คลังเก็บป้ายกำกับ: NortonLifeLock

อังกฤษอนุมัติดีล NortonLifeLock ซื้อ Avast, บอก Microsoft Defender กลายเป็นคู่แข่งสำคัญ

Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหราชอาณาจักร อนุมัติดีลการควบกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย NortonLifeLock กับ Avast มูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ ที่ประกาศในเดือนสิงหาคม 2021

NortonLifeLock เคยซื้อกิจการ Avira มาก่อนเมื่อปี 2020 และมาซื้อ Avast อีกต่อหนึ่ง หากดีลนี้ผ่านก็จะกลายเป็นอาณาจักรซอฟต์แวร์ความปลอดภัยรายใหญ่ที่มีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 500 คน

ประเด็นที่น่าสนใจคือเหตุผลของ CMA ที่ยอมให้ควบรวม มาจากสภาพตลาดซอฟต์แวร์ความปลอดภัยฝั่งคอนซูเมอร์ที่เปลี่ยนไป เดิมที NortonLifeLock มีคู่แข่งรายสำคัญคือ McAfee แต่ช่วงหลังสภาพตลาดเปลี่ยน เพราะ Microsoft Defender กลายมาเป็นโซลูชันฟรีที่มีความสามารถดีทัดเทียมกับโซลูชันแบบเสียเงิน ดังนั้นต่อให้ NortonLifeLock ควบรวมกับ Avast สำเร็จก็ต้องเจอกับการแข่งขันในระดับที่สูงอยู่ดี

ที่มา – CMA

from:https://www.blognone.com/node/129668

เหมาๆ Norton ควบรวม Avast ด้วยดีลมูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

NortonLifeLock เตรียมควบรวมกับ Avast ด้วยดีลมูลค่าประมาณ 8.1-8.6 พันล้านดอลลาร์ (ตามแต่การลงคะแนนของผู้ถือหุ้น Avast) ดีลนี้จะทำให้ NortonLifeLock กลายเป็นเจ้าของหุ้นทั้งหมดของ Avast และผนวกรวมกันกลายเป็นอาณาจักรแอนตี้ไวรัสขนาดยักษ์ที่มีผู้ใช้รวมกันกว่า 500 ล้านคน หลัง Norton ซื้อ Avira ช่วงเดือนธันวาคม 2020

Vincent Pilette ซีอีโอของ NortonLifeLock ระบุว่าการควบรวมครั้งนี้จะเสริมความแข็งแกร่งของบริการให้กับผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านคนได้ในอนาคต และทำให้บริษัทสามารถเร่งนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกความปลอดภัยไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น

NortonLifeLock เป็นบริษัทความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับผู้บริโภคทั่วไปที่แยกออกมาจาก Symantec หลัง Broadcom ซื้อกิจการความปลอดภัยฝั่งธุรกิจไปในปี 2019 ส่วน Avast เป็นบริษัทความปลอดภัยที่ก่อตั้งในสาธารณรัฐเช็กในปี 1988 ในรูปแบบ cooperative จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในปี 2018 และ IPO ในปี 2019 ทั้งในตลาดหุ้นกรุงปราก และตลาดหุ้นลอนดอน

ที่มา – Businesswire

No Description

from:https://www.blognone.com/node/124173

NortonLifeLock ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ด้วยมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท

NortonLifeLock ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ด้วยมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ในปี 2019 ทาง Broadcom ได้เข้าซื้อธุรกิจ Enterprise Security ของ Symantec และได้เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock ล่าสุด NortonLifeLock ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ผู้พัฒนาแอนตี้ไวรัสจากประเทศอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่าสูงถึง 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยผู้ถือหุ้น Avast สามารถเลือกได้ว่าต้องการผลตอบแทนเป็นเงินสดหรือสัดส่วนหุ้นในบริษัท ซึ่งหลังจากที่รวมเป็นบริษัทเดียวกันแล้ว จะทำให้มีลูกค้ารวมกันทั่วโลกถึง 500 ล้านคน และมีรายได้ต่อปีรวมกันที่ 1.1 แสนล้านบาท โดยจะมีการเสริมผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cyber Security ร่วมกันในอนาคต

