คลังเก็บป้ายกำกับ: NGINX

nginx 1.25 รองรับ HTTP/3 ระดับทดลอง

nginx เว็บเซิร์ฟเวอร์ยอดนิยม เริ่มรองรับ HTTP/3 เป็นฟีเจอร์ระดับทดลองในเวอร์ชั่น 1.25 หลังจากมาตรฐาน HTTP/3 ออกตัวจริงมาตั้งแต่กลางปี 2022 ที่ผ่านมา

ที่จริงแล้วโค้ดรองรับ HTTP/3 ถูกพัฒนาใน nginx มานานแล้ว โดยเวอร์ชั่นทดลองแรกมีมาตั้งแต่ปี 2020 แต่ยังเป็นโค้ดแยกออกจากโครงการหลัก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ฟีเจอร์นี้เข้ามาใน nginx ตัว mainline แต่กระนั้นโดยดีฟอลด์แล้วฟีเจอร์นี้ก็จะไม่ถุกคอมไพล์มาด้วย ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องเพิ่มออปชั่น --with-http_v3_module เองตอนคอมไพล์

เมื่อเปิดใช้งานแล้ว ต้องคอนฟิกพอร์ตแยกจากปกติ โดยระบุเป็นโปรโตคอล QUIC เนื่องจาก HTTP/3 นั้นใช้พอร์ต UDP แทนที่ TCP

HTTP/3 เน้นความเร็วในการเชื่อมต่อ โดยระยะเวลาที่เริ่มได้รับไบต์แรกที่เป็นข้อมูลเว็บจริงๆ จะสั้นกว่า HTTPS เดิมอย่างมาก โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ที่เคยเชื่อมต่อมาก่อนแล้ว

ที่มา – nginx

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133994

Cloudflare เลิกใช้ NGINX หันไปพัฒนาเว็บเซิร์ฟเซอร์เองด้วยภาษา Rust

Cloudflare รายงานถึงโครงการ Pingora พรอกซี่เซิร์ฟเวอร์ภายในของ Cloudflare เองที่พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทน NGINX ที่ทาง Cloudflare พบข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ไม่สามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้เต็มที่

ข้อจำกัดสำคัญของ NGINX ที่ Cloudflare พบคือระบบการกระจายโหลดของ NGINX นั้นใช้รูปแบบ worker ที่เป็นโปรเซสในระบบปฎิบัติการ กระจายโหลดระหว่าง worker แต่ละตัวไม่เท่ากัน และไม่สามารถแชร์ connection pool ข้าม worker ได้ ทำให้มี connection ไปยังเซิร์ฟเวอร์ต้นทางมากเกินความจำเป็น รวมถึงการเขียนฟีเจอร์เพิ่มเติมให้กับ NGINX นั้นทำได้ยาก หากไม่เขียนในภาษา C ที่ผิดพลาดได้ง่าย ก็ต้องเขียนในภาษา Lua ที่ประสิทธิภาพไม่ดีนัก และภาษา Lua ไม่ใช่ static type ทำให้จัดการโค้ดที่ซับซ้อนสูงได้ลำบาก

ทาง Cloudflare เลือกจะพัฒนาพรอกซี่ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษา Rust เพราะมีประสิทธิภาพที่ดี และการพัฒนาโครงการเองทำให้ยืดหยุ่นต่อการใช้งานนอกมาตรฐาน เช่น พรอกซี่บางตัวไม่รองรับ HTTP status ที่สูงกว่า 599 แม้ว่าจะมีคนใช้งานนอกมาตรฐานอยู่บ้างก็ตาม

ตอนนี้ Pingora ถูกใช้งานใน request แทบทั้งหมดที่ต้องขอข้อมูลจากต้นทาง (origin server) ระยะเวลาหน่วงก่อนได้รับไบต์แรก (time to first byte – TTFB) ลดลงที่ค่ามัธยฐาน 5ms เพราะสามารถแชร์ connection pool ร่วมกันได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ไม่เสียเวลาเชื่อมต่อใหม่ อัตราการใช้ซีพียูลดลง 70% และใช้หน่วยความจำลดลง 67% เพราะย้ายโค้ดจาก Lua ใน NGINX มาสู่ Rust

