คลังเก็บป้ายกำกับ: ENTERPRISE_KUBERNETES

ก้าวสู่การใช้ Kubernetes ในธุรกิจอย่างมั่นใจ ด้วยโซลูชัน HPE Ezmeral Container Platform พร้อมระบบประมวลผลที่หลากหลายจาก HPE

Kubernetes ได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ธุรกิจองค์กรจะขาดไม่ได้อีกต่อไปในการก้าวสู่โลกยุค Cloud-Native แต่ในระยะยาวนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ธุรกิจองค์กรจะยังคงต้องมีทั้ง Cloud-Native Application และ Non-Cloud-Native Application ใช้งานควบคู่กันต่อไปเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้

HPE ในฐานะของผู้นำด้านระบบประมวลผลสำหรับธุรกิจองค์กร พร้อมนำเสนอทางเลือกในการตอบโจทย์นี้ด้วย HPE Ezmeral Container Platform ที่ตอบโจทย์ได้ทั้งระบบ Cloud-Native และ Non-Cloud-Native รองรับการใช้งานได้ทั้งบน Cloud จนถึง Edge ช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถดำเนินกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมั่นใจ บน HPE Infrastructure ที่หลากหลายเหมาะสมต่อการใช้งานแต่ละรูปแบบ

HPE Ezmeral Container Platform ใช้งาน Kubernetes ด้วยความสามารถที่ตอบโจทย์ธุรกิจองค์กร รองรับ Workload ได้หลากหลาย

HPE Ezmeral Container Platform คือโซลูชันระบบ Enterprise-Grade Kubernetes ที่รองรับทั้งการใช้งาน Microservices, Cloud-Native Application และ Monolithic Non-Cloud-Native Application ได้ในหนึ่งเดียว

นอกเหนือจากการรองรับการทำ DevOps และการให้บริการระบบ Application ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่นเหมือนระบบ Kubernetes ทั่วๆ ไปแล้ว HPE Ezmeral Container Platform ยังได้เสริมนวัตกรรมจาก BlueData ที่ HPE ได้เข้าซื้อกิจการมาพัฒนาต่อยอดกลายเป็น HPE Ezmeral ML Ops และ HPE Ezmeral Data Fabric เพื่อรองรับ MLOps และ DataOps บน Kubernetes ได้อย่างเต็มตัว ตอบโจทย์งาน Big Data Analytics และ AI ได้เป็นอย่างดี

HPE Ezmeral Container Platform มีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้

  • ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการส่งมอบประสบการณ์แบบเดียวกับ Cloud ให้กับธุรกิจองค์กร
  • ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร ด้วยการเสริมความสามารถด้าน Security สำหรับธุรกิจองค์กรให้กับ Kubernetes พร้อมควบคุมประสิทธิภาพและความมั่นคงทนทานได้
  • ช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับให้การบริหารจัดการและเข้าถึงบริการต่างๆ ของ Kubernetes นั้นง่ายดายยิ่งกว่าเดิม
  • เร่งสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบริหารจัดการจากศูนย์กลางที่ช่วยให้สามารถสร้างและติดตั้งใช้งาน Application ใหม่ๆ ได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ภายใน Data Center, Cloud หรือ Edge ก็ตาม

Gartner ระบุว่าภายในปี 2022 นั้น 75% ของธุรกิจองค์กรจะมีการใช้งาน Containerized Application ภายในระบบ Production เติบโตจากปัจจุบันที่มีเพียง 30% เท่านั้นอย่างรวดเร็ว

วางระบบให้ยืดหยุ่น ด้วยการผสานแนวคิด Software as a service โดยรองรับติดตั้งบน Platform ของ HPE ได้ทุกระบบ

สำหรับธุรกิจองค์กรที่ต้องการวางระบบภายใน Data Center ให้มีความยืดหยุ่นสูงสุดเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับกับ Workload ที่หลากหลายและอาจไม่คาดฝันในอนาคต พร้อมทั้งใช้งาน Kubernetes ได้อย่างเต็มศักยภาพ HPE Platform คือทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับ HPE Ezmeral มากที่สุดในกรณีนี้

