คลังเก็บป้ายกำกับ: HYPERCONVERGED_INFRASTRUCTURE

Broadcom กับ VMware ตกลงยืดเดดไลน์ซื้อกิจการไปอีก 90 วัน

ผู้ผลิตชิปและซอฟต์แวร์รายใหญ่ Broadcom ตกลงกับ VMware บริษัทลูกในอนาคตนี้ว่าจะให้เวลาในการดำเนินการเพิ่มอีก 90 วัน ในการปิดดีลมูลค่าสูงในประวัติศาสตร์ 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เคยประกาศเริ่มต้นเป็นทางการเมื่อ 26 พฤษภาคมปีที่แล้ว

อ้างอิงจากเอกสารที่ยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของ VMware ที่ระบุว่าทั้งสองบริษัทออกข้อตกลงร่วมกันที่จะยืดเวลาวันสุดท้ายที่จะต้องปิดดีลควบรวมบริษัท จากเดิมที่ต้องทำให้เสร็จภายใน 12 เดือนหลังวันประกาศ

โฆษก Broadcom ให้สัมภาษณ์ว่า “เราตกลงกับ VMware กันแล้วว่าจะยืดวันปิดดีล (Outside Date) ในข้อตกลงควบรวมกิจกรรมที่เคยกำหนดไว้วันที่ 26 พฤษภาคม 2023 ออกไป ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับดีลมูลค่ามหาศาลแบบนี้”

“ซึ่งเราพยายามเร่งประสานกับหน่วยงานภาครัฐในประเทศต่างๆ ให้เสร็จภายในเวลาดังกล่าว” ทั้งนี้ เดดไลน์แรกสุดคือวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2023 ก่อนจะมีการเลื่อนออกไปอีก 3 ครั้ง จนล่าสุดบรอดคอมแพลนว่าน่าจะปิดดีลได้วันที่ 30 ตุลาคม 2023 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดปีงบประมาณพอดี

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – NW

from:https://www.enterpriseitpro.net/broadcom-vmware-extend-deadline-to-complete-acquisition-by-90-days/

Advertisement

ไมโครซอฟท์ซื้อ Fungible ยกระดับระบบฮาร์ดแวร์แบบ Composable

ไมโครซอฟท์ประกาศว่าได้ซื้อกิจการของ Fungible ที่พัฒนาระบบฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แบบประกอบ (Composable) โดยเฉพาะตัวหน่วยประมวลผลข้อมูล (DPU) ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของส่วนเน็ตเวิร์กและสตอเรจที่ประกอบเข้ามาในดาต้าเซ็นเตอร์ได้เป็นอย่างมาก

โดยยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไขดีลดังกล่าว สำหรับ Fungible นี้ ก่อตั้งเมื่อปี 2015 โดย Pradeep Sindhu ที่เคยเป็นผู้ก่อตั้งร่วมและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ Juniper Networks ร่วมกับ Bertrand Serlet สามารถระดมทุนได้รวมมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการระดมทุนรอบ Series C กว่า 200 ล้านดอลลาร์ฯ ที่นำโดยกองทุน Vision Fund ของ SoftBank

DPU ของ Fungible เป็นชิปที่พัฒนาสำหรับประมวลผลงานด้านสตอเรจและเน็ตเวิร์ก เพื่อแบ่งโหลดเซอร์วิสเหล่านี้ออกมาจากซีพียูหลัก มาพร้อมกับซอฟต์แวร์จัดการคอนโทรลเพลนที่เปิดให้สามารถประกอบตัวดาต้าแฟบริกประสิทธิภาพสูงได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ Fungible ยังพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับสร้างคลัสเตอร์สตอเรจอิสระแบบแฟลชล้วนในรูป NVMe-over-TCP ที่ชื่อ Fungible Storage Cluster ด้วย ซึ่งเคลมว่าสามารถปลดล็อกข้อจำกัดเดิมๆ ให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากกว่า และใช้พลังงานได้คุ้มค่ากว่า

from:https://www.enterpriseitpro.net/microsoft-acquires-fungible-gets-composable-infrastructure-hardware/

[คลิป VDO] หุ้น Nutanix ดิ่งกว่า 13% หลัง HPE ยืนยันไม่ได้จะซื้อ (ณ ตอนนี้)

หุ้น Nutanix ร่วงกว่า 13% ในช่วงก่อนเวลาซื้อขายทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากคู่กรณีที่เคยมีข่าวลือร่วมกันอย่าง Hewlett Packard Enterprise (HPE) ที่ออกมาเฟิร์มกับ Investing.com ว่า “ไม่เคยมีการพูดคุย” กับ Nutanix เรื่องจะซื้อกิจการมาก่อน

เมื่อตุลาคมที่ผ่านมา Nutanix เริ่มมองหาบริษัทที่จะเข้ามาซื้อบริษัทตัวเองหลังจากกล่าวว่ามีหลายเจ้าให้ความสนใจ อ้างอิงจากข่าวของ Wall Street Journal ต่อมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม บลูมเบิร์กก็รายงานว่า HPE แสดงความสนใจและจัดคุยรายละเอียดกันแล้ว

จนทำให้โฆษก HPE ต้องรีบออกมาแก้ข่าวดังกล่าว แถมข่าวหลังจากนั้นก็ประโคมว่า HPE ไม่สนใจบริษัทนี้แล้ว ทั้งนี้ เฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนอยู่อย่าง Legion Partners Asset Management พยายามกดดัน Nutanix ให้ขายต่อให้บริษัทที่มีศักยภาพสูงให้ได้ราคาดีที่สุด

ซึ่งพอไม่มี HPE อยู่ในลิสต์แล้ว ก็ไม่รู้จะมีบริษัทยักษ์ใหญ่รายไหนควรค่าแก่การซื้อกิจการที่น่าจับตามองต่อหรือเปล่า ฝั่งโฆษกของ Nutanix ก็ออกมาให้ข่าวกับ Investing.com เช่นกันว่า “เราขอไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องนี้”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Investing

from:https://www.enterpriseitpro.net/nutanix-sinks-as-hpe-confirms-it-is-not-discussing/

เอชพีอี แนะนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 รองรับโลกการทำงานแบบไฮบริด

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกาศเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่สำหรับการใช้งานบนคลาวด์ ที่ออกแบบเพื่อระบบแบบไฮบริด และการปฏิวัติทางดิจิทัลโดยเฉพาะ

เครื่องเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 ใหม่นี้จะช่วยให้องค์กรทั้งหลายได้ระบบประมวลผลที่สะดวกสบาย ไว้ใจได้ และยกระดับความสามารถในการทำงานได้ดีที่สุด เหมาะอย่างยิ่งกับเวิร์กโหลดสมัยใหม่หลายต่อหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น AI, ML, Data analytic, Virtual Desktop Infrastructure (VDI), Virtualization, Container แอปพลิเคชั่นสำหรับทำงานบนคลาวด์ แอปพลิเคชั่นที่มีเวิร์กโหลดกราฟิกหนักหน่วง เป็นต้น

“รากฐานของรูปแบบการทำงานไฮบริดก็คือระบบประมวลผล” Neil MacDonald รองประธานบริหาร และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์ Compute ที่ HPE กล่าว “HPE Compute พาธุรกิจให้ไปใกล้กับ Edge ที่เป็นจุดกำเนิดของข้อมูลมากที่สุด เป็นตำแหน่งที่ให้ประสบการณ์การทำงานบนคลาวด์แบบใหม่ ซึ่งเป็นที่ที่ระบบความปลอดภัยผสานเป็นหนึ่งเดียว ด้วยเซิร์ฟเวอร์ใหม่อย่าง HPE ProLiant Gen11 ที่ถูกออกแบบมาสำหรับโลกไฮบริดโดยเฉพาะ ให้การใช้งานผ่านคลาวด์ที่เรียบง่าย แต่คงไว้ซึ่งความปลอดภัยที่มั่นใจตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และออกมาเพื่อผลักดันประสิทธิภาพการทำงานให้ถึงขีดสุด”

