คลังเก็บป้ายกำกับ: VMWARE_DOCKER

VMware ออก vSphere 6.5, VSAN 6.5 และอื่นๆ พร้อมประกาศรองรับ Docker เต็มตัวแล้ว

ในงาน VMworld Europe ทาง VMware ได้ออกมาประกาศเปิดตัว VMware vSphere 6.5, VMware Virtual SAN 6.5, VMware vRealize Automation 7.2, VMware vCloud Air รุ่นใหม่ พร้อมทั้งยังได้ประกาศรองรับการทำงานร่วมกับ Docker ในระดับ Production ได้แล้วอย่างเต็มตัว

LOGO1

การประกาศรองรับการใช้งาน Docker อย่างเต็มตัวในครั้งนี้ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับ Dell EMC ที่เริ่มมีการปรับตัวเข้าหหาเทคโนโลยีอื่น ที่ตอบรับความต้องการของตลาด ในมุมของ VMware นั้น Docker ไม่ใช่คู่แข่งที่ต้องแข่งขันด้วย แต่เป็นเทคโนโลยีที่ควรให้การสนับสนุนและตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มลูกค้าองค์กรร่วมกัน

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามามีดังนี้

 

VMware vSphere 6.5

  • vCenter Server Appliance ช่วยให้ทำการ Patch, Upgrade, Backup, Recovery, High Availability ได้ง่ายกว่าเก่า, รองรับการบริหารจัดการได้มากกว่าเดิม 2 เท่า
  • ปรับปรุง REST API สำหรับใช้ในการทำ Automation ให้ดีขึ้น
  • HTML5-base vSphere Client ใช้งานง่ายขึ้น
  • รองรับการทำ Encryption ที่ระดับ Virtual Machine ได้ ปกป้องทั้งข้อมูล Data at Rest และ VM ที่กำลังทำ vMotion อยู่
  • รองรับการทำ Secure Boot
  • เพิ่ม VMware vSphere Integrated Containers เพื่อเชื่อมต่อกับ Docker และใช้งาน Container ภายใน vSphere ได้เลย
  • เปิดตัว vSphere Virtual Volumes 2.0 ที่รองรับการทำ Array Replication ได้ และทำ Real Application Clusters สำหรับ Oracle Database ได้

 

VMware Virtual SAN 6.5

  • รองรับการทำตัวเป็น iSCSI Target สำหรับให้ Server ภายนอกเชื่อมต่อเข้ามาได้แล้ว
  • มี Persistent Data Layer สำหรับทำงานร่วมกับ Container ผ่านทาง vSphere Integrated Containers
  • มีฟีเจอร์ Two-node Direct Connect ทำให้เชื่อม VSAN ใน ROBO Site ได้โดยไม่ต้องผ่าน Switch หรือ Router อีกต่อไป
  • มี REST API และ PowerCLI ใหม่สำหรับทำ Automation เพิ่มเติม
  • รองรับ Disk ที่ทำ 512-byte Emulated (512e) ได้แล้ว
  • มี Certification Program สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบ File Service และ Data Protection จากผู้ผลิตรายอื่นเพิ่มเข้ามา

 

VMware vRealize Automation 7.2

  • รองรับการจัดการ Microsoft Azure ได้แบบ Out-of-the-Box ทำให้ปัจจุบันรองรับการจัดการทั้ง VMware vCloud Air, AWS, Microsoft Azure
  • เพิ่มระบบ Admiral หน้า Portal สำหรับติดตั้งและจัดการ Container ร่วมกับ Docker ได้ผ่านทาง Service Catalog
  • VMware vRealize Log Insight 4.0 เพิ่มการแจ้งเตือนแบบใหม่ และปรับปรุง UI ให้ใช้งานได้ดีขึ้น
  • VMware vRealize Operations 6.4 ปรับปรุงการแจ้งเตือน, มีหน้าปรับแต่ง Dashboard ใหม่
  • รองรับการทำงานร่วมกับ VMware vSphere 6.5

 

VMware vCloud Air

  • เปิดตัว vCloud Air Disaster Recovery แบบ Beta
  • เพิ่มความปลอดภัย
  • รองรับ SD-WAN
  • เปิดตัว VMware Cloud Foundation Service แบบ Beta โดยรองรับการใช้ vSphere, VSAN, NSX จากบริการโดยตรงของ VMware

 