HPE Platfrom คือโซลูชัน Composable Infrastructure ที่เปิดให้ผู้ดูแลระบบ IT สามารถเลือกปรับเปลี่ยนส่วนประกอบภายใน Physical Server และสามารถติดตั้งได้ภายใน Virtual Machine แต่ละชุดได้จากการควบคุมผ่าน Software ที่ศูนย์กลาง ทำให้สามารถกำหนดค่าเพื่อสร้าง Server ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ต่อ Workload เฉพาะทางที่ต้องการใช้งานบน HPE Ezmeral Container Platform ได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกันการเชื่อมข้อมูล (Persistent volume) นั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ด้วยความสามารถของ HPE Ezmeral Data Fabric ซึ่งช่วยให้บริการ Persistent Storage ที่เพิ่มขยายได้แบบ Scale-Out และสามารถทำงานร่วมกับ HPE Data Platform ได้ ทำให้ไม่ว่าในส่วนของระบบ Compute จะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร ข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้งานนั้นก็จะยังคงพร้อมให้บริการอยู่เสมอ

เน้นความง่ายดาย คุ้มค่า แต่ยังมั่นคงปลอดภัย เลือกใช้ HPE ProLiant DL

ในการรองรับ HPE Ezmeral Container Platform นั้น HPE ProLiant DL Server เองก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีสำหรับธุรกิจที่อาจไม่ได้มีระบบใหญ่มากนัก หรือมองหา Hardware ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้งานใน Edge หรือรองรับการทำ DevOps ในแบบ Bare Metal เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าจุดเด่นสำคัญของ HPE ProLiant DL Server อย่างเช่นความมั่นคงปลอดภัยที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่ในระดับของ Software, Hardware และ Supply Chain นั้น ก็จะช่วยให้การใช้งาน HPE Ezmeral Container Platform เป็นไปได้อย่างมั่นใจ ปกป้องระบบให้มั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามได้แม้ระบบจะติดตั้งใช้งานอยู่ที่ Edge ก็ตาม

เปลี่ยนการลงทุนสู่ Container-as-a-Service ด้วย HPE GreenLake for Containers

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีกลยุทธ์ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และต้องการความยืดหยุ่นในการลงทุน HPE GreenLake for Containers คือทางเลือกที่จะทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้ HPE Ezmeral Container Platform โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงได้ ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อระบบ Hardware และ Software ด้วยตนเองทั้งหมดตั้งแต่แรก

การใช้ HPE GreenLake for Containers จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรมีระบบ Container ที่มีความสามารถและรูปแบบการใช้งานที่เทียบเคียงได้กับบริการ Cloud ด้วยการมีทรัพยากรประมวลผลและระบบจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูงจาก HPE ให้ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างอิสระ แต่คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และเพิ่มขยายได้ตามต้องการ

สำหรับผู้ที่สนใจ HPE Ezmeral หรือโซลูชัน Server จาก HPE และอยากขอคำปรึกษา, ออกแบบระบบ หรือขอใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันทีที่ Email: MKTMCC@metroconnect.co.th หรือโทร 02-0894508 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Metro Connect ได้ทันทีที่ https://www.metroconnect.co.th/

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-ezmeral-container-platform-for-enterprise-kubernetes-from-hpe-by-metro-connect/

Red Hat OpenShift 4.7 ออกแล้ว จัดการ VM ได้ พร้อมรองรับ Windows Container

Red Hat ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Red Hat OpenShift 4.7 แล้วอย่างเป็นทางการ โดยสามารถรองรับ Workload ได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น Virtual Machine หรือ Windows Container ก็ตาม โดยรวมแล้วมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

Credit: Red Hat
  • ใช้ Kubernetes 1.20
  • รองรับ OpenShift Virtualization ทำให้สามารถ Import VM เข้ามาใช้ใน OpenShift ได้, สร้าง VM ผ่าน Template ได้ และทำงานร่วมกับ Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes ได้ ทำให้จัดการ VM Workload ได้ในตัวด้วย
  • รองรับ Windows Containers ได้แล้ว
  • เปิดตัว Migration Toolkit for Virtualization ที่จะมีให้ใช้แบบ Preview ในอนาคต เพื่อย้าย VM จำนวนมากมาบน Red Hat OpenShift Virtualization ได้ง่ายๆ
  • เปิดตัว OpenShift GitOps ในแบบ Preview โดยใช้ Argo CD และสามารถทำงานร่วมกับ OpenShift Pipelines ได้

