คลังเก็บป้ายกำกับ: NIDA

[Guest Post] NIDA จับมือไอแอม คอนซัลติ้ง นำ HR Technology ต่อยอดสร้างความรู้บุคลากร ขับเคลื่อนสถาบัน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ นำเอาองค์ความรู้และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นการนำเอา HR Technology ช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล

 

ศ.ดร.กำพล  ปัญญาโกเมศ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวถึง ความร่วมมือกับภาคเอกชนในครั้งนี้ว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของ NIDA ที่ว่าด้วย “เป็นสถาบันชั้นนำแห่งชาติที่สร้างผู้นำและองค์ความรู้ในระดับสากล เพื่อการเปลี่ยนแปลง” จึงนำมาสู่การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ที่จะมาช่วยเสริมสร้างความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ความร่วมมือกับบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้งในครั้งนี้ เป็นการนำระบบเทคโนโลยีทรัพยากรมนุษย์ มาช่วยพัฒนาบุคลากร โดยเริ่มต้นที่การพัฒนาและประเมินผล เนื่องจากสถาบันมองว่าไม่ว่าจะนำเทคโนโลยีใดๆ มาใช้ในองค์กร แต่ถ้าไม่ผลักดันให้คนได้ใช้งานอย่างเหมาะสม ก็จะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะผลักดันทั้งคนและเทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation ต่อไป

ด้านกริช วิโรจน์สายลี Country Vice President บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้แก่องค์กรเอนเทอร์ไพรส์ระดับประเทศ กล่าวว่า “ที่ผ่านมาไอแอม คอนซัลติ้งเอง มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ SAP ให้กับทั้งหน่วยงานเอกชน และมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ได้ร่วมมือกับภาคการศึกษา ที่จะช่วยนำเอาเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนให้ NIDA ได้การเป็นองค์กรดิจิทัล ด้วยการใช้ HR Technology ในโซลูชัน Performance management มาร่วมพัฒนาบุคลากรของสถาบัน และผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในสถาบัน”

โดยทั้งสองหน่วยงานยังคาดหวังว่า การเริ่มต้นพัฒนาระบบ HR Technology ครั้งนี้ จะสามารถนำไปเป็นแม่แบบ และต่อยอดไปใช้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไปได้

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-i-am-consulting-nida-hr-technology/

นิด้าเผยผลสำรวจ 5 อันดับธุรกิจดิจิทัลในฝันที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด “LINE, Kaidee, Pantip, Wongnai และ Tencent”

5 ผู้บริหารจาก 5 องค์กรดิจิทัลขั้นนำของไทยจากผลการสำรวจของนิด้า

“นายจ้างในฝัน” คำ ๆ นี้ไม่ได้ได้มาง่าย ๆ ยิ่งเป็นธุรกิจดิจิทัลด้วยแล้ว ยิ่งทำให้หลายคนนึกถึงภาพของออฟฟิศที่มีวิศวกรซอฟต์แวร์นั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันทั้งคืนด้วยซ้ำ แต่ถึงวันนี้  ภาพของนายจ้างในธุรกิจดิจิทัลได้กลายเป็นภาพที่คุ้นเคยกับคนไทยมากขึ้น และผลจากความคุ้นเคยนั้นได้ทำให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า สามารถจัดอันดับธุรกิจดิจิทัลที่คนไทยอยากทำงานด้วยได้สำเร็จในที่สุด

โดยการจัดอันดับของนิด้าได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 376 คน เป็นเพศชาย 57.71% เป็นเพศหญิง 42.29% ครอบคลุมทั้งกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา และพนักงานสายไอที-เทคโนโลยี โดยคำถามหลัก คือ ให้กลุ่มตัวอย่างบรรยายลักษณะที่ทำงาน “ในฝัน” และระบุชื่อองค์กรด้านเทคโนโลยีที่อยากทำงานด้วย โดยบริษัทนั้นๆ ต้องมีทีมวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอยู่ในไทยด้วย

