คลังเก็บป้ายกำกับ: WEB-SCALE_IT

NetApp เตรียมเข้าซื้อกิจการ SolidFire เสริมไลน์ด้วย Web-Scale All-Flash Storage

netapp_solidfire_banner

หลังจากที่มีข่าวลือมานานมาก ในที่สุด NetApp ก็ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของ SolidFire ด้วยมูลค่า 870 ล้านเหรียญเป็นเงินสดทั้งหมด เพื่อเติมเต็มตลาดของ All-Flash Array ทั้ง 3 Segment ที่ใหญ่ที่สุดได้อย่างครบถ้วน โดยตอบโจทย์กลุ่ม Enterprise ด้วย NetApp All Flash FAS (AFF), ตอบโจทย์ผู้พัฒนา Application ด้วย NetApp EF Series, และตอบโจทย์กลุ่ม Next-Generation Infrastructure ด้วย SolidFire นั่นเอง

SolidFire นี้ก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2010 และมุ่งเน้นการพัฒนา All-Flash Array สำหรับตอบโจทย์ Webscale ได้ด้วยการเพิ่มขยายที่รวดเร็ว, การติดตั้งและบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย, มีประสิทธิภาพสูง, รองรับการทำงานแบบ Multi-tenancy ได้ และรองรับการใช้งานภายใน Cloud ได้อย่างคุ้มค่าด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกับ OpenStack, VMware และ Cloud อื่นๆ ได้

สุดท้ายนี้ SolidFire ก็จะถูกผนวกเข้าไปกับกลยุทธ์ Data Fabric ของ NetApp เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลทั้งหมดที่ถูกจัดเก็บอยู่บน Flash, Disk และ Cloud เป็นไปได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน โดยการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วยไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2016

ส่วนผู้ที่สนใจสามารถลองเข้าไปศึกษาเทคโนโลยีของ SolidFire ได้ที่ http://www.solidfire.com/ เลยนะครับ

ที่มา: http://www.netapp.com/us/company/news/press-releases/news-rel-20151221-667990.aspx

from:https://www.techtalkthai.com/netapp-to-acquire-solidfire-webscale-all-flash-storage/

Gartner เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับปี 2016

เป็นแนวโน้มที่ Gartner ได้ออกมาประกาศทุกปี และทางทีมงาน TechTalkThai ก็เห็นว่ามีความน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน จึงขอหยิบยกมาสรุปให้ได้อ่านกันที่นี้ โดยในปีนี้ Gartner จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจค่อยๆ ตอบโจทย์ของ Digital Business ได้สำเร็จภายในปี 2020 ได้เป็นหลัก และถือเป็นอีกการทำนายแนวโน้มที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างหลากหลาย ดังต่อไปนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. The Device Mesh

เป็นแนวโน้มที่ต่อยอดไปอีกจาก Internet of Things โดยประเด็นแรกคือการที่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device, Wearable, เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน, อุปกรณ์บนรถยนต์ และอุปกรณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ Sensors ในระบบ Internet of Things นั่นเอง

นอกจากนี้ระบบ Back-end สำหรับ Internet of Things ที่ปัจจุบันยังมีการแยกขาดจากกันสำหรับแต่ละผู้ผลิตนั้น ทาง Gartner ก็ได้ทำนายไว้ว่า Device Mesh จะทำให้ระบบ Internet of Things ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อีกด้วย

 

2. Ambient User Experience

Device Mesh จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Ambient User Experience โดยการนำเสนอ User Experience นั้นจะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ตอนที่ผู้ใช้งานกำลัง Interact กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเป็นรายๆ อีกต่อไป แต่ผู้ผลิตจะต้องมุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ในการที่ผู้ใช้งานจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยประกอบขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things ที่หลากหลายให้กลายเป็นประสบการณ์เพียงหนึ่งเดียว โดยประเด็นนี้จะเป็นตัวสร้างความแตกต่างหลักๆ สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แต่ละราย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร ซึ่งการออกแบบ Mobile Application ก็จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับองค์กร และอาจมีบางส่วนที่ Augmented Reality หรือ Virtual Reality มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

