คลังเก็บป้ายกำกับ: CITRIX_XENSERVER

Bitdefender ผสานเทคโนโลยีกับ Nutanix และ Citrix ปกป้องระบบ HCI และ Virtualization แบบไร้รอยต่อ

Bitdefender ผู้นำด้าน Endpoint Security ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 500 ล้านเครื่องใน 150 ประเทศทั่วโลก จับมือกับ Nutanix และ Citrix ผสานรวมเทคโนโลยี GravityZone เข้ากับโซลูชันของผู้ให้บริการทั้งสองอย่างไร้รอยต่อ ปกป้องระบบ Hyper-converged Infrastructure และ Virtualization จากภัยคุกคามขั้นสูงได้ถึงระดับ Hypervisor

Mission-Critical Applications เริ่มใช้ HCI อย่างแพร่หลาย

Hyper-converged Infrastructure (HCI) เป็นระบบโครงสร้างที่ผสานรวมส่วน Compute, Network และ Storage เข้าด้วยกันและปรับแต่งให้ทุกส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดภายในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เดียว ซึ่งทั้งหมดจะถูกควบคุมผ่านซอฟต์แวร์เพื่อลดความซับซ้อนของ Data Center และเพิ่มความสามารถในการขยายระบบในอนาคต HCI ถูกพัฒนาและใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และด้วยความเป็น Data Center ขนาดย่อมที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ทำให้ HCI เริ่มถูกนำไปใช้ในสำนักงานสาขามากขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันนี้ มีการเพิ่มฟีเจอร์ Automation และ Machine Learning/Artificial Intelligence เข้าไปบน HCI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความต่อเนื่องในการใช้งาน ทั้งยังช่วยให้บริหารจัดการระบบทั้งหมดได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้ HCI ถูกนำมาใช้งานกับ Workload ที่หลากหลาย รวมไปถึงแอปพลิเคชันประเภท Mission-Critical ในขณะที่ Gartner ก็คาดการณ์ไว้ว่า HCI จะถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในแบบ Edge Computing ในอุตสาหกรรมค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต และ Hybrid Cloud/Multicloud ในอีก 2 ปีข้างหน้านี้

Bitdefender ผสาน GravityZone เข้ากับ Nutanix ปกป้องระบบ HCI อย่างไร้รอยต่อ

เพื่อปกป้องระบบ HCI จากภัยคุกคามไซเบอร์ขั้นสูง Bitdefender ได้นำเสนอโซลูชัน GravityZone ซึ่งเป็นระบบ Endpoint Security ที่ผสานรวมกลไกการป้องกันแบบ Next-generation หลากหลายชั้น ไม่ว่าจะเป็น Tunable Machine Learning, Application Control, Anti-exploit หรือ Network Sandboxing บริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง ช่วยลดความยุ่งยากและยังคงรักษาประสิทธิภาพของระบบ HCI ไว้ให้ได้มากที่สุด

สำหรับผู้ใช้ Nutanix HCI นั้น Bitdefender GravityZone สามารถผสานการทำงานร่วมกับ Acropolis Hypervisor (AHV) ได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย Workload บน HCI เป็นเรื่องง่าย โดย Nutanix Prism จะส่งข้อมูลสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่ ได้แก่ VM Inventory และ Cluster Hierachy รวมไปถึงข้อมูลการเริ่ม จบ และการเคลื่อนย้าย VM แบบเรียลไทม์ให้แก่ Bitdefender GravityZone ซึ่งจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปตั้งค่า In-guest Security Tools และ Security Server เพื่อสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุมที่สุด นำ License จาก VM ที่เลิกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และจัดทำรายงานให้โดยอัตโนมัติ

Bitdefender GravityZone พร้อมให้บริการผ่าน Calm Marketplace ของ Natunix ซึ่งช่วยให้การติดตั้งแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงปลอดภัยกลายเป็นเรื่องง่ายด้วยการกดคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ Nutanix ยังให้บริการ Blueprint สำหรับเป็นคู่มือติดตั้ง Bitdefender GravityZone ภายใต้สภาวะแว้มล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบทดสอบ ระบบจริง หรือระบบที่ใช้ Hypervisor อื่นนอกจาก AHV เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ภายในเวลาไม่นาที

