คลังเก็บป้ายกำกับ: QUARKUS

สรุป Red Hat Webinar: พัฒนา Kubernetes Native Application ด้วย Java สำหรับ Spring Developer

อีกหนึ่งความท้าทายของการนำ Java Application มาทำงานบน Kubernetes ก็คือข้อจำกัดเรื่องการใช้งานหน่วยความจำ (Memory) ที่ค่อนข้างสูง และเวลาที่ใช้ในการ start จนพร้อมที่จะทำงาน (Startup Time) ที่ค่อนข้างนานเมื่อเปรียบเทียบกับ Framework อื่นๆ เช่น Node.js หรือ Go

ใน Webinar นี้ขอนำเสนอ Quarkus ที่จะมาตอบโจทย์การพัฒนา Java Application บน Kubernetes ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งคุณสมบัติที่อำนวยความสะดวกนักพัฒนา ให้การพัฒนา Application เป็นไปได้อย่างสะดวก

โดย Webinar ในครั้งนี้ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจากทีมงาน Red Hat ได้แก่คุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์ , คุณฉัตรชัย กองมณี และคุณเฟื่องวิชญ์ โสภารัตน์

Credit: Quarkus

ปัญหาของ Java กับประเด็นด้านประสิทธิภาพสำหรับการใช้ Application ในระดับธุรกิจองค์กร

โดยทั่วไปเวลาเราพูดถึง Java Application หลายๆ คนก็คงนึกถึงระบบที่มีขนาดใหญ่ มี Stack ที่ซับซ้อน มีการใช้งานหน่วยความจำ (Memory) ที่ค่อนข้างมาก และใช้เวลาในการ start ( Startup Time) ที่ค่อนข้างมากกว่า Framework อื่นๆ เช่น NodeJS หรือ Go ทำให้การย้ายมาใช้งานบน Kubernates ทำได้ค่อนข้างยาก หรือไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ใช่จุดที่ผิดในเชิงของการออกแบบ เพราะเดิมที Java นั้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในสมัยอดีตก่อนที่จะมี cloud หรือ microservice

อย่างไรก็ดีหากอ้างอิงจากข้อมูลเชิงสถิติ ธุรกิจองค์กรเองก็ยังมีการใช้งาน Java อยู่ค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะในส่วนของระบบ Backend ดังนั้นถ้าหากต้องการใช้ Java ให้ตอบโจทย์ต่อธุรกิจในปัจจุบัน การใช้ Java จึงต้องถูกย้ายมาทำงานบน Container เป็นหลัก และเปลี่ยนรูปแบบของเทคโนโลยีที่ใช้เบื้องหลังไปบ้าง เพราะหากใช้รูปแบบ หรือ Framework เดิมๆ กับ Container ก็จะทำให้ Container ที่ได้มีขนาดใหญ่ และไม่สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าอย่างเต็มที่มากนักเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ

หากอ้างอิงสถิติจากการใช้ AWS Lambda ในการทำ Serverless นั้น Java เองก็ยังมีสัดส่วนการใช้งานเพียงแค่ 6% เท่านั้น ในขณะที่ Node.js มีสัดส่วนมากถึง 51% และ Python ก็ยังมีมากถึง 38% ทำให้ที่ผ่านมาหากภาคธุรกิจองค์กรต้องการใช้ Serverless นั้น ก็มักเลือกแนวทางในการพัฒนาระบบ Serverless ด้วยภาษาอื่นๆ กันมากกว่า

Quarkus โซลูชันสำหรับการพัฒนาและใช้งาน Java บน Container ได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ Red Hat ได้นำมาตอบโจทย์นี้ก็คือ Quarkus ที่มี Tagline คือ Supersonic,Subatomic, Java หรือก็คือการทำให้ Java ขนาดที่เล็กลง (Subatomic) มี Startup time ได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม (Supersonic) ซึ่งทั้งสองคุณสมบัติ เป็นปัจจัยหลักที่ Application บน Kubernetes ต้องการ

สำหรับ นักพัฒนาที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ Quarkus สามารถเข้าไปที่ https://quarkus.io/ โดย quarkus ได้เตรียม Initializer ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยให้นักพัฒนาสามารถเริ่มต้นเรียนรู้และใช้งาน Quarkus ได้ง่ายขึ้นที่เข้าไปที่ https://code.quarkus.io/ ซึ่งผู้นักพัฒนา สามารถเลือก Extension ที่ตนเองต้องการใช้งานใน Application และสามารถเลือก Build Tool ที่ต้องการได้ ก่อนจะทำการ Download ไฟล์ต่างๆ ที่ถูกเตรียมเอาไว้สำหรับสร้าง Application หรือ Push ไปยัง GitHub โดยตรงเลยก็ได้