3. วัตถุดิบสำหรับ 3D Printing

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3D Printing นั้นได้ก้าวไปถึงการพัฒนาวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่หลากหลายขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่ทำจาก Advanced Nickel Alloy, Carbon Fiber, แก้ว, Conductive Ink, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ยา หรือแม้แต่วัตถุทางชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ก็จะทำให้สามารถสร้างความต้องการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และเติมเต็มความต้องการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทั้งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ, เภสัชศาสตร์, รถยนตร์และยานพาหนะ, พลังงาน และการทหาร และทำให้การเติบโตของอุปกรณ์ 3D Printer สำหรับองค์กรนั้นเติบโตขึ้นถึง 64.1% ต่อปีไปจนถึงปี 2019 และจะยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องไปอีกถึง 20 ปีนับจากวันนี้

 

4. Information of Everything

เป็นก้าวที่พัฒนาต่อจาก Internet of Things และ Big Data Analytics ที่ในอนาคตเมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างหรือการใช้ชีวิตของมนุษย์นั้นได้ทำการสร้างข้อมูลขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกอยู่แยกกันเหล่านี้ก็จะถูกนำมาผสานรวมกันเพื่อค้นหาความหมายหรือความรู้ต่างๆ จากข้อมูลเหล่านี้

 

5. Advanced Machine Learning

การทำ Machine Learning จะเติบโตก้าวหน้าต่อไปด้วยการทำ Deep Neural Nets (DNNs) ที่พัฒนาไปถึงขั้นกลายเป็นระบบที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ด้วยตัวเอง และมาทดแทนการจำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ และทำให้ Hardware หรือ Software ต่างๆ ในอนาคตสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ใน Environment ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ได้อย่างครอบคลุม และจะกลายเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์กรใช้เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้

 

6. ผู้ช่วยและสิ่งของที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้

ต่อเนื่องจากการพัฒนาของระบบ Machine Learning ก็จะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีความชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, ยานยนตร์อัตโนมัติ, ผู้ช่วยส่วนตัว (Virtual Personal Assistant/VPA) และผู้ให้คำแนะนำที่สามารถทำงานได้เองและโต้ตอบกันได้ ซึ่งระบบผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Google Now, Microsoft Cortana หรือ Apple Siri นั้นก็จะมีความชาญฉลาดมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบเหล่านี้ และการโต้ตอบกันได้ในลักษณะนี้ก็จะกลายเป็น User Interface หลักของการทำ Ambient User Interface และทำให้การพูดมาแทนการกดปุ่มต่างๆ ทางหน้าจอได้ และเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องยาวนานไปอึกถึง 20 ปี

 

7. Adaptive Security Architecture

การเติบโตของโลกที่ระบบ IT มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการสร้างรายได้จากการ Hack ได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างนั้น ทำให้ภัยคุกคามที่มีต่อองค์กรนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรักษาความปลอดภัยโดยการกำหนดกฎในแบบเดิมๆ นั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว และการที่องค์กรมีการสร้างบริการบน Cloud หรือ API เพื่อเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้านั้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้น ซึ่งผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรก็ต้องคอยตรวจสอบและตอบโต้ภัยต่างๆ ในขณะที่ก็ยังคงละทิ้งการป้องกันภัยแบบเดิมๆ ไปไม่ได้ ระบบ Application ที่ป้องกันตัวเองได้ และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มาเติมเต็มสถาปัตยกรรมแบบ Adaptive Security Architecture

 

8. Advanced System Architecture

เพื่อตอบรับการมาของ Device Mesh และ Advanced Machine Learning รวมถึงอุปกรณ์ที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้ Advanced System Architecture จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มาตอบโจทย์ความต้องการพลังในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าต่อพลังงานสูง โดย FPGA จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับการสร้างสถาปัตยกรรมการประมวลผลในรูปแบบเดียวกับสมองมนุษย์นี้ และมีความเร็วมากกว่า 1 Teraflops ได้โดยใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ในอนาคตอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ Internet of Things เองก็จะมีความสามารถในการทำ Machine Learning ได้ด้วย ในขณะที่ GPU ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอยู่

 