ผู้ที่สนใจโซลูชั่น Open Source Software ต่างๆ รวมถึง Linux/Unix/OpenStack, Data Center Infrastructure, VMware vSphere/VSAN/NSX/vCloud, Microsoft Windows Server และระบบ CMS สำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยระดับองค์กรพร้อมบริการครบวงจร ทั้ง WordPress และ Magento หรือกำลังมองหาทีมงาน Outsource Linux/VMware/Windows Systems Engineer สามารถติดต่อทีมงาน UnixDev ได้ทันทีที่โทร 081-651-9393 หรืออีเมลล์ info@unixdev.co.th

 

เกี่ยวกับ UnixDev

unixdev-logo-web

UnixDev คือทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้าน System Engineering ที่ครอบคลุมทั้ง Linux, Unix, Microsoft Windows และ VMware แบบ Full Stack ซึ่งสามารถให้บริการในการตรวจสอบแก้ไขปัญหาและปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยสำหรับระบบ Hypervisor, Operating System, Application, Web Application ไปจนถึง Database แบบครบวงจร https://www.unixdev.co.th

 

ที่มา: http://www.theregister.co.uk/2016/10/18/vsan_vsphere_vrealize_vmware_docker/

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-announces-vsphere-6-5-vsan-6-5-and-many-others-with-fully-docker-support/

แง้มเทคโนโลยี VMware EVO SDDC เทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนแปลง Data Center องค์กรในปีหน้า กับ VMware Thailand

พอดีทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าร่วมในงาน Blogger Session ของทาง VMware Thailand นะครับ ก็ขอสรุปเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

 

ความต้องการในระบบ Data Center ที่เปลี่ยนไปในประเทศไทย

จากผลสำรวจในงานสัมมนาของ VMware ที่จัดในไทยล่าสุดนี้ ทาง VMware ได้ทำการสำรวจผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน และได้ผลสำรวจที่น่าสนใจดังนี้

Top 3 ความต้องการจากฝั่ง Business นั้นได้แก่ Resource Optimization ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าสูงสุด, Bringing New Product/ Service to the Market นำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาดให้รวดเร็วที่สุด, และ Greater Ecosystem Collaboration สามารถประสานงานร่วมกันภายใน Ecosystem ให้ได้ดีขึ้น

ในขณะที่ Top 3 ความต้องการจากฝั่ง IT นั้นได้แก่ Operational Efficiency ต้องการที่จะดูแลรักษาระบบ IT Infrastructure ให้ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น, Disaster Recovery/Business Continuity ต้องการเสริมความทนทานของระบบ, และ Security ต้องการรักษาความปลอดภัยของระบบ

ความต้องการเหล่านี้ถือว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ IDC ทำนายเอาไว้ โดยทาง IDC ได้ทำนายแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะเป็นที่นิยมเอาไว้ด้วยกัน 4 ข้อ ได้แก่ Software Defined Networking and Storage, Converged Infrastructure, Software Defined Data Center และ Open Source for Cloud ซึ่งต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่สามารถมาตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้

หลังจากนี้จะก้าวไปสู่โลกของ 4th Platform แล้ว และเพื่อให้ธุรกิจในไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น สิ่งที่ธุรกิจในไทยต้องการจึงมีดังนี้

  • 88% มอง Cloud เป็นทางที่จะทำให้เกิด Innovation ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
  • 75% ของธุรกิจต้องการ Mobility
  • 3 สิ่งที่ต้องมีในทุกๆ โซลูชั่นที่จะสร้างขึ้นมาได้แก่ Scalability, Flexibility และ Simple to Manage

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยกำลังจะต้องปรับตัวไปเป็นยุคของ Mobile Cloud กันแล้ว

 

VMware สู่การรองรับทุกเทคโนโลยีในอนาคตด้วยแนวคิด Ready for Any

Ready for Any คือคำที่ VMware ใช้นิยาม Infrastructure ถัดไปในอนาคต ในขณะที่ Skill Set ของคนในวงการ IT นั้นจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความสามารถในแนวกว้างขึ้นและลึกขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโนโลยีใหม่ๆ ได้อยู่ตลอด รวมถึงองค์กรต่างๆ ก็ต้องเพิ่มความคล่องตัวที่จะเข้าสู่การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ และปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็ว

ทาง VMware นั้นมองว่า Challenge 3 ประการของเทคโนโลยีในวันนี้มีดังนี้

  • Cloud ยังเป็น Silos แยกระหว่าง Cloud และ On-premises ออกจากกัน
  • Application ยังเป็น Silos แยกระหว่าง Traditional และ Cloud-Native ออกจากกัน
  • Device Proliferation อุปกรณ์เกิดขึ้นใหม่เยอะมาก และแยกระหว่าง Content กับ Application ออกจากกัน

