือแพลตฟอร์มให้ตรงโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น เกิดการใช้งานแบบไร้เซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์อินฟราสตรัคเจอร์รูปแบบต่าง ๆ เกิดการตั้งศูนย์ข้อมูลหลายจุดเพื่อกระจายการทำงาน เริ่มนำแอปพลิเคชันไปวางใกล้ ๆ กับแหล่งต้นทางของข้อมูล เช่น เทคโนโลยีเอดจ์ เป็นต้น ซึ่งคลาวด์แต่ละแบรนด์ก็มีแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ต่างกัน แพลตฟอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง (Platform Engineering) จึงเป็นสิ่งที่มาขยายมุมคิดของ DevOps หรือ DevSecOps ของการพัฒนาแอปฯ หรือแพลตฟอร์มที่เดิมเป็นแค่ทูลตัวหนึ่งให้กลายเป็นเสมือนผลิตภัณฑ์ที่ต้องพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมนักพัฒนา ทีมปฏิบัติงานด้านไอที ทีมเน็ตเวิร์ค และซีเคียวริตี้  ข้อดี คือ ลดการใช้เครื่องมือในการพัฒนาที่ต่างกันไปแต่ละทีมมาเป็นการมองหาแพลตฟอร์มกลางเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาจากทุกทีม มีทีมพัฒนากลางที่เดินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มเพียงครั้งเดียวแต่สามารถรันบนอินฟราสตรัคเจอร์ได้ทุกที่เพื่อลดภาระงาน เกิดระบบล่มแต่น้อย ทั้งยังขยายระบบหรือเขียนบริการธุรกิจใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ถ้าเจอปัญหาเร็ว แก้ไขไวและถูกจุด ซึ่งนอกจากจะทำให้การบริหารงานด้านไอทีดีขึ้น ยังทำให้องค์กรสามารถแตะถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

ความปลอดภัยแบบซีโร่ทรัสต์

แม้การโจมตีในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปหลากหลายรูปแบบ แต่เป้าหมายยังเป็นเรื่องเดิมคือ การขโมยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Credentials) เพื่อเจาะเข้าสู่ระบบและขโมยข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งแรนซั่มแวร์ที่เก่ง ๆ บางตัวอาจจะเข้า-ออก หรือฝังตัวในระบบไอทีนานนับปีก่อนแผลงฤทธิ์โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งวีเอ็มแวร์ได้ให้กรอบความปลอดภัยแบบซีโร่ทรัสต์ (Zero Trust) โดยมี “ข้อมูล” เป็นแกนกลาง และมองความเชื่อมโยงเรื่องความไว้วางใจลงไปสู่ระบบไอทีในลำดับชั้นต่าง ๆ อาทิ ผู้ใช้งานปลายทาง (User Trust) อุปกรณ์ (Device Trust) แอปพลิเคชัน (Application Trust) เน็ตเวิร์ค (Network Trust) ตัวอย่างเช่น

Endpoint Trust / Device Trust ในช่วงวิกฤตโควิด เราพบว่า หลายองค์กรประสบปัญหาอย่างมากจากการถูกขโมยครีเดนเชียลในการยืนยันตัวตนผ่านการใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง วีเอ็มแวร์บอกกับเราว่า ทุก 11 วินาทีจะมีองค์กรทั่วโลกตกเป็นเหยื่อของสแปมและฟิชชิ่ง 59% เจอภัยคุกคามแบบสองเด้ง (Double Extortion) คือ ไฟล์ถูกล็อครหัสให้เข้าถึงไม่ได้หนำซ้ำยังดึงข้อมูลออกไปปล่อยในเว็บมืด แถมปล่อยดี-ดอสตามมารบกวนให้ระบบไม่ปกติ และ 77% มาจากการโจมตีผ่านช่องทางเชื่อมต่อของแอปพลิเคชันต่าง ๆ (Application Programming Interface-API) ทั้งบนออนเพรม คลาวด์สาธารณะ หรือ ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งตรงเข้าสู่ดาต้าเซ็นเตอร์ได้ไม่ต้องผ่านไอพีสาธารณะ (Public IP) และไม่ต้องยืนยันตัวตน ซึ่งทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถแทรกตัวผ่านรอยรั่วของข้อต่อนี้เข้าไปถึงซิสเต็มส์และข้อมูลเชิงลึกขององค์กรได้เลย