ที่มา: https://seekingalpha.com/news/3728566-nortonlifelock-acquiring-antivirus-company-avast-for-up-to-86-billion

from:https://www.techtalkthai.com/nortonlifelock-acquires-avast-with-8-6-billion-usd/

Norton 360 เพิ่มฟีเจอร์ขุดเหรียญ Ethereum ให้ผู้ใช้งาน

ฟังดูอาจจะแปลกแต่เกิดขึ้นจริงเพราะซอฟต์แวร์ Antivirus ของ Norton 360 จะเปิดฟีเจอร์ให้ผู้ใช้งานสามารถขุดเหรียญ ETH Coin ได้โดยตรง

ต้องยอมรับว่ากิจกรรมการขุดเหรียญดูจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับซอฟต์แวร์ป้องกันสักเท่าไหร่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าเป็นความต้องการของผู้ใช้จำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง NortonLifelock จึงเพิ่มความสามารถที่ชื่อว่า ‘Norton Crypto’ ไว้ใน Norton 360 เสียเลย โดยจะไปใช้ GPU ของผู้ใช้เพื่อขุดเหรียญและเก็บไว้ใน Wallet ที่โฮสต์อยู่บนคลาวด์ของ Norton

อย่างไรก็ดีการขุดเหรียญ ETH นั้นเริ่มยากขึ้นมาก จึงมีข้อกังขาว่าการขุดเหรียญนี้เป็นอิสระหรือทำเป็น Pool รวมผู้ใช้อื่นซึ่งจะมีโอกาสสำเร็จสูงกว่า รวมถึงมีการเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ต้องลองดูกันต่อไป เพียงแค่ว่าซอฟต์แวร์ป้องกันเริ่มไม่สามารถต้านทานผู้ใช้นักขุดแล้ว

ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/cryptocurrency/norton-360-antivirus-now-lets-you-mine-ethereum-cryptocurrency/

from:https://www.techtalkthai.com/nortonlifelock-adds-norton-crypto-feature-for-ethereum-mining/

Norton 360 เปิดตัวฟีเจอร์ขุดเงินคริปโต Ethereum แบบปลอดภัย จัดการ Wallet ให้ด้วย

NortonLifeLock บริษัทแม่ปัจจุบันของ Norton Antivirus (ร่างใหม่ของ Symantec หลังแยกกิจการในปี 2019) ประกาศฟีเจอร์ใหม่คือ Norton Crypto

Vincent Pilette ซีอีโอของ NortonLifelock ระบุว่าเงินคริปโตกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตลูกค้าแล้ว แต่ที่ผ่านมา การขุดเหมืองยังทำได้ยาก มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากโค้ดที่ใช้ขุดเหมือง ดังนั้นแทนที่จะเสี่ยง ปิดแอนตี้ไวรัสหรือซอฟต์แวร์ความปลอดภัยเพื่อขุดเหมือง ก็ทำให้ลูกค้าแอนตี้ไวรัสสามารถขุดเหมืองได้โดยตรงแทนดีกว่า

แอพความปลอดภัย Norton 360 จะสามารถแบ่งทรัพยากรเครื่องมาขุดเหมือง Ethereum ได้ จากนั้นเหรียญที่ได้จะเข้าในกระเป๋า Norton Crypto Wallet ที่ซิงก์กับคลาวด์ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย

No Description

ที่มา – NortonLifeLock

from:https://www.blognone.com/node/122998

แอนตี้ไวรัสซื้อกันเอง NortonLifeLock ซื้อกิจการ Avira มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์

บริษัทแอนตี้ไวรัสซื้อกิจการกันเอง โดย NortonLifeLock (ชื่อใหม่ของ Symantec) ซื้อบริษัทร่มแดง Avira จากเยอรมนี มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์ จ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด

ที่มาที่ไปของทั้งสองบริษัทมีความซับซ้อนอยู่บ้าง เริ่มจากเมื่อปีที่แล้ว Symantec แยกครึ่งบริษัท โดยขายธุรกิจ Enterprise Security พร้อมแบรนด์ Symantec ให้กับ Broadcom โดยยังเหลือธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์เอาไว้คือ แอนตี้ไวรัสแบรนด์ Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น NortonLifeLock

ส่วน Avira เองเพิ่งขายกิจการเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปีนี้ โดยกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทเดิม ขายหุ้นใหญ่ให้บริษัทลงทุน InvestCorp ด้วยมูลค่า 180 ล้านดอลลาร์ (แต่ไม่ระบุสัดส่วนหุ้นว่าเท่าไร)

No Description

ผ่านไปเพียง 8 เดือน Avira ก็ขายกิจการทั้งหมดให้ NortonLifeLock โดยฝั่งผู้ซื้อ NortonLifeLock ให้เหตุผลว่า Avira แข็งแกร่งในยุโรปและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ช่วยให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจไปยังลูกค้าทั่วโลกได้เร็วขึ้น หลังซื้อกิจการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซีอีโอและซีทีโอของ Avira จะเข้ามาเป็นทีมบริหารของ NortonLifeLock ด้วย

ข้อมูลที่เปิดเผยคือ Avira มีลูกค้าแบบจ่ายเงิน 1.5 ล้านราย คิดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งาน 30 ล้านชิ้น แต่ไม่ระบุว่ามีลูกค้ากลุ่มที่ใช้งานฟรีมากแค่ไหน

เทียบขนาดกันแล้ว NortonLifeLock ยังใหญ่กว่า Avira มาก บริษัทมีมูลค่าตามราคาหุ้นที่ 11.5 พันล้านดอลลาร์

ที่มา – NortonLifeLock, ZDNet

from:https://www.blognone.com/node/119997

รายงานเผยแม้ดาวน์โหลดแอปผ่าน Play Store ก็ยังมีความเสี่ยงติดมัลแวร์สูง

มีรายงานจาก NortonLifeLock (Symantec) พบว่าความเชื่อเดิมๆ ที่คิดว่าแอปใน Play Store นั้นปลอดภัยมากจากมัลแวร์นั้นอาจไม่จริงอย่างที่คิด

รายงานในครั้งนี้ได้วิเคราะห์การติดตั้งแอป 12 ล้านครั้งของช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนปี 2019 โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามี APK 34 ล้านตัวถูกติดตั้งในแอปที่ไม่ซ้ำกัน 7.9 ล้านแอป ซึ่งจากสถิติทั้งหมดนักวิจัยพบแอปจำนวนระหว่าง 10 – 24% เป็นแอปอันตรายและ Unwanted 

การตรวจสอบแอปอันตรายผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ถึงผู้ติดตั้งและความสัมพันธ์ของตัวติดตั้งกับแอปลูก โดยจำแนกช่องทางการติดตั้งออกเป็น 12 ประเภทดังนี้

  • แอปที่ติดตั้งจาก Play Store
  • แอปที่ติดตั้งจากตลาดทางเลือก (Third-party)
  • แอปที่ดาวน์โหลดผ่านเว็บบราวน์เซอร์
  • แอปที่ติดตั้งจากโปรแกรมเสียเงิน
  • แอปที่ติดตั้งจากการ Backup หรือ Restore มา
  • แอปที่ติดตั้งผ่าน Instant Message
  • แอปที่ติดตั้งผ่าน Theme Store ของโทรศัพท์
  • ติดตั้งโดยการโหลดลงดิสก์และติดตั้งผ่าน Local File Manager
  • ติดตั้งผ่านป่านการแชร์แอป
  • ติดตั้งไว้ล่วงหน้ามากับเครื่อง (Bloatware)
  • ติดตั้งมากจากโซลูชัน MDM
  • ติดตั้งจากแพ็กเกจ

