คลังเก็บป้ายกำกับ: Pinduoduo

Pinduoduo บุกตลาดอเมริกา เปิดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแฟชั่น Temu

Pinduoduo แอปโซเชียลคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน เปิดตัวแพลตฟอร์มขายสินค้าในอเมริกา โดยใช้ชื่อว่า Temu ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์กระจายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ จากก่อนหน้านี้เน้นเฉพาะตลาดจีนในเมืองรอง

Temu เน้นขายสินค้าแฟชั่นในหลากหลายหมวด ด้วยราคาที่ดึงดูด ซึ่งถูกมองว่ามีรูปแบบคล้ายกับ Shein ที่ประสบความสำเร็จอย่างดีในหลายประเทศ

แพลตฟอร์มรายใหญ่จากจีน ที่ก่อนหน้านี้โฟกัสเฉพาะในประเทศ ตอนนี้เริ่มหันมาเจาะตลาดต่างประเทศกันมากขึ้น โดยนอกจาก Shein และ Pinduoduo ในชื่อ Temu แล้ว TikTok ก็เปิด TikTok Shop เพื่อเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ โดยทดสอบตลาดในอังกฤษ และอีก 6 ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยด้วย

ที่มา: WSJ

No Description

from:https://www.blognone.com/node/130195

Top 10 มหาเศรษฐีโลกรวยลดลงปี 2022: 9 ใน 10 คือนักธุรกิจจีน ถูกผู้นำทุบเพราะผูกขาด

Hurun Research Institute รายงานรายชื่อคนรวยที่รวยมากขึ้น คนรวยที่เพิ่งขึ้นมาเป็นเศรษฐีใหม่ ไปจนถึงคนรวยที่รวยลดลง พบว่า 10 อันดับแรกที่ Hurun รายงาน จำนวน 9 ใน 10 ราย (ยกเว้น Mark Zuckerberg) ล้วนเป็นมหาเศรษฐีจีนทั้งสิ้น ที่รวยลดลงอย่างมากจนติดอันดับ Top 10 ของโลก สาเหตุสำคัญที่รวยลดลงเรื่องหนึ่งก็คือ การทำธุรกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนรัฐบาลจีนมองว่ากำลังมีพฤติกรรมผูกขาดทางธุรกิจอยู่และออกนโยบายมาควบคุม จัดการ และสั่งปรับบริษัทเทคจีนรายยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย

Top-10-Billionaires-big-lose-cover

มหาเศรษฐีจำนวน 9 ใน 10 รายนี้ ล้วนเป็นคนโด่งดัง มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างล้นหลามทั้งสิ้น หลายคนหลังถูกรัฐบาลจีนจัดการด้วยนโยบายต่อต้านการผูกขาดเข้าควบคุมก็ลงจากอำนาจกลายเป็นประธานบริษัทบ้าง หันไปมุ่งธุรกิจใหม่ๆ ด้านอื่นบ้าง เรียกได้ว่าทำตัว low profile สุดๆ เพื่อไม่ให้ใครได้พบเห็นเช่นเดิม มหาเศรษฐี 10 รายที่รวยและรวยลดลงมากที่สุด มีดังนี้

  1. Huang Zheng จาก Pinduoduo
  2. Zhang Yong จาก HaiDiLao
  3. Mark Zuckerberg จาก Meta
  4. Xu Jiayin จาก Evergrande
  5. Ma Huateng จาก Tencent
  6. Wang Wei จาก SF Express
  7. Su Hua จาก Kuaishou
  8. Ma Yun หรือ Jack Ma จาก Alibaba
  9. Li Yongxin จาก Offcn
  10. Lei Jun จาก Xiaomi

Colin Huang

อันดับ 1 Huang Zheng

Huang Zheng หรือ Colin Huang ผู้ก่อตั้งและอดีตประธาน Pinduoduo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน น้องใหม่มาแรงที่ก่อตั้งในปี 2015 ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6.5 แสนล้านบาท ปี 2020 มียอดผู้ใช้งานต่อปีถึง 700 ล้านแอคเคาท์ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 7.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022)

แม้เขาจะลงจากตำแหน่งในช่วงที่จีนมีการกวดขันอย่างหนักในการไล่ทุบบริษัทเทครายใหญ่ของจีนโดยอ้างเหตุผลเรื่องทำธุรกิจผูกขาดและช่วงที่บริษัทกำลังมีข่าวลือหนาหูเรื่องใช้พนักงานทำงานหนักจนเสียชีวิต  แม้ปัจจุบันจะหันหน้าสู่เส้นทางใหม่ มุ่งไปในด้านวิทยาศาสตร์และอาหารแล้ว แต่เขาก็ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ความมั่งคั่งลดลงมากถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท

อันดับ 2 Zhang Yong และ Shu Ping แห่ง HaiDiLao 

เจ้าอาณาจักรธุรกิจอาหารหม้อไฟยอดฮิต Zhang Yong ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.4 แสนล้านบาท มูลค่าตลาดของ HaiDiLao อยู่ที่ 8.85 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.03 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022)

เขาเคยเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในสิงคโปร์และเพิ่งลงจากตำแหน่ง CEO ของ HaiDiLao ในปีนี้ แต่ยังคงตำแหน่งประธานและกรรมการบริหารเพื่อให้คำแนะนำและกลยุทธ์ระยะยาวสำหรับองค์กรอยู่ Zhang ลงจากตำแหน่งขณะที่ยอดขายตกต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ยอดขายลดลง 90% ในปี 2020 เป็น 309.5 ล้านหยวน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโควิดระบาดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เขาต้องระงับธุรกิจหรือปิดกิจการชั่วคราวเพื่อจัดการโควิดตามนโยบายรัฐ

HaiDiLao ถือเป็นเชนอาหารหม้อไฟที่ใหญ่ที่สุดในจีนที่ก่อตั้งในปี 1994 มีสาขาในจีน 1,329 แห่ง ในต่างประเทศ 114 แห่ง รวมทั้งหมด 1,443 แห่ง ปี Zhang Yong และภรรยา Shu Ping ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง HaiDiLao สูญเสียความมั่งคั่งมากถึง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9.6 แสนล้านบาท

facebook
NEW YORK, NY – OCTOBER 25: Facebook CEO Mark Zuckerberg (Photo by Drew Angerer/Getty Images)