ผลสำรวจเผยว่า LINE ประเทศไทย ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนนิยม 65.69% ตามมาด้วย Kaidee ที่ 50.8%, Pantip 45.74%, Wongnai 38.83% และ Tencent (Thailand) ชื่อเดิม Sanook! ที่ 37.23% โดยทั้ง 5 บริษัทถือเป็นนายจ้างยอดนิยมจากบรรดาธุรกิจดิจิตอลที่อยู่ในการสำรวจจำนวน 17 แห่งเลยทีเดียว

การสำรวจครั้งนี้ยังเปิดเผยด้วยว่าพนักงานอยากทำงานในองค์กรที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ อาทิ มุมทำงานสงบๆ พร้อมโซฟาที่นั่งสบายๆ โซนบาร์สำหรับนั่งพักผ่อน และโซนบันเทิงให้เล่นผ่อนคลายกับเพื่อนร่วมงาน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าบรรยากาศในที่ทำงานมีผลต่อการดึงดูดและรักษาบุคลากรคุณภาพของบริษัทด้านเทคโนโลยี

“สำหรับคนที่อยากหางานที่รักหรือร่วมงานกับบริษัทในฝัน องค์กรเหล่านี้คือตัวเลือกที่โดดเด่นที่สุดเพราะมีสภาพแวดล้อมการทำงานตลอดจนวัฒนธรรมองค์กรที่น่าสนใจดีเลิศ” ศาสตราจารย์ ดร. กำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวเสริม

อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ที่ธุรกิจดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้ การรับฟังมุมมองจากผู้บริหารของทั้ง 5 บริษัทว่าพนักงานแบบไหนกันที่พวกเขาอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ

โดยคุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีจากเว็บไซต์ Pantip.com เผยว่า มองหาคนจาก Passion ในการทำงาน โดยเขายกตัวอย่างของ Pantip ที่เมื่อกว่า 10 ปีก่อน เคยรับพนักงานที่อาจไม่มีวุฒิสายตรงทางด้านเทคโนโลยี แต่มี Passion ในการทำงานเต็มเปี่ยม ซึ่งปัจจุบันพนักงานเหล่านี้ได้กลายเป็นแม่ทัพหลักของ Pantip ไปแล้วเรียบร้อย

ขณะที่คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทยเผยว่า LINE นั้นไม่ได้หาคนมารันบิสซิเนท แต่มองหาคนที่ทำได้ทั้งรันและบิวท์บิสซิเนทในคราวเดียวกัน พร้อมยกตัวอย่างตำแหน่งงานใหม่ที่ LINE เปิดรับสมัครอย่าง Head of Sticker ซึ่งคุณอริยะบอกว่า เป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีมาก่อน และยังเป็นการสะท้อนถึงตัวตนของ LINE ว่า เราอยู่ในธุรกิจที่สร้างงาน สร้างโปรดักซ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น คนทำงานจึงต้องเป็นคนที่เสนอได้ ไม่ใช่คนที่จะมาถามผู้บริหารว่าผู้บริหารจะทำอย่างไร หรือมารอการตัดสินใจจากผู้บริหารทุกๆ เรื่องดังเช่นในอดีต

นอกจากนั้น LINE ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งจาก Product Manager มาเป็น Product Owner ด้วย เพื่อให้คนที่มาทำงานรู้สึกเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อย่างเต็มตัว

ส่วนของคุณทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Kaidee กล่าวว่า มุมมองในการรับคนเข้าทำงานของเขาคือต้องเป็นคนที่กล้าเสี่ยง ล้มได้ แต่ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น ๆ ด้วย เพราะเป้าหมายของเขานั้นคือการสร้างคนไทยให้ไปสู่ระดับโลกนั่นเอง

