คลังเก็บป้ายกำกับ: WHO

WHO ประกาศ COVID-19 ไม่เป็นโรคที่เป็นภาวะฉุกเฉินของโลกอีกต่อไป

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศว่าโควิด 19 ไม่อยู่ในสถานะของโรคที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกต่อไป หลังจาก WHO ประกาศให้โควิด 19 เป็นโรคที่เป็นภาวะฉุกเฉินนี้ตั้งแต่มกราคมปี 2020

ตัวแทนของ WHO กล่าวว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ลดจำนวนจากสูงสุดมากกว่า 1 แสนคนต่อสัปดาห์ช่วงต้นปี 2021 มาอยู่ที่ 3,500 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตลอดระยะเวลาการระบาด มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 รวมมากกว่า 7 ล้านคน แต่ตัวเลขจริงอาจสูงกว่านั้น

Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าวว่าประกาศนี้จะช่วยให้หลายประเทศที่ยังคงมาตรการควบคุมการระบาดอยู่ สามารถผ่อนคลายได้โดยสื่อสารกับประชาชนว่าโควิด 19 ไม่ใช่โรคที่น่ากังวล อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า โควิด 19 ยังไม่ได้หมดไป และ WHO ยังต้องเฝ้าระวังไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และจำนวนผู้ติดเชื้อที่อาจพุ่งสูงขึ้นในอนาคต

ที่มา: BBC ภาพ Pixabay

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133709

WHO ประกาศปรับระดับ Monkeypox เป็นฉุกเฉินสูงสุด หลังพบการระบาดแล้ว 70 ประเทศ

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศปรับระดับโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) เป็นระดับฉุกเฉินสูงสุด โดยมองว่าการระบาดตอนนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และต้องการความร่วมมือในระดับนานาชาติ

ครั้งสุดท้ายที่ WHO ประกาศระดับฉุกเฉินสูงสุดแบบนี้ คือเดือนมกราคม 2020 ซึ่งเป็นการระบาดของโควิด 19

Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการ WHO กล่าวว่า การระบาดของ Monkeypox ตอนนี้เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปแบบการระบาดแบบใหม่ ซึ่งเรายังมีความเข้าใจอยู่น้อย จึงเป็นสาเหตุให้ต้องประกาศยกระดับโรคนี้สู่ระดับฉุกเฉินสูงสุด

มีรายงานผู้ป่วยโรค Monkeypox แล้วมากกว่า 16,000 ราย ใน 70 ประเทศปีนี้ และเฉพาะเดือนกรกฎาคมเทียบกับช่วงปลายมิถุนายน จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 77% ทั้งการระบาดในระดับโลกยังไม่มาก แต่พบจำนวนสูงในแถบยุโรป

ที่มา: CNBC

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/129498

คำแนะนำจาก Bill Gates: โลกต้องการทีมและทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปีป้องกันโรคระบาด

ต้องบอกว่า คำเตือนจาก Bill Gates โดยเฉพาะเรื่องโรคระบาดนั้นค่อนข้างแม่นยำ โลกไม่อาจเมินเฉยได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เขาศึกษาเรื่องโรคระบาดและเคยเตือนไว้แล้วว่าโลกยังไม่พร้อมที่จะเผชิญกับโรคระบาดตั้งแต่ปี 2015 แล้ว โลกเตรียมตัวเรื่องนี้น้อยไป หากจะมีอะไรสังหารผู้คนได้ถึง 10 ล้านคนภายใน 10 ปีข้างหน้าก็น่าจะเป็นไวรัสมากกว่าสงคราม และในที่สุด โควิดก็เริ่มระบาดจริงๆ ในช่วงปลายปี 2019 ตัวเลขล่าสุดของผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกอยู่ที่ 534.88 ล้านคน เสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ 6.3 ล้านคน

Bill Gates

ล่าสุด Bill Gates กล่าวในงาน Time 100 Summit ว่า โควิด-19 ให้โอกาสมวลมนุษยชาติเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาดในอนาคต เขาประเมินว่าการเตรียมพร้อมดังกล่าวมีต้นทุนราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี เขาบอกว่า โลกจะต้องสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและการติดเชื้อประมาณ 3,000 คนเพื่อจะช่วยเหลือทุกประเทศในการพัฒนาการรับมือกับโรคระบาด ทีมที่ว่านี้ก็คือทีม Global Epidemic Response and Mobilization (GERM) หรือทีมที่จะต้องระดมสรรพกำลังเพื่อรับมือโรคระบาดในระดับโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกจะต้องเป็นผู้จัดการเรื่องนี้

หนึ่งในความรับผิดชอบหลักของทีม GERM ก็คือจะต้องเจาะลึกเรื่องโรคระบาดและคอยทดสอบแต่ละประเทศว่ามีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาดไปถึงไหนแล้ว เกตส์บอกว่าโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นครั้งถัดไปอาจจะทำให้อัตราคนเสียชีวิตสูงกว่านี้มากและนั่นอาจจะเป็นจุดจบของสังคมได้

โอกาสที่โรคระบาดจะเกิดขึ้นคืออีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะมาทั้งจากธรรมชาติหรือไม่ก็จงใจทำให้มันเกิดขึ้น เขาบอกว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่า 50% แนวคิดเรื่องทีม GERM คือสิ่งที่เกตส์สนับสนุนและนำมาถกเถียงผ่านหนังสือเล่มใหม่ของเขา หนังสือเรื่อง “How to Prevent the Next Pandemic” ที่ตีพิมพ์ไปตั้งแต่เดือนเมษายน

