คลังเก็บป้ายกำกับ: SYMANTEC

NortonLifeLock เข้าซื้อกิจการ Avira ด้วยมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท

NortonLifeLock ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avira เจ้าของผลิตภัณฑ์ Antivirus ชื่อดังด้วยเงินสดกว่า 10,000 ล้านบาท

Credit: ShutterStock.com

อันที่จริงแล้ว Avira เพิ่งถูกเปลี่ยนมือเพราะถูก Investcorp Technology Partner ซื้อกิจการไปเมื่อเมษายนทีผ่านมา แต่ล่าสุดได้ส่งต่อให้ NortonLifeLock (Symantec) จากทุนราว 180 ล้านเหรียญสหรัฐฯเป็น 360 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกำไรเกือบเท่าตัวก็ว่าได้

ในด้านกลยุทธ์ NortonLifeLock หวังผลดังนี้

  • ด้วยความที่ Avira มีกลุ่มผู้ใช้งานฟรีกว่า 30 ล้านอุปกรณ์อยู่แล้ว ซึ่งกลยุทธ์เดิมคือพยายามโปรโมทขายชุดเสียเงินที่มีความสามารถสูงกว่า ตรงนี้เองก็จะได้ฐานลูกค้าและช่องทางการขายเพิ่ม
  • ใช้เข้าตลาดฝั่งยุโรปและกลุ่มตลาดกำเนิดใหม่ทั้งหลาย
  • พยายามดันให้เกิดรายได้มากกว่าเดิม
  • อยากเผยแพร่โซลูชันของ NortonLifeLock ให้เข้าถึงทุกคน

ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/nortonlifelock-purchases-avira-for-360-million/

from:https://www.techtalkthai.com/nortonlifelock-to-acquires-avira-about-10000-millions-bath/

Symantec เผย Q1 2020, Phishing, Formjacking, และโจมตี IoT เพิ่มมากขึ้น, COVID เป็นหัวข้อฮิตอีเมล์โจมตี

Symantec เผยผลการศึกษาการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 ที่ผ่านมา พบว่าทั่วโลกมีการโจมตีทางอีเมล์ ฟอร์มในหน้าเว็บไซต์ และโจมตีระบบ IoT เพิ่มมากขึ้น โดยคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับ COVID-19 ติดโผได้รับความนิยมในการโจมตีแบบอีเมล์ Phishing และอีเมล์แฝง Malware

ตามรายงาน Threat Landscape Trends – Q1 2020 ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา การโจมตีแบบ Phishing กลับมามีอัตราที่สูงอีกครั้ง หลังเสื่อมความนิยมไปในช่วงปี 2019 โดย Symantec พบว่ามีอีเมล์ Phishing ถึง 1 ในทุกๆ 4,200 อีเมล์ โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการโจมตีทางอีเมล์ที่มีเนื้อหาและหัวข้อเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ที่ระบาดอย่างรุนแรงในช่วงดังกล่าว

ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ Symantec เห็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นและได้ทำการบล็อคอีเมล์ไม่ประสงค์ดีที่มีคีย์เวิร์ดอย่าง “coronavirus” “corona” หรือ “COVID-19” ถึง 5,000 ฉบับ ทว่าในเดือนมีนาคม จำนวนอีเมล์เหล่านี้เพิ่มขึ้นสูงเป็น 82,000 ฉบับ โดยในระยะเริ่มต้น เป็นการโจมตีแบบ Phishing และ Malspam (อีเมล์ที่แฝงมาด้วย Malware) เป็นหลัก ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการโจมตีในรูปแบบ Snowshoe spam ซึ่งเป็นการส่งอีเมล์โจมตีจำนวนมากไปยัง IP addresses จำนวนมาก ทำให้ฟิลเตอร์สแปมดักจับจากคะแนน Reputation ได้ยาก (รายละเอียดเพิ่มเติม)

Formjacking ก็เป็นการโจมตีอีกรูปแบบหนึ่งที่ Symantec พบการเติบโตขึ้นในช่วง Q1 โดยมีเว็บไซต์ที่ถูกฝังโค้ดเพื่อขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานเป็นจำนวน 7,836 เว็บไซต์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายในปี 2019 ที่ 7,663 เว็บไซต์