ด้านคุณกฤติธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า บรรยากาศในการทำงานของบริษัทเทคโนโลยีก็สำคัญ เราทำงานที่ไหนก็ได้ ดังนั้นคนทำงานจึงไม่ชอบการตอกบัตร และการจะทำธุรกิจดิจิทัล ต้องเริ่มจากการสร้างทีมงาน ไม่ใช่บรรยากาศที่จะเร่งปั่นงานจากพวกเขาอย่างเดียว ต้องสร้างบรรยากาศให้คนทำงานมีไอเดียด้วย

และสุดท้ายกับคุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Wongnai กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าที่หลายคนอยากมาทำงานกับ Wongnai เพราะเป็นผู้ใช้งานของเราเป็นประจำอยู่แล้ว และผลงานของเราก็สะท้อนตัวตนของพนักงาน Wongnai ได้ดีว่าเราคือกลุ่มคนที่สนุกกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเนื้อหาและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย”

หมายเหตุ: การจัดทำสำรวจครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนที่ บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/03/5-top-tech-digital-employers/

นิด้าโพล เผย คนไทยใช้เน็ตบนมือถือไม่เคยพอ ชี้ “เน็ตปรับลดสปีด” เป็นปัญหาใหญ่

คนไทยใช้เน็ตบนมือถือพุ่ง นิด้าโพล เผย ผลสำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการใช้เน็ตบนมือถือ ชี้ กว่าครึ่งคนไทยไม่เข้าใจแพ็คเกจ ใช้เน็ตได้ไม่อั้นผู้ใช้บริการแบบรายเดือน เจอปัญหาใหญ่ เน็ตปรับลดสปีดขณะที่ ผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน รู้ไม่เท่าทันข้อจำกัด โปรเสริม 

จากอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย จนมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนไทย จนกลายเป็นสิ่งจำเป็นไปในที่สุด ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพลจึงทำการสำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการใช้เน็ตบนมือถือ ในกลุ่มตัวอย่างคนไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,529 คน ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 2560 เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อผู้บริโภคมากขึ้น โดยพบว่าปัญหาหลักที่พบจากการใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตทางมือถือ เป็นเรื่องความต้องการการใช้อินเทอร์เน็ตมีมากกว่าแพ็กเกจที่ทางผู้ให้บริการเสนอขายอยู่ คิดเป็นร้อยละ 43.99 รองลงมาคือเรื่องราคาของแพ็กเกจสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ได้ คิดเป็นร้อยละ 36.01 และแพ็กเกจของผู้ให้บริการมีความซับซ้อน เข้าใจยาก บางครั้งจึงได้ในสิ่งที่ไม่ตรงตามความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 28.47 จากสองอันดับแรก นับได้ว่าร้อยละ 80.00 ของกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตพุ่งสูงเกินกว่าแพ็กเกจที่ผู้ให้บริการนำเสนอขายในปัจจุบัน

mobile_internet01

โดยผลสำรวจระยะเวลาการใช้งานเน็ตบนมิอถือ พบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง พบว่าใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 24.72 ซึ่งมากที่สุด รองลงมา ใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 21.91และใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ19.23 ตามลำดับ วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ใช้เพื่อพูดคุยติดต่อกับบุคคลที่รู้จัก คิดเป็นร้อยละ 85.61 โดยผ่าน Line Facebook และ Instagram ตามลำดับ รองลงมา คือ โพสข้อความ/รูปภาพ คิดเป็นร้อยละ 63.et90 โดยผ่าน Facebook Instagram และ Line ตามลำดับ และติดตามข่าวสารทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม กีฬา คิดเป็นร้อยละ 55..79 ตามลำดับ