รู้จักทีม GERM ก่อนจะมีโรคระบาดครั้งถัดไป

เกตส์บอกว่า คุณไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนัก หากคุณไม่สามารถรับมือกับสิ่งนั้นได้อย่างรวดเร็ว โรคระบาดคือปัญหาของโลก หากมีสักหนึ่งประเทศที่ไม่ได้ฝึกเพื่อรับมือในการตรวจพบโรคหรือควบคุมการระบาดของโรคได้ เมื่อนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทั้งหมด ทีม GERM อาจจะต้องรับผิดชอบอย่างจริงจังกับบางประเทศที่มีศักยภาพจำกัดในการรับมือกับโรคระบาด

เกตส์พูดถึงทีม GERM ผ่านบทความของเขาที่เผยแพร่ใน GatesNotes เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมาว่า เขานึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Outbreak จะมีฉากที่ปรากฏภาพนักโรคระบาดวิทยาของรัฐบาล 3 ทีมมาที่หมู่บ้านอันห่างไกลด้วยเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาการที่เหมือนกับโรค Ebola ทั้งหมดสวมชุดปฏิบัติการบนดวงจันทร์ (เหมือนชุด PPE ในปัจจุบัน) พวกเขาเปรียบเสมือนฮีโร่ที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อควบคุมภัยคุกคามก่อนที่มันจะระบาดออกมาทำร้ายคนอื่น เขาพูดถึงฉากที่ว่านี้เป็นเหมือนฉากที่ได้รับแรงบันดาลใจและตบท้ายด้วยว่ามันคือนิยายฉบับฮอลลีวูด

ในความเป็นจริงก็คือทีมปฏิบัติการที่ว่านี้ ไม่มีอยู่ในชีวิตจริงและเขาก็ได้แต่หวังว่ามันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เพราะมันเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อป้องกันโรคระบาดครั้งถัดไป เขาบอกปัจจุบันนี้ก็มีองค์กรที่ทำงานอย่างหนักเพื่อรับมือกับโรคระบาดครั้งใหญ่ แต่กำลังของพวกเขาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทีมอาสาสมัคร ที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ GOARN หรือ Global Outbreak Alert and Response Network หรือเครือข่ายรับมือและเตือนภัยโรคระบาดโลก ที่ทำงานฮีโร่นี้แต่ไม่ได้มีพนักงานประจำ ไม่มีเงินทุน

เขาบอกว่าโลกจำเป็นต้องมีองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ถาวร เป็นผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนเต็มที่และมีการเตรียมพร้อมที่จะร่วมงานเพื่อรับมือกับโรคระบาดที่เป็นภัยอันตรายที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากนั้นเกตส์ก็พูดถึงหนังสือของเขาและระบุว่า เขาเรียกทีมนี้ว่า GERM (ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น)

ใครจะไปคิดว่าโลกเรา ไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเรื่องโรคระบาดจริงจัง?

ในคลิปที่พูดถึงเรื่องทีม GERM นี้ เกตส์บอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่โลกไม่มีองค์กรระดับโลกที่จะมาทำงานอุทิศตนหรือทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการป้องกันโรคระบาด มีแต่ความพยายามแบบชั่วคราวหรือความพยายามแบบพาร์ทไทม์ที่ WHO จัดการประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย แต่ไม่มีทีมที่จะมาทำเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เขาบอกว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีสร้างทีมนี้เพื่อทำงานเต็มรูปแบบ ทีมนี้จะต้องมอนิเตอร์เชิงรุกเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะต้องเห็นคลัสเตอร์โรคที่น่าสงสัย นักโรคระบาดวิทยาจะต้องมอนิเตอร์รายงานจากรัฐบาลแห่งชาติเพื่อที่จะสามารถระบุได้ว่ามันสามารถกลายเป็นโรคระบาดได้หรือไม่ จากนั้นก็ต้องรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ ต่อมาผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะต้องทำงานร่วมกันกับรัฐบาลและบริษัท เราจะต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นในการวินิจฉัยโรค รักษาโรคและจัดหาวัคซีนป้องกันโรคที่จะสามารถขยายอัตราการผลิตให้ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ

จากนั้นก็ต้องทำให้แน่ใจว่าแต่ละประเทศจะมีนโยบายในการจัดการตามแนวทางที่ถูกต้อง ทีมจะต้องมีการจัดการจำลองการจัดการโรคระบาดเป็นปกติ ทีม GERM จำเป็นต้องทดสอบระบบรับมือโรคระบาดของโลกและหาจุดอ่อนให้เจอ เราทำเช่นนี้ทั้งในสงคราม ในการจัดการไฟไหม้ ในการจัดการแผ่นดินไหว ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทำกับโรคระบาดด้วย เกตส์คิดว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างทีม GERM เพื่อที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดให้ได้

นอกจากนี้เกตส์ยังพูดถึงบางมาตรการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วโลกได้สนับสนุนให้เกิดขึ้นนับตั้งแต่โรคระบาดเริ่มเกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งการยกระดับเทคโนโลยีเกี่ยวกับโรคระบาด ทั้งวัคซีนและวิทยาการเกี่ยวกับการรักษาโรค การสร้างระบบสาธารณสุขและการมอนิเตอร์โรคระบาดทั่วโลกได้ดีขึ้น

