คลังเก็บป้ายกำกับ: Chromium

Opera เปิดตัว Opera One เว็บเบราว์เซอร์เวอร์ชันใหม่ เขียนระบบ UI ใหม่ลื่นไหลกว่าเดิม

Opera เปิดตัว Opera One เว็บเบราว์เซอร์ดีไซน์ใหม่ ที่จะมาแทน Opera เวอร์ชันปัจจุบันภายในปีนี้

หน้าตาของ Opera One ยังคล้ายของเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ Opera เขียน multithreaded compositor ของตัว UI ใหม่ ทำให้แอนิเมชันของปุ่มต่างๆ ลื่นไหลมากขึ้น

Opera อธิบายว่าเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium ใช้เทคนิคการแยกเธร็ดหลัก (main thread) สำหรับการอ่านไฟล์ HTML และอินพุตจากผู้ใช้เพื่อนำมาเรนเดอร์ชิ้นส่วน กับเธร็ด compositor ที่นำชิ้นส่วนมาประกอบกันบนหน้าจอ การแยกเธร็ดแบบนี้ทำให้แอนิเมชันดูลื่นไหล เพราะ compositor ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอจังหวะหยุดทำงานของเธร็ดหลัก

อย่างไรก็ตาม เทคนิค multithreaded compositor ของ Chromium จำกัดเฉพาะส่วนเว็บเพจเท่านั้น ส่วนกรอบของเบราว์เซอร์ที่อยู่นอกเว็บเพจไม่ได้เรนเดอร์แบบนี้ด้วย แอนิเมชันของ UI จึงไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร สิ่งที่ Opera ทำคือขยาย multithreaded compositor มายัง UI ด้วย ทำให้แอนิเมชันสวยงาม แสดงชิ้นส่วนต่างๆ เป็นเลเยอร์ซ้อนกันได้ จัดกลุ่มแท็บเป็นหมวดหมู่ ย่อขยายแท็บได้ง่ายขึ้น

Opera One เปิดให้ดาวน์โหลดมาทดลองแล้ว แต่นี่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ในอนาคต Opera จะเพิ่มฟีเจอร์อื่นเข้ามาอีก เช่น ฟีเจอร์ AI Prompts ที่เปิดให้คุยกับ ChatGPT และ ChatSonic ผ่านแถบ sidebar ด้านข้าง

No Description

ที่มา – Opera

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133588

Chromium รองรับไลบรารีภาษา Rust แล้ว

โปรเจ็ค Chromium ได้เปิดรองรับการใช้ไลบรารีภาษา Rust จาก Third-party แล้ว ซึ่งนำมาทั้งแนวทางด้านความมั่นคงปลอดภัย และความรวดเร็วในการพัฒนา

Rust เริ่มต้นขึ้นในปี 2006 โดย Graydon Hoare หนึ่งในทีมงานของ Mozilla เพื่อการพัฒนาบราวน์เซอน์ Servo แต่ในปี 2021 ทีมงาน Servo เหล่านี้ได้แยกย้ายไป สิ่งที่หลงเหลือไว้กลายเป็น Rust Foundation ที่ตั้งโดย Mozilla, Microsoft, Google, AWS และ Huawei ในเชิงเทคนิคแล้วประเด็นชูโรงของภาษา Rust ก็คือการช่วยจัดการเรื่องหน่วยความจำให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นต้นตอปัญหาเกี่ยวกับหน่วยความจำที่เกิดขึ้นนับไม่ถ้วนเช่น Use after free, Buffer Overflow, Memory Corruption และอื่นๆ เมื่อมีการตั้งต้นด้วยภาษาที่ดี ก็ลดทั้งขั้นตอนการตรวจสอบและโอกาสเกิดความผิดพลาด ทำให้โปรเจ็คงานพัฒนาได้รวดเร็วมากขึ้น

อย่างไรก็ดีเมื่อ Chromium เปิดรับเรื่องดังกล่าวนี้หมายความว่านักพัฒนาและผู้ที่อาศัย Chromium เป็นฐานก็ได้รับผลดีไปด้วยอย่าง Edge, Opera และอื่นๆ แต่ทั้งนี้ยังเป็นเพียงการที่การรองรับไลบรารีจาก Third-party เพียงเท่านั้นที่ต่างคนต่างพัฒนา ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงใจกลางของ Chromium เสียทีเดียว ปัจจุบัน Google ก็กำลังหาทางเพิ่มการทำงานระหว่าง C++ และ Rust ให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นในโปรเจ็ค https://github.com/google/crubit

