คลังเก็บป้ายกำกับ: HITACHI_DATA_SYSTEM

[PR] ฮิตาชิขึ้นทำเนียบผู้นำเมจิกควอแดรนท์จากการ์ทเนอร์ ด้านโซลิดสเตตอาร์เรย์ (Solid-State Arrays)

ฮิตาชิเลื่อนระดับจากตำแหน่งผู้ท้าทาย” (Challengers Quadrant) ของควอแดรนท์ขึ้นเป็นตำแหน่งผู้นำ” (Leaders Quadrant) แล้วในตอนนี้ โดยการประเมินพิจารณาจากความสามารถของการดำเนินการและการมีวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์แบบ

รายงานข่าวจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดเผยว่าบริษัทได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้นำของควอแดรนท์ (Leaders Quadrant) ในรายงานเมจิกควอแดรนท์ด้านโซลิดสเตตอาร์เรย์ (Magic Quadrant for Solid-State Arrays)ในเดือนกรกฎาคม 2560 จากการ์ทเนอร์ อิงค์บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการวิจัย ซึ่งบริษัท ฮิตาชิ เชื่อว่าด้วยการเติบโตอย่างมากและการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์แฟลชทั้งหมดในกลุ่ม Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) F Series ส่งผลให้บริษัทสามารถเลื่อนระดับจากผู้ท้าทายของควอแดรนท์ (Challengers Quadrant) กลายเป็นผู้นำของควอแดรนท์ (Leaders Quadrant) ในที่สุด

ทั้งนี้ บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่า: ผู้จำหน่ายในกลุ่มผู้นำของควอแดรนท์มีคะแนนสูงสุดจากความสามารถในการดำเนินการและการมีวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์แบบ และผู้จำหน่ายในกลุ่มผู้นำของควอแดรนท์ยังมีส่วนแบ่งตลาด ความน่าเชื่อถือ รวมถึงความสามารถในการทำตลาดและการขายที่จำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ และผู้จำหน่ายเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งที่ตลาดต้องการอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นผู้นำทางความคิด ตลอดจนมีแผนงานที่ชัดเจนซึ่งลูกค้าและผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตสามารถนำไปใช้เมื่อต้องการออกแบบโครงสร้างและกลยุทธ์ด้านระบบจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ยังมีบทบาทในภูมิภาคหลักๆ ทั้ง 4 แห่ง มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง และพร้อมให้การสนับสนุนแพลตฟอร์มได้อย่างครอบคลุม

การลงทุนที่ต่อเนื่องของบริษัทฮิตาชิในการพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้านแฟลชส่งผลให้บริษัทสามารถนำเสนอระบบจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรชั้นเยี่ยมให้กับลูกค้าได้เป็นผลสำเร็จ โดยที่เทคโนโลยีดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับแฟลชมากที่สุดในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ Hitachi VSP F1500 ซึ่งได้รับการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม 2559 ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงเมนเฟรมด้วย โดยพร้อมนำเสนอความสามารถด้านการแบ่งระดับชั้นของคลาวด์ที่ราบรื่น ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์แบบครบวงจร และรับประกันความพร้อมใช้งานของข้อมูล 100% ได้อย่างโดดเด่นไม่เหมือนใคร ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม VSP F Series ทั้งหมดได้รับการปรับเพิ่มประสิทธิภาพโดยมีอัตราค่าบริการคงที่ และยังพร้อมรองรับการเปลี่ยนสื่อข้อมูลได้ตลอดเวลา มีระบบควบคุมคุณภาพของบริการ (QoS) ส่งผลให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องยาวนาน สำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดหรือมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นภารกิจสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ VSP F Series จะทำงานร่วมกับบริการกำจัดข้อมูลที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล National Institute of Standards and Technology (NIST)

มร. ริวอิจิ ออตซูกิ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่าบริษัท ฮิตาชิ มีความภูมิใจอย่างยิ่งที่สามารถนำเสนอเทคโนโลยีอันทันสมัยให้กับตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถแข่งขันในตลาดยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพเรามีความยินดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโซลิตสเตตอาร์เรย์ และเราจะเดินหน้าผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรมให้สูงยิ่งขึ้นไปพร้อมๆ กับยกระดับความสำเร็จให้กับลูกค้าของเราด้วย

สำหรับข้อมูลฉบับสมบูรณ์ของรายงานการท์เนอร์แมจิกควอแดรนท์ด้านโซลิตสเตตอาร์เรย์ปี 2560 (2017 Gartner Magic Quadrant for Solid State Arrays) สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์: https://www.hds.com/ext/magic-quadrant-for-solid-state-arrays.html

ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Flash Forward to Digital Transformation / Blog on VSP F Advancements / Twitter / LinkedIn / Facebook

###

หมายเหตุจากการ์ทเนอร์

การ์ทเนอร์ไม่ได้ให้การรับรองผู้ผลิต สินค้า หรือบริการใดๆ ที่กล่าวถึงในรายงานวิจัยของบริษัท และไม่ได้แนะนำให้ผู้ใช้เลือกใช้เทคโนโลยีของผู้ผลิตที่จัดอยู่ในอันดับสูงสุดหรือในตำแหน่งอื่นใด รายงานวิจัยของการ์ทเนอร์ประกอบด้วยความคิดเห็นของฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ และไม่ควรถือว่าเป็นการระบุข้อเท็จจริง การ์ทเนอร์ขอปฏิเสธการรับประกันใดๆ ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลการวิจัยนี้ รวมถึงการรับประกันทั้งหมดเกี่ยวกับความสามารถในการจัดจำหน่าย หรือความเหมาะสมสำหรับจุดประสงค์เฉพาะ

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ,  เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม .. 2560) 9,162.2 พันล้านเยน (81.8พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 304,000 คน และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ เน้นด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-has-become-solid-state-array-leader-quadrant/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยความท้าทาย ในการสร้าง Smart Cities ในเอเชียแปซิฟิก และความพร้อมของประเทศไทยในยุค 4.0

มร. คีท รอสคาเรล ผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยสาธารณะและเมืองอัจฉริยะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็ม พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เมืองใหญ่ทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเตรียมพร้อมการเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงการไหลของเงินทุนจากทั่วโลกจะเข้ามายังเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เมือง จำนวนประชากรในเขตเมืองจะเพิ่มขึ้น และขนาดเศรษฐกิจของเมืองในประเทศกำลังพัฒนาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และเพื่อให้บริหารจัดการเมืองที่มีประชากรมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หลายประเทศต่างต้องการเดินหน้าสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในหลายเมืองใหญ่ที่มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภค เทคโนโลยี  ระบบอินเทอร์เน็ต และการทุ่มเม็ดเงินลงทุนเพื่อวางระบบสำหรับอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์อย่างครอบคลุมเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้ามายังฐานข้อมูลขององค์กร หากแต่การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมยังมีน้อยมาก ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน การขาดการบูรณาการและเชื่อมต่อข้อมูลอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประมวลผลแบบเรียลไทม์  จนสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด

ที่ผ่านมา ฮิตาชิ ฯ ได้เร่งพัฒนาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อให้พร้อมสำหรับความต้องการของโลกอนาคต ซึ่ง Hitachi Visualization Suite (HVS) เป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ทำงานได้บนระบบไฮบริดคลาวด์ สามารถผสานรวมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลจากวิดีโอหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ (Internet of Things) จากระบบความปลอดภัยสาธารณะที่แยกออกจากกันของแต่ละหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน และข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อแสดงผล ซึ่งจะช่วยให้องค์กรภาครัฐและเอกชนได้รับข้อมูลและเข้าใจในสถานการณ์จากข้อมูลเชิงลึก ทำให้สามารถวางแผนจัดการได้อย่างดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชน อาทิ หน่วยจัดส่งความช่วยเหลือ 911 ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์, ตัวอ่านป้ายทะเบียน, เซ็นเซอร์กระสุนปืน ฯลฯ ในแบบเรียลไทม์ และนำเสนอให้ภาพข้อมูลในรูปแบบภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ HVS จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับใช้ในการเสริมความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน ยกระดับความสามารถด้านการสืบสวนสอบสวน และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติการต่าง ๆ พร้อมด้วยคุณสมบัติของการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์แบบเรียลไทม์จากเซ็นเซอร์

ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยเองทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มีความต้องการสร้าง Smart City ให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ทั้งในแง่ความมั่นคง ความปลอดภัย และประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้มีนโยบายประเทศไทย 4.0 เข้ามาผลักดันในเรื่องความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ส่งผลในทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งมีการลงทุนเพื่อวางระบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ Smart Cities ในอนาคต และสามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ

โดยเทคโนโลยีสำหรับการสร้าง Smart Cities ของฮิตาชิ ฯ อย่าง HVS สามารถแสดงภาพข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่เกี่ยวกับข้อมูลอาชญากรรมที่ผ่านมาในอดีตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึงเขตพื้นที่ความเสี่ยงอาชญากรรม (Heat Map) ด้วย HVS เป็นแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการปรับขนาดได้อย่างเต็มที่ซึ่งจะช่วยให้องค์กรภาครัฐและเอกชน สามารถในการรวบรวมเหตุการณ์จำลองหลายร้อยรายการสำหรับการสร้างภาพและการเฝ้าติดตามเชิงพื้นที่ HVS ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการและรวมจุดต่าง ๆ ที่ใช้โดยเมืององค์กรและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยสาธารณะ จากการที่ HVS มีมุมมองแบบแผนที่เดียว ซึ่งรวมข้อมูลวิดีโอข้อมูลการปฏิบัติงานการขนส่ง GPS และการติดตามยานพาหนะข้อมูลอาคารและโครงสร้างพื้นฐานสื่อสังคมออนไลน์และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์พื้นเมืองและเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้องค์กรทุกประเภทมีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“HVS นับเป็นเครื่องมือแรกที่ใช้โซเชียลมีเดีย และฟีดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ ร่วมกับการวิเคราะห์ขั้นสูงที่มีความละเอียดและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกและยกระดับความปลอดภัยสาธารณะในรูปของการนำเสนอข้อมูลพยากรณ์การเกิดอาชญากรรมที่มีความแม่นยำสูง ทั้งนี้ Hitachi Visualization เป็นหนึ่งในของโซลูชั่น Hitachi Social Innovation ที่ช่วยพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) และออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อยกระดับแนวคิดด้านความปลอดภัยสาธารณะของเมืองและเทศบาลต่าง ๆ ผ่านทางการใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเชิงพยากรณ์และการเข้าถึงข้อมูลวิดีโอ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จากระบบความปลอดภัยสาธารณะได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” ดร.มารุตกล่าวทิ้งท้าย