Application Trust เป็นจุดที่ควรแก่การวางระบบความปลอดภัยทั้งซัพพลายเชนลงถึงระดับโปรดักชัน เช่น การเขียนโค้ดดิ้ง การทำเฟรมเวิร์ค การสแกนโค้ด การเลือกใช้โค้ดโปรแกมต้นทางที่ควรมีเทมเพลตเรื่องความปลอดภัยติดมาด้วย เพราะ หนึ่ง แอปฯ ที่พัฒนาบนคลาวด์มีทั้งที่เขียนโค้ดขึ้นเองเป็นเนทีฟ และใช้โอเพ่นซอร์ส หากซัพพลายเออร์หรือโอเพ่นซอร์สที่หยิบมามีช่องโหว่ ก็จะสร้างความน่าสะพรึงยิ่งกว่าแอปพลิเคชันที่เขียนขึ้นเอง สอง นักพัฒนาไม่ควรมองข้ามช่องโหว่ความปลอดภัยที่เกิดขึ้นขณะเขียนโค้ด จังหวะโยนเข้าอิมเมจ นำไปทดลองปฏิบัติ หรือเชื่อมต่อกับคนอื่น ถ้าระบบความปลอดภัยถูกเจาะตั้งแต่ตรงนี้ก็จะกลายเป็นจุดบอดเล็ก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในโค้ดโปรแกรมต้นทางหรือไลเบอรี่ต่าง ๆ ในระดับคอนเทนเนอร์ และกลายเป็นช่องโหว่ที่ใหญ่ขึ้นเมื่อคอนเทนเนอร์โตขึ้นเมื่อเกิดการใช้งานแอปพลิเคชันจากทั้งยูสเซอร์ไปคลาวด์ ลูกค้าไปคลาวด์ คลาวด์สู่คลาวด์ หรือคลาวด์ในตัวมันเอง เพราะต้องไม่ลืมว่าการใช้งานคลาวด์ จุดเชื่อมต่อไม่ได้อยู่แค่ช่องจราจรบนเน็ตเวิร์ค แต่ยังหมายถึงเอพีไอที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงคูเบอร์เนเตสที่ต้องถูกอัพเดทแก้ไขเมื่อถูกส่งขึ้นไปดูแลคอนเทนเนอร์ต่าง ๆ

Network Trust ที่แตกออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับการจัดการอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ  และระดับความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องเวอร์ช่วลไลเซชันบนเน็ตเวิร์คที่ต้องมีการกำหนดกรอบการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่การป้องกันข้อมูลรั่วไหล ความปลอดภัยในการขนถ่ายข้อมูลบนเวอร์ช่วลแมชชีน คอนเทนเนอร์ การป้องกันการแฝงตัวเข้ามาทางเอพีไอ โดยมีเอไอมาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและรูปแบบของแอปพลิเคชันแต่ละตัว (App Behavior) และแยกแยะปัญหาให้แน่ใจว่า เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ หรือเน็ตเวิร์คล่มเพราะตั้งค่าการทำงานที่ผิดพลาด เป็นต้น ซึ่ง SD-Wan (Software-definded Wide-area Network) ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยการจัดการเน็ตเวิร์ค ขณะที่เทคโนโลยีพื้นฐานอย่างไฟร์วอลล์ หรือแอนตี้ไวรัสยังคงอยู่แต่ต้องปรับเปลี่ยนให้รองรับสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น สร้างระบบตรวจจับและตอบสนองการบุกรุกทั้งกับเครื่องเอนด์พอยต์ (EDR) และเน็ตเวิร์ค (NDR) ต่อทุกภาระงานที่วิ่งเข้ามาสู่รระบบผ่านไฟร์วอลล์หลายชั้นสักหน่อย หรือการคัดกรองเส้นทางจราจรที่ผิดปกติ (Network Traffic Analysis) เพื่อตรวจจับยูสเซอร์ที่มีการใช้งานและการเคลื่อนไหวแปลก ๆ  เช่น เครื่องตัวเองติดไวรัสแล้วพยายามแฮ็คไปหาเครื่องอื่นในระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจนเกินควบคุม หากโชคร้ายเจาะเข้าสู่ระบบได้ ก็ต้องมีการตอบสนองและแก้ไขอย่างรวดเร็ว

ครบทุกการจัดการจากวีเอ็มแวร์

วีเอ็มแวร์เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผันตัวจากการยกระดับจาก vSphere ฉบับเวอร์ช่วลไลเซชันในการจัดการงานออนเพรมหรือคลาวด์ส่วนตัว ไปสู่มัลติคลาวด์เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในมุมของการพัฒนาได้ทั้ง “แอปพลิเคชัน” และ “แพลตฟอร์ม”  โดย VMware Tanzu จะช่วยให้แอปพลิเคชันสมัยใหม่ (App Modernization) สามารถทำงานบนมัลติคลาวด์ หรือคลาวด์อินฟราตรัคเจอร์ได้หลายแบบ สามารถย่อ-ขยายหรือเพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ออกสู่ตลาดในเวลาที่รวดเร็ว ที่สำคัญคือ การทำ High Availability (HA) ที่ช่วยลดปัญหาการหยุดชะงักของระบบ รวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยจากการใช้งานคลาวด์ที่กระจายออกไปหลายจุดให้อยู่ในมุมมองที่องค์กรจัดการ ทั้งการช่วยตรวจสอบและจัดหาโอเพ่นซอร์สที่ปลอดภัยมาใช้ในระบบ รวมถึงมีเครื่องมือช่วยสร้างมาตรฐานของการเขียนโค้ดและส่งโค้ดขึ้นสู่คอนเทนเนอร์ได้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทีมงานน้อยที่สุด

VMware NSX ที่มาช่วยจัดการความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์คแบบครบเครื่องร่วมกับเทคโนโลยีเอไอในการตรวจจับคัดกรองพฤติกรรมน่าสงสัยที่เกิดกับอุปกรณ์ปลายทาง เวอร์ช่วลแมชชีน เน็ตเวิร์ค แอปพลิเคชัน คอนเทนเนอร์ หรือภาระงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและเสริมความปลอดภัยให้กับระบบเวอร์ช่วลไลเซชัน

