คลังเก็บป้ายกำกับ: WHA

[Press Release] ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับ ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ เพื่อขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกล

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จะผลิตพลังงานของตนเอง และจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจยุคดิจิทัล และนำพลังงานหมุนเวียนมาสู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทย

คุณสุนิตา บ๊อตเซ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย)

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทในการช่วยรักษาโลก ลดภาวะโลกร้อน และภาวะเรือนกระจก โครงการนี้จะช่วย ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) และลูกค้าของบริษัท ในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้อย่างมากตลอดอายุของระบบ พร้อมชดเชยการปล่อยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 18,250 ตัน

“ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เป็นศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกล เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกศูนย์ข้อมูลของภูมิภาคนี้ นับแต่นั้นมาเทคโนโลยีชั้นนำของเราได้มอบความพร้อมใช้งานต่อเนื่อง 100% ให้กับลูกค้า คำมั่นสัญญาของเราในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งกับความคิดริเริ่มนี้ ซึ่งมุ่งสู่ประสิทธิภาพและความยั่งยืน ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ได้รับเลือกให้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เพราะมีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและความปลอดภัย รวมทั้งประสบการณ์ที่เชื่อถือได้ในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เรามั่นใจในทักษะและความเป็นมืออาชีพของ ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์” คุณสุนิตา บ๊อตเซ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) กล่าว

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้ร่วมงานกับ ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ เพื่อดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ฟาร์ม โดยโซลาร์ฟาร์มนี้จะสร้างขึ้นบนที่ดินของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) บนพื้นที่ศูนย์ข้อมูลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นอกเขตน้ำท่วมกรุงเทพฯ และใกล้กับสถานีเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศที่มีการเชื่อมโยงทั่วประเทศไทย

ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

“ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับ เทียร์   4 ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ที่มีการขับเคลื่อนโดยความต้องการในเอเชียแปซิฟิกสำหรับศูนย์ข้อมูลที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ซึ่งรับประกันประสิทธิภาพ ความพร้อมใช้งาน และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า การเติบโตของข้อมูลและแอปพลิเคชั่นในระดับภูมิภาคมาจากความต้องการที่จะใกล้ชิดกับธุรกิจและผู้บริโภค เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าที่ใช้ คลาวด์  AI  IOT และ BIG Data ดังนั้น ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จึงเป็นศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และถือเป็นผู้นำในเอเชีย ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความสามารถในการให้บริการที่สูงกว่าศูนย์ข้อมูลทุกแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังนั้นการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ให้ WHAUP ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้ยิ่งเป็นการการันตีศักยภาพและมาตรฐานการติดตั้งของ WHAUPมากยิ่งขึ้น”  ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP กล่าว

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) รวมถึงงานวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้าง (EPC) ตลอดจนระบบกักเก็บพลังงานเพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกิน และนำกลับมาใช้ใหม่เมื่อระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์จะรับผิดชอบการดำเนินงานและการบำรุงรักษาระบบเป็นเวลา 20 ปี โครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในต้นเดือนเมษายนนี้

ด้วยการเป็นศูนย์ข้อมูลโคโลเคชั่นและระบบคลาวด์แห่งแรกที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค สนับสนุนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของลูกค้า

เกี่ยวกับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) :

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เป็นศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลมาตรฐานระดับ Tier IV แห่งแรกในประเทศไทย โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทชั้นนำของไทยและ Switch ผู้นำระดับโลกด้านระบบนิเวศและการออกแบบศูนย์ข้อมูล ได้รับการรับรองด้วยมาตรฐานระดับโลกสูงสุด และได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมด้วยรางวัลมากมายจากเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเป็นเลิศ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ให้บริการที่เหนือชั้น ปฏิบัติตามข้อกำหนด และมอบความอุ่นใจให้กับลูกค้า

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.supernap.co.th

เกี่ยวกับ ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP):

ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภคและพลังงานชั้นนำของประเทศไทย ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรสำหรับน้ำเพื่ออุตสาหกรรม การบำบัดน้ำเสีย พลังงานทั่วไป การจ่ายก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา และการเปลี่ยนของเสียเป็นพลังงาน และอื่นๆ

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.wha-up.com

ข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ:

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย| แผนกการตลาดและการสื่อสาร
marketing@supernap.co.th | +66 33 125 100

from:https://www.techtalkthai.com/supernap-agreement-with-whaup-for-power-utility/