ที่มา : https://www.malwarebytes.com/blog/news/2023/01/google-to-support-the-use-of-rust-in-chromium

from:https://www.techtalkthai.com/chromium-supports-rust-3rd-party-lib/

Microsoft Edge 102.0.1245.41 ล่าสุด แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยและการพิมพ์ PDF

Microsoft Edge เวอร์ชันใหม่ 102.0.1245.41 เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยและส่งผลต่อเบราว์เซอร์ที่ใช้ Chromium ทั้งหมด จะได้รับการดาวน์โหลดและอัปเดตโดยอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบได้จาก edge://settings/help หรือ Menu > Help > About Microsoft Edge จากบนหน้าเบราว์เซอร์ Edge

Credit : betanews.com/
วันศุกร์ที่ผ่านมา Google ได้เปิดตัวอัปเดตความปลอดภัยจำนวน 7 รายการ สำหรับเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ซึ่งได้กล่าวถึงการอัปเดตความปลอดภัยที่ใช้ Chromium ทั้ง 4 ช่องโหว่ ที่มีความรุนแรงปัญหาด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับสูงรองจาก Google
 
4 ช่องโหว่ที่ได้รับการแก้ไขใน Microsoft Edge 102.0.1245.41 รุ่นล่าสุดแล้ว ดังนี้
 
  • Chromium: CVE-2022-2007 เป็นช่องโหว่ Use-after-free in WebGPU
  • Chromium: CVE-2022-2008 เป็นช่องโหว่ Out-of-bounds memory access in WebGL
  • Chromium: CVE-2022-2010 เป็นช่องโหว่ Out-of-bounds Read in compositing
  • Chromium: CVE-2022-2011 เป็นช่องโหว่ Use-after-free in ANGLE
 
นอกจากการแก้ไข้ปัญหาจากช่องโหว่ด้านความปลอดภัย Edge เวอร์ชัน 102.0.1245.41 อาจจะเข้ามาแก้ไขปัญหาการพิมพ์ PDF ที่ผู้ใช้งานกำลังเจออยู่ใน Edge 102 ได้ด้วย ซึ่งเหตุการณ์การปรับลดลงไปใช้งานในเวอร์ชันที่ต่ำกว่าอย่าง Edge 101 จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป 
 

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-edge-102-0-1245-41-fixes-security-and-pdf-printing-issues/

ระบบปฏิบัติการ Fuchsia รัน Chromium ได้แล้ว

ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลมีพัฒนาการสำคัญคือ สามารถรัน Chromium ตัวเต็มได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ Simple Browser แบบง่ายๆ เท่านั้น

กูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome มารันบน Fuchsia ได้สักพักใหญ่ๆ และตอนนี้เริ่มออกผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว แม้ยังมีบั๊กอยู่บ้างก็ตาม

ที่ผ่านมา กูเกิลนำ Fuchsia มาใช้งานในหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub แต่ครอบด้วย UI อีกชั้นทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง การที่ Fuchsia เริ่มทำงานทั่วๆ ไปอย่างเบราว์เซอร์ได้ จึงเป็นการขยายขอบเขตของ Fuchsia ให้ไปไกลกว่าระบบปฏิบัติการเฉพาะอุปกรณ์

ที่มา – Reddit, 9to5google

from:https://www.blognone.com/node/127502

Microsoft Edge ลองทำโหมดปลอดภัยสุดๆ ปิดการทำงาน JIT เพื่อลดช่องโหว่

ไมโครซอฟท์เขียนบล็อกอธิบายการทดลองสร้าง “โหมดปลอดภัยสุดๆ” (Super Duper Secure Mode) ของ Microsoft Edge โดยใช้แนวคิดสุดขั้วคือปิดการทำงานของ JIT (Just-In-Time Compilation) ในเอนจิน V8 ของ Chromium ไปเลย เพื่อลดพื้นที่ในการถูกโจมตี (attack surface)

แนวคิดของไมโครซอฟท์คือ JIT ของ Chromium ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) เกิดบั๊กจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และหากดูสถิติช่องโหว่ความปลอดภัย (CVE) ของเอนจิน V8 หลังปี 2019 เป็นต้นมา มีช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับ JIT คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 45% ของช่องโหว่ V8 ทั้งหมด

No Description

การปิด JIT ไปเลยจึงเป็นวิธีแก้ไขง่ายๆ ที่ทำให้เบราว์เซอร์ปลอดภัยขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การปิด JIT ย่อมมีผลกระทบในมุมกลับที่ทำให้การประมวลผลจาวาสคริปต์ช้าลง