สิ่งที่ VMware ทำมาตอบรับกับ Challenge ทั้ง 3 ก็คือแนวคิดดังนี้

  • One Cloud มองระบบทั้งหมดเป็น Cloud เดียวกัน
  • Any Application รองรับทุกๆ Application โดยไม่สนใจ Infrastructure ที่ต้องการ
  • Any Device รองรับการใช้งานได้จากทุกอุปกรณ์

จากกลยุทธ์นี้ ทำให้ Portfolio ของ VMware แบ่งออกด้วยกันเป็น 3 ชั้น ได้แก่ Infrastructure, Application และ Device โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทั้ง 3 เทคโนโลยีนี้ ช่วยผลักดันให้ลูกค้าของ VMware สามารถปรับตัวเข้าไปสู่ยุคของ Mobile-Cloud ให้ได้รวดเร็วที่สุด

 

ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของ IT Infrastructure สำหรับองค์กร

ทิศทางที่ VMware มองว่าจะเป็นอนาคตต่อไป ก็คือการมุ่งไปสู่โลกที่ Application เป็นพระเอกหรือเรียกได้ว่าเป็นโลกของ DevOps ด้วยเทคโนโลยี 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ Run, Build, Deliver และ Security ซึ่งถึงแม้เทคโนโลยีที่มาแรงอย่าง Docker นั้นจะสามารถตอบโจทย์ของการ Run, Build และ Deliver ได้ แต่ Docker เองก็ยังคงขาดประเด็นทางด้าน Security อยู่ ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว VMware ก็ต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้ภาพนี้ครบสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

นิยามที่น่าสนใจจาก VMware คือการที่ Cloud ควรจะเป็นระบบที่เพิ่มความยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการทำงานให้กับองค์กร รวมถึงรองรับการทำ DevOps ต่อไปได้ในอนาคต ในขณะที่ยังคงบริหารจัดการและดูแลรักษาได้โดยง่าย โดยไม่ขึ้นกับว่า Cloud จะถูกติดตั้งใช้งานอยู่ที่ไหน ซึ่งผู้บริหารในองค์กรควรมองข้อดีของ Cloud ในจุดนี้ก่อน ก่อนที่จะเริ่มเลือกว่าจะลงทุนไปทาง Public Cloud, Private Cloud หรือ Hybrid Cloud ดี

One Cloud คือระบบ Hybrid Cloud จาก VMware ที่อนาคตจะสามารถทำการเชื่อมต่อกับ Docker และ CoreOS ได้นอกเหนือไปจากการควบคุม Virtual Machine โดยแนวทางก็คือการให้ Docker ทำงานอยู่บน CoreOS ที่มีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยในการใช้งานได้ในระดับองค์กร ทำให้องค์กรสามารถทำ DevOps ได้อย่างยืดหยุ่นและปลอดภัย ซึ่งภาพนี้คาดว่าจะเสร็จภายใน Q3 ของปี 2016 ที่จะมาถึงนี้

โดยในการทำ Hybrid Cloud นี้ ทาง VMware จะเชื่อม Private Cloud เข้ากับ Public Cloud (vCloud Air) เข้าด้วยกันและบริหารจัดการ่วมกันผ่าน vCloud Air Network และมีระบบบริหารจัดการ Storage ให้กลายเป็น Pool เดียวและมองเป็น Object ด้วย VASA เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลและอุปกรณ์ Storage ต่างๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้น

Any Application คือการที่ One Cloud สามารถรองรับทุก Appliccation ได้ และเชื่อมต่อไปยัง Device ใดๆ ก็ได้ โดย VMware มองว่าการแปลงข้อมูลเป็นภาพนั้นสามารถทำได้ง่ายที่สุด จึงใช้แนวทางการเรียก Application ผ่าน Client หรือ Browser จาก Horizon View ได้ รวมถึงมีระบบ VMware Identity Manager ช่วยทำ Single Sign-On ได้