รับชม VDO : สู่ยุคของดาต้าด้วย HPE ProLiant เจนใหม่ ให้คุณก้าวสู่โลกไฮบริดได้ตามต้องการ

เปิดประสบการณ์คลาวด์ที่ดีกว่า

บนเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant ของเราจะมีบริการ HPE GreenLake for Compute Ops Management (COM) ที่เป็นคอนโซลจัดการแบบคลาวด์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานประจำวันด้วยการสร้างระบบอัตโนมัติอย่างปลอดภัย ทั้งการเข้าถึง ตรวจสอบ และจัดการเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบประมวลผลรูปแบบไหนก็ตาม

คอนโซลนี้ให้ทั้งความเรียบง่าย รวมศูนย์กลางทุกอย่าง อัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ ให้ลูกค้าควบคุมทรัพยากรประมวลผลของตัวเองได้ครอบคลุมทั่วโลกแบบเจาะลึก ช่วยให้เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ที่กระจัดกระจายหลายพันตัวได้ง่าย ๆ แถมได้ประโยชน์จากการอัพเดทเฟิร์มแวร์ที่รวดเร็ว เหลือเวลามาจัดการงานทางธุรกิจอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องรับภาระจัดการระบบไอทีที่ซับซ้อนอีก

HPE GreenLake for Compute Ops Management (COM) ยังมีรายงานการปล่อยคาร์บอนสำหรับองค์กรที่ให้ความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว ไปจนถึงระบบโดยรวมทั้งหมดได้

ควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ

HPE มุ่งมั่นสร้างระบบที่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Edge ขึ้นไปจนถึงคลาวด์ ควบคุมดูแลตั้งแต่ระดับชิป ด้วย HPE Silicon Root of Trust ที่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของเราด้านความปลอดภัยของข้อมูล ช่วยปกป้องโค้ดเฟิร์มแวร์หลายล้านบรรทัด จากทั้งมัลแวร์ และแรนซั่มแวร์ได้ด้วย ร่องรอยทางดิจิทัลที่ต้องล็อกให้จำเพาะกับตัวเซิร์ฟเวอร์ จนปัจจุบัน HPE Silicon Root of Trust ได้ช่วยประกันความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ HPE มาแล้วหลายล้านเครื่องทั่วโลก

เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant เจนใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยนี้เช่นกัน พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่มากมายที่ช่วยปกป้องทั้งข้อมูลและตัวระบบ ได้แก่:

– การตรวจสอบความถูกต้องและตัวตนจริงของชิ้นส่วนอุปกรณ์ ด้วยระบบ HPE Integrated Lights-Out (iLO) – “iLO6” ใหม่ล่าสุด ที่เป็นซอฟต์แวร์จัดการเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล ให้ลูกค้าเข้าถึงอย่างปลอดภัยทั้งการตั้งค่า เฝ้าตรวจสอบ และอัพเดท HPE เซิร์ฟเวอร์ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์การยืนยันตนที่ใช้ Security Protocol and Data Model (SPDM) ซึ่งเป็นความสามารถด้านคีย์เข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้ยืนยัน และตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ตามมาตรฐานสากล

– ป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตัวตนที่จำเพาะของเซิร์ฟเวอร์ ด้วยใบรับรองดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์ม และใช้ Secure Device Identity (iDevID) เป็นพื้นฐานจากโรงงาน

– เพิ่มระดับการยืนยันตัวตนที่ถูกต้องด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยของการบูท และสถานะระบบ ผ่านตัว Trusted Platform Module (TPM)

– ใช้ระบบความปลอดภัยสูงสุดด้วย HPE Trusted Supply Chain ที่เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ด้วยการรับรองเซิร์ฟเวอร์ ที่เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยของข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงยกเลิกการใช้งาน และล่าสุด HPE ได้ขยายนโยบายบริการนี้ไม่เฉพาะแต่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการส่งออกไปทั่วโลกอีกด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพของทุกเวิร์กโหลดให้ถึงขีดสุด

องค์กรต่าง ๆ ใช้เวิร์กโหลดที่มีความต้องการระบบมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น AI, ML หรือโปรเจ็กต์ที่ต้องเรนเดอร์กราฟฟิกทั้งหลาย ที่ต้องการทรัพยากร และกำลังการประมวลผลที่เร็วแรงยิ่งกว่าเดิม ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant เจนใหม่นี้ได้พัฒนาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ข้อมูลอย่างเข้มข้น รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชิป 4th Generation AMD EPYC™, 4th Gen Intel® Xeon® Scalable, หรือ Ampere® Altra® และ Ampere® Altra® Max Cloud Native เป็นต้น

เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้าแล้ว เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 ตัวใหม่รองรับ I/O แบนด์วิธได้เพิ่มขึ้นสองเท่า เหมาะกับแอปพลิเคชั่นที่มีความต้องการพลังการประมวลผลสูงๆ เพิ่มคอร์ต่อซีพียูขึ้น 50% ยกระดับความเข้มข้นของการประมวลผลเวิร์กโหลด รวมทั้งเพิ่มความหนาแน่นของ GPU ประสิทธิภาพสูงอีก 33% ให้รองรับเวิร์กโหลดพิเศษอย่าง AI และที่เน้นหนักด้านกราฟิก

ผู้ให้บริการและองค์กรทั้งหลายที่กำลังหันมาใช้เวิร์กโหลดแบบคลาวด์เนทีฟ ล้วนต้องการระบบประมวลผลที่ออกแบบมาเพื่อคลาวด์เนทีฟโดยเฉพาะ ให้ได้ทั้งความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเอง ซึ่งเมื่อมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา HPE ได้ประกาศการเป็นผู้จำหน่ายเซิร์ฟเวอร์เซิร์ฟเวอร์ใช้ชิปสำหรับคลาวด์เนทีฟโดยเฉพาะ อย่าง Ampere® Altra® และ Ampere® Altra® Max Cloud Native Processor ในเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant RL300 Gen11 ตัวใหม่

ใช้โมเดลจ่ายตามปริมาณการใช้งานได้ กับ HPE GreenLake

องค์กรที่กำลังมองการปรับเปลี่ยนไปสู่อนาคต สามารถเลือกใช้ระบบประมวลผลยุคใหม่ของ HPE ได้ทั้งการจัดซื้อในรูปแบบปกติ หรือจะหันมาใช้โมเดลแบบ Pay-as-you-Go ด้วย HPE GreenLake ก็ได้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการผ่านคลาวด์ที่เปิดให้ลูกค้าเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ทันสมัย ในแบบที่เน้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเป็นสำคัญ รวมมากกว่า 70 บริการที่สามารถรันได้ทั้งฝั่ง On-Premises, ฝั่ง Edge, ในโคโลเคชั่น, หรือแม้แต่บนพับบลิกคลาวด์

นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถนำระบบเดิมที่มีอยู่มาเทิร์นเป็นเครดิต หรือลงทุนเพิ่มเฉพาะส่วนต่างเพื่ออัพเกรดเทคโนโลยีผ่านโครงการ HPE Financial Services (HPEFS) ได้ด้วย

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%8a%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%ad%e0%b8%b5-%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%b4/

เอชพีอี แนะนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 รองรับโลกการทำงานแบบไฮบริด

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกาศเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่สำหรับการใช้งานบนคลาวด์ ที่ออกแบบเพื่อระบบแบบไฮบริด และการปฏิวัติทางดิจิทัลโดยเฉพาะ

เครื่องเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 ใหม่นี้จะช่วยให้องค์กรทั้งหลายได้ระบบประมวลผลที่สะดวกสบาย ไว้ใจได้ และยกระดับความสามารถในการทำงานได้ดีที่สุด เหมาะอย่างยิ่งกับเวิร์กโหลดสมัยใหม่หลายต่อหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น AI, ML, Data analytic, Virtual Desktop Infrastructure (VDI), Virtualization, Container แอปพลิเคชั่นสำหรับทำงานบนคลาวด์ แอปพลิเคชั่นที่มีเวิร์กโหลดกราฟิกหนักหน่วง เป็นต้น

