คลังเก็บป้ายกำกับ: CONSUMER

ผู้บริโภคคาดหวังอะไรจากดิจิทัลคอนเทนต์

Adobe อออกมาเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์ในหลายๆ แพล็ตฟอร์ม จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,008 คน และความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะดึงความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง

เมื่อผู้คนเริ่มเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในโลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้น คอนเทนต์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งในรูปแบบที่ผู้ใช้งานทั่วไปสร้างขึ้นมา (user-generated content) หรือแบบที่แบรนด์เป็นคนนำเสนอ และอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มยอด engagement ให้กับคอนเทนต์

2

Adobe เผยว่า 9 ใน 10 ของผู้บริโภค จะใช้งานหลายหน้าจอ หรือที่เรียกกันว่า multiscreen และ 40% ของจำนวนนั้น ยอมรับว่าการใช้งานหลายหน้าจอทำให้ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับจอใดจอหนึ่งได้นาน  โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งาน Multiscreen  คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวัย Millennials

ในแง่ของการเลือกรับคอนเทนต์ พวกเขาบอกว่าทุกวันนี้มีคอนเทนต์จำนวนมาก (Overload) ทำให้ต้องเลือกเสพมากขึ้น และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ตลาดคอนเทนต์อยู่สภาวะการแข่งขันสูงมาก

73% ของผู้บริโภคระบุว่า คอนเทนต์ที่ถูกเลือกจะเป็นคอนเทนต์ที่แสดงผลได้ดีในอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ และโดยมากแล้วคอนเทนต์ที่ทำให้พวกเขาไม่สนใจ จะมีลักษณะร่วมกันดังนี้

  • รูปภาพไม่โหลด
  • ใช้เวลานานเกินไปในการเรียกดูคอนเทนต์
  • คอนเทนต์มีขนาดยาวเกินไป
  • เนื้อหาไม่ดึงดูด

ผู้บริโภค 46% จะเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเกิดอุปสรรคในการเรียกดูคอนเทนต์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ที่สำคัญคือผู้บริโภคอีกราวๆ 39% เลือกที่จะยุติความสนใจที่มีต่อคอนเทนต์นั้นๆ ทันที

3

นอกจากนี้ การสร้างความรู้และเนื้อหาที่เชื่อถือได้ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถึงมันจะสำคัญ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะถูกแชร์เสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการแชร์ด้วย

25% ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะแชร์ก็ต่อเมื่อรู้สึกว่ามันเอนเตอร์เทนมากพอ โดยที่ไม่สนใจว่ามันจริงแค่ไหน และกลุ่มคนวัย Millennials เชื่อว่าความสนุกหรือการเอนเตอร์เทนสำคัญกว่า ในขณะที่กลุ่ม Baby Boomers ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สนุกสนานเพียงแค่ 10% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อกลับมามองที่ภาพรวม กลุ่มตัวอย่าง 61% ระบุว่า พวกเขาจะตั้งคำถามเมื่อรู้สึกว่าเนื้อหาข่าวมีอคติ ในขณะที่ 60% จะสงสัยไว้ก่อนว่าภาพประกอบถูกปลอมแปลงหรือตัดต่อหรือไม่ และ 57% จะตั้งข้อสงสัยว่าความคิดเห็น หรือการรีวิวในแง่ลบ อาจถูกกำจัดออกไป ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเกือบทุกคนจะเชื่อรูปภาพหรือวิดีโอที่มาจากเพื่อน หรือคนที่รู้จักเป็นการส่วนตัว

ใครที่สนใจอ่านรายงายการสำรวจฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ

ที่มา : Adweek

from:http://thumbsup.in.th/2015/10/what-consumers-want-from-digital-content/

Google เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย

online-shopping

Google ประเทศไทยแถลงผลการศึกษาพฤติกรรมขาชอปออนไลน์ โดยมีคุณอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ประจำประเทศไทยและคุณวรรณา สวัสดิกุล ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาดจากบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือเทสโก้ โลตัส มาร่วมพูดคุยในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งทางเทสโก้โลตัสถือได้ว่าเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าแรกๆ ที่ลงมาเล่นในตลาดออนไลน์อย่างเต็มตัว เห็นได้จากการเปิดเว็บไซต์สำหรับชอปปิ้งออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อขายสินค้ากว่า 20,000 รายการ และกำลังเตรียมเปิดตัวโมบายล์แอปพลิเคชั่นเพื่อการชอปปิ้งเร็วๆ นี้สำหรับวิธีการศึกษานี้จะแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1). ผู้บริโภคที่มีการซ้อสินค้าทางออนไลน์เมื่อเร็วๆ นี้ภายในระยะเวลา 1 เดือน 421 คน 2). ผู้บริโภที่ซื้อทางออนไลน์ครั้งล่าสุดนานกว่า 6 เดือนแล้ว 114 คน 3). ผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์เลย 200 คน และ 4). ผู้ขายสินค้าออนไลน์ 481 คน โดยเป็นการสำรวจทางออนไลน์ ใช้เวลาครั้งละ 25 นาทีในการตอบคำถาม