###

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-reveals-challenges-of-smart-cities-development-in-asia-pacific/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คว้า 2 รางวัล จาก VMware Innovation OEM Partner

ฮิตาชิ ฯ ได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพเป็นเลิศ
ทั้งในระดับโลกและในภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้รับรางวัล VMware Partner แห่งปีจำนวนสองรางวัลในกลุ่ม Innovation OEM Partner จากความพยายามอันดีเยี่ยมของบริษัททั้งในตลาดระดับโลกและตลาด EMEA ณ งานประชุม VMware Partner Leadership Summit 2017

ทั้งสองรางวัลนี้เป็นการยกย่องความสำเร็จของบริษัทในปี 2559 ซึ่งรวมถึงการเติบโตของรายได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และความสามารถในการผสานรวมข้อเสนอของ Hitachi Unified Compute Platform (UCP) เข้ากับโซลูชัน VMware vSphere, vSAN, vRealize และ NSX ได้อย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Programmable Data Center (ศูนย์ข้อมูลแบบโปรแกรมได้) ที่ทำให้ฮิตาชิ ฯ สามารถช่วยลูกค้าให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและบริการข้อมูลจากระบบเดิมและผ่านระบบคลาวด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถือเป็นการตอบโจทย์ความต้องการด้านแอพพลิเคชันได้อย่างแท้จริง

มร. ไมค์ วอล์คคีย์ รองประธานอาวุโสฝ่ายองค์กรพันธมิตรระดับโลก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า การแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลจำเป็นต้องใช้ระบบไอทีที่ทันสมัยและคล่องตัว เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากแนวโน้มและข้อกำหนดที่เกิดขึ้นใหม่ต่าง ๆ ได้ ในการทำงานร่วมกับบริษัท วีเอ็มแวร์ เราให้ความสำคัญกับแนวทางใหม่ด้านวิศวกรรมเพื่อนำเสนอความสามารถที่พร้อมตอบสนองวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของลูกค้า ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และสามารถคาดการณ์ความต้องการในอนาคตของลูกค้าได้ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยกย่องสำหรับทุกสิ่งที่เราบรรลุผลสำเร็จได้ในช่วงปีที่ผ่านมา และเรายังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการขยายความสำเร็จร่วมกับวีเอ็มแวร์ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงประสิทธิภาพของข้อมูลที่มีอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

“นับเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่บริษัท วีเอ็มแวร์ และฮิตาชิ ฯ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยลูกค้าในการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล ในปี 2559 เราจะเพิ่มระดับความสัมพันธ์ของเรากับวีเอ็มแวร์ครอบคลุมทั้งในตลาดภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) และทั่วโลก ความสำเร็จร่วมกันของทั้งสองบริษัท ทำให้เราได้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้ความยืดหยุ่น คล่องตัว และเครื่องมือที่จะช่วยผลักดันให้ลูกค้าบรรลุผลได้มากและเหนือกว่าการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย” มร. สตีฟ เฟอร์นิส รองประธานฝ่ายโซลูชันและผลิตภัณฑ์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาค EMEA กล่าว

มร. รอส บราวน์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายพันธมิตรและคู่ค้าทั่วโลก บริษัท วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า บริษัท วีเอ็มแวร์ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะมอบรางวัล Global Partner Innovation Award ให้กับกลุ่มพันธมิตรที่ได้รับการเลือกสรรสำหรับความพยายามอันดีเยี่ยมในปี 2559 วีเอ็มแวร์มีความภูมิใจที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้รับรางวัลดังกล่าวและหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกันอีกสืบต่อไป

เกี่ยวกับงานประชุม VMware Partner Leadership Summit

งานประชุม VMware Partner Leadership Summit 2017 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พันธมิตรของบริษัท วีเอ็มแวร์ ได้เข้าร่วมพบปะกับผู้บริหารของวีเอ็มแวร์และผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรม เพื่อมาแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ กรณีศึกษาต่างๆ ของลูกค้า แนวทางแก้ไขปัญหา และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นพันธมิตรร่วมกัน งาน VMware Partner Leadership Summit 2017 เปิดรับเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น โดยคู่ค้าจะได้รับทรัพยากรข้อมูลต่างๆ สำหรับการพัฒนาและการดำเนินแผนงานในการเดินหน้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างครอบคลุมรอบด้านในปี 2561 และหลังจากนั้น นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีพิธีมอบรางวัลสำหรับความสำเร็จอันน่ายกย่องและเป็นแบบอย่างในระบบพันธมิตรของวีเอ็มแวร์ (VMware Partner) ด้วย อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่นี่

ระบบ Hitachi UCP

กลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi UCP สำหรับระบบคอนเวิร์จ และไฮเปอร์คอนเวิร์จ ที่พร้อมช่วยองค์กรธุรกิจให้มีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้นเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการแข่งขัน กลุ่มผลิตภัณฑ์นี้จะทำให้การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลเป็นเรื่องง่ายผ่านการวางแผน การปรับใช้ และการบริหารจัดการระดับชั้นของโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีและเทคโนโลยีระบบเสมือนจริงของวีเอ็มแวร์อย่างครอบคลุมรอบด้าน เมื่อมีระบบ VMware เป็นแกนหลัก ระบบ Hitachi UCP จะให้ซอฟต์การจัดระเบียบและการบริหารจัดการอันเป็นเอกลักษณ์เพือช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์สรุ่นใหม่ได้ ทั้งนี้ Hitachi UCP นำเสนอความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่น ระบบอัตโนมัติ และประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเพื่อสนับสนุนเวิร์กโหลดที่มีความต้องการใช้งานสูงสุด สำหรับ Hitachi UCP HC ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์สรุ่นใหม่ของเรานั้นได้รับการสนับสนุนจาก VMware vSAN ทำให้สามารถปรับขยายระบบและเสริมสร้างความพร้อมใช้งานได้อย่างสูงสุดด้วยระบบควบคุมตามนโยบายสำหรับเวิร์กโหลดที่ผสมผสานภายใต้การดำเนินงานที่เรียบง่ายและไม่เปลืองแรง

ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Twitter

LinkedIn

Facebook

เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ,  เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

###

เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560) 9,162.2 พันล้านเยน (81.8 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 304,000 คน และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ เน้นด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-receives-two-awards-from-vmware-innovation-oem-partner/

[PR] มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน เดินหน้าวางโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์จากฮิตาชิฯ

มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการ และในยุคเฟื่องฟูของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และระบบคลาวด์ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยสมัยใหม่มีความต้องการบริการด้านสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายไอที และเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์แบบส่วนตัวสำหรับการแชร์ไฟล์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยอาศัยโซลูชันของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) และด้วยโซลูชันระบบเสมือนจริงและการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กร ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) สามารถช่วยมหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ภายในมหาวิทยาลัยได้เป็นผลสำเร็จ

ความท้าทาย

เครือข่ายของมหาวิทยาลัยโอเชียนได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว โดยที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลของมหาวิทยาลัยจะเป็นระบบแบบกระจายและแยกส่วนการทำงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากหมาย การใช้แหล่งทรัพยากรขาดความสมดุล และความยากลำบากในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ระบบแยกส่วนดังกล่าวยังสร้างปัญหาขึ้นเมื่อต้องกู้คืนข้อมูลและไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ในกรณีที่อุปกรณ์ทำงานล้มเหลวก็มักจะเกิดการสูญหายของข้อมูลจำนวนมากตามมา และระบบก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจรูปแบบใหม่ได้อย่างคล่องตัว ทั้งยังสร้างภาระด้านการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

ปัจจุบันคณาจารย์ ทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และทีมบริหารของมหาวิทยาลัยต่างพึ่งพาระบบไอทีเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากอุปกรณ์หลัก ๆ ภายในศูนย์ข้อมูลทำงานล้มเหลวก็ย่อมส่งผลต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก สำหรับรูปแบบการดำเนินงานในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยนั้น จะเป็นระบบการมอบหมายและส่งการบ้าน ตลอดจนแชร์ข้อมูลและไฟล์สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ FTP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซับซ้อน และไม่ยืดหยุ่น ทั้งยังไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ FTP ที่ดีพอด้วย

ขณะที่ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับเล็กและระดับกลางที่มีอยู่เดิมนั้น ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในแง่ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความพร้อมใช้งานได้ ด้วยเหตุนี้หัวหน้าศูนย์ไอทีจึงได้นำเสนอศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์รุ่นใหม่สำหรับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มบริการระบบคลาวด์สำหรับการแชร์ทรัพยากร การสร้างระบบเสมือนจริง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และบริการระบบคลาวด์สำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อให้การบริหารจัดการ การจัดสรร และการป้องกันทรัพยากรเป็นไปในลักษณะรวมศูนย์ แนวทางนี้จะก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเป็นแพลตฟอร์มบริการสำหรับจัดเก็บไฟล์และแบ่งปันไฟล์ที่ใช้บ่อยในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

โซลูชันของเอชดีเอส: การสร้างระบบคลาวด์

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยโอเชียน เอชดีเอสจึงได้นำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมหลังจากวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการทางธุรกิจของมหาวิทยาลัยอย่างรอบด้านแล้ว โดยโซลูชันนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ Hitachi Data Systems Global Services Solutions ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. ศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active-Active

เอชดีเอส ได้สร้างศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active – Active ซึ่งพัฒนาขึ้นจาก Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) โดยมี VSP หนึ่งชุดที่ได้รับการปรับใช้ในทั้งวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวน และด้วยสถาปัตยกรรมของ Hitachi Universal Star Network crossbar-switch ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ VSP สามารถตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพและการปรับขยายระบบไอทีของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ VSP จะผสานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไฟเบอร์ทั้งหมดในระบบที่มีอยู่เดิม เข้ากับกลุ่มระบบจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน (Storage Virtualization) และได้ขยายขีดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขั้นสูงให้กับกลุ่มทรัพยากรทั้งหมด ได้แก่ การจัดสรรพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพบนเทคโนโลยี Thin Provisioning รวมไปถึง Dynamic auto-tiering ที่เป็นเทคโนโลยีการย้ายข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยจัดเก็บข้อมูลตามความถี่ในการใช้งาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างเหมาะสมสูงสุด

