คลังเก็บป้ายกำกับ: ARDUINO

กริ่งประตูแมว ทำจาก Raspberry Pi ช่วยให้เราทราบแล้วมาเปิดประตูให้

คุณกำลังเจอปัญหาแมวจะกลับเข้าบ้านแต่คุณไม่รู้ เลยไม่ได้เปิดประตูให้บ่อยๆ หรือไม่ แมวเองก็คงเคาะประตูไม่เป็น จึงเป็นที่มาของนักประดิษฐ์และพัฒนาอย่าง Tennis Smith ที่คิดค้นกริ่งประตูสำหรับแมวที่ใช้เครื่อง Raspberry Pi นี้

เป็นระบบที่ใช้ไมโครโฟนคอยฟังเสียงเหมียว ที่แมวมักจะร้องเรียกความสนใจจากเรา โดยไม่ต้องรอให้แมวกดออดด้วยตัวเอง ตัวเครื่อง Pi ทำหน้าที่แยกเสียงเหมียวออกจากเสียงอื่นๆ ด้วยกลไก AI แล้วส่งข้อความไปยังโทรศัพท์เจ้าของ

กริ่งประตูนี้ทำงานในรูปของอุปกรณ์ IoT ผ่านคลาวด์ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเครื่อง Raspberry Pi จะตีความเสียงเหมียวผ่าน Tensorflow Lite ที่เป็นทูลแมชชีนเลิร์นนิ่งโอเพ่นซอร์สสำหรับเทรนโมเดลแบบปรับแต่งเองแบบนี้ได้

ถ้า Tensorflow ตรวจจับเสียงแมว ก็จะส่งสัญญาณให้ AWS ส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ สำหรับกลไกด้านในนั้น เป็นการฝังตัว Pi เข้ากับประตู พร้อมเชื่อมต่อกับไมโครโฟนผ่านสายเคเบิล CAT5 ที่ใช้อะแดปเตอร์ทั้ง USB และ RJ45 ทั้งหมดอยู่ในกล่องที่เจาะรูด้านล่างให้เสียงลอดเข้า

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Tomshardware

from:https://www.enterpriseitpro.net/raspberry-pi-cat-doorbell-listens-for-meows/

Arduino IDE 2.0 มาแล้ว เพิ่ม autocompletion และ Dark Mode

Arduino IDE 2.0 ออกตัวจริง พัฒนาต่อจาก Arduino Pro IDE ที่ปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 2019 ความเปลี่ยนแปลงหลักคือใช้ Eclipse Theia เป็นฐานทำให้การใช้งานคล้าย VS Code มากขึ้น และเพิ่มฟีเจอร์มาหลายอย่าง

  • autocompletion: แนะนำฟังก์ชั่นและตัวแปรต่างๆ ได้ตามไลบรารีที่ใช้งานอยู่ใน Sketch
  • navigation shortcut: กระโดดไปดูโค้ดส่วนที่ประกาศฟังก์ชั่นหรือตัวแปรได้ทันที
  • dark mode: หน้าจอมืดตามสมัยนิยม
  • serial plotter: สามารถรับค่าจากพอร์ต serial ได้หลายๆ ชุดเพื่อพล็อตกราฟเทียบกัน

สามารถดาวน์โหลดได้แล้วทั้งวินโดวส์, แมค, และลินุกซ์

ที่มา – Arduino

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/130409

ใช้ Raspberry Pi เจนคิวอาร์ โค้ด เพื่อสแกนการปลดล็อกได้โดยง่ายดาย

พูดถึงระบบความปลอดภัยในบ้านแล้ว เรายิ่งต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ จึงเป็นที่มาของกลุ่มนักศึกษาชาวโปแลนด์ได้แก่ Slawomir Sojka, Damian Prochaska, Jakub Ciemala, Nikodem Szlauer, Wojciech Droździk, และ Hubert Wróblewski ร่วมกันทำโปรเจ็กต์ตัวล็อกประตูด้วยโค้ด QR ที่สร้างจาก Raspberry Pi