สถิติที่น่าตกใจคือนักวิจัยพบว่า 67% ของแอปอันตรายผ่านมาทาง Google Play Store ซึ่งสวนทางกับความเชื่อว่าเมื่อติดตั้งผ่านช่องทางปกติแล้วจะปลอดภัย ในขณะที่ 10% มาจากตลาดทางเลือก อย่างไรก็ดีผลวิจัยนี้คงไม่ได้รับการเห็นด้วยจาก Google แน่ๆ แต่สุดท้ายแล้วก็ขึ้นกับการพิจารณาของเราด้วยนะครับว่าแอปนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ จะหวังเพิ่งกลไกจากคนอื่นอย่างเดียงคงไม่ได้ 

ผู้สนใจรายงานดาวน์โหลดได้ที่ “How Did That Get In My Phone? Unwanted App Distribution on Android Devices” จัดทำโดย NortonLifeLock และสถาบันซอฟต์แวร์ IMDEA 

ที่มา : https://www.zdnet.com/article/play-store-identified-as-main-distribution-vector-for-most-android-malware/

from:https://www.techtalkthai.com/play-store-apps-downloading-are-still-high-risk-from-malware/

รู้จัก Stalkerware แอพสอดแนมคู่รัก-พนักงาน ที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกความปลอดภัย

ช่วงหลังมานี้ ซอฟต์แวร์สอดแนม-ตามรอยที่เรียกว่า stalkerware หรือ spouseware ซึ่งมักใช้ในการติดตามพฤติกรรมของคู่รัก สามี/ภรรยา บุตรหลาน พนักงานในองค์กร ฯลฯ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า legal spyware คือเป็นสปายแวร์ที่ถูกกฎหมาย (เพราะเป็นการใช้งานกับคนในครอบครัวกันเอง หรืออาจบอกว่ามันคือ parental control แทน) แม้ไม่ถูกต้องในเชิงจริยธรรม (ผู้ถูกติดตามไม่ทราบว่าถูกติดตั้งซอฟต์แวร์นี้)

ในทางเทคนิค stalkerware มีพฤติกรรมคล้ายกับสปายแวร์ (แอบฝังในเครื่อง แอบส่งข้อมูลกลับ) แต่จัดการได้ยากกว่า เพราะอยู่ในพื้นที่สีเทา ที่พูดได้ไม่เต็มปากกว่า “ประสงค์ร้าย” (malicious) แถมหากซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสตรวจพบแล้วลบออก ผู้ที่ถูกติดตามก็อาจมีปัญหาในเชิงสังคม (ทะเลาะกับแฟน หรือนายจ้างไล่ออก) ทำให้บริษัทแอนตี้ไวรัสเองก็ไม่แน่ใจว่าควรรับมืออย่างไร

ปัจจุบันซอฟต์แวร์ stalkerware แทบไม่มีให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play Store โดยตรงแล้ว เพราะทำผิดนโยบายของกูเกิล (แต่แอพกลุ่ม parental control แบบเปิดเผยยังมีให้ใช้งานตามปกติ) ทำให้ผู้ที่ต้องการติดตั้ง stalkerware เพื่อตามสืบคู่รักหรือพนักงาน ต้องใช้วิธีติดตั้งนอก Play Store ซึ่งก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย และการถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปเผยแพร่อีกต่อหนึ่งด้วย (เรียกว่าตั้งใจสอดแนมเอง แต่โดนคนอื่นสอดแนมอีกชั้น)

ล่าสุดกลุ่มบริษัทแอนตี้ไวรัสหลายราย เช่น Kaspersky, Avira, NortonLifeLock (Symantec เดิม), Malwarebytes, G DATA ร่วมกับองค์กรไม่หวังผลกำไรอย่าง Electronic Frontier Foundation (EFF) และเครือข่ายต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว European Network for the Work with Perpetrators of Domestic Violence กับ National Network to End Domestic Violence จึงร่วมกันตั้งกลุ่ม Coalition Against Stalkerware เพื่อแก้ปัญหานี้