อันดับ 3 Mark Zuckerberg เจ้าอาณาจักร Meta

ช่วงขาลงของอาณาจักร Facebook หรือ Meta ของ Mark Zuckerberg หลังแพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง TikTok มาแรงจนกระชากความสนใจไปจากแพลตฟอร์ม ทำให้รายได้ลดลงจากการแข่งขันกับคู่แข่งหน้าใหม่อย่าง TikTok รวมทั้ง YouTube ด้วย ไม่ใช่แค่ความสนใจใน Facebook ที่ลดลงอย่างมากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวในการใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวด้วย 

มูลค่าตลาดของ Meta อยู่ที่ 5.220 แสนล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 17.9 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022) Mark Zuckerberg ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 7.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท เขาสูญเสียความมั่งคั่งไปราว 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8.6 แสนล้านบาท

Xu Jiayin

อันดับ 4 Xu Jiayin แห่ง Evergrande

Evergrande ก่อตั้งในปี 1996 มีโครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 1,300 โครงการ มากกว่า 280 เมืองในจีน มีทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (real estate) ธุรกิจให้บริการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ (property services) ปัจจุบันมี 2,800 โครงการกว่า 310 เมืองในจีน อาทิ ให้อาคารสำนักงานเชิงพาณิชย์ นิคมอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล ธนาคาร ธุรกิจสร้างสวนสนุก ธุรกิจรถ EV มีบริษัทผลิตสื่ออย่าง Henten Network ฯลฯ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.777 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9.53 หมื่นล้านบาท (6 มิ.ย. 2022)

Evergrande คือหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนและยังเป็นหนึ่งในบริษัทที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกด้วย บริษัทนี้ก่อตั้งโดย Xu Jiayin หรือ Hui Ka Yan (ภาษากวางตุ้ง) เขาเคยติดอันดับรวยที่สุดในจีน Xu Jiayin ครอบครองสินทรัพย์มูค่า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.61 แสนล้านบาท เขายังเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งประชาชนจีน เป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นนำจีน ทำให้ง่ายและน่าเชื่อมั่นต่อการกู้ยืมเงินและยิ่งทำให้ธุรกิจขยายใหญ่โตอย่างรวดเร็ว

หลังจากบริษัทเริ่มแบกภาระหนี้ก้อนใหญ่ไม่ไหว เริ่มไม่มีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ มีหนี้ที่ต้องแบกประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท ยังมีที่อยู่อาศัยอีกกว่า 100 แห่งที่ยังสร้างไม่สำเร็จ กว่า 800 โครงการทั่วจีนที่ยังทำไม่สำเร็จ มีคนรอที่จะย้ายเข้าไปอยู่บ้านใหม่ราว 1.6 ล้านคน รวมทั้งจีนเริ่มมีนโยบายควบคุมการกู้ยืมของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ Evergrande ใหญ่เกินไปที่จะล้ม Xu Jiayin สูญเสียความมั่งคั่งราว 2.34 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8 แสนล้านบาท

Pony Ma, Ma Huateng Tencent
Image from Tencent

อันดับ 5 Ma Huateng แห่ง Tencent

Ma Huang หรือ Pony Ma ประธานและซีอีโอ Tencent ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 เจ้าของซุปเปอร์แอป WeChat ที่มีคนใช้มากกว่า 1 พันล้านแอคเคาท์ มูลค่าตลาดสูงถึง 4.143 แสนล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 14.2 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022) เขาครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 5.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท Tencent โดนทางการจีนมองว่าเป็นแพลตฟอร์มผูกขาดทางธุรกิจมาตลอด ทำให้สูญเสียความมั่งคั่งไปถึง 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 7.5 แสนล้านบาท

อันดับ 6 Wang Wei แห่ง SF Express

SF ก่อตั้งในปี 1993 ถือเป็นผู้ให้บริการโลจิสต์รายใหญ่ที่สุดของจีนและใหญ่เป็นอันดับ 4 ในระดับโลก มูลค่าตลาด S.F. Holding อยู่ที่ 3.67 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022)

Wang Wei ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท หลังถูกรัฐบาลจีนจัดการเพราะเป็นธุรกิจผูกขาด ทำให้สูญเสียความมั่งคั่งราว 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6.5 แสนล้านบาท

อันดับ 7 Su Hua แห่ง Kuaishou

Su Hua เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Kuaishou แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่โด่งดัง มาแรงและใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีนรองจาก Douyin หรือ TikTok ของ ByteDance มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022) Kuaishou ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2011 โดยมี Su Hua และ Cheng Yixiao เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

ปัจจุบัน Su Hua ลงจากตำแหน่งซีอีโอแล้วแต่ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานบอร์ดอยู่ เขาระบุว่าเขาต้องการจะมุ่งพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท ส่วน Cheng Yixiao ขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน แต่อำนาจในการตัดสินใจยังเป็นของทั้งคู่อยู่เช่นเดิม Su Hua ครอบครองทรัพย์สินมูลค่า 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท และสูญเสียความมั่งคั่ง 1.83 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6.2 แสนล้านบาท (หมายเหตุ* มีอันดับ 7 สองราย ไม่มีอันดับ 8)

Jack Ma

อันดับ 7 Ma Yun และครอบครัว แห่ง Alibaba

Ma Yun หรือ Jack Ma แห่ง Alibaba เจ้าอาณาจักรแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและค้าปลีกรายใหญ่ของโลก ก่อตั้งด้วย Ma อดีตครูสอนภาษาอังกฤษและเพื่อนรวม 18 คนตั้งแต่ปี 1999 ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.73 แสนล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9.3 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022)

Ma ลงจากตำแหน่งซีอีโอตั้งแต่ปี 2019 แล้ว มี Daniel Zhang ขึ้นมาดูแลแทน Ma ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท เขาสูญเสียความมั่งคั่งราว 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6.1 แสนล้านบาท (หมายเหตุ* มีอันดับ 7 สองราย ไม่มีอันดับ 8)

อันดับ 9 Lu Zhongfang และ Li Yongxin แห่ง Offcn

OFFCN (Offcn Education Technology Co., Ltd.) ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 เป็นองค์กรที่บุกเบิกและเป็นผู้นำธุรกิจด้านการศึกษา โดยเน้นสามเรื่องใหญ่ๆ คือการฝึกอบรมเพื่อสอบเข้าเป็นข้าราชการ การเตรียมความพร้อมทางด้านวิชาการและการฝึกฝนด้านวิชาชีพ OFFCN ขยายสาขาไปแล้วกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ เป็นฐานให้ความรู้ผู้คนในทุกระดับตั้งแต่นักเรียนระดับวิทยาลัย จบมหาวิทยาลัยและอาชีพต่างๆ หลากหลายสาขา