Software Defined Data Center (SDDC) ในมุมมองของ VMware นั้นจะประกอบไปด้วย Compute, Network, Storage และควบคุมหรือบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบทั้งหมดนี้ด้วยระบบ Management and Automation เพื่อให้ Operation ในการบริหารจัดการ Data Center สามารถทำได้จากศูนย์กลางอย่างรวดเร็ว โดยในตอนนี้ VMware รองรับการบริหารจัดการ Hypervisor จากผู้ผลิตรายอื่นๆ เช่น KVM และ Hyper-V ได้ผ่านทาง VIO VMware Integrated OpenStack รวมถึงจะทำให้รองรับการทำ Auto-scaling ได้เหมือระบบ Public Cloud อีกด้วย

 

VMware EVO SDDC เทคโนโลยีเปิดศักราชใหม่ของ VMware ในปีหน้า

VMware EVO SDDC นั้นเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อยอดมาจาก VMware EVO RAIL ซึ่งจะมาเป็นโซลูชั่น Converged Infrastructure ที่มีขนาดเริ่มต้นที่ครึ่งตู้ Rack และสามารถเพิ่มขยายได้ทีละ Server แบบ Hyperconverged โดยการขายและการสนับสนุนนี้จะทำผ่านทาง Partner ที่เป็นผู้ผลิตระบบ Server, Storage และ Software ซึ่งยังไม่ประกาศรายชื่อออกมา

vmware_evo_sddc_software_architecture

Vendor ที่จะมาเป็น Partner ในส่วนของ VMware EVO SDDC นี้จะทำหน้าที่เตรียม Hardware ต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบ Converged Infrastructure ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Management Switch, Top of Rack, Inner Rack Spine Switch, Rack Mount Server with Storage หรือ Rack Power Distribution พร้อมทั้งติดตั้งชุด Software ของ VMware ลงไป ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้ง Software อะไรของ VMware ลงไปได้เองแบบ Automated และใช้ vRealize Automation เพื่อทำ Catalog ให้เป็น Service Portal สำหรับแต่ละระบบได้ หรือจะใส่ Horizon Suite ลงไปเป็น VDI ก็ได้เช่นกัน

VMware EVO SDDC นี้จะแตกต่างจาก Converged Infrastructure จากผู้ผลิตรายอื่นพอสมควร ด้วยแนวคิดที่ว่า VMware EVO SDDC นี้จะต้องรองรับแนวคิด Ready for Any ดังนั้นมันจึงจะต้องกลายเป็นระบบ Cloud สำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับการรองรับ Application ทุกรูปแบบได้ทันที

vmware_evo_sddc_manager_dashboard

ภายในของระบบ VMware EVO SDDC นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

