คลังเก็บป้ายกำกับ: HONEYWELL

Honeywell ออกโซลูชัน Cyber Insights ช่วยรับมือกับความเสี่ยงในระบบ OT

Cyber Insights เป็นโซลูชันใหม่ล่าสุดจากทีมงาน Honeywell ที่ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรสามารถทราบถึงภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบ OT ของตนได้

Cyber Insights ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งภายในสภาพแวดล้อมของ OT บริการติดตั้งเริ่มแรกหนึ่งครั้ง และบริการดูแลหลังการขาย ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ของ Honeywell ประกอบกับโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยของ 3rd Party เพื่อให้ภาพของช่องโหว่ ความเสี่ยง หรือติดตามทรัพย์สินได้ตาม Compliance เช่น CIS Benchmark และ NIST 800-53 เป็นต้น 

ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจภาพสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยล่าสุดในระบบ OT ของตนได้ ว่าควรต้องเสริม ปรับปรุงหรือแก้ไขอย่างไร โดยซอฟต์แวร์จะประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์เฉพาะที่ไม่รบกวนอุปกรณ์ OT แต่อย่างใด ซึ่งมีการตรวจสอบโหลดของระบบก่อนเริ่มงานเสมอ ความโดดเด่นคือ Honeywell มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ OT อย่างลึกซึ้งซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นค่าพื้นฐานและมีประสบการณ์สูงพร้อมให้คำแนะนำเพื่อปรับแต่งซอฟต์แวร์ให้เข้ากับทุกความต้องการของลูกค้า

ที่มา : https://www.securityweek.com/new-honeywell-ot-cybersecurity-solution-helps-identify-vulnerabilities-threats/

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-launches-cyber-insights-provide-ot-security-visibility/

การเลือกใช้อุปกรณ์ Handheld สำหรับธุรกิจค้าปลีก

EP-1      :     รู้เขารู้เรา ซื้อใช้กี่ครั้งก็คุ้ม

ก่อนที่เราจะเลือกอุปกรณ์ใดเพื่อเข้ามาเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกในธุรกิจนั้นๆ เราจะต้องทำความรู้จักกิจกรรมส่วนต่างๆ ให้ดีก่อน “รู้เขารู้เรา ซื้อใช้กี่ครั้งก็คุ้ม” ไม่ต้องมาลุ้นเปิดกล่องสุ่มให้ความดันขึ้น สู้มาหงายการ์ดเลือกของใส่กล่องด้วยตัวเองกันดีกว่า ไม่รอช้า มาดูกันให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย เริ่มจาก “รู้เราก่อน” เราในที่นี้ คือ “ธุรกิจค้าปลีก คืออะไร” และตามด้วย “รู้เขา” เขา ก็คือ “อุปกรณ์ Handheld Computer คืออะไร” มาลุยกันเลยครับ

“ธุรกิจค้าปลีก (Retail Business) คืออะไร” นิยามกระชับให้เข้าใจตัวตนของธุรกิจค้าปลีกได้ง่ายที่สุด ก็คือ ผู้ที่จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคเป็นคนสุดท้ายนั้นเอง ไม่ต้องอธิบายให้มากความ มาดูกันให้เห็นภาพชัดเจนเลยว่าธุรกิจค้าปลีกอะไรบ้างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด อาทิเช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ ร้านมินิมาร์ท ห้างสรรพสินค้า ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านอุปกรณ์ไอที ร้านขายเครื่องสำอาง ร้านขายยา หรือแม้กระทั้งร้านค้าออนไลน์ ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็ถือว่าเป็นธุรกิจค้าปลีกเช่นเดียวกัน ด้วยความหลากหลายชนิดของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก จึงมีการจำแนกแบ่งประเภทกลุ่มร้านค้าปลีกออกตามความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ  

กลุ่มธุรกิจค้าปลีกแต่ละประเภทที่พบเห็นได้ในประเทศไทย

  1. ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Small Retailer) เช่น ร้านค้าขายของชำในหมู่บ้าน
  2. ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store) เช่น ร้านขายยา, ร้านขายวัสดุก่อสร้าง
  3. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Stores) เช่น ร้าน 7-11, ร้าน Family Mart
  4. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) เช่น Tops Market, BigC Supermarket
  5. ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เช่น สยามพารากอน, เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, โรบินสัน
  6. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store, Hypermarket) เช่น Tesco Lotus, Big-C, Makro

