คลังเก็บป้ายกำกับ: SATELLITE_COMMUNICATION

SoftBank ลงทุน 42,000 ล้านบาทในโครงการโครงข่าย Internet ผ่านดาวเทียมทั่วโลกของ Richard Branson

โครงการ OneWeb ซึ่งเป็นโครงการของ Richard Branson สำหรับวางโครงข่ายระบบ Internet ทั่วโลกด้วยการใช้ Satellite ขนาดเล็กจำนวน 2,400 ดวงสร้างโครงการข่ายอวกาศ ได้รับเงินลงทุนจากทาง SoftBank ของ Masayoshi Son ไปเป็นมูลค่า 1,200 ล้านเหรียญหรือราว 42,000 ล้านบาท

Credit: OneWeb

อย่างไรก็ดีในภายหลังมีข่าวว่าโครงการ OneWeb นี้ถูกลดจำนวนของดาวเทียม Satellite ลงเหลือเพียง 900 ตัวเท่านั้น และก่อนหน้านี้โครงการ OneWeb เองก็เคยได้รับเงินลงทุนมาแล้ว 500 ล้านเหรียญหรือราวๆ 17,500 ล้านบาท ซึ่งจากการประเมินนั้นทางโครงการ OneWeb นี้จะต้องการเงินทุนทั้งสิ้น 2,500 ล้านเหรียญถึง 3,500 ล้านเหรียญหรือราวๆ 87,500 ล้านบาทถึง 122,500 ล้านบาทในการดำเนินโครงการทั้งหมด ประกอบด้วยการสร้างฐานส่งดาวเทียมของตัวเอง และการสร้างดาวเทียมทั้งหมด 900 ดวง

Greg Wyler ผู้ก่อตั้งของโครงการนี้ได้ออกมาเปิดเผยว่าการลงทุนของ SoftBank ในครั้งนี้ทำให้ OneWeb สามารถลดการระดมทุนลงไปได้ถึง 2 รอบ โดยที่ผ่านมา OneWeb ได้สร้างดาวเทียมไปแล้ว 10 ดวงที่ฝรั่งเศส และดาวเทียมดวงที่เหลือนั้นมีแผนที่จะสร้างภายในสหรัฐอเมริกา ทำให้การลงทุนของ SoftBank มูลค่า 50,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1.75 ล้านล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลังการมาของโดนัลด์ ทรัมป์นั้นสามารถลงทุนในโครงการ OneWeb นี้ได้

เงินลงทุนในก้อนนี้จะทำให้ OneWeb สามารถสร้างดาวเทียมได้สัปดาห์ละ 15 ตัว และสร้างตำแหน่งงานใหหม่ในสหรัฐอเมริกา 3,000 ตำแหน่งภายใน 4 ปีนับถัดจากนี้ โดยระบบเครือข่าย Internet จาก OneWeb นี้จะสามารถนำไปใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบ Internet ความเร็วสูงบนเครื่องบิน, การเชื่อมต่อเครือข่ายในยามเกิดภัยพิบัติ, การเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังยานพาหนะต่างๆ และการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังพื้นที่ห่างไกล รวมถึง OneWeb ยังมีแผนจะเปิดให้เหล่า Mobile Operator และ ISP มาเช่าใช้เพื่อขยายพื้นที่บริการของตนได้ด้วย

โครงการ OneWeb นี้มี Board of Director ที่โด่งดังหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Dr.Paul E. Jacobs จาก Qualcomm, Richard Branson จาก Virgin Group หรือบริษัทอื่นๆ อย่าง Bharti Enterprises, Airbus Group และ Marker-LCC

ผู้ที่สนใจในโครงการ OneWeb สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://oneweb.world/ เลยนะครับ

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3152894/internet/softbank-invests-12-billion-in-the-oneweb-satellite-network.html

from:https://www.techtalkthai.com/softbank-invests-42-billion-thb-in-oneweb-oroject-of-richard-branson/