VMware Carbon Black เพิ่มมุมมองความปลอดภัยเชิงลึกในระดับ XDR ให้กับเอนด์พอยต์และเน็ตเวิร์คอีกชั้นหนึ่ง เพื่อการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามที่รวดเร็ว โดยการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติตลอดเวลาแทนการสกัดภัยคุกคามเป็นช่วงเวลาเนื่องจากแรนซั่มแวร์ไม่มีรูปแบบการโจมตีที่แน่นอน การวิเคราะห์จุดเกิดเหตุ แยกแยะรูปพรรณสัณฐานของภัยคุกคามเพื่อกำหนดนิยาม ความเสี่ยง และช่องโหว่ที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ปริมาณงาน แอปพลิเคชันจากอุปกรณ์ใช้งานปลายทาง ตลอดจนสอบทานว่า ไอพีเครื่องใดมีแอปพลิเคชันที่ไม่มีประโยชน์ก็สามารถสกัดการใช้งานได้ทันที ด้วยฟังก์ชัน Agent & Console รวมถึง Threat Intelligence ซึ่งช่วยให้เอไอฉลาดขึ้นในการป้องกันมัลแวร์ การวิเคราะห์พฤติกรรมของซิกเนเจอร์ต่าง ๆ ที่เข้ามาโดยที่ระบบไม่รู้จักมาก่อน เพื่อสกัดกั้นหรือหยุดยั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ Vmware เพิ่มเติมติดต่อ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210 หรือ 8432

e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#Yipintsoi #VMware #Tanzu #NSX #CarbonBlack #Cloud #Security

from:https://www.techtalkthai.com/smart-cloud-manage-with-vmware-by-yip-in-tsoi/

ยิบอินซอย ดึงมือดี ดร.มารุต มณีสถิตย์ นำทีม Strategy and Transformation พาองค์กรก้าวสู่ศตวรรษที่สอง [Guest Post]

ยิบอินซอย หนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำในประเทศไทย ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่ไฟแรง ดร.มารุต มณีสถิตย์ ดำรงตำแหน่ง Head of Strategy and Business Transformation นำทีมพัฒนาและ transform องค์กรรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและธุรกิจ

นายสุภัค  ลายเลิศ กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวว่า  “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ดร.มารุต เข้ามารับตำแหน่ง Head of Strategy and Business Transformation ให้กับบริษัท ยิบอินซอย  อย่างเป็นทางการ  ด้วยประสบการณ์ด้านการขาย การตลาด และบริหารจัดการ ในวงการไอทีและสื่อสารมากว่า 25 ปี ของดร.มารุต จะมาช่วย transform    ยิบอินซอยและบริษัทในเครือ ให้สามารถปรับตัวรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจเทคโนโลยี และสามารถมีความพร้อมทั้งในเชิงโครงสร้าง ทีมงาน และเทคโนโลยี ที่พาบริษัทเข้าสู่ศตวรรษที่สองได้อย่างมั่นคง”

ดร.มารุต มณีสถิตย์ กล่าวเสริมว่า  “ผมรู้สึกยินดีที่ได้เข้าร่วมงานกับบริษัท ยิบอินซอย ที่มีรากฐานมั่นคงเกือบหนึ่งศตวรรษ และเป็นผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีของไทยมานานกว่า 60 ปี   ผมมั่นใจว่าจะนำความรู้ ประสบการณ์ความสามารถทั้งทางด้านการขาย การตลาด เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ  มาช่วยผลักดันให้ธุรกิจของบริษัท ยิบอินซอย มีการเจริญเติบโต และประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น” 

ดร.มารุต มณีสถิตย์ Head of Strategy and Business Transformation แห่ง Yip In Tsoi

ก่อนมาร่วมกับบริษัท ยิบอินซอย จำกัด  ดร.มารุต  ล่าสุดเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด  มีประสบการณ์ทางด้านการขายและการตลาดในองค์กรไอทีขนาดใหญ่ต่างๆ  อาทิ เป็นเจ้าหน้าที่การค้าและหัวหน้าทีมขายให้กับบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นหัวหน้าทีมขายสำหรับองค์กรภาครัฐ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์  เป็นผู้จัดการประเทศ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์  เป็นผู้บริหารระดับสูง บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี)  ครอบคลุมลูกค้าในตลาดที่สำคัญทั้งด้านธุรกิจธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก โทรคมนาคมและภาครัฐ

สำหรับการศึกษาดร.มารุต มณีสถิตย์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมจาก School of Advanced Technology, Asian Institute of Technology  และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

from:https://www.techtalkthai.com/yip-draws-dr-marut-manesathit-to-lead-the-strategy-and-transformation-team/

[Guest Post] ยกระดับการขับเคลื่อนข้อมูลอย่างปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีจาก HPE