9. Mesh App และ Service Architecture

ด้วยการมาของ Internet of Things และ Mobile ที่ต้องการใช้ Back-end ที่มีประสิทธิภาพสูงและยืดหยุ่น สถาปัตยกรรมแบบ 3-tier จะค่อยๆ กลายเป็นสถาปัตยกรรมแบบ App & Service Architecture แทน ด้วยบริการ Software-defined Application นี้ก็จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้งานระบบที่มีประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความรวดเร็วได้ถึงแบบ Web-scale ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ Microservice ก็จะยังคงตอบโจทย์การพัฒนา Application ที่เพิ่มขยายได้ทั้งแบบ On-premise และ Cloud อีกทั้ง Container ก็จะกลายมาเป็นเทคโนโลยีหลักที่เป็นพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Microservice นั่นเอง

 

10. Internet of Things Platforms

เทคโนโลยีและมาตรฐานต่างๆ สำหรับระบบ Internet of Things จะถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารจัดการ, การรักษาความปลอดภัย และความสามารถต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบ Internet of Things มาใช้งาน และจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำ Device Mesh และ Ambient User Experience นั่นเอง

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-predicted-10-technology-it-trends-2016/

Gartner เผย 10 กลยุทธ์การลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับหน่วยงานรัฐ

Gartner ได้ทำการสำรวจแผนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานรัฐทั่วโลก เพื่อให้ CIO และ IT Leaders สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทางด้าน IT Roadmap ในอนาคตได้ง่ายขึ้น โดยในปี 2015 นี้คาดว่าการลงทุนทางด้าน IT ของหน่วยงานรัฐทั่วโลกจะหดตัวลง 1.8% จาก 439,000 ล้านเหรียญดอลาร์สหรัฐ เหลือ 431,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แต่จะเติบโตกลับมาเป็น 475,500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2019

โดยทาง Gartner ได้นำเสนอ 10 กลยุทธ์การลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับหน่วยงานรัฐทั่วโลก ซึ่งทาง TechTalkThai ก็ขอมาสรุปต่อให้ผู้อ่านได้อ่านกันดังนี้

1. ที่ทำงานแบบ Digital

เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐทุกคนจะต้องทำงานด้วยระบบ Digital เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดก็ตาม โดย CIO และหัวหน้าฝ่าย IT จะต้องรับหน้าที่เป็นผู้นำในการสร้างรูปแบบการทำงานที่เปิดรับต่อ Social และ Mobile โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ และทำการตัดสินใจต่างๆ โดยมีข้อมูลประกอบได้เสมอ

2. การเข้าถึงประชาชนได้จากหลายช่องทาง

การเข้าถึงประชาชนได้ทั้งแง่ของการเปิดช่องทางให้ประชาชนติดต่อเข้ามาได้จากหลากหลายช่องทาง และการสื่อสารกลับไปยังประชาชนแต่ละคนได้ในหลากหลายช่องทางเช่นกันถือเป็นโจทย์สำคัญ ทั้งนี้่ผู้วางนโยบายและ CIO จะต้องเริ่มทำการออกแบบบริการต่างๆ ของหน่วยงานใหม่ให้เหมาะสม โดยมีการผสานเครื่องมือทางการตลาดแบบเดิมๆ เข้ากับเครื่องมือทางการตลาดแบบใหม่ด้วย

3. เปิดเผยทุกข้อมูลให้นำไปใช้งานต่อได้

ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้ และ Web API สำหรับเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐกำลังเติบโตและมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งถึงแม้ในตอนนี้จะยังไม่ได้มีการนำไปใช้งานมากนัก แต่ Gartner ก็เชื่อว่าอาจต้องใช้เวลาเป็นสิบปีหรือมากกว่าในการที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ถึงขีดสูงสุด

อย่างไรก็ดี ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้หลายๆ หน่วยงานเริ่มประสบปัญหาทางด้านการบีบหรือลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครกงการ Open Data ลง และกลายเป็นความท้าทายของหน่วยงานเหล่านั้นไป ด้วยสาเหตุว่าข้อมูลเหล่านั้นยังไม่สามารถสร้างคุณค่าที่จับต้องได้ให้แก่รัฐบาล รวมถึงยังไม่มีวิธีชี้วัดคุณค่าเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลข แต่ Gartner ก็ทำนายว่าในปี 2018 จะมี 30% ของโครงการในหน่วยงานรัฐที่เปิดเผยข้อมูลทุกอย่างในโครงการเป็น Open Data