ปัจจุบัน Red Hat OpenShift 4.7 เข้าสู่สถานะ GA แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.openshift.com/

ที่มา: https://www.redhat.com/en/about/press-releases/red-hat-refines-kubernetes-both-traditional-and-cloud-native-applications-latest-version-red-hat-openshift

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-openshift-4-7-is-released/

ชวนเรียน Kubernetes ฟรีกับ VMware เป็นภาษาไทย พร้อมลุ้นรับ iPad ใน VMware Evolve Online 2020

หนึ่งในก้าวสำคัญของปี 2020 สำหรับ VMware นี้ก็คือการก้าวสู่ตลาด Enterprise Container อย่างเต็มตัวด้วยการรองรับ Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 อย่างเป็นทางการ และในงาน VMware Evolve Online 2020 ก็มีคลิปสอนเรื่องของ Kubernetes เป็นภาษาไทยโดยเฉพาะเพื่อให้เราได้เข้าไปเรียนรู้กันฟรีๆ ด้วยกันถึง 6 คอร์ส ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง และยังมีแล็บแห้งให้ได้ทดลองทำ พร้อมลุ้นรับรางวัลใหญ่อย่าง Apple iPad Pro 12.9″ โดยมีวิธีการเข้าร่วมรับชมดังต่อไปนี้

สมัครเข้าสู่งานสัมมนาออนไลน์ VMware Evolve Online 2020

สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนสมัคร VMware Evolve Online 2020 ต้องสมัครให้เรียบร้อยก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ลงทะเบียนที่ https://evolve.vmware.com/register.html?src=em_5e5cdfe8e02fc โดยในช่องบนสุดจะมีการถามถึงการเลือกลง Session Live สดที่จะเกิดขึ้นใกล้ที่สุด ซึ่งสามารถเลือก Session ใดก็ได้ไม่ส่งผลใดๆ จากนั้นก็ทำการกรอกข้อมูลตามปกติ
  • เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ระบบจะทำการสร้าง Account ให้และส่งอีเมล์มายืนยันตามข้อมูลที่ได้ทำการลงทะเบียน
  • สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่ https://onlinexperiences.com/Launch/Event.htm?ShowKey=80190 โดยระบุอีเมล์ที่ได้ทำการลงทะเบียนเข้าไป ก็จะสามารถเข้าระบบได้ทันที

ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วม VMware Evolve Online 2020 แล้วจะมีสิทธิ์ร่วมกิจกรรมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ Apple iPad Pro, Apple Watch, Apple AirPods Pro และ Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 จากการเข้าชมเนื้อหาและทำแล็บรวมถึงร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้

วิธีการรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับ Kubernetes เป็นภาษาไทยจาก VMware

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่เนื้อหาดังนี้

  1. คลิกที่ปุ่ม “ภาคภาษาไทย” ด้านล่าง
  2. เลือกหัวข้อ App Modernization
  3. เลือกคลิปที่ต้องการฟัง แล้วกดปุ่ม On Demand

โดยสำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวกับ App Modernization นี้จะมีด้วยกันหลากหลายทีเดียว โดยแต่ละคลิปความยาวเพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น ดังนั้นนั่งฟังเพลินๆ ก็จบได้ในเวลาไม่นานครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes ด้วยกันหลักๆ จะมีดังนี้ครับ

รู้จักกับแนวคิด App Modernization กันก่อน

สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีฝั่ง Container หรือ Kubernetes มาก่อนเลย และอยากทำความเข้าใจที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ก่อน รวมถึงทำความรู้จักกับเบื้องต้นของการทำ DevOps, การทำ Continuous Delivery หรือสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ก็สามารถเริ่มต้นจากคอร์สเหล่านี้ได้ครับ