นอกจากนี้ การโจมตีระบบ IoT ก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยจากการวัดผลด้วย Symantec IOT honeypots ซึ่งเป็นระบบจำลองการทำงานของเครือข่าย IoT พบว่าในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา มีการโจมตีระบบ IoT เพิ่มขึ้นราว 13% จากไตรมาสก่อน โดยในการโจมตี ผู้โจมตีจะนิยมใช้พาสเวิร์ด Default ที่เดาได้ง่าย เช่น 123456, พาสเวิร์ดที่เป็นช่องว่าง, admin, root ในการเจาะระบบ

Photo: Symantec

การโจมตีส่วนใหญ่ที่ Symantec พบนั้นมี IP address มาจากสหรัฐ จีน เวียดนาม ไต้หวัน และเกาหลีใต้มากที่สุด ซึ่งนั่นแปลว่า อุปกรณ์ IoT ในประเทศดังกล่าวได้ถูกโจมตีและกลายมาเป็น Botnet ในการโจมตีอุปกรณ์ IoT อื่นๆมากที่สุดเช่นกัน


ที่มา: https://symantec-enterprise-blogs.security.com/blogs/threat-intelligence/threat-landscape-q1-2020

from:https://www.techtalkthai.com/symantec-threat-landscape-trends-q1-2020/

แฮ็กเกอร์ทะลวง Symantec Web Gateway ได้โดยใช้บอทเน็ต Mirai และ Hoaxcalls

พบขบวนการบอทเน็ต Mirai และ Hoaxcalls ครั้งใหม่ที่โจมตีช่องโหว่บนระบบ Symantec Secure Web Gateway ที่เปิดให้รันโค้ดได้จากระยะไกล

โดย Mirai ถือเป็นหนึ่งในมัลแวร์บน IoT ที่มีชื่อเสียงมากที่คอยโจมตีอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะเช่น กล้องไอพีและอุปกรณ์ DVR ด้วยการเข้าควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้ผ่านพอร์ตที่เปิดอยู่ ด้วยรหัสผ่านแบบดีฟอลต์ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่เกิดขึ้น

ซึ่งอุปกรณ์ที่เป็นเหยื่อจะถูกเพิ่มเข้าไปในเครือข่ายของบอทเน็ตอีกที ที่ผ่านมา Mirai ถูกนำมาใช้แพร่เชื้อในวงกว้างเพื่อนำมาใช้โจมตีแบบ DDoS ที่มีความรุนแรงสูงบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย แต่ในขบวนการล่าสุดนี้

จะเป็นการใช้วิธียิงสุ่มเดารหัสผ่านแทน ขณะที่ Hoaxcalls เป็นบอทเน็ตที่กลายพันธุ์มาจาก Tsunami และ Gafgyt ซึ่งค้นพบครั้งแรกเมื่อเมษายนที่ผ่านมา มีความสามารถในการหุ้มพร็อกซี่ทราฟิก พร้อมทั้งเปิดฉากโจมตีแบบ DDoS ขนาดใหญ่ได้ด้วย

ที่มา : GBHackers

from:https://www.enterpriseitpro.net/hackers-bypass-symantec-web-gateways/

Broadcom ซื้อธุรกิจ Symantec เสร็จแล้วขายบางส่วนต่อให้ Accenture ทันที

เมื่อปลายปีที่แล้วเราเพิ่งเห็นข่าว Symantec ขายธุรกิจความปลอดภัยฝั่งองค์กรให้ Broadcom โดยบริษัท Symantec เดิมจะเหลือแต่ธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์ และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น NortonLifeLock (มาจากแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock)

เวลาผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน Broadcom ก็ขายธุรกิจ (บางส่วน) ของ Symantec เดิมต่อไปให้ Accenture อีกทอด

ธุรกิจที่ว่าคือฝ่าย Cyber Security Services ที่เน้นเรื่องบริการด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้าองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูลและเฝ้าระวังภัยคุกคาม ซึ่งครอบคลุมศูนย์ปฏิบัติการ 6 แห่งทั่วโลก รวมพนักงานประมาณ 300 คน จะย้ายมาอยู่ภายใต้ร่มของ Accenture Security แทน

No Description

ก่อนหน้านี้ Accenture เองก็ซื้อบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์มาแล้วหลายราย เช่น Deja vu Security, iDefense, Arismore, Maglan, Redcore, FusionX โดยบริษัทให้เหตุผลของการซื้อกิจการรอบนี้ว่า ความปลอดภัยกลายมาเป็นหนึ่งในมิติที่ลูกค้าองค์กรของ Accenture แทบทุกรายให้ความสำคัญ การซื้อ Cyber Security Services เข้ามายิ่งช่วยให้บริการด้านความปลอดภัยของ Accenture หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น