  • VMware VSAN 6.1 อัพเดตล่าสุดเพิ่มการรองรับ vSphere Replication, Stretched Cluster, SMP-FT, Oracle RAC, Windows Server Failover Clustering, ทำ L2 ข้ามสาขาร่วมกับ NSX ด้วย, รองรับ Intel NVMe, รองรับ Diablo Ultra DIMM, มี Health Check Plugin
  • VMware NSX ทำ Microsegment ที่บังคับ Policy ตามระดับ VM และ Application ได้ และทำงานร่วมกับ Arista, Cumulus, F5 ได้แล้ว
  • VMware EVO SDDC Manager หน้า Dashboard สำหรับบริหารจัดการสร้างและติดตามการทำงานของ EVO SDDC
  • VMware vRealize Operations 6.1 รวบรวมข้อมูลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน EVO SDDC เพื่อทำการ Monitor และทำ Load Balancing ตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ได้ รวมถึงมีการแจ้งเตือนถึงสิ่งที่ควรจะทำเพื่อ Optimize หรือการทำ Capacity Planning สำหรับระบบทั้งหมดได้
  • VMware vRealize Log Insight 3.0 รวบรวมข้อมูล Log และแสดงผลเป็น Dashboard ต่างๆ ตามเงื่อนไขการ Filter ที่ต้องการได้
  • VMware Site Recovery Manager 6.1 ทำหน้าที่ในการกำหนด Task & Plan ของระบบ Disaster Recovery ทั้งหมดได้ โดยเพิ่มการทำงานร่วมกับ VMware NSX เพื่อทำ DR สำหรับเครือข่ายของ Data Center, การทำ Zero-downtime Application Mobility ร่วมกับ EMC VPLEX, IBM SVC และอื่นๆ ได้ และทำ Aumation Script สำหรับการย้ายหรือการบูทเรื่องในอีกสาขาได้
  • VMware Integrated OpenStack สำหรับการใช้ OpenStack ในการทำ Automation สำหรับ VMware, KVM และ Hyper-V
  • vSphere Integrated Containers สามารถบริหารจัดการ Container ได้ และยังใช้ vRealize ในการจัดการ Docker ได้ด้วย
  • VMware Photon Platform เป็น Linux ตัวเล็กๆ ที่มี Docker อยู่ภายใน พร้อม Photon Controller ที่เอาไว้ติดตั้งบน VMware Workstation หรือ VMware Fusion และ AppCatalyst บนเครื่อง Client
  • สำหรับระบบ Big Data จะมี Project Fargo ที่สามารถทำ Instant Clone ข้อมูลขึ้นมาใช้วิเคราะห์ได้ทันที โดยการ Clone นี้จะทำขึ้น Memory โดยตรงทันที และต้องใช้ Memory ที่เพียงพอ
  • สามารถติดตั้ง Pivotal ลงใน VMware EVO SDDC ได้แบบ Automated ได้ด้วย
  • มีการเก็บ Repository Image เอาไว้ภายในด้วย
  • VMware Project A2 ประกอบไปด้วย Identity Management Advanced (ส่วนหนึ่งของ AirWatch สำหรับทำการ Enroll, ควบคุมการตั้งค่า, ควบคุมด้านความปลอดภัย, การทำ App Catalog, การยืนยันตัวตน) และ AppVolume (สำหรับ Provision App ไปยัง Windows Desktop/VM) และสามารถทำการ Enroll Windows 10 เข้ามาในระบบเพื่อให้ใช้งาน Application ขององค์กรแบบ Mobile ได้ทันที
  • VMware Horizon 6.2 รองรับการบริหารจัดการ VDI หลายๆ สาขาได้, สามารถใช้ vGPU สำหรับให้บริการ Virtual Desktop ได้ (สูงสุด 32 Client ต่อ 1 การ์ดได้), ทำ Multifactor Authentication ได้, รองรับ FIPS-140
  • VMware Project Enzo สำหรับการบริหารจัดการ VMware Horizon ทั้งหมด แบ่งเป็น Enzo Control Plane สำหรับการบริหารจัดการและการดูแลรักษา, Enzo Smart Node สำหรับสร้าง Desktop และ Apps ได้, Enzo Infrastructure สำหรับการจัดการ Infrastructure ของ VDI และยัง Integrate กับ Instant Clone ได้ ทำให้รับ Spike Traffic ได้อย่างรวดเร็ว และ Clone 2,000 Desktop ได้ในเวลาเพียง 20 นาที
  • VMware Fusion 8 และ VMware Workstation 12 ทั้งสองระบบนี้ใช้ Key เดียวกัน เหมาะสำหรับคนที่มีทั้ง 2 Platform

ถ้าจะเรียกว่า VMware EVO SDDC นั้นเป็นชุดสำเร็จรูปเอนกประสงค์จาก VMware ที่ใส่ License ทุกอย่างมาให้ใช้งานได้ตามต้องการสำหรับการทำ Software Defined Data Center เพื่อสร้าง Cloud ที่รองรับการใช้งานและการเพิ่มขยายได้อย่างอิสระ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานระดับองค์กรที่ต่อไปจะได้มุ่งเน้นกับการสร้าง Application ใหม่ๆ มาตอบโจทย์ของธุรกิจโดยไม่ต้องกลับมาพะวงกับ IT Infrastructure ได้ทันทีก็คงจะไม่ผิดนัก

vmware_evo_sddc_vmw-network-deployment-model-lg

เชื่อมต่อ Mobile Device เข้ากับ VMware EVO SDDC ด้วย AirWatch by VMware

เพื่อให้ภาพของ Mobile-Cloud นั้นครบถ้วนสมบูรณ์ AirWatch จะมีบทบาทหลักๆ ในการจัดการฝั่ง Mobile และเชื่อมต่อ Mobile Device ให้มาใช้งาน Application ที่อยู่บน Hybrid Cloud ขององค์กรนั่นเอง โดยทีมงาน VMware Thailand ได้ทำการ Demo ความสามารถต่างๆ ของ AirWatch ดังต่อไปนี้ให้ดูกัน