  • Introduction to App Modernization – Thai ปูพื้นฐานถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบ Application ไปเป็นรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจในอนาคต
  • Approaching App Modernization – Thai แนวทางการประเมินเรื่องการทำ App Modernization ว่าควรวางแผนอย่างไร พิจารณาประเด็นใดบ้าง เนื้อหาจะเป็นเชิงนโยบายและการบริหารมากกว่าจะลงเทคนิค
  • Peeking into Domain Driven Design – Thai การใช้แนวคิด Domain Driven Design เพื่อทำ App Modernization

เรียนรู้เทคโนโลยี Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7

สำหรับคนที่พอจะมีพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดเหล่านี้มาอยู่แล้ว ก็สามารถเรียนรู้เทคโนโลยี Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 กันได้เลย โดยมีหัวข้อที่แนะนำให้ชมดังนี้ครับ

  • vSphere 7 – Kubernetes in the Enterprise – Thai เล่าถึงความสำคัญของการใช้ Container และปูพื้นฐานของการใช้ Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 พร้อมรับชมตัวอย่างการใช้ Kubernetes จริง
  • vSphere 7 – Containers and Kubernetes for the VI Admin – Thai เล่าถึงการบริหารจัดการ Container และ Kubernetes สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีฝั่ง Virtualization มาก่อน
  • vSphere 7 – Resource Management for the Kubernetes Administrator – Thai การจัดการทรัพยากรสำหรับให้ Kubernetes นำไปใช้งาน และการออกแบบระบบ HA ให้กับ Application บน Kubernetes

ระบบเสียงอาจมีปัญหาบ้างเล็กน้อยนะครับ แต่โดยรวมก็ยังสามารถเรียนรู้เนื้อหาเหล่านี้ได้โดยไม่ติดขัดอะไรมากครับ

ทดลองทำแล็บ HOL-2013-01-ISM – vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่ Lightning Lab ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ Hands-on Lab ที่ Menu ด้านบน
  2. Scroll เนื้อหาลงมายัง HOL-2013-01-ISM – vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab
  3. คลิก Run Lab Now

แล็บ vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab นี้จะมีด้วยกันเพียงแค่ 17 ขั้นตอน มีเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อความ, ภาพประกอบ และวิดีโอ ซึ่งสามารถเรียนรู้ให้จบได้ภายในเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น และผู้เรียนจะได้รู้ว่าการตั้งค่าเพื่อใช้งาน Kubernetes บน VMware vSphere 7 นั้นจะต้องอาศัย Parameter สำคัญส่วนใดในการทำงานบ้าง โดยในแล็บนี้เราจะได้ทำการทดลองติดตั้ง Supervisor Kubernetes Cluster บน VMware vSphere 7 และตั้งค่า Namespaces ให้กับระบบ

ในแล็บ vSphere 7 with Kubernetes นี้จะเป็นแบบ Lightning Lab ซึ่งจะต่างจากงานสัมมนาออนไลน์ของ VMware แบบเต็มตัวซึ่งใช้ Virtual Desktop ให้ได้ทดสอบระบบกันจริงๆ แต่ Lightning Lab นี้จะเป็น Lab แห้งที่จำลอง User Interface ของการตั้งค่าทั้งหมดมาให้เราได้ลองทำตามเป็นขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งก็มีข้อดีว่าสามารถทำแล็บให้จบได้ง่ายและรวดเร็ว เห็นภาพรวมได้ครบถ้วน แต่ก็อาจไม่สามารถลองทำการตั้งค่าหรือตรวจสอบสถานะของระบบเพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกได้มากนัก

ลุ้นรับรางวัลจากกิจกรรม Leaderboard

สำหรับผู้เข้าร่วมงาน VMware EVOLVE Online 2020 นี้ จะได้รับการสะสมคะแนนทุกๆ ครั้งที่มีการเข้าถึงเนื้อหาใดๆ ภายในงานหรือร่วมกิจกรรมภายในงาน และจะสามารถลุ้นรับ 4 รางวัลจาก VMware ได้แก่