“รากฐานของรูปแบบการทำงานไฮบริดก็คือระบบประมวลผล” Neil MacDonald รองประธานบริหาร และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์ Compute ที่ HPE กล่าว “HPE Compute พาธุรกิจให้ไปใกล้กับ Edge ที่เป็นจุดกำเนิดของข้อมูลมากที่สุด เป็นตำแหน่งที่ให้ประสบการณ์การทำงานบนคลาวด์แบบใหม่ ซึ่งเป็นที่ที่ระบบความปลอดภัยผสานเป็นหนึ่งเดียว ด้วยเซิร์ฟเวอร์ใหม่อย่าง HPE ProLiant Gen11 ที่ถูกออกแบบมาสำหรับโลกไฮบริดโดยเฉพาะ ให้การใช้งานผ่านคลาวด์ที่เรียบง่าย แต่คงไว้ซึ่งความปลอดภัยที่มั่นใจตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และออกมาเพื่อผลักดันประสิทธิภาพการทำงานให้ถึงขีดสุด”

รับชม VDO : สู่ยุคของดาต้าด้วย HPE ProLiant เจนใหม่ ให้คุณก้าวสู่โลกไฮบริดได้ตามต้องการ

เปิดประสบการณ์คลาวด์ที่ดีกว่า

บนเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant ของเราจะมีบริการ HPE GreenLake for Compute Ops Management (COM) ที่เป็นคอนโซลจัดการแบบคลาวด์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานประจำวันด้วยการสร้างระบบอัตโนมัติอย่างปลอดภัย ทั้งการเข้าถึง ตรวจสอบ และจัดการเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบประมวลผลรูปแบบไหนก็ตาม

คอนโซลนี้ให้ทั้งความเรียบง่าย รวมศูนย์กลางทุกอย่าง อัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ ให้ลูกค้าควบคุมทรัพยากรประมวลผลของตัวเองได้ครอบคลุมทั่วโลกแบบเจาะลึก ช่วยให้เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ที่กระจัดกระจายหลายพันตัวได้ง่าย ๆ แถมได้ประโยชน์จากการอัพเดทเฟิร์มแวร์ที่รวดเร็ว เหลือเวลามาจัดการงานทางธุรกิจอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องรับภาระจัดการระบบไอทีที่ซับซ้อนอีก

HPE GreenLake for Compute Ops Management (COM) ยังมีรายงานการปล่อยคาร์บอนสำหรับองค์กรที่ให้ความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว ไปจนถึงระบบโดยรวมทั้งหมดได้

ควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ

HPE มุ่งมั่นสร้างระบบที่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Edge ขึ้นไปจนถึงคลาวด์ ควบคุมดูแลตั้งแต่ระดับชิป ด้วย HPE Silicon Root of Trust ที่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของเราด้านความปลอดภัยของข้อมูล ช่วยปกป้องโค้ดเฟิร์มแวร์หลายล้านบรรทัด จากทั้งมัลแวร์ และแรนซั่มแวร์ได้ด้วย ร่องรอยทางดิจิทัลที่ต้องล็อกให้จำเพาะกับตัวเซิร์ฟเวอร์ จนปัจจุบัน HPE Silicon Root of Trust ได้ช่วยประกันความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ HPE มาแล้วหลายล้านเครื่องทั่วโลก

เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant เจนใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยนี้เช่นกัน พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่มากมายที่ช่วยปกป้องทั้งข้อมูลและตัวระบบ ได้แก่:

– การตรวจสอบความถูกต้องและตัวตนจริงของชิ้นส่วนอุปกรณ์ ด้วยระบบ HPE Integrated Lights-Out (iLO) – “iLO6” ใหม่ล่าสุด ที่เป็นซอฟต์แวร์จัดการเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล ให้ลูกค้าเข้าถึงอย่างปลอดภัยทั้งการตั้งค่า เฝ้าตรวจสอบ และอัพเดท HPE เซิร์ฟเวอร์ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์การยืนยันตนที่ใช้ Security Protocol and Data Model (SPDM) ซึ่งเป็นความสามารถด้านคีย์เข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้ยืนยัน และตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ตามมาตรฐานสากล

– ป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตัวตนที่จำเพาะของเซิร์ฟเวอร์ ด้วยใบรับรองดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์ม และใช้ Secure Device Identity (iDevID) เป็นพื้นฐานจากโรงงาน

– เพิ่มระดับการยืนยันตัวตนที่ถูกต้องด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยของการบูท และสถานะระบบ ผ่านตัว Trusted Platform Module (TPM)

– ใช้ระบบความปลอดภัยสูงสุดด้วย HPE Trusted Supply Chain ที่เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ด้วยการรับรองเซิร์ฟเวอร์ ที่เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยของข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงยกเลิกการใช้งาน และล่าสุด HPE ได้ขยายนโยบายบริการนี้ไม่เฉพาะแต่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการส่งออกไปทั่วโลกอีกด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพของทุกเวิร์กโหลดให้ถึงขีดสุด

องค์กรต่าง ๆ ใช้เวิร์กโหลดที่มีความต้องการระบบมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น AI, ML หรือโปรเจ็กต์ที่ต้องเรนเดอร์กราฟฟิกทั้งหลาย ที่ต้องการทรัพยากร และกำลังการประมวลผลที่เร็วแรงยิ่งกว่าเดิม ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant เจนใหม่นี้ได้พัฒนาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ข้อมูลอย่างเข้มข้น รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชิป 4th Generation AMD EPYC™, 4th Gen Intel® Xeon® Scalable, หรือ Ampere® Altra® และ Ampere® Altra® Max Cloud Native เป็นต้น

เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้าแล้ว เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant Gen11 ตัวใหม่รองรับ I/O แบนด์วิธได้เพิ่มขึ้นสองเท่า เหมาะกับแอปพลิเคชั่นที่มีความต้องการพลังการประมวลผลสูงๆ เพิ่มคอร์ต่อซีพียูขึ้น 50% ยกระดับความเข้มข้นของการประมวลผลเวิร์กโหลด รวมทั้งเพิ่มความหนาแน่นของ GPU ประสิทธิภาพสูงอีก 33% ให้รองรับเวิร์กโหลดพิเศษอย่าง AI และที่เน้นหนักด้านกราฟิก

ผู้ให้บริการและองค์กรทั้งหลายที่กำลังหันมาใช้เวิร์กโหลดแบบคลาวด์เนทีฟ ล้วนต้องการระบบประมวลผลที่ออกแบบมาเพื่อคลาวด์เนทีฟโดยเฉพาะ ให้ได้ทั้งความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ของตนเอง ซึ่งเมื่อมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา HPE ได้ประกาศการเป็นผู้จำหน่ายเซิร์ฟเวอร์เซิร์ฟเวอร์ใช้ชิปสำหรับคลาวด์เนทีฟโดยเฉพาะ อย่าง Ampere® Altra® และ Ampere® Altra® Max Cloud Native Processor ในเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant RL300 Gen11 ตัวใหม่

ใช้โมเดลจ่ายตามปริมาณการใช้งานได้ กับ HPE GreenLake

องค์กรที่กำลังมองการปรับเปลี่ยนไปสู่อนาคต สามารถเลือกใช้ระบบประมวลผลยุคใหม่ของ HPE ได้ทั้งการจัดซื้อในรูปแบบปกติ หรือจะหันมาใช้โมเดลแบบ Pay-as-you-Go ด้วย HPE GreenLake ก็ได้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการผ่านคลาวด์ที่เปิดให้ลูกค้าเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ทันสมัย ในแบบที่เน้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเป็นสำคัญ รวมมากกว่า 70 บริการที่สามารถรันได้ทั้งฝั่ง On-Premises, ฝั่ง Edge, ในโคโลเคชั่น, หรือแม้แต่บนพับบลิกคลาวด์

นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถนำระบบเดิมที่มีอยู่มาเทิร์นเป็นเครดิต หรือลงทุนเพิ่มเฉพาะส่วนต่างเพื่ออัพเกรดเทคโนโลยีผ่านโครงการ HPE Financial Services (HPEFS) ได้ด้วย

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-proliant-gen11-new-release/

Enterprise ITPro พาทุกท่านเยี่ยมชมงาน Dell Technologies Forum 2022 Thailand

Dell Technologies Forum 2022 Thailand กับการรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุด จาก Dell Technologies และ Partner รวมถึงโซลูชันที่จะยกระดับ องค์กรของคุณไปอีกขั้น

from:https://www.enterpriseitpro.net/enterprise-itpro-dell-technologies-forum-2022-thailand/

ดาต้าเซ็นเตอร์ของ Google และ Oracle โดนคลื่นความร้อนจนระบบล่ม

ดาต้าเซ็นเตอร์ในกรุงลอนดอนที่มีทั้ง Google และ Oracle Corp. ใช้งานอยู่นั้นได้ล่มลงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หลังประเทศอังกฤษเจอกับคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้บางเว็บไซต์ล่มตามไปด้วย ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างอ้างว่าเป็นเพราะ “ระบบทำความเย็น” เป็นต้นเหตุ

โดยฝั่ง Oracle ขึ้นข้อความบนหน้าเว็บก่อนในช่วงเช้าตามเวลานิวยอร์ก ระบุว่า “ด้วยอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ” ส่งผลให้อุปกรณ์ทั้งระบบคลาวด์และเครือข่ายต่างๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์เขตลอนดอนตอนใต้มีปัญหา จากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทาง Alphabet Inc. ที่ดูกูเกิ้ลก็รายงานปัญหาลักษณะเดียวกันของดาต้าเซ็นเตอร์ลอนดอน

ในหน้าเว็บบริการลูกค้านั้น กูเกิ้ลเขียนว่าปัญหานี้กระทบกับผู้ใช้บริการคลาวด์ “เพียงกลุ่มเล็กๆ” เท่านั้น พร้อมทั้งเสริมว่าได้ปิดบริการของตัวเองบางส่วนไว้ “เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับเครื่องต่างๆ และอาการระบบล่มที่อาจลามไปมากกว่านี้ได้”

ถัดจากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมง กูเกิ้ลยังแสดงรายการของบริการคลาวด์ตัวเองที่ไม่สามารถให้บริการได้ในภูมิภาค ทางฝั่งบริการของเจ้าอื่นที่ได้รับผลกระทบ อย่างบริการเว็บโฮสติ้งของ WordPress ก็กล่าวโทษระบบกูเกิ้ลที่ล่ม ที่ทำให้บริการของตนเองล่มตามไปด้วยทั่วทั้งยุโรป

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – DatacenterKnowledge

from:https://www.enterpriseitpro.net/google-oracle-data-centers-knocked-offline-by-london-heat/

ใครว่าประสิทธิภาพมาพร้อมกับความปลอดภัยไม่ได้ แกะกล่อง(ไม่ต้องสุ่ม) IBM Power10 เซิร์ฟเวอร์ที่เพอร์เฟ็กต์สำหรับทุกธุรกิจ

IBM Power10 เซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ล่าสุด ในตระกูล Power Systems ที่อยู่คู่กับทุกธุรกิจมายาวนานกว่า 40 ปี คือขุมพลังอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยเต็มสูบ สำหรับแอปพลิเคชันหลักของทุกธุรกิจทุกอุตสาหกรรม และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้องค์กรสามารถตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มาพร้อมกับสถาปัตยกรรมซีพียูขนาด 7 นาโนเมตร ที่ภายในบรรจุทรานซิสเตอร์กว่า 18,000 ล้านทรานซิสเตอร์ แต่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถสร้างได้ เร็วและแรงกว่าซีพียู POWER9 รุ่นก่อนหน้าถึง 3 เท่า เหมาะกับองค์กรที่จะเลือกใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ และการใช้งานบนคลาวด์ เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความปลอดภัยโดยรวมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้ทันที ลูกค้าและบริษัทคู่ค้าทั่วโลก รวมไปถึง อาทิ SAP, Oracle ต่างก็ขานรับการมาของ Power10 เป็นอย่างดี เห็นได้จากผลทดสอบประสิทธิภาพหรือ Benchmarking จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ธุรกิจที่มีชื่อเสียง อาทิ SAP, Red Hat, Spec.org โดยได้อันดับหนึ่งหลายผลทดสอบอีกด้วย

นวัตกรรมขั้นสูงของ IBM Power10

จัดเต็มกับประสิทธิภาพอันทรงพลังของ Power10 ที่สำหรับระบบงานในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ ที่ทาง IBM ใส่ใจและอัดแน่นด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น

  • ซีพียูเล็กที่สุด 7 นาโนเมตร พร้อมประหยัดพลังงาน เป็นครั้งแรกที่ IBM พัฒนาชิปเซ็ตด้วยเทคโนโลยีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยที่สุด เพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผลเร็วแรงกว่ารุ่นเดิมถึง 3 เท่าลดปัญหาคอขวดของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ทันที ขับเคลื่อนประสิทธิภาพและลดต้นทุนจากการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง แต่ได้ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น และทำงานได้มากขึ้นด้วย
  • มาพร้อมชุดคำสั่งให้ประมวลผล Machine Learning ได้เร็วขึ้นกว่า 5 เท่า Power10 มาพร้อมกับชุดคำสั่ง Matrix Math Accelerator (MMA) ที่ยอดเยี่ยมในการประมวลผล AI และ Machine Learning โดยไม่จำเป็นต้องใช้ GPU ราคาแพง ให้ผลทดสอบ FP32, BFloat16 และ INT8 ได้สูงถึง 10, 15 และ 20 เท่า ตามลำดับ และในอนาคตยังจะมีการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเติมมาอีกในไม่ช้า
  • สามารถทำคลัสเตอร์ของหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 64 เพตาไบต์ – พร้อมเทคโนโลยีใหม่ Memory Inception ที่ทำให้ซ๊พียูสามารถรวมเอาหน่วยความจำทั้งหมดทำทำงานร่วมกันแบบคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการประมวลผลที่ซับซ้อน
  • ปกป้องข้อมูลส่วนตัวและสำคัญทางธุรกิจ พร้อมชิปเซ็ตเข้ารหัสถึง 4 เท่า – Power10 พร้อมรองรับ PDPA (Personal Data Protection Act) ชิปเข้ารหัสข้อมูลถึง 4 ตัว ที่ช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลภายในเครื่องได้เร็วเพิ่มขึ้น 4 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า บนทั้ง AIX, IBM i และ Linux โดยไม่กระทบการทำงานปกติ และยังมีเครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อช่วยจัดการกับการป้องกันไวรัส, Ransomware, Compliance และการพิสูจน์ตัวตนหลายช่องทาง (Multi-factor Authentication – MFA) ด้วย PowerSC ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับบริหาร Cybersecurity สำหรับไฮบริดคลาวด์โดยเฉพาะ
  • เซิร์ฟเวอร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด – โดยสถาบัน ITIC (Information Technology Intelligence Consulting) ได้ทดสอบและให้คะแนนความน่าเชื่อถือในระดับฮาร์ดแวร์ของ AIX และ Linux บน IBM Power Systems เป็นอันดับ 1 มาตลอดกว่า 13 ปีติดต่อกัน โดยรองรับ SLA มากกว่า 99.999 % หรือมี Downtime น้อยกว่า 2 นาทีเท่านั้น