Lu Zhongfang และ Li Yongxin ครอบครองสินทรัยพ์มูลค่า 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.68 แสนล้านบาท บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.188 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.09 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022) เขาสูญเสียความมั่งคั่งมากถึง 1.71 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 5.88 แสนล้านบาท 

Lei Jun Xiaomi
Image from Xiaomi

อันดับ 10 Lei Jun แห่ง Xiaomi

Xiaomi ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของจีน มูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.08 แสนล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10.5 ล้านล้านบาท (6 มิ.ย. 2022) Lei Jun ผู้ก่อตั้ง Xiaomi ครอบครองสินทรัพย์มูลค่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4.8 แสนล้านบาท เขาสูญเสียความมั่งคั่งไปราว 1.66 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 5.7 แสนล้านบาท 

Xiaomi ก็ถูกจับจ้องเรื่องการลงทุนที่มากเกินไปจนมีแนวโน้มผูกขาดตลาดเช่นกัน เฉพาะแค่เดือนมีนาคม ปี 2022 เขาก็ลงทุนไปแล้วกว่า 400 บริษัท ด้วยเงินมูลค่า 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3.02 แสนล้านบาท  

(หมายเหตุ* มีอันดับที่ 7 สองราย ไม่มีอันดับ 8)

ที่มา – Hurun, Pinduoduo, SCMP (1), (2), (3), HaiDiLao, Tencent, Forbes (1), (2), SF, Kuaishou, Yahoo Finance (1), (2), (3), (4), (5), (6), (7), Alibaba, Evergrande, The New York Times, Financial Times, OFFCN

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Top 10 มหาเศรษฐีโลกรวยลดลงปี 2022: 9 ใน 10 คือนักธุรกิจจีน ถูกผู้นำทุบเพราะผูกขาด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/hurun-report-top-10-billionaires-big-lose-in-2022/

Pinduoduo แพลตฟอร์ม Group Buying ของจีน ประกาศโครงการสนับสนุนเกษตรกร วงเงิน 10,000 ล้านหยวน

Pinduoduo แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซที่มาแรงของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มีรายได้เพิ่มขึ้น 89% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 23,046 ล้านหยวน และมีไฮไลท์คือไตรมาสนี้บริษัทมีกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกคือ 2,414 ล้านหยวน อย่างไรก็ตาม Tony Ma รองประธานฝ่ายการเงินของ Pinduoduo ก็ให้ข้อมูลว่ากำไรในไตรมาสนี้น่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะคราว เนื่องจากบริษัทยังต้องลงทุนอีกมาก จึงไม่คาดว่าจะมีกำไรในระยะสั้นจากนี้

รายได้ของ Pinduoduo มาจากค่าการตลาดออนไลน์ 18,080 ล้านหยวน, ค่าดำเนินการ 3,007 ล้านหยวน และมีจากการขายสินค้า 1,958 ล้านหยวน มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) เพิ่มขึ้นเป็น 738 ล้านคน

กลยุทธ์ของ Pinduoduo ในช่วงที่ผ่านมาคือเน้นไปที่สินค้าเกษตร และขายแบบให้ซื้อรวมกันเป็นกลุ่ม (Group Buying) ซึ่งได้ผลนี้ในตลาดเมืองรองของจีน ปัจจุบันแพลตฟอร์มเชื่อมต่อกับเกษตรกรในการขายผลิตผลมากกว่า 16 ล้านคน

Pinduoduo ยังประกาศแผนสนับสนุนภาคเกษตรกรรม เป็นเงิน 1 หมื่นล้านหยวน เพื่อปรับปรุงเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล ให้ปรับปรุงกระบวนการความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต โดยบริษัทจะใช้เงินจากกำไรสุทธิในไตรมาสนี้สนับสนุนโครงการดังกล่าว

ที่มา: Pinduoduo และ KrAsia

alt="Pinduoduo"

alt="Pinduoduo"

from:https://www.blognone.com/node/124483

Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีน ยกกำไรทั้งหมดในไตรมาส 2 สนับสนุนการพัฒนาชนบทของรัฐบาลจีน

Pinduoduo บริษัทอีคอมเมิร์ซแนวหน้าของจีนประกาศบริจาครายได้ทั้งหมดในช่วง Q2 ปี 2021 ร่วม 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.22 หมื่นล้านบาท) ให้แก่การพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมและชนบทในจีน โดยตั้งยอดบริจาคไว้ทั้งหมด 1 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท)

ช่วยเหลือเกษตรกร คู่ค้าหลักของ Pinduoduo

Chen Lei ประธานบริหารของ Pinduoduo จะลงมาดูแลโปรเจคนี้ด้วยตัวเอง พร้อมกล่าวว่า “โปรเจคนี้สำคัญและมีความท้าทายสูง พวกเราจึงอยากจะลงทุนอย่างรอบคอบที่สุด” และเสริมอีกว่ากำไรที่ได้จากไตรมาสต่อๆ ไปในอนาคต จะถูกแบ่งสัดส่วนมาลงทุนในโปรเจคการกุศลนี้จนกว่าจะถึงเป้า

การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก Pinduoduo มีกำไรเป็นครั้งแรกในฐานะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq มา 3 ปี ถึงแม้จะไม่เคยจ่ายปันผล แต่หุ้นของ Pinduoduo ก็เติบโตมากกว่า 3 เท่าตั้งแต่การ IPO

โปรเจคนี้มีชื่อว่า 10 Billion Agriculture Initiative โดยมุ่งสนันสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรกรรม (AgriTech) ให้มากขึ้น รวมถึงเผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าวให้เข้าถึงคนได้มากขึ้นอีกด้วย

รูปจากฟาร์มส้มที่ขายสินค้าบนแอป Pinduoduo

สนับสนุนนโยบาย “เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ของรัฐบาลจีน