  • Apple iPad Pro 12.9″ มูลค่า 1,000 เหรียญหรือราวๆ 30,000 บาท
  • Apple Watch Series 5 มูลค่า 440 เหรียญหรือราวๆ 13,200 บาท
  • Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 True Wireless Earbuds มูลค่า 350 เหรียญหรือราวๆ 10,500 บาท
  • Apple AirPods Pro มูลค่า 250 เหรียญ หรือราวๆ 7,500 บาท

from:https://www.techtalkthai.com/free-kubernetes-on-vmware-courses-and-lab-on-vmware-evolve-2020/

รู้จัก Red Hat OpenShift: โซลูชัน Docker และ Kubernetes ตอบโจทย์ DevOps และ Multi-Cloud สำหรับองค์กร

แนวโน้มของการใช้งานเทคโนโลยี Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อดีหลากหลายประการทั้งในเชิงเทคนิคและการลงทุน Red Hat เองก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกตลาด Container ในองค์กรรายแรกๆ ด้วยโซลูชัน Red Hat OpenShift ที่ได้นำ Docker และ Kubernetes มาผสานและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในองค์กร ก้าวสู่การทำ Platform-as-a-Service (PaaS) ได้ด้วยเทคโนโลยี Enterprise Container เพื่อตอบโจทย์การทำ DevOps และ Multi-Cloud ภายในองค์กร

 

ใช้ Container ในการพัฒนา Application สามารถช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างไร?

 

Credit: Red Hat

 

สำหรับหลายๆ องค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มมีการใช้งาน Container ในการพัฒนาระบบ Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นก็อาจยังไม่เห็นภาพประโยชน์ของการใช้งาน Container นัก ซึ่งหากสรุปโดยย่นย่อแล้ว Container จะมีประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้

  • ทีมพัฒนาและทดสอบ Application สามารถควบคุม Environment ของระบบที่ใช้ Develop, ระบบ Production และระบบ Test ให้เหมือนกันได้ ทำให้ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และช่วยให้การทำ DevOps มีขั้นตอนที่ชัดเจนมากขึ้น
  • รองรับการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบมีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น, สามารถอัปเดตเฉพาะส่วนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ได้
  • การ Deploy ระบบสามารถทำได้อย่างง่ายดายและไม่ขึ้นกับ Environment ที่ใช้มากนัก รวมถึงสามารถเพิ่มขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งานจำนวนมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถลดปริมาณทรัพยากรที่ต้องใช้ในระบบโดยรวมได้ดีกว่าการใช้ Virtual Machine (VM) เป็นหลัก
  • สามารถออกแบบระบบให้ทำงานทดแทนกันได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความทนทานให้กับ Application โดยรวม

จะเห็นได้ว่าการนำ Container มาใช้งานนี้จะช่วยลดภาระด้านการดูแลรักษาระบบและลด Downtime ที่จะเกิดขึ้นกับ Application ได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การพัฒนา Software ต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การนำ Container มาใช้ภายในองค์กรจึงได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับการพัฒนา Cloud-native Application หรือระบบงานขนาดใหญ่

IDC ได้เคยทำการสำรวจเหล่าองค์กรขนาดใหญ่ 9 แห่ง ที่มีพนักงานเฉลี่ย 44,000 คน ซึ่งมีการใช้งานระบบ Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นโซลูชันด้าน Container ของ Red Hat และพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

  • Return on Investment (ROI) ของการใช้งาน 5 ปีนั้นจะอยู่ที่ 531%
  • Life Cycle ในการพัฒนา Application นั้นเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 66%
  • พนักงานฝ่าย IT ใช้เวลาในการพัฒนา Application น้อยลงกว่าเดิม 33%
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ IT Infrastructure ในการพัฒนา Application นั้นน้อยลง 38%

และทั้งหมดนี้ก็นำมาสู่การที่องค์กรสามารถทำการพัฒนา Application ออกมาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง เป็นการเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยผู้ที่สนใจรายงานฉบับเต็มสามารถศึกษาได้ที่ https://www.redhat.com/en/engage/application-development-platform-20170713

 

Red Hat OpenShift: Docker และ Kubernetes ที่ถูกเสริมความสามารถสำหรับตอบโจทย์องค์กรโดยเฉพาะ