ให้ความสำคัญกับทั้งลูกค้าเก่า และระบบงานสำหรับอนาคต

ระบบปฏิบัติการ AIX และ IBM i ที่เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับองค์กรในหลากหลายธุรกิจอุตสาหกรรมทั่วโลก และมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและมั่นใจกับ AIX และ IBM i มาตลอด ด้วยสิ่งที่ IBM ไม่เคยทอดทิ้งคือ ไม่ว่า IBM Power จะออกใหม่มากี่รุ่นก็ตาม ลูกค้าเดิมจะได้รับการแนะนำวิธีการย้ายระบบงานเดิมบนเครื่อง Power รุ่นเก่า ไปยังรุ่นใหม่ง่ายๆ ทำให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและอัพเกรดระบบโดยไม่จำเป็น และยังคงเป็นเช่นนั้นสำหรับ Power10 รุ่นใหม่ ยังสามารถใช้งาน AIX และ IBM i เวอร์ชันที่ออกมาเมื่อ 2-3 ปีก่อนได้เช่นเดิม รวมไปถึงเครื่องมือ runtime ต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาและเรียกใช้งานโปรแกรมอีกด้วย และยังช่วยลูกค้าลงทุนด้านฮาร์ดแวร์น้อยลง เพราะยังสามารถติดตั้งทั้งแอฟพลิเคชันใหม่ๆ ที่พัฒนาในรูปแบบ Cloud Native หรือ Microservice บน Container บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เดียวกับระบบงานเดิมที่ใช้ AIX หรือ IBM i ได้พร้อมกัน หากมีทรัพยากรเพียงพอ ไม่ว่าจะติดตั้งใช้งานในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือบนคลาวด์ที่มีเครื่อง Power Systems ให้บริการก็ตาม

ไม่ว่าลูกค้าจะติดตั้ง AIX, IBM i, หรือลีนุกซ์ บนเครื่อง Power10 ก็ตาม ก็สามารถได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์หรือคุณสมบัติใหม่ๆ จาก Power10 ด้วยเช่นกัน  เช่น การเข้ารหัสข้อมูลภายในหน่วยความจำด้วย Memory Encryption การป้องกันทางด้าน Cyber Attack และ Ransomware ด้วยการจัดสรรทรัพยากรในแต่ละพาร์ทิชันออกจากกันอย่างเด็ดขาด ถึงแม้จะทำงานอยู่บนฮาร์ดแวร์เครื่องเดียวกันก็ตาม การใช้งานร่วมกับเครื่องมือด้าน Cybersecurity ที่ชื่อว่า PowerSC หรือการเข้ารหัสข้อมูลบนอุปกรณ์สตอเรจด้วยฟีเจอร์ Cyber Vault เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่แยกย่อยไปตามแต่ละระบบปฏิบัติการเฉพาะอีกด้วย เช่น AIX สามารถทำงานร่วมกับโอเพ่นซอร์ส ได้อย่างไร้ปัญหา เช่น การเข้ารหัสและบีบอัดข้อมูล การพัฒนาโปรแกรมและนำไปใช้งานต่างแพลตฟอร์มได้โดยมีคอมไพเลอร์ขั้นสูงที่ช่วยให้นักพัฒนามั่นใจว่าโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนระบบปฏิบัติการหนึ่ง ไปทำงานหรือรันโปรแกรมดังกล่าวบนอีกระบบปฏิบัติการหนึ่งได้ทันที เช่น การเอาโมเดล AI ที่พัฒนาบนลีนุกซ์หรือเครื่อง x86 แล้วมาทำงานบน AIX ได้ทันที เป็นต้น

หรือระบบ IBM i ที่มีพาร์ทเนอร์ของ IBM ที่เข้มแข็ง หลายคนอาจจะคิดว่า IBM i จะมีแต่การใช้กับระบบงานเก่าๆ ที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก หรือรอวันตาย แต่จริงๆ แล้ว IBM i มีการพัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอด และมีการพัฒนาโปรแกรมทางธุรกิจเวอร์ชันใหม่ๆ มารองรับกับ Roadmap ของ IBM i และ Power Systems อาทิ โปรแกรมระบบ ERP ที่กลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมใช้งานอยู่บนแพลตฟอร์ม IBM i มาอย่างยาวนานและเหนียวแน่น นอกจากนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ปัจจุบัน IBM i ยังรองรับภาษาโปรแกรมใหม่ เช่น php, R, python, Java ทำให้นักพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ หรือ DevOps สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่คุ้นเคย โดยไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ให้เสียเวลา รวมไปถึงสามารถติดตั้งโปรแกรมโอเพ่นซอร์ส  รองรับการการผสานเข้ากับฐานข้อมูล Db2 หรือโปรแกรมหลักที่ใช้ภาษา RPG ได้ทันทีอย่างไม่มีปัญหา ในด้านประสิทธิภาพการทำงานของ IBM i บนเครื่อง Power10 ตัวล่าสุด สามารถดึงเอาประสิทธิภาพเชิงลึกและทรูพุตสูงสุดของฮาร์ดแวร์อย่างเต็มที่ไม่ว่าโปรแกรมนั้นจะใช้งานแบบ Single-threading หรือ multi-threading ก็ตาม

อีกการทำงานหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย ก็คือ Power10 นั้นยังสนับสนุนการติดตั้งใช้งานหรือรันแอฟพลิเคชันในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ และ Cloud Native Platform ระดับ Enterprise ด้วย Red Hat® OpenShift® Container Platform (RH OCP) และชุดโปรแกรมเพื่อธุรกิจ IBM Cloud Pak® ที่มีพื้นฐานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบ Container และโอเพ่นซอร์สที่นิยมใช้งาน เช่น Kubernetes, Dockers, MongoDB, PostgreSQL, NGINX, Node.JS, Jenkin และอีกมากมาย

ทำให้ลูกค้าที่เลือกใช้งาน Power10 มั่นใจได้ว่า คุณได้เลือกเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีทั้งประสิทธิภาพ เสถียรภาพ ความปลอดภัย ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้ระบบมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รองรับการทำงานทั้งในวันนี้และวันหน้าอย่างคุ้มค่าการลงทุน พร้อมสร้างความมั่นใจ ความยึดหยุ่น การประหยัดพลังงาน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจองค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมเป็นของแถมอีกด้วย

ที่หนึ่งด้านความปลอดภัยอันเหนือชั้น(กว่า)

Power10 ถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงมากขึ้น รวมถึงมีคุณสมบัติด้านความมั่นคงและทนทานที่ทุกองค์กรต่างก็มองหา โดยเมื่อพูดถึงความปลอดภัย สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ในส่วนของ Hypervisor ของ Power Systems ที่ใช้ชื่อว่า PowerVM ที่ติดตั้งมากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์อย่างแนบแน่นกับทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง เฟิร์มแวร์ และระบบปฏิบัติการทุกตังที่รองรับด้วยประสิทธิภาพสูงที่สุด

IBM Power10 ยังเสนอการเข้ารหัสหน่วยความจำในระดับล่างคือมีชุดคำสั่งในการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าแบบ end-to-end ให้เป็นไปตามกฎหมาย PDPA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยไม่ลดประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ ต้องขอบคุณที่ IBM ได้ฝังชิปเข้ารหัส AES ไว้ถึง 4 ชุด ทำให้การประมวลข้อมูลที่เข้ารหัสรวมไปถึงการถอดรหัสทำได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก และยังไม่กระทบกับการทำงานของระบบงานหลักหรือไปเบียดเบียนทรัพยากรของระบบเพื่อการเข้าและถอดรหัสนั่นเอง สร้างภูมิต้านทานให้ข้อมูลสำคัญและข้อมูลที่ต้องการดูแลต่อการไล่แกะถอดรหัสกุญแจจากเครื่องคำนวณควอนตัม ป้องกันการเข้าและถอดรหัสให้ปลอดภัยจากการโจมตีรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีควอนตัมความเร็วสูง (Quantum-Safe Cryptography) และรองรับการทำงานที่เรียกว่า Fully Homomorphic Encryption หรือการเข้ารหัสด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถนำข้อมูลที่เข้ารหัสอยู่ ไปประมวลผลต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาถอดรหัสก่อนหรือต้องเข้ารหัสใหม่ให้ยุ่งยาก