แต่การทดสอบของทีม Edge พบว่ามันไม่ได้ช้าขนาดนั้น ถ้านำเบราว์เซอร์ที่ปิด JIT ไปรันเบนช์มาร์คอย่าง Speeometer 2.0 จะได้ผลช้าลงถึง 58% แต่ในการท่องเว็บทั่วๆ ไป พบว่าไม่รู้สึกมาก มีบางกรณีที่ได้ผลแย่ลง และบางกรณีมีผลดีขึ้นด้วยซ้ำ ขึ้นกับประเภทการใช้งานเว็บของผู้ใช้แต่ละคน

ทีมงาน Edge บอกว่าจะทดลอง Super Duper Secure Mode ต่อไปอีกหลายเดือน เพื่อดูผลกระทบในมิติต่างๆ แต่ถ้าใครอยากลองเล่นก็สามารถทำได้จาก Edge Canary, Dev, Beta โดยเปิดโหมดนี้ในหน้า edge://flags ด้วย

No Description

No Description

ที่มา – Microsoft

from:https://www.blognone.com/node/124131

Edge ปรับวิธีเรนเดอร์ฟอนต์ให้ใช้ ClearType ของ Windows, ส่งโค้ดเข้า Chromium ด้วย

การเปลี่ยนแปลงเอนจินของ Edge ตัวเก่า (EdgeHTML) มาเป็น Chromium ส่งผลให้การเรนเดอร์ฟอนต์บน Windows เปลี่ยนไป เพราะ Chromium มีระบบเรนเดอร์ฟอนต์ของตัวเองที่เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม แต่ต่างจากแอพบน Windows ตัวอื่นๆ

ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับปรุง Edge ให้สามารถใช้เอนจินเรนเดอร์ฟอนต์ของ Windows ได้แล้ว เบื้องหลังการทำงานจะใช้ DirectWrite และการเรนเดอร์แบบ ClearType ข้อดีคือเห็นฟอนต์แบบเดียวกันกับแอพอื่นๆ และตั้งค่าระดับความเข้ม (contrast) ของฟอนต์ใน Settings ทีเดียวแล้วเปลี่ยนทั้งหมด

ไมโครซอฟท์บอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเห็นผลชัดเจนในภาษากลุ่มจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี (CJK) ที่การทำ anti-alias ดีขึ้นมาก ฟีเจอร์นี้เริ่มเข้ามาแล้วใน Edge Canary และตั้งเป้าว่าจะใช้ใน Edge 92 ต่อไป ไมโครซอฟท์ยังบอกว่าจะส่งโค้ดนี้กลับไปยัง Chromium และหวังว่าทาง Chromium จะรับเข้าต้นน้ำ เพื่อให้เบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ได้ประโยชน์ตามไปด้วย

ที่มา – Microsoft Edge Dev

No Description

from:https://www.blognone.com/node/123017

ไมโครซอฟท์ส่งโค้ดเข้า Chromium ไปแล้ว 5,300 ครั้ง, Edge WebView 2 ออกรุ่นเสถียร

ไมโครซอฟท์ประกาศออก Edge WebView2 เวอร์ชันเสถียรสำหรับ .NET/WinUI หลังออกรุ่นเสถียรสำหรับ Win32 ไปก่อนแล้ว

WebView2 เป็นการนำเอนจินแสดงผลของ Edge (ที่ข้างในเป็น Chromium อีกที) มาฝังในแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อใช้เรนเดอร์หน้าเว็บภายในแอปนั้น สามารถใช้ได้กับแอปหลากหลาย ทั้งแบบเนทีฟ ไฮบริด และเว็บแอป เช่น Win32 C/C++, .NET WPF/WinForms, WinUI 3 (Project Reunion)

ตัวของ WebView2 ถูกแยกขาดจาก Windows สามารถนำรันไทม์ไปรวมกับแอปเพื่อรันงานแบบออฟไลน์ และรันบนระบบปฏิบัติการเก่าย้อนไปถึง Windows 7 ด้วย รายละเอียดดูในเว็บ Edge WebView2

ไมโครซอฟท์ยังเปิดเผยว่าตั้งแต่ย้ายค่ายมา Chromium ก็ไม่ได้มามือเปล่า ส่งคนเข้ามาช่วยพัฒนา Chromium ด้วย ปัจจุบันมีจำนวนการ commit โค้ดเข้าโครงการแล้วถึง 5,300 commit ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ที่ใช้ฐาน Chromium ด้วยเช่นกัน