โปรเจกต์นี้ใช้ชื่อว่า IOT Lock เป็นการสร้างโค้ดสุ่มขึ้นมาให้คนภายนอกใช้ปลดล็อกเปิดประตูเข้ามาได้ในแต่ละครั้ง แทนที่จะบอกรหัสพินหรือรหัสผ่านเดิมตายตัว ซึ่งคิวอาร์โค้ดจะแตกต่างกัน และปิดการใช้งานได้ทุกเวลาที่คุณต้องการ

แต่การจะให้โปรเจกต์นี้ใช้ได้จริง เครื่อง Raspberry Pi ที่เอามาใช้ต้องมีระบบป้องกันที่ดี บันทึก Log เหตุการณ์อย่างละเอียดให้ตรวจสอบความเคลื่อนไหว และมั่นใจได้ว่าเปิดการเข้าถึงประตูได้ตรงตามกำหนดไว้จริงๆ

โดยไอเดียนี้คือการหาวิธีที่เอามาแทนตัวล็อกที่ใช้กุญแจเดิมด้วยระบบดิจิตอลที่เข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน ผู้ใช้สามารถเจนคิวอาร์เพื่อปลดล็อกประตูผ่านแอพบนเว็บหรือมือถือ จากนั้นส่งโค้ดคิวอาร์นี้ไปให้ใครก็ตามที่เราอยากเปิดการเข้าถึง พร้อมทั้งมีตัวสแกนคิวอาร์ที่ไว้สั่งปลดล็อกพร้อมบันทึก Log ในฐานข้อมูล

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Tom’s Hardware

from:https://www.enterpriseitpro.net/raspberry-pi-generates-qr-codes-to-unlock-gates-and-doors/

คลิป VDO – การสร้างบอร์ดทดลอง SDR อย่างง่ายสำหรับจับคลื่นสั้น

วิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณวิทยุที่ดีที่สุดก็คือ การสร้างขึ้นมาเอง โดยเฉพาะในยุคที่อุปกรณ์อย่างตัว SDR ถูกขนาดนี้ จึงมียูทูปเบอร์ชื่อ Aniss Oulhaci ออกมาสาธิตการทำบอร์ดทดลอง (Breadboard) ที่เอาไว้รับสัญญาณวิทยุ HF ผ่าน SDR (Software Defined Radio) ได้

ตัวรับนี้จำลองมาจากตัวตรวจจับ Tayloe มีวงจรพรีแอมป์ RF ที่ขยายสัญญาณที่รับมาจากเสาอากาศคลื่นสั้นอีกทีหนึ่ง จากนั้นจึงส่งต่อไปที่สวิตช์อนาล็อก 74HC4066D ที่ทำตัวเป็นสวิตชิ่งมิกเซอร์คอยผสมคลื่นเข้าสัญญาณ I และ Q จากตัว Local Oscillator

คู่สัญญาณ I และ Q ที่ใช้ผสมคลื่นวิทยุขาเข้านี้มาจากตัวสร้างสัญญาณนาฬิกา SI5351 และ 74HC74D Flip-Flop แล้วจึงส่งผ่านตัวกรองสัญญาณก่อนไปขยายด้วยแอมป์ LM358 OP อีกทีหนึ่ง ถึงจะจ่ายเข้าสเตอริโอซาวน์การ์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

มีการใช้ Arduino ในการควบคุมตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกา ที่มีการใช้โปรแกรมควบคุมตัวเดียวกับที่ใช้กับ SDR Shield ดังนั้น เมื่อมีการป้อนสัญญาณเสียเข้า HDSDR ก็จะสามารถตรวจจับตัวกระจายสัญญาณวิทยุความยาวคลื่นสั้นได้ แม้จะตัวรับนี้จะไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงเท่าในท้องตลาด แต่ก็ถือเป็นโปรเจ็กต์ทดลองที่น่าสนใจและเอาไปสานต่อได้ง่าย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Hackaday

from:https://www.enterpriseitpro.net/simple-breadboard-sdr-for-shortwave/

Raspberry Pi ถูกนำมาใช้เป็นระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งในหัวกะโหลกหุ่น Terminator รุ่น T-800