ถึงตอนนี้ มีงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่า โดยเฉลี่ย 67% ขององค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะเกิดการถดถอยทางธุรกิจ ขณะองค์กรที่มีการเปลี่ยนผ่านจะมีการเติบโตทางธุรกิจราวสองถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม องค์กรยังคงต้องเผชิญกับคลื่นความท้าทายสองประการ ได้แก่

1) การปรับเปลี่ยนอินฟราสตรัคเจอร์ไปสู่เทคโนโลยี Hyper Converged เพื่อแก้ปมปัญหาระบบงานไอทีหลากรุ่นหลายเทคโนโลยี (Multi-Gen IT) ในองค์กร รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกเก็บกระจัดกระจาย (Silo) ตามฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ดีพอสำหรับรองรับการทำงานแบบไฮบริด เพื่อการรับ-ส่งข้อมูลหรือภาระงานต่าง ๆ ที่ข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ ระบบที่ใช้งานในองค์กร (On Premise) แอปพลิเคชัน หรือ อินฟราสตรัคเจอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องการความปลอดภัยจากแรนซั่มแวร์ในระดับสูง

2) การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล (Data Driven) ซึ่งทวีความสำคัญต่อการเสริมสร้างรายได้และชี้ทิศทางความเป็นไปของธุรกิจ ดังนั้น ในยุคที่ “ข้อมูลต้องมาก่อน (Data First)” จึงต้องมีการกำกับการใช้งานและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งกระจายอยู่ทุกที่และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตลอดจนจัดหาเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Root Insight) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ

dHCI อินฟราสตรัคเจอร์ในยุคข้อมูลเป็นใหญ่

เดิมเทคโนโลยี Hyper Converged ถูกออกแบบมาเพื่อให้ระบบไอทีมีความยืดหยุ่นในการย่อ-ขยายให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน ประสานให้เกิดการทำงานแบบมัลติแพลตฟอร์มระหว่างข้อมูลทั้งแบบมีและไม่มีโครงสร้าง แอปพลิเคชันเดิมและแอปพลิเคชันเกิดใหม่ เช่น คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส ให้พร้อมรับการทำงานบนคลาวด์อย่างปลอดภัย และด้วยต้นทุนการใช้งานแบบจ่ายตามจริง (Pay Per Use) แต่ในปัจจุบัน Disaggregated Hyperconverged Infrastructure-dHCI เช่น แพลตฟอร์ม HPE dHCI มีความพิเศษกว่า HCI แบบเดิม คือ เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขยายส่วนการประมวลผลและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแยกจากกันได้อย่างอิสระ (Disaggregated) แต่ยังคงขีดความสามารถในบริหารจัดการเทคโนโลยีทั้งหมดได้จากจุดเดียว รองรับการทำงานร่วมกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อน เช่น Gen8  Gen9 ระบบงานเก่าอย่างอีอาร์พีไปจนถึงเทคโนโลยีแบบโอเพ่นสแต็คซึ่งขจัดปัญหาเรื่อง Multi-Gen IT โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั้งหมดให้เป็น dHCI เพื่อประหยัดต้นทุน การันตีระดับการให้บริการ SLA ที่มีมาตรฐานสูงเพื่อรองรับภาระงานสำคัญทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับวีเอ็มแวร์ หรือ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์

แพลตฟอร์ม HPE GreenLake ซึ่งบูรณาการบริการ As a Service ทั้งส่วนการประมวลผล แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ การบริหารและการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลทั้งระบบสำหรับรองรับการทำงานบนเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กร หรือขึ้นสู่คลาวด์ แพลตฟอร์ม HPE SimpliVity แบบครบจบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว เหมาะกับการรองรับภาระงานนอกดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น สำนักงานสาชา ซึ่งสามารถเริ่มต้นการทำงานได้ที่หนึ่งโหนดและขยายโหนดเพิ่มได้ผ่านออนไลน์โดยการทำงานไม่หยุดชะงัก มีฟังก์ชันการปกป้องข้อมูลในตัวและการขจัดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนและการบีบอัด ทำให้การแบ็คอัพข้อมูลมีความรวดเร็ว

ตัดคลื่นรบกวนความปลอดภัยของข้อมูลด้วย HPE Data Management  

มีการประเมินกันว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา แรนซั่มแวร์ได้สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจราว 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่ผ่านไปถึงปี 2568 คาดการณ์ว่าแรนซั่มแวร์จะสร้างความเสียหายสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยทุก ๆ 11 วินาที จะมีคนที่โดนแรนซั่มแวร์ 1 รายทั้ง ๆ ที่องค์กรส่วนใหญ่ต่างมีระบบปกป้องข้อมูล เช่น แอนตี้ไวรัส ไฟร์วอลล์ และ ระบบแบ็คอัพข้อมูล เป็นต้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เพราะแรนซั่มแวร์ยุคนี้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือ  1) เน้นโจมตีระบบแบ็คอัพเป็นอันดับแรก เพื่อให้องค์กรไม่สามารถกู้ระบบกลับคืนมาได้ เมื่อกู้คืนไม่ได้ก็ต้องจ่ายค่าไถ่ และ 2) การโจมตีไฟล์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ใช้ร่วมกัน (File Sharing)ทั้งจากระบบงาน แอปพลิเคชัน หรือการทำงานของยูสเซอร์ ซึ่งทำให้การแพร่ของแรนซั่มแวร์เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ดังนั้น การบริหารระบบแบ็คอัพให้มีประสิทธิภาพ องค์กรสามารถเริ่มต้นได้ด้วยสูตร 3-2-1-1 คือ มีข้อมูลแบ็คอัพ 3 ชุด เก็บบนมีเดียที่ต่างกัน 2 ประเภท เก็บไว้นอกองค์กร 1 ชุด เป็นข้อมูลแบ็คอัพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ (Immutable Backup) 1 ชุด ซึ่งสำคัญต่อการรับมือแรนซั่มแวร์ที่แอบเข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้งาน เก็บรหัสผ่านและรายละเอียดในการเข้าสู่ระบบ (Credentials) ก่อนจะออกไปและกลับเข้ามาอีกครั้งโดยปลอมตัวเป็นแอดมิน รวมถึงต้องมีระบบตรวจจับและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพด้วย