ที่มา – NGINX

from:https://www.blognone.com/node/130408

NGINX Forum #5: Config NGINX in 1 Minute with GUI

VST ECS ร่วมกับ F5 ขอเรียนเชิญสายงาน IT และ DevOps เข้าร่วมการงานสัมมนา NGINX Forum #5 เรื่อง “Config NGINX in 1 Minute with GUI” เพื่อเรียนรู้การตั้งค่า NGINX หลายๆ Instance อย่างรวดเร็วผ่าน GUI ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2022 เวลา 14:00 ผ่านช่องทาง Live Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Config NGINX in 1 Minute with GUI
ผู้บรรยาย: Worachit Kluaydee, Senior Pre-sales Engineer, VST ECS (Thailand)
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2022 เวลา 14:00 – 15:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ลิงก์ลงทะเบียน: https://f5networks.zoom.us/webinar/register/2716533618833/WN_vcTKaL2xQfGWUVyYgZGN9w

ในการตั้งค่า NGINX โดยปกติแล้ว จะต้องทำผ่าน Command-line interface (CLI) ถ้าหากผู้ดูแลระบบมีความชำนาญในเรื่อง Syntax NGINX และปริมาณ NGINX Instance มีไม่มากนัก ก็คงไม่ติดปัญหาอะไรกับการใช้งานผ่านทาง CLI แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่ต้องทำงานร่วมกันหลายๆ ท่าน และมี NGINX Instance ในความดูแลเป็นจำนวนมาก การตั้งค่า NGINX ด้วยวิธีดั้งเดิม อาจจะไม่สะดวกมากนักในบางสถานการณ์

NGINX จึงได้นำเสนอโซลูชันที่จะมาช่วยให้การตั้งค่า NGINX ทำได้ง่ายขึ้นผ่านทาง GUI (Graphical User Interface) ซึ่งก็มีหลายตัวเลือกให้เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ซึ่งโซลูชันเหล่านี้เอง จะช่วยให้การตั้งค่า NGINX หลายๆ Instance ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และยังช่วยลดโอกาสการผิดพลาดได้อีกด้วย

หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย

  • Why you need GUI for NGINX?
  • GUI with Dashboard
  • GUI with Instance Manager
  • GUI with Controller
  • Q&A and Summary

from:https://www.techtalkthai.com/nginx-forum-5-config-nginx-in-1-minute-with-gui/

ฟรี eBook ภาษาไทย – App สมัยใหม่และการรักษาความปลอดภัย โดย F5 | NGINX

F5 | NGINX ออก eBook ฉบับภาษาไทยเรื่อง “App สมัยใหม่และการรักษาความปลอดภัย” เพื่อแนะนำว่าเพราะเหตุใด Modern App Security จึงเป็นสิ่งจำเป็น และ NGINX App Protect จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับ App และ API ในการใช้งานหลายๆ สถานการณ์ได้อย่างไร ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด eBook ไปศึกษาได้ฟรี

eBook เรื่อง “App สมัยใหม่และการรักษาความปลอดภัย” ฉบับนี้มีความยาว 34 หน้า เนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้

  • วิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ Real-time APIs รวมถึงการป้องกัน Bot, API Management, API Gateways และ WAF เช่น NGINX App Protect
  • กลยุทธ์เพื่อการตอบสนองต่อการโจมตีไซเบอร์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเข้ากับวงจรการพัฒนา App โดยตรง
  • วิธีจัดการและควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของ App ในสถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น Containers และ Microservices
  • ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับ Security Proxies ในขณะเดียวกันต้องมีความมั่นคงปลอดภัยในขอบเขตของ Cluster ด้วยเช่นกัน

from:https://www.techtalkthai.com/free-ebook-modern-app-and-api-security-by-f5-nginx/

