คลังเก็บป้ายกำกับ: INSTANT

“บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ธุรกิจที่ใกล้ถูก Disrupt จากเทคโนโลยีดิจิทัล

มีหนึ่งสัญญาณที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่พบว่า การมาถึงของเทคโนโลยียุคใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อยอดขายของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตลาดจีนอย่างมีนัยสำคัญ


โดยหากย้อนไปในปี 2013 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในจีนเคยทำยอดขายได้มากกว่า 46,200 ล้านถ้วย (อ้างอิงจาก The World Instant Noodles Association)  หรือเท่ากับว่าในทุก ๆ หนึ่งวินาทีมีการเปิดรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1,465 แพ็ค

อย่างไรก็ดี มาในปี 2016 ยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ลดลงเหลือ 38,500 ล้านถ้วย ส่งผลให้บริษัท Tingyi ซึ่งเป็นผู้ผลิตและขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ  Master Kong มีรายได้ลดลงจาก 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2013 เหลือ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016

มีการวิเคราะห์ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวนี้มาจากสองความเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ นั่นคือ การคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วขึ้น การมาถึงของรถไฟความเร็วสูงทำให้ระยะเวลาในการเดินทางข้ามเมืองสั้นลง จากยี่สิบชั่วโมงอาจเหลือแค่หกชั่วโมง ซึ่งทำให้จากเดิมรถไฟเคยเป็นตลาดสำคัญของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ตอนนี้ คนจีนไม่จำเป็นต้องพึ่งบะหมี่สำเร็จรูปเป็นอาหารว่างยามหิวระหว่างเดินทางด้วยรถไฟอีกต่อไปแล้ว

ปัจจัยที่สองคือ บริการส่งอาหาร (Food Delivery) ที่เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจีน โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการใช้บริการ Food Delivery ถึง 295 ล้านครั้ง และเริ่มมีให้บริการแบบ On-Demand ตามสถานีรถไฟความเร็วสูงต่าง ๆ แล้วด้วย

นักเศรษฐศาสตร์จีนมองว่า นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคของคนจีนที่น่าสนใจมาก เพราะแสดงให้เห็นว่าคนจีนเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่รับประทานมากขึ้น และถ้าเลือกได้ก็จะเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ผลก็คือ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในจีนตอนนี้ได้มีการปรับกลยุทธ์ และออกโปรดักซ์ใหม่ ๆ ที่เข้ามาลบภาพของการเป็นโปรดักซ์ Low-End ออกไปให้ได้ รวมถึงหันไปให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เช่น มีเนื้อและผักอบแห้ง (กะหล่ำปลี หอมใหญ่) ใส่มาในซอง รวมถึงการให้ความสำคัญกับรสชาติ เช่น ใช้มะเขือเทศมาทำเป็นน้ำซุป หรือใช้เครื่องเทศรสเผ็ดเป็นตัวชูโรงมากขึ้น

ตลาดไทยเองก็เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันของ Food Delivery และการมาถึงของระบบคมนาคมขนส่งความเร็วสูงเช่นกัน ซึ่งไม่แน่ว่าหากเทรนด์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดัชนีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เคยใช้วัดสภาพเศรษฐกิจอาจไม่สามารถใช้ได้อีกแล้วก็เป็นได้

อ้างอิงข้อมูลจาก
straitstimes.com
shanghaiist.com
BBC

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/01/instant-noodles-disrupted-digital-food-delivery/

Facebook รุกตลาดเกมส่ง Instant Games ลง Messenger

ปัจจุบัน ตลาดเกมถือเป็นตลาดที่มีมูลค่าไม่เป็นสองรองใคร ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ตัดสินใจส่งบริการ Instant Games ลงบนแอปพลิเคชัน Messenger ที่มีผู้ใช้งานกว่า 1.2 พันล้านคนต่อเดือนแล้ว

โดยการเปิดตัวดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาคุณสมบัติใหม่ล่าสุด ซึ่งได้เปิดตัวแบบเอ็กซ์คลูซีฟแก่บรรดานักพัฒนา ภายในงานประชุมประจำปี F8 ที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมที่เต็มอิ่มยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้นักพัฒนาเกมสามารถออกแบบเกมที่มีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร และมีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี รวมถึงเกมบอท (Game bots) ที่จะช่วยให้ผู้สร้างเกมนำเสนอฟีเจอร์ที่น่าตื่นเต้นมากมาย เช่น ระดับของผู้เล่นและของรางวัลต่างๆ ภายในเกม ซึ่งจะมีผลให้เกมมีความตื่นเต้นมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น เกมที่ผู้เล่นสลับสับเปลี่ยนกันเป็นรอบๆ การปรากฏคะแนนผู้เล่นบนลีดเดอร์บอร์ด (leaderboards) รวมถึงเปิดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนท์ และข้อความภายในเกมที่สามารถปรับแต่งเองได้ระหว่างที่เล่น ฯลฯ

สำหรับเกมส์อันดับต้น ๆ ที่รองรับคุณสมบัติดังกล่าว คือ เกม Words With Friends จากค่าย Zynga  หรือเกมที่รองรับเกมบ็อทอย่าง EverWing จากบริษัท Blackstorm เป็นต้น

ปัจจุบัน Messenger มีเกมส์ให้เลือกเล่นได้สูงสุดถึง 50 เกมส์ โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และสถานที่ โดยจะมีเกมส์ใหม่ๆ เปิดตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกสัปดาห์ รวมถึงเกมพูลสุดฮิตอันดับ 1 ของโลก อย่าง ball pool ของค่ายเกม Miniclip มาให้เล่นได้โดยตรงจาก Instant Games เร็วๆ นี้ด้วย โดยรองรับทั้ง Android และ iOS

ที่มา: Facebook Messenger

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/05/facebook-instant-games-on-messenger/

ศึกษาการปรับตัวของ Nescafe หลังผู้บริโภคเริ่มอยากชงกาแฟดื่มเอง-หลงไหลในกาแฟสดมากขึ้น

“กาแฟ” กลายเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยคุ้นเคย และดื่มกันเป็นประจำ จนปัจจุบันค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 300 แก้ว/คน/ปี ดังนั้นการแข่งขันของตลาดนี้จึงสูงเป็นธรรมดา และยิ่งผู้บริโภคเริ่มมีพฤติกรรมที่อยากดื่มกาแฟที่พรีเมียมขึ้น แล้ว Nescafe จะทำอย่างไรต่อไป

ภาพ pixabay.com

เมื่ออยากพรีเมียม ก็ต้องตาม

การทำตลาดของ Nescafe เบอร์หนึ่งในตลาดกาแฟแบบ 3-in-1 และแบบชงเอง ผ่านส่วนแบ่งในตลาด 55% กับ 80% ตามลำดับ จะเดินตามพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อเข้าถึงผู้ดื่มกาแฟกลุ่มเดิมที่เริ่มอยากดื่มกาแฟพรีเมียม รวมถึงผู้ดื่มกลุ่มใหม่ที่เริ่มต้นดื่มกาแฟสดจากร้านกาแฟต่างๆ เป็นที่แรก ไม่ค่อยได้ดื่มภายในบ้านเหมือนในอดีต

แวลดดิสลาฟ อังดรีฟ ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์กาแฟ และครีมเทียม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ด้วยชีวิตคนเมืองที่เร่งรีบ และคนในพื้นที่ต่างๆ ก็อยากสะดวกมากขึ้น ทำให้ตลาดกาแฟแบบ 3-in-1 เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับกาแฟชงเอง กับกาแฟกระป๋อง ผ่านมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านบาท

แวลดดิสลาฟ อังดรีฟ ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์กาแฟ และครีมเทียม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

แต่ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป หลายคนอยากดื่มกาแฟพรีเมียมขึ้น ร้านกาแฟสดกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง ร้านขายเม็ดกาแฟก็มีจำนวนมาก ประกอบกับผู้บริโภคยอมเสียเวลากับการชง และดื่มด่ำกับรสชาติมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับตัว และส่งผลิตภัณฑ์พรีเมียมออกมา เช่นปีก่อนมี Blend and Brew กาแฟ 3-in-1 ผสมกาแฟคั่วบดละเอียด ทำยอดขายได้ถึง 2,500 ล้านแก้วในไทย