ในขณะเดียวกันระบบจัดเก็บข้อมูล VSP อีกสองระบบในวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวนจะมีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลแบบ Active – Active ผ่านคลัสเตอร์ระบบจัดเก็บข้อมูล Hitachi High Availability Manager (HAM) ร่วมกับ Hitachi TrueCopy ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย โดยจะมีการกำหนดค่า Hitachi TrueCopy ร่วมกับระบบ HAM (โมดูลการทำสำเนาและการกู้คืนข้อมูลแบบซิงโครนัส) และ HAM ให้กับระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งสองระบบ โดยที่ข้อมูลจะถูกคัดลอกแบบซิงโครนัสในลักษณะสองทิศทาง ทั้งนี้ระบบจัดเก็บข้อมูล VSP ทั้งสองระบบพร้อมรองรับการเข้าถึงข้อมูลในวิทยาเขตแต่ละแห่ง โดยหากระบบจัดเก็บข้อมูลระบบใดระบบหนึ่งล้มเหลว ก็จะหันไปใช้ระบบทดแทน ทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินธุรกิจจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2. โซลูชันการจัดการไฟล์บนระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่พัฒนาขึ้นจาก Hitachi Content Platform

การผสานรวม Hitachi Content Platform (HCP) ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์ (Object) เข้ากับระบบ Hitachi Content Platform Anywhere (HCP Anywhere) ทำให้เอชดีเอสสามารถนำเสนอโซลูชันระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่ไม่เหมือนใครและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของมหาวิทยาลัยในด้านการแชร์ไฟล์ การจัดการไฟล์ การรักษาความปลอดภัยข้อมูล และความคล่องตัวในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ที่ได้รับ

เอชดีเอส ช่วยให้มหาวิทยาลัยโอเชียนสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ ซึ่งได้แก่ ศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์แบบส่วนตัวพร้อมด้วยศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active-Active รวมถึงโซลูชันการจัดการไฟล์ที่ครอบคลุม โดยโซลูชันนี้จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านไอทีเพิ่มขึ้น และยังก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้ด้วย

การเก็บรวบรวมและการแจกจ่ายการบ้านผ่านระบบคลาวด์

ก่อนหน้านี้การบ้านจะถูกรวบรวมและแจกจ่ายผ่านทางอีเมลหรือ FTP ซึ่งมีความซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดสูง แต่ตอนนี้จะเป็นการบริหารจัดการแบบแบ่งตามระดับชั้นในรูปแบบ “กลุ่ม” ของ HCP โดยแต่ละแผนกในมหาวิทยาลัยจะถูกกำหนดเป็นกลุ่ม และครูแต่ละคนในแต่ละแผนกจะถูกกำหนดเป็น “ทีม” ซึ่งครูแต่ละคนจะมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในพื้นที่ทีมของตนและสามารถกำหนดว่าจะให้นักเรียนคนใดสามารถเข้าถึงพื้นที่นี้ได้บ้าง พื้นที่ดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ของกลุ่มเพื่อป้องกันหรือให้อนุญาตในการเปิดใช้งานการแชร์ข้อมูลระหว่างกลุ่มได้อีกด้วย

พื้นที่ทำงานเฉพาะสำหรับทีมงานด้านวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมีทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชั่วคราวจำนวนหนึ่งที่ต้องการพื้นที่ทำงานออนไลน์แบบส่วนตัว ด้วยโซลูชันนี้ มหาวิทยาลัยจะสามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้เฉพาะสมาชิกในทีมเท่านั้น และภายในพื้นที่แห่งนี้ สมาชิกในทีมจะสามารถแชร์ไฟล์ระหว่างกันและแต่ละคนสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองได้

แชร์ไฟล์ผ่านระบบคลาวด์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

HCP พร้อมให้บริการแชร์ไฟล์ในลักษณะเดียวกับ FTP ผ่านทางการเข้าถึง HTTP แบบไม่ระบุชื่อเพื่อแทนที่บริการ FTP ที่มีอยู่เดิม บริการนี้ให้การเข้าถึงที่ยืดหยุ่นและรวดเร็ว รวมถึงจัดการได้ง่าย และด้วย HCP Anywhere มหาวิทยาลัยจะสามารถซิงโครไนซ์ไฟล์ส่วนตัวของตนเองและระบบไดรฟ์บนคลาวด์ที่เปิดให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยเมื่อเทียบกับระบบคลาวด์สาธารณะแบบอื่นๆ แล้ว ระบบ HCP Anywhere ให้ความเป็นส่วนตัวและสามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้ดีกว่า

ปลอดภัยและเชื่อถือได้สูงสุด

ระบบส่วนหลังของระบบคลาวด์ส่วนตัวของมหาวิทยาลัยที่สร้างบน ระบบจัดเก็บข้อมูลHitachi VSP และ HCP รับประกันได้ถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้การป้องกันและการกำหนดเวอร์ชันของ HCP แบบอัตโนมัติยังช่วยให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนตัว รวมไปถึงเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนบน VSP จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรร่วมกันและการจัดสรรทรัพยากรตามต้องการเป็นไปอย่างราบรื่น

หมดปัญหาด้านการจัดการไฟล์ในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

HCP พร้อมรองรับข้อมูลไฟล์แบบไม่มีโครงสร้างและสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับการแชร์ไฟล์ การบริหารจัดการไฟล์ และความปลอดภัยของข้อมูลในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่ยืดหยุ่นและง่ายต่อการจัดการ ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการติดต่อสื่อสารได้อย่างเห็นผล

ระบบไดร์ฟบนคลาวด์สำหรับองค์กร

มหาวิทยาลัยสามารถสร้างระบบไดรฟ์บนคลาวด์พร้อมด้วย HCP Anywhere ที่จะจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บไฟล์ส่วนบุคคลได้อย่างปลอดภัยสำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยระบบไดรฟ์บนคลาวด์นี้จะช่วยให้การทำงานแบบเคลื่อนที่เป็นไปอย่างสะดวก ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

“เอชดีเอส ช่วยให้มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนสามารถปรับใช้โครงการไดรฟ์บนคลาวด์ของวิทยาเขตร่วมกับศูนย์ข้อมูลแบบ Active-Active และโซลูชัน HCP Anywhere ได้สำเร็จ โดยโครงการนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการข้อมูลของมหาวิทยาลัยด้วย” ซัน เซียนหลิง รองผู้อำนวยการศูนย์ไอที มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน

###

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโอเชียน

มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนให้บริการด้านการศึกษาในสาขาวิชาด้านเทคนิคและสังคมศาสตร์เป็นหลัก และมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและประมง โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีรายชื่อร่วมใน “โครงการ 985”และ “โครงการ 211” อันเป็นความพยายามของรัฐบาลจีนในการยกระดับระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยโอเชียนมีนักศึกษามากกว่า 40,000 คนและคณาจารย์ 3,000 คน มีวิทยาเขต 3 แห่งและศูนย์ข้อมูล 2 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวน

from:https://www.techtalkthai.com/hds-success-story-ocean-university-of-china/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เพิ่มขีดความสามารถในกลุ่ม Hitachi Virtual Storage Platform ด้วยความสามารถทาง Hardware และซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ที่พัฒนาเพิ่มขึ้น ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชรุ่นใหม่นี้จะช่วยผลักดันให้การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลของลูกค้าให้ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็ม เปิดตัวระบบ และซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ในกลุ่มโซลูชั่น Hitachi Virtual Storage Platform (VSP)  ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าและให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดียิ่งขึ้น โดยพัฒนาขึ้นจากซอฟต์แวร์ Hitachi Storage Virtualization Operating System (SVOS) รุ่นใหม่ ทำให้สามารถนำเสนอประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับขยายเวิร์กโหลดได้เหนือกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ  โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังคงการันตีความสามารถรับประกันความพร้อมใช้งานของข้อมูล 100% อันเป็นข้อดีของอุปกรณ์แบบ Enterprise เฉกเช่นผลิตภัณฑ์ในรุ่นก่อนหน้า 

ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ลูกค้าจะต้องได้รับข้อมูลและใช้งานข้อมูลในแบบเรียลไทม์ ขณะที่องค์กรต่างๆ จะต้องสามารถดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวซอฟต์แวร์ SVOS 7 รุ่นใหม่จึงได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมาพร้อมสแตก I/O แบบแฟลชและบริการข้อมูลแบบเลือกลักษณะบริการตามลำดับความสำคัญได้:

  • คุณภาพการบริการ (Quality of Service: QoS): สามารถคาดการณ์ประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อรองรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องของลูกค้าได้ มาพร้อมบริการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลสำหรับเวิร์กโหลดโดยเฉพาะเพื่อให้สามารถคาดการณ์เวลาตอบสนองได้ดีขึ้นเมื่อเกิดการขยายตัวของข้อมูล
  • การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลแบบปรับได้ (Deduplication and Compression): มีคุณสมบัติด้านการลดความซ้ำซ้อนและการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วน 2:1, 5:1 หรือในระดับที่สามารถประหยัดพื้นที่จัดเก็บได้มากขึ้น โดย SVOS 7 สามารถถ่ายโอนการบีบอัดไปยังโมดูลแฟลชของฮิตาชิ (FMD) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้มากกว่าอาร์เรย์แฟลชแบบอื่นๆ
  • การแบ่งระดับชั้นของคลาวด์สำหรับ VSP ซีรีส์ F แบบแฟลชทุกรุ่น: ผลิตภัณฑ์เพิ่มความสามารถในการทำงานกับ คลาวด์ โดยรองรับการย้ายไฟล์ไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์แบบส่วนตัวหรือแบบสาธารณะได้ เพื่อจุดประสงค์ ของการบริการต้นทุนต่อรูปแบบของข้อมูล ในการลดพื้นที่จัดวางของศูนย์ข้อมูลหลัก ผลลัพธ์คือสามารถลดต้นทุนและคาดการณ์การใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ SVOS 7 พร้อมรองรับการใช้งานกับระบบ Virtual Storage Platform ซีรีส์ G และ F ทั้งรุ่นใหม่และรองรับรุ่นเดิมที่ลูกค้าใช้งานแล้วได้ โดยลูกค้าปัจจุบันสามารถได้รับประโยชน์จาก SVOS 7 เช่น คุณสมบัติการลดความซ้ำซ้อนและการบีบอัดข้อมูลผ่านการอัพเกรดระบบโดยไม่กระทบต่อการทำงานใดๆ

สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการรวมศูนย์ระบบไอทีและการสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชั่นทั้งในระบบเปิด และระบบเมนเฟรมเข้าไว้ด้วยกัน บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พร้อมนำเสนอ VSP รุ่น High-end ใหม่สองรุ่น คือ VSP F1500 และ VSP G1500  โดย VSP F1500 สำหรับระบบแฟลชแบบ Enterprise Flash หรือ FMD โดยมีแต่ละหน่วยจำมีหน่วยประมวลผลแบบ ASIC ที่ทำงานในการเพิ่มประสิทธภาพการทำงานของชิป แบบ MLC  ซึ่งพัฒนาจาก FMD รุ่นที่ 1 สู่ FMD รุ่นที่ 2 ที่มีความหนาแน่นต่อความจุขึ้นในรุ่นใหม่ที่มากถึง 14 เทราไบต์ต่อหน่วย และให้ประสิทธิภาพของการดำเนินการอินพุต/เอาต์พุตต่อวินาที ที่ระดับ 4.8 ล้าน (IOPS) และความจุรวมในรูปแบบแฟลชประสิทธิภาพสูงถึง 40 เพตาไบต์ (PB) นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการเพิ่มจำนวน FMD ได้มากถึง 576 โมดูล ทำให้มีคอร์รวมมากถึง 2304 คอร์ ของหน่วยประมวลผลของ FMD รวม ซึ่งจะช่วยในการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลมากขึ้นและยังคงเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานแบบเรียลไทม์ในระดับสูงสุดได้ในเวลาเดียวกัน

สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้ระบบแฟลชทั้งหมด บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นำเสนอ VSP G1500 รุ่นใหม่ซึ่งให้ IOPS ที่ระดับ 4.8 ล้าน IOPS ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่ารุ่น VSP G1000 ถึง 20% อย่างไรก็ตามลูกค้า VSP G1000 สามารถอัพเกรดเป็น VSP G1500 แบบไม่กระทบต่อการทำงานของระบบ (Online) แนวทางนี้จะช่วยให้การเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์ม VSP G1500 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเรื่องง่ายและตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในการปกป้องการลงทุนของลูกค้าของเรา

นอกจากการเปิดตัว SVOS 7 และเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ๆ ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ VSP แล้ว บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กำลังอัพเกรดชุดซอฟต์แวร์ด้านการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลง่ายดายขึ้นกว่าเดิม อาทิเช่น Hitachi Storage Advisor, Automation Director และ Infrastructure Analytics Advisor รุ่นใหม่ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำฟังก์ชันใหม่ของ SVOS 7 ไปใช้งานได้ง่ายขึ้นและลดต้นทุนการดำเนินงานและความซับซ้อนด้านไอทีลงได้

  “เทคโนโลยีแฟลชกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation ซึ่งต้องการเพิ่มขีดความสามารถด้านการดำเนินงาน กระบวนการต่างๆ และประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ SVOS, FMD และ VSP ของเราจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีแฟลชได้เป็นอย่างมาก ช่วยให้ลูกค้าก้าวสู่องค์กรดิจิทัลได้เร็วขึ้น และลดต้นทุนโดยรวมได้อย่างเห็นผล” ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวทิ้งท้าย

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่

###

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ,  เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559) 10,034.3 พันล้านเยน (88.7 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 335,000 คน และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ เน้นด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-upgrade-virtual-platform/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ Object Storage รายแรกและรายเดียว ที่มาพร้อมความสามารถของ Content Intelligence

Hitachi Content Intelligence จะช่วยให้องค์กรสามารถแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
และนำเสนอให้กับบุคคลที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ต้องการที่สุด

hci

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดตัว Hitachi Content Intelligence โซลูชั่นที่เข้ามาเสริมความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi Content Portfolio (HCP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล ไฟล์ และเนื้อหาระดับองค์กร รวมถึงเป็น Hybrid Storage Cloud Gateway เชื่อมต่อ Private Cloud กับ Public Cloud แบบครบวงจร ทำให้ขณะนี้ HCP กลายเป็นโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์ (Object Storage) เพียงรายเดียวที่มีความสามารถด้านการสืบค้นและการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลเชิงกลยุทธ์ได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,700 รายที่ได้นำเอา HCP มาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการแปรรูปองค์กรให้ก้าวสู่ระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation แล้ว โดยเมื่อใช้ Hitachi Content Intelligence ลูกค้าจะสามารถแปลงข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและนำเสนอให้กับบุคคลที่เหมาะสมเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องการที่สุดได้

Hitachi Content Intelligence จะช่วยจัดการปัญหาต่างๆ ที่องค์กรในปัจจุบันประสบอยู่ในเรื่องของการค้นหาและสืบค้นผ่านเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและถูกจัดเก็บในแหล่งต่างๆที่แยกจากกันในองค์กร ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย ทั้งแบบข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง ทำให้ Hitachi Content Intelligence สามารถเรียกนำเสนอข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนจัดการและควบคุมข้อมูลให้ดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าใจรูปแบบการกระจายตัวของข้อมูลภายในองค์กรโดยพิจารณาจากความสำคัญของข้อมูลที่มีต่อธุรกิจในส่วนต่างๆเป็นหลัก ตัวอย่างขององค์กรที่ได้มีการนำ Hitachi Content Intelligence มาใช้แล้ว อาทิ เช่น

Rabobank ซึ่งเป็นธนาคารระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้บริการลูกค้ามากกว่า 10 ล้านคนใน 47 ประเทศ โดยมีพนักงานมากกว่า 51,000 คน และเช่นเดียวกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ธนาคารแห่งนี้จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบในแต่ละประเทศที่เปิดดำเนินการอย่างเคร่งครัด Rabobank ต้องการโซลูชั่นที่จะช่วยให้การตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบในปัจจุบันและในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น และครอบคลุมที่สุด HCP และ Hitachi Content Intelligence ของธนาคารสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ที่ได้รับอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการได้จากโต๊ะทำงานโดยไม่ต้องร้องขอการสนับสนุนช่วยเหลือจากฝ่ายไอที

มร. วอลเตอร์ เฮนดริค ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลการดำเนินงาน ธนาคาร Rabobank กล่าวว่า “Hitachi Content Platform ได้เปลี่ยนวิธีที่เราใช้ในการจัดการตรวจสอบองค์กรว่าได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีอยู่หรือไม่ และยังช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการสืบค้นข้อมูลจากระดับสัปดาห์เหลือเพียงระดับชั่วโมง ขณะนี้ Hitachi Content Intelligence ได้กลายเป็นส่วนสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสถาปัตยกรรมและแนวทางของเราด้านการติดตามตรวจสอบ การสืบค้น และการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกได้อย่างถูกต้อง”

บรรดาลูกค้าอย่าง Precision Discovery ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ปรึกษาด้านบริการ e-Discovery และหลักฐานข้อมูลทางดิจิทัลในสหรัฐอเมริกา และ National Archives and Record Administration (NARA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาครัฐ ทั้งในส่วนของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ประธานาธิบดี และเอกชนที่สนับสนุนโครงการ เพื่ออนุรักษ์ข้อมูลสำคัญของชาติ ต่างก็หันมาปรับใช้โซลูชั่นจากฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ช่วยแก้ปัญหาในการริเริ่มเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบดิจิทัลที่กำลังมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจของตน ด้วยการผสานรวมการทำงานที่ราบรื่นของ Hitachi Content Intelligence กับแพลตฟอร์ม HCP ที่ลูกค้ามีอยู่ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างที่กำลังขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุดได้โดยไม่ต้องเรียกใช้บริการจากภายนอก

มร. เจสัน วันวอลเคนเบิร์ก รองประธาน บริษัท ฮิตาชิ คอนซัลติ้ง ทำหน้าที่ดูแลจัดการโครงการและการพัฒนาโปรแกรมร่วมกับบริษัท ViON Corporation ซึ่งเป็นบริษัทพาร์ทเนอร์ในโครงการภาครัฐกับ HDS กล่าวว่า หน่วยงาน NARA ใช้ HCP และ Hitachi Content Intelligence เพื่อจัดเก็บ รักษา และทำให้สามารถเข้าถึงชุดระเบียนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลอีเมล รูปภาพ เอกสาร และแอปพลิเคชั่นต่างๆอีกนับสิบรายการที่ได้รับการแปลงรูปแบบให้กลายเป็นระบบเปิด(Open formats) แล้วในตอนนี้ โดยที่หนึ่งในผู้บริหารโครงการได้กล่าวว่า “เราเลือก Hitachi Content Intelligence แทนการปรับใช้แพลตฟอร์มแบบ Solr หรือการสร้างระบบของเราขึ้นมาเอง เนื่องจากโซลูชั่นนี้มีชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่นและสามารถผสานรวมการทำงานเข้ากับ HCP ได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้เรายังทราบดีว่าสถาปัตยกรรมของโซลูชั่นนี้ไม่ได้จำกัดสิ่งที่เราต้องการดำเนินการกับแพลตฟอร์มดังกล่าวด้วย”

ด้าน มร. โฮวาร์ด โฮลตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ของบริษัท Precision Discovery กล่าวว่า “Precision Discovery ยอมรับความสามารถของ HCP และ Hitachi Content Intelligence ในการแก้ปัญหาส่วนต่างๆ ในหลักฐานข้อมูลทางดิจิทัลที่อาจก่อให้เกิดคดีความซึ่งส่งผลให้เกิดความยุ่งยากอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างโซลูชั่นแบบกำหนดเองที่ลดต้นทุนให้ลูกค้าได้อย่างมาก และยังเพิ่มความสามารถด้านการแสดงภาพข้อมูลและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วย ซึ่งจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากความอัจฉริยะ ความสามารถในการต่อขยาย และความมีประสิทธิภาพของ Hitachi Content Intelligence”