ฟรี eBook ภาษาไทย – การออกแบบและการใช้งาน Microservices โดย F5 | NGINX

F5 | NGINX ออก eBook ฉบับภาษาไทยเรื่อง “การออกแบบและการใช้งาน Microservices” เพื่ออธิบายว่า Microservices คืออะไร ช่วยให้แอปพลิเคชันเร็วขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น และเสถียรยิ่งขึ้น ได้อย่างไร ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด eBook ไปศึกษาได้ฟรี

eBook เรื่อง “การออกแบบและการใช้งาน Microservices” มีความยาวทั้งสิ้น 80 หน้า เนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้

  • Microservices คืออะไร และเราควรจะนำ Microservices มาใช้งานเมื่อไหร่จึงจะเหมาะสม
  • วิธีการใช้งาน API Gateway เพื่อกำหนดเส้นทางการรับส่งข้อมูลไปยัง Microservices
  • ข้อดีและข้อเสียของ Microservices ในรูปแบบต่างๆ สำหรับการออกแบบและการปรับใช้
  • กลยุทธ์ต่างๆ ในการปรับโครงสร้าง Monolith ให้เป็น Microservices

from:https://www.techtalkthai.com/free-ebook-designing-and-deploying-microservices-by-f5-nginx/

[Video Webinar] การแก้ไขปัญหาการมองเห็นใน Kubernetes โดย F5 NGINX

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย F5 Webinar เรื่อง “การแก้ไขปัญหาการมองเห็นใน Kubernetes” โดยใช้ Grafana และ Prometheus เพื่อลดความซับซ้อนและปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยในสภาพแวดล้อม Microservice ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: คุณไกรภพ เป็งแก้ว วิศวกรโซลูชันจาก F5

หนึ่งในความท้าทายด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทีม DevOps คือ การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเรื่องประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ความมั่นคงปลอดภัย และความพร้อมในการใช้งาน ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยใช้ทีมสามารถระบุปัญหาได้อย่างรวดเร็วและเตรียมพร้อมแบบเชิงรุกสำหรับกรณีที่ปริมาณการใช้งานพุ่งสูง

ภายใน Webinar นี้ คุณไกรภพ เป็งแก้ว วิศวกรโซลูชันจาก F5 จะมาบรรยายถึงองค์ประกอบที่ทำให้สามารถมองเห็นการติดขัด เพื่อลดความซับซ้อนและปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยในสภาพแวดล้อม Microservice โดยใช้เครื่องมือการมองเห็นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดสองอย่าง Grafana และ Prometheus

เข้าร่วม Webinar เพื่อเรียนรู้ประเด็นดังต่อไปนี้

  • ความแตกต่างระหว่างการมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งเหตุผลที่ทั้งสองอย่างมีความสำคัญเท่าๆ กัน ในการพัฒนาแอปพลิเคชันระดับโปรดักชัน
  • การมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึกในเรื่องการวางระบบแอปพลิเคชันและประสิทธิภาพ สามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยและความพร้อมในการใช้งานได้อย่างไร
  • องค์ประกอบของการมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึกในทราฟฟิกทั้งขาเข้าและขาออกของ Kubernetes รวมทั้งเหตุผลที่ทั้งสองอย่างมีความสำคัญ
  • สาธิตวิธีการรวม Grafana และ Prometheus เข้าสู่การวางระบบ NGINX Kubernetes

from:https://www.techtalkthai.com/f5-webinar-improve-visibility-in-kubernetes-video/

NGINX Forum#4: Automate NGINX with DevOps Tools

VST ECS ร่วมกับ F5 ขอเรียนเชิญสายงาน IT และ DevOps เข้าร่วมการงานสัมมนา NGINX Forum #4 เรื่อง “Automate NGINX with DevOps Tools” เพื่อเรียนรู้การทำ NGINX Automation ด้วยเครื่องมือต่างๆ ในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2021 เวลา 14:00 ผ่านช่องทาง Live Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Automate NGINX with DevOps Tools
ผู้บรรยาย: Kraipop Pengkaew, Solutions Engineer จาก F5 และ Supachai Jaturaprom, Pre-sales Engineer จาก VST ECS (Thailand)
วันเวลา: วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ลิงก์ลงทะเบียน: https://f5networks.zoom.us/webinar/register/9316382524059/WN_VSTotLQCSA2lkguVafZtDw