นิคมอุตสาหกรรมไทยยังดึงดูดใจอยู่หรือไม่? คุยกับ จรีพร จารุกรสกุล Group CEO ของ WHA Corporation

เป็นคำถามที่นักธุรกิจ นักลงทุน เริ่มสนใจกันมากขึ้นว่า ประเทศไทยยังดึงดูดนักลงทุนอยู่หรือไม่ นิคมอุตสาหกรรมไทย สู้กับคู่แข่งอย่างประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเนื้อหอมได้มั้ย แม้จะบอกว่าที่ตั้งของไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ แต่ข้อจำกัดเรื่องกฎระเบียบและระบบราชการเป็นอุปสรรค

มาหาคำตอบเรื่องนี้กับ จรีพร จารุกรสกุล Group CEO ของ WHA Corporation ผู้นำให้บริการโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย ในรายการ Meet the CEO

จรีพร เป็นหนึ่งในผู้บริหารหญิงแถวหน้าของประเทศไทย และอยู่ในแวดวงธุรกิจที่อาจจะดูไม่เข้ากับผู้หญิงเท่าไร แต่ผลงานและความสำเร็จที่ผ่านมาพิสูจน์ถึงฝีมือได้เป็นอย่างดี นอกจากเรื่องความเป็นไปของนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ยังเจาะลึกถึงการบริหารงานของ WHA การดูแลพนักงาน และเรื่องส่วนตัวเล็กๆ ของ Group CEO คนนี้

  • นิคมอุตสาหกรรมของไทย ยังดึงดูดใจนักลงทุนอยู่หรือไม่ แข่งขันกับต่างชาติได้มั้ย?
  • WHA Group มีธุรกิจและบริการอะไรบ้าง มีโอกาสเติบโตเป็นอย่างไร
  • องค์กรขนาดใหญ่ แต่ใช้วิธีบริหารแบบ Agile มีส่วนช่วยการทำงานอย่างไรบ้าง
  • ความท้าทายก้าวต่อไปของ WHA Group
  • การแบ่งเวลาของ CEO ทำอย่างไรให้ Work Life Balance ลงตัว

เรื่องของโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรม อาจจะดูเหมือนไกลตัวคนทั่วไป แต่อย่าลืมว่า นี่คือโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นแหล่งงานและแหล่งรายได้ให้กับคนในประเทศ และการได้เห็นมุมมอง แนวคิดจาก Group CEO ของ WHA Corporation ด้วยแล้ว บอกเลยว่า ไม่ควรพลาด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post นิคมอุตสาหกรรมไทยยังดึงดูดใจอยู่หรือไม่? คุยกับ จรีพร จารุกรสกุล Group CEO ของ WHA Corporation first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/vdo-group-ceo-wha-corporation/

ส่อง 5G! เมื่อเทคโนโลยีดึงศักยภาพ IoT ให้ระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ

หนึ่งใน 5G Use Case สำหรับบริหารจัดการน้ำ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยี 5G ของ ดีแทค เข้ามาผสมผสานกับการทำงานในภาคอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ

dtac 5g wha

สถาบันทรัพยากรโลก ประเมินว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและอุทกภัยจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 คิดเป็นเงิน 17 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 511 ล้านล้านบาท จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ยิ่งทำให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการนำทรัพยากรน้ำมาใช้ ถ้าไม่มีการบริหารจัดการให้ดี มีการปล่อยน้ำทิ้ง โดยไม่นำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

เพราะน้ำคือปัจจัยในการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย น้ำดิบ (Raw Water) น้ำสำหรับกระบวนการผลิตทั่วไป (Process Water) หรือน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) ที่ต้องการความบริสุทธิ์สูงมาก และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทอย่าง โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร

dtac 5g wha

ส่วนน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว ก็จะถูกนำมาบำบัด (Wastewater Treatment) ตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดไว้ว่าน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีค่าตามมาตรฐาน เช่น pH อยู่ในช่วง 5.5 – 9.0 อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และมีสารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด  โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีความจำเป็นต้องลดการใช้น้ำลง ส่งผลให้ค่ามาตรฐาน pH มีความเข้มข้น จึงต้องอาศัยระบบบำบัดน้ำเสียที่แม่นยำในกระบวนการบำบัดน้ำ แสดงให้เห็นถึงโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบำบัดน้ำเสียที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10% ในแต่ละปี*

เราต้องนำเทคโนโลยีหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Reclamation) มาใช้อย่างมีนัยยะ เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่ยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม

dtac 5g wha

เพื่อตอบรับการการขยายตัวของปริมาณการใช้งานน้ำในอุตสาหกรรม ทำให้ทางบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ผู้ให้บริการโซลูชั่นครอบวงจรด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม ระบบสาธารณูปโภค พลังงงาน และ ดิจิตัล แพลทฟอร์ม รายใหญ่ของประเทศไทย ปัจจุบันได้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมมากกว่า 12 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 68,900 ไร่ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อนำนวัตกรรมน้ำเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากการบำบัด ‘น้ำเสีย’ ให้หมุนเวียนกลับมาเป็น ‘น้ำดี’ เพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ จะช่วยให้ประเทศไทยแก้ปัญหาในการจัดการคุณภาพน้ำ และบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤตน้ำให้แก่พื้นที่ EEC ตามแนวทางของ สทนช.  โดยมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจบริหารจัดการน้ำในภาคอุตสาหกรรมนั้น มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 8.8% ระหว่างปี 2560 – 2565* โดยปัจจุบัน ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ได้มีการลงทุนในระบบ Wastewater Reclamation อย่างต่อเนื่อง มีกำลังการผลิตมากกว่า 30,000 ลบ.ม. ต่อวัน

dtac 5g wha

จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การนำเทคโนโลยีอย่าง 5G เข้ามาจะช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Smart Water Management) เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เป้าหมายหลักในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รองรับกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve และดึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับโลกเข้ามาสู่ตลาดไทย

หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะมาช่วยทรานฟอร์มอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มคุณภาพในการบริหารจัดการน้ำในภาคอุตสาหกรรม ที่จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ให้ตรงตามความต้องการของแต่ละโรงงานในแบบเรียลไทม์ และช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาแผนจัดการคุณภาพน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมได้เพิ่มเติม จากที่ปัจจุบันดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มีกำลังการผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรมกว่า 294,000 ลูกบาศก์เมตร แก่ผู้ประกอบการภายในนิคมฯ และมีกำลังการบำบัดน้ำเสียรวมวันละ 120,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่า น้ำเสียที่ใช้แล้วจะได้รับการจัดการ และรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เมื่อนิคมอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ทั้งนี้เป้าหมายของบริษัทฯ ในการพัฒนาการให้บริการสาธารณูปโภคด้านน้ำคือการบริหารจัดการอย่างครบวงจร ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ภายใต้ระบบบริหารจัดการอัจฉริยะผ่านเครือข่ายที่มีความมั่นคงสูง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของบริษัทฯ ได้อย่างครอบคลุม

dtac 5g wha

5G ติดปีกเซ็นเซอร์ IoT สู่การบริหารจัดการน้ำในนิคมฯ ทั่วประเทศ

เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเกิดความร่วมมือระหว่าง ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป และ ดีแทค ในการนำเทคโนโลยี 5G เข้ามายกระดับเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ จากเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำ นำไปสู่การวิเคราะห์และบริหารจัดการน้ำได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการนำ 5G มาใช้ในระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Management) ร่วมกับอุปกรณ์อย่าง Massive Machine Type Communications (mMTC) หรือ Massive IoT ช่วยในการมอนิเตอร์คุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม ช่วยลดความผิดพลาดในการดูแลคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ร่วมกับการนำเซ็นเซอร์ที่ช่วยวัดค่าออกไซด์ในน้ำ วัดระดับการขึ้น-ลงของน้ำ มาส่งข้อมูลผ่านโครงข่าย 5G ที่มีความเสถียร และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้สามารถเฝ้าระวังกรณีระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับกำลังการผลิตน้ำให้เพียงพอกับการใช้งาน โดยที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้า ที่ รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี  ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจอุปโภคบริโภค ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับในพื้นที่ของแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีความต้องการระบบสาธารณูปโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการนำเทคโนโลยี 5G ของดีแทค มาร่วมบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)  ที่มีพื้นที่โครงการกว่า  3,760 ไร่ ด้วยการนำเซ็นเซอร์ IoT ที่เชื่อมต่อผ่านโครงข่าย 5G มาใช้งาน จะช่วยให้ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป สามารถบริหารจัดการน้ำในนิคมฯ ทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการลงด้วย