  • มีหน้า Dashboard
  • รองรับ Device ได้หลากหลาย
  • มี Secure ContentLocker ใช้แทน DropBox สำหรับองค์กรได้ และทำงานร่วมกับ 3rd Party DLP ได้
  • สามารถ Provision Application ได้ ทั้ง App สาธารณะและ App ที่พัฒนาเอง
  • สามารถ Wrap Application ได้
  • สามารถทำ Single Sign-On ด้วย SAML ได้
  • มี Video App สำหรับให้่ส่ง Video ภายในองค์กรได้
  • สามารถกำหนดสิทธิ์ผู้ดูแลให้ต่างกันตามหน้าที่ได้
  • สามารถดูสถิติการใช้งาน, การเชื่อมต่อเครือข่าย และอื่นๆ ได้
  • สามารถกำหนดกลุ่มของผู้ใช้งานและส่ง Cert/Token ไปได้
  • กำหนด Printer Setting ได้
  • สามารถ Wipe ข้อมูลได้
  • สามารถ Track GPS Location ได้
  • กำหนด Security Profile ที่จะบังคับใช้สำหรับแต่ละเครื่องได้
  • มีระบบ Inventory สำหรับอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้
  • เปิด Horizon View แล้วใช้งาน ArcGIS บน VM ที่ใช้ vGPU ให้ดู Render งานได้จริง

โดยรวมก็อย่างที่ทราบกันดีว่า AirWatch นั้นเป็นโซลูชั่นเพื่อให้สามารถทำงานและ Deploy เครื่อง Client พร้อมทั้งสามารถเข้าถึง Application และข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานได้โดยตลอด ดังนั้นใน Demo นี้ก็รวมทั้งเรื่องของการบริหารจัดการและการใช้งาน Application ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและปลอดภัย

นอกจากนี้ AirWatch เองก็กำลังพัฒนาโซลูชั่นสำหรับควบคุม Internet of Things (IoT) Devices ให้มีความปลอดภัยและสามารถบริหารจัดการได้ง่ายอยู่ เพราะ IoT เองก็จะกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญขององค์กรในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจกลุ่มใดก็ตาม

 

กำหนดการวางจำหน่ายของ VMware EVO SDDC

ในเวลานี้ VMware EVO SDDC ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดวางจำหน่าย โดยยังมีเพียงแค่ลูกค้าทดสอบเท่านั้น สำหรับใครที่สนใจก็รอติดตามข่าวจาก VMware ต่อไปก่อนนะครับ แต่ทั้งนี้ Server / Storage Vendor แต่ละรายที่จะเป็น Partner กับ VMware EVO SDDC ก็อาจจะมีการเติม Solution ใหม่ๆ เสริมเข้าไปด้วยในเซ็ตของ VMware EVO SDDC ที่ตัวเองจำหน่าย เหมือนที่เคยเป็นมาก่อนใน VMware EVO RAIL นั่นเอง

vmware_evo_sddc_vmw-physical-infrastructure-lg

Dell เข้าซื้อ EMC แล้วส่งผลกระทบอะไรกับ VMware บ้าง?

เป็นประเด็นน่าสนใจที่เกิดการพูดคุยแทรกกันขึ้นมาระหว่าง Session ครับ โดยหลังจากที่ EMC เข้าซื้อกิจการของ EMC ก็ส่งผลกระทบต่อหุ้นของ VMware เช่นกัน โดยหุ้นของ VMware นั้นลดลงจาก 90 กว่า USD เหลือเพียง 60 กว่า USD เท่านั้น แต่เนื่องจากว่าบริษัทอย่าง VMware นั้นจะมี Value สูงสุดก็ต่อเมื่อสามารถทำงานได้อย่างอิสระและไม่พึ่งพิงกับใคร ซึ่งก่อนหน้านี้ EMC ที่ถือหุ้น VMware มาโดยตลอด ก็เข้าใจในจุดนี้ดีและไม่ได้เข้าไปยุ่งกับ Operation ภายในของ VMware แต่อย่างใด ทำให้ในเวลานี้ที่ Dell เข้าซื้อกิจการของ EMC ไปแล้วก็คงไม่มีอะไรแตกต่างไปจากแต่ก่อน ยกเว้นสิ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงก็คือเรื่องของรายชื่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น และที่ผ่านมา VMware ก็ออกไปพูดคุยกับพาร์ทเนอร์รายต่างๆ เรียบร้อยว่าการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะไม่มีผลกระทบอะไรกับการดำเนินธุรกิจของ VMware อย่างแน่นอน

 

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณทีมงาน VMware Thailand นะครับที่เชิญทาง TechTalkThai ไปร่วมงานในครั้งนี้ และสำหรับผู้อ่านทุกท่านก็ต้องขออภัยด้วยนะครับที่เนื้อหาอาจจะยาวไปซักหน่อย แต่ก็ไม่อยากให้ตกหล่นประเด็นอะไรไปครับเลยยาวขนาดนี้

from:https://www.techtalkthai.com/preview-vmware-evo-sddc-technology-from-vmware-thailand/