สินค้า (Product) คือหัวใจของธุรกิจค้าปลีก ร้านค้าปลีกแต่ละกลุ่มจะต้องดำเนินการจัดหาสินค้าเข้ามาจัดจำหน่าย โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก “ซื้อมาและขายไป” ฟังดูง่าย แต่กระบวนการนั้นซับซ้อนไม่เบา ยิ่งกลุ่มห้างร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ด้วยแล้ว จะมีประเภทของสินค้าหลากหลายและจำนวนมาก เพื่อจัดเก็บให้มีปริมาณที่พอกับการซื้อของผู้บริโภค ถ้ามีการบริหารจัดการสินค้าได้ไม่ดีปัญหาและข้อผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยซ้ำตามมาให้แก้ไขไม่รู้จบ

ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกนิยมนำระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System) โดยจะมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบหลักในการทำงานร่วมกัน ทำให้กระบวนการบริหารจัดการสินค้าเป็นระบบที่มีมาตรฐานมากขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าได้อย่างง่ายดายมากกว่ารูปแบบเดิม ถือว่าเป็นการเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกและสามารถบริหารการให้บริการหน้าร้านแก่ผู้บริโภคในเวลาเดียวกันได้อย่างมีคุณภาพ            

ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลสินค้าถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก การเริ่มต้นที่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งทาง การรับข้อมูลตั้งต้นของสินค้าที่เข้ามาในระบบ ถ้ามีความถูกต้องครบถ้วน กระบวนการต่อไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ก็จะสามารถนำข้อมูลไปประมวลผลต่อให่แก่ผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น

Handheld Computer คือเครื่องทุ่นแรงที่เข้ามาเข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ให้การคีย์บันทึกข้อมูลสินค้าเข้ามาในระบบได้สะดวกและถูกต้องมากขึ้น ทดแทนการคีย์ข้อมูลด้วยมือ วัตถุประสงค์หลักนั้น เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้น สามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ลดความผิดพลาดของข้อมูลให้มีความถูกต้องครบถ้วน 100% ไม่ว่าจะเป็นการรับสินค้าเข้า การตรวจนับสินค้าคงคลัง การจำหน่ายสินค้าออกจากคลังให้กับผู้บริโภค ระบบซอฟต์แวร์มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลให้เป็นระเบียบตามที่ระบบกำหนดไว้

หลักการเลือกอุปกรณ์ Handheld Computer ให้เหมาะกับธุรกิจค้าปลีกต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

Smart Retail

เลือกอุปกรณ์ Handheld Computer

ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

กิจกรรมและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนงาน ถ้าเลือกอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงให้ไม่ตรงกับท่าทางในการทำงาน อุปกรณ์นั้นจะกลายเป็นตัวภาระทันที แทนที่จะเล่นท่าง่าย กลับต้องฝืนทนเล่นท่ายาก ฟังแล้วเมื่อยแทน การทำงานในแต่ละส่วนงานในธุรกิจค้าปลีก จะมีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนงานคลังสินค้า และ ส่วนงานหน้า

ร้านส่วนงานคลังสินค้า

มีหน้าที่หลักอยู่ 3 อย่าง คือ รับสินค้าเข้า, จัดวางสินค้า, นำสินค้าออกจากคลัง ควรเลือกอุปกรณ์ Handheld Computer ที่ทนทาน น้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด ไม่เน้นหน้าจอใหญ่ เน้นความคล่องตัว ให้นึกถึงปืน หยิบออกจากซอง ยิงได้ทันที และเก็บเข้าซองพร้อมลุย