เกตส์ประเมินว่าทั้งโลกน่าจะมีต้นทุนในการดูแลเพื่อป้องกันโรคระบาดราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาทซึ่งก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อยถ้าเทียบกับความสูญเสียจากโควิดระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก เราสูญเสียกว่า 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 485 ล้านล้านบาทกับการระบาดของโควิดครั้งนี้ ซึ่งถ้าโควิดครั้งนี้ทำคนเสียชีวิต 20 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 1 ล้านคน อัตราการตายจะอยู่ที่ 0.2%

Bill Gates - Melinda
Bill Gates – Melinda

มีคนติดเชื้อโควิดมากกว่า 530.8 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสรวม 6.3 ล้านคน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประเมินไว้ว่า ยอดรวมผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดตั้งแต่ 1 มกราคม 2020 ถึง 31 ธันวาคม 2021 จะมีผู้เสียชีวิตจากโควิดระบาดโดยรวมอยู่ที่ 14.9 ล้าานคน ยอดรวมผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า

เกตส์ยังวิพากษ์การรับมือโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบาลทรัมป์ว่า มีความล้มเหลวในการรับมือกับโรคระบาดในช่วงแรกเริ่ม โรคระบาดไม่ได้ถูกตรวจสอบในช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้นมันก็ยากจะที่จะควบคุมเพราะยอดการติดเชื้อมันพุ่งแบบ exponential growth หรือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ยากจะควบคุม

ที่มา – Insider, JHU.EDU, GatesNotes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post คำแนะนำจาก Bill Gates: โลกต้องการทีมและทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปีป้องกันโรคระบาด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bill-gates-guide-how-to-prevent-next-pandemic/

99% ของคนทั่วโลก สูดอากาศแย่เกินมาตรฐาน อาเซียนมลพิษหนักสุด WHO ชี้รับ PM2.5-NO2 เต็มๆ

WHO ศึกษาพบ 99% ของคนทั่วโลกสูดอากาศย่ำแย่เกินมาตรฐาน อาเซียนคุณภาพอากาศแย่สุด รับเต็มทั้ง PM2.5 PM10 และ NO2 ประเทศรายได้น้อยโดนหนัก

องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า 99% ของประชากรโลกต้องเจอกับอากาศที่คุณภาพย่ำแย่กว่ามาตรฐาน มีมลพิษด้านต่างๆ ทั้ง PM2.5 PM10 และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เกินกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนดเอาไว้ จากการศึกษาล่าสุดปี 2022 ที่ครอบคลุม 6,000 เมือง ใน 117 ประเทศทั่วโลก เป็นงานศึกษาเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2018

ประเทศรายได้ปานกลางและต่ำเจอปัญหาเรื่องนี้หนักกว่าประเทศรายได้สูง โดย 17% ของเมืองในประเทศรายได้สูงผ่านเกณฑ์เรื่อง PM2.5 และ PM10 ของ WHO ในขณะที่เมืองในประเทศรายได้ปานกลางผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแค่ 1% เท่านั้น

ที่สำคัญก็คือ หากเจาะเป็นรายภูมิภาค เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด ตามมาด้วยแอฟริกา นอกจากนี้ ไม่มีเมืองไหนเลยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คุณภาพอากาศในเรื่อง PM ได้มาตรฐาน 

เมื่อกิจกรรมเศรษฐกิจกระทบสุขภาพโดยตรง

มลพิษในอากาศทั้ง 2 กลุ่ม คือ PM และ NO2 ล้วนเกิดมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งการผลิตในระบบอุตสาหกรรม การผลิตพลังงาน การทำการเกษตร ไปจนถึงการจราจร

มีหลักฐานจำนวนมากที่ชี้ว่ามลพิษทางอากาศสามารถทำอันตรายให้กับสุขภาพของผู้คน แม้ว่าจะได้รับมลพิษดังกล่าวในจำนวนไม่มากก็ตาม ในกรณีของ PM2.5 มีการค้นพบว่าอนุภาคดังกล่าวสามารถแพร่เข้าไปยังปอดและเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และส่งผลต่อระบบหายใจ

ส่วน NO2 ก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหอบหืด ซึ่งนำไปสู่อาการระบบทางเดินหายใจ (เช่น ไอ หายใจมีเสียงหวีด หรือหายใจลำบาก)

สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องโลกสวย แต่เป็นเรื่องโลกแตก

ข้อค้นพบล่าสุดของ WHO จึงทำให้โลกเห็นความสำคัญที่จะต้องลงมืออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดมลพิษในอากาศ เพราะชัดเจนว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์

Tedros Adhanom Ghebreyesus, ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก WHO

ดร.เทดรอส เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ว่า “ข้อกังวลด้านพลังงานทำให้เห็นความสำคัญในการเร่งรัดกระบวนการเปลี่ยนไปสู่ระบบพลังงานที่สะอาดและดีต่อสุขภาพกว่าเก่า ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สูงขึ้น ความมั่นคงด้านพลังงาน และความเร่งด่วนเรื่องมลพิษทางอากาศสะท้อนให้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง”