จุดเด่นสำคัญของการใช้ Bitdefender GravityZone บน Nutanix AHV คือ การขจัดปัญหาเรื่องการติดตั้ง Agent ขนาดใหญ่บนแต่ละ VM ซึ่งบริโภคทรัพยากรอย่างมหาศาล โดย Bitdefender GravityZone จะทำการติดตั้ง In-guest Security Tools ขนาดเล็ก และให้ Security Server (SVA) ที่แยกออกมาต่างหากทำหน้าที่สแกนหาภัยคุกคามและจัดการเรื่องอัปเดตต่างๆ แทน ส่งผลให้ลดภาระการทำงานของ CPU และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของแอปพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้ว การใช้ Bitdefender GravityZone บน Nutanix AHV จะช่วยเพิ่ม Virtualization Density ขึ้นสูงสุดถึง 35% และลด Latency ของแอปพลิเคชันลงได้สูงสุด 17%

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.bitdefender.co.th/nutanix

การันตีด้วยรางวัล 2018 Nutanix Elevate Partner Award – AHV Innovator

จากการผสานรวมเทคโนโลยีระหว่าง Bitdefender GravityZone และ Nutanix AHV อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ Workload ที่รันบนแพลตฟอร์มของ Nutanix แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ, ทำให้การบริหารจัดการกลายเป็นเรื่องง่าย และการทำงานมีความอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ Bitdefender GravityZone ได้รับรางวัล Nutanix Elevate Partner Award – AHV Innovator ภายในงาน .NEXT 2018 ที่เพิ่งจัดไปเมื่อปีที่ผ่านมา

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nutanix.com/2018/05/30/2018-nutanix-elevate-partner-year-award-winners/

ตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงบน Citrix ด้วยเทคนิค Hypervior-based Introspection

เช่นเดียวกับ Nutanix HCI โซลูชัน GravityZone ของ Bitdefender สามารถปกป้องระบบ Citrix จากภัยคุกคามไซเบอร์ขั้นสูงได้ถึงระดับ Hypervisor กล่าวคือ ด้วยเทคนิค Hypervisor-based Introspection ของ Bitdefender GravityZone สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์ผ่านการสแกนข้อมูลดิบบนหน่วยความจำของ Guest VM โดยตรงจากในระดับ Hypervisor โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้ง Agent ใดๆ ลงบน Guest VM แต่อย่างใด

ผลิตภัณฑ์ Endpoint Security ทั่วไปต้องอาศัย Signature นับล้านรายการในการตรวจจับภัยคุกคาม แต่ Hypervisor-based Introspection ของ Bitdefender GravityZone นั้นใช้การตรวจสอบหน่วยความจำเพื่อตรวจจับเทคนิคการโจมตีที่แฮ็กเกอร์ใช้ ซึ่งสามารถกระทำได้เฉพาะในระดับ Hypervisor แม้ว่า Signature จะเปลี่ยนไป ก่อให้เกิดเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ แต่เทคนิคที่ใช้มักยังหนีไม่พ้นรูปแบบเดิมๆ เสมอ ส่งผลให้ Hypervisor-based Introspection สามารถตรวจจับการโจมตีแบบ Zero-day ได้เหมือนการโจมตีปกติธรรมดา ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องคอยอัปเดตฐานข้อมูล Signature อีกด้วย

“กุญแจสำคัญ [ในการตรวจจับ] คือระเบียบวิธีการโจมตี ไม่ใช่ Payload ซึ่ง Hypervisor-based Introspection ไม่สนใจว่าโค้ดอันตรายจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มันสนใจแค่มีการเข้าถึงหน่วยความจำโดยไม่ได้รับอนุญาตเกิดขึ้นหรือไม่” — Dr. Peter Stephenson นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก SC Magazine กล่าว

เทคนิค Hypervisor-based Introspection รองรับการใช้งานร่วมกับ XenServer เวอร์ชัน 7 เป็นต้นไป สามารถตรวจจับภัยคุกคามบนระบบปฏิบัติการ Windows 7, 8, 8.1 และ 10 รวมไปถึง Windows Server และ Linux อย่าง Debian, Ubuntu, CentOS และ Red Hat Enterprise Linux อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.bitdefender.com/business/enterprise-products/hypervisor-introspection.html

from:https://www.techtalkthai.com/bitdefender-gravityzone-protect-nutanix-hci-and-citrix-virtualization-seamlessly/