การบริจาคของ Pinduoduo มีลักษณะคล้ายกันกับการบริจาคของ Tencent เมื่อไม่นานมานี้ โดยประกาศบริจาคเงินจำนวน 5 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.5 แสนล้านบาท) เพื่อสนับสนุนนโยบาย “เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ของรัฐบาลจีนที่นำโดยประธานธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งทางบริษัทจะเริ่มลงทุนในโปรเจคการเพิ่มรายได้ให้คนจน การลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา และอื่นๆ

นอกจาก Pinduoduo และ Tencent แล้ว ทาง ByteDance, Alibaba และ Meituan เองก็ได้ทำการบริจาคทั้งหุ้นและเงินสดเพื่อการกุศลไปแล้วในปีนี้ ทั้งในนามของบริษัทและในฐานะประธานบริษัทเอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากทางรัฐบาลจีนเริ่มไล่กำกับภาคเอกชนมากขึ้น 

สรุป

ด้วยท่าทีของรัฐบาลจีนที่แข็งกร้าวขึ้น ทางบริษัทเทคโนโลยีในจีนก็หันมาช่วยเหลือสังคมมากขึ้น หวังได้รับการนผ่อนปรนจากภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะการสนับสนุนภาคการศึกษาและชนบท ซึ่งเป็นนโยบายหลักของทางการจีนในปัจจุบัน

ที่มา – CNN, Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีน ยกกำไรทั้งหมดในไตรมาส 2 สนับสนุนการพัฒนาชนบทของรัฐบาลจีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/pinduoduo-10-billion-agriculture-initiative/

ทำงานหนักจนตาย: เปิดปมพนักงานอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่แห่งเกาหลี กับวลี “บริษัทเห็นเราเป็นแค่หุ่นยนต์”

พนักงานอีกกี่รายที่ต้องทำงานหนักจนตาย.. ให้บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ระดับโลก ?

อีคอมเมิร์ซเกาหลี

ท่ามกลางกระแสความเติบโตของวงการอีคอมเมิร์ซในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การทำงานหนักตรากตรำของพนักงานหลายชีวิต

เมื่อต้นปี 2021 มีข่าวน่าสลดใจว่า พนักงาน Pinduoduo อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในจีน เสียชีวิต 2 ราย

ส่วนทางฝั่ง Amazon ก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีข่าวแง่ลบเกี่ยวกับพนักงานออกมาไม่ขาดสาย เช่น Amazon งานเข้า! ส.ส. สหรัฐฯ เผยพนักงานถูกบังคับด้วยเวลาจนต้องปัสสาวะลงในขวดพลาสติก 

ไม่ใช่แค่จีน ไม่ใช่แค่ฝั่งตะวันตก ล่าสุด ทางฝั่งเกาหลีใต้ก็มีข่าวว่า พนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่อย่าง Coupang ทำงานหนักจนเสียชีวิตเช่นเดียวกัน

มันเกิดอะไรขึ้นในโรงงานของบริษัทอีคอมเมิร์ซแห่งเกาหลีใต้รายนี้ ?

coupang

ชะตากรรมพนักงานในคลังสินค้าบริษัท Coupang

เรื่องราวมีอยู่ว่า Jang Deok-joon ซึ่งเป็นพนักงานในคลังสินค้าของ Coupang ได้เสียชีวิตลงหลังกลับจากทำงานกะดึก

พ่อของเขาเล่าว่า ในคืนนั้น Jang Deok-joon เข้าไปอาบน้ำเป็นเวลานานถึงชั่วโมงครึ่งแล้วยังไม่ออกมา เมื่อลองเปิดประตูเข้าไปดูก็พบว่า เขานอนหมดสติและขดตัวอยู่ในอ่างอาบน้ำ แม้จะนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่เขาก็เสียชีวิตลง ซึ่งเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพระบุว่าเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว 

หากย้อนไปดูชีวิตการทำงานของ Jang Deok-joon ก็จะพบว่า เขาทำงานหนักมาตลอด

  • เขาทำงานช่วงกะดึก 19.00 น. ถึง 04.00 น.
  • เขาทำงานหนักเป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน
  • เขาน้ำหนักลดลงถึง 14 กิโลกรัม

กรณีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะ Go Geon อดีตพนักงานที่ Coupang ก็เล่าว่า “บริษัทเห็นพวกเราเป็นแค่หุ่นยนต์” ตอนที่เขายังทำงานอยู่ในคลังสินค้าก็ต้องวิ่งทำเวลาจนได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย เพราะถ้าช้าหัวหน้าก็จะยิ่งพูดจากดดัน

ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น เพราะตั้งแต่ปี 2019 ถึงปี 2020 มีรายงานว่า พนักงานของ Coupang ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่คลังสินค้าถึง 982 ครั้ง ซึ่งถ้าเป็นในอดีตทาง Coupang จะไล่พนักงานกลุ่มนี้ออกไป เพราะอ้างว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพบ้าง

แต่ท้ายที่สุด ศาลในเกาหลีใต้ก็ตัดสินว่า ให้บริษัทหยุดการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนี้ 

coupang

Coupang ยิ่งใหญ่ขนาดไหนในเกาหลีใต้

เมื่อไม่นานมานี้ Coupang เพิ่งเข้า IPO ในตลาดหุ้น Nasdaq ด้วยมูลค่าธุรกิจกว่า 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท) ซึ่งถือว่าเป็นการ IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี หลังจากที่บริษัทเอเชียอย่าง Alibaba เคยสร้างประวัติไว้อย่างน่าภาคภูมิใจ

Coupang มีพนักงานในเครือกว่า 37,000 คน เพื่อรองรับออร์เดอร์สินค้ามหาศาลในแต่ละวัน

บริษัทนี้มีชื่อเสียงมากถึงขนาดที่ประชากรกว่าครึ่งของเกาหลีใต้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Coupang ไว้ เพื่อใช้บริการ Rocket Delivery ที่รับประกันว่าจะจัดส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมง

Coupang จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วขนาดนี้เพราะใช้ AI เข้ามาคำนวณทุกอย่าง ตั้งแต่การสต็อคสินค้า การจัดเรียงสินค้าในรถบรรทุก ไปจนถึงการแนะนำเส้นทางและลำดับส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้สามารถส่งสินค้าหลายล้านรายการได้ภายในหนึ่งวัน

แต่ก็มีข้อเสียหลายอย่าง เช่น พนักงานในคลังสินค้าต้องรีบทำงานถึงขนาดที่หาเวลาไปเข้าห้องน้ำได้ยากเลยทีเดียว

 