ที่มา – WHO, EcoWatch, Japan Today

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post 99% ของคนทั่วโลก สูดอากาศแย่เกินมาตรฐาน อาเซียนมลพิษหนักสุด WHO ชี้รับ PM2.5-NO2 เต็มๆ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/99-percents-breath-bad-air/

6C51 คือติดเกม องค์การอนามัยโลกเริ่มใช้งานบัญชีอาการป่วย ICD-11

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศเริ่มใช้งานบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องเวอร์ชั่นใหม่ ICD-11 อย่างเป็นทางการ หลังจากพัฒนาปรับปรุงมาหลายปี บัญชีชุดนี้มีความเจ็บป่วยและสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดกว่า 17,000 รายการ และมีรหัสสำหรับสภาวะต่างๆ ของผู้ป่วยกว่า 1.6 ล้านรายการ จากข้อมูลที่ได้รับความเห็นจากประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศ

ICD-11 เคยเป็นข่าวในวงการไอทีจากการรับเอาอาการติดเกม เป็นอาการผิดปกติทางจิต มีรหัส 6C51 พร้อมรหัสย่อย 6C51.0 สำหรับเกมออนไลน์ และ 6C51.1 สำหรับเกมออฟไลน์ โดยกำหนดลักษณะของอาการติดเกมไว้ ได้แก่ 1) ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมได้ ทั้งระยะเวลา, ความจริงจัง ฯลฯ 2) ให้ความสำคัญเหนือกิจกรรมประจำวัน 3) เล่นเกมต่อเนื่องหรือเล่นมากขึ้นแม้จะมีผลเสียต่อชีวิต

ฐานข้อมูล ICD ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขสามารถบันทึกอาการป่วยและโรคต่างๆ ได้ตรงกับเพื่อเก็บสถิติ และจัดสรรค์ทรัพยากรเพื่อสู้กับโรคต่างๆ และอาจจะใช้งานอื่นๆ เช่น บริษัทประกันอาจจะมีนโยบายจ่ายค่ารักษาตามหมายเลข ICD ต่างๆ

ที่มา – WHO

No Description

ภาพโดย StarupStockPhotos

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/127155

Omicron มาอีกแล้ว! ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้ แพร่เชื้อเร็ว ติดซ้ำได้ อาจป่วยหนัก

WHO ประกาศไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์จากโควิดเดิม คือสายพันธุ์ Omicron ที่มีรหัสว่า B.1.1.529 ทางองค์การอนามัยโลกรายงานเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้ครั้งแรกจากแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 เป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำได้ เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล

omicron

แอฟริกาใต้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันทางองค์การอนามัยโลก ก็พบไวรัสสายพันธุ์นี้ โดยชื่อทางการคือ Omicron ถือเป็นสายพันธุ์ที่ 5 ที่องค์การอนามัยโลก ตั้งชื่อสายพันธุ์ ก่อนหน้านี้สายพันธุ์ที่น่ากังวลคือ Alpha (อัลฟา), Beta (เบตา), Gamma (แกมมา) และ Delta (เดลตา) ส่วนสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ ต้องจับตาคือสายพันธุ์ lambda (แลมบ์ดา) และ mu (มิว)

Variants of Concern VOCs

ทางทีมผู้เชี่ยวชาญกำลังมอนิเตอร์สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลนี้อย่างใกล้ชิด เพราะมันอาจแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ป่วยหนักได้หรือวัคซีนอาจจะมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสสายพันธุ์นี้ได้น้อย ทางโฆษกองค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศต่างๆ ต้องเฝ้าระวังมาตรการในการเดินทางและสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการเว้นระยะห่างจากสังคม สวมใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงการรวมตัว อยู่ในห้องที่มีระบบระบายอากาศได้ดีและรักษาสุขอนามัยเสมอและรับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แพร่เชื้อ

ด้านนักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาใต้ตรวจพบสายพันธุ์ใหม่ราว 100 คน เมืองที่พบมากที่สุดคือเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในแอฟริกาใต้ชื่อเมือง Gauteng ประชากรชาวแอฟริกาใต้ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ไปแล้ว 24% จำนวนการฉีดต่อวันอยู่ในระดับต่ำ น้อยกว่า 1.3 แสนคน ต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 300,000 คนต่อวัน แอฟริกาใต้ถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิดหนักสุดในทวีปแอฟริกา มีคนติดเชื้อรวมเกือบ 3 ล้านคน เสียชีวิตจากโควิดมากกว่า 89,000 คน

สายพันธุ์ omicron ถูกพบจากนักเดินทางที่มาจากแอฟริกาใต้ เบลเยียม บอสตวานา ฮ่องกง และอิสราเอล

Variants of Interest (VOIs)

ที่มา – WHO, Nikkei, CBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Omicron มาอีกแล้ว! ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้ แพร่เชื้อเร็ว ติดซ้ำได้ อาจป่วยหนัก first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-named-covid-19-new-variant-of-concern-omicron-b-1-1-529/

WHO ประกาศให้ Omicron เป็นเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ ระดับน่ากังวลตัวใหม่ ถัดจาก Delta

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ Omicron หรือรหัส B.1.1.529 จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern – VOC) ซึ่งเชื้อกลายพันธุ์ตัวก่อนหน้าที่ WHO ประกาศคือสายพันธุ์ Delta (B.1.617.2)