HPE Cohesity แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลและการจัดการกับแรนซั่มแวร์ครบจบในเครื่องเดียว เพื่อการบริหารจัดการจากส่วนกลาง โดยมีซอฟต์แวร์ Helios เป็นตัวช่วยควบคุมการทำงาน มีจุดเด่นที่ฟังก์ชัน Immutable File System ซึ่งป้องกันการแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ เพื่อปิดช่องโหว่การโจมตี File Sharing ระบบการยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (Multi-factor Authentication-MFA) เสริมด้วยเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งในการตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อการป้องกันแรนซั่มแวร์ได้ 100%

Zerto โซลูชันสำหรับการปกป้องระบบงานทางธุรกิจด้วยการกู้คืนข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ โดย media ต้นทางและปลายทางไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน ฟังก์ชัน CDP (Continuous Data Protection) สามารถช่วยปกป้องข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจึงสามารถกำหนดระยะเวลาของข้อมูลที่ต้องการกู้คืนได้มีประสิทธิภาพ สามารถกู้คืนแอปพลิเคชันได้ 100% หรือกู้คืนข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้โซลูชันสำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง (DR site) ได้ทั้ง Private Cloud และ Multi-cloud

การให้บริการ HPE Backup and Recovery เป็นการให้บริการสำรองข้อมูลผ่าน Cloud Management เรียกใช้Software As A Service  มีความยืดหยุ่น ไม่มีข้อกำหนดของระยะเวลาและจำนวน VM ขั้นต่ำ ธุรกิจสามารถเริ่มต้นเพียงจาก 1 VM ต่อเดือนเพียง 168 บาท ระบบรองรับการแบ็คอัพระบบ VMware แบบ Immutable รวมทั้งยังสามารถสำรองข้อมูลขึ้นคลาวด์ของ HPE

เพิ่มความทันสมัยให้กับแอปพลิเคชัน

 ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาแอปพลิเคชันจะอยู่ในแนวทาง 5Rs ได้แก่ 1) Replace หาแอปพลิเคชันมาใช้งานแทน 2) Rehost เอาแอปพลิเคชันไปรันบนระบบที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 3) Re-platform เอาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน เช่น คอนเทนเนอร์ 4) Refactor เอาแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีใหม่ และ 5) Rebuild การเขียนแอปพลิเคชันให้ใช้งานบนคลาวด์แพลตฟอร์ม

HPE Ezmeral แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ DevOps ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ในรูปแบบ SOA หรือแอปพลิเคชันที่มีขนาดเล็กลงมาอย่างคอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส โดยลดความยุ่งยากในการจัดการกับอินฟราสตรัคเจอร์ มีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลหลากแพลตฟอร์มและกระจัดกระจายให้เห็นเสมือนเป็นข้อมูลผืนเดียวกัน (Data Fabric) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและหยิบมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสนับสนุน ML Ops (Machine Learning Operations) ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็ว

หากท่านใดสนใจข้อมูล  HPE เพิ่มเติมสามารถติดต่อ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

Facebook : https://www.facebook.com/yipintsoi

เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210 หรือ 8432

E-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#YipInTsoi #HPE #dHCI #HCI #Zerto #HPE #DATAProtection #EZMERAL #Cloud #HybridCloud #Backup #SaaS

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-nimble-storage-data-management-by-yit/

[Video] Yip In Tsoi x VMware ตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรด้วยโซลูชัน Hybrid Cloud จาก VMware

ด้วยประสบการณ์ของธุรกิจ IT สำหรับภาคธุรกิจองค์กรไทยยาวนานกว่า 60 ปี Yip In Tsoi พร้อมให้บริการโซลูชัน Hybrid Cloud จาก VMware เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างยืดหยุ่น ในฐานะพันธมิตรของ VMware กว่า 12 ปี และมีทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 คน