Hitachi Content Intelligence ช่วยให้องค์กรสามารถ:

  • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานของพนักงานด้วยการสร้างกระบวนการค้นหาสำหรับองค์กรที่ได้มาตรฐานและมีเสถียรภาพครอบคลุมระบบไอทีทั้งหมด
  • มอบอำนาจและขีดความสามารถให้กับทุกระดับขององค์กรด้วยรูปแบบความคิดนอกกรอบของการสืบค้น และเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตนเอง เพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงการค้นหาแบบละเอียดและการค้นหาด้วยการประมวลทางภาษาธรรมชาติ
  • ได้รับข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านการคัดแยก การแบ่งประเภท การเสริมความสมบูรณ์ และการจัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดแบบอัตโนมัติ
  • ลดความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงจากข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึง ซ่อนอยู่ หรือสูญหาย ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับธุรกิจด้วย
  • ปรับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการระบุข้อมูลที่มีการเข้าถึงไม่บ่อยนักและดำเนินการย้ายตำแหน่งข้อมูลดังกล่าวโดยอัตโนมัติไปยังชั้นจัดเก็บแบบออบเจ็กต์ที่มีต้นทุนถูกกว่า

คุณสมบัติที่สำคัญของ Hitachi Content Intelligence ประกอบด้วย:

  • การรวมข้อมูลองค์กรไว้ในระบบส่วนกลางละแปลงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์
  • การเชื่อมต่อและการรวบรวมข้อมูลในหลากหลายโครงสร้างจากคลังข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบที่แตกต่างกันและจากตำแหน่งที่ตั้งต่างๆในองค์กร
  • การนำเสนอตัวเลือกการปรับใช้ที่ยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น Physical Server, Virtual Host รวมไปถึงการติดตั้งบนระบบคลาวด์สาธารณะหรือแบบส่วนตัว
  • ความสามารถด้านการปรับขยายระบบและความพร้อมใช้งานระดับสูงที่รองรับคลัสเตอร์หลากหลายขนาดทั้งในรูปแบบกระจายและแบบไดนามิก ซึ่งทำให้เกิดอินสแตนซ์พร้อมกันได้มากกว่า 10,000 อินสแตนซ์
  • การเก็บรักษาข้อมูลที่มีความสำคัญให้ปลอดภัยด้วยการตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะมีเพียงผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงด้วยการผสานรวมบริการตรวจสอบความถูกต้อง การควบคุมการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลระดับเอกสาร และการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในระดับที่ละเอียดเข้าไว้ด้วยกัน
  • การนำเสนอผลลัพธ์ตามความต้องการและในแบบบริการตัวเองที่สามารถปรับแต่งให้มีรูปแบบเฉพาะตามผู้ใช้แต่ละคน หรือกลุ่มที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
  • ต่อยอดระบบการทำงานด้วยอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมซึ่งรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบกำหนดเอง ขั้นตอนการแปลงข้อมูล หรือการสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่
  • ประยุกต์ใช้งานร่วมกับเครื่องมือออกแบบเวิร์กโฟลว์ เครื่องมือบริหารจัดการ และแอปพลิเคชั่นสำหรับสำรวจและสืบหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“สำหรับองค์กรในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญที่สุด และการเชื่อมต่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ากับข้อมูลที่ถูกต้องด้วยวิธีการที่เหมาะสมและทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดได้ ทั้งนี้ Hitachi Content Intelligence ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดระเบียบ แปลง และจัดกลุ่มข้อมูลองค์กรให้เป็นสารสนเทศที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้สำหรับองค์กรธุรกิจ” ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวทิ้งท้าย

hitachi-content-intelligence-colour2

###

เกี่ยวกับ Hitachi Content Platform Portfolio

กลุ่มโซลูชั่น HCP เป็นโซลูชั่นแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล ไฟล์ และเนื้อหา (Files and Contents) แบบ Object-Based Cloud Storage ของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการจัดเก็บค้นหา (Archive) การทำเวอร์ชันของเอกสาร (Versioning) การบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน (Multi-tenancy) การป้องกันข้อมูลด้วยตนเอง (data protection) การกำหนดอายุของข้อมูล(Data Retention) การเรียกค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในระบบบรรณารักษ์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน (Metadata analysis) และสามารถกำหนดการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังระบบคลาวด์สาธารณะ (Hybrid Storage Cloud Gateway) ได้ HCP เข้ามาช่วยบริหารข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง ให้รองรับการขยายตัวของข้อมูลจำนวนมาก โดยมาพร้อมกลไกการป้องกันข้อมูลแบบในตัวและพร้อมรองรับเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีการสำรองข้อมูลด้วยเทปแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ HCP ยังสามารถจัดการปัญหามากมายผ่านชุมชนพันธมิตรซอฟต์แวร์หลากหลายค่าย และยังช่วยกำจัดความต้องการด้านการดูแลรักษาระบบแบบแยกส่วนสำหรับเวิร์กโหลดในแต่ละครั้งด้วย โดยลูกค้าจะได้รับบริการตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น หรือในขณะที่ผู้ให้บริการทางไอทีก็จะสามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นด้วยการกำจัดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการผสานรวมการทำงานต่างๆ ที่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง

ข้อมูลเพิ่มเติมหรือผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
Twitter
LinkedIn
Facebook

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ, เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559) 10,034.3 พันล้านเยน (88.7 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 335,000 คน และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ เน้นด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-release-content-intelligence/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดตัว Hitachi Enterprise Cloud แพลตฟอร์มคลาวด์สำเร็จรูประดับองค์กร เปลี่ยนโฉมการปรับใช้ระบบคลาวด์ ช่วยองค์กรแปรรูปสู่ยุคดิจิทัลได้รวดเร็วขึ้น

พร้อมโซลูชั่นใหม่ๆอีกหลากหลายทางเลือกช่วยลูกค้าให้สามารถเลือกปรับได้ตามความต้องการเฉพาะ

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดตัว 3 โซลูชั่นแนวทางใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และเร่งกระบวนการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันโซลูชั่นที่มีอยู่ในตลาดยังคงขาดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นรูปแบบคงที่ให้กับลูกค้า ทำให้ฝ่ายไอทีต้องเผชิญกับความท้าทายและจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ด้วยตนเอง เมื่อความต้องการของระบบถูกปรับเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงนำเสนอแนวทางโซลูชั่นเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ ดังนี้:

  • Hitachi Enterprise Cloud (HEC)
    แพลตฟอร์มคลาวด์สำเร็จรูประดับองค์กร สามารถติดตั้งใช้ระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและแบบไฮบริดได้ทันที เพื่อให้การดำเนินงานในศูนย์ข้อมูลและการนำเสนอแอปพลิเคชั่นเป็นไปโดยอัตโนมัติ
  • Hitachi Management Automation Strategy
    ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตนได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Hitachi Unified Compute Platform (UCP) 2000 และ UCP Hyper Converged (HC)
    เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการแปรรูปหรือปรับขยายโครงสร้างไอทีของตนทีละน้อยๆเพื่อให้ทันสมัย และทันกับความต้องการทางธุรกิจโดยไม่ต้องลงทุนเกินความจำเป็น ด้วยระบบไฮเปอร์คอนเวอร์จและระบบคอนเวิร์จแบบเปิดที่ประหยัดค่าใช้จ่าย

hec

แพลตฟอร์ม HEC สร้างโดยใช้แอปพลิเคชั่นแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้เป็นโซลูชั่นแบบพร้อมใช้งานประกอบด้วยแค็ตตาล็อกของบริการไอทีให้เลือกใช้งานที่มีการสร้างและกำหนดไว้ล่วงหน้า พร้อมด้วยแพลตฟอร์มแบบคอนเวิร์จ ซอฟต์แวร์ และบริการของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และ/หรือคู่ค้า ช่วยให้ผู้ใช้สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานและสามารถใช้ระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและแบบไฮบริดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขณะนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ HEC แรกที่เปิดตัวพร้อมใช้งานแล้ว ได้แก่ Hitachi Enterprise Cloud with VMware vRealize® Suite ที่ใช้พื้นฐานเทคโนโลยี VMware vRealize Air® Cloud Management Platform™ (CMP) โดยตรง โซลูชั่นดังกล่าวพร้อมใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กรของลูกค้า และในรูปแบบของโมเดลการใช้ที่หลากหลาย ทั้งแบบ การจัดหาแบบดั้งเดิมโดยองค์กรลงทุนในเทคโนโลยีโซลูชั่นคลาวด์และบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง หรือในรูปแบบโซลูชั่นคลาวด์ที่ “จ่ายเมื่อใช้งาน” พร้อมการบริหารจัดการให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

มร. ร็อบ สมูท รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ หน่วยธุรกิจด้านการจัดการระบบคลาวด์ บริษัท วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า การเปิดตัวโซลูชั่นแนวทางใหม่ของฮิตาชิฯ ในวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของแพลตฟอร์ม VMware vRealize ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรับใช้ระบบคลาวด์สำหรับองค์กรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดย Hitachi Enterprise Cloud with VMware vRealize Suite ได้รับการพัฒนาขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ระดับเฟิร์สคลาส แพลตฟอร์มดังกล่าวช่วยเสริมสร้างความสำเร็จให้กับลูกค้าในการใช้ VMware vRealize Suite ในรูปของแพลตฟอร์มการจัดการระบบคลาวด์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

Hitachi Management Automation Strategy เป็นแนวทางใหม่ในการนำเสนอซอฟต์แวร์ด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดความง่ายดายในการนำระบบคลาวด์ไปใช้งาน นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้ระบบไอทีในรูปแบบบริการ (IT as a service: ITaaS) ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นแบบดั้งเดิมหรือรุ่นใหม่ก็ตาม กลยุทธ์แนวทางใหม่นี้ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่มุ่งเน้นในระบบอัตโนมัติซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งรวมถึง UCP Advisor ที่ให้การจัดการง่ายดายและผสานรวมขั้นตอนการทำงานที่ชาญฉลาดสำหรับระบบคอนเวิร์จ Unified Compute Platform (UCP) 2000 ทั้งในรูปแบบระบบเดียวหรือหลายระบบ