dtac 5g wha

ราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาดีแทคให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับพันธมิตร ในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ 5G ซึ่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทรานฟอร์มภาคอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล สร้างโอกาสในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย หนึ่งในนั้นคือการนำ 5G มาใช้กับระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ ที่จะผลักดันให้รูปแบบของการให้บริการสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการนำข้อมูลที่ได้แบบเรียลไทม์ และแม่นยำ จากเซ็นเซอร์ IoT จำนวนมหาศาล มาช่วยสร้างโอกาสในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ก่อนต่อยอดสู่การนำไปใช้งานในระดับประเทศ

“ความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยจุดประกายให้นิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยี 5G บนคลื่นความถี่ 26 Hz หรือ mmWave ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากรองรับการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง ไปพัฒนาต่อยอดสู่การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ เพื่อรับกับการแข่งขันในยุคดิจิทัล รวมถึงใช้ในการรับมือกับเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้”

สำหรับ 5G Use Case ในการบริหารจัดการน้ำ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยี 5G ของ ดีแทค เข้ามาผสมผสานกับการทำงานในภาคอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมกลับมาเติบโต ต่อเนื่องมายังการร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พลิกฟื้นกลับมาได้ด้วยการนำ 5G ไปใช้งาน และตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในประเทศไทย ที่พร้อมขยายการลงทุนสู่ระดับภูมิภาค

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ส่อง 5G! เมื่อเทคโนโลยีดึงศักยภาพ IoT ให้ระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/5g-iot-dtac-wha/

ปี 2020 โควิดพิสูจน์ศักยภาพไต้หวัน แข็งแกร่งเหนือใคร ทั้งการทูต ทั้งเศรษฐกิจ

ปี 2020 คือปีแห่งโรคระบาดที่แท้จริง ทุกประเทศต่างวุ่นวายอยู่กับการรับมือโควิด-19 รอบแล้วรอบเล่า แต่ไต้หวันสามารถรับมือได้อย่างดีและยังเผื่อแผ่ความช่วยเหลือไปให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย

Tsai Ing-wen ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน
Tsai Ing-wen (ไช่ อิงเหวิน) ประธานาธิบดีไต้หวัน

ไม่ใช่แค่ความแข็งแกร่งในการจัดการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ได้อยู่หมัดเท่านั้น แต่มันยังทำให้การทูตของไต้หวันเบ่งบานมากยิ่งขึ้น และช่วยเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจเติบโตตามไปด้วยในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังติดกับดักโควิดทำให้จมอยู่กับการแก้ปัญหาควบคุมโรคพร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ไปด้วย

ปัจจุบันคนติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกจำนวน 77 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้ว 1.7 ล้านคน คิดเป็น 2.207% จากยอดผู้ติดเชื้อทั้งหมด ไต้หวันมีผู้ติดเชื้อรวม 776 คน เสียชีวิต 7 คน ไต้หวันสามารถควบคุมโควิดระบาดได้ ผลิตหน้ากากได้วันละ 10 ล้านชิ้นและบริจาคให้หลายประเทศที่ขาดแคลนหน้ากาก ชาวไต้หวันเริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติขณะที่ประเทศอื่นๆ ต้อง lockdown บ้าง เริ่มฉีดวัคซีนบ้างและยังมีอีกหลายประเทศที่ยังไม่ผ่อนคลายข้อบังคับเข้มงวดทั้งหลาย

David Lee ครูสอนภาษาอังกฤษเด็กในไทเปให้ข้อมูลว่า เขาไม่สามารถไปต่างประเทศได้แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตในไต้หวันได้ดี ไม่ว่าจะไปดูกีฬาบาสเก็ตบอล เบสบอล และยังไปคอนเสิร์ตกับเพื่อนได้อีก เขาบอกว่าเขารู้สึกดีกับบรรยากาศนี้เพราะไต้หวันไม่มีการ lockdown