สำหรับโซลูชันที่โดดเด่นที่ธุรกิจองค์กรมักเลือกใช้งานในปี 2022 นั้นได้แก่

  • VMware Cloud Foundation: วางระบบ Hybrid Cloud สำหรับธุรกิจองค์กร ให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยระบบภายในบริษัทและบน Cloud ร่วมกัน
  • VMware Workspace ONE & VMware SASE: เชื่อมต่อระบบเครือข่ายของธุรกิจองค์กรให้พร้อมเข้าถึงและใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลาอย่างมั่นคงปลอดภัย ตอบโจทย์การสร้าง Hybrid Workplace
  • VMware Cloud Disaster Recovery: เสริมความมั่นคงทนทานให้กับระบบ IT ขององค์กรด้วย Cloud รับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมั่นใจ คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงโดยไม่ต้องมี Data Center สำรองของตนเอง

ยิบอินซอยพร้อมช่วยบริษัทในไทยก้าวนำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคหลังโรคระบาด สำหรับธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ, สถาบันการเงินและธนาคาร, ธุรกิจโทรคมนาคม และอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วยประสบการณ์มากกว่าหกสิบปี ผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีรายใหญ่ได้ให้การสนับสนุนหลากหลายองค์กรด้วยโซลูชันครบวงจร นำร่องรับมือความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการทำงานทางไกลและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมติดต่อ https://www.facebook.com/yipintsoi บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210
e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#VMware #YipInTsoi #partnertestimonial #WorkspaceONE #SASE #VMwareCloudDisasterRecovery #VMwareCloudFoundation #finance #banking #telecommunications #publicsector

 

from:https://www.techtalkthai.com/video-yip-in-tsoi-x-vmware-enterprise-hybrid-cloud-solutions/

[Video] การใช้งาน dHCI แบบ Business Model Greenlake

คุณกำลังประสบปัญหาในการใช้งบประมาณก้อนใหญ่สำหรับงานไอทีในครั้งเดียว ใช่ไหม ? จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบทั้งที แต่ต้องรอการอนุมัติ นาน 2-3 เดือนในการจัดซื้อ hardware เพิ่มเติม ? ด้านการลงทุนก็ควรเป็นไปตามความต้องการใช้งาน หรือ pay per use แบบ Cloud

แล้วจะมีโซลูชั่นตัวไหนล่ะ ที่รองรับความต้องการของภาคธุรกิจเหล่านี้ได้?

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมติดต่อ https://www.facebook.com/yipintsoi บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210
e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#yipintsoi #HPE #dHCI #Greenlake #cloud #SaaS

from:https://www.techtalkthai.com/video-dhci-with-greenlake-by-yip-in-tsoi/

[Video] คลายความกังวลจากการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ด้วย HPE Greenlake

ปัญหาที่หลายๆองค์กรน่าจะเจอหรือว่ากังวลจากการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ จะแก้ไขอย่างไร ? HPE Greenlake มีวิธีอะไรที่จะเข้ามาช่วยองค์กรในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ได้ ? ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน จะควบคุมอย่างไร ?ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน จะควบคุมอย่างไร ?

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมติดต่อ @yipintsoi บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210
e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#YipInTsoi #HPE #Greenlake

from:https://www.techtalkthai.com/video-manage-your-cloud-with-hpe-greenlake/

[Video] Solution ของ HPE ที่จะทำให้ระบบงานของ IT มี Speed และก็ Agility

ในยุคของดิจิตอล หลายๆองค์กรก็จะมี data center กันเราควรที่จะย้ายระบบการทำงานมาไว้ที่คลาวด์หรือเปล่า ? การใช้งานในรูปแบบของ Pay per use นอกจาก Cloud แล้วเนี่ย เราสามารถใช้งานแบบ on premise ได้หรือไม่ ? แล้วมี Solution ไหนที่จะตอบโจทย์ระบบงานของ IT ให้มีทั้ง speed ,flexibility และ control ได้บ้าง

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมติดต่อ @yipintsoi บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210

e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#YipInTsoi #HPE #Greenlake

from:https://www.techtalkthai.com/video-hpe-greenlake-for-speed-and-agility-by-yip-in-tsoi/

AI-Ready Developer Infrastructure: วางระบบ IT รองรับ AI Developer ด้วย VMware Cloud Foundation จาก Yip In Tsoi

การพัฒนาระบบ AI เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจนั้น สิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยก็คือการมีระบบ AI Infrastructure ที่ดีสำหรับรองรับการประมวลผลทางด้าน AI ทั้งในแง่ของการพัฒนา AI และการนำ AI ไปประยุกต์ใช้งาน

VMware ในฐานะของผู้นำทางด้านระบบ IT Infrastructure สำหรับธุรกิจ จึงได้ร่วมมือกับ NVIDIA พัฒนาสถาปัตยกรรมระบบ AI-Ready Developer Infrastructure ด้วย VMware Cloud Foundation ที่สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันของ NVIDIA ได้ เพื่อตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะ

ระบบ IT Infrastructure แบบดั้งเดิม ไม่เอื้อต่อการพัฒนาระบบ AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ

หนึ่งในโจทย์ที่ธุรกิจองค์กรส่วนใหญ่ต้องเผชิญในการทำโครงการด้าน Digital Transformation ที่เกี่ยวข้องกับ AI นั้น ก็คือการเตรียมระบบ IT Infrastructure สำหรับรองรับงานทางด้าน AI