“การทำงานอย่างชาญฉลาด ความคล่องตัว และการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก คือ หลักสำคัญ 3 ประการในการดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล และฝ่ายไอทีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในครั้งนี้ การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หลักสำคัญดังกล่าวประสบความสำเร็จคือความท้าทายสำหรับทีมไอทีโดยตรง ซึ่งระบบอัตโนมัติและการจัดการที่ไม่ซับซ้อนซึ่งมีอยู่ใน Hitachi Management Automation Strategy จะช่วยจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ได้” มร. เอริค ฮานเซลเมน หัวหน้านักวิเคราะห์, บริษัท 451 รีเสิร์ช จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำด้านไอที กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากซอฟต์แวร์ UCP Advisor แล้ว ยังมีฟังก์ชั่นใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Hitachi Unified Compute Platform’s (UCP) รวมทั้งรองรับการปรับขยายของระบบและการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ที่มีค่ายิ่งให้กับลูกค้า ทั้งระบบคอนเวิร์จ UCP 2000 และไฮเปอร์คอนเวอร์จ UCP HC รองรับตัวประมวลผล Intel Broadwell ที่มีความเร็วมากกว่าเดิมและสามารถเลือกใช้ Hitachi Data Ingestor, Hitachi Content Platform และ WAN Optimizer เพื่อจัดเตรียมโซลูชั่นแบบปรับแต่งได้ตามความต้องการเฉพาะของตน นอกจากนี้ UCP 2000 ยังพร้อมรองรับการปรับขยายของเซิร์ฟเวอร์ได้ถึง 8 เท่า โดยขณะนี้รองรับได้ถึง 128 โหนดและมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นด้วย และบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังได้ขยายระบบเพื่อให้รองรับระบบ OpenStack อีกด้วย ส่วนไฮเปอร์คอนเวอร์จ UCP HC นั้นพร้อมให้การรองรับระบบในรูปแบบแฟลชทั้งหมดและแบบไฮบริดที่มีความจุสูงระดับ 2U/1 โหนด โดยสามารถใช้งานความจุของระบบแฟลชได้สูงถึง 26 เทราไบต์ ซึ่งเป็นการยกระดับความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ในรูปแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จในการเสริมสร้างให้เกิดประสิทธิภาพระดับสูงและการปรับขยายสำหรับแอปพลิเคชั่นที่เน้นการวิเคราะห์และการทำธุรกรรม นอกเหนือจากฟังก์ชั่นการทำงานอื่นๆ ที่มีพร้อมใช้งานในตลาด

นอกจากการเพิ่มทางเลือกและความยืดหยุ่นให้กับลูกค้าแล้ว บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังมีโครงการนำเสนอระบบคลาวด์ที่มีรูปแบบการบริการใหม่ๆหลายรายการ ได้แก่ โซลูชั่นระบบจัดเก็บในรูปแบบการบริการ (Storage as a Service: STaaS), โซลูชั่นประมวลผลในรูปแบบการบริการ (Compute as a Service), โซลูชั่นการวิเคราะห์ในรูปแบบการบริการสำหรับการบริหารการดำเนินงานบริการด้านไอที และทางเลือกใหม่สำหรับบริการด้านการดำเนินงานจากระยะไกล นอกจากนี้บริษัทยังเปิดตัวโซลูชั่นสำรองข้อมูลในรูปแบบการบริการ (Backup as a Service), การจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรในรูปแบบการบริการ (Archive as a Service) และการกู้คืนระบบจากความเสียหายในรูปแบบการบริการ (Disaster Recovery as a Service) เพื่อสร้างแนวทางที่สมบูรณ์ในการป้องกันข้อมูลอย่างครอบคลุม

“การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลเป็นตัวเร่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอโมเดลธุรกิจและกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจใหม่ๆ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริงที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการแปรรูปธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถจัดการกับอุปสรรคที่ฝ่ายไอทีกำลังเผชิญอยู่ได้ โดย Hitachi Enterprise Cloud พร้อมนำเสนอทางเลือกที่มากกว่าเดิมเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเห็นผล” ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมหรือผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ ดังนี้

Twitter
LinkedIn
Facebook

###

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ,  เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559) 10,034.3 พันล้านเยน (88.7 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 335,000 คน และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ เน้นด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-released-enterprise-cloud/

[PR] แนวทางประยุกต์ใช้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ Agile และ DevOps ร่วมกับ HCP เพื่อแข่งขันในยุคดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น

“การ์ทเนอร์, ไอดีซี และฟอร์เรสเตอร์ คาดการณ์ว่าการแปรรูปการทำงานองค์กรให้เป็นดิจิทัล หรือ Digital Transformation จะเป็นสิ่งที่บรรดา CEO ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปี 2016 เพราะต้องปรับตัวให้แข่งขันกับผู้ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ( Digital Disruptor ) อย่าง Amazon, Ali Baba, FinTech, Airbnb เป็นต้น และเพื่อให้สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งเหล่านี้ องค์กรจำเป็นต้องมีกระบวนการในการพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล่องตัวสูง ด้วยความคาดหวังกับฝ่ายสารสนเทศ หรือ CIO ที่สามารถทำสิ่งนี้ให้บรรลุผลด้วยการแปรรูปวัฒนธรรมไอที ซึ่งสอดคล้องอย่างที่คาดการณ์ไว้ว่าแนวโน้มในปี 2016 เราจะได้เห็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและการวิเคราะห์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

hitachi-data-system-agile-devops-hcp-article

จากการที่ได้พบปะกับลูกค้าในช่วงปี 2016 ทำให้พบว่า CIO หลาย ๆ แห่งกำลังวางแผนที่จะนำเอาหลักการในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แบบ Agile หรือ DevOps ( Development Operation ) เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็ว โดย Agile คือวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานจากส่วนต่าง ๆ ขององค์กรและผู้พัฒนาในการกำหนดความต้องการเพื่อสร้างแนวทางสำหรับการพัฒนาผ่านกระบวนการทำงานแบบซ้ำ ๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายขององค์กรสามารถได้เห็นความคืบหน้าที่ชัดเจน และสามารถได้เปลี่ยนข้อกำหนดความต้องการในการใช้งานได้บ่อย ๆ อย่างที่ต้องการ ทำให้มีความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจได้รวดเร็ว ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดแบบ “Waterfall” ซึ่งเป็นหลักการดั้งเดิม โดยมาจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีขั้นตอนการทำงานตามลำดับ เริ่มจากการกำหนดความต้องการส่งต่อลงไปยังขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การใช้งานระดับ Production และการดูแลรักษา แนวคิดนี้ขาดความยืดหยุ่นอย่างมาก เพราะเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะทำให้การทำงานมีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทุกกระบวนการทำงานต้องเป็นไปตามลำดับเคลื่อนลงล่างตามหลักการของน้ำตก นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 กระแสการทำงานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ Agile เช่น Scrum จึงได้รับการพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีสมาคมและมหาวิทยาลัยจำนวนมากได้ส่งเสริม ให้การรับรองหรือมอบปริญญาบัตรให้กับศาสตร์แขนงนี้ด้วย

DevOps ต่อยอดมาจาก Agile ซึ่งรวมแนวทางการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติการ ( ไอที ), การประกันคุณภาพ และวิศวกรด้านการพัฒนาทำงานร่วมกัน ผ่านการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และนำเสนอซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น DevOps นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในด้านบุคคลากรและกระบวนการทำงานโดยเฉพาะ จะเห็นได้ว่าในการดำเนินงานทั่วไปนั้น หน่วยปฏิบัติการ ( ไอที ) ต้องการเสถียรภาพและความสามารถในการทำซ้ำได้ ขณะที่นักพัฒนาจะมองหาการเปลี่ยนแปลง และนักทดสอบจะมองหาแนวทางที่สามารถลดความเสี่ยงได้ ในแนวคิด Waterfall นั้นนักพัฒนาจะส่งโค้ดโปรแกรมไปให้นักทดสอบ จากนั้นนักทดสอบจะร้องขอทรัพยากรจากฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งไม่ได้มีการจัดเตรียมไว้สำหรับคำขอที่ “ไม่ได้มีการวางแผน” เหล่านี้ DevOps จึงเป็นการรวมกันของเทคโนโลยีที่เหมาะสม และทัศนคติของกลุ่มคนทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยทำให้การพัฒนาและส่งมอบซอฟแวร์มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ไม่ได้มีเครื่องมือ DevOps เพียงชิ้นเดียวที่เข้ามาช่วย แนวคิดนี้ยังมีห่วงโซ่เครื่องมืออื่น ๆ ที่มาช่วย อาทิเช่น เครื่องมืออย่าง Docker สำหรับการทำคอนเทนเนอร์หรือบริการระดับไมโคร, Jenkins สำหรับการผสานรวมการทำงานแบบต่อเนื่อง และ Hitachi Content Platform ( HCP ) สำหรับการจัดเก็บและการแจกจ่าย รวมถึงจัดเก็บผลการทดสอบและบันทึกข้อมูล logs ต่าง ๆ ด้วย

Hitachi Content Platform หรือ HCP นั้นได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรม Cloud Computing และเป็นหนึ่งในเครื่องมือของ DevOps ที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เองได้ใช้ในการพัฒนาซอฟแวร์ HCP, HCP-Anywhere, HCI, และ HCP-S ของเราที่แล็บในเมือง Waltham สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเราได้นำ DevOps เข้ามาใช้ในทีม HCP เมื่อปี 2012 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานด้านวิศวกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ HCP โดยเฉพาะ ด้วยการระบุจุดขั้นตอนที่ไร้ประสิทธิภาพและสร้างระบบการทำงานที่เป็นอัตโนมัติขึ้นมา เช่น การพัฒนาระบบที่ช่วยให้วิศวกรสามารถติดตั้ง OS ลงในเซิร์ฟเวอร์ของแล็บได้โดยอัตโนมัติ บันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ของทุกคนโดยอัตโนมัติจากเดิมที่ต้องทำด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบควบคุมการทดสอบแบบอัตโนมัติ ซึ่งทีม QA/Automation สามารถนำไปใช้เพื่อดำเนินการทดสอบในรูปแบบอัตโนมัติได้เป็นจำนวนมากเท่าที่ต้องการ ทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มคิวงานทดสอบจากการเรียกใช้เพียงครั้งเดียวได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมาย แต่หลักการพื้นฐานที่มีร่วมกันก็คือ การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการใช้งานภายใน ซึ่งทำให้การทำงานของบรรดาวิศวกรซอฟแวร์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือคุณภาพและความเร็วในการนำเสนอคุณสมบัติที่ดีขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ HCP ของเรา ทำให้เราสามารถทิ้งห่างคู่แข่งได้อย่างมาก