ส่วน Broadcom ยังมีธุรกิจด้านอื่นๆ ของ Symantec ที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น Information Protection, Endpoint Security, Cloud App Protection, Advanced Threat Protection เป็นต้น

มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ไม่เปิดเผย คาดว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2020

ที่มา – Accenture, ZDNet

from:https://www.blognone.com/node/114050

Accenture เข้าซื้อกิจการ Symantec Cyber Security Service จาก Broadcom

Broadcom เพิ่งเข้าซื้อ Symantec Enterprise Security ไปเมื่อกลางปีก่อนด้วยมูลค่าเกือบ 11,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แต่วันนี้มีประกาศแล้วว่าขายส่วนกิจการ Cyber Security Service ให้ Accenture แล้วอย่างไม่เปิดเผยมูลค่า ในขณะเดียวกันนี้ยังมีเหตุการณ์ที่บริษัทด้าน Security หรือ Armis ถูกซื้อโดย Insight Partners ด้วยเช่นกัน

Credit: ShutterStock.com

Accenture หรือบริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่จะได้ส่วน Cyber Security ของ Symantec ประกอบด้วย Global Threat Monitoring Analysis, Threat Intelligence and Incident Respond และ Security Operation Centres (มี 6 แห่งใน อเมริกา สหราชอาณาจักรฯ ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ และญี่ปุ่น) พร้อมกับพนักงานอีกกว่า 300 ชีวิตเข้ามาเสริมทีม อย่างไรก็ตามตอนนี้ทำให้ Accenture มีทีมงานด้าน Security อยู่เต็มมือหากดูจากบริษัทที่เข้าซื้อไปอย่าง iDefense, Arismore, Maglan, Redcore และ FusionX ซึ่งล้วนแต่เชี่ยวชาญด้าน Security

ในขณะเดียวกัน Armis ผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT Security จากอิสราเอลก็ถูกบริษัทลงทุน Insight Partners เข้าซื้อกิจการเช่นกันด้วยมูลค่ากว่า 1,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นสติถิใหม่ของมูลค่าบริษัทจากอิสราเอลและ IoT Security เรียกได้ว่าบริษัทด้าน Security นี่ร้อนแรงกันตั้งแต่ต้นปีเลยทีเดียว

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/broadcom-sells-symantecs-cyber-security-services-business-to-accenture/ และ  https://www.securityweek.com/accenture-acquire-symantecs-security-services-unit-broadcom และ  https://www.infosecurity-magazine.com/news/insight-partners-acquires-armis/

from:https://www.techtalkthai.com/accenture-bought-symantec-cyber-security-service-from-broadcom/

Symantec เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock มุ่งเน้นธุรกิจ Cyber Safety สำหรับ Consumer

หลังจากที่ Broadcom ประกาศเข้าซื้อธุรกิจในส่วน Enterprise Security ของ Symantec ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ล่าสุด Symantec ได้ประกาศขายธุรกิจเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock (NASDAQ: NLOK) มุ่งโฟกัสตลาด Cyber Safety สำหรับบุคคลทั่วไป

Credit: NortonLifeLock.com

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน Symantec ได้ประกาศขายสินทรัพย์ในส่วนของ Enterprise Security ให้แก่ Broadcom ผูู้ผลิตชิปชื่อดัง ด้วยมูลค่า $10,700 ล้าน (ประมาณ 323,000 ล้านบาท) เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้ ณ ตอนนี้ทางบริษัทฯ จะมุ่งเน้นการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น NortonLifeLock และตัวย่อสำหรับซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK แทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2019 เป็นต้นไป

NortonLifeLock เป็นชื่อที่มาจาก 2 ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ นั่นคือ Norton Antivirus และ LifeLock ซึ่งเป็นบริการ Malware & Identity Theft Protection การผสานรวมของทั้งสองโซลูชันนี้ทำให้ NortonLifeLock กลายเป็นผู้ให้บริการที่มุ่งเน้น Cyber Safety แก่บุคคลทั่วไปอย่างเต็มตัว สำหรับตอนนี้ สำนักงานใหญ่ของ NortonLifeLock จะตั้งอยู่ที่เมือง Tempe, Arizona สหรัฐอเมริกา