เมื่อได้ไฟล์มาแล้วก็สามารถนำไปพัฒนาต่อ ด้วย IDE ที่ถนัด ไม่ว่าจะเป็น VS Code, Eclipse หรือ Intellij และด้วย Build Tool อย่างเช่น Maven หรือ Gradle ที่ Quarkus ได้เตรียมไว้ให้ใช้งาน จึงทำให้นักพัฒนาพร้อมใช้งานได้ทันที

Quarkus มี features สำหรับช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนามากมาย ยกตัวอย่างเช่น Quarkus Dev Console ซึ่งเป็น Web GUI ที่สามารถแสดง Plugin ต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน Application ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบภาพรวมสำหรับแต่ละโครงการพัฒนา Java Application ความสามารถเด่น ๆ เช่น สามารถสั่ง Build Container Image ขึ้นมาด้วยตนเองได้ผ่าน WebUI ได้ทันที โดยสามารถเลือกได้ว่าจะสร้าง เป็น container สำหรับ jar file หรือ สำหรับ native

อีกความสามารถที่น่าสนใจของ Quarkus ก็คือการแปลงโค้ดให้ทำงานแบบ Native ได้ ซึ่งเมื่อทำการ build quarkus เป็น native ในส่วนของการ start application นั้น จะเร็วกว่าแบบ ที่ทำงานบน JVM ถึง 20x และใช้ resource เช่น memory น้อยกว่าแบบ JVM ถึง 10x เลยทีเดียว

ใน Quarkus จะมี Developer Mode ให้ ซึ่งจะมีความสามารถที่ช่วยให้การพัฒนา Application เป็นไปได้ง่ายขึ้น เช่น การทำ Live Code ที่สามารถแก้ไขโค้ดและทำ Hot Code Replace และ Live Reload ให้เราเห็นผลลัพธ์ได้ง่ายๆ ในระหว่างพัฒนาเลย ทำให้ขั้นตอนพัฒนามีความรวดเร็วกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ไม่ต้องเสียเวลา Build มา Debug เรื่อยๆ รวมถึงยังเปลี่ยน Library หรือ Dependency on the fly ได้เช่นเดียวกัน

โดยสรุปแล้ว Quarkus จึงเหมาะกับการพัฒนา Container/Kubernetes Application, Microservices ไปจนถึง Serverless ซึ่งมาจากการใช้ทรัพยากรน้อย มี Developer Mode เพื่อช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้ง่าย สามารถพัฒนา App ได้ทั้งแบบ Imperative และ Reactive พร้อมทั้งยังมี Framework ต่างๆ สำหรับให้หยิบนำมาใช้ในงานที่เหมาะสมได้ รวมถึงยังทำงานร่วมกับ IDE ชั้นนำในสาย Java ได้อย่างครบถ้วน และมี Extension สำหรับใช้งานใน Kubernetes และ Red Hat OpenShift ได้ ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการ Deploy ระบบได้โดยอัตโนมัติ

Spring Developer จะย้ายมาใช้ Quarkus ได้อย่างไรบ้าง?

ใน Webinar ครั้งนี้ได้มีการแสดงถึงการนำ Spring Boot มาใช้งานบน Quarkus ได้อย่างไร เนื่องจากในประเทศไทยนั้น Spring boot มันเป็น framework ตัวเลือกหลัก ๆ ของ java developer ในเมืองไทย โดยใน Application ตัวอย่างที่เตรียมมานั้น แสดงให้เห็นถึง feature โดยทั่วไปของ Spring Boot ไม่ว่าจะเป็น Spring DI, Spring Rest, Spring Data JPA

Quarkus ได้เตรียม extension ที่รองรับการนำ Spring Boot เดิม ๆ ที่มีอยู่ มาเปลี่ยนเป็น Quarkus ได้ เพียงปรับเฉพาะในส่วนของ library (เช่น แก้ maven dependency ใน pom.xml) และ properties เท่านั้น เพียงแค่นี้ นักพัฒนา ก็จะสามารถนำ spring boot application เดิม มาเปลี่ยนเป็น quarkus เพื่อใช้ประโยชน์จาก feature ต่าง ๆ ของ Quarkus ได้ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถเรื่องของ native, live code เป็นต้น และ Quarkus เอง ก็ยัง extenstion ต่าง ๆ เพื่อรองรับ feature ที่ spring boot มี ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ health, swagger, tracing หรือแม้แต่การ support monitoring tool อย่าง prometheus