นิยามของ WHO ระบุว่าสายพันธุ์ที่เป็น VOC มีโอกาสเพิ่มการระบาดได้สูงขึ้นในวงกว้าง มีความเสี่ยง มีโอกาสติดซ้ำ รวมทั้งประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่อาจลดลงในการรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ดังกล่าว ส่วนเชื้อกลายพันธุ์อีกกลุ่ม WHO เรียกว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variant of Interest – VOI) ได้แก่ Lambda และ Mu ที่ยังไม่พบการระบาดในวงกว้าง

Omicron ถูกรายงานข้อมูลจากแอฟริกาใต้ไปยัง WHO ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ตอนนี้พบผู้ป่วยสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วใน บอตสวานา เบลเยี่ยม ฮ่องกง และอิสราเอล ส่วนในแอฟริกาใต้พบการระบาดของสายพันธุ์นี้แทบทุกพื้นที่

ก่อนหน้านี้ที่มีรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ คาดกันว่า WHO จะตั้งชื่อว่า Nu ตามลำดับอักษรกรีก แต่ก็ได้ข้ามไปที่ Omicron เลย

ที่มา: WHO และ BBC ภาพ Pixabay

alt="Covid-19"

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/126027

จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง

หลังจากที่ WHO หรือองค์การอนามัยโลกเคยลงพื้นที่ตรวจที่มาของการระบาดของโควิด-19 ในอู่ฮั่น จีนมาแล้วในช่วงมกราคม ปี 2021 ที่ผ่านมา (โควิดระบาดตั้งแต่ปลายปี 2019 ในอู่ฮั่น จีน หลังโควิดระบาดไปแล้วปีเศษ WHO เพิ่งจะได้ลงพื้นที่) ล่าสุด WHO ขอลงพื้นที่จีนอีกรอบ โดยระบุว่าเป็นไปตามแผนสำรวจที่มาของโควิดระบาดระยะสอง

แน่นอนว่าครั้งนี้ จีนไม่ยินยอมให้ลงพื้นที่เช่นเดิม ก่อนหน้านี้กว่าจะลงพื้นที่ได้ WHO ต้องยื่นเรื่องหลายต่อหลายครั้ง มีอุปสรรคอย่างมากกว่าจะได้ลงพื้นที่ ครั้งนี้ก็เช่นเดิม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ที่ผ่านมาทางการจีนออกมาปฏิเสธ WHO หลังยื่นแผนการศึกษาเพื่อสอบสวนแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ซึ่งทฤษฎีที่ว่าไวรัสหลุดออกมาจากห้องแล็บอู่ฮั่นนั้น จีนระบุว่านี่เป็นความอคติทางการเมือง จีนยืนกรานว่าได้ให้ความร่วมมือกับ WHO อย่างเต็มที่แล้ว หลังจากที่มีกระแสข่าวแล็บอู่ฮั่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาและยังมีรายงานร่วมกันที่เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็ยังไม่พบว่าไวรัสมาจากสัตว์ชนิดใดและแพร่พันธุ์สู่คนได้อย่างไร

ถึงที่สุดแล้วเมื่อ WHO ยื่นเรื่องตรวจสอบแหล่งที่มาโควิดระบาดเฟสสอง จีนก็ไม่ยอมรับเรื่องและยังมองว่าเรื่องนี้ถูกครอบงำด้วยการเมืองและไม่เคารพต่อข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เรื่องนี้ Zeng Yixin รองหัวหน้าคณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติจีน ระบุว่า เราหวังว่า WHO จะพิจารณาคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์จีนอย่างใส่ใจ เกี่ยวกับประเด็นที่มาของโควิด-19 ที่ต้องเป็นคำถามที่อิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง

รายงานร่วมของทั้งสองฝ่ายผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกตั้งข้อสงสัยว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ไวรัสจะถูกปล่อยออกจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ซึ่งก็เป็นสถานที่พัฒนาวัคซีนด้านไวรัสด้วย ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี Biden ก็ออกมาเปิดเผยว่าจะตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิด-19 ที่สหรัฐฯ เองก็มองว่ามีความเป็นไปได้ทั้งสองทาง คือไวรัสอาจแพร่จากสัตว์สู่คน หรือไม่ก็อาจจะออกมาจากห้องแล็บโดยไม่ตั้งใจ สาเหตุที่ Biden มองเช่นนี้เพราะข้อมูลและหลักฐานที่ได้ ไม่มากพอที่จะทำให้ฟันธงได้ว่าไวรัสมาจากทางใดทางหนึ่ง

สี จิ้นผิง Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน
(Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

ด้านทำเนียบขาวก็ออกมาแสดงความผิดหวังอย่างสุดซึ้งถึงการตัดสินใจปฏิเสธของจีนที่ไม่ให้ WHO เข้าไปตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ตามแผนที่ WHO กำหนดไว้ ซึ่ง WHO ก็ต้องการตรวจทั้งที่มาที่ว่าไวรัสระบาดจากห้องแล็บหรืออาจเป็นตลาดสดในเมืองอู่ฮั่น สุดท้ายแล้วก็ทำได้เพียงขอความโปร่งใสจากทางการจีนให้สามารถตรวจสอบได้

ที่มา – Nikkei Asia (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-refuse-who-second-phase-plan-origin-investigation-covid-19/