สำหรับ Symantec ในส่วน Enterprise Security นั้น ได้ถูกควบรวมเข้าด้วยกันกับธุรกิจของ Broadcom และจะกลายเป็นหนึ่งในแผนก Enterprise Cybersecurity ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Mission Critical Infrastructure สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ต่อไป

ที่มา: https://sea.pcmag.com/symantec-norton-antivirus-basic/34830/symantec-becomes-nortonlifelock

from:https://www.techtalkthai.com/symantec-becomes-nortonlifelock-focusing-on-consumer-cyber-safety-business/

Symantec ขายธุรกิจ Enterprise ให้ Broadcom เสร็จสิ้นแล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock

Symantec ประกาศว่าดีลขายกิจการส่วนของลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) ให้กับ Broadcom ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งดีลนี้รวมการขายแบรนด์ Symantec ด้วย ทำให้ Symantec ต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท

โดยชื่อใหม่คือ NortonLifeLock มีที่มาจากผลิตภัณฑ์ส่วนคอนซูเมอร์ที่ไม่ได้ขายออกไป นั่นคือแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock นอกจากนี้ยังเปลี่ยนตัวย่อในการซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK ด้วย

การขายธุรกิจส่วนองค์กรออกไป ทำให้จากนี้ NortonLifeLock จะโฟกัสที่การทำตลาดลูกค้าบุคคลเพียงอย่างเดียว

ที่มา: NortonLifeLock

alt="NortonLifeLock"

from:https://www.blognone.com/node/113005

Gartner ออกรายงาน Magic Quadrant ทางด้าน CASB ประจำปี 2019

Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ ออกรายงาน Magic Quadrant ทางด้าน Cloud Access Security Broker (CASB) ฉบับล่าสุดประจำปี 2019 ผลปรากฏว่ามี Vendors ถึง 5 รายครองตำแหน่ง Leader ได้แก่ Microsoft, McAfee, Netskope, Symantec และ Bitglass

Gartner ได้ให้นิยาม CASB ว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยปิดช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยให้แก่การใช้ Cloud Services ขององค์กร ได้แก่การทำให้ Cloud Services และการเข้าถึงจาก On-premises หรือระบบ Cloud ด้วยกันเองมีความมั่นคงปลอดภัย CASB นำเสนอฟีเจอร์ที่ออกแบบมาสำหรับระบบ Cloud โดยเฉพาะ เช่น Web Application Firewall (WAF), Secure Web Gateway (SWG) และ Enterprise Firewall เพื่อปกป้องข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบน Cloud ป้องกันภัยคุกคาม และช่วยให้สามารถบริหารจัดการและกำกับดูแล Cloud Services จากหลายๆ Cloud Providers ได้แบบรวมศูนย์

สำหรับ Magic Quadrant ทางด้าน CASB ในปีนี้ ประกอบด้วย Leader ทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ Microsoft, McAfee, Netskope, Symantec และ Bitglass โดย Microsoft มี Ability of Execute สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในขณะที่ Netskope มี Completeness of Vision สูงที่สุด

Gartner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ Microsoft Cloud App Security (MCAS) ว่ามีจุดเด่นที่อินเทอร์เฟซใช้งานง่าย สามารถสร้าง Policies ได้โดยไม่ต้องมีความรู้ด้าน Programming หรือ Scripting มี Azure Information Protection (AIP) สำหรับจำแนกและปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอก รวมไปถึงสามารถเก็บข้อมูลจาก Office 365, Azure Security Center, Cloud Services และผลิตภัณฑ์แบบ On-premises อื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมของความเสี่ยงได้

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มของ Gartner ฟรีได้ที่ช่องทางของ Symantec: https://resource.elq.symantec.com/LP=7680?cid=70138000001R88YAAS

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-magic-quadrant-casb-2019/

เตือนพบมัลแวร์ใหม่บนแอนดรอยด์ ‘xHelper’ ลบยาก Factory Reset ยังไม่ช่วย

มีรายงานจาก Symantec และ Malwarebytes ว่าขณะนี้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์กำลังเสี่ยงที่ต้องเจอกับมัลแวร์ชนิดฝังแน่น ลบยากสุดๆ ที่ชื่อว่า ‘xHelper’ ซึ่งมีเหยื่อแล้วราว 45,000 ราย

xHelper ถือเป็นมัลแวร์ตัวใหม่ที่ได้รับการจับตาจาก Symantec และ Malwarebytes ซึ่งพบครั้งแรกราวเดือนมีนาคมและขยายวงการโจมตีเหยื่อเรื่อยมาจนล่าสุดคาดว่ามีเหยื่อถึง 45,000 รายแล้วในสหรัฐและรัสเซีย