รู้จักกับ VMware vSphere Integrated Containers เทคโนโลยีล่าสุดกับการใช้ Docker และ Container ร่วมกับ VMware

vmware_logo

หลายๆ องค์กรคงต้องเริ่มที่จะศึกษาหรือนำ Docker หรือ Containers มาใช้ในองค์กรกันบ้างแล้ว เพื่อให้ในอนาคตการพัฒนา Application สามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น เพิ่มขยายได้ และเหมาะกับการทำ DevOps สร้างความคล่องตัวให้แก่ทีมนักพัฒนา Software เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันภายในองค์กร

ในครั้งนี้ VMware เองก็ได้ทำการเปิดตัว VMware vSphere Integrated Containers (VIC) ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้ Containers และ Docker ในระดับองค์กรโดยเฉพาะ โดยได้ผูกเทคโนโลยี Containers เข้ากับ Virtualization ในขณะที่เสริมประเด็นด้านความปลอดภัย, การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาเพิ่มเข้าไป ให้องค์กรยังคงสามารถใช้งาน Application ที่พัฒนาในแบบเดิมๆ ร่วมกับ Application ที่พัฒนาบน Container ได้ใน Infrastructure เดียวกัน โดยใน VIC มีองค์ประกอบต่างๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

Virtual Container Host (VCH)

เป็น Container Host สำหรับเรียกใช้งานผ่าน Docker API ได้ และสามารถทำการ Deploy Container Image ได้ รวมถึงทำการ Map File System ที่ vSphere ใช้งานอยู่ให้แก่ Host เหล่านี้ได้ ทั้งนี้ภายในแต่ละระบบ สามารถมี Virtual Container Host ทำงานอยู่ร่วมกันหลายๆ ชุด เพื่อรองรับการแบ่ง Environment สำหรับแต่ละแผนก หรือแต่ละขั้นตอนในการพัฒนาก็ได้เช่นกัน

vmware_virtual_container_host-endpoint

vSphere Web Client Plugin

เป็น Plugin สำหรับบริหารจัดการและติดตามการทำงานของ Virtual Container Host และแต่ละ Container ได้จาก vSphere Web Client

vmware_virtual_container_host-wiz-ready

Instant Clone Template, Just Enogh VM, Photon OS

แนวคิดของ VMware ที่มีต่อ Container คือการ Consolidate Resource สำหรับ Container ในเชิง Physical แต่แยกการทำงานในเชิง Logical โดยแยกชั้นของการทำงานออกเป็นคนละ Virtual Machine เพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัยและการบริหารจัดการ ซึ่งถึงแม้การแยก Virtual Machine จะดูเหมือนเปลือง Resource แต่ก็เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานหลายคนนิยม อีกทั้งด้วยเทคโนโลยี Instant Clone ก็ช่วยให้การ Clone เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว, ประหยัดพื้นที่ด้วย Thin Copy และลดการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนได้ภายในตัวเอง อีกทั้งยังปลอดภัยขึ้นด้วยการทำให้แต่ละ Container ไม่สามารถสื่อสารกันเองได้โดยไม่ได้รับอนุญาต

สำหรับ Linux ที่จะใช้เป็น Container นั้น ทาง VMware ก็มี Photon OS ที่เป็น Linux ที่มีเพียง Kernel และ Package ส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้มีขนาดเล็กและไม่กิน Resource โดยไม่จำเป็น เป็นแนวคิดแบบ Just Enough VM นั่นเอง

vmware_photon_project

Management Interface

ไม่ว่าจะใช้ Docker ผ่านทาง CLI หรือ vSphere Web Client ก็ตาม ผลลัพธ์จากทั้งสองที่นี้จะแสดงเหมือนกันเสมอ โดยคำสั่งใน VIC นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ vSphere CLI ทำให้ผู้ที่คุ้นเคยกับการดูแล vSphere อยู่แล้วสามารถดูแล Docker เพิ่มได้อย่างง่ายดาย

 

ที่มา: https://blogs.vmware.com/vsphere/2015/10/vsphere-integrated-containers-technology-walkthrough.html

from:https://www.techtalkthai.com/introduce-vmware-vsphere-integrated-containers-for-enterprise-docker/