คุณประโยชน์หลักของ HCP สำหรับ DevOps คือความสามารถด้าน High Availability ( HA ) ที่ทำให้ระบบพร้อมใช้งานตลอดเวลา ช่วยป้องกันเครื่องมือปลายทางในการทดสอบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นจากการอัพเกรดซอฟต์แวร์ การซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์/ความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ เป็นต้น รวมทั้งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านความพร้อมใช้งานของเครื่องมือต้นทางด้วยเช่นกัน อาทิเช่น เมื่อใช้ Jenkins สำหรับการผสานการทำงานแบบต่อเนื่องและหากเกิดความล้มเหลวหรือมีการอัพเกรดระบบ เครื่องมือทดสอบปลายทางไม่จำเป็นต้องสังเกตเห็นหรือสนใจ เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้จะเรียกข้อมูลจาก HCP ที่พร้อมทำงานอยู่เสมอ อีกทั้ง HCP มีคุณสมบัติในการเรียกค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในระบบบรรณารักษ์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน โดย Metadata Query Engine ( MQE ) ของ HCP ช่วยดึง artifacts ที่มีอยู่และที่มีชื่ออยู่ใน namespace ออกมาด้วย ตราบใดที่ออบเจ็คต์ถูกทำดัชนีไว้ MQE จะตรวจพบออบเจ็คต์เหล่านั้น และแสดงให้ได้เห็น โดยไม่คำนึงถึงชื่อหรือเส้นทางของออบเจ็กต์นั้น ๆ สำหรับในส่วนปลายทาง หลังจากที่มีการรันการทดสอบอัตโนมัติแล้ว เราจะได้รับประโยชน์จาก HCP เพิ่มเติมอีกจากการจัดเก็บผลการทดสอบและบันทึกข้อมูล logs ต่าง ๆ บน HCP ( ใน namespace แยกต่างหากแทนที่จะเป็น build artifacts )

นอกจากนี้ คุณสมบัติด้านความปลอดภัยและการเข้ารหัสของ HCP ทำให้แน่ใจได้ว่าระบบขององค์กรจะปลอดภัย ซึ่งคุณสมบัตินี้จะไม่มีในเครื่องมือ DevOps ทั้งนี้ การใช้ HCP ใน DevOps จะสามารถทำให้การบริหารจัดการด้านการใช้พื้นที่เป็นรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้ประโยชน์จากการเก็บรักษาและการจัดการ “ข้อมูลที่หมดอายุ” และลบบันทึก logs หรือ builds เก่า ๆ ออก หรือจัดแบ่งระดับชั้นสำหรับการจัดเก็บระยะยาว ( เช่นใน S10, Amazon, Glacier เป็นต้น ) นอกจากนี้ HCP ยังให้โซลูชั่นสำรองข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยใช้คุณสมบัติการทำสำเนา ( replication ) ซึ่งเรียกใช้สำเนาสำหรับ Disaster Recovery แบบ off-site

หากคุณกำลังริเริ่มการจัดตั้งกระบวนการ DevOps อยู่ และต้องการทราบถึงการใช้ HCP สำหรับระบบ Continuous Integration Build Artifact storage system ทางเราแนะนำให้อ่าน whitepaper ซึ่งเขียนโดยทีม HCP developers ของเราโดยดาวน์โหลดได้ที่ https://www.hds.com/en-us/pdf/white-paper/hcp-as-continuous-integration-build-artifact-storage-system.pdf

ข้อดีของการนำ DevOps มาใช้ในการแปรรูประบบไอทีจะได้รับการจัดทำเป็นเอกสารอ้างอิงด้วยเช่นกัน อาทิ Puppet Labs ซึ่งเป็นบริษัทด้านซอฟต์แวร์การทำระบบไอทีให้เป็นอัตโนมัติ ได้ทำการสำรวจสถานะของ DevOps ทุกปี และในรายงาน 2015 State of DevOps Report ซึ่งสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากกว่า 20,000 คนทั่วโลกได้ข้อมูลสรุปพ้องกันว่า:

“เราพิสูจน์แล้วว่าองค์กรไอทีที่มีประสิทธิภาพสูงได้ปรับใช้โค้ดโปรแกรมบ่อยกว่าบริษัทอื่น ๆ มากถึง 30 เท่า โดยที่มีความล้มเหลวไม่ถึง 50% และนี่เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่าไอทีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างแท้จริงต่อธุรกิจ: บริษัทที่มีประสิทธิภาพด้านไอทีระดับสูงสามารถทำผลกำไร ได้รับส่วนแบ่งตลาด และบรรลุเป้าหมายด้านการผลิตได้มากกว่าเดิมถึงสองเท่า”

ในการทำ Digital Transformation เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ CIO จำเป็นต้องแปรรูประบบไอทีให้เป็นวัฒนธรรมของความร่วมมือภายในองค์กรที่สร้างขึ้นภายใต้หลักการของ Agile และ DevOps ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยี เครื่องมือ ความรู้ต่าง ๆ มีพร้อมแล้ว ความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงบุคลากรและกระบวนการทำงาน ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือความสามารถในการเป็นผู้นำ

 

บทความโดย มร. ฮิวเบิร์ท โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ เอชดีเอส

hitachi-data-system-hubert-yoshida

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-agile-devops-hcp-article/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ผนึกพันธมิตร วิซอาร์ที รุกธุรกิจสื่อและบันเทิงแบบครบวงจร

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด ประกาศความร่วมมือกับบริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด ( Vizrt ) ผู้นำด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิงระดับโลก โดดเด่นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิง เชื่อมั่นเทคโนโลยีการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล คอนเทนต์ ไฟล์ และมีเดีย ( Media Asset Management – MAM ) จากวิซอาร์ที และระบบโครงสร้างสารสนเทศพื้นฐานของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะช่วยผู้ประกอบการปรับแพลตฟอร์มให้มีระบบออกอากาศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

hitachi-data-system-vizrt-media-asset-management-2

ดร.มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด ( HDS ) เปิดเผยว่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ( HDS ) ได้ร่วมกับ วิซอาร์ที ( Vizrt ) ในการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิงร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการอันท้าทายของธุรกิจนี้ในประเทศไทย จากการที่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจสื่อในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก หลังจากที่กสทช.เปิดช่องทีวีดิจิทัลให้เอกชนได้เข้ามาแข่งขันอย่างเสรี ทำให้การนำเสนอคอนเทนต์มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าความรวดเร็วในการนำเสนอและความพร้อมของเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คอนเทนต์ของช่องมีความน่าสนใจ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างไปจากสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งกระบวนการการจัดการคอนเทนต์เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นธุรกิจผลิตสื่อโทรทัศน์ของไทย จึงมีความต้องการนำระบบไอทีมาช่วยสร้างสรรค์สื่อในขั้นตอนการผลิตเพื่อให้สามารถเร่งนำเสนอผลงานออกมาได้รวดเร็ว มีความน่าสนใจ หลากหลาย และมีคุณภาพ

Mr. Michael Namatinia กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค Vizrt Corporate - ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด-2
Mr. Michael Namatinia กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค Vizrt Corporate – ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด-2

ทั้งนี้ HDS และ Vizrt ตระหนักถึงขั้นตอนการผลิตสื่อและการบันเทิง ตั้งแต่การรวบรวมคอนเทนต์ ( Capture Content ) จากอุปกรณ์ต่าง ๆ และจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก การผลิตหลังการถ่ายทำ ( Post Production ) ที่ต้องมีการแก้ไข ตัดต่อ มิกซ์เสียง ใส่แสงสี เลย์เอาท์ กราฟิก เรนเดอร์ ( rendering ) แอนิเมชั่น รวมถึงสเปเชียลเอฟเฟกต์ ต่าง ๆ การถ่ายโอนไฟล์ ( Transcoding ) จาก format หนึ่งไปอีก format เพื่อให้สอดคล้องกับแอปพลิเคชั่นในอุปกรณ์ต่าง ๆ และสุดท้าย การถ่ายทอด เผยแพร่ข้อมูล ( Distribution Delivery ) ด้วยแพลตฟอร์มที่แตกต่าง ระบบต้องมีความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ และส่งมอบไปยังแพลตฟอร์มที่มีความหลากหลายทั้ง codex, ขนาด, ชนิดของไฟล์ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการบริหารจัดการคอนเทนต์ และไฟล์ต่าง ๆ ( Media Asset Management – MAM ) จึงเป็นเรื่องสำคัญและมีความซับซ้อน เพราะขั้นตอนต่าง ๆ เปรียบเหมือนเส้นเลือดเชื่อมต่อทางธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ด้านคุณภาพ แต่ในเรื่องของเวลาเผยแพร่ออกไปสู่กลุ่มผู้ชมให้ทันเวลาอีกด้วย