4. ID อิเล็กทรอนิคสำหรับประชาชน

เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถทำการ Login และเข้าถึงทุกบริการของภาครัฐในแบบออนไลน์ได้ ทางภาครัฐก็จะต้องมีระบบฐานข้อมูลสำหรับการยืนยันตัวตนกลางสำหรับประชาชน ให้สามารถเข้าใช้งานบริการต่างๆ ได้ด้วย Username และ Password เดียวกันได้อย่างปลอดภัย โดยต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจในการผลักดันบริการนี้ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย, ใช้งานได้ง่าย และปลอดภัย รวมถึงยังต้องมีความเป็นส่วนตัวสูง ผ่านบริการที่ควบคุมโดยภาครัฐเอง หรือใช้บริการ ID as a Service ของภาคเอกชนก็ตาม

5. การทำ Analytics ที่ปลายทาง

ระบบวิเคราะห์จะถูกฝังลงไปในบริการต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถแนะนำข้อมูลต่างๆ หรือทำนายแนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ ให้กับผู้ใช้งานได้โดยตรง เพื่อให้ประสบการณ์การใช้บริการต่างๆ ของภาครัฐเป็นไปได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยระบบ Analytics นี้จะถูกฝังรวมไปกับกระบวนการทำงานหรือ Application เลย และคอยรวบรวมข้อมูลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน

6. สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

ในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ทุกวันนี้ การประสานงานข้ามหน่วยงานกันถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงต้องปรับตัวให้สามารถเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับหน่วยงานอื่นๆ เท่าที่จำเป็นได้ตามต้องการอย่างเป็นมาตรฐาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยไม่ขึ้นกับ Application และแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

7. ระบบหน่วยงานรัฐแบบ Digital

ระบบกลางสำหรับบริการต่างๆ ที่ประชาชนเข้าถึงได้โดยไม่ต้องไปค้นหาว่าต้องติดต่ออะไรที่หน่วยงานไหน ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยแนวคิด Smart City จากผู้ผลิตรายต่างๆ ที่จะควบรวมเอาทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมาช่วยเสริมการบริการภาครัฐให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ควบคู่กับ Internet of Things ซึ่งต่างก็ยังต้องแก้ไขปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ภายในระบบอยู่

8. Internet of Things

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ Internet of Things จะเป็นหัวใจหลักในการวางกลยุทธ์ถัดๆ ไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้กับประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม, การตรวจสอบโครงสร้างของสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ, การโต้ตอบเหตุฉุกเฉิน, การติดตาม Supply Chain, การจัดการสินทรัพย์, การจัดการการบิน หรือความปลอดภัยในการสัญจรก็ตาม ทั้งนี้รัฐบาลต้องเริ่มประเมินแผนการในอนาคต, ประเมินจำนวนของ Sensor ต่างๆ ที่ต้องใช้ และปรับปรุงเครือข่ายทั่วประเทศให้รองรับกับความต้องการได้

9. Web-Scale IT

ระบบ IT ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถเทียบเท่าบริการ Cloud จะช่วยให้ภาครัฐสามารถปรับปรุงระบบ IT ให้มีความคุ้มค่าขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอิสระในการเพิ่มขยายระบบด้วย Open Source ร่วมกับ Hardware ที่ราคาคุ้มค่าที่สุด และลดบทบาทของผู้ผลิต Hardware และผู้ขายสินค้าและบริการ IT ลงไปจากวงจรได้

10. Hybrid Cloud (and IT)

ผู้ดูแลระบบของภาครัฐจะต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ Hybrid Cloud ได้ และมุมมองที่มีต่อทีมงานผู้ดูแลระบบเหล่านี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็น Service Provider ที่จัดการทุกอย่าง กลายเป็น Service Broker หรือผู้จัดการของแต่ละบริการผ่านระบบ Cloud ไปแทน

 

สำหรับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย สิบข้อนี้ก็อาจจะยังไม่ตรงนัก แต่ก็พอดูเป็นแนวทางเพื่อศึกษากันได้บ้างครับ

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3069117

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-on-10-strategic-technology-trends-for-government/