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หลังจากเปลี่ยนมาใช้ spring extenstion ของ quarkus ในส่วนของ การ statup application เร็วกว่าเดิมถึง 50% และใช้ memory น้อยกว่า 50% และยิ่ง build เป็น native แล้วนั้น เร็วกว่า spring boot เดิม ถึง 7x และใช้ memory น้อยกว่า 10x เลยทีเดียว

โดยสรุปแล้วการ Migrate ระบบบน Spring Boot มาสู่ Quarkus นั้นสามารถทำได้ด้วยการแก้ไขเฉพาะในส่วนของ depency/extension ที่ Quarkus ได้เตรียมเอาไว้ให้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ Spring Developer สามารถ upgrade ระบบงาน หรือ application ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงรองรับ Container/Kubernetes ได้ ด้วย Quarkus นอกจากนี้ Red Hat ยังมีเครื่องมืออย่าง Migration toolkit for Application ที่สามารถช่วยตรวจสอบว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไร หรืออย่างไรบ้าง และมีระบบแนะนำด้วยว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการปรับเปลี่ยนแต่ละส่วน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Quarkus

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันของ Quarkus เพิ่มเติม ทีมงาน Red Hat ก็ได้ชี้เป้าแนะนำทั้งเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ และ E-Book สำหรับนำไปศึกษาได้ฟรีๆ ดังนี้

สนใจติดต่อ Red Hat ได้ทันที

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.openshift.com/ และ https://quarkus.io/ หรือติดต่อทีมงาน Red Hat ประจำประเทศไทยได้ที่ Email rchemae@redhat.com

 

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-webinar-kubernetes-native-application-with-java-for-spring-developer-summary/

สรุป Red Hat Webinar: สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus

Java นั้นถือเป็นหนึ่งในภาษาพัฒนาโปรแกรมที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจองค์กรเป็นอย่างมาก และเมื่อโลกของ Cloud-Native Application มาถึง ก็ย่อมต้องมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้นำ Java มาใช้ในสถาปัตยกรรมใหม่นี้ได้ โดยใน Webinar หัวข้อ “สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus โดย Red Hat” ก็ได้เจาะลึกถึง Quarkus ที่จะมาตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะ จึงขอหยิบยกเนื้อหาใน Webinar นี้มาสรุปกันดังนี้ครับ

ความท้าทายของการนำ Java มาใช้บน Container

Framework ส่วนใหญ่ของ Java ที่มีอยู่นั้นถูกออกแบบให้รองรับการทำงานแบบ Monolith เป็นหลักมี โดยมี Startup Time นาน และใช้ Memory เยอะ โดย Server หนึ่งเครื่องอาจรองรับ Java Application ได้หลายระบบ เหมาะสำหรับการใช้งานในยุคที่การพัฒนา Application และการออกอัปเดตใหม่ๆ นั้นยังต้องกินเวลานานหลายเดือน ทำให้ Framework เหล่านี้ไม่สามารถถูกปรับนำมาใช้กับโลกของ Container ได้อย่างเหมาะสมนัก

ดังนั้นโจทย์สำคัญจึงเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะทำให้ Java นั้นสามารถทำงานแบบ Cloud-Native ได้ รองรับทั้งการใช้งานแบบ Microservices, Serverless และ Event-Driven ให้ได้ สามารถทำงานร่วมกับ Kubernetes, Istio และ Knative ได้ โดยควรจะต้องเปิดใช้งานได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ใช้หน่วยความจำเพียงเล็กน้อย และรองรับ Application เดียวต่อระบบเท่านั้น

ที่ผ่านมามีความพยายามในการพัฒนา Java เพื่อให้ใช้งานบนสถาปัตยกรรมแบบ Microservices อยู่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ Java ก็ยังถือว่าใช้ทรัพยากรค่อนข้างเยอะอยู่ดี ทำให้ในหลายๆ โครงการด้าน Cloud-Native Application ทีมพัฒนาจึงเลือกใช้ภาษาอื่นแทน Java