Nutanix AOS 5.1 ออกแล้ว รองรับ XenServer และ Docker ได้เต็มตัว

ข่าวดีสำหรับแฟนๆ Nutanix ทั้งหลายมาถึงแล้ว กับการมาของ Nutanix AOS 5.1 ที่รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ น่าสนใจเยอะมากทีเดียว โดยเฉพาะการรองรับ Citrix XenServer และ Docker ได้แบบเต็มตัวมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  • รองรับการใช้งาน All-flash Node และ Hybrid Node ภายใน Cluster เดียวกันได้ ทำให้สามารถเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละ Cluster เพื่อรองรับ Workload หลากหลายได้มากขึ้น
  • เปิดการทำ Post-process Compression มาให้ใช้แบบ Default
  • ปรับปรุง Erasure Coding ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง
  • รองรับการเปิดให้ผู้ใช้งานสร้าง Docker Container ได้เองจากในหน้า Self-service Portal
  • AHV รองรับการทำ Hot Add สำหรับ CPU และ Memory ได้แล้ว
  • AHV รองรับการทำ GPU Passthrough ได้แล้ว
  • รองรับการใช้ Citrix XenServer ได้แบบ General Availability แล้ว
  • Prism สามารถสั่งอัปเกรดหลายๆ Cluster ในหลายๆ Site พร้อมกันได้จากการคลิกแค่ครั้งเดียว
  • ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่ง Threshold และเงื่อนไขในการรับ Alert ให้ โดยจะมี Machine Learning มาคอย Optimize การแจ้งเตือนให้ด้วย
  • Prism รองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 15 ภาษา
  • สามารถสั่งติดตั้ง Prism Central ได้จาก Prism Element ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว
  • Acropolis File Services (AFS) รองรับ Apple Mac Client ได้แล้ว
  • ปรับปรุงการทำ Snapshot Retention Policy และหน้า Self-service Recovery ให้ดีขึ้น
  • Acropolis Block Services (ABS) รองรับ Solaris 11 และ RHEL 6.8 แล้ว
  • ABS CHAP และ Multipathing รองรับ Oracle VM 3.4 แล้ว
  • มีการปรับ Admin Password ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และผู้ที่ตั้งรหัสผ่านไม่ปลอดภัยก็จะถูกบังคับให้ตั้งใหม่หลังอัปเกรดมาใช้ 5.1

ปัจจุบัน Nutanix มีลูกค้าองค์กรกว่า 5,350 รายทั่วโลก และติดตั้ง Nutanix ไปแล้วหลายหมื่น Node

 

ที่มา: https://www.nutanix.com/2017/05/01/upgrade-aos-5-1-today/

from:https://www.techtalkthai.com/nutanix-aos-5-1-is-released-with-better-xenserver-and-docker-support/

Citrix เปิดตัว Hypervisor Security Layer บน Citrix XenServer

เมื่อ Hypervisor กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของทุกองค์กร Citrix จึงตัดสินใจเสริมความปลอดภัยให้กับ XenServer ด้วยการสร้าง Security Layer ขึ้นมาอีกชั้น

Credit: Citrix

 

Citrix ได้จับมือกับ Bitdefender เพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยใหม่โดยเฉพาะสำหรับ Citrix XenServer ให้สามารถให้บริการ Hypervisor ได้อย่างปลอดภัย โดยการทำงานร่วมกันระหว่าง Citrix XenServer Direct Inspect API และ Bitdefender Hypervisor Introspection (HVI) เพื่อใช้ตรวจจับภัยคุกคามที่อยู่บน Virtual Machine (VM) โดยเฉพาะ

Security Layer นี้จะทำงานโดยการทำการ Scan หน่วยความจำของ VM แบบ Real-time และทำการ Monitor ระบบอยู่ตลอด เพื่อคอยตรวจหา Malware ที่อาจซุกซ่อนอยู่ในแต่ละ VM โดยเฉพาะ ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้ทั้ง XenServer, XenApp และ XenDesktop ของ Citrix นั้นมีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบทางด้านประสิทธิภาพต่อผู้ใช้งานระบบดังกล่าว และไม่ทำให้ VM Instance มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีภาระเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

 

ที่มา: https://www.citrix.com/blogs/2017/02/09/announcing-the-first-ever-hypervisor-security-layer-only-available-with-xenserver/

from:https://www.techtalkthai.com/citrix-announces-hypervisor-security-layer-in-citrix-xenserver/