ส่วนงานหน้าร้าน

มีหน้าที่จำหน่ายสินค้าที่ผู้บริโภคหยิบใส่ตะกร้าออกจากระบบ (Counter Service) ควรเลือกอุปกรณ์ Handheld Computer ที่เน้นความรวดเร็วในการสแกนอ่านข้อมูลบาร์โค้ดสินค้าเป็นหลัก รองลงมาจะต้องมีรูปลักษณ์ทางกายภาพที่เหมาะสมกับสถานที่ไม่เกะกะขวางหูขวางตา ปัจจุบันเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบรุ่นเฉพาะที่ใช้งานบน Counter Service จึงง่ายต่อการเลือกมาใช้งาน ส่วนมากจะคัดสรรรุ่นกันที่สเปคประสิทธิภาพของหัวอ่านบาร์โค้ดล้วนๆ อ่านเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามผ่าน

เลือกอุปกรณ์ Handheld Computer

ให้เหมาะสมกับระบบงาน (System Requirement)

         ข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Hardware) ของชุดอุปกรณ์ Handheld Computer ต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์หลักของธุรกิจค้าปลีกได้ (System Hardware Requirement) และให้ความสำคัญกับคุณภาพของประเภทหัวอ่านบาร์โค้ดเป็นหลัก เพื่อสามารถรองรับการอ่านข้อบาร์โค้ดบนสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ มาดูกันว่าข้อมูลด้านเทคนิคของอุปกรณ์ Handheld อะไรบ้างที่ระบบหลังบ้านของธุรกิจค้าปลีกกำหนดไว้บ้าง

บาร์โค้ด (Barcode)

  • ประเภทบาร์โค้ด (Barcode Type) ปัจจุบันเทคโนโลยีชนิดของบาร์โค้ดจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบ 1D และ 2D ธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่จะเลือกใช้หัวอ่านแบบ 2D เพราะสามารถใช้งานอ่านข้อมูลของบาร์โค้ดบนสินค้าได้ครอบคลุมกว่า
    • แบบ 1D สามารถอ่านบาร์โค้ดชนิดแท่งได้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดแบบ 2D หรือ QR Code ได้
    • แบบ 2D สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ทั้ง 1D, 2D และ QR Code และปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่า 1D
    • ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด (ฺBarcode Scanner Type) เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดมีอยู่ 4 ประเภท
      1. CCD Scanner มีลักษณะลำแสงหนา จุดเด่น สามารถอ่านบาร์โค้ดในสภาวะแสงสว่างมากๆ ได้ดี ข้อจำกัดของ CCD Scanner บาร์โค้ดจะต้องอยู่บนพื้นผิวที่แบนเรียบ และระยะการอ่านต้องไม่เกิน 1 นิ้ว
      2. Laser Scanner มีลักษณะลำแสงเลเซอร์เส้นตรงเส้นเดียว ขนาดเล็ก จุดเด่น สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กได้ดี
      3. Omi-Directional Scanner มีลักษณะเหมือนประเภท Laser แต่จะยิงลำแสงออกมาหลายเส้นหลายทิศทางคล้ายใยแมงมุม จุดเด่น สามารถอ่านบาร์โค้ดได้เร็ว เป็นที่นิยมในนำมาใช้งานในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่ต้องการความรวดเร็วในการให้บริการ
      4. Imager Scanner มีลักษณะการทำงานในรูปแบบการจับภาพตัวบาร์โค้ดเหมือนการทำงานของกล้องถ่ายรูป แล้วนำมาประมวลผลถอดรหัสข้อมูลบาร์โค้ด จุดเด่น สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆ และระยะการอ่านไกลได้ดี แต่จะอ่านข้อมูลบาร์โค้ดได้ช้ากว่า Laser Scanner
    • ประเภทของหัวอ่านบาร์โค้ดในลักษณะเฉพาะ
      1. SR (Standard Resolution) หัวอ่านบาร์โค้ดทั่วไป
      2. FZ (Fuzzy Logic) หัวอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะซีดจาง หรือมีความเข้มลดลงจากต้นฉบับเดิม
      3. ER (Extra Long Range) หัวอ่านบาร์โค้ดในระยะไกล หรือบาร์โค้ดขนาดใหญ่ เหมาะกับพื้นที่ปิดโรงงานอุตสาหกรรม
      4. OCR (Optical Character Recognition) หัวบาร์โค้ด และสำหรับตัวอักษร ที่มีชนิด Fonts เฉพาะเทคโนโลยี OCR รองรับเท่านั้น เหมาะกับลักษณะงานที่ต้องการอ่านค่าของบาร์โค้ดที่ต้องการตัวอักษรเข้ามาประมวลผลด้วย เพื่อความรวดเร็วและความถูกต้อง
      5. HD (High Density) หัวอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กเกินกว่า 4 มิล (mil)
      6. DP / DPM (Direct Part Marks) หัวอ่านบาร์โค้ดที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสกัดฝังลงบนพื้นผิววัสดุ ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่ต้องใช้ในงานเฉพาะที่มีพื้นผิวไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดได้ หรือต้องการความคงทนของบาร์โค้ดที่อาจจะเกิดจากการขีดข่วน ล้างด้วยสารเคมี เป็นต้น