และด้วยเทรนด์ในการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ หรือการปรับปรุงแอปพลิเคชันเดิมให้เป็นรูปแบบ Cloud Native หรือ Microservices กันมากขึ้น ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจำเป็นจะต้องรองรับและปลอดภัยมั่นใจที่จะทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์กันอย่างหนาแน่นและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของระบบให้คุ้มค่าที่สุด Power10 ไม่ลืมที่จะใส่ความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับคอนเทนเนอร์และแอปพลิเคชันเล็กๆ เหล่านั้นอย่างดีที่สุด และให้มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ยี่ห้ออื่นในท้องตลาด คือการตรวจสอบการทำงานถึงระดับฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ของเครื่อง Power10 และยังติดตามตรวจสอบไปจนถึงการบูตคอนเทนเนอร์และเครื่องเสมือน (Virtual Machine) แต่ละตัวเพื่อตรวจสอบว่ามีการแก้ไขหรือสร้างโค้ดแปลกปลอมหรือมีมัลแวร์ฝังตัวอยู่ในเครื่องหรือไม่ หากก่อนหรือระหว่างการบูตระบบตรวจสอบพบความผิดปกติดังกล่าว ก็จะคัดแยกและกักกันคอนเทนเนอร์หรือเครื่องเสมือนเหล่านั้น ออกจากเครือข่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและมัลแวร์ไปยังเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ลดผลกระทบจากการบุกรุกได้เป็นอย่างดีนั่นเอง คุณสมบัตินี้ถูกรวมไว้ในโปรแกรมเสริม IBM PowerSC 2.0 เพื่อการบริหารจัดการและตรวจสอบด้านความปลอดภัยรองรับเครือข่ายไฮบริดคลาวด์สำหรับ IBM Power Systems ได้อย่างทั่วถึง

นอกจากการตรวจสอบการบูตที่ผิดปกติของทั้งคอนเทนเนอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนแล้ว PowerSC 2.0 ยังสามารถแจ้งเตือนปัญหาและการโจมตีจากผู้บุกรุกได้อย่างทันท่วงทีแบบเรียลไทม์ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับธุรกิจองค์กร โดยสามารถปรับแต่งหรือตั้งค่าได้ตามต้องการ หรือจะสร้างโพรไฟล์หรือเทมเพลตของการตั้งค่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ระบบปฏิบัติการ การตั้งค่าของเครื่องเสมือน การตั้งค่าของคอนเทนเนอร์ ให้ตรงตามมาตรฐานช้อบังคับความปลอดภัยสากล หรือ Compliance ต่าง ๆ เช่น SOX, ISO 27001, PCI-DSS, HIPAA, GDPR, PDPA และอื่นๆ ตลอดจนการตั้งค่าด้วยตัวเอง ไปจนถึงการสร้างเกราะป้องกัน (Hardening) ให้กับแอปพลิเคชันที่ใช้งานอย่างแพร่หลายอย่าง SAP HANA, Oracle Database ให้ลูกค้าและธุรกิจองค์กรมั่นใจเต็มร้อยกับการฝากระบบงานสำคัญให้ทำงานบนเครื่อง Power10 อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด

เข้ากันได้กับโอเพ่นซอร์สยอดนิยมบนไฮบริดคลาวด์

ที่ผ่านมา Power Systems รุ่นก่อนๆ รวมถึงรุ่นล่าสุดที่เรากำลังคุยกันอยู่ในบทความนี้ อย่าง Power10 ที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่ารองรับฐานข้อมูลระดับองค์กรอย่าง Db2 หรือ Oracle และอื่นๆ ได้เร็วกว่าแพลตฟอร์ม x86 มากกว่า 2 เท่าได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรจากหลากหลายภาคส่วนหลากหลายธุรกิจ แต่ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งแต่ POWER8 เป็นต้นมา IBM ยังต่อยอดให้ลูกค้ามีทางเลือกมากยิ่งขึ้นและใช้งานฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์ส (OSDB) ได้เช่นเดียวกันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลประเภท RDBMS อาทิ PostgreSQL, EDB, MySQL, MariaDB และอื่นๆ หรือฐานข้อมูลประเภท NoSQL เช่น MongoDB หรือ Redis เป็นต้น สามารถเลือกติดตั้งใช้งานได้ทั้งแบบปกติ บนเครื่องเสมือนหรือ LPAR  หรือพัฒนาอยู่บนคอนเทนเนอร์ก็ได้ตามต้องการ

แกะกล่องอย่างหมดเปลือก

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น แต่ด้วยคุณสมบัติที่น่าทึ่งและความสามารถที่โดดเด่น ทำให้ลูกค้าหลายรายทั่วโลกตั้งตารอการเปิดตัวของ Power10 เพื่อเลือกใช้งานเป็นแพลตฟอร์มหลักของระบบงานสำคัญต่างๆ ขององค์กร ควบคู่ไปกับการทำงานของแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในรูปแบบ Cloud Native ที่ทันสมัย คล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนทรัพยากรของระบบได้อย่างอิสระและไดนามิกเต็มที่ ทำให้ลูกค้าหลายรายเลือกที่จะรันทั้งระบบงานเดิมในรูปแบบ Virtualization หรือเครื่องเสมือน และแอปพลิเคชันบนคอนเทนเนอร์ ไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน โดย IBM แนะนำให้ลูกค้าติดตั้งใช้งานคอนเทนเนอร์บนแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย มีสเถียรภาพสูง ใช้งานง่าย และลดเวลาในการพัฒนาและการ Deploy ใช้งาน นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับเครื่องมือที่ครบครันสำหรับการใช้งานร่วมกันภายในองค์กรบนพื้นฐานของโอเพ่นซอร์ส และการสนับสนุนทางด้านเทคนิคระดับเอ็นเตอร์ไพรส์

หากคุณมีแอปพลิเคชันที่หลากหลายแพลตฟอร์มทั้งบน AIX, IBM i, และลีนุกซ์ รวมไปถึงเริ่มต้นหรือวางแผนขยายไปสู่แอปพลิเคชันแบบ Cloud Native อีกไม่นาน และยิ่งถ้าองค์กรใช้งานเครื่อง Power Systems รุ่นเก่าอยู่แล้ว การตัดสินเลือกใช้หรือวางแผนเพื่ออัพเกรดเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรในอนาคตอันใกล้ Power 10 น่าจะเป็นคำตอบแรกและคำตอบเดียวที่สมเหตุสมผล ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ที่หลายองค์กรพยายามหาทางลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย คุณจะไม่ผิดหวังกับ Power10 ที่ทำให้องค์กรประหยัดขึ้นอย่างน้อย 10% ทันทีที่เลือกใช้ ด้วยการเริ่มต้นจากระบบเล็กๆ และค่อยๆ ขยายเพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อยได้ตามการเติบโต หรือธุรกิจไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณการใช้งานเติบโตได้อย่างชัดเจน ลดความเสี่ยงที่จะต้องเสียเงินสำหรับระบบไอทีที่แพงกว่าในระยะยาว หรือถ้าหากองค์กรไม่มีงบประมาณที่จัดสรรไว้ล่วงหน้า การเลือกลงทุนแบบ Pay-per-use หรือจ่ายเงินเท่าที่ใช้งานจริง ทั้งในรูปแบบ Private Cloud ด้วยเครื่อง Power10 หรือเช่าใช้งานบน Public Cloud ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า Power Virtual Server ที่สามารถเลือกสเปคเครื่องเสมือนรวมถึงระบบแวดล้อมอื่นๆ บน IBM Cloud ที่มีดาต้าเซ็นเตอร์กระจายอยู่ถึง 15 แห่งทั่วโลก ให้คุณจ่ายเงินอย่างสมเหตุสมผลและตรงตามความต้องการมากที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจ IBM Power10 ในคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือต้องการทราบฟีเจอร์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อฝ่ายขายบริษัท เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อขอคำปรึกษาหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