VMware เผยข้อมูล vSphere Integrated Containers ผลักดันเทคโนโลยี Container ในระดับองค์กร

vmware_logo

VMware ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ vSphere Integrated Containers ซึ่งจะช่วยให้ฝ่าย IT สามารถสนับสนุนระบบ Application ทั้งแบบเดิม และ Application บน Container ได้ภายใน Infrastructure เดียวกันได้อย่างง่ายดาย ผ่านการบริหารจัดการระบบ Container บน Infrastructure ของ VMware โดยรองรับทั้ง CoreOS Tectonic, Docker, Kubernetes, Mesosphere’s Data Center Operating System และ Cloud Foundry พร้อมทั้งเสริมเทคโนโลยี Cloud Native จาก VMware เช่น

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com
  • Project Bonneville – Docker ที่มีการ Custom โดย VMware โดยแต่ละ Container คือ Virtual Machine ในตัวเองเลย
  • Project Photon OS – Linux OS ที่ถูกออกแบมาเป็น Container Host และ Optimize มาเป็ินพิเศษสำหรับติดตั้งบน vSphere โดยเฉพาะ
  • VMware Instant Clone – สามารถ Clone Virtual Machine ได้เร็วกว่าเทคโนโลยีก่อนๆ ถึง 10 เท่า

ทั้งนี้ในภาพรวม VMware vSphere Integrated Containers จะมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • มีความปลอดภัยและแต่ละ Container จะทำงานแยกจากกันขาดด้วย Project Bonneville แต่ยังคงมี Overhead ของระบบน้อยด้วย Vmware Instant Clone
  • สามารถสร้าง Persistence Data Store สำหรับแต่ละ Container ได้ด้วย VMware Virtual SAN และ VMware vSphere Virtual Volumes ทำให้ Container ไม่ต้องทำงานแบบ Stateless อีกต่อไป
  • VMware NSX รองรับการทำงานร่วมกับ Container แล้ว ทำให้สามารถทำ Network/Security Automation สำหรับ Container ได้เลย
  • เพิ่ม Uptime และรองรับ Workload ได้อิสระขึ้นด้วย vSphere Resource Scheduler และ vSphere HA และ vMotion
    vCenter สามารถติดตามการทำงานของ Container และบริหารจัดการได้เลย รวมถึงต่อยอดระบบเป็น Hybrid Cloud ได้ด้วย VMware vRealize Suite

ทั้งหมดนี้จะถูกเรียกรวมว่าเป็น VMware Cloud-Native Technology ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจมากจาก VMware ในงาน VMworld 2015 นี้

ที่มา: http://ir.vmware.com/releasedetail.cfm?ReleaseID=929465 

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-tech-preview-for-vsphere-integrated-containers/

VMware เปิดตัว VMware VSAN 6.1 รองรับ Disaster Recovery และ Docker ได้แล้ว

vmware_logo

VMware ออกอัพเดต VMware VSAN 6.1 โดยเพิ่มความสามารถใหม่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

vmware_vsan_stretched_cluster

  • Stretched Cluster: ใช้ vSphere Replication ทำ Synchronous Replication ระหว่าง VSAN สองชุดที่อยู่คนละ Data Center กัน และมี Recovery Point Objective ได้ไม่เกินกว่า 5 นาที
  • Virtual SAN Management Pack for vRealize Operations: ติดตามการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นผ่าน vRealize Operations ได้แล้ว
  • Health Check Plug-in: Plug-in สำหรับติดตั้งบน vCenter เพื่อทำ Compatibility Check สำหรับ Hardware, Firmware และ Driver และช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
  • รองรับ Cloud Native Application: สามารถใช้พื้นที่บน VSAN เป็น Storage กลางสำหรับ Application บน Docker ได้
  • รองรับ Hardware เพิ่มขึ้น: เริ่มต้นจาก 2 Node ได้แล้ว (จากเดิมต้องใช้ 3 Node) และรองรับ DIMM-based SSD และ NVMe SSD ได้

vmware_vsan_abstract

สำหรับผู้ที่สนใจ VMware และต้องการให้เข้าไปนำเสนอระบบ หรือทดสอบระบบ หรือสอบถามราคา สามารถติดต่อบริษัท ทรูเวฟ ประเทศไทย จำกัด ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-210-0969 หรืออีเมลล์ info@throughwave.co.th ได้ทันที หรือตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.throughwave.co.th

ที่มา: http://www.vmware.com/products/whats-new-virtual-san.html 

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-launched-vmware-vsan-6-1-with-disaster-recovery-and-docker-support/