หน้าจอ (Monitor)

Monitor Resolution : ขนาดหน้าจอมีผลต่อการแสดงผลหน้าตาเมนูต่างๆ ของซอฟต์แวร์บริหารค้าปลีก  Handheld แต่ละยี่ห้อจะมีสเปคที่ใกล้เคียงกัน ส่วนมากแนะนำให้ทำการทดสอบกับระบบซอฟต์แวร์แต่ละร้านค้าจะชัวร์ที่สุด

ระบบประมวลผล (Processor System)

  • OS : (Operation System) : มีให้เลือกอยู่ 2 ค่าย คือ Windows Mobile และ Android ขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบซอฟต์แวร์และการันตีการเลือกใช้งาน
  • CPU : เลือกเวอร์ชั่นปัจจุบันไว้ก่อน และขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบซอฟต์แวร์และการันตีการเลือกใช้งาน
  • RAM : หน่วยความจำหลักของอุปกรณ์ Handheld Computer ยิ่งเยอะยิ่งดีต่อการทำงานร่วมกับระบบ ราคาก็จะสูงเช่นกัน
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
          Wireless และ Bluetooth เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายหลักที่อยู่บนอุปกรณ์ Handheld Computer ซึ่งความพิเศษของ Enterprise Grad จะสามารถเลือกฟังก์ชั่นปิดการทำงานแบบถาวรของ Wireless ออกจากการสั่งซื้อตั้งต้นได้ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบของแต่ละองค์กร) ราคาตัวเครื่องก็จะถูกลง แต่ฟังก์ชั่น Bluetooth นั้น เป็นพื้นฐานที่จะมีให้มาทุกรุ่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนมากจะออกแบบระบบให้ทำงานในรูปแบบ Online ใช้วิธีการ Remote Run Software บน Server ผ่านโครงข่ายการสื่อสารขององค์กร ซึ่งก็คือ Wireless เพราะฉะนั้น ฟังก์ชั่นนี้ มีความสำคัญมากพอสมควร แนะนำให้ทดสอบระบบร่วมกันเพื่อเลือกความเสถียรภาพในการเชื่อมต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพตามความต้องการ
Barcode 1D / 2D

ปัจจุบันอุปกรณ์ Handheld Computer มีให้เลือกกันหลายยี่ห้อ และหลากหลายรุ่น ราคาสูงใช่ว่าจะดีสำหรับเราเสมอไป หรือราคาถูกไว้ก่อน อาจจะไม่ใช่ทุกข้อที่เราต้องการ เปรียบเทียบคุณสมบัติโดยรวมเพื่อคัดเลือกคู่เปรียบมวยให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาทดสอบคุณภาพให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าเหมาะสมกับราคาที่คุยไว้หรือไม่ โดยทั่วไปจะแบ่งออก 2 สัญชาติ คือ 1. สัญชาติ Asia / Pacific และ 2. สัญชาติ USA และ Europe เรามาดูกันว่ายี่ห้อใดบ้างที่มีอุปกรณ์ Handheld Computer ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกบ้าง โดยยกตัวอย่างเฉพาะที่มีตัวแทนจัดจำหน่ายและบริการในประเทศไทย ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นทางด้านเทคนิคและการตลาดในรูปแบบนโยบายของตัวเอง ลองมาทำความรู้จักกันเลย