เป้าหมายหลักของกลุ่ม Coalition Against Stalkerware มีทั้งการหาโซลูชันทางเทคนิคเพื่อจัดการ stalkerware ร่วมกัน และสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ผู้ใช้งานว่าอาจโดนฝัง Stalkerware โดยไม่รู้ตัว รวมถึงเปิดรับพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ เพื่อเข้าร่วมผนึกกำลังแก้ปัญหานี้

ที่มา – Kaspersky, ZDNet ภาพจาก Kaspersky

from:https://www.blognone.com/node/113260

Symantec เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock มุ่งเน้นธุรกิจ Cyber Safety สำหรับ Consumer

หลังจากที่ Broadcom ประกาศเข้าซื้อธุรกิจในส่วน Enterprise Security ของ Symantec ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ล่าสุด Symantec ได้ประกาศขายธุรกิจเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock (NASDAQ: NLOK) มุ่งโฟกัสตลาด Cyber Safety สำหรับบุคคลทั่วไป

Credit: NortonLifeLock.com

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน Symantec ได้ประกาศขายสินทรัพย์ในส่วนของ Enterprise Security ให้แก่ Broadcom ผูู้ผลิตชิปชื่อดัง ด้วยมูลค่า $10,700 ล้าน (ประมาณ 323,000 ล้านบาท) เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้ ณ ตอนนี้ทางบริษัทฯ จะมุ่งเน้นการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น NortonLifeLock และตัวย่อสำหรับซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK แทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2019 เป็นต้นไป

NortonLifeLock เป็นชื่อที่มาจาก 2 ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ นั่นคือ Norton Antivirus และ LifeLock ซึ่งเป็นบริการ Malware & Identity Theft Protection การผสานรวมของทั้งสองโซลูชันนี้ทำให้ NortonLifeLock กลายเป็นผู้ให้บริการที่มุ่งเน้น Cyber Safety แก่บุคคลทั่วไปอย่างเต็มตัว สำหรับตอนนี้ สำนักงานใหญ่ของ NortonLifeLock จะตั้งอยู่ที่เมือง Tempe, Arizona สหรัฐอเมริกา

สำหรับ Symantec ในส่วน Enterprise Security นั้น ได้ถูกควบรวมเข้าด้วยกันกับธุรกิจของ Broadcom และจะกลายเป็นหนึ่งในแผนก Enterprise Cybersecurity ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Mission Critical Infrastructure สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ต่อไป

ที่มา: https://sea.pcmag.com/symantec-norton-antivirus-basic/34830/symantec-becomes-nortonlifelock

from:https://www.techtalkthai.com/symantec-becomes-nortonlifelock-focusing-on-consumer-cyber-safety-business/

Symantec ขายธุรกิจ Enterprise ให้ Broadcom เสร็จสิ้นแล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock

Symantec ประกาศว่าดีลขายกิจการส่วนของลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) ให้กับ Broadcom ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งดีลนี้รวมการขายแบรนด์ Symantec ด้วย ทำให้ Symantec ต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท

โดยชื่อใหม่คือ NortonLifeLock มีที่มาจากผลิตภัณฑ์ส่วนคอนซูเมอร์ที่ไม่ได้ขายออกไป นั่นคือแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock นอกจากนี้ยังเปลี่ยนตัวย่อในการซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK ด้วย

การขายธุรกิจส่วนองค์กรออกไป ทำให้จากนี้ NortonLifeLock จะโฟกัสที่การทำตลาดลูกค้าบุคคลเพียงอย่างเดียว

ที่มา: NortonLifeLock

alt="NortonLifeLock"

from:https://www.blognone.com/node/113005