Amazon EC2 รองรับการ Import/Export VM จาก VMware ESX/Workstation, Microsoft Hyper-V และ Citrix Xen ได้แล้ว

amazon_aws_management_portal_for_vmware_vcenter

Amazon ได้ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดสำหรับ EC2 โดยการรองรับให้สามารถทำการ Import/Export Virtual Machine ร่วมกับระบบ Hypervisor ชั้นนำที่เป็นที่นิยมในองค์กรอย่าง VMware ESX, VMware Workstation, Microsoft Hyper-V และ Citrix Xen ได้ ทำให้การย้ายระบบจาก On-premises มายัง Cloud ของ Amazon นั้นทำได้ง่ายยิ่งกว่าแต่ก่อนผ่านการ Import โดยมีระบบปฏิบัติการที่รองรับดังต่อไปนี้

  • VM Import/Export: Windows 10, SUSE/SUSE Linux Enterprise Server 11-12, Fedora 19-21, Oracle Enterprise Linux 6-7,
  • VM Import: Windows 7/8/8.1, Windows Server 2003/2008/2012, Red Hat Enterprise Linux, CentOS, Ubuntu, Debian

สามารถตรวจสอบรายการ OS ที่รองรับล่าสุดได้ที่ http://docs.aws.amazon.com/AWSEC2/latest/UserGuide/VMImportPrerequisites.html#vmimport-operating-systems และดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VM Import/Export ได้ที่ https://aws.amazon.com/ec2/vm-import/

ส่วนผู้ที่ใช้งาน VMware นั้น ทาง Amazon ได้เตรียม AWS Management Portal (AMP) for VMware vCenter เอาไว้ที่ https://aws.amazon.com/ec2/vcenter-portal/ สำหรับแปลง Image ของ VMware ให้กลายมาเป็น Amazon Machine Image (AMI) และ EC2 ได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกคลิกขวาที่ Image ที่ต้องการ แล้วทำการกด Migrate to EC2 ได้ทันทีโดยเฉพาะ และยังช่วยให้สามารถ Clone Image ต่างๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ความสามารถเหล่านี้สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยลูกค้าที่มีการใช้งาน AWS Connector อยู่แล้วสามารถทำการอัพเกรดไปเป็น AMP รุ่นล่าสุดได้ทันที

ที่มา: https://aws.amazon.com/about-aws/whats-new/2015/12/announcing-new-features-for-amazon-ec2-vm-import-export-and-aws-management-portal-for-vcenter/

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-ec2-launched-vm-import-and-export-from-vmware-esx-workstation-microsoft-hyper-v-and-citrix-xen/

พบบั๊กบน CPU x86 เปิดช่องโหว่ทำ DoS โจมตี Hypervisor เช่น Hyper-V, KVM, Xen และอื่นๆ ได้ ควรแก้ไขทันที

ช่วงนี้มีผู้ผลิตหลายรายออกมากล่าวถึงการพบบั๊กบน CPU x86 ที่ส่งผลกระทบให้ทำ DoS ใส่ Hypervisor จนหยุดทำงานได้ โดยมีข้อแนะนำว่าในช่วงนี้ให้ผู้ดูแลระบบเช็ค Patch ใหม่ๆ จากผู้ผลิต Hypervisor ค่ายที่ใช้งานอยู่ และคอยป้องกันการโจมตีต่างๆ ที่อาจหลุดรอดเข้ามาทาง Guest OS ให้ดี โดยช่องโหว่นี้มีรายละเอียดและวิธีการแก้ไขดังนี้

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

ช่องโหว่ที่พบนี้เป็นช่องโหว่ที่อยู่บน x86 CPU โดยตรง และเกี่ยวข้องกับการทำ Virtualization ที่ทำให้เกิด Infinite Loop ใน CPU โดยเป็นช่องโหว่ที่จะถูกเรียกใช้งานได้จากผู้ที่มีสิทธิ์ระดับ Admin ใน Guest OS ดังนั้นถ้าหาก Guest OS มีช่องโหว่ให้ทำ Remote Code Execution (RCE) ได้ ก็จะทำให้ Host ทั้งเครื่องนั้นถูก DoS ที่ระดับของ CPU ได้ทันที

ทางด้าน Microsoft Hyper-V ได้ออกรายละเอียดของช่องโหว่และการแก้ไขไว้ที่ https://technet.microsoft.com/library/security/3108638.aspx?f=255&MSPPError=-2147217396 แล้ว โดยระบุว่ากระทบทั้ง Windows 8.0/8.1/10, Windows Server 2008/2012 ส่วนทางด้าน Xen ก็ได้ออกรายละเอียดและแพทช์มาแล้วเช่นกันที่ https://technet.microsoft.com/library/security/3108638.aspx?f=255&MSPPError=-2147217396 ส่วนบน Citrix เองก็มีออกแพทช์มาเช่นกันที่ http://support.citrix.com/article/CTX202583 โดยทาง Red Hat เองก็รับรู้แล้วและกำลังดำเนินการอยู่ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://access.redhat.com/security/cve/cve-2015-8104