ยังไม่มีใครรู้ผลกระทบระยะยาว: WHO เตือน อย่าจับคู่วัคซีนต่างยี่ห้อมาใช้ผสมกัน

Dr. Somya Swaminathan หัวหน้านักวิทยาศาสตร์องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกโรงเตือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ใครที่กำลังคิดจะจับคู่การใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมนกัน ถือเป็นแนวโน้มที่อันตรายเพราะมีข้อมูลรับรองเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดกับสุขภาพน้อยมาก

ข้อมูลน้อย ไม่มีอะไรยืนยันผลกระทบทางสุขภาพระยะยาวหลังใช้วัคซีนผสมยี่ห้อกัน

Soumya Swammimathan กล่าวผ่านการสรุปออนไลน์วานนี้ เธอบอกว่าถือเป็นแนวโน้มที่อันตราย เพราะข้อมูลรองรับในการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมกันนั้น มีข้อมูลรองรับน้อย และมันก็อาจจะเกิดสถานการณ์ปั่นป่วนในประเทศที่คิดจะให้พลเมืองในประเทศใช้สูตรนี้ มันจะนำไปสู่การคิดต่อว่าจะใช้เมื่อไร และใครจะใช้โดสสอง โดสสาม โดสสี่เรื่อยไป

การจับคู่วัคซีนต้านโควิด-19 ต่างยี่ห้อมาใช้ผสมกันนั้นเพื่อหวังจะกระตุ้นภูมิต้านทานให้เพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้ แคนาดาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กังวลประสิทธิภาพวัคซีนเช่นกัน โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันแห่งชาติแคนาดา (National Advisory Committee on Immunization: NACI) ได้ให้คำแนะนำไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ประชาชนที่รับวัคซีน AstraZeneca เป็นโดสแรก ควรจะรับวัคซีน mRNA เช่น Pfizer หรือ Moderna เป็นโดสที่ 2 หรือใครที่ได้รับวัคซีนโดสแรกเป็น mRNA ควรจะได้วัคซีนชนิดเดียวกันเป็นโดสที่ 2

แต่วัคซีน mRNA สามารถใช้สลับกันได้ หากว่าผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันไม่มีให้พร้อมใช้งานในโดสที่ 2 เรื่องนี้ Theresa Tam หัวหน้าด้านสาธารณสุขแคนาดาระบุว่าว คำแนะนำนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งความปลอดภัยและเรื่องการจัดหาวัคซีนด้วย เรื่องการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมกันนี้ ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มไปทางการใช้วีคซีน AstraZeneca เป็นโดสแรกและให้ใช้วัคซีน mRNA เป็นโดสสอง ผลการศึกษาของ University of Oxford ที่เปิดเผยเมื่อ 12 พฤษภาคม ระบุว่าการใช้วัคซีน mRNA อย่าง Pfizer คู่กับ AstraZeneca นี้อาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงแบบอ่อนๆ แต่อาการเหล่านี้จะคงอยู่ในระยะสั้น ไม่อยู่ยาวนานและไม่ถึงขั้นป่วยจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล

ขณะที่ผลการศึกษาจากสเปนที่เผยแพร่เมื่อ 18 พฤษภาคมระบุว่า คนที่รับวัคซีน AstraZeneca เป็นโดสแรกและได้วัคซีน Pfizer เป็นโดสที่สองนั้นกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น 7 เท่า ถือว่ามากกว่าการใช้วัคซีน AstraZeneca ซ้ำเป็นโดสที่สอง ซึ่งแคนาดาไม่ใช่ประเทศเดียวที่ยอมรับหลักการนี้ สิ่งที่หลายประเทศกังวลสำหรับการใช้ AstraZeneca คือความเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด หลายประเทศในยุโรปก็ยอมรับข้อเสนอนี้ ซึ่งก็มีทั้งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรนี นอร์เวย์ สเปน และสวีเดน ที่เสนอให้ใช้วัคซีน mRNA เป็นโดสที่สองหลังใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นโดสแรก

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ยังไม่มีใครรับรองว่าระยะยาวแล้ว การใช้วัคซีนแบบผสมยี่ห้อกันนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อสุขภาพร่างกายของคน เรื่องนี้ Alberto Martin ศาสตราจารย์ด้านระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจาก University of Toronto ระบุว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ในระยะยาว

ไทย ประเทศแรกที่คิดใช้วัคซีนผสมยี่ห้อจีนกับตะวันตก

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นแห่งแรกที่คิดใช้วัคซีนผสมยี่ห้อกันระหว่างวัคซีนจีนกับวัคซีนตะวันตก อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารสุข ระบุว่า ให้ใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นโดสที่สองหลังจากฉีดวัคซีน Sinovac ไปแล้วโดสแรก ให้ฉีด AstraZeneca ห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ การฉีดวัคซีนเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานให้ป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้

การผสมวัคซีนจีนกับตะวันตกหรือการใช้วัคซีน Sinovac ผสมกับ AstraZeneca นี้ยังไม่มีผลการศึกษาเผยแพร่ออกมา แต่ก็มีหลายประเทศที่กำลังหาทางผสมวัคซีนต่างยี่ห้อใช้อยู่เช่นกัน บ้างก็คิดว่าน่าจะใช้ booster dose เป็นเข็มที่ 3 การประกาศเตรียมใช้วัคซีนผสมกันของไทยเกิดขึ้นหลังมีบุคลากรทางการแพทย์หลายร้อยรายติดเชื้อโควิดหลังฉีด Sinovac ครบโดสแล้ว ไทยกำลังวางแผนใช้ booster shots ด้วยการนำเข้าวัคซีน mRNA เข้ามา มีการศึกษาเบื้องต้นพบว่าบุคลากรทางการแพยท์ในไทยราว 700 คนที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข้าไป มีภูมิคุ้มกันราว 60%-70% สำหรับ 60 วันแรกหลังฉีดโดสสอง แต่หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันจะลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 40 วัน