รู้จักกับ Quarkus โครงการที่จะนำ Java มาสู่โลกของ Cloud-Native

โครงการ Quarkus นี้ถูกริเริ่มโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ Java นั้นสามารถใช้งานได้ใน Cloud-Native Application โดยชื่อของ Quarkus นั้นมาจากคำว่า Quark ที่เป็นอนุภาคขนาดเล็กมาก และ US จากคำว่าพวกเรานั่นเอง

ในโครงการนี้ Red Hat ถือเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก และโครงการเพิ่มเกิดขึ้นมาเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมาเท่านั้น โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Java มาใช้รวมกันภายใน Quarkus นี้ ทั้ง Eclipse Vert.x, Hibernate, RESTEasy, Eclipse MicroProfile, WildFly, Untertow และ OpenJDK

จุดที่ทำให้ Quarkus นั้นแตกต่างจากเทคโนโลยีสำหรับ Java อื่นๆ มีดังนี้

  • Container First รองรับการใช้งานบน Container และ Serverless อย่างเต็มที่ ใช้ทรัพยากรใกล้เคียงกับ NodeJS หรือ Go โดยใช้แรมน้อยลงกว่าเดิม 7-10 เท่าในการทำงานแบบ Native และเปิดใช้งานได้ในเวลาเพียงประมาณ 400 Millisecond เท่านั้น
  • Developer Joy พัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์การนำไปใช้งานของนักพัฒนาเป็นหลัก เช่น การใช้มาตรฐานเดิมเป็นหลัก, การรวม Configuration ให้อยู่ใน File เดียวทำให้ทำงานง่าย, การทำ Live Coding ได้ เมื่อแก้ไขอะไรทุกอย่าง Reload ใหม่ทันทีโดยไม่ต้อง Compile และสามารถสร้าง Native Binary ได้ด้วยคำสั่งเดียวเท่านั้น
  • Unifies Imerative and Reactive รองรับการเขียนโปรแกรมทั้งแบบ Imperative และ Reactive ได้ในหนึ่งเดียว ทำให้สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบ Reactive ได้ง่ายขึ้น
  • Best of Breed Libraries and Standards มีส่วนเสริมเพื่อให้ใช้ Library, Framework และ Standard เดิมที่เคยใช้งานบน Quarkus ได้ โดยสามารถใช้เทคโนโลยีที่ถนัดหรือเหมาะสมได้เลย

สิ่งที่ Quarkus ทำเพื่อให้การใช้ Java สามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้ทรัพยากรน้อยนั้น ก็คือการนำงานส่วนใหญ่ที่เคยทำตอน Runtime ของ Java มาอยู่ในช่วง Build แทน ทำให้ตอนเริ่มใช้งานจริงมีความเร็วยิ่งกว่าเดิมมาก และยังสามารถ Optimize ขนาดของ Java ให้เล็กลงด้วยการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจาก Package นั่นเอง

ส่วน Build Tool นั้น Quarkus ก็สามารถใช้ได้ทั้ง Maven และ Gradle ส่วน IDE ก็สามารถใช้งานได้ทั้ง VSCode, Eclipse, IntelliJ, Eclipse Che หรือ CodeReady Workspace ของ Red Hat นั่นเอง

Quarkus นี้เหมาะสมกับทั้งการพัฒนา Cloud-Native Application ด้วย Java, การย้ายระบบ Application แบบ Monolithic มาสู่ Microservices, การทำงานแบบ Serverless และการรองรับงานแบบ Event-Driven หรือ Reactive โดย Quarkus นี้จะกลายเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ Java Developer สามารถก้าวมาสู่การพัฒนา Cloud-Native Application ได้อย่างเต็มตัว และสร้างคุณค่าเชิงธุรกิจเช่นการลดค่าใช้จ่าย, การรองรับการเพิ่มขยายระบบได้อย่างยืดหยุ่น, การพัฒนาระบบได้อย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการทำ Hybrid Cloud

ผู้ที่สนใจรายละเอียดฉบับเต็มเกี่ยวกับ Quarkus สามารถศึกษาได้ที่ https://quarkus.io/