โดยสรุป

แม้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะเติบโตแค่ไหน สิ่งที่หลงลืมไม่ได้คือ “การเอาใส่ใจพนักงานหลังบ้าน” เพราะพวกเป็นกำลังสำคัญ

ถ้าบริษัทระดับโลกบริหารเรื่องนี้ได้ไม่ดีเท่าไหร่ คงสร้างความเสียหายให้กับภาพลักษณ์เช่นเดียวกับที่หลายๆ ยักษ์ใหญ่กำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้

ที่มา: SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ทำงานหนักจนตาย: เปิดปมพนักงานอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่แห่งเกาหลี กับวลี “บริษัทเห็นเราเป็นแค่หุ่นยนต์” first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/coupang-ecommere-korea-hard-work/

ทางการจีนไม่ได้เพ่งเล็งแค่ ‘แจ็ค หม่า’ เท่านั้น แต่บริษัทเทคจีนทุกรายต้องระวังตัว

หลังจากรัฐบาลจีนเริ่มกำกับขอบเขตของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าในจีน เริ่มต้นจาก Ant Group ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ IPO ได้สำเร็จเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา หรือแม้แต่การออกกฎหมายใหม่ ทางรัฐบาลก็ได้ร่อนใบตักเตือนสู่หลากหลายบริษัทในวงการนี้อย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา

รัฐร่อนหมายเตือน เล็ก-ใหญ่แค่ไหนก็ไม่รอด

ณ ปัจจุบัน คำเตือนจากทางการจีนมีตั้งแต่ การตั้งราคาไม่สม่ำเสมอ การใช้งานข้อมูลส่วนตัวลูกค้าในทางที่ผิด ยันสภาวะการทำงานที่แย่เกินไปต่อพนักงาน จำนวนแอปพลิเคชั่นที่ถูกตรวจสอบมีจำนวนไม่น้อยกว่า 222 แอป รวมถึงแอปยอดนิยมอย่าง Meituan แอปฟู้ดเดลิเวอรี่, DiDi ผู้ให้บริการขนส่งระยะสั้น, Douyin แพลตฟอร์มวิดิโอสั้น และ Pinduoduo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

“ทางการจีนต้องการส่งสารให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้ว่าสุดท้ายแล้ว รัฐ มีอำนาจมากที่สุด และจะไม่ยอมรับคำตอบอื่นทั้งสิ้น” กล่าว Mark Natkin กรรมการผู้จัดการ Marbridge Consulting บริษัทวิจัยอุตสาหกรรมในปักกิ่ง

การผูกขาดตลาด: เครื่องมือในการควบคุมของรัฐบาลจีน

ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกเหมือนกัน ประเทศจีนมีประวัติศาสตร์การใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust Laws) ที่สั้นที่สุด อีกทั้งทางรัฐบาลจีนเคยใช้กฎหมายเหล่านี้ในการควบคุมอิทธิพลของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในจีนอีกด้วย

กลับกัน บริษัทอินเทอร์เน็ตภายในประเทศไม่เคยโดนตรวจตรา เพราะทางการจีนมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของตัวเองได้เติบโต

Jack Ma Alibaba
แจ็ค หม่า ภาพจาก Shutterstock

ทว่า เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลจีนก็เปลี่ยนท่าทีของตัวเอง เริ่มตรวจสอบและกำกับบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ในจีน โดยเริ่มจาก Ant Group และเครือ Alibaba ของแจ๊ค หม่า ทั้งหมด ข้อหาหลักของ Alibaba ในการควบคุมตลาด คือ การบังคับให้พาร์ทเนอร์ใช้แพลตฟอร์มของตัวเองและห้ามใช้แพลตฟอร์มคู่แข่ง ไม่เช่นนั้นจะโดนลงโทษ

การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “er xuan yi” หมายความว่า ต้องเลือกแค่ 1 จาก 2 ตัวเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในจีนทำกันมานานหลายปี สังคมประณามกันมาโดยตลอด หรือแม้แต่เกิดการฟ้องร้องขึ้น แต่ไม่มีผลลัพธ์ชัดเจน เหตุเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาพอ

ทางรัฐร่อนหมายตรวจให้ Meituan เจ้าของแอปฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ด้วยข้อหาเดียวกัน ด้านบริษัท Meituan ให้คำตอบว่าจะให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเต็มที่ และจะดำเนินธุรกิจต่อไปเหมือนเดิม

Pinduoduo
Pinduoduo แอปฯ E-Commerce ที่ถูกรัฐบาลจีนตรวจสอบ

เสียงบ่นจากลูกค้า ค่าปรับจากทางการ และการโต้ตอบของบริษัท

“เป้าหมายหลักของทางการจีน คือ การตักเตือนบริษัทให้ทำตามกฎหมาย โดยไม่ได้ต้องการดำเนินคดีจริงๆ” กล่าวโดย รองศาสตราจารย์ Angela Zhang อาจารย์ภาคนิติศาสตร์ จาก University of Hong Kong

ทางการท้องถิ่นของจีนเองก็เริ่มกำกับบริษัทในพื้นที่ของตัวเองเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้เพื่อการควบคุมตลาด ได้สั่งปรับแอปส่งของ Ele.me ที่มี Alibaba เป็นเจ้าของ เป็นจำนวน 500,000 หยวน (ประมาณ 243,000 บาท) ด้วยข้อหาทำผิดกฎหมายด้านราคาและความปลอดภัยของอาหาร

คณะกรรมการความปลอดภัยผู้บริโภคแห่งเซี่ยงไฮ้ ได้ตรวจสอบ Meituan และ Pinduoduo ไปเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมาในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การหลอกลวงผู้บริโภคออนไลน์ คุณภาพสินค้าไม่ดี รวมถึงละเลยการส่งของให้ลูกค้า

เมื่อเดือนที่แล้ว หลายกระทรวง รวมถึงกระทรวงการคมนาคม และ กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน ก็ได้เรียกตัวแทนของ 8 บริษัท รวมถึงบริษัท DiDi และ Meituan ที่เป็นแอปเดลิเวอรี่ทั้งคู่ เข้าไปคุยเรื่องความกังวลที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านสิทธิของไรเดอร์

ภายหลัง DiDi ได้โพสต์วิธีการคำนวณรายได้ของไรเดอร์ใน WeChat ของบริษัท และขอบคุณมวลชลสำหรับความสนใจและคำวิจารณ์