ดร.มารุต กล่าวต่อว่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีความพร้อมด้านโครงสร้างสารสนเทศพื้นฐาน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจสื่อและบันเทิงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ที่พร้อมทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ Vizrt Viz One และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นจากโซลูชั่น Unified Compute Platform สำหรับระบบงาน Workflow หลัก และโซลูชั่น Hyper-Scale-Out Platform สำหรับระบบงาน Workflow รอง ซึ่งทั้งสองโซลูชั่นนี้จะมี Hitachi Unified Storage และ Hitachi NAS Platform ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Workflow ด้วยเทคโนโลยี Field Programmable Gate Array ( FPGA ) ซึ่งเป็นระบบสถาปัตยกรรมแบบคุณภาพสูง ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลกว่า 1.2 ล้าน IOPs รองรับการขยายพื้นที่ได้ถึง 32PB รวมไปถึงสนันสนุนไฟล์ Media ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ในการตัดต่อ ทำให้มี Throughput การทำงานที่ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการเรนเดอร์ภาพ ลดภาระงานที่คั่งค้าง ส่งผลให้ลดเวลาการถ่ายแปลงไฟล์ในระบบ ตลอดจนใช้ระยะเวลาในการถ่ายโอนไฟล์น้อยลงด้วย เมื่อเทียบกับเวนเดอร์รายอื่น ๆ นอกเหนือจากโซลูชั่นสำหรับงาน Workflow แล้ว HDS ยังมีโซลูชั่น Hitachi Content Platform สำหรับงานจัดเก็บข้อมูลและการค้นหาข้อมูล Media ในระยะยาว ( Archive ) โดยที่ Hitachi Content Platform จะเป็นโซลูชั่น Object Storage ที่เพิ่งได้รับคะแนนอันดับ 1 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์แบ็คอัพแห่งปี 2016 จากทางการ์ทเนอร์ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลแบบระยะยาว โดยไม่ต้องใช้ระบบเทป อีกทั้งมีความสามารถในการบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน ( Multi-tenancy ) ภายใต้ระบบบนแพลตฟอร์มเดียวกัน ส่งผลให้เกิดความสะดวกสบายในภารบริหารจัดการภาพรวมของระบบอีกด้วย

ด้านนางสาวยุพาพักตร์ ตะวันนา กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการภูมิภาค บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด หรือ ( Vizrt ) กล่าวว่า Vizrt ได้มองเห็นโอกาสจากแนวโน้มของธุรกิจสื่อและบันเทิงในประเทศไทย ที่มีความท้าทายใหม่ ๆ ในการผลิตสื่อ ซึ่งเป็นผลมาจากทีวีดิจิทัล ทำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมรายการมากขึ้น ดังนั้นการแข่งขันในเรื่องของคอนเทนต์ จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจสื่อให้ความสำคัญและด้วยความพร้อมและความเชี่ยวชาญของ Vizrt ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก เพื่อตอบโจทย์สำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิงแบบครบวงจร จึงต้องการพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพอย่าง ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่จะช่วยในเรื่องของโครงสร้างระบบมาช่วยสนับสนุนโซลูชั่นการทำงานให้มีความพร้อมที่สุด

นางสาวยุพาพักตร์ ตะวันนา กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการภูมิภาค บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด หรือ ( Vizrt )
นางสาวยุพาพักตร์ ตะวันนา กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการภูมิภาค บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด หรือ ( Vizrt )

Vizrt ได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับสากลสำหรับธุรกิจประเภทสื่อและบันเทิงทั่วโลก อาทิ CNN, NBC ( อีกหนึ่งสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ) BBC ประเทศอังกฤษ, Al Jazeera, Sky News, The Weather Channel ( USA ), Red bull Media Network, NFL Media และอีกหลายสื่อชั้นนำ สำหรับในประเทศไทย อาทิ ช่อง 3, ททบ 5, ช่อง 7, ไทยพีบีเอส, ไทยรัฐทีวี, นิวทีวี ( new tv ), วอยซ์ทีวี, Now26, มติชน และมีเดีย สตูดิโอ เป็นต้น ทำให้สร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจสื่อและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้ว่าเทคโนโลยีของ Vizrt จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจนี้ได้อย่างแน่นอน ซึ่งในประเทศไทยนั้น Vizrt มี 3 โซลูชั่นหลัก ที่ต้องการนำเสนอ ได้แก่

1 ) Advanced Realtime Graphic Visualization สำหรับการถ่ายทำรายการที่ต้องมีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่ผู้ชม และเพิ่มความน่าสนใจได้ด้วยการนำเทคโนโลยี 3D เข้ามาแทรกในรายการ เทคโนโลยีของ Vizrt สามารถแสดงผลกราฟ, ตารางข้อมูล, การจำลองเหตุการณ์ สามารถทำได้ในห้องส่งและดูสมจริง ในขณะที่รายการต้องการลดต้นทุน เพิ่มความตื่นเต้น สร้างความตื่นตาตื่นใจในการผลิตและนำเสนอรายการต่อผู้ชมทางบ้านให้อยู่ติดหน้าจอโทรทัศน์ ช่วยสร้างกระแสเรตติ้ง และช่วยเพิ่มรายได้จากค่าโฆษณาได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่นห้องส่งเสมือนหรือ 3D Virtual Studio เพื่อทำการปรับเปลี่ยนฉากและรายละเอียดของห้องส่งเสมือน เพื่อลดต้นทุนการดูแลห้องได้เป็นอย่างดี

2 ) Media Asset Management ( MAM ) อีกหนึ่งระบบที่ทำหน้าที่เก็บรักษาคอนเทนต์ ที่ช่องและสตูดิโอทำการผลิตขึ้นมาให้ปลอดภัยและทนทาน ให้สามารถนำมาใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน, เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และมีความปลอดภัย เพราะคอนเทนต์ถือเป็นทรัพย์สินหลักของธุรกิจสื่อและบันเทิง วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรเลือกให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันระบบ Viz One สามารถตอบโจทย์ และพัฒนา Product ใหม่ล่าสุด สำหรับการออกอากาศสู่ช่องทาง New Media / OTT ในชื่อเทคโนโลยี Viz Story ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตสื่อที่สมบูรณ์แบบ ( Complete Workflow ) ของทั้งสถานีโทรทัศน์ ที่จะช่วยในการบริหารรายได้เพิ่มอย่างมหาศาลให้กับสถานีฯ จากช่องทางดังกล่าวด้วย

3 ) ระบบ Studio Automation ( Viz Mosart / Viz Opus ) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในห้องสตูดิโอ ( Live and News production ) ให้มีความถูกต้องแม่นยำ และบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของ Modern Studio Workflow ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก

Vizrt มีทีมงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยีที่เป็นผู้เชี่ยวชาญคนไทย จึงสามารถช่วยดูแลและให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมซับพอร์ตของบริษัทมีอยู่ราว 30 ราย เป็นทีม Product Specialists ทั้งทีมชาวไทยและทีมชาวต่างชาติที่ประจำอยู่ในเมืองไทย นอกจากนี้บริษัทยังมีทีมวิจัยและพัฒนาอีก 30 รายคอยสนับสนุนการทำงานอีกด้วย

โซลูชั่นของ Vizrt และ HDS ถือเป็นแนวทางเชิงรุกในกลยุทธ์การบริหารจัดการข้อมูล คอนเทนต์ ไฟล์ และมีเดีย ที่สมบูรณ์แบบ สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของลูกค้าธุรกิจสื่อและบันเทิงให้สามารถแข่งขันทางการตลาดในภูมิภาคและก้าวทันกับเทคโนโลยีสื่อทั่วโลก และตอบสนอง สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ชมในยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ดร. มารุต กล่าวทิ้งท้าย

 

เกี่ยวกับบริษัท วิซอาร์ที

Vizrt ผู้นำซอฟต์แวร์ 3D เรียลไทม์ กราฟิก การจัดการสตูดิโอแบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข่าวกีฬา และการบริหารจัดการทรัพยากรสื่อดิจิทัล ( Media Asset Management ) เพื่อสนับสนุนงานด้านการผลิต ออกอากาศ และจัดเก็บ ( Archive ) ซึ่งรวมถึงโซลูชั่น Interactive และ Virtual แอนิเมชั่น แผนภาพแสดงพยากรณ์อากาศ video editing การcompositing และ playout tools Vizrt มีลูกค้ากว่า 1000 รายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ CNN, NBC, CBS, Fox, BBC, BSkyB, Al Jazeera, NDR, ITN, ZDF, Star TV, Network 18, TV Today, CCTV, NHK และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอีก ปัจจุบัน Vizrt มีสำนักงานกว่า 40 สาขาทั่วโลก

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลผ่านโซลูชั่นการบริหารจัดการ การควบคุมตามกฎข้อบังคับและความปลอดภัย การเคลื่อนย้าย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ, เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลกเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทำให้สามารถมั่นใจในความได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ ทั้งนี้มีเพียงบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อมเสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุดเข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบัติงานที่ได้จากกลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความเชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง ( Internet of Things ) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เหนือกว่าให้กับองค์กรธุรกิจและสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ( ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501 ) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากมายซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม บริษัทมีรายได้รวมในปีงบประมาณ 2558 ( สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ) 10,034.3 พันล้านเยน ( 88.7 พันล้านดอลลาร์ ) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฮิตาชิถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม ( Social Innovation Business ) โดยมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 335,000 ราย และภายใต้ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกัน บริษัท ฮิตาชิ กำลังจัดเตรียมโซลูชั่นให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน/ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม/ตัวแทนจำหน่าย/บริการด้านประปา, การพัฒนาเมือง และการเงิน/หน่วยงานภาครัฐ/การดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com/

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-vizrt-media-asset-management/

[PR] ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จับมือวิซอาร์ที เปิดตัวโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสื่อดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุด

hitachi-data-system-vizrt-mam

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด ( ที่2 จากซ้าย ) ร่วมกับ มร. ไมเคิล นามาติเนีย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค บริษัท บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด ( ขวาสุด ), นางสาวยุพาพักตร์ ตะวันนา กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการภูมิภาค บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด ( ที่ 2 จากขวา ) และมร. เวการ์ด เอลเกเซ็ม ผู้จัดการผลิตภัณฑ์สตูดิโอ ออโตเมชั่น ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท วิซอาร์ที ( ประเทศไทย ) จำกัด ( ซ้ายสุด ) แถลงความร่วมมือกันในโซลูชั่น Media Asset Management ( MAM ) เทคโนโลยีที่ทำหน้าที่จัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล คอนเทนต์ ไฟล์ มีเดีย ให้ผู้ผลิตสื่อและบันเทิง สามารถเก็บรักษาคอนเทนต์ให้ปลอดภัยและทนทาน เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันเวลาในการแข่งขันทางการตลาด สามารถนำมาใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน และมีความปลอดภัย นับเป็นสุดยอดโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิงที่ทันสมัยที่สุดแห่งยุค

from:https://www.techtalkthai.com/hitachi-data-system-vizrt-mam/