สัญชาติ Asia / Pacific มีอุปกรณ์ Handheld Computer ยี่ห้ออะไรบ้าง

Cipherlab จากประเทศ Taiwan

เน้นผลิตภัณฑ์ประเภท Handheld Computer เพียงกลุ่มเดียว จุดเด่นของ Cipherlab จะมีทั้งหัวอ่านบาร์โค้ด OEM Engine ของตัวเอง และใช้ของยี่ห้อ USA ให้เลือกใช้งาน ซึ่งมีผลต่อราคาที่แตกต่างกันในรุ่นเดียวกัน Cipherlab มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกให้เลือกใช้งาน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (ประเมินจากทั้งระบบงาน Total Solutions) โดยรวมราคาไม่สูงมาก อยู่ระดับกลางๆ

Unitech จากประเทศ Taiwan

เน้นผลิตภัณฑ์ประเภท Handheld Computer เพียงกลุ่มเดียว แต่มีความหลากหลายตามคุณสมบัติเฉพาะธุรกิจนั้นๆ เช่น Handheld Computer Healthcare สำหรับกลุ่มงานโรงพยาบาล เป็นต้น และ Unitech ยังมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกให้เลือกใช้งาน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ราคาไม่สูงมาก อยู่ระดับกลางๆ  

สัญชาติ USA / Europe มีอุปกรณ์ Handheld Computer ยี่ห้ออะไรบ้าง

Zebra และ Honeywell จากประเทศ USA         

“Zebra และ Honeywell” ทั้ง 2 แบรนด์จากประเทศเดียวกันนี้ มีผลิตภัณฑ์ครบทุกประเภทของกลุ่ม Auto-ID Solutions ครอบคลุมทุกธุรกิจทั้งระดับออฟฟิศไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ทั้งอุปกรณ์ Handheld Computer Scan Barcode และอุปกรณ์ Pinter Barcode ถือว่ามีระดับผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับ Enterprise Grade สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ในธุรกิจค้าปลีกนั้น มีให้เลือกใช้งานครบครันทั้งระบบงานในทุกขนาดธุรกิจ ตั้งแต่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ราคาอยู่ในระดับกลางๆ ถึงระดับสูงมาก

Opticon จากประเทศ Netherlands            

จริงๆ แล้ว Opticon เป็นกลุ่มบริษัทลูกผสมทั่วโลก ประกอบด้วย OPTO Electronics (ญี่ปุ่น), Opticon Sensors Europe BV (เนเธอแลนด์) และ Opticon Inc. (อเมริกาเหนือ) โดยผลิตภัณฑ์ Opticon เน้นผลิตภัณฑ์ประเภท Handheld Computer เพียงกลุ่มเดียว มีจุดเด่นเรื่องออกแบบเทคโนโลยี OEM Scan Engines เป็นของตัวเอง รองรับการทำงานด้านการอ่านบาร์โค้ดได้ทุกธุรกิจ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกนั้น เกือบจะครบทุกฟังก์ชั่น จึงทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กและขนาดกลาง (ประเมินจากทั้งระบบงาน Total Solutions) ราคาไม่สูงมาก อยู่ระดับกลาง

“รู้เขาแล้ว รู้เราแล้ว จะเลือกรุ่นไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา”          

ต้องเจาะลึกเข้าไปให้ถึงธาตุแท้ของอุปกรณ์ Handheld Computer แต่ละรุ่น ก่อนจะส่งขันหมากไปสู่ขอ เราจะต้องศึกษาดูนิสัยใจคอกันให้ดี อย่าให้ต้องแต่งแล้วหย่า ปล่อยให้ระบบร้านค้าปลีกเป็นหม่ายกลับคืนสู่สามัญให้ถูกนินทาว่า “ค้าปลีก ทำมือ” โปรดติดตาม EP2 ตอน “เจาะสเปคอุปกรณ์ Handheld Computer ที่เหมาะกับธุรกิจค้าปลีก”

from:https://www.techtalkthai.com/retail-handheld-computer-scanner-barcode/

[Guest Post] Honeywell และ Vertiv ปรับปรุงความยั่งยืนสำหรับการดำเนินงานของดาต้า เซ็นเตอร์ทั่วโลก