ระบบ IT Infrastructure แบบดั้งเดิมส่วนใหญ่นั้นมักไม่ตอบโจทย์ต่อการทำงานของเหล่า Software Developer และ Data Scientist ทั้งในมุมของเทคโนโลยีที่ต้องการใช้งาน, Hardware ที่เหมาะสม, การรองรับ DevOps และ DataOps ที่เหมาะสม ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานระบบ Container หรือระบบอื่นๆ ที่จำเป็นต่องาน AI ทำให้ทีมงานเหล่านี้มักหันไปใช้เทคโนโลยีที่ตนเองถนัดบนระบบอื่นๆ ซึ่งยากต่อการติดตามและควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยในมุมของผู้ดูแลระบบ IT

ปัญหาดังกล่าวนี้จึงนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อธุรกิจองค์กรที่มีระบบ IT ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม, การบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายของระบบให้เหมาะสม รวมถึงการเพิ่มขยายระบบในอนาคต ส่งผลให้โครงการด้าน AI ของธุรกิจองค์กรนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ตอบโจทย์ระบบ IT สำหรับการพัฒนา AI ด้วย VMware Cloud Foundation

เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ ทาง VMware จึงได้ต่อยอดนำ VMware Cloud Foundation ซึ่งเป็นโซลูชันระบบ Hybrid Cloud บน Hyperconverged Infrastructure ที่สามารถรองรับการใช้งาน Container ได้ด้วย VMware Tanzu มาทำงานร่วมกับโซลูชันจาก NVIDIA เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถนำไปใช้สร้างเป็นระบบ AI Infrastructure ได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งสำหรับ Developer, Data Scientist และผู้ดูแลระบบ IT อย่างครอบคลุม ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

1.) พัฒนาและใช้งานระบบ AI ด้วยประสบการณ์เดียวกัน ไม่ว่าบน Cloud, Edge หรือ Data Center

credit : VMware

VMware Cloud Foundation นี้สามารถทำงานได้บนทุก Platform ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Edge หรือ Data Center โดยธุรกิจสามารถเลือกใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น Customer Managed ที่ธุรกิจองค์กรดูแลระบบด้วยตนเอง, VMware Managed ที่ทาง VMware จะเข้ามาดูแลระบบให้โดยตรง และ Partner Managed ที่ผู้ให้บริการ Cloud รายต่างๆ อย่างเช่น Azure, Google, IBM, Oracle และผู้ให้บริการอื่นๆ อีกกว่า 200 รายทั่วโลก ซึ่งใช้เทคโนโลยีของ VMware จะเป็นผู้ที่ดูแลระบบส่วนนี้ให้

แนวทางดังกล่าวนี้จะช่วยให้ธุรกิจองค์การสามารถเริ่มต้นใช้งาน AI Infrastructure ที่ต้องการได้อย่างคล่องตัว รองรับการเพิ่มขยายได้อย่างอิสระบนทางเลือกที่หลากหลาย มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบที่น้อยลง อีกทั้งยังรองรับต่อการใช้งานในอนาคตได้อย่างยาวนานด้วยความสามารถในการใช้งาน App ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องในแบบ Cloud-Native

2.) ตอบทุกโจทย์ของการพัฒนาระบบ AI ในหนึ่งเดียว

Credit : VMware

ด้วยโซลูชัน NVIDIA AI Enterprise ที่ทำงานอยู่บน VMware Cloud Foundation นี้จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรมี Technology Stack ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและใช้งาน AI ได้อย่างครบถ้วนในระบบเดียว ด้วยเครื่องมือและ Framework ที่จำเป็นต่องานของ Data Scientist, ระบบสำหรับการทำ Cloud-Native Deployment และระบบ Infrastructure ที่ปรับแต่งมาสำหรับงาน AI โดยเฉพาะ

ในแง่ของผู้ดูแลระบบ โซลูชันดังกล่าวสามารถบริหารจัดการได้ทั้ง Kubernetes และ Virtual Machine ร่วมกันได้ โดยมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในแบบ Intrinsic Security พร้อม Lifecycle Management ให้ใช้งาน อีกทั้งยังมีระบบเครือข่ายที่สามารถควบคุมการเชื่อมต่อและเข้าถึงส่วนต่างๆ ภายในระบบได้ในแบบอัตโนมัติ

สุดท้าย ในส่วนของ Server นั้น ระบบก็สามารถใช้งานได้ทั้ง NVIDIA GPU สำหรับเร่งการประมวลผลทางด้าน AI และ NVIDIA SmartNIC/DPU ที่จะช่วยเร่งการประมวลผลในส่วนของระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อเข้าถึงข้อมูล ทำให้ในภาพรวม การประมวลผลใดๆ ทั้งในการพัฒนาและใช้งาน AI นั้นจะเป็นไปได้ด้วยประสิทธิภาพในระดับสูงสุดอยู่เสมอ

3.) ใช้งานร่วมกับ NVIDIA ดึงศักยภาพของ GPU ได้อย่างเต็มที่

Credit : VMware

แน่นอนว่าทาง NVIDIA นั้นย่อมพัฒนา Software ที่สามารถทำงานร่วมกับ GPU ของตนเองและดึงศักยภาพการทำงานออกมาได้อย่างเต็มที่ ด้วยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานภายในระบบ AI Infrastructure