มีโปรเจกต์ที่ใช้ Raspberry Pi ที่สร้างขึ้นโดย Michael Darby จาก 314Reactor ที่เป็นการนำโลกนิยายทางวิทยาศาสตร์ของหนัง Terminator ให้มีชีวิตเหมือนจริง ด้วยการใช้ Raspberry Pi 4 และอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมบางส่วน

จนออกมาเป็นหุ่นตัวร้ายที่ชื่อ T-800 Terminator ที่ชวนสยองขวัญในหนัง แต่ตัวกะโหลกที่สร้างขึ้นจริงนี้ยังปลอดภัยอยู่…ในปัจจุบัน โปรเจ็กต์นี้ถูกพัฒนาขึ้นจากการเลียนแบบพร็อพในหนังให้มีขนาดใหญ่พอจะบรรจุ Pi ขนาดเต็มได้

Darby ยังใส่ลำโพงสำหรับส่งเสียง และโมดูลกล้องในส่วนของตาด้วย มีการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) เพื่อสังเคราะห์เสียงพูดและจดจำวัตถุต่างๆ ที่ตรวจจับผ่านโมดูลกล้อง Darby เองมีชื่อเสียงมากในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กในบล็อกตัวเองที่ชื่อ 314Reactor

ซึ่งเขามักจะแชร์โปรเจกต์ต่างๆ ผ่านช่องยูทูป ผลงานที่ผ่านมาที่น่าสนใจได้แก่ โปรเจ็กต์ Arc Reactor ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนัง Iron Man ออกมาเป็นอุปกรณ์แบบสวมใส่ได้ (ที่ใช้ Arduino แทน Raspberry Pi) รวมทั้งตัว Artificial Life LED เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Tom’s Hardware

from:https://www.enterpriseitpro.net/raspberry-pi-terminator-t-800-skull/

Raspberry Pi Backpack เป้ในฝันของชาวแฮ็กเกอร์ระหว่างเดินทาง

Raspberry Pi เป็นทางเลือกในการประหยัดเนื้อที่ในการใช้งานดิจิทัลในชีวิตประจำวันได้ดีมาก แต่ล่าสุดมีการปรับแต่งออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานระหว่างเดินทางด้วย เป็นโปรเจ็กต์ของ Davide Marchetti จาก Bag Builds

โดยเขาได้แพ๊กเครื่อง Raspberry Pi พร้อมกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ มาอยู่ในรูกชุดอุปกรณ์แบบพกพาภายในกระเป๋าสะพายหลัง โดยโฆษณาว่าสำหรับ “กิจกรรมแฮ็กเกอร์ต่างๆ แบบเอาต์ดอร์” เครื่องมือที่อยู่ภายในเซ็ตนี้มีหลากหลายมาก

ไล่ตั้งแต่ระบบเสียงไปจนถึงเสาอากาศ HackRF ใช้ได้ทั้งการใช้งานแบบสนุกๆ ไปจนถึงใช้ทำงานแบบจริงจัง ซึ่งการทำให้ยืดหยุ่นขนาดนี้ภายในตัวกระเป๋าสะพายใบเดียวเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และนี่ไม่ใช่แค่การเอาทุกอย่างมาสุมลงในกระเป๋าเฉยๆ

แต่ตัวกระเป๋าเองมาพร้อมกับกรอบที่ออกแบบมาสำหรับยึดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอย่างจำเพาะและลงตัว ช่วยทั้งกันกระแทกระหว่างเคลื่อนย้าย และสามารถเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่ายและสะดวกเมื่อต้องการ ทั้งนี้ Marchetti ได้แชร์ลิสต์ขององค์ประกอบภายในต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจเผื่อเอาไปใช้สร้างกระเป๋าแบบนี้ของตัวเองบ้าง