Taipei Taiwan ไทเป ไต้หวัน
ภาพจาก Shutterstock

การทูตไต้หวันแข็งแกร่ง จัดการโควิด-19 ระบาดได้ สร้างพันธมิตรได้ทั่วโลก

ไต้หวันไม่เพียงแต่รับมือโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด ไม่ทำให้ประเทศบอบช้ำทั้งจากการล็อคดาวน์และการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ภายใต้โปรเจกต์ “Taiwan can help” และ “Taiwan is helping” ไต้หวันสามารถช่วยบริจาคหน้ากากให้กับประเทศที่ขาดแคลนได้มากถึง 54 ล้านชิ้น และยังจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นส่งไปให้ความช่วยเหลือกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และยังร่วมประชุม virtual เป็นร้อยครั้งกับ 40 ประเทศเพื่อแบ่งปันความรู้ในการจัดการโควิดระบาด

ความสำเร็จในการจัดการรับมือกับโควิดได้ ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของไต้หวัน เพราะไม่เพียงทำให้ประเทศตัวเองอยู่รอดพ้นวิกฤตได้ ยังทำให้ทั่วโลกยอมรับในศักยภาพที่แข็งแกร่งของไต้หวันไปด้วย การแบ่งปันประสบการณ์สู้โควิดของไต้หวันถือเป็นการสร้างพันธมิตรประเทศเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และอีกหลายประเทศด้วยกัน ทำให้ไต้หวันสามารถเข้าร่วมสมัชชาสาธารณสุขโลกได้ (World Health Assembly: WHA)

Taipei Taiwan People wear face masks ไต้หวัน
ภาพจาก Shutterstock

การต่อสู้ของไต้หวันเพื่อเข้ามาร่วมอยู่ใน WHA ถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานมาก นับตั้งแต่ปี 2009 ที่เริ่มเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยรัฐบาลไต้หวันสมัยประธานาธิบดีหม่า อิงจิว เข้ามาร่วมวงด้วย ภายใต้ชื่อ “Chinese Taipei” ตามที่ตกลงกับรัฐบาลจีนไว้ ภายใต้การนำของมาร์กาเรต ชานที่ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกสองสมัย 2006-2017 เคยเป็นผู้อำนวยการสาธารณสุข ฮ่องกง 1994-2003 เธอเรียกไต้หวันว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของจีนโดยคาดว่าจะค่อยๆ ร่วมอยู่ในองคาพยพที่สำคัญของเครือข่ายคณะกรรมาธิการองค์การอนามัยโลก แต่ก็ไม่เคยสำเร็จ

ในปี 2016 ไต้หวันได้รับเชิญให้เข้าร่วมสมัชชาองค์การอนามัยโลกอีกครั้ง คนรุ่นใหม่ไต้หวันเริ่มให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อมากขึ้น ทำไมต้องใช้ Chinese Taipei พวกเขาต้องการให้เรียกชื่อ Taiwan และอ้างอำนาจอธิปไตยที่มีเหนือจีนตามมติองค์การสหประชาติ มาตรา 2578 ไช่ อิงเหวินยืนยันตามสิทธิในการปกครองไต้หวันเป็นประเทศหนึ่ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน

ปี 2020 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ประณามที่ไต้หวันไม่ได้เข้าร่วมสมัชชาสาธารณสุขโลก โดยเห็นว่าโควิด-19 ระบาด โลกยิ่งต้องหันมาร่วมมือกันเพื่อต้านภัยคุกคามดังกล่าว จากนั้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศเชิญไต้หวันในฐานะผู้สังเกตการณ์ในสมัชชาสาธารณสุขโลก

WHO ยื่นข้อเสนอให้ไต้หวันเป็นผู้สังเกตการณ์ใน WHA
WHO ยื่นข้อเสนอให้ไต้หวันเป็นผู้สังเกตการณ์ใน WHA

ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ไต้หวันก็มีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ ขายอาวุธให้ไต้หวันได้มากถึง 5.58 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แม้ว่าในด้านเศรษฐกิจ ไต้หวันได้รับผลกระทบอยู่บ้างในมิติด้านการท่องเที่ยว หลังจากทั่วโลก lockdown เพื่อควบคุมโรคระบาด

แต่ในปี 2020 นี้ ไต้หวันก็ยังสามารถลงทุนได้มากกว่า 3.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.17 แสนล้านบาท สร้างงานได้มากกว่า 100,000 ตำแหน่ง บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Google, Microsoft และ Amazon ก็หันมาลงทุนในไต้หวันมากยิ่งขึ้น เพราะความสำคัญในแง่ซัพพลายเชนและอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีระดับสูง

ที่มา – South China Morning Post, The Diplomat, U.S. Department of State, WHO (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ปี 2020 โควิดพิสูจน์ศักยภาพไต้หวัน แข็งแกร่งเหนือใคร ทั้งการทูต ทั้งเศรษฐกิจ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/taiwan-has-the-strongest-capability-in-the-world-among-covid-19-outbreaks/

ดีแทคนำ 5G ร่วมกับ WHA Group ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย

ดีแทค ในฐานะพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G ร่วมกับดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA Group) ผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทยเพื่อรองรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เข้าร่วมงาน “5G WHA Smart Ecosystem” เพื่อจัดแสดง 5G โซลูชันอัจฉริยะบริหารจัดการน้ำและพลังงานอัจฉริยะ (Smart Water Management – Smart Energy Management) สำหรับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ  พร้อมต่อยอดสู่บทบาทสำคัญของนิคมอุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วยการจัดการระบบสาธารณูปโภคและพลังงานล้ำสมัยก่อนใครทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไฮไลท์สำคัญงานดังกล่าว ดีแทคได้นำ  “5G โซลูชันบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Management)” เพื่อวัดค่า pH และสารเคมีที่ตกค้างในน้ำทิ้ง พร้อมแจ้งเตือนระดับความสูงของน้ำในการกักและระบายน้ำในเขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น Use case เดียวกับที่ดีแทคกำลังร่วมมือกับกับดับบลิวเอชเอ ในการนำมาทดสอบในพื้นที่การบำบัดน้ำเสียภายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด)  และ “5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Energy Management)” ผ่านตู้สวิตช์บอร์ดไฟฟ้า หรือ MDB (Main Distribution Board) หัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เกาะติดรู้ทุกดาต้าไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ มอนิเตอร์ผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงาน คุ้มค่าใช้จ่ายง่าย และเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้มาก

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/dtac-5g-with-wha-group/

[Guest Post] ดับบลิวเอชเอ พร้อมให้บริการไฟเบอร์ออพติกเพื่อการเชื่อมต่อความเร็วสูง

ดับบลิวเอชเอ พร้อมให้บริการไฟเบอร์ออพติกเพื่อการเชื่อมต่อความเร็วสูง  ตั้งเป้าติดตั้งไฟเบอร์ออพติก (FTTx) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ 7 แห่งภายในสิ้นปีนี้ ตอบสนองการดำเนินธุรกิจอัจฉริยะของลูกค้า

 

กลุ่มธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม ภายใต้การบริหารของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จำกัด ในเครือดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ผู้ให้บริการโซลูชันครบวงจรด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและไฟฟ้า และดิจิทัล แพลตฟอร์มชั้นนำของไทย เดินหน้าพัฒนาการให้บริการไฟเบอร์ออพติก (FTTx) ตอบรับความต้องการของลูกค้าในด้านการบริหารจัดการข้อมูลและระบบไอทีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะติดตั้งไฟเบอร์ออพติก (FTTx) อย่างสมบูรณ์แบบ ภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยรวม 7 แห่ง จากทั้งหมด 10 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับไปกับการติดตั้งในพื้นที่บางส่วนของนิคมอุตสาหกรรมอีก 3 แห่งด้วย

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานไฟเบอร์ออพติก ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการนำสายไฟเบอร์ออพติก (FTTx) ลงดินโดยใช้แรงอัดอากาศ จะทำให้ลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ได้รับประโยชน์มากมาย เช่น การเชื่อมต่อที่รวดเร็วพร้อมความหน่วงต่ำ (Low latency) ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กมีความเสถียรมากขึ้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ นอกเหนือจากการให้บริการคลาวด์และการจัดเก็บข้อมูลแล้ว ระบบความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานความถูกต้องยังจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับดาต้าเซ็นเตอร์ระดับพรีเมียม (เทียร์ 3) ของดับบลิวเอชเอ ซึ่งช่วยมอบบริการสำรองและการกู้คืนข้อมูลได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