เมื่อสิ้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา Wang Xing กรรมการผู้บริหารบริษัท Meituan ได้ทำการบริจาคหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่ากว่า 1.73 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท) ให้แก่มูลนิธิในชื่อของตัวเอง เพื่อสนับสนุนโปรเจคด้านการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ตัวบริษัท Meituan ก็ได้จัดตั้งทีมงานที่จะคอยให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบของเจ้าหน้าอย่างเคร่งครัด

ในเดือนเม.ย. ก่อนหน้านี้ Pony Ma กรรมการผู้บริหารบริษัท Tencent Holdings ประกาศไว้ว่าทางบริษัทได้จัดงบประมาณมูลค่า 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 หมื่นล้านบาท) ไว้สนับสนุนโปรเจคด้านประชาสงเคราะห์ (Public Welfare), การพัฒนาชุมนุมชนบท (Rural Revitalization), การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และอื่น ๆ

Tencent ก็ไม่รอดจากการตรวจสอบของทางการจีน ประเด็นที่ถูกจับตามองส่วนใหญ่ในปีที่ผ่านมา คือ เรื่องการให้บริการด้านการเงินที่เสี่ยง และ แจ้งการเข้าซื้อกิจการไม่ครบ

“ถ้าเราสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมด้วยเทคโนโลยีและสินค้าของพวกเราได้มากขึ้น ผมคิดว่าเราจะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นจากยูสเซอร์ ลูกค้า รัฐบาล และ พนักงานของเรา” กล่าวโดย Martin Lau ประธานบริษัท Tencent

สรุป

ด้วยท่าทีที่เคร่งครัดขึ้นของรัฐบาลจีนต่อบริษัทเทคโนโลยีในประเทศของตัวเอง น่าติดตามว่าจะมีผลกระทบต่อความนิยม หรือ ฟีเจอร์ต่างๆ ของแอปหรือไม่ ไม่ว่าบริษัทจะตอบแทนสังคมยังไง ไม่ว่าจะมีมูลค่าสูงหรือต่ำแค่ไหน ท้ายที่สุดก็ต้องเข้าใจว่า รัฐบาลจีนใหญ่ที่สุด

ที่มา – The Wall Street Journal 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ทางการจีนไม่ได้เพ่งเล็งแค่ ‘แจ็ค หม่า’ เท่านั้น แต่บริษัทเทคจีนทุกรายต้องระวังตัว first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-government-warn-all-tech-company/

เปิดประวัติ Pinduoduo อีคอมเมิร์ซน้องใหม่ ผู้โค่นยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba

อีคอมเมิร์ซจีนน้องใหม่ ผู้โค่น Alibaba 

Pinduoduo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซน้องใหม่อายุ 5 ปีกว่า มียอดผู้ใช้งานแซงหน้า Alibaba ได้อย่างไร?

PInduoduo

ยอดผู้ใช้งาน Pinduoduo แซงหน้า Alibaba แล้ว

ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซน้องใหม่อย่าง Pinduoduo รวมกว่า 788.4 ล้านคน ซึ่งนับว่าแซงหน้าพี่ใหญ่ในวงการอย่าง Alibaba ที่มียอดผู้ใช้งานรวมเพียง 779 ล้านคนเท่านั้น

รายได้ปีที่ผ่านมาของ Pinduoduo อยู่ที่ 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท) มากกว่ารายได้ปี 2019 ถึง 2 เท่า ทำให้ในปัจจุบัน Pinduoduo ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของ Alibaba และการแข่งขันนี้คงดำเนินต่อไป

บริษัทวิจัยด้านการตลาด eMarketer คาดการณ์ว่า ในปี 2025 ตลาดอีคอมเมิร์ซในจีนจะเติบโตกว่า 5.49 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17 ล้านล้านบาท)

  • อะไรทำให้ Pinduoduo ก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ได้

Pinduoduo สำเร็จได้ เพราะมีเกม (Gamification) เป็นจุดขาย

Colin Huang ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo อธิบายภาพของ Pinduoduo ไว้อย่างดีว่า “เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างห้าง Costco ที่ขายส่งสินค้าคุณภาพในราคาย่อมเยากับ Disney ที่ให้ความบันเทิง”

จุดเด่นของ Pinduoduo คือเปิดโอกาสให้หลายๆ คนมาซื้อของร่วมกันในราคาจับต้องได้ ทั้งยังมีเกมสนุกๆ ภายในแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ลูกค้าลุ้นรับรางวัลพิเศษหรือคูปองส่วนลดต่างๆ 

ลองดูวิดีโอด้านล่างนี้ประกอบ

หนึ่งในเกมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ Duo Duo Orchard ที่ให้ผู้เล่นปลูกต้นไม้เสมือนจริง เพื่อแลกรับบัตรกำนัลและรางวัลที่จับต้องได้ เช่น ผลไม้สด เกมนี้ได้รับความนิยมมาก ถึงขั้นที่ผู้เล่นบางคนติดเกมนี้เลยทีเดียว

Pinduoduo มองว่ากลยุทธ์นี้ช่วยให้ลูกค้าใช้เวลาในแอปพลิเคชั่นนานขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การจับจ่ายสินค้าที่มากขึ้นตามไปด้วย 

สินค้าเกษตรคือตัวแปรสำคัญในตลาดออนไลน์

เมื่อพบว่าในปี 2020 ลูกค้าหนึ่งคนซื้อสินค้าโดยเฉลี่ยที่ 324 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,000 บาท) ทาง Pinduoduo ก็เริ่มหันมาบุกตลาดผักผลไม้สดเพื่อกระตุ้นยอดขาย เพราะผักผลไม้เป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถซื้อได้ทุกวัน 

อีกทั้งยังระดมทุนกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท) เพื่อช่วยให้เกษตรกรในชนบทมีรายได้จากการขายสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรสามารถนำกำไรเหล่านั้นไปพัฒนากระบวนการผลิตไดั ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็ประสบความสำเร็จ เพราะผลิตผลทางการเกษตรสร้างรายได้ให้ Pinduoduo กว่า 15% 

หากย้อนกลับไปในฤดูร้อนปี 2015 Colin Huang ก็เริ่มต้น Pinduoduo จากการขายผลไม้ลดราคาในเมืองเซี่ยงไฮ้ และโปรโมทสินค้าครั้งใหญ่ผ่านแอปพลิเคชั่น WeChat จนทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาในระบบอย่างไม่ขาดสาย