ลง 800 ล้านบาท รุก Instant

“ตอนนี้คนไทยเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มกาแฟ จากที่ดื่มแค่อยาก กลายเป็นต้องการลิ้มรสชาติของกาแฟมากขึ้น เช่นกระแสกาแฟสด รวมถึง Americano ที่ดื่มแบบไม่ใส่น้ำตาล ดังนั้น Nescafe ต้องนำจุดนี้มาพัฒนาสินค้า เพื่อตามผู้บริโภคให้ทัน ไม่ใช่จมอยู่กับความสำเร็จเดิมๆ ที่มีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่ง”

ภาพ pixabay.com

ทั้งนี้ Nescafe ได้ลงทุนกว่า 800 ล้านบาท แบ่งเป็นพัฒนารูปแบบการผลิต 400 ล้านบาท และจัดกิจกรรมการตลาด 400 ล้านบาท เพื่อยกระดับแบรนด์ Nescafe Red Cup ให้มีรสชาติ และกลิ่นที่เหมือนกับกาแฟสดมากขึ้น ผ่านการผสมกาแฟคั่วบดละเอียดเข้าไป ทำให้ดื่มแบบกาแฟดำ หรือ Americano ก็อร่อยได้ โดยไม่ต้องเติมน้ำตาล หรือครีมเทียม

ยุโรปดื่มกัน 600 แก้ว/คน/ปี

ขณะเดียวกันตลาดกาแฟในประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมาก สังเกตจากในประเทศญี่ปุ่นดื่ม 400 แก้ว/คน/ปี และในยุโรปดื่ม 600 แก้ว/คน/ปี แต่ในไทยมีแค่ 300 แก้ว ดังนั้นตลาดกาแฟกว่า 30,000 ล้านบาท (3-in-1, ชงเอง และกระป๋อง) ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และยิ่งกระแสพรีเมียม ก็ส่งผลให้ส่วนแบ่งในตลาดกาแฟชงเองของ Nescafe เพิ่มจาก 80% ได้

สรุป

การปรับตัวของ Nescafe แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟอย่างชัดเจน เพราะเมื่อก่อนไม่มีร้านกาแฟสดกระจายอยู่ทั่วเหมือนวันนี้ ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะออกมาหาซื้อกินข้างนอก มากกว่าชงเองที่บ้าน แต่การปรับตัวครั้งนี้จะดึงผู้บริโภคให้กลับมาดื่มกาแฟที่บ้านได้หรือไม่ ต้องมารอดูกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/nescafe-beyond-instant-coffee/

Nescafe ชวนคนชนแก้วตอนเช้ากลางถนนพร้อมกาแฟฟรี

Nescafe ปล่อยแคมเปญใหม่ “Instant Connections” ดึงไอเดียการดื่มกาแฟที่คนส่วนใหญ่มักจะชนแก้วเพื่อเริ่มบทสนทนา เลยอยากจะหาทางทำให้คนที่ข้ามถนนสวนกันได้ลองพูดคุยกันมากขึ้น

เช้าเดิมๆ ของเมือง Berlin ที่เต็มไปด้วยผู้คนกว่าร้อยคนยืนรอข้ามถนน เมื่อสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนเป็นสีเขียวเพื่อให้คนข้ามถนน ตู้กดกาแฟของ Nescafe ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าก็ส่งสัญญาณเชิญชวนให้คนรับกาแฟฟรี แต่มีข้อจำกันเล็กน้อยเพราะต้องโบกไม้โบกมือให้คนฝั่งตรงข้ามกดปุ่มพร้อมๆ กันก่อน ตู้กาแฟนี้จึงเริ่มทำงาน

Screen-Shot-2015-06-19-at-17.30.37-e1436375535358

Screen-Shot-2015-06-19-at-17.28.32-e1436375550362

ไอเดียง่ายๆ นี้ ได้ผลเป้นอย่างดี เมื่อคนเริ่มโบกไม้โบกมือทักทายกันไปมาตามสี่แยก นับเป็นเรื่องราวดีๆ ในตอนเช้าที่พวกเขาจะได้กาแฟฟรีและได้ทักทายกันก่อนเข้างาน ผลที่ Nescafe ได้รับนอกจากได้มอบกาแฟดีๆ ให้คนในเมืองนี้เพื่อเริ่มต้นเช้าวันใหม่ของวัน ยังได้รับรอยยิ้ม เสียหัวเราะ การจับมือ และบทสนทนาดีๆ อีกมากมาย