ผลการศึกษาพบว่าการเติบโตของการซื้อสินค้าออนไลน์นั้นมีสูงมาก แม้แต่กลุ่มที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์เลยก็ยังอยากทดลองซื้อบ้าง โดยผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่ยังไม่เคยซื้อของผ่านระบบออนไลน์มีความสนใจที่จะทดลองถึง 40 % เลยทีเดียว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายเล็กผันตัวมาขายในช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก จึงเป็นการกระตุ้นให้คนเข้าไปซื้อ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความสะดวก เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผู้คนเดินทางไม่สะดวก ซึ่งการซื้อขายในช่องทางออนไลน์ก็ช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่ไปได้ด้วย

โดยคุณวรรณากล่าวว่า ในมุมมองของธุรกิจจัดจำหน่ายแล้ว การเปิดช่องทางการซื้อขายในระบบออนไลน์ ช่วยกระตุ้นยอดขายได้ดีมาก เพราะแบรนด์เจ้าของสินค้าก็สื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ เมื่อคนมีความต้องการซื้อสินค้าดังกล่าวก็เข้ามาซื้อในระบบออนไลน์ได้ทันทีโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้านด้วยซ้ำ ถือว่าเป็น win-win solution สำหรับทุกฝ่าย  นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชอปออนไลน์ที่กำลังเป็นที่จับตามองของบรรดานักการตลาดก็คือกลุ่มคุณแม่ เนื่องจากมีเวลาใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มอื่นๆ รวมทั้งการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งก็มักจะเลือกสิ่งที่ดีให้กับลูก และไม่มีเวลาออกไปชอปปิ้งนอกบ้าน

โดยกลุ่มผู้ที่สนใจทดลองซื้อสินค้าออนไลน์จำนวน 47% คิดว่าสินค้าที่เหมาะกับการทดลองซื้อครั้งแรกคือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งในส่วนนี้ คุณอริยะได้กล่าวเสริมว่า เนื่องจากสินค้าประเภทนี้มีราคาไม่สูงมากนัก พอรับความเสี่ยงได้ ประกอบกับพฤติกรรมของคนส่วนมากที่จะซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ สินค้าประเภทนี้จึงได้รับความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มขาช้อปสุภาพสตรีที่ถือว่าการซื้อเสื้อผ้าเป็น emotional engagement คือซื้อเพื่อความสุขทางใจนั่นเอง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนกลุ่มที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์หันมาทดลองชอปปิ้งในระบบออนไลน์ ได้แก่ คำบอกเล่าของคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว และตัวเลือกในการชำระเงินที่ยืดหยุ่นหรือมีบริการ cash & delivery คือการจ่ายเงินสดเมื่อมีสินค้ามาส่ง ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยในการชอปปิ้งมากขึ้น

ผลการศึกษาในส่วนนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการศึกษาในหัวข้อที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้คนไม่กล้าชอปปิ้งออนไลน์ โดยกลุ่มที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์จำนวน 57% มีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ และ 41% ก็อยากจับหรือทดลองใช้สินค้าก่อนการซื้อ และ 47% กังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลด้านการเงิน

ดังนั้น การรับประกันสินค้า นโยบายเปลี่ยน/คืนสินค้า และทางเลือกในการชำระเงินจึงมีผลต่อการทดลองซื้อสินค้าออนไลน์เป็นอย่างมากสำหรับคนกลุ่มนี้

สำหรับกลุ่มที่มีการชอปปิ้งออนไลน์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยที่ทำให้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพราะช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก ตอบโจทย์คนเมืองที่มีวิถีชีวิตแบบเร่งรีบ และปัจจัยด้านราคา ซึ่งไม่ได้หมายถึงมีราคาถูกกว่าร้านค้าปลีกทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงมีหลายราคาให้เปรียบเทียบได้หลายๆ เจ้าอีกด้วย

