คลังเก็บป้ายกำกับ: INFRASTRUCTURE_AS_A_SERVICE

Gartner ชี้ บริการ Public Cloud อาจเติบโตถึง 7,400 ล้านเหรียญในกลุ่มบางประเทศของ Asia/Pacific ภายในสิ้นปี 2015

Gartner ได้ทำนายถึงตลาด Public Cloud ในกลุ่มประเทศ Mature Asia/Pacific ซึ่งได้แก่ประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ว่าจะเติบโตถึง 8.7% ภายในปี 2015 จนมีมูลค่ารวมถึง 7,300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 255,500 ล้านบาทไทย เติบโตจากปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 6,400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และใกล้เคียงกับมูลค่าของตลาด Public Cloud ในประเทศญี่ปุ่น โดยบริการ Cloud Management และ Security ยังคงเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดถึง 21% และมีมูลค่ารวม 234.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

Gartner ได้ทำนายไปถึงปี 2019 ว่าตลาด Public Cloud ในกลุ่ม Mature APAC นี้จะเติบโตไปจนถึง 12.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยมีส่วนแบ่งของบริการต่างๆ ดังนี้

  • Business-Process-as-a-Service (BPaaS) มีส่วนแบ่ง 7.7%
  • Platform-as-a-Service (PaaS) มีส่วนแบ่ง 2.2%
  • Software-as-a-Service (SaaS) มีส่วนแบ่ง 25.7%
  • Cloud Management/Security มีส่วนแบ่ง 3.8%
  • Infratructure-as-a-Service (IaaS) มีส่วนแบ่ง 8.3%
  • Cloud Advertising 51.8%

ทั้งนี้ Gartner ยังได้ทำนายอีกว่า นับตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปี 2019 SaaS, Cloud Management และ Security จะเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในบริการ Public Cloud

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3160718 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-projected-mature-apac-public-cloud-to-reach-7400-million-usd-in-2015/

Gartner เผยผลวิเคราะห์ Magic Quadrant for Cloud Infrastructure as a Service, Worldwide มี Leader 2 รายด้วยกัน

การใช้ Clound Infrastructure as a Service (IaaS) เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตามองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมากขึ้น ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอนำเสนอผลวิเคราะห์ Gartner นี้คร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้เห็นเป็นไอเดียกันนะครับ

นิยามของตลาด Cloud Infrastructure as a Service

Vendor ที่ถูกจัดอันดับใน Magic Quadrant นี้จะมีเฉพาะผู้ให้บริการ Infrastructure as a Service หรือ IaaS เท่านั้น ซึ่งไม่รวมบริการ Cloud Storage, PaaS, SaaS, Cloud Service Brokerage (CSB) หรือผู้ให้บริการ Cloud อื่นๆ ดังนั้นใน Cloud IaaS นี้จะนับรวมเฉพาะ Vendor ที่สามารถให้บริการระบบ IaaS ที่มีความเป็นมาตรฐาน และบริหารจัดการได้แบบอัตโนมัติ เพื่อผนวกรวมหน่วยประมวลผล, ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือองค์กรได้ อีกทั้งระบบจะต้องเพิ่มขยายระบบได้ด้วยความเร็วแบบกึ่ง Real-Time และ คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน รวมถึงยังต้องมีระบบ Self-service เพื่อให้ผู้ใช้งานทำการบริหารจัดการเองได้ทั้งผ่าน Web UI และ API ทั้งนี้ Resource ต่างๆ ที่ต้องใช้ในระบบ Cloud IaaS นี้จะถูกติดตั้งอยู่ใน Data Center ของ Service Provider หรือติดตั้งแบบ On-Premises ใน Data Center ขององค์กรก็ได้

ในรายงานของ Gartner ฉบับนี้มีรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับการนิยาม Cloud IaaS เอาไว้อีกมาก อีกทั้งมีการจำแนกประเภท และคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย แนะนำให้ผู้อ่านไปโหลดอ่านตัวเต็มกันนะครับถ้ากำลังจะลงทุนเช่า Cloud IaaS มาใช้งาน