รู้จัก Cisco NERV รถยนต์สื่อสารสำหรับให้บริการเครือข่ายในยามประสบภัยพิบัติ

ในยามที่เกิดภัยพิบัติใดๆ สาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างการสื่อสารนั้นมักจะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในลำดับต้นๆ สำหรับการปฏิบัติการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย แนวคิดของการสร้างรถยนต์ที่สามารถให้บริการด้านการสื่อสารในเหตุภัยพิบัติโดยเฉพาะอย่าง Cisco Network Emergency Response Vehicle (NERV) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อการนี้

cisco_nerv

Cisco NERV นี้เป็นรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ภายในบรรจุด้วย Data Center และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ เพื่อให้สามารถให้บริการระบบเครือข่ายในพื้นที่ประสบภัยพิบัติได้ พร้อมด้วย Power Generator ในตัวทำให้สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องได้ถึง 4 วันโดยไม่ต้องอาศัยทรัพยากรด้านพลังงานจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติแต่อย่างใด พร้อมความเร็วในการเปิดปิดระบบที่ 15 นาทีทำให้สามารถเคลื่อนย้ายจุดปฏิบัติการได้อย่างคล่องตัว

ทางด้านการสื่อสาร ภายในรถ Cisco NERV นี้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ผ่าน Satellite ความเร็ว 5 Mbps ได้จากหลากหลายพื้นที่ พร้อมระบบ Cisco Wide Area Application Services (WAAS) ที่ช่วยทำ WAN Optimization เพื่อให้สามารถใช้ Bandwidth ได้คุ้มค่าสูงสุด พร้อมมี Cisco Integrated Services Router (ISR) ในตัวเพื่อให้บริการ VPN และ Firewall เชื่อมต่อไปยังศูนย์ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยทั่วโลก พร้อม Cisco Wirleless LAN Controller สำหรับควบคุม Cisco Wireless Access Point สำหรับการให้บริการ Wi-Fi รอบๆ คันรถ หรือเชื่อมต่อแบบ Mesh เพื่อเพิ่มระยะการให้บริการและการเชื่อมต่อเครือข่าย พร้อมระบบ Land Mobile Radio เพื่อให้บริการระบบวิทยุได้อีกด้วย

ส่วน Application ที่ติดมากับรถนั้นก็จะมีทั้งระบบ Voice over IP จาก Cisco Unified Communications Manager Express, ระบบ Video Surveillance จาก Cisco Video Surveillance Manager, ระบบ Video Conference จาก Cisco TelePresence มาให้พร้อมใช้งานได้ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cisco.com/c/en/us/about/supplier-sustainability/tactical-operations-tacops.html เลยนะครับ

ที่มา: http://www.crn.com/news/networking/video/300081367/ciscos-nerv-enables-communications-during-catastrophic-events.htm

from:https://www.techtalkthai.com/introduce-cisco-nerv-communication-vehicle-for-disaster-cases/

ดาวเทียมอาจให้บริการเครือข่ายความเร็ว 1Tbps ไปยังภูมิภาคที่ห่างไกลทั่วโลกได้

ViaSat ผู้ผลิตดาวเทียม ได้จับมือกับ Boeing เพื่อประกาศความร่วมมือในการส่งดาวเทียม ViaSat-3 ขึ้นไปโคจรบนอวกาศ และทำการส่งสัญญาณเครือข่ายความเร็ว 1 Tbps จากอวกาศเพื่อเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ห่างไกลได้

Credit: https://www.viasat.com/news/reinventing-space-meeting-growing-demands-of-warfighters-civilians-and-emergency-responders
Credit: https://www.viasat.com/news/reinventing-space-meeting-growing-demands-of-warfighters-civilians-and-emergency-responders

ทั้งนี้การส่งสัญญาณความเร็ว 1 Tbps ไปให้ผู้ใช้งานนั้น ทางฝั่งผู้ใช้งานก็อาจไม่สามารถรับความเร็วระดับนี้ได้ ทาง ViaSat จึงตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะให้ผู้ใช้งานตามที่อยู่อาศัยนั้นเชื่อมต่อด้วยความเร็วเพียงระดับ 100Mbps เท่านั้น ซึ่งความเร็วระดับนี้ก็ถือว่าเหนือกว่าการเชื่อมต่อหลายๆ แห่งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกแล้ว