  • A100 GPU สำหรับการประมวลผลทางด้าน AI ด้วยประสิทธิภาพที่สูงสุด เหนือกว่า GPU รุ่นก่อนหน้าถึง 20 เท่า
  • GPUDirect Enhancement ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มขยายระบบแบบ Scale-Out และได้ประสิทธิภาพในการทำ Deep Learning ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานในแบบ Bare Metal
  • vGPU ใช้งาน GPU ได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นด้วยการแบ่งส่วนทรัพยากรพลังประมวลผล GPU ตามเวลาและ Instance ช่วยให้การบริหารจัดการ GPU เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะเดียวกัน VMware ก็ยังได้เสริมความสามารถในการทำ VMware vMotion เพื่อเพิ่มความมั่นคงทนทานให้กับ AI Workload ในระบบ และช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่นยิ่งขึ้น รวมถึงยังรองรับการใช้งาน VMware vSphere DRS เพื่อช่วยกระจาย AI Workload ออกไปยัง AI Infrastructure ที่มีอยู่หลายแห่งได้อย่างง่ายดาย

สนใจโซลูชันระบบ AI จาก NVIDIA หรือ VMware สามารถติดต่อทีมงาน Yip In Tsoi ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันทางด้าน AI สามารถติดต่อทีมงาน Yip In Tsoi ได้ทันทีที่โทร 02-353-8600 ต่อ 3210 หรืออีเมล์ yitmkt@yipintsoi.com

from:https://www.techtalkthai.com/ai-ready-developer-infrastructure-vmware-cloud-foundation-by-yit/

ํYip in Tsoi Webinar “Cybercorp: work faster and more secure with SASE” [5 เมษา 2565 — 14.00น.]

ยิบอินซอยและ VMware ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Cybercorp: work faster and more secure with SASE” เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของโซลูชัน SASE ที่จะช่วยเป็นเกราะป้องกันการทำงานของทุกภาคส่วนในองค์กร สอดคล้องกับวิถีการทำงานแบบใหม่ โดยงานจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 14.00 – 15.30 น.

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ : Cybercorp: work faster and more secure with SASE

ผู้บรรยาย :  วิทยากรจาก ยิบอินซอย และ  VMware

วันเวลา : วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 14.00 – 15.30 น.

ภาษา : ไทย

ช่องทางการสัมมนา : Zoom Webinar

ลิงก์ลงทะเบียน : https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_h8Zvxd5YRJqy_zGHfU4_KQ

โลกยุคดิจิตอลช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ จาก Smart Device ใดก็ได้ แต่ในทางกลับกันความสะดวกสบายเหล่านี้ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่ทีมไอทีไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอุปกรณ์ที่หลากหลายแต่ขาดซึ่งการป้องกัน การใช้งาน Application ที่อยู่บนCloud ที่เสี่ยงต่อการทำข้อมูลรั่วไหล รวมถึงช่องทางการสื่อสารผ่าน Internet จากสาขามาที่ส่วนกลางที่คาดเดาคุณภาพได้ลำบากทำให้บางครั้งการสื่อสารสะดุดคลาดเคลื่อนส่งผลต่อธุรกิจมหาศาล แล้วเราจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร VMware และ Yip In Tsoi ขอเสนอVMware Secure Access Service Edge (SASE) โซลูชั่นที่จะช่วยให้ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดหายไปพร้อมทั้งยังเสริมความปลอดภัยแบบ End-to-End ที่ช่วยให้การทำงานของพนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้แต่ได้ประสบการณ์และ Productivity เหมือนมาทำงานที่ออฟฟิศ

from:https://www.techtalkthai.com/yip-in-tsoi-webinar-cybercorp-work-faster-and-more-secure-with-sase-05042022/

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาออนไลน์ “Modernizing Infra for the Cloud Experience with dHCI”

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ร่วมกับ HPE ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Modernizing Infra for the Cloud Experience with dHCI” โดยงานจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 14:00 -15:00 น.

การพัฒนาระบบงานในองค์กรเข้าสู่รูปแบบใหม่ที่ตอบสนองโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว HPE จึงริเริ่มโซลูชัน dHCI เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของระบบที่มีความทันสมัยมากขึ้นพร้อมทั้งประหยัดงบลงทุนด้านไอทีด้วยโซลูชั่น HPE Greenlake : everything as a service

  • มีความง่ายในการบริหารจัดการ, ดูแลรักษาและเพิ่มขยายของ HCI มาใช้
  • มีประสิทธิภาพ และการเลือกเพิ่มขยายเฉพาะส่วนของ Compute หรือ Storage จาก CI มาใช้
  • รองรับการให้บริการ VM ได้อย่างยืดหยุ่นและดูแลรักษาระบบในภาพรวมจากศูนย์กลางได้ง่ายดาย
  • มีความทนทานของระบบที่สูง

ท่านใดสนใจสามารถลงทะเบียนเข้าฟังได้ที่ https://www.n-visions.co.th/n-visions-events/register/event/modernizing-infra-for-the-cloud-experience-with-dhci

from:https://www.techtalkthai.com/webinar-modernizing-infra-for-the-cloud-experience-with-dhci-22032022/