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Tom’s Hadware

from:https://www.enterpriseitpro.net/raspberry-pi-backpack-hacker/

Arduino ระดมทุน 32 ล้านดอลลาร์จาก Bosch, Renesas, Arm เตรียมมุ่งตลาด Enterprise

บริษัท Arduino เจ้าของบอร์ดขนาดเล็กที่นิยมอย่างมาก ประกาศระดมทุนรอบซีรีส์ B จำนวน 32 ดอลลาร์ (แต่ไม่มีเปิดเผยมูลค่าของบริษัท) จาก Robert Bosch Venture Capital (RBVC) ในเครือ Bosch, Renesas, Anzu Partners, Arm

Arduino บอกว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปทำธุรกิจสำหรับลูกค้าฝั่งองค์กร โดยให้เหตุผลว่าวิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่เติบโตมากับบอร์ด Arduino เริ่มเข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆ และต้องการนำโซลูชัน Arduino ที่คุ้นเคยไปใช้ทำงานด้วย

การที่ Arduino ได้รับเงินลงทุนจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้ง Bosch, Renesas, Arm ก็ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจว่า Arduino จริงจังกับการขยายธุรกิจไปภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่บริษัทก็ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง

No Description

โครงการ Arduino เกิดขึ้นจากกลุ่มอาจารย์ของสถาบันออกแบบ Interaction Design Institute Ivrea ในอิตาลี ซึ่งภายหลังกลุ่มผู้ก่อตั้ง 5 คนได้จดทะเบียนบริษัท Arduino LLC แต่โมเดลธุรกิจช่วงแรกที่ไม่ได้ผลิตเอง ใช้วิธีให้สิทธิกับผู้ผลิตภายนอก และความขัดแย้งในหมู่ผู้ก่อตั้งด้วยกันเอง ทำให้เกิดความสับสนเรื่องความเป็นเจ้าของชื่อ Arduino จนกระทั่งมายุติปัญหาและรวมบริษัทกันในปี 2016

ที่มา – Arduino

from:https://www.blognone.com/node/128941

Arduino รองรับชิป RP2040 บนบอร์ด Raspberry Pi Pico

โครงการ Arduino ปล่อยเฟิร์มแวร์ Arduino Core for mbed รุ่น 2.0.0 รองรับชิป RP2040 ของโครงการ Raspberry Pi ที่มีผู้ผลิตบอร์ดหลายรุ่นนำไปใช้งาน เช่น Raspberry Pi Pico และ Arduino Nano RP2040 Connect

Arduino Core for mbed เป็นเฟิร์มแวร์สำหรับใช้งานกับไมโครคอนโทรล์เลอร์ตระกูล Cortex-M ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ mbed-os ของ Arm เป็นแกนกลาง โดยก่อนหน้านี้ Arduino ก็ใช้ mbed-os เป็นแกนกลางบนบอร์ด Arduino Nano 33 BLE มาก่อนแล้ว

การรองรับชิป RP2040 เช่นนี้ทำให้เราสามารถพอร์ต sketch ที่เคยพัฒนาบนบอร์ดอื่นๆ ไปรันบนบอร์ดชุดใหม่ๆ ที่ใช้ชิป RP2040 ได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถเขียนซอฟต์แวร์บน mbed-os โดยตรงแต่ใช้ API ของ Arduino ก็ได้

ที่มา – Arduino Core mbed

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/122118

ชุดอุปกรณ์ “Arduino Oplà” เปิดประสบการณ์ใช้งานด้าน IoT ภายในมือคุณ

Arduino เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในชื่อ Arduino Oplà Kit ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์ม IoT แบบเปิดครั้งแรกที่สามารถแก้ไขเขียนโปรแกรมจัดการได้ ทำให้สามารถเพิ่มการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั่วทั้งบ้าน หรือสถานที่ปฏิบัติงานได้อย่างอัจฉริยะ

รวมทั้งสามารถใช้สร้างอุปกรณ์ IoT แบบปรับแต่งเองได้ด้วย ซึ่งตัว Arduino Oplà IoT Kit นี้มาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับสร้างแอพพลิเคชั่นแบบเชื่อมต่อได้ถึง 8 แอพ ให้เข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์