เมื่อสอบถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับแพ็คเกจแบบ ใช้ได้ไม่อั้น หรือ ‘Unlimited’ ร้อยละ 49.05 เข้าใจว่า เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตจนถึงจุดหนึ่งที่กำหนดไว้ในแพ็กเกจ อินเทอร์เน็ตจะถูกปรับลดความเร็ว แต่ยังใช้ต่อไปได้ ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจ ขณะที่ร้อยละ 35.45 ที่เข้าใจว่าสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ไม่จำกัด ด้วยความเร็วที่ดีที่สุดของเครือข่ายมือถือนั้น และอีกร้อยละ 15.30 เข้าใจว่า สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ไม่จำกัด ตามจำนวนวันที่ซื้อ

mobile_internet0

เมื่อสำรวจเจาะลึกถึงปัญหาของผู้ใช้บริการแบบรายเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เน็ตได้ไม่อั้น พบว่าปัญหาใหญ่ของกลุ่มนี้ คือ เน็ตปรับลดสปีด ร้อยละ 40.25อินเทอร์เน็ตจะถูกปรับลดสปีด ทำให้วิ่งช้าลง เมื่อการใช้งานผ่านไประยะหนึง รองลงมา ร้อยละ 35.17 จำนวนอินเทอร์เน็ตที่ให้มาตามแพ็กเกจ ไม่เคยใช้พอ และร้อยละ 21.89 ค่าโทรที่ให้มาตามแพ็กเกจ ไม่เคยใช้พอ

ด้านผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน พบว่า ร้อยละ 41.18 เจอปัญหาโปรเสริมมีข้อจำกัดมากมาย บางครั้งไม่สามารถรู้เท่าทัน จึงทำให้เสียเงินไปในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือได้จำนวนเน็ตหรือโทรที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ รองลงมา ร้อยละ 26.66 โปรเสริมมีมากมาย ซับซ้อน ยุ่งยาก ไม่เข้าใจรายละเอียดในการใช้งาน และร้อยละ20.45 ยอดเงินที่เติมหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้ระดับความพึงพอใจต่อแพ็กเกจในอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.52คะแนน และผู้ใช้บริการแบบรายเดือน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.67 คะแนน สำหรับข้อเสนอแนะ หรือวิธีการแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับแพ็กเกจแบบรายเดือน หรือแพ็กเกจแบบเติมเงิน พบว่า ร้อยละ 28.38 สัญญาณอินเทอร์เน็ตควรมีความเร็วสม่ำเสมอ ร้อยละ 16.59 ควรปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร และร้อยละ 15.72ควรเพิ่มจำนวนชั่วโมงเน็ตที่เยอะขึ้นแต่ราคาแพ็กเกจถูกลง

mobile_internet02

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล กล่าวถึงการสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่แท้จริงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ ซึ่งความสับสนเกี่ยวกับแพ็คเกจแบบใช้ได้ไม่จำกัด เป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ให้บริการต้องเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือออกแพ็กเกจที่ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ใช้บริการรายแบบเดือนประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณของสัญญาณทั้งอินเทอร์เน็ตและการโทร ขณะที่ผู้ใช้บริการแบบเติมเงินประสบปัญหาเกี่ยวกับโปรโมชั่นเสริมและยอดเงินเป็นหลัก

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างมาก การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์แบบพกพา ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยไปแล้ว และที่สำคัญอินเทอร์เน็ตยังเป็นอีกสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ทั้งในด้านการสื่อสาร การศึกษาข่าวสาร และการค้า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ในมูลค่าที่เหมาะสม เป็นความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคไทย ควรได้รับจากผู้ให้บริการสัญญาณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐา กล่าวทิ้งท้าย

from:http://mobileocta.com/thai-people-using-mobile-internet-is-not-always-enough/

[PR] นิด้าพร้อมพัฒนาบัณฑิตขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพด้านนักวิเคราะห์ และมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) สูงในยุค Thailand 4.0

กรุงเทพฯ – สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า พร้อมพัฒนาบัณฑิตขับเคลื่อนประเทศไทยในภารกิจเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในทุกด้านโดยมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ มุ่งการวิจัย มีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมที่จะฉายภาพให้กับสังคมและประเทศชาติในทิศทางของการพัฒนาประเทศที่อย่างยั่งยืน เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการทั้งภาคสังคม ภาคการศึกษาไปพร้อมๆกัน โดยล่าสุดทางนิด้าให้ความไว้วางใจเลือกใช้เทคโนโลยี SAS เพื่อการขับเคลื่อนบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพ เป็นนักวิเคราะห์ และมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) สูงในยุค Thailand 4.0  