ที่มา – Microsoft

No Description

from:https://www.blognone.com/node/122856

Vivaldi, Brave ประกาศไม่ใช้วิธีตามรอยแบบ FLoC ที่กูเกิลใช้ใน Chrome

เว็บเบราว์เซอร์ที่ต่อยอดจาก Chromium สองตัวคือ Vivaldi (ทีม Opera เดิม) และ Brave (ทีม Firefox เดิม) พร้อมใจกันประกาศไม่ใช้งานฟีเจอร์ตามรอยผู้ใช้ Federated Learning of Cohorts (FLoC) ของ Chrome ที่กูเกิลเพิ่งเริ่มใช้งาน

FLoC เกิดจากกระแสต่อต้านการตามรอยด้วยคุกกี้ และ AdID/IDFA ในช่วงหลังๆ ทำให้กูเกิลประกาศแนวทางเลิกตามรอยแบบเจาะตัวบุคคล เปลี่ยนมาใช้วิธีตามรอยจากพฤติกรรมผู้ใช้ที่ตัวเบราว์เซอร์แทน (ดูจาก history) แต่กูเกิลชูว่า FLoC มีข้อดีตรงที่ไม่เจาะจงตัวบุคคล ใช้วิธีนิยามผู้ใช้เป็นกลุ่มแทน ผู้โฆษณาสามารถเลือกยิงโฆษณาตาม “กลุ่มผู้ใช้” แทนการเจาะรายคน

แนวทาง FLoC ถูกคัดค้านจากหน่วยงานอย่าง EFF ว่าเป็นวิธีการตามรอยที่แย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะกูเกิลเข้าถึงประวัติการท่องเว็บของผู้ใช้โดยตรง

ล่าสุดทั้ง Vivaldi และ Brave ประกาศว่าปิดการทำงานของ FLoC ในโค้ดของ Chromium ที่กูเกิลใส่เข้ามาแล้ว และจะไม่รองรับ FLoC API ใดๆ ในอนาคต

สำหรับคนที่ใช้ Chrome และต้องการปิดการทำงานของ FLoC ก็ยังมี DuckDuckGo ที่อาสาทำให้ ผ่านส่วนขยาย DuckDuckGo (แต่ส่วนขยายนี้จะเปลี่ยน search engine เป็น DuckDuckGo ให้ด้วยเช่นกัน)

เบราว์เซอร์ยุคใหม่นิยมใช้ Chromium เป็นฐาน และยังมีเบราว์เซอร์อีกมากที่ยังไม่ประกาศท่าทีเรื่อง FLoC เช่น Opera และ Microsoft Edge

No Description

ที่มา – Vivaldi, Brave, DuckDuckGo

from:https://www.blognone.com/node/122176

Microsoft Edge เปลี่ยนมาออกทุก 4 สัปดาห์ ตามรอบของ Chromium

ไมโครซอฟท์ปรับรอบการออกรุ่นของ Microsoft Edge เป็น 4 สัปดาห์ ตามประกาศของ Chrome/Chromium ก่อนหน้านี้

Edge จะยังเดินตามรอยของ Chrome โดยออกรุ่น Extended Stable อัพเดตทุก 8 สัปดาห์ สำหรับลูกค้าองค์กรที่ไม่อยากอัพเดตบ่อยๆ การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Edge เวอร์ชัน 94 เช่นเดียวกับ Chrome

ประกาศของ Edge ทำให้ตอนนี้เบราว์เซอร์ยอดนิยม 3 ตัวคือ Firefox, Chrome, Edge เปลี่ยนมาใช้รอบ 4 สัปดาห์กันหมดแล้ว

ที่มา – Microsoft Edge

from:https://www.blognone.com/node/121661

Chromium เตรียมอัพเดตไม่รองรับซีพียูเก่าที่ไม่รองรับชุดคำสั่ง SSE3

ทีมพัฒนา Chromium เพิ่งอัพเดตนโยบายใหม่ว่าตัวเอนจินจะเลิกรองรับซีพียู x86 เก่า ๆ ที่ไม่ซัพพอร์ทชุดคำสั่ง SSE3 โดยจะเริ่มตั้งแต่ Chrome 89 เป็นต้นไป

เครื่องที่รันด้วยซีพียูเก่า ๆ ที่ไม่ได้ซัพพอร์ท SSE3 จะไม่สามารถลง Chrome ได้หรือหากมีอยู่ในเครื่องแล้วก็จะไม่สามารถรันได้ โดยจะเริ่มได้รับคำเตือนตั้งแต่ Chrome 87 แล้ว

การเปลี่ยนแปลงนี้กระทบเฉพาะผู้ใช้งานซีพียูเก่าบนวินโดวส์เป็นหลัก เพราะ MacOS, Android และ ChromeOS บังคับใช้ SSE3 มาตั้งแต่ต้น

ที่มา – TechRadar

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/121100