ผศ. ดร.นพ. สิระ นันทพิศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวกับสำนักข่าว Reuters ว่า จากงานวิจัยของเรา ถ้าบุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีน Sinovac ปริมาณ 2 โดส พวกเขาควรจะได้รับ booster shot เป็นเข็มที่ 3 ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer (ที่กำลังจะมา) จากนั้นก็คอยเฝ้าดูระดับภูมิคุ้มกันต่อ

เรื่องใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมกันนี้ ผู้แทนจาก AstraZeneca ปฏิเสธจะให้ความเห็นกับการตัดสินใจของไทยดังกล่าว การตัดสินใจใช้วัคซีนขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ ส่วน Sinovac ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เช่นกัน หลังจากที่หลายประเทศที่พึ่งพาวัคซีนจากจีนอย่างมาก ทั้งในอินโดนีเซียและบราซิลต่างก็กังวลว่าจไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาที่พบครั้งแรกในอินเดียได้ ด้านจีนเองก็ไม่มีข้อมูลทางเทคนิคที่มีการทดลองขนาดใหญ่ ไม่มีข้อมูลการใช้วัคซีนจากการใช้งานจริงว่าวัคซีนจีนมีประสิทธิภาพต้านไวัรัสสายพันธุ์เดลตาได้ มีแต่ผู้เชี่ยวชาญจีนที่เร่งให้ฉีดวัคซีนแก่ประชาชนให้เร็วที่สุด

ยังขาดข้อมูลวัคซีนจีนต้านไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่จะต้องได้รับการ peer reviews จากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศอีกที ทั้งนี้ Zhong Nanshan นักระบาดวิทยาที่เป็นผู้ช่วยรับมือโควิด-19 ระบาดในจีนระบุว่า นักวิจัยพบว่า วัคซีนจีนมีประสิทธิภาพลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหนักจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ วิเคราะห์จากการติดเชื้อในกวางโจว แต่ก็มีกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก

ในเดือนที่ผ่านมา Liu Peicheng โฆษกจาก Sinovac กล่าวกับรอยเตอร์สว่า ผลจากตัวอย่างเลือดที่ฉีดวัคซีนแล้วพบว่า ช่วยลดผลกระทบจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ถึงสามเท่า โดยต้องใช้ booster shot ตามหลังการฉีดวัคซีนไปแล้วสองโดส โฆษกไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก ส่วน Feng Zijian อดีตผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคระบาดในจีนระบุว่า เรื่องวัคซีนจีนทั้งสองยี่ห้อนี้มีประสิทธิภาพน้อยเมื่อต้องใช้ต้านไวรัสสายพันธุ์เดลตา ถ้าเทียบกับไวรัสสายพันธุ์อื่น แน่นอน Feng ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มอีก

สิ่งที่จีนทำหลังจากเจอสายพันธุ์เดลตาระบาดที่เมืองกวางตุ้งซึ่งมีประชากรราว 126 ล้านคน คือการพยายามฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างเร็วที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาด กวางตุ้งถือเป็นฮับการส่งออกขนาดใหญ่ของจีน แต่ก็กลายเป็นแหล่งคลัสเตอร์ไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการติดเชื้อนี้ในประเทศช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาในกวางตุ้งเมืองหลวงของกวางโจวราว 146 คน และยังมีการติดเชื้อในฮับเทคโนโลยีอย่างเซินเจิ้นอีกหลายรายด้วยกัน สิ่งที่จีนทำคือปิดพรมแดนกวางโจว เซินเจิ้น ตงกวนให้เร็วที่สุด เร่งตรวจเชื้อครั้งใหญ่และทำตามกระบวนการเดิมที่เคยจัดการโควิดได้ รวมทั้งต้องมีบัตรผ่านข้ามพรมแดนจังหวัดเพื่อยืนยันว่ามีผลตรวจเป็นลบ

จีนเร่งฉีดวัคซีนโดยเร็วภายใน 19 พฤษภาคมจีนฉีดวัคซีนไปแล้ว 39.15 ล้านโดส จากนั้น 20 มิถุนายนก็ฉีดวัคซีนเพิ่มเป็น 101.12 ล้านโดส

ผลการศึกษาจากวัคซีนชาติตะวันตกเป็นยังไง?