อาจารย์ ดร.ศิวิกา ดุษฎีโหนด คณบดีคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เปิดเผยถึงที่มาของคณะสถิติประยุกต์ว่า คณะของเราเริ่มก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูล และนำข้อมูลมาประกอบการวางแผนในการพัฒนาประเทศจึงเป็นที่มาของคณะสถิติประยุกต์ที่มุ่งเน้นมาตลอด 50 ปี กระทั่งปัจจุบันซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบาย Thailand 4.0 ยุคที่วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ถูกรายล้อมด้วยข้อมูลสารสนเทศไม่ว่าจะเป็น Big Data, ดิจิทัล เทคโนโลยี โดยข้อมูลที่ไหลเข้ามาถูกบันทึกรวบรวมเป็นข้อมูลขนาดใหญ่และยังเกิดคอมมูนิตี้เฉพาะมากมาย ทำให้นักบริหารยุคนี้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร จะต้องคิดอย่างรอบคอบจะใช้ความรู้สึกนึกคิดด้านเดียวคงไม่ใช่แล้ว ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลมาสนับสนุนและอาจจะต้องมีไอเดียในการนำข้อมูลไปแก้ไขปัญหา และสร้างโอกาส

ทั้งนี้เมื่อ Thailand 4.0 เข้ามาทำให้บรรยากาศของการทำงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในปัจจุบันมีบรรยากาศดีขึ้น สำหรับคณะสถิติประยุกต์ของนิด้าปัจจุบันมีการเตรียมบัณฑิตที่จะออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น โดยมีการเปิดหลักสูตรเรียกว่า Business Analytics เพื่อทำให้คุณค่าของข้อมูลชัดเจนขึ้น  มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินเกิดมีคุณค่าในบรรยากาศที่สดใส และเรารอเวลานี้มานานเพราะเมื่อย้อนไปถ้ากล่าวถึงสิถิติประยุกต์ส่วนใหญ่นึกถึงข้อมูลที่เป็นสถิติอย่างเดียว

รวมทั้งบรรยากาศในการทำธุรกิจในยุค Digital Technology จะเน้นการใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลข และรูปแบบอื่นๆ  หากธุรกิจสามารถรวบรวมและทำความเข้าใจกับข้อมูลได้มากเท่าไร  ก็จะรับรู้ปัญหา โอกาส และสภาพทางธุรกิจต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งทางคณะได้ปรับปรุงหลักสูตรที่มาตอบโจทย์การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยอาศัยเครื่องมือ (Tool) ทางเทคโนโลยีในหลายๆ แพลตฟอร์มเข้ามาช่วย ซึ่งรวมถึงแซสด้วย เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการทางธุรกิจ และก่อให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชาญฉลาด

ล่าสุดนิด้าได้ร่วมมือกับแซสในกิจกรรมการจัดอบรมให้กับนักศึกษาโดยให้ความรู้เกี่ยวกับ Business  Analytics และเทรนด์อาชีพใหม่ที่กำลังจะมาหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ The First NIDA Business Analytics and Data Sciences Contest/Conference ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเข้าร่วมฟังบรรยายจำนวนมาก