บริการอื่นๆ ที่น่าสนใจของ Pinduoduo

Pinduoduo

อีคอมเมิร์ซน้องใหม่อย่าง Pinduoduo ยังมีความน่าสนใจอีกหลายด้าน เช่น 

  • การใช้โมเดลธุรกิจแบบ C2M (Consumer to Manufacturer) หรือการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคให้แก่ผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับราคาสินค้าได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
  • การเปิดสอนเรื่องอีคอมเมิร์ซให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยากสร้างแบรนด์ของตัวเองผ่าน Duo Duo University เพื่อเปิดโอกาสให้แบรนด์เหล่านี้มาขายสินค้าบนแพลตฟอร์มของ Pinduoduo 
  • ระบบ E-Waybill ที่ช่วยให้ข้อมูลการจัดส่งสินค้ามีความโปร่งใส และอัปเดตข้อมูลกับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ เพราะในช่วงเทศกาล 618 มีคำสั่งซื้อเข้ามามากกว่า 60 ล้านรายการต่อวัน ทำให้ทาง Pinduoduo พัฒนาระบบนี้ขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม เมื่อ Pinduoduo ประสบความสำเร็จมากๆ การตรวจสอบจากรัฐบาลก็เพิ่มขึ้น เช่นช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่า พนักงาน Pinduoduo เสียชีวิต เพราะทำงานหนักเกินไป หรือ ข่าว Colin Huang ลาออกจากบริษัท แล้วให้ Chen Lei อดีต CTO ขึ้นมาบริหารงานในตำแหน่ง CEO แทน

ทั้งนี้ แม้ก้าวลงจากตำแหน่งในวัย 41 ปี Colin Huang ก็ยังคงครองตำแหน่งเศรษฐีอันดับ 3 ของจีนด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 55.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท)

ที่มา : Wsj, Pinduoduo, Forbes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เปิดประวัติ Pinduoduo อีคอมเมิร์ซน้องใหม่ ผู้โค่นยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/pinduoduo-china-alibaba/

“ดีได้ แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย” ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo อีคอมเมิร์ซมาแรงของจีน ลาออกจากบริษัทแล้ว

Colin Huang
Colin Huang ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo

ผู้ก่อตั้งลาออกจากบริษัท

Colin Huang ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo ประกาศลาออกจากบริษัทแล้ว โดยหลังจากนี้เขาจะออกไปตามหาความฝันด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ไปพูดคุยกับมหาวิทยาลัยในจีนเพื่อก่อตั้งแล็บวิจัยด้าน biotechnology

Pinduoduo เป็นอีคอมเมิร์ซน้องใหม่มาแรง ในปี 2020 มียอดผู้ใช้งานต่อวันสูงกว่า Alibaba แถมผู้ก่อตั้ง Pinduoduo ก็มีความร่ำรวยแซงหน้าแจ๊ค หม่าไปแล้ว

ในปี 2020 ชื่อของ Colin Huang ติดอันดับมหาเศรษฐีโลกที่ร่ำรวยเพิ่มมากที่สุด 5 อันดับแรก

Pinduoduo Application Photo: shutterstock
Pinduoduo Application Photo: shutterstock

ทางการจีนคุมเข้มบริษัทเทคโนโลยี

การลาออกจากบริษัทของผู้ก่อตั้ง Pinduoduo ถ้ามองในมุมส่วนตัวที่ให้เหตุผลไว้ก็เข้าใจได้

แต่ถ้ามองในบริบทภาพกว้าง นี่อาจไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

Colin Huang ประกาศลาออกจาก Pinduoduo ให้หลัง 1 สัปดาห์ ตามหลัง Simon Hu ซีอีโอของ Ant Group

มองภาพใหญ่กว่านั้น ช่วงนี้รัฐบาลจีนกำลังเล่นงานบริษัทเทคโนโลยีอย่างหนัก เริ่มมาตั้งแต่ข่าวแจ๊ค หม่าหายตัวไปหลังการสั่งระงับ IPO ของ Ant Group และล่าสุดที่มีกรณีของ Tencent ที่รัฐบาลเข้ามาเพ่งเล็งในธุรกิจฟินเทคของบริษัท ทำให้มูลค่าบริษัทโดยรวมลดลงไปถึง 2 ล้านล้านบาท

การลาออกของผู้ก่อตั้ง Pinduoduo จึงมีภาพของการกำกับควบคุมของรัฐบาลจีนอยู่ด้วย

ที่มา – WSJ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post “ดีได้ แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย” ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo อีคอมเมิร์ซมาแรงของจีน ลาออกจากบริษัทแล้ว first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/founder-pinduoduo-step-down/

Pinduoduo อีคอมเมิร์ซมาแรงในจีนมียอดผู้ใช้ต่อวันในปี 2020 แซง Alibaba แล้ว

Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรง ตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้แอคทีฟต่อวันในปีที่แล้วถึง 788 ล้านราย โดยถือเป็นจุดหมายสำคัญเพราะจำนวนผู้ใช้ของ Pinduoduo ได้แซงคู่แข่งอย่าง Alibaba ไปแล้ว

สำหรับ Pinduoduo เป็นแอปอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรงมาก โดยจับกลุ่มลูกค้าในเมืองเล็กของจีน ตัวแอปโด่งดังขึ้นมาจากการกำจัดผู้ค้าคนกลางด้วยการขายสินค้าอย่างผลไม้หรือของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาถูก แต่ช่วงหลังได้เริ่มขยายกิจการมาขายทุกอย่างแม้กระทั่ง iPhone

Pinduoduo ไอพีโอเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อสองปีที่แล้ว ปัจจุบันมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นและพาร์ทเนอร์ใหญ่ ซึ่งจำนวนแอคทีฟรายวันที่รายงานพร้อมผลประกอบการไตรมาสของปีที่แล้วอยู่ที่ 788 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งอย่าง Alibaba ที่ 779 ล้านรายเล็กน้อย แต่ในกลุ่มผู้ใช้แอคทีฟรายเดือน Pinduoduo อยู่ที่ 720 ล้านราย ในขณะที่ Alibaba ยังนำอยู่มากที่ 902 ล้านราย โดยบริษัท Pinduoduo ยังคงมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิที่ 1.38 พันล้านหยวนในไตรมาสสุดท้าย ลดลงจาก 1.75 พันล้านหยวนในปีก่อนหน้า