NGINX ถือได้ว่าเป็น Web Server ที่ถูกเลือกใช้งานจากองค์กรทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง โดย NGINX ถูกออกแบบให้เป็นซอฟต์แวร์แบบ All-in-one ที่สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบ Web Server/Reverse Proxy, Load Balancer, API Gateway, Content Caching และ Ingress Controller เป็นต้น ทำให้ทีมพัฒนาโปรแกรม (Developer) และทีม DevOps เลือกใช้ NGINX กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ในงานสัมมนานี้ ท่านจะได้เรียนรู้การทำ NGINX Automation ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น การติดตั้ง การปรับแต่งการตั้งค่าด้วย Ansible เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบ CI/CD ที่จะช่วยให้ทีม Developer และทีม DevOps บริหารจัดการแอปพลิเคชันในยุคของการพัฒนาแบบ Microservices มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

กำหนดการ

  • Introducing NGINX for DevOps
  • Use cases of Automate NGINX with DevOps Tools
  • Summary & Q/A

from:https://www.techtalkthai.com/nginx-forum4-automate-nginx-with-devops-tools/

F5 Webinar: การแก้ไขปัญหาการมองเห็นใน Kubernetes

F5 ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมงานสัมมนา F5 Webinar เรื่อง “การแก้ไขปัญหาการมองเห็นใน Kubernetes” โดยใช้ Grafana และ Prometheus เพื่อลดความซับซ้อนและปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยในสภาพแวดล้อม Microservice ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2021 เวลา 14:00 น. ผ่านทาง Live Webinar ฟรี

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: การแก้ไขปัญหาการมองเห็นใน Kubernetes
ผู้บรรยาย: คุณไกรภพ เป็งแก้ว วิศวกรโซลูชันจาก F5
วันเวลา: วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงก์ลงทะเบียน: https://us06web.zoom.us/webinar/register/4016365650483/WN_Mj5tFhntQCyAfZyk2M2x0Q

หนึ่งในความท้าทายด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทีม DevOps คือ การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเรื่องประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ความมั่นคงปลอดภัย และความพร้อมในการใช้งาน ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยใช้ทีมสามารถระบุปัญหาได้อย่างรวดเร็วและเตรียมพร้อมแบบเชิงรุกสำหรับกรณีที่ปริมาณการใช้งานพุ่งสูง

ภายใน Webinar นี้ คุณไกรภพ เป็งแก้ว วิศวกรโซลูชันจาก F5 จะมาบรรยายถึงองค์ประกอบที่ทำให้สามารถมองเห็นการติดขัด เพื่อลดความซับซ้อนและปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยในสภาพแวดล้อม Microservice โดยใช้เครื่องมือการมองเห็นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดสองอย่าง Grafana และ Prometheus



เข้าร่วม Webinar เพื่อเรียนรู้ประเด็นดังต่อไปนี้

  • ความแตกต่างระหว่างการมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งเหตุผลที่ทั้งสองอย่างมีความสำคัญเท่าๆ กัน ในการพัฒนาแอปพลิเคชันระดับโปรดักชัน
  • การมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึกในเรื่องการวางระบบแอปพลิเคชันและประสิทธิภาพ สามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยและความพร้อมในการใช้งานได้อย่างไร
  • องค์ประกอบของการมองเห็นได้และข้อมูลเชิงลึกในทราฟฟิกทั้งขาเข้าและขาออกของ Kubernetes รวมทั้งเหตุผลที่ทั้งสองอย่างมีความสำคัญ
  • สาธิตวิธีการรวม Grafana และ Prometheus เข้าสู่การวางระบบ NGINX Kubernetes

from:https://www.techtalkthai.com/f5-webinar-improve-visibility-in-kubernetes/

NGINX Forum #3: Tune Health-check Parameter to Reduce App Down Time

VST ECS ร่วมกับ F5 ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมการงานสัมมนา NGINX Forum #3 เรื่อง Tune Health-check Parameter to Reduce App Down Time เพื่อเรียนรู้การทำงานพื้นฐานของ Health Checks และการปรับแต่งการตั้งค่าอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบสถานะของ Backend Apps ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2021 เวลา 14:00 ผ่านช่องทาง Live Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Tune Health-check Parameter to Reduce App Down Time
ผู้บรรยาย: Kraipop Pengkaew, Solutions Engineer จาก F5 และ Supachai Jaturaprom, Pre-sales Engineer จาก VST ECS (Thailand)
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ลิงก์ลงทะเบียน: https://f5networks.zoom.us/webinar/register/9016327982204/WN_IfLnSMmGTK6mPBBaGs4tXw