หลักสูตร Business Analytics ที่เปิดใหม่ล่าสุดมีนักศึกษาปริญญาโทสมัครเข้าเรียนแล้วจำนวน 60-70 คน และสัดส่วนกว่า 50 คน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับสัดส่วนที่เหลืออีก20 คน จะเป็นนักศึกษาที่จบปริญญาตรีใหม่ๆ ทั้งนี้การรับนักศึกษาปริญญาโทจะมีการสัมภาษณ์ก่อนเสมอ ซึ่งข้อดีของผู้เรียนที่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อนจะได้เปรียบกว่าเพราะจะรู้กรอบการทำงานของตัวเอง รู้จักองค์ความรู้ และรู้คุณค่าของการเข้ามาเรียนปริญญาโทว่าจะไปเสริมหรือทำให้ตัวเองก้าวหน้าตรงจุดไหน เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดของหลักสูตร Business Analytics ที่เปิดล่าสุดมีทั้งสอนทฤษฎีที่มาที่ไปในการนำเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยมีการจำลองโจทย์ของธุรกิจภาคต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เห็นเป็นเคสๆ ของปัญหา พร้อมกับแนะนำการแก้ไขปัญหาในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งบางเคสก็ได้รับความร่วมมือกับเอกชนในการให้ข้อมูล แต่ต้องยอมรับว่าไม่มากเหมือนในต่างประเทศที่เอกชนกับสถาบันการศึกษาจะร่วมมือกันดีในเรื่องของการให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาหลายๆ ด้านกับสถาบันการศึกษา

นอกเหนือการสร้างผู้เรียนให้เป็นนักวิเคราะห์มืออาชีพแล้ว ยังต้องสร้างให้ผู้เรียนมีภาวะความเป็นผู้นำโดยนิด้ามุ่งเน้นกิจกรรมการทำงานเป็นกลุ่มให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นอกเหนือวิชาการอย่างเดียว และไม่ใช่การทำงานแบบคิดคนเดียวทำงานคนเดียว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ ได้ผู้นำที่ดี แต่ผู้นำก็ต้องมีความเป็นลูกทีมที่ดีด้วย เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้วย ซึ่งนิด้าเราเน้นอยู่ 5 ประการ หรือ Wisdom for Change ประกอบด้วย W: World Class คือความมุ่งมั่น, I: Innovation มุ่งสร้างนวัตกรรม, S: Social Responsibility คือมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม, D:Discipline คือ ให้มีความเป็นระเบียบวินัย , O: Open-Mindedness คือมุ่งให้บุคลากรทุกคนมีจิตใจเปิดกว้างรู้จักฟังควมคิดเห็นของผู้อื่น ,Morality คือ มุ่งให้ทุกคนมีคุณธรรม ซึ้อสัตย์สุจริตยึดหลักธรรมภิบาล

นายณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันแซสนำโปรแกรม SAS Analytic เข้าไปจัด Workshop เพิ่มทักษะการวิเคราะห์ให้กับนักศึกษา โดยร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดในหลายๆ สถาบันพร้อมกับการให้ข้อมูลเทรนด์ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ซึ่งมีความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศผู้ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะได้รับค่าตอบแทนที่สูง สำหรับประเทศไทยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลกำลังได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ มากทีเดียว ขณะที่รัฐบาลมีนโยบาย Thailand4.0 ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ข้อมูลเกิดความสำคัญมากขึ้น

การร่วมมือกับนิด้าในปัจจุบันนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของช่วงเวลาสำคัญในการปูทางนำเทคโนโลยีการ  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในลักษณะการร่วมงานแบบใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้เข้ากับยุค Thailand 4.0  และเป็นนโยบายของแซสด้วยในการให้ความสำคัญกับภาคการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดกว้างในความร่วมมือในหลากหลายมิติเพื่อตอบโจทย์และเกิดการพัฒนาประเทศในทุกภาคนส่วน ซึ่งแซสยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยพร้อมก้าวไปสู่ Thailand 4.0

 

เกี่ยวกับบริษัท แซส

บริษัท แซส เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework และเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลช่วยให้ลูกค้าของแซส ที่มีมากกว่า 75,000 แห่งทั่วโลก สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น และนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา แซส เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น “พลังแห่งการรอบรู้” หรือ The Power to Know® สำหรับลูกค้าทั่วโลก

from:https://www.techtalkthai.com/nida-to-push-thailand-by-teaching-more-data-analysts-with-data-science-in-mind-by-sas/