อีเมล์puttakan@metrosystems.co.th หรือ dsgmkt@metrosystems.co.th  โทร: 02-089-4994 หรือ 02-089-4456

from:https://www.enterpriseitpro.net/ibm-power-10-for-the-it-and-business/

บทความพิเศษ : Modernize Applications with IBM Power Systems

สำหรับองค์กรที่มีแอปพลิเคชันสำคัญ ระบบฐานข้อมูล หรือระบบหลักที่เรียกว่า Mission Critical Systems เรื่องของเสถียรภาพและประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ลูกค้าองค์กรต้องพิจารณาเพื่อให้ระบบต่าง ๆ และแอปพลิเคชันเหล่านั้น ทำงานได้ตลอดเวลา และมีปัญหาและ Downtime น้อยที่สุด รวมไปถึงความปลอดภัยของระบบงานนั้น ๆ ด้วย และยิ่งปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและพัฒนาปรับปรุงแอปพลิเคชันขององค์กรให้ทันสมัยมากขึ้นที่เรียกว่า Modernization โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบ Cloud Native Application หรือ Microservices ที่ออกแบบเพื่อรองรับการประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ ลูกค้าต้องพิจารณาตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงการใช้บริการคลาวด์จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ในลักษณะของไฮบริดคลาวด์อีกด้วย โครงสร้างพื้นฐานก็ยิ่งต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นเพื่อให้รองรับการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ทางด้านธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม โดยเฉพาะหัวใจสำคัญของการให้บริการอย่างหน่วยประมวลผลหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรนั้น ต้องตอบโจทย์ทั้งหลายที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี และไม่ใช่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อจะมีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และคุ้มค่าคุ้มทุนเหมือน ๆ กัน โดยเฉพาะทุกวันนี้บริษัทต่าง ๆ เริ่มมีแนวคิดที่เกี่ยวกับการวัดและปรับแต่งแม่แบบทางสภาพแวดล้อมของระบบไอทีขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่เรียกกันว่า IT Sustainability เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกและคุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่สุดในวงจรของ ESG (Environment, Social, และ Governance) สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจ ต้องสามารถวัดผลและปรับแต่งแม่แบบทางสภาพแวดล้อมของระบบไอทีของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น เซิร์ฟเวอร์ของ IBM ที่ลูกค้าทั่วโลกให้ความไว้วางใจและกล่าวถึงว่าเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำที่เหมาะสมกับการที่ธุรกิจองค์กรที่จะเลือกใช้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักในส่วนของระบบประมวลผลการให้บริการที่มีความเสถียรสูงกว่าและมี Downtime โดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า น้อยกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นอื่น ๆ ในท้องตลาด จากผลการสำรวจขององค์การทางด้านความเสถียรของฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเป็นเวลามากกว่า 12 ปีติดต่อกัน จากองค์กรระดับโลกอย่าง Information Technology Intelligence Consulting Corp. (ITIC) ซึ่งสูงกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ x86 บางรุ่นถึงกว่า 17 เท่า หรือถ้าเทียบกับเครื่อง x86 ที่หลายองค์กรใช้งานก็เท่ากับช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐานถึง 122,501 ดอลลาร์ เลยทีเดียว

แน่นอนว่าเรากำลังพูดถึงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล IBM Power Systems ซึ่งปัจจุบันเพิ่งออก Power10 รุ่นย่อยต่าง ๆ มาใหม่ล่าสุดในปีนี้ โดยหน่วยประมวลผล Power10 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของไฮบริดคลาวด์ได้อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมแบบ Cloud Native

หากคนที่ยังไม่ทราบว่าทำไมเราถึงต้องการใช้งาน Cloud Native Platform นั้น ก็เนื่องจาก Microservices หรือ Container ที่เป็นพื้นฐานของโปรแกรมแบบ Cloud Native นั้นเหมาะสมกับการพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัยตามแนวคิดแบบ DevOps หรือ DevSecOps ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ลดความซับซ้อนหรือปัญหาในการเข้ากันได้ของแต่ละโมดูล มีความคล่องตัวสูง มีการใช้ทรัพยากรของระบบน้อยลง และยังมีข้อดีอื่นอีกมากมาย โดย IBM Power10 นั้นสนับสนุนการทำงานแบบ Cloud Native ระดับ Enterprise ด้วย Red Hat® OpenShift® Container Platform (RH OCP) และ IBM Cloud Pak® ทำให้ระบบที่ใช้ Power10 สำหรับการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัยนั้นมีความมั่นคง คล่องตัว ยืดหยุ่นสูง และปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน ความสามารถในการรวมศูนย์ระบบงานต่าง ๆ ในองค์กรและการปรับเปลี่ยนทรัพยากรได้แบบไดนามิก ช่วยให้ลูกค้าสามารถเรียกใช้รันระบบงานสมัยใหม่ที่เป็น Cloud Native Application ควบคู่ไปกับระบบงานแบบ VM-based Virtualization เดิม ให้สามารถทำงานพร้อมกันบนเครื่องเดียวกัน รองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายสำหรับระบบงานขององค์กรไม่ว่าจะเป็น AIX, IBM i และ Linux เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุดตามคอนเซปต์ของ Sustainable IT

สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือบน IBM Power10 นั้นมีประสิทธิภาพพร้อมความปลอดภัยสูง รวมถึงมีคุณสมบัติด้านความมั่นคงทนทานที่องค์กรต้องการหรือ RAS (Reliability, Availability, Serviceability) ที่สูงมาก เมื่อพูดถึงความปลอดภัย สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ในส่วนของ Hypervisor ของ Power Systems ที่เรียกว่า PowerVM นั้นถูกพัฒนาและติดตั้งมาให้ทำงานร่วมกันและเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ตั้งแต่ระดับฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ และระบบปฏิบัติการที่รองรับโดยเฉพาะบนเครื่อง Power10 อีกทั้งเรื่องของช่องโหว่ทางไซเบอร์ที่น้อยมาก อ้างอิงจากข้อมูลของสถาบัน NIST (National Institute of Standards and Technology) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 ล่าสุด มีรายงานการตรวจพบช่องโหว่ที่มีความเสี่ยงสูงเพียงแค่ 8 รายการ (CVE IDs) เท่านั้น โดยค้นหาจากฐานข้อมูล National Vulnerability Database และใช้คำค้นหาหรือ Keyword ว่า PowerVM ซึ่งน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Hypervisor ของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมอาจจะพบช่องโหว่ได้มากกว่า 100 รายการ เลยทีเดียว

อีกเรื่องหนึ่ง ต้องบอกว่าเป็นเวลามากกว่า 25 ปี ที่ลูกค้าได้เลือกใช้ IBM Power Systems กับระบบฐานข้อมูลที่สำคัญขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น Db2 หรือ Oracle และฐานข้อมูลอื่น เพราะมีความน่าเชื่อถือสูงและมี Downtime น้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดและได้รับการพิสูจน์มาแล้วเป็นอย่างดี และยังรองรับฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์ส (OSDB) เช่น PostgreSQL, EDB และ MongoDB ทั้งการติดตั้งใช้งานแบบปกติ หรือแบบ Container ก็ตามที ฐานข้อมูล OSDB กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะลูกค้าสามารถเลือกระดับของการสนับสนุนและการให้บริการจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ และมีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการปรับใช้งานฐานข้อมูลมาให้อย่างเพียบพร้อมสำหรับการใช้เป็นฐานข้อมูลของแอปพลิเคชันหรือระบบงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ หรือการย้ายฐานข้อมูลแบบเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ 35% – 80% และไม่ผูกติดกับผลิตภัณฑ์เดียว การเลือกใช้ IBM Power10 กับฐานข้อมูล OSDB สำหรับธุรกิจนั้น พร้อมกับพาร์ทเนอร์ที่มีประสบการณ์ทำให้คุรได้ระบบที่น่าเชื่อถือมากอย่างยิ่ง ช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกค้าต้องเผชิญด้วย เพิ่มความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ลดความเสี่ยงที่จะเจอกับเหตุการณ์ที่ระบบฐานข้อมูลไม่สามารถให้บริการได้ หรือลดการเกิด Downtime โดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี

ระบบปฏิบัติการ AIX และ IBM i เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและมั่นใจกับการทำงานมาอย่างยาวนาน และยังคงรองรับบนเครื่อง Power10 รุ่นใหม่ พร้อมกับมีบริษัทคู่ค้าหรือ ISV Partner ทั้งเก่าและใหม่ ที่รองรับธุรกิจและอุตสาหกรรมในหลาย ๆ กลุ่ม รวมถึงมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัยอยู่เสมอและต่อเนื่อง เช่น IBM i มีการเพิ่มความสามารถให้กับ Db2 และ RPG เป็นต้น และยังรองรับโอเพ่นซอร์สและภาษาโปรแกรมแบบใหม่ ๆ เช่น Java, php, Python, R และอื่น ๆ ให้สามารถทำงานบน AIX และ IBM i เวอร์ชันล่าสุดได้ทันที ลูกค้าที่เลือกใช้งาน Power10 ยังได้รับประโยชน์จากความสามารถและฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่โดดเด่น ทำให้ทั้งลูกค้า AIX และ IBM i สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้อย่างมีนัย นอกจากนี้ การทำงานในอนาคตระหว่าง Power10 กับระบบปฏิบัติการ AIX และ IBM i จะมีการรวมเอาคุณสมบัติการบีบอัดและการเข้ารหัสข้อมูลฝังมาบนชิป Accelerator เฉพาะทาง สามารถทำงานโดยไม่กระทบกับประสิทธิภาพโดยรวมของระบบอีกด้วย

สำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้แพลตฟอร์ม IBM Power Systems หรือยังไม่แน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในองค์กร จะสามารถทำงานบนเครื่อง Power10 ได้ไหม หรือมีงบประมาณในการซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำกัด แสดงว่าคุณยังไม่รู้ว่า IBM มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเช่าใช้เครื่อง IBM Power10 แบบคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงหรือ Pay-per-use บน IBM Public Cloud ด้วย โดยอยู่ในแคตาล็อกที่ชื่อว่า IBM Power Systems Virtual Servers on IBM Cloud หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PowerVS ก็ได้ ซึ่งให้บริการในลักษณะ Virtual Machine-as-a-Service (VMaaS) ที่ลูกค้าสามารถเริ่มต้นเช้าใช้งานคอมพิวเตอร์เสมือน หรือที่ IBM เรียกว่า LPAR แบบ Virtual Machine เปล่า หรือพร้อมระบบปฏิบัติการ AIX, IBM i และ Linux ได้ทันที รวมไปถึงการซื้อเป็น VM ที่มาพร้อมกับ Red Hat OpenShift หรือแม้แต่ SAP HANA ก็มีให้บริการเช่นกัน

โดยที่ลูกค้าสามารถย้ายระบบงานทั้ง Development, Test หรือแม้แต่ Production ในดาต้าเซ็นเตอร์ไปใช้บน PowerVS ที่อยู่บนคลาวด์ของ IBM ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ทันที โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือติดตั้งโปรแกรมใหม่แต่อย่างใด ทำให้ลูกค้าย้ายไปใช้งานบนคลาวด์ของ PowerVS ได้ง่าย รวดเร็วทันใจ และไม่ต้องเสียเวลาและกำลังคนมากมายอีกด้วย นอกจากนี้ ในกรณีที่องค์กรกำลังมองหาระบบ DR (Disaster Recovery) สำหรับแพลตฟอร์ม Power Systems ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเช่าใช้ทรัพยากรบนคลาวด์ของ PowerVS เท่ากับระบบ Production แต่สามารถเริ่มต้นใช้งานด้วยทรัพยากรขั้นต่ำที่จำเป็นก่อนหรือน้อยที่สุดเพียงแค่ 1 ซีพียูคอร์ ลูกค้าสามารถอุ่นใจได้ว่าเมื่อระบบหลักเกิดปัญหาและมีความจำเป็นต้องใช้งานระบบ DR เมื่อไหร่ ก็ค่อยทำการเพิ่มทรัพยากรบน PowerVS ให้เพียงพอได้ทันที ซึ่งวิธีนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้องค์กรได้มากทีเดียว และเป็นจุดเด่นสำคัญที่ลูกค้า IBM Power ชื่นชอบเป็นอย่างมาก

การย้ายระบบงานจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ทันที ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการย้ายระบบงานขึ้นคลาวด์ของ PowerVS เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หากลูกค้าเก่าและปัจจุบันที่ใช้เครื่อง IBM Power Systems รุ่นเก่าไม่ว่าจะเป็น POWER9, POWER8, POWER7 หรือเก่ากว่านั้น ก็สามารถย้าย LPAR หรือระบบงานไปทำงานบน Power10 รุ่นใหม่ทั้งบน On-prem และบน PowerVS ได้ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันหรือฐานข้อมูลใดๆ ก็ตาม หากทำงานบน LPAR และ PowerVM หากต้องการทดสอบการทำงานหรือคุณสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจก่อนจะลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Power10 ใหม่ สามารถติดต่อตามรายละเอียดข้างล่างนี้ เพื่อให้ทางบริษัทได้ดูแลและแนะนำพร้อมให้ลูกค้าสามารถทดสอบได้ฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
โทร 02 311 6881 #7151, 7156
Email : cu_mkt@cu.co.th

เขียนโดย
พิพัฒน์ เลขะชัยวรกุล, ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ IBM Server Solutions– บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด และ ธนกิจ โลเกศกวี, Presales Specialist – บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/modernize-applications-with-ibm-power-systems/

เชิญร่วมงาน Webinar : Software Defined IT Infrastructure แบบรวมศูนย์ (วันที่ 7 ก.ค. 65)

วันนี้มาทำความรู้จักกับ Sangfor HCI ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม Hyper-Converged Infrastructure ภายใต้แนวคิด “Software Defined IT Infrastructure แบบรวมศูนย์” โดย Sangfor HCI Solution มี feature หลักๆ อาทิเช่น เช่น การทำ Live Migration , VM HA , Distributed resource scheduler และอื่นๆ เป็นต้น และยังได้รับการยอมรับจาก Gartner Magic Quadrant ในกลุ่ม Hyper-Converged Infrastructure Software อีกด้วย

กำหนดการ

วัน : พฤหัสบดีที่ 7 กรกฏาคม 2565
เวลา : 14:00 – 15:30
ช่องทางการบรรยาย : zoom (ภาษาไทย)
วิทยากรผู้บรรยาย : คุณเปรมปรี ศรีสุวรรณ , System Engineer Specialist , Computer Union Co.,Ltd.

สิ่งที่ท่านจะได้ทราบเกี่ยวกับงานสัมมนาครั้งนี้

– Trend การใช้งานระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่
– ภาพรวมของทาง Sangfor
– ผลิตภัณฑ์ Sangfor มาพร้อมกับฟีเจอร์เด่นๆ
– เหตุผลๆ ดีในการเลือกใช้ Sangfor HCI
– กรณีศึกษาที่น่าสนใจของ HCI

ท่านที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้ที่ Link ข้างล่างนี้

https://us02web.zoom.us/webinar/register/WN_2u1ocNZpQlSkJcQ2SVEFpg

หมายเหตุ : งานนี้เหมาะสำหรับผู้ดูแลระบบไอทีในองค์กรต่างๆ ทั่วไป

from:https://www.enterpriseitpro.net/webinar-software-defined-it-infrastructure/