รวมไปถึงมีแนะนำวิธีการประกอบอุปกรณ์ และสิทธิ์การเป็นสมาชิก Arduino Create Maker Plan ถึง 12 เดือน เรียกได้ว่าชุดผลิตภัณฑ์นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นที่มีประสบการณ์ในการสร้างอุปกรณ์พื้นฐานหรือ DIY ด้วยตัวเอง

แม้แต่ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ขั้นสูงกว่าก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากชุดผลิตภัณฑ์นี้ในการปรับแต่ง หรือแฮ็กระบบสมาร์ทดีไวซ์และสมาร์ทแอพพลิเคชั่นของตัวเอง โดยสามารถควบคุมข้อมูลและกระบวนการทำงานได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ชุด Arduino Oplà IoT Kit มาพร้อมกับโปรเจ็กต์สำเร็จรูปถึง 8 รูปแบบ ที่พร้อมให้เชื่อมต่อกับบ้านหรือที่ทำงานได้ทันที่ โดยเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีอยู่ให้กลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่ควบคุมได้จากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน

ตัวอย่างโปรเจ็กต์เหล่านี้ได้แก่ ระบบควบคุมแสงส่องสว่างจากระยะไกล ทั้งสี โหลดการส่องแสง และการเปิดปิดไฟ, ระบบตรวจสอบสภาพอากาศ ที่บันทึกและตรวจติดตามสภาวะอากาศในพื้นที่ที่กำหนด, ระบบแจ้งเตือนด้านยาสปลอดภัยภายในบ้าน

ที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวและส่งการแจ้งเตือนออกมา, ระบบตรวจจับตำแหน่งในระบบสุริยะ ที่ใช้รวบรวมข้อมูลทั้งจากดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ, ระบบควบคุมสต็อค ที่ใช้ตรวจติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าเข้าออกได้ เป็นต้น

ที่มา : Auduino

from:https://www.enterpriseitpro.net/arduino-opla-kit/

Arduino เปิดตัว Oplà IoT Kit ชุดเรียนรู้การพัฒนา IoT ราคา 114 ดอลลาร์

Arduino เปิดตัวชุดพัฒนาใหม่ในชื่อ Oplà IoT Kit โดยมีบอร์ดเสริม MKR IoT Carrier เพื่อให้ติดต่อกับผู้ใช้ได้คล้ายตัวควบคุมความร้อนในบ้านอย่าง Nest แต่เชื่อมต่อกับ Arduino IoT Cloud แทน

บอร์ด MKR IoT Carrier ประกอบไปด้วย ปุ่มแบบสัมผัส 5 จุด, หน้าจอ OLED วงกลม, เซ็นเซอร์แสง/อุณหภูมิ/ความชื้น/ความดันอากาศ, relay แบบ 24V ควบคุมอุปกรณ์ภายนอก, ช่องเสียบ SD, พอร์ตต่อเซ็นเซอร์ภายนอก, เซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหว, ช่องใส่แบตเตอรี่แบบ Li-Ion, ไฟ RGB อีก 5 ดวง โดยในชุด Oplà IoT Kit จะมีเคสใสมาให้ด้วย

ตัวบอร์ดในชุดเป็น Arduino MKR WiFi 1010 และมีเซ็นเซอร์ความชื้นสำหรับปักดิน และเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวมาให้ต่อเพิ่มได้ มีเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นบทเรียน 2 ชุดสำหรับเรียนรู้ IoT และโครงการสำเร็จรูปอีก 8 โครงการ

ราคา 114 ดอลลาร์ไม่รวมภาษี ในชุดแถม Arduino Create Maker Plan ให้ฟรีอีก 1 ปี แต่บังคับใส่เลขบัตรเครดิตและจะถูกคิดเงินอัตโนมัติเดือนละ 5.99 ดอลลาร์หลังครบกำหนด

ที่มา – Arduino Blog

No Description

from:https://www.blognone.com/node/119238