ViaSat ได้ทำการพัฒนาดาวเทียม ViaSat-3 นี้จำนวน 2 ชุด และเตรียมส่งขึ้นอวกาศไปด้วยบริการของ Boeing ภายในช่วยปลายปี 2019 โดยนอกจากบริการสำหรับประชาชนตามที่อยู่อาศัยแล้ว ViaSat-3 จะยังคงมีบริการสำหรับองค์กรที่ความเร็วระดับ 1Gbps อีกด้วย

อันที่จริงแล้ว ViaSat ยังมีโครงการส่งดาวเทียม ViaSat-2 ขึ้นไปยังอวกาศด้วยบริการของ SpaceX ในอีกไม่กี่เดือนถัดจากนี้ และ ViaSat-2 จะมีความเร็วเพียง 1 ใน 3 ของ ViaSat-3 เท่านั้น

ที่มา: http://www.extremetech.com/extreme/222889-new-satellites-could-bring-1-terabit-of-internet-bandwidth-to-remote-regions

from:https://www.techtalkthai.com/satellite-might-reach-1-tbps-connection-speed/

อินเตอร์เน็ตดาวเทียมผ่านแสงเลเซอร์ ได้ความเร็วถึง 600 Mbps

edrs_satellite_1

EDRS (European Data Relay System) หรือที่รู้จักกันในชื่อ SpaceDataHighway เสนอโปรเจ็คท์การใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) ร่วมกับดาวเทียมประจำที่ (GEO) ในการรับส่งข้อมูลจากพื้นผิวโลกผ่านทางแสงเลเซอร์ ซึ่ง Airbus ได้ทำการทดสอบโปรเจ็คท์ที่แล้ว พบว่าได้ความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 600 Mbps

ดาวเทียมวงโคจรต่ำต้องรอส่งข้อมูล

ดาวเทียมวงโคจรต่ำอยู่สูงจากพื้นโลกไม่เกิน 2,000 กิโลเมตร ใช้สังเกตการณ์ สำรวจสภาพแวทล้อม และถ่ายภาพ เป็นต้น ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ได้อยู่ประจำตำแหน่งเดิมตลอดเวลา ทำให้บางครั้งการส่งข้อมูลมายังฐานรับข้อมูลบนพื้นโลก อาจต้องรอเวลานานถึง 90 นาที

ส่งข้อมูลผ่านแสงเลเซอร์โดยใช้ LEO กับ GEO

EDRS จึงได้นำเสนอโปรเจ็คใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำร่วมกับดาวนเทียประจำที่ซึ่งอยู่บนชั้นอวกาศสูงจากพื้นโลก 35,000 กิโลเมตร และเชื่อมต่อกันผ่านแสดงเลเซอร์ โดยที่ดาวเทียมวงโคจรต่ำมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเหมือนปกติ แต่แทนที่จะเก็บข้อมูลไว้กับตัวเอง ก็ส่งต่อให้ดาวเทียมประจำที่แทน ซึ่งดาวเทียมประจำที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานรับข้อมูลบนพื้นดินได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถส่งข้อมูลกลับมาบนพื้นโลกได้ทันแบบเรียลไทม์

edrs_satellite_2

ความเร็วสูงสุดถึง 1.8 Gbps

Airbus ได้นำโปรเจ็คท์นี้มาพัฒนา พบว่าสามารถรับส่งข้อมูลรูปภาพได้ด้วยความเร็วสูงถึง 600 Mbps และจากการทดสอบพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.8 Gbps ผ่านทางแสงเลเซอร์ นอกจากนี้การส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำก็ได้ สามารถใช้อากาศยานอื่นๆ หรืออากาศยานไร้คนขับที่รู้จักกันดีในนาม Drone ก็ได้เช่นกัน

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/2917271/data-center/lasers-will-allow-real-time-satellite-communications.html

from:https://www.techtalkthai.com/lasers-allows-real-time-satellite-communications/