เพื่อตอบรับต่อกระแสความต้องการในการนำระบบ Container ที่มีทั้งประสิทธิภาพ, ความง่ายในการบริหารจัดการ, ความมั่นคงปลอดภัย และบริการดูแลรักษาจากมืออาชีพโดยตรง ทาง Red Hat จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชัน Red Hat OpenShift ขึ้นมาตอบโจทย์เหล่านี้สำหรับตลาดระดับองค์กร ให้สามารถใช้งานโซลูชันระบบ Open Source Software ขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Application สำคัญของธุรกิจได้โดยตรง

 

Credit: Red Hat

 

Red Hat OpenShift นี้คือการรวมเอาเทคโนโลยีจาก Docker และ Kubernetes เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อให้การใช้งาน Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ เป็นไปได้อย่างครบวงจร อีกทั้ง Docker และ Kubernetes นี้ก็ยังเป็นโครงการ Open Source Software ที่เหล่า Developer ใช้งานกันเป็นมาตรฐานทั่วโลกไปแล้ว ดังนั้นการที่เหล่า Software Developer ภายในองค์กรจะหันมาเรียนรู้และปรับใช้งานภายในองค์กรนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก โดยทาง Red Hat เองก็ได้พัฒนาและทดสอบระบบ Red Hat OpenShift จนสามารถให้บริการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

  • การจัดการ Image และ Quickstart Template สำหรับ Application ที่พัฒนาด้วย Java, Node.js, .NET, Ruby, Python, PHP และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้สามารถรองรับภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและ Framework ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
  • การสร้าง Database Instance สำหรับใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของ Application ต่างๆ ซึ่งรวมถึง MariaDB, MySQL, PostgreSQL, MongoDB, Redis, SQLite ทำให้องค์กรสามารถเลือกใช้ฐานข้อมูลที่ตนเองต้องการในแต่ละโครงการได้
  • มี Red Hat JBoss Middleware Service Image และ Template ให้ใช้สำหรับรองรับระบบ Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้ ทำให้องค์กรที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีของ Red Hat มาแต่เดิมสามารถก้าวมาสู่การทำ Microservices บนระบบ Enterprise Container ได้อย่างเต็มตัว
  • สามารถเชื่อมต่อไปยัง Container Catalog ของ DockerHub และอื่นๆ ได้ รวมถึงยังมี Red Hat Container Catalog ซึ่งเป็นการรวบรวมเอา Container Image สำหรับการใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะเอาไว้ให้ใช้งานได้ด้วย
  • มีเครื่องมือ Source-to-Image (S2I) สำหรับใช้สร้าง Docker Container Image ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ช่วยลดภาระของทีมพัฒนาลงไปได้อีกระดับหนึ่ง
  • มีเครื่องมือ Red Hat Container Development Kit, Minishift และ OpenShift Command Line Tool เพื่อให้สามารถสร้าง OpenShift Instance ภายในเครื่อง Local Machine และทำการพัฒนาหรือทดสอบระบบพร้อมทั้ง Deploy ขึ้นไปยังระบบ Production ได้อย่างง่ายดาย
  • สามารถทำการ Deploy ระบบต่างๆ ได้ในการคลิกเพียงครั้งเดียวหรือการใช้ Git Push ทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่น
  • รองรับการทำ Port Forwarding ได้ในตัว ทำให้สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังแต่ละ Service ภายในแต่ละ Pod ได้อย่างปลอดภัย
  • สามารถทำงานร่วมกับ Jenkins เพื่อทำ Automated Test และ Build ได้
  • ใช้แนวคิดการแบ่งระบบออกเป็น Pods ของ Kubernetes ทำให้สามารถทำ Pods Autoscaling และ High Availability ได้
  • สามารถทำ Container Orchestration ด้วย Kubernetes ได้
  • สามารถทำการ Deploy ระบบไปยัง Physical, Virtual และ Cloud ได้
  • สามารถบริหารจัดการได้ผ่าน Web Console และ CLI
  • มีเครื่องมือ Remote Execute Command และ SSH ไปยัง Container ต่างๆ ในระบบได้
  • มีเครื่องมือในการ Integrate เข้ากับ IDE อย่าง Eclipse, JBoss Developer Studio และ Visual Studio เพื่อให้ Developer ทำงานได้ง่ายขึ้น
  • การพัฒนาระบบให้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ อย่าง CPU, GPU, FPGA และอื่นๆ มาใช้งานบน Container ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ Red Hat เองก็ยังได้พัฒนาโซลูชันเสริมต่อยอดขึ้นไปจาก Red Hat OpenShift ด้วยกันอีกถึง 3 โซลูชัน เพื่อตอบโจทย์การสร้างระบบ IT Infrastructure สำหรับรองรับความต้องการที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ได้แก่