Screen-Shot-2015-06-19-at-17.29.52-e1436375565400

ที่มา : creativeguerrillamarketing

from:http://thumbsup.in.th/2015/08/nescafe-instant-coffee/

Alibaba เปิดตัวแอพพลิเคชันแชตใหม่ท้าชน WeChat จาก Tencent

Laiwang

งานนี้เรียกว่าสนุกทุกฝีก้าวสำหรับการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ชจีนวันนี้ โดยล่าสุด Alibaba Group Holding Ltd. ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชรายใหญ่ที่สุดของจีน ตัดสินใจเปิดตัวแอพพลิเคชันใหม่เพื่อท้าชนกับโปรแกรม WeChat ของ Tencent Holdings Ltd. ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันแชตยอดนิยมในตลาดจีนขณะนี้

แอพพลิเคชันรับส่งข้อความแชตของ Alibaba ใช้ชื่อเรียกว่า Laiwang จุดเด่นของบริการนี้คือการเปิดกว้างให้เพื่อนฝูงหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานสามารถแชตในห้องเดียวกันจำนวนมากกว่า 500 คน โดยทุกคนจะสามารถแชร์แผนที่ วิดีโอ และสติกเกอร์

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Alizila ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในเครือ Alibaba ระบุว่าแอพพลิเคชันแชต Laiwang มีผู้ใช้ทะลุหลัก 1 ล้านรายแล้วในเวลารวดเร็ว โดยยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซตั้งเป้าโกยยอดผู้ใช้งานให้ได้มากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการประกาศชัดเจนในแถลงการณ์ของบริษัท

การแข่งขันระหว่าง Alibaba และ Tencent ถูกมองว่าเกิดขึ้นเพราะตลาดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนจีนที่คาดว่าจะทำสถิติเพิ่มขึ้นทะลุ 450 ล้านเครื่องในปีหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 360 ล้านเครื่องในปีนี้ โดยข้อมูลจาก IDC พบว่า 84% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนจะรับส่งข้อความแชตตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นตลาดขนาดมโหฬารที่ Alibaba ต้องการเข้าไปชิงชัย

หากรวมโปรแกรมรับส่งข้อความแชตบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปัจจุบัน โปรแกรมแชต QQ ของ Tencent จะมีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 818 ล้านคน (ตัวเลข monthly active user ประจำปลายเดือนมิถุนายน) ขณะที่ WeChat หรือที่ชาวจีนรู้จักในชื่อ Weixin นั้นมีผู้ใช้ 236 ล้านคน

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซต้องลงมาเล่นในตลาดแอพพลิเคชันแชตของตัวเอง คือการพยายามเข้าถึงตลาดลุ่มใหญ่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งกรณีของ Alibaba การลงทุนสร้างระบบแอพพลิเคชันแชตถือเป็นเรื่องคุ้มค่าหากทำให้ผู้บริโภคชาวจีนได้รู้จัก Alibaba มากขึ้น ซึ่งจะเสริมฐานธุรกิจของ Alibaba ได้ในระยะยาวต่อไป

อย่างไรก็ตาม มูลค่าหุ้น Tencent ลดลงเล็กน้อย 0.2% ปิดที่ 409.20 เหรียญฮ่องกงเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา สะท้อนว่านักลงทุนยังไม่มั่นใจว่า Tencent จะต้าน Alibaba ไหวหรือไม่ จุดหนึ่งเป็นเพราะแอพพลิเคชัน Laiwang ของ Alibaba นั้นมีคุณสมบัติสำหรับรักษาความเป็นส่วนตัวที่น่าสนใจ นั้นคือฟังก์ชัน “burn after reading” เพื่อให้ผู้ส่งมั่นใจได้ว่าข้อความและภาพที่ส่งไปจะถูกทำลายทันทีที่อ่านจบ

ที่มา: Bloomberg

from:http://thumbsup.in.th/2013/09/alibaba-offers-instant-messaging-app-to-compete-against-tencent/