Leader 2 ราย: Amazon AWS และ Microsoft Azure

Amazon AWS เป็น Cloud ที่มีพื้นฐานมาจาก Xen และเป็นผู้นำในตลาดของ Cloud IaaS อีกด้วย จะเรียกได้ว่า Amazon AWS เป็นผู้บุกเบิกตลาด Cloud เป็นรายแรกก็ไม่น่าจะผิดนัก โดย Resource รวมทั้งหมดใน Amazon AWS นี้มีมากกว่า Resource ของ Vendor ที่เหลือทั้งหมดใน Gartner Magic Quadrant รวมกันอยู่กว่า 10 เท่าเลยทีเดียว

Amazon AWS นี้มีจุดแข็งเรื่องของความครอบคลุมของโซลูชั่นที่แทบจะตอบโจทย์ได้ทุกรูปแบบด้วย Cloud รวมถึงยังรองรับ Application ที่มีความ Sensitive สูงอย่าง SAP ได้อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันทาง Gartner ก็ให้ข้อสังเกตว่าการใช้โซลูชั่นของ Amazon นี้มีความซับซ้อนสูง เพราะรูปแบบการคิดราคาตามการใช้งานจริง ทำให้บางครั้งองค์กรก็ประเมินยากเช่นกันว่าค่าใช้จ่ายของระบบจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ และต้องเลือกใช้ Tier ในการ Support ให้เหมาะสมตามความต้องการ รวมถึงการเลือกใช้บาง Component ใน Amazon AWS นี้ก็ต้องประเมินดีๆ เพราะบางบริการของ AWS ก็ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเท่าที่ควร

Microsoft Azure เองเพิ่งเปิดตัวบริการ IaaS มาเมื่อต้นปี 2013 โดยมีพื้นฐานมาจาก Hyper-V เป็นหลัก และลงทุนอย่างต่อเนื่องจนมีบริการที่สามารถตอบโจทย์ได้หลากหลายรูปแบบเช่นกัน ด้วยการเป็นเบอร์ 2 ของตลาด Cloud IaaS นี้ทำให้ Microsoft มี Resource ในระบบ IaaS มากกว่า 2 เท่าของ Vendor รายอื่นๆ นอกจาก Amazon AWS ใน Magic Quadrant รวมกัน

Microsoft Azure นี้มีจุดแข็งทางด้านภาพรวมของระบบ Cloud ที่เป็นผืนเดียวกันหมดทั้งสำหรับ IaaS, PaaS และ On-Premises Infrastructure รวมถึงยังมีฐานลูกค้าเก่าที่ใช้งาน Microsoft Infrastructure เป็นหลักอยู่มากมาย ทำให้ภาพการทำ Hybrid Cloud สำหรับองค์กรมีความชัดเจน แต่ในขณะเดียวกัน Microsoft Azure เองก็ยังต้องพัฒนาต่อไปในแง่มุมต่างๆ มากมาย เนื่องจากยังคงมีข่าวที่ Azure หยุดทำงานอยู่บ้าง และ Partner ใน Market Place เองก็ยังขาดความเชี่ยวชาญ รวมถึงยังมีโซลูชั่นจาก 3rd Party อย่างจำกัดอยู่ในเวลานี้

โดยความเห็นส่วนตัวจากทีมงาน TechTalkThai ตลาด Cloud IaaS เองก็เริ่มเข้ามารุกๆ ตลาด Enterprise ในเมืองไทยบ้างแล้ว และผู้ผลิตเองก็มีหลากหลาย รวมถึงในไทยเองก็มีผู้ให้บริการ Cloud แบบ Local อยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงควรเริ่มศึกษาเอาไว้เป็นทางเลือกในการลงทุนบ้าง และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้จริงๆ จะได้สามารถประเมินจุดดีจุดด้อยของแต่ละเจ้าได้ จากเมื่อก่อนที่เคยประเมินเชิงเทคนิคเป็นส่วนๆ ของระบบย่อยไป ตอนนี้ต้องหันมามาองภาพรวมของการให้บริการเบ็ดเสร็จแบบนี้แทน ซึ่งก็ต้องอาศัยมุมมองในการประเมินที่แตกต่างออกไปเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถกรอกฟอร์มเพื่อ Download รายงานฉบับเต็มและดู Magic Quadrant ได้ทันทีที่ https://aws.amazon.com/resources/gartner-2015-mq-learn-more-apac/ ซึ่งในรายงานนี้จะมีข้อมูลที่น่าสนใจของ Google, VMware และ IBM SoftLayer อยู่ด้วย

from:https://www.techtalkthai.com/gartners-magic-quadrant-for-cloud-infrastructure-as-a-service-iaas-worldwide/