  • Red Hat OpenShift Application Runtimes รวบรวม Runtime และ Framework ที่หลากหลายมาให้พร้อมใช้ในการพัฒนา Application เช่น Red Hat JBoss Enterprise Application Platform (EAP), Eclipse Vert.x, WildFly Swarm, Node.js, Spring Boot, Netflix Ribbon และ Netflix Hystrix เป็นต้น
  • Red Hat Mobile Application Platform รวบรวมเครื่องมือ, SDK และ Framework สำหรับการพัฒนา Mobile Application และบริการต่างๆ ที่จำเป็นในฝั่ง Backend เอาไว้เพื่อรองรับการพัฒนา Mobile Application สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ
  • Red Hat Cloud Suite ระบบ Cloud IT Infrastructure สำหรับรองรับ Application ขนาดใหญ่ที่เพิ่มขยายได้อย่างง่ายดาย ด้วยการนำเทคโนโลยี Red Hat Virtualization, Red Hat OpenStack Platform, Red Hat Satellite และ Red Hat CloudForms เข้ามาใช้ร่วมกับ Red Hat OpenShift ทำให้การบริหารจัดการ, การเพิ่มขยายระบบ และการดูแลรักษาระบบขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นไปได้อย่างครบวงจร

 

 

ใช้เทคโนโลยี Open Source มาตรฐาน ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ด้วยความที่ Red Hat OpenShift นั้นอาศัยการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก Docker และ Kubernetes ซึ่งต่างก็เป็นโครงการ Open Source Software ชั้นนำที่ได้รับการยอมรับและการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้ Red Hat OpenShift นั้นสามารถทำงานร่วมกับโครงการ Open Source Software ชั้นนำอื่นๆ จำนวนมากได้ เช่น

  • CoreOS ระบบปฏิบัติการสำหรับ Container โดยเฉพาะที่ Red Hat ได้เข้าซื้อกิจการมา
  • Cri-O ระบบ Container Runtime ขนาดเล็กสำหรับ Kubernetes
  • Prometheus ระบบ Monitoring ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในระบบ Production ขนาดใหญ่และ DevOps

และหลังจากนี้ทาง Red Hat เองก็ยังมีแผนที่จะนำโครงการ Open Source ชั้นนำอื่นๆ เข้ามาใช้งานใน Red Hat OpenShift ด้วย และโครงการอย่าง Ist.io ซึ่งเป็นระบบสำหรับ Service Mesh ที่มาแรงมากในปีนี้เองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการนำเข้ามาเสริมให้กับโซลูชันนี้ด้วยเช่นกัน

 

เลือกใช้งานได้ 3 แบบ ตอบโจทย์ IT Infrastructure ได้ยืดหยุ่นตามต้องการ

Credit: Red Hat

 

Red Hat OpenShift นี้สามารถเลือกใช้งานได้ด้วยกันถึง 3 รูปแบบ ดังนี้

  • Red Hat OpenShift Online เช่าใช้บริการ Hosted Service สำหรับ OpenShift บน Cloud ของ Red Hat โดยตรง
  • Red Hat OpenShift Dedicate เช่าใช้ Red Hat OpenShift ที่ทำงานอยู่บน AWS และ Google Cloud โดยมีทีมงานของ Red Hat คอยสนับสนุนและดูแลการใช้งาน
  • Red Hat OpenShift Container Platform ติดตั้งและใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Data Center หรือ Public Cloud ที่ต้องการด้วยตนเอง