โดยกลไกการติดของมัลแวร์นั้นเกิดจากการถูกทำ Web Redirection เพื่อไปดาวน์โหลดแอปนอก Play Store ซึ่งในโค้ดนั้นมีการไปเรียกดาวน์โหลด xHelper เข้ามาซึ่งฟังก์ชันการทำงานหลักที่พบคือการแสดงโฆษณาและส่ง Spam ที่ชี้ไปยัง Play Store เพื่อให้ดาวน์โหลดแอปอื่นเข้ามาสร้างรายได้ให้แก่คนร้าย

แม้ว่าปัจจุบัน xHelper ไม่ได้มีฟังก์ชันประเภททำลายล้างแต่ความเจ็บแสบของมัลแวร์ตัวนี้ต่อเหยื่อคือลบได้ยากมาก ถึงแม้ว่าผู้ใช้จะลบแอปต้นเหตุก็ไม่สามารถกำจัดมัลแวร์ออกไปได้เพราะถูกติดตั้งแยกกัน รวมถึงยังสามารถติดตั้งตัวเองกลับมาแม้ทำการ Factory Reset ไปแล้ว ซึ่งจนถึงตอนนี้ทางผู้เชี่ยวชาญยังงุนงงกับวิธีการดังกล่าวอยู่เพราะยังไม่พบว่ามีการเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบ นอกจากนี้ยังฟังไม่ขึ้นว่ามัลแวร์จะมีการติดมากับเครื่องตั้งแต่เริ่ม

มีรายงานว่าผู้ใช้งานบางรายได้ลบบริการของ xHelper ออกพร้อมกับตั้งค่าไม่อนุญาตให้ติดตั้งแอปจาก ‘unknown source’ แต่พักเดียวเท่านั้นก็ถูกเปลี่ยนค่ากลับมา แต่ก็มีผู้ใช้งานบางรายที่สามารถกำจัดมัลแวร์ตัวนี้ออกได้ด้วยโซลูชัน Antivirus ที่เสียเงิน อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าโซลูชันป้องกันอาจใช้ได้กับมัลแวร์บางเวอร์ชันเท่านั้นเพราะคนร้ายยังปรับปรุงเวอร์ชันใหม่ๆ ออกมาซึ่งยังแก้ได้ยาก นอกจากนี้ความกังวลอีกข้อคือ xHelper ยังสามารถยกระดับความรุนแรงไปได้อีก เช่น Ransomware, DDoS, Banking Trojan หรือขโมยรหัสผ่าน เพราะช่องทางนั้นเปิดรอไว้แล้ว

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/new-unremovable-xhelper-malware-has-infected-45000-android-devices/

from:https://www.techtalkthai.com/xhelper-persistent-threat-android-malware/

พบปัญหา Symantec Endpoint ทำ Chrome เวอร์ชันล่าสุดใช้การไม่ได้

หลังจากมีปัญหากระทบกับ Windows 10 มาแล้ว วันนี้ Endpoint Protection ของ Symantec ก็ได้เปิดประเด็นใหม่กับ Chrome เวอร์ชัน 78 ที่เพิ่งออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อน

credit : Zdnet

มีรายงานจากผู้ใช้ในหลายช่องทางที่พบว่า Symantec Endpoint Protection (SEC) 14 ทำให้ Chrome 78 ปรากฏข้อความว่า “Aw, Snap! Something went wrong while displaying this webpage” ซึ่งในที่สุดบริษัทก็ได้ออกเอกสารยอมรับ โดยโทษฟีเจอร์ Code Integrity ของ Microsoft ที่ถูกใช้ใน Chrome เวอร์ชันใหม่ อย่างไรก็ตามได้แนะนำวิธีการแก้ไขคือ Exclude Chrome จากรายการปกป้องหรือแก้ไข Chrome ให้ไม่ใช้ฟีเจอร์ดังกล่าว

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Symantec Support

ที่มา :   https://www.zdnet.com/article/symantec-antivirus-crashes-something-again-this-time-chrome-78-browsers/

from:https://www.techtalkthai.com/symantec-endpoint-14-issue-with-chrome-78/