NGINX ถือได้ว่าเป็น Web Server ที่ถูกเลือกใช้งานจากองค์กรทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง โดย NGINX ถูกออกแบบให้เป็นซอฟต์แวร์แบบ All-in-one ที่สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบ Web Server/Reverse Proxy, Load Balancer, API Gateway, Content Caching และ Ingress Controller เป็นต้น ทำให้ทีมพัฒนาโปรแกรม (Developer) และทีม DevOps เลือกใช้ NGINX กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ในงานสัมมนานี้ ท่านจะได้เรียนรู้การทำงานพื้นฐานของ Health Checks และการปรับแต่งการตั้งค่าต่างๆ เช่น Interval, Passes, Fails หรือ Match อย่างเหมาะสมบน NGINX เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบสถานะการทำงานของ Backend Application รวมไปถึงความสามารถพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่จะช่วยให้ทีมพัฒนาโปรแกรม (Developer) และทีม DevOps บริหารจัดการ Application ในยุคของการพัฒนาแบบ Monolith หรือแบบ Microservices ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กำหนดการ

  • Introducing Health Checks
  • Tuning of Health Checks Parameters
  • Use cases of Health-check for Production-grade Features
  • Summary & Q/A

from:https://www.techtalkthai.com/nginx-forum-3-tune-health-check-parameter-to-reduce-app-down-time/

NGINX Forum #2: Apply Advanced Functions for Ingress Controller

VST ECS ร่วมกับ F5 ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมการงานสัมมนา NGINX Forum #2 เรื่อง Apply Advanced Functions for Ingress Controller เพื่อเรียนรู้การใช้งาน Ingress Controller บน NGINX และ Use Cases ที่น่าสนใจ ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2021 เวลา 14:00 ผ่านช่องทาง Live Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Apply Advanced Functions for Ingress Controller
ผู้บรรยาย: Kraipop Pengkaew, Soltuions Engineer จาก F5 และ Supachai Jaturaprom, Pre-sales Engineer จาก VST ECS (Thailand)
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ลิงก์ลงทะเบียน: https://f5networks.zoom.us/webinar/register/7016297752995/WN_DI5C8iSKTG2DOEMTo-MUuQ

NGINX ถือได้ว่าเป็น Web Server ที่ถูกเลือกใช้งานจากองค์กรทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง โดย NGINX ถูกออกแบบให้เป็นซอฟต์แวร์แบบ All-in-one ที่สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบ Web Server/Reverse Proxy, Load Balancer, API Gateway, Content Caching และ Ingress Controller เป็นต้น ทำให้ทีมพัฒนาโปรแกรม (Developer) และทีม DevOps เลือกใช้ NGINX กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ในงานสัมมนานี้ ท่านได้เรียนรู้การใช้งานพื้นฐาน Ingress Controller บน Kubernetes เช่น การใช้งาน Annotations, ConfigMap, Custom Resources และความสามารถพิเศษเพิ่มเติมที่ Ingress Controller สามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ทีมพัฒนาโปรแกรม (Developer) และทีม DevOps บริหารจัดการแอปพลิเคชันในยุคของการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Microservices นั้น ทำได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานของแอปพลิเคชันได้ดียิ่งขึ้น

กำหนดการ

  • Introducing Ingress Controller
  • Apply advanced functions for Ingress Controller
  • Use cases for Ingress Controller.
  • Summary & Q/A

from:https://www.techtalkthai.com/nginx-forum-2-apply-advanced-functions-for-ingress-controller/