ผลการศึกษาจาก Public Health England (PHE) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนโดสที่สองแล้ว 2 สัปดาห์ วัคซีน Pfizer-BioNTech มีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสสายพันธ์เดลตาได้ราว 88% เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์อัลฟาที่พบครั้งแรกในอังกฤษถือว่ามีประสิทธิภาพสูงราว 93%

ขณะที่ถ้าฉีดวัคซีน AstraZeneca ครบสองโดส จะมีประสิทธิภาพต้านโรคโควิดที่ทำให้มีอาการจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ 60% ถ้าเทียบกับสายพันธุ์อัลฟาจะมีประสิทธิภาพต้านโควิด-19 ได้ราว 66% ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอสำหรับวัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียง 1 โดสสำหรับการต้านโควิด-19 ส่วนเรื่องการใช้ booster shots สำหรับวัคซีน mRNA นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อโรคระบาดยังพิจารณาเรื่องนี้กันอยู่

สรุป

การใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมกันนั้น ในยุโรปหรือบางประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่เน้นใช้วัคซีนเทคโนโลยี mRNA ตามหลังการฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่มีความเสี่ยงจะเกิดลิ่มเลี่ยงเป็นโดสที่สอง กล่าวคือ ใครก็ตามที่ฉีด AstraZeneca เป็นโดสแรก ก็ให้ฉีดวัคซีน mRNA เป็นโดสที่สอง มีประเทศที่ทำอยู่หลายแห่งอาทิ แคนาดา เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรนี นอร์เวย์ สเปน และสวีเดน

ส่วนแนวคิดกระตุ้นภูมิหลังใช้วัคซีนจีนไปแล้ว กังวลประสิทธิภาพวัคซีนว่าจะไม่สามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่เป็นสายพันธุ์หลักกำลังระบาดทั่วโลกตอนนี้ได้ จึงนำไปสู่แนวคิดที่จะใช้วัคซีนจีนผสมกับวัคซีนตะวันตกนั้น ตอนนี้มีการรายงานว่าไทยคิดได้เป็นแห่งแรกของโล และยังขาดข้อมูลรับรองอีกมากว่าการฉีดวัคซีนเช่นนั้นจะปลอดภัยหรือไม่ต่อสุขภาพในระยะยาว ด้านองค์การอนามัยโลกก็ไม่ยืนยันเรื่องการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อผสมกันเพราะมีผลการศึกษาที่จะรับรองเรื่องดังกล่าวค่อนข้างน้อย ส่วนจีนก็เร่งฉีดวัคซีนต้านโควิดเท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดใดยืนยันทั้งในแง่ของการทดลองในทางคลินิกที่ต้องใช้คนจำนวนมากและทั้งในแง่ของการใช้งานจริง มีก็แต่โฆษกจาก Sinovac ที่รับรองผลโดยไม่มีข้อมูลมายืนยัน

ที่มา – Reuters (1), (2), (3), Global News

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ยังไม่มีใครรู้ผลกระทบระยะยาว: WHO เตือน อย่าจับคู่วัคซีนต่างยี่ห้อมาใช้ผสมกัน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-advise-do-not-mixing-and-matching-covid-19-vaccines-from-different-manufacturers/

ตามคาด WHO ยืนยัน ไม่สามารถบังคับจีน มอบข้อมูลต้นตอโควิด-19 ระบาดได้

เป็นไปตามที่โลกต่างก็คาดการณ์กันถ้วนหน้า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาประกาศว่าไม่สามารถที่จะบังคับให้จีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของโควิด-19 ระบาดให้มากกว่านี้ได้ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มข้อเสนอเรื่องการศึกษาถึงความจำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าไวรัสเกิดขึ้นได้อย่างไร

WHO China Covid-19 outbreak

Mike Ryan ผู้อำนวยการหน่วยงานโครงการฉุกเฉิน ระบุว่า WHO ไม่สามารถบังคับให้จีนเปิดกว้างมากกว่านี้ได้ WHO ไม่สามารถใช้อำนาจเพื่อบังคับใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ เราคาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ รวมทั้งสนับสนุนรัฐสมาชิกในความพยายามด้านต่างๆ ได้ จากทฤษฎีที่ว่าไวรัสแพร่จากสัตว์ที่คาดว่าจะเป็นค้างคาวมาสู่มนุษย์หรือทฤษฎีที่ว่าไวรัสมาจากห้องแล็บจีนในอู่ฮั่น 

WHO ยืนยันว่าได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ไปเยือนจีนเพื่อตามล่าหาความจริงเกี่ยวกับแหล่งที่มาของโควิด-19 ระบาดแล้ว พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดซึ่งก็เป็นที่ถกเถียงกันมากถึงความโปร่งใสของจีน ซึ่งถ้าย้อนไปสมัยที่ Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ยืนยันเรื่องนี้มาตลอดว่าไวรัสน่าจะหลุดมาจากจีน ด้าน Mike Pompeo ก็ยืนยันเช่นกันว่ามีหลักฐานสำคัญที่ทำให้เชื่อได้ว่า ไวรัสหลุดออกมาจากห้องแล็บ 

เมื่อมาถึงสมัยของ Joe Biden ก็ยังยืนยันอีกเช่นกันว่า จะหาข้อมูลเพิ่มให้ได้ว่าจริงๆ แล้ว โควิด-19 ระบาดมาจากสัตว์หรือมาจากห้องแล็บกันแน่ เพราะข้อมูลที่มีอยู่ในมือตอนนี้ไม่สามารถชี้ขาดได้ว่าจริงๆ แล้ว ไวรัสมาจากสัตว์หรือห้องแล็บจีน

ที่มา – Reuters, US News

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ตามคาด WHO ยืนยัน ไม่สามารถบังคับจีน มอบข้อมูลต้นตอโควิด-19 ระบาดได้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-said-cannot-force-china-to-disclose-covid-19-origin/