  • ความพยายามร่วมกันผสมผสานประสบการณ์เทคโนโลยีการดำเนินงานของ Honeywell เข้ากับโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญของ Vertiv เพื่อสร้างการดำเนินงานของดาต้า เซ็นเตอร์ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์ร่วมครั้งแรกเพื่อรวมตัวเลือกที่ชาญฉลาดของทรัพยากรพลังงานเข้ากับวิสัยทัศน์การดำเนินงานและโครงสร้างพื้นฐานจากส่วนกลางเพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน

 

ดาต้า เซ็นเตอร์ช่วยทำให้แอปพลิเคชันออนไลน์ที่ผู้คนต้องพึ่งพาในการทำงาน ความบันเทิงและการสื่อสารนั้นทำงานได้ แต่แอปก็ต้องการพลังที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายข้อมูลทั่วโลก วันนี้ สองผู้นำในอุตสาหกรรมประกาศความร่วมมือเพื่อสร้างการทำงานของดาต้า เซ็นเตอร์ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Honeywell (NYSE: HON) ผู้นำระดับโลกด้านอาคารที่ถูกเชื่อมต่อและ Vertiv (NYSE: VRT) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญและโซลูชันความต่อเนื่องระดับโลกจะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโซลูชันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความยั่งยืน ความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพการดำเนินงานของดาต้า เซ็นเตอร์ โซลูชันเหล่านี้คาดว่าจะพร้อมใช้งานในปี 2020

ความร่วมมือนี้สร้างขึ้นจากระบบการจัดการอาคาร (BMS) ชั้นนำของอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์การดำเนินงาน และผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของ Honeywell พร้อมไปกับแหล่งจ่ายไฟสำรอง (UPS) การกระจายพลังงาน การจัดการความร้อน การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน และโซลูชันแบบโมดูลาร์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับไฮเปอร์สเกล องค์กรขนาดใหญ่ สถานที่ตั้งร่วม และดาต้า เซ็นเตอร์แบบเอดจ์เพื่อรวมโดเมนข้อมูลหลายโดเมนไว้ในดาต้า เซ็นเตอร์ของ Vertiv ทั้งสองบริษัทจะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการดำเนินงานของอาคารเพื่อผลักดันการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่าย ในขณะที่ปรับปรุงประสิทธิภาพของดาต้า เซ็นเตอร์และความยั่งยืน

“ดาต้า เซ็นเตอร์ต้องเผชิญกับความท้าทายเช่นเดียวกับการสร้างอาคารอื่นๆ ที่มีระบบที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกัน แต่พวกเขาประสบกับความท้าทายเหล่านี้ในระดับที่ใหญ่ขึ้น” Vimal Kapur ประธานและซีอีโอของ Honeywell Building Technologies กล่าว “ ราหวังว่าจะได้ร่วมมือกับ Vertiv เพื่อนำเสนอโซลูชันแบบบูรณาการที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานดาต้า เซ็นเตอร์สามารถกลั่นข้อมูลจำนวนมากที่ดึงจากอุปกรณ์ไปสู่การดำเนินการที่สร้างประสิทธิภาพ และการทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น”

“ความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้นสำคัญยิ่งกว่าที่เคยมี ด้วยผู้คนที่ทำงาน เรียนรู้ และเชื่อมต่อจากระยะไกลมากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายของข้อมูลและความต้องการดาต้า เซ็นเตอร์ใหม่ มีความต้องการและโอกาสที่ดาต้า เซ็นเตอร์จะมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือได้ และยั่งยืนมากขึ้น” Rob Johnson ซีอีโอของ Vertiv กล่าว “ความร่วมมือของเรากับ Honeywell จะช่วยให้เราสามารถให้บริการลูกค้าดาต้า เซ็นเตอร์ของเราโดยรวมได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ของเราส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อมอบคุณค่าที่มากขึ้นให้กับผู้ให้บริการดาต้า เซ็นเตอร์”