สำหรับผู้ที่ใช้งาน Hypervisor อื่นๆ ก็ต้องคอยตามข่าว Patch เรื่อยๆ นะครับ รวมถึง VMware และ Nutanix เองที่ยังไม่เห็นข่าวว่าตกลงได้รับผลกระทบหรือไม่ได้รับผลกระทบก็ยังต้องเฝ้าระวังกันต่อไปครับ

ที่มา: http://www.theregister.co.uk/2015/11/13/hypervisor_headaches_hosed_by_x86_exception_bugs/

from:https://www.techtalkthai.com/bug-on-x86-cpu-exposed-hypervisor-to-cpu-dos-issue/

Kaspersky Lab จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี Light Agent สำหรับปกป้อง Virtual Machine

kaspersky_logo

Kaspersky Lab ผู้ให้บริการโซลูชันด้านความปลอดภัยชั้นนำของโลก ได้ประกาศจดสิทธิบัตรสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยสำหรับ Virtual Machine (VM) โดยเฉพาะ เรียกว่าเทคโนโลยี Light Agent ซึ่งช่วยป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้หลากหลายรูปแบบ และมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องน้อยมากเสมือนไม่มี Agent ติดตั้งอยู่เลย

สถาปัตยกรรมใหม่ Security VM + Light Agent

ในสิทธิบัตรดังกล่าว Kaspersky Lab ได้แสดงโครงสร้างสถาปัตยกรรมใหม่สำหรับสภาวะแวดล้อมแบบ Virtual ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Security VM และ Light Agent ซึ่ง Security VM ทำหน้าที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ให้บริการโซลูชันหลากหลายสำหรับปกป้อง VM อื่นๆ ส่วน Light Agent จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลมาให้ Security VM เพื่อวิเคราะห์และตรจสอบว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ให้ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยที่เหนือว่าระบบ Agentless อย่างเห็นได้ชัด

kaspersky_lab_light_agent_1

Agent ตัวเล็กแต่ประสิทธิภาพเกินร้อย

ในระบบ Virtual นั้น จำเป็นต้องมีการจองทรัพยากรให้แต่ละ VM ได้แก่ RAM และ CPU ซึ่งยิ่งเราสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้มากเท่าไหร่ ก็สามารถรัน VM ได้เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งโซลูชันป้องกันภัยคุกคามในปัจจุบันค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการกินทรัพยากรของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เนื่องจากจำเป็นต้องติดตั้ง Agent ลงบนทุก VM Kaspersky Lab จึงได้ออกแบบสถาปัตยกรรมของ Agent สำหรับติดตั้งบนสภาวะแวดล้อมดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยเน้นที่การกินทรัพยากรของเครื่องต่ำ มีการแชร์ Cache ร่วมกัน แต่ยังคงไว้ซึ่งระบบรักษาความปลอดภัยศักยภาพสูงตามแบบฉบับของ Kaspersky Lab

ป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้อย่างครอบคลุม

เทคโนโลยี Light Agent สามารถตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงและตรวจสอบ Memory รวมทั้ง System Process ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ควบคุมแอพพลิเคชัน และควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น

  • ระบบป้องกันแบบ Multi-layer: ป้องกันการโจมตีจากภายในและภายนอกหลากหลายชั้น ได้แก่ Host-based IPS, Firewall และ Network Attack Blocker
  • Host-based IPS และ Firewall: ควบคุมทราฟฟิคที่วิ่งเข้าและวิ่งออกบนเครือข่าย
  • Network Attack Blocker: มอนิเตอร์ทราฟฟิคบนเครือข่าย Hypervisor คอยสอดส่องหามัลแวร์, การโจมตี และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์บนระบบ Virtual
  • Anti-phishing: ป้องกันผู้ใช้งานจากเข้าถึงเว็บไซต์ Phishing

โซลูชัน Light Agent พร้อมให้บริการวันนี้แล้ว โดยรองรับการทำงานบน Microsoft Hyper-V, Citrix XenServer และ VMware vSphere

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.kaspersky.com/business-security/virtualization/light-agent

ที่มา: http://www.kaspersky.com/about/news/product/2015/Kaspersky-Lab-patents-Light-Agent-Technology-for-the-Protection-of-Virtual-Machines

from:https://www.techtalkthai.com/kaspersky-lab-patents-light-agent-technology-for-virtual-machines/