รับชม Webinar ย้อนหลัง

ใน Webinar นี้เนื้อหาเต็มมีความยาวและยังมีการ Demo โซลูชันของ Quarkus ในการใช้งานจริงและการทำงานร่วมกับ Red Hat OpenShift ให้เราได้รับชมกันด้วย ดังนั้นถ้าหากท่านใดสนใจก็สามารถรับชม Webinar ย้อนหลังโดยคุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์, Senior Solutions Architect, Red Hat และคุณเฟื่องวิชญ์ โสภารัตน์, Channel Solutions Architect, Red Hat กันได้ที่ https://redhat.lookbookhq.com/c/thai-webinar-ultra-f?x=YQKcrV เลยนะครับ

from:https://www.techtalkthai.com/summary-redhat-webinar-build-compact-and-high-speed-microservice-with-quarkus/

Red Hat Webinar: สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus

TechTalkThai ขอเรียนเชิญ IT Manager, DevOps Engineer, Software Engineer, และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมฟัง Red Hat Webinar ในหัวข้อเรื่อง “สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus โดย Red Hat” เพื่อทำความรู้จักกับเทคโนโลยีของ Quarkus ที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างระบบ Microservices ให้กับ Java Application ในวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus โดย Red Hat
ผู้บรรยาย: คุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์, Senior Solutions Architect, Thailand, Red Hat
วันเวลา: วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ภาษา: ไทย

Quarkus คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านขนาดและความเร็วของ Java ซึ่งจะช่วยให้การเริ่มเปิดใช้งานระบบนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และใช้พื้นที่บนหน่วยความจำและดิสก์เพียงเล็กน้อย เหมาะกับการนำไปใช้ใน Application แบบ Cloud Native และ Serverless เป็นอย่างมาก

เข้าร่วม Webinar ฟรีในครั้งนี้ เพื่อทำความรู้จักกับ Quakus ว่าถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร มีความสามารถอย่างไร และทำไม Quarkus จึงจะทำให้ Java กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่งได้

การเข้าร่วมฟัง Webinar ครั้งนี้จะนำเสนอเป็นภาษาไทยโดยทีมงาน Red Hat ที่พร้อมตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเข้าร่วม Webinar ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม TechTalk Webinar ในหัวข้อนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://events.redhat.com/profile/form/index.cfm?PKformID=0x162850abcd&sc_cid=7013a000002DgQgAAK#SessionAbstract โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-webinar-microservices-for-java-with-quarkus/

Redhat เปิดตัวจาวาเฟรมเวิร์กใหม่ “Quarkus” สำหรับระบบวีเอ็ม

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานั้น ทาง RedHat ออกมาประกาศเปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ในชื่อ “Quarkus” ซึ่งถือเป็นเฟรมเวิร์กภาษาจาวาสำหรับทำงานบน Kubernetes เป็นหลัก ที่นำมาเป็น “โมเดลการเขียนโปรแกรมแบบ Reactive และ Imperative ที่รวมอยู่ในตัวเดียวกัน” สำหรับนักพัฒนาที่สนใจ

โดย Quarkus ตัวนี้มีเป้าหมายที่จะรองรับสถาปัตยกรรมแอพพลิเคชั่นแบบ Distributed ที่หลากหลาย ด้วยเฟรมเวิร์กที่ใช้ไลบรารีและมาตรฐานของภาษาจาวา รวมทั้งออกแบบมาเพื่อใช้กับ GraalVM และ OpenJDK HotSpot โดยเฉพาะ

Quarkusมีเอกลักษณ์ในการรองรับลักษณะสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเซิร์ฟเวอร์เลส, ไมโครเซอร์วิส, คอนเทนเนอร์, Kubernetes, FaaS, และคลาวด์ รวมทั้งพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในการรันจาวาบนสภาพแวดล้อมการทำงานดังกล่าวข้างต้นที่ใช้พัฒนาโปรแกรมอยู่ด้วย

สำหรับฟีเจอร์สำคัญของ Quarkus ได้แก่ ความเร็วในการรันระบบ และการปรับขนาดระบบของไมโครเซอร์วิสบนคอนเทนเนอร์แบบอัตโนมัติ, การใช้หน่วยความจำต่ำเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้งสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสที่ใช้คอนเทนเนอร์หลายตัว, การรวมโมเดลโปรแกรมมิ่งทั้งแบบ Imperative และ Reactive เข้าด้วยกัน, การเป็นเฟรมเวิร์กแบบ Full-Stack และ Extension เป็นต้น

ที่มา : Packtpub

from:https://www.enterpriseitpro.net/introducing-quarkus-a-kubernetes-native-java-framework/