ดังนั้นแล้วไม่ว่ากลยุทธ์ทางด้านการพัฒนา Application ใหม่ๆ ขององค์กรจะอยู่ในรูปแบบใด Red Hat OpenShift ก็มีทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับตอบโจทย์ความต้องการได้อยู่เสมอ ไม่ต้องยึดติดกับผู้ผลิต Hardware รายใดหรือผู้ให้บริการ Cloud รายใดเป็นพิเศษ ทำให้องค์กรสามารถลงทุนอย่างคุ้มค่าได้ในระยะยาว ไม่เกิดปัญหา Vendor Lock-in

 

เปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage

ล่าสุด Red Hat เองก็ได้ทำการเปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage 3.10 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับระบบ Container โดยเฉพาะด้วยประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ด้วยแนวคิดการทำ Software-Defined Storage สำหรับ Cloud-native Application โดยเฉพาะ รองรับได้ทั้ง Stateful และ Stateless Container ได้อย่างครอบคลุม

 

ทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจอยากทดสอบเทคโนโลยี Red Hat OpenShift หรือต้องการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Container สามารถทดสอบได้ฟรีทันที 2 ช่องทาง ได้แก่

  • สำหรับ Developer สามารถทดการทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift บน Cloud ได้ฟรีๆ ทันทีโดยการลงทะเบียนที่ https://www.openshift.com/products/online/ และจะสามารถทำการใช้งานได้ทันที 4 Service โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • สำหรับ System Administrator ที่ต้องการทดลองทำแล็บสำหรับ Red Hat OpenShift สามารถลงทะเบียนได้ฟรีๆ ที่ https://www.redhat.com/en/engage/openshift-storage-testdrive-20170718 เพื่อทดลองใช้งานระบบแล็บออนไลน์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงใช้ SSH Client และ Web Browser เพื่อทำแล็บเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ต้องการทดสอบ Red Hat OpenShift ในเชิงลึกยิ่งขึ้นโดยมีทีมงานของ Red Hat คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำในเชิงเทคนิค สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat ในประเทศไทยได้ทันที

 

ติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีต่างๆ ของ Red Hat สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ได้ทันทีที่โทร 02-624-0601 หรืออีเมล์ asaeung@redhat.com

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-openshift-enterprise-docker-and-kubernetes-solutions/

Google Kubernetes Engine 1.10 สู่สถานะ GA พร้อมใช้งานได้ในระดับองค์กร

Google ได้ออกมาประกาศให้ Google Kubernetes Engine (GKE) 1.10 เข้าสู่สถานะ Generally Available (GA) พร้อมเสริมความสามารถในการใช้งานในระดับองค์กร โดยมีความสามารถใหม่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

 

Credit: Google

 

  • เพิ่มระบบ Shared Virtual Private Cloud (VPC) ทำให้สามารถควบคุมทรัพยากรด้าน Network บน Google Cloud Platform (GCP) ได้ดีขึ้น
  • เพิ่ม Regional Persistent Disk และ Regional Cluster เพื่อให้สามารถออกแบบระบบ High Availability ได้ดีขึ้น และมี Service Level Agreement (SLA) ในระดับที่สูงขึ้น
  • ความสามารถ Node Auto-Repair เข้าสู่สถานะ GA
  • เพิ่มความสามารถ Custom Horizontal Pod Autoscaler

ใน GKE รุ่น 1.10 นี้ ทาง Google ยังได้เน้นเสริมประเด็นด้าน Security, Networking, Logging และ Monitoring เพิ่มเติม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเหล่าธุรกิจองค์กรที่ต้องการใช้ Cloud มากขึ้นด้วย

 

Credit: Google

 

Google ยังระบุด้วยว่าปัจจุบันนี้มี 54 องค์กรจาก Fortune 100 ที่ใช้ Kubernetes กันแล้วในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเงิน, การผลิต, สื่อ และอื่นๆ ก็ตาม ส่วนการใช้งาน Stateful Workload บน Kubernetes เองก็เพิ่มขึั้นมาเป็น 40% ของระบบ Kubernetes Engine Cluster ที่เป็น Production จริงกันด้วยแล้ว

 

ที่มา: https://cloudplatform.googleblog.com/2018/05/Google-Kubernetes-Engine-1-10-is-generally-available-and-ready-for-the-enterprise.html

from:https://www.techtalkthai.com/google-kubernetes-engine-1-10-is-generally-available/