การทำงานร่วมกันช่วยปรับปรุงการจัดการพลังงานสำหรับช่วงเวลาทำงานได้ ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน

ดาต้า เซ็นเตอร์ในปี 2018 ใช้พลังงานประมาณ 1% ของการใช้พลังงานของโลก ในขณะที่อุตสาหกรรมนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดและชดเชยความต้องการพลังงาน รวมถึงการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ก็สามารถทำงานได้มากขึ้น เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและเป็นกลางด้านคาร์บอนมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่โซลูชันไมโครกริดสำหรับดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อให้สามารถรวมแหล่งพลังงานทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์เชื้อเพลิง และแบตเตอรี่ และเพื่อให้เป็นแนวทางที่ขยายขนาดได้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ

ผลิตภัณฑ์แรกจากความร่วมมือนี้จะเป็นโซลูชันการจัดการพลังงานอัจฉริยะ ที่มีระบบการจัดการทรัพยากรพลังงาน และระบบควบคุมการกำกับดูแลในแพลตฟอร์มเดียวแบบบูรณาการ เมื่อรวมการจัดเก็บพลังงาน การวิเคราะห์ การคาดการณ์และการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ โซลูชันนี้จะช่วยให้ดาต้า เซ็นเตอร์สามารถเลือกแหล่งพลังงานและบริการกริดได้อย่างชาญฉลาดและเป็นอิสระเพื่อดำเนินการโหลดของดาต้า เซ็นเตอร์ และลดต้นทุนด้านพลังงานในขณะที่ยังคงความต้องการของเวลาที่ทำงานได้ โซลูชันนี้สามารถช่วยให้ดาต้า เซ็นเตอร์เป็นไปตามข้อกำหนดความพร้อมใช้งานในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนด้านพลังงาน บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดการเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ดีขึ้น และคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น สภาพอากาศและความน่าเชื่อถือของกริด

การดำเนินงานที่ยืดหยุ่นได้รับการสนับสนุนโดยแบรนด์ที่เป็นที่ได้รับความไว้วางใจ

พลังงานจำนวนมากที่ถูกใช้สำหรับการจัดการระบายความร้อน ระบบอาคา รและความปลอดภัยทางกายภาพภายในดาต้า เซ็นเตอร์สามารถเพิ่มความเสี่ยงสำหรับเวลาที่การทำงานชะงักได้ โซลูชันการจัดการพลังงานอัจฉริยะที่ขยายขนาดได้และใช้งานง่ายใหม่จาก Honeywell และ Vertiv ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาจากระยะไกล ลดต้นทุน ลดความซ้ำซ้อน และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE)

เมื่อถูกรวมกันแล้ว ทั้งสองบริษัทขายแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสาหกรรมที่ให้การสนับสนุนที่แตกต่างที่ดีที่สุดในระดับเดียวกันแก่ดาต้า เซ็นเตอร์ รวมถึงธุรกิจการตรวจจับขั้นสูงของ Honeywell ที่มีเทคโนโลยีตรวจจับควันขั้นสูงของแบรนด์ VESDA แพลตฟอร์มการจัดการประสิทธิภาพขององค์กรของ Honeywell Forge รวมถึง Honeywell Forge Energy Optimization; Enterprise Buildings Integrator (EBI) และ Niagara Framework; และโซลูชันการจัดการพลังงานและความร้อนของ Vertiv™ Liebert®, โซลูชันการตรวจสอบและการจัดการด้านไอทีของ Vertiv™ Avocent™ และโซลูชันการกระจายพลังงาน Vertiv™ Geist™

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือของดาต้า เซ็นเตอร์ Honeywell และ Vertiv โปรดไปที่ https://hwll.co/vqtw6 หรือ http://b.link/3c94d

 