นอกจากนี้การใช้งานไฟเบอร์ออพติก ยังช่วยอำนวยความสะดวกด้านพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชัน 5G เช่น การให้บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้งาน (Platform as a Service – PaaS) และการให้บริการด้านซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Software as a Service – SaaS) สำหรับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมและคลังสินค้าของดับบลิวเอชเอ โดยเมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำ เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยี 5G และได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด (JasTel) ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตชั้นนำในประเทศและระหว่างประเทศ ในเครือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)ทำหน้าที่ในการดูแลระบบเน็ตเวิร์ก เพื่อสนับสนุนการให้บริการลูกค้าของจัสเทลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จำกัด

 

“การนำไฟเบอร์ออพติกมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมและคลังสินค้าทั้งหมดของเรา จะทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุดและประสิทธิภาพมากขึ้น” นายไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จำกัด กล่าว “โดยผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ รวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะนำเสนอบริการให้กับลูกค้าได้เลือกใช้ถึง 9 รูปแบบ รวมถึงช่วยเร่งให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยี 5G สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ 5G ในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อผลักดันระบบการผลิตอัจฉริยะ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย” นายไกรทส กล่าวเพิ่มเติม

กลุ่มธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยังมีบริการแบบ Managed Service และโซลูชันด้านดิจิทัลอีกหลายรูปแบบ ไว้รองรับลูกค้ากลุ่มโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมอีกมากมาย อาทิ บริการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้เช่า  บริการเอาท์ซอร์สด้านไอที  ระบบกล้องวงจรปิดบนคลาวด์ โซลูชันระบบการสื่อสารแบบครบวงจร ระบบเสียง ระบบวิดีโอและข้อมูล บริการอีเมล เว็บไซต์ ไฟร์วอลล์ ระบบรักษาความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูล ระบบกู้คืนข้อมูล ตลอดจนบริการเช่าพื้นที่วางเครื่องเซิร์ฟเวอร์และระบบควบคุมการเข้าถึง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และชำระค่าบริการตามการใช้งานจริง

ดับบลิวเอชเอ มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการสอบวัดผลและได้รับประกาศนียบัตรตามมาตรฐานสากลพร้อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ บริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

from:https://www.techtalkthai.com/wha-fttx/

อ่านเกมการเติบโต WHA จากแค่ความฝัน สู่ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจไทย

เรียกว่าเป็นอีกบริษัทที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะบมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) ภายใต้การกุมบังเหียนของ จรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการ ที่เริ่มจากแค่ความฝัน แต่ตอนนี้ธุรกิจทั้งหมดมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท แล้วนายหญิงท่านนี้ทำได้อย่างไร ลองมาศึกษาไปด้วยกัน

รีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการ ของ WHA
จรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการ ของ WHA

จากทุน 1 ล้าน สู่อาณาจักร 1 แสนล้านบาท

จรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการ ของ WHA เล่าให้ฟังว่า ด้วยตนเองชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะตอน 8 ขวบก็เริ่มอ่านเรื่อง 3 ก๊ก พร้อมกับศึกษาตัวละครต่างๆ ทำให้มีทั้งตัวละครที่อยากนำมาเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิต และตัวละครแบบไหนต้องระวัง ซึ่งเรื่อง 3 ก๊ก ก็เป็นอีกตัวจุดประกายให้ตนเองอยากสร้างธุรกิจของตนเอง เพื่อสร้างความสุขให้กับตน และครอบครัว

พอช่วงวัยรุ่นก็เลือกเรียนคณะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพราะความชอบ แต่เมื่ออยากประกอบธุรกิจ จึงเรียนการบริหารธุรกิจเพิ่ม ก่อนอายุ 26 ปีจะสร้างบริษัท Trading ขึ้นมา ผ่านเงินทุน 1 ล้านบาท มีทีมงาน 2 – 3 คน และเน้นที่สินค้าแพ็คพลาสติก เนื่องจากมองว่าอนาคตสินค้าตัวนี้มีโอกาสเติบโตสูง ซึ่งพอทำไประยะหนึ่ง จึงเห็นเรื่อง Logistic ค่อนข้างมีปัญหาในประเทศไทย จนธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตได้ยาก

DKSH Consumer Goods ที่ WHA ให้บริการตั้งแต่ปี 2006 // ภาพจากเว็บไซต์ wha.co.th
DKSH Consumer Goods ที่ WHA ให้บริการตั้งแต่ปี 2006 // ภาพจากเว็บไซต์ wha.co.th