ตลาดอีคอมเมิร์ซจีนนั้นยังเติบโตได้อีกมาก ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ 989 ล้านคนในปีที่แล้ว และเป้าหมายหลักของ Pinduoduo คือจะขายผลิตภัณฑ์การเกษตรให้ได้ถึง 1.45 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีในปี 2025 ซึ่งซีอีโอของ Pinduoduo หวังว่าบริษัทจะเป็นผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดให้ได้

ที่มา – TechCrunch

No Description
ภาพจาก Pinduoduo

from:https://www.blognone.com/node/121742

สรุปดราม่า Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีน พนักงานเสียชีวิต วิศวกรโดดตึกตาย เพราะทำงานหนักเกินไป

(1)

เรื่องราวเริ่มต้นจากต้นปี 2021 มีข่าวพนักงานหญิงของ Pinduoduo (ออกเสียงในภาษาจีนว่า พินตั๋วตั๋ว) วัย 22 ปีเสียชีวิตขณะเดินทางกลับบ้านกลางดึก คาดว่าสาเหตุมาจากการทำงานหนักจนเกินไป

(2)

ให้หลังจากนั้นไม่เกิน 2 สัปดาห์ มีข่าวว่าวิศวกรของ Pinduoduo กระโดดจากตึกชั้น 27 เพื่อฆ่าตัวตาย ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิต หลายฝ่ายคาดว่าก็หนีไม่พ้นการทำงานหนักจนเครียดและรับไม่ไหว

(3)

จากนั้น อดีตพนักงานของ Pinduoduo รายหนึ่งซึ่งใช้นามสมมติว่า Wang ได้ทำการโพสต์คลิปวิดีโอความยาว 15 นาทีเผยแพร่ใน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจีน โดยมีสาระสำคัญคือเปิดเผยให้สาธารณชนรู้ว่า พนักงานของ Pinduoduo ต้องทำงานหนักถึงเดือนละ 300-380 ชั่วโมง คิดแล้วตกวันละ 10-12 ชั่วโมง

(4)

เหตุการณ์ทั้งหมดส่งผลให้สังคมมุ่งเป้าและตั้งคำถามไปถึง “วัฒนธรรมการทำงานหนัก” และมีกระแสบอยคอต Pinduoduo แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง

Pinduoduo
หน้าตาแอพพลิเคชั่นอีคอมเมิร์ซ Photo: Pinduoduo

พนักงาน Pinduoduo ทำงานหนักกว่าวัฒนธรรม 996

ในโลกการทำงานของจีน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องการก้าวกระโดดทางธุรกิจ หนึ่งในวัฒนธรรมที่ได้ยินและปฏิบัติกันมาโดยตลอดคือ “996” ซึ่งหมายถึง การทำตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม และทำ 6 วันต่อสัปดาห์

หนึ่งในผู้สนับสนุนการทำงานแบบ 996 อย่างเป็นทางการคือ แจ๊ค หม่า เขามักพูดเสมอว่า คุณต้องพร้อมที่จะทำงานแบบ 996 เพราะถ้าทำได้ คุณจะเข้าใจความสุขที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต แต่ถ้าคุณทำไม่ได้ ก็อย่ามาร่วมงานกันเลยดีกว่า

แต่วัฒนธรรม 996 ก็เริ่มเสื่อมมนต์ขลังลงในช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ เพราะคนรุ่นใหม่มองว่า การทำงานต้องมีความพอดี เส้นแบ่งของโลกการทำงานกับโลกของการใช้ชีวิตคือสิ่งสำคัญ แม้กระทั่งคนในวงการเทคโนโลยีก็ออกมาตั้งคำถามว่า วัฒนธรรมการทำงานหนักยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคปัจจุบัน

ในทางกลับกัน Pinduoduo ซึ่งเป็นบริษัทน้องใหม่ในจีน เพิ่งก่อตั้งในปี 2015 กลับมีท่าทีสนับสนุนวัฒนธรรมการทำงานหนัก ซึ่งหากอ้างอิงจากข้อมูลที่อดีตพนักงานออกมาเปิดโปงที่บอกว่า Pinduoduo ให้พนักงานทำงานวันละ 10-12 ชั่วโมง หากนับในแง่ชั่วโมงต่อวันถือว่าต้องทำงานหนักกว่าวัฒนธรรม 996 เสียที่เป็นที่วิจารณ์เสียอีก

996.ICU วัฒนธรรมการทำงานหนัก ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคนี้ | BI Podcast

กระแสต่อต้าน Pinduoduo แพร่กระจายในวงกว้าง

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้โลกออนไลน์ของจีนลุกเป็นไฟ เนื่องจากเมื่อผสมโรงกับกระแสการต่อต้านการทำงานหนักแบบ 996 กับบริษัทเทคโนโลยีที่ใช้งานพนักงานจนทำให้เสียชีวิต เลยเถิดไปจนกระแสการต่อต้านไม่ใช้งาน และยกเลิกการซื้อของผ่านแพลตฟอร์มของ Pinduoduo

ข้อความส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์จีนพูดถึง Pinduoduo

  • “Pinduoduo เป็นบริษัทที่ไร้หัวใจ และ Colin Huang ซีอีโอของบริษัทก็ไร้หัวใจเช่นกัน”
  • “พวกนายทุนพวกนี้เป็นคนสูบเลือดสูบเนื้อพวกนี้ แล้วกล้าดียังไงมากบอกว่า กำลังประโยชน์ให้สังคม”

นอกจากนั้น ก็มีการเปรียบเทียบกรณีของ Pinduoduo กับ Foxconn ในอดีต ที่มีเหตุการณ์พนักงานฆ่าตัวตายหลายครั้งหลายคราว ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ทำงานหนักจนเกินไป

Pinduoduo
บรรยากาศการไลฟ์สตรีมขายของ Photo: Pinduoduo

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หน่วยงานกำกับดูแลด้านสิทธิแรงงานในเซี่ยงไฮ้กำลังดำเนินการสอบสวนสืบสวนเพื่อหาต้นตอของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับพนักงานของ Pinduoduo

ที่มา – Washington Post, FT, Global Times, Techinasia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สรุปดราม่า Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีน พนักงานเสียชีวิต วิศวกรโดดตึกตาย เพราะทำงานหนักเกินไป first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/drama-pinduoduo-996/