เกี่ยวกับ Vertiv

Vertiv (NYSE: VRT) รวบรวมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ และบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันที่สำคัญของลูกค้าทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการไปอย่างเหมาะสม และเติบโตไปพร้อมกับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขา Vertiv แก้ปัญหาความท้าทายที่สำคัญที่สุด ที่ดาต้า เซนเตอร์ของทุกวันนี้ เครือข่ายการสื่อสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า และอุตสาหกรรม ด้วยการรวมตัวของของพลังงาน ความเย็น และโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่คลาวด์ ไปจนถึงเครือข่าย Vertiv มีสำนักงานใหญ่ในเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพนักงานประมาณ 20,000 คน และดำเนินธุรกิจในกว่า 130 ประเทศ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ข่าวสารล่าสุด และเนื้อหาจาก Vertiv สามารถเข้าดูได้ที่ Vertiv.com

เกี่ยวกับ Honeywell Building Technologies

Honeywell Building Technologies (HBT) เป็นธุรกิจระดับโลกที่มีพนักงานมากกว่า 20,000 คน HBT สร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในอาคารมากกว่า 10 ล้านแห่งทั่วโลก เจ้าของอาคารพาณิชย์และผู้อยู่อาศัยใช้เทคโนโลยีของเราเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ใช้ได้ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ รับชมข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Honeywell Building Technologies ได้ที่ http://www.honeywell.com/newsroom

Honeywell (www.honeywell.com) เป็น บริษัทเทคโนโลยีที่ติดอันดับ Fortune 100 ซึ่งนำเสนอโซลูชันเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการบินและอวกาศ เทคโนโลยีการควบคุมสำหรับอาคารและอุตสาหกรรม และวัสดุที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก เทคโนโลยีของเราช่วยให้เครื่องบิน อาคาร โรงงานผลิตซัพพลายเชน และคนงานเชื่อมต่อกันมากขึ้นเพื่อทำให้โลกของเราฉลาดขึ้น ปลอดภัยขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Honeywell ได้ที่ www.honeywell.com/newsroom

from:https://www.techtalkthai.com/vertiv-honeywell-data-center/

Google Home ได้พันธมิตรเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม Belkin Wemo และ Honeywell

ในงาน CES 2017 ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นว่า Amazon Alexa รุกหนักในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจริงๆ แล้วคู่แข่งอย่าง Google จะอยู่เฉยได้อย่างไร วันนี้ Google จึงประกาศผ่านบล็อกว่ามีพันธมิตรเพิ่มสองแห่ง คือ Belkin Wemo และ Honeywell

Honeywell บริษัททำโซลูชั่นเทคโนโลยี-ระบบควบคุมอัตโนมัติ และเมื่อทำงานกับ Google Home จะช่วยให้ผู้ใช้จัดการกับอุณหภูมิในบ้านโดยไม่ต้องเอาตัวออกมาจากผ้าห่มอุ่นๆ เพียงพูดว่า OK Google เพิ่มอุณหภูมิห้องให้หน่อย

และถ้าผู้ใช้ไม่แน่ใจว่าตัวเองปิดไฟในห้องนอนแล้วหรือยัง ก็สามารถถาม Google Home ได้ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง Google Home กับ Belkin Wemo บริษัททำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ

ปลายปีที่ผ่านมา Google Home เพิ่มพันธมิตรกว่า 30 ราย และยังร่วมมือกับ Mercedes-Benz เชื่อมต่อรถยนต์แม้ตัวจะอยู่ที่บ้าน รวมทั้งสมาร์ททีวีโซนี่อีกหลายรุ่นก็เชื่อมต่อ Google Assistant ได้

ที่มา – Google Blog

from:https://www.blognone.com/node/89511

[PR] ฮันนีเวลล์วางตลาดเซ็นเซอร์รุ่นใหม่ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน และเป็นตัวเสริมเทคโนโลยีการทำความเย็น

อุปกรณ์แปลงสัญญาณแรงดันจะตรวจจับแรงดันในระบบความร้อน เย็น และระบายอากาศ ระบบทำความเย็น           เครื่องอัดลม รวมถึงระบบวาล์วและปั๊มได้อย่างแม่นยำ

กรุงเทพฯ 14 ธ.ค. 2559 – ฮันนีเวลล์ (NYSE: HON) ประกาศขยายไลน์ผลิตภัณฑ์เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันที่ได้รับการออกแบบเพื่อลดต้นทุนรวมของระบบความร้