ปรับสู่บริการ Distribution เต็มรูปแบบ

“เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ปัญหาการเดินหน้าธุรกิจของดิฉัน และคนอื่นก็คือเรื่อง Logistic เพราะเกือบทุกรายต้องจัดการกันเอง และการขนส่งในไทยก็ลำบาก จนต้นทุนเกี่ยวกับ Logistic คิดเป็น 18% ของ GDP แต่ด้วยดิฉันมองเรื่องนี้เป็นโอกาส และมองว่าจะเข้าไปสู่รบในตลาด หรือจะคิดบริการอื่นๆ เข้ามาช่วยลดต้นทุนเรื่องนี้ ซึ่งสุดท้ายก็จบที่ธุรกิจ Distribution Center ที่เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2546”

ทั้งนี้เหตุผลที่ WHA เลือกธุรกิจ Distribution Center เพราะหากเลือก Transport ต้องใช้คนจำนวนมาก และบริหารจัดการลำบาก แต่โกดัง Distribution Center เพียงแค่ก่อสร้าง และคิดค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นก็มีหลายเจ้าเข้ามาใช้บริการกับบริษัท เพราะความสะดวก และสามารถลดคนบริหารจัดการลงไปได้ จนปัจจุบันมีคู่ค้ารายใหญ่ทั้ง DKSH, Hitachi และบริษัทยานยนต์ต่างๆ ใช้เราเป็นศูนย์กระจายสินค้าด้วย

business-561387_1280

ยึดติดสิ่งเดิมไม่ได้ เพราะนี่คือยุคสร้างสรรค์

อย่างไรก็ตาม แม้การเติบโตของธุรกิจ Distribution Center จะมีองค์กรต่างๆ มาใช้บริการจำนวนมาก จนมีโกดังกว่า 36 แห่ง ทั้งที่บริษัทรับทำให้องค์กรอื่น และเป็นโกดังที่สร้างขึ้นมาให้องค์กรต่างๆ มาเช่าพื้นที่ แต่ความครบวงจรเป็นเรื่องสำคัญในโลกธุรกิจ WHA จึง Take Over นิคมอุตสาหกรรมเหมราช เพื่อเข้าใกล้ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น และยกระดับคู่ค้าเป็น Strategic Partner จะได้สร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ร่วมกัน

จรีพร บอกต่อว่า ตอนนี้ไม่ได้มีแค่ Distribution Center และนิคมอุตสาหกรรม แต่ยังมีธุรกิจพลังงาน กับแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามาเพิ่มเติม จนกลายเป็น 4 ธุรกิจหลัก และตอบโจทย์พาร์ทเนอร์ของบริษัทกว่า 400 ราย ซึ่งสินทรัพย์ของทุกกลุ่มธุรกิจรวมกันอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท และปีนี้รายได้อยู่ที่ 1.7 – 1.8 หมื่นล้านบาท พร้อมกางแผนบุกต่างประเทศผ่าน 4 ธุรกิข้างต้น เพื่อสร้างรายได้ในปี 2562 ที่ 2.1 หมื่นล้านบาทให้ได้

สรุป

เมื่ออ่านจบก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไม จรีพร จารุกรสกุล ผู้บริหารหญิงเก่ง จะได้รับรางวัลรับรางวัลผู้ประกอบการหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี 2559 ในงาน Asia Pacific Entrepreneurship Award 2016 เพราะด้วยแผนธุรกิจ และการวางตัวเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีให้กับทุกธุรกิจ ทำให้สามารถเติบโตจากทุน 1 ล้าน เป็น 1 แสนล้านบาทได้ ซึ่งอนาคตคงต้องดูต่อไปว่า WHA จะเดินไปทางไหน การรุกตลาดต่างประเทศจะเข้มข้นอย่างไร

คงต้องรอฟังแผนธุรกิจจากหญิงเก่งคนนี้ต่อไป แต่ทีมงาน Brand Inside คาดว่า คงเติบโตได้ตามเป้าหมายแน่นอน เพราะประเทศที่จะไปทำตลาดเพิ่มเติมอยู่ในอาเซียน โดยเฉพาะเมียนมา ที่เพิ่งเปิดประเทศ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องการเข้าไปทำธุรกิจ และการมีผู้บริหาร Distribution Center มืออาชีพเข้าไปช่วย ก็น่าจะทำให้ธุรกิจเหล่านั้นโตได้เร็วขึ้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/dream-big-with-wha/