สินค้าที่มีรายการสั่งซื้อสูงสุดคือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่หากคิดเป็นค่าใช้จ่ายกันออกมาแล้ว สินค้าในหมวดนี้คิดเป็นแค่ 1 ใน 4 ของโทรศัพท์มือถือเท่านั้น โดยผู้ซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจำนวน 36% จะซื้อผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก และหาข้อมูลดังกล่าวในโซเชียลเน็ตเวิร์กถึง 41% ในขณะที่ผู้ซื้ออปกรณ์โทรศัพท์มือถือเพียงแค่ 18% เท่านั้นที่จะซื้อผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่ใช้ช่องทางดังกล่าวในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ามากถึง 37%

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจาก Google ยังระบุอีกว่า การโฆษณาออนไลน์มีผลอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในตัวสินค้าและบริการ โดยกลุ่มผู้ที่ชอปออนไลน์จำนวน 68% จะสั่งซื้อสินค้าทันทีที่เห็นโฆษณา รวมทั้งใช้ข้อมูลจากโฆษณาเพื่อค้นคว้าต่อเกี่ยวกับสินค้าถึง 73% เลยทีเดียว โดยเป็นการค้นหาจาก search engines 39% และเครือข่ายสังคมออนไลน์ 37%

สำหรับผลการศึกษาในส่วนของผู้ขายระบุว่า ผู้ขาย 63% ผันตัวมาขายในช่องทางออนไลน์ก็เพราะมีลูกค้ารอซื้ออยู่เป็นจำนวนมาก และมีผู้ขายเพียง 35% เท่านั้นที่บอกว่าขายสินค้าออนไลน์แล้วได้ราคาดีกว่าออฟไลน์ ซึ่งทางคุณอริยะและคุณวรรณาได้กล่าวเสริมว่ายิ่งมีผู้ขายมากก็ยิ่งทำให้ตลาดเติบโตได้มาก ไม่ได้เป็นคู่แข่งกันเสมอไป เพราะตลาดนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก และผู้ขายควรจะใช้ข้อมูล insight จากพฤติกรรมของผู้บริโภคมาช่วยในการกำหนดทิศทางบริหารด้วย

from:http://thumbsup.in.th/2014/09/google-business-insight/

:: So Now You Know :: รู้จักกับประชากรรุ่นใหม่กลุ่ม Millennials ที่มีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ 5

451-Marketing-Millennials

“MILLENNIALS” ภาพประกอบจาก 451marketing.com

เราได้ยินคำว่า Gen Y กันจนนับครั้งแทบจะไม่ถ้วน และหลายๆ คนเองก็คงจะคุ้นกับนิยามของคนรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อ Millennials กันบ้างแล้ว วันนี้ So Now You Know ของแหวกแนวมานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้บริโภครุ่นใหม่กลุ่มนี้กันสักนิดผ่าน infographic ดีๆ ที่จะทำให้เราเข้าใจวัยรุ่นยุคใหม่ดีขึ้น และเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด

อ่านเพิ่มเติม :: So Now You Know :: รู้จักกับประชากรรุ่นใหม่กลุ่ม Millennials ที่มีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ 5

ตามไปดู 3 วิดีโอล้อเลียนที่ Ikea ใช้โชว์รูมเป็นเวที

This-Ikea-Gravity-Parody-Is-Hilariously-Dead-On

นี่คือตัวอย่างแคมเปญใหม่ของ Ikea จากต่างประเทศที่นอกจากเรียกเสียงฮือฮา และแปลกแหวกแนวได้ตามแบบฉบับแล้ว ยังแฝงด้วยการนำเสนอสินค้าของ Ikea ได้อย่างลงตัวและแนบเนียน

Ikea เชนเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังจากประเทศสวีเดน เป็นแบรนด์ที่มักทำแคมเปญเก๋นอกกรอบมาให้แฟนได้ประหลาดใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญก่อนหน้านี้ที่ Ikea นำอพาร์ทเมนท์ของตัวเองไปติดตั้งไว้ชั่วคราวในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและให้คน 5 คนมาใช้ชีวิต 6 วัน, การสร้างบ้านที่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ของ Ikea ในสนามบินกรุงปารีสที่ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้แฟนของ Ikea นำเฟอร์นิเจอร์เก่ามาใช้แล้วมาจำหน่าย

ล่าสุด Ikea กลับมาสร้างความฮือฮาอีกครั้งด้วยการทำให้โชว์รูมของ Ikea กลายเป็นฉากของหนังสั้นหลากหลายเรื่องราว รวมถึงบางเรื่องมีตัวละครหลักเป็น ลูกค้าของ Ikea โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูกค้าแต่ละรายไม่เคยรู้ตัวมาก่อน แล้วมาดูกันว่าหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร

Alfonso Cuaron’s Ikea จาก Daniel Hubbard

Alfonso Cuaron’s Ikea ถูกทำเป็นรูปแบบของตัวอย่างภาพยนตร์ ที่ใช้มุขตลกล้อเลียนหนังดังเรื่อง “Gravity” โดยมีตัวละครหลัก 2 ตัว ที่เปรียบได้กับ Sandra Bullock และ George Clooney ในเรื่อง Gravity โดยมีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบ Ikea ที่ใหญ่โต, เสียงดัง และไม่มีคลื่นโทรศัพท์เหมือนกับอวกาศ จนทำให้ตัวละครหลงทางกับคู่หูจนเกิดเป็นเรื่องราวที่เรียกเสียงหัวเราะได้ใน “Alfonso Cuaron’s Ikea”

 “Hacking Ikea” จาก Upwell

Ikea นับว่าเป็นจุดหมายชั้นเยี่ยมเพื่อซื้อสินค้าราคาสบายกระเป๋า และมาพร้อมดีไซน์เก๋แตกต่าง ดังนั้นบริษัท Upwell Design จึงเกิดไอเดียและตัดสินใจเลือก Ikea เป็นสถานที่ทดลองสินค้าตัวใหม่ “Wallhub” สวิตซ์ที่มาพร้อมที่เหน็บเอกสาร ด้วยวิธีการติดตั้งไว้ในโชว์รูมของ Ikea เสมือนเป็นสินค้าของ Ikea ชิ้นหนึ่ง จนทำให้เกิดเรื่องราวมากมาย แล้วมาดูกันว่าลูกค้าแต่ละรายจะมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง

“Trapped in Ikea” จาก Elvis

ต่อมาเป็นคิวของ 2 นักแสดงตลกชื่อดังชาวนอร์เวย์ในชื่อ “Yayis” (ประกอบไปด้วย a.k.a. Bard and Vegard Ylvisaker) มาวางแผน โดยใช้โชว์รูมห้องหนึ่งมาเป็นฉากและเมื่อมีคนเข้ามาก็ทำการปิดทางเข้าออกทุกทางเสมือนถูกขังอยู่ในนั้น

ที่มา: Adage

from:http://thumbsup.in.th/2013/11/ikea-a-big-stage-consumer-stunt/

แอบดูผู้บริโภคว่าทำอะไรอยู่บนโลกโซเชียล? (Infographic)

cats

นี่คือ Infographic ที่ประมวลภาพบางส่วนให้เราเห็นว่าผู้บริโภคหรือคอนซูเมอร์ในยุคนี้กำลังทำอะไรบนโลกออนไลน์ แถมยังเผยความจริงว่า Facebook คือแชมป์โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าของผู้บริโภค

ตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “โซเชียลมีเดีย” นอกจากจะเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพและมีความสำคัญต่อธุรกิจหลากหลายประเภทแล้ว ยังกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ผู้บริโภคใช้เพื่อเป็นแหล่งในการค้นหาข้อมูลและทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้งานโซเชียลมีเดียจึงสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์การตลาดได้ดียิ่งขึ้น

จากการสำรวจข้อมูลของเว็บไซต์ Ciceron.com พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมทำกันมากที่สุดในการใช้งานโซเชียลมีเดีย คือการรับฟังประสบการณ์ในการซื้อสินค้าจากผู้บริโภครายอื่น โดยคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดอยู่ที่ 70% ของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ

พฤติกรรมยอดนิยมอันดับ 2 คือการศึกษาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับแบรนด์ สินค้าและการบริการ (65%), อันดับ 3 และอันดับต่อมาคือการชมเชยแบรนด์ (53%) ตำหนิเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ต้องปรับปรุง (50%) และการแชร์สิทธิพิเศษในการซื้อสินค้า (47%)

ส่วนช่องทางในการใช้งานโซเชียลมีเดียของกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันพบว่า ยังคงเป็นการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์มาเป็นอันดับแรก โดยมีสัดส่วนการใข้งานสูงถึง 94% รองลงมาเป็นใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ (46%), แท็บเล็ต (16%), อุปกรณ์พกพาในการฟังเพลง (7%) รวมถึงการใช้งานผ่านเครื่องเล่นวีดีโอเกมและทีวีที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ (4%)

ส่วนโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มของผู้บริโภคในเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น Facebook มาเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้งานมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทั้งหมด (58%) รองลงมาเป็น Linkedin (17%) Twitter (15%) และ Google+ (12%)

what-are-consumers-doing-on-social-media_520a913cdb16c

ไม่แน่ ผลการสำรวจบางข้ออาจจะตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยก็เป็นได้

ที่มา: Ciceron

from:http://thumbsup.in.th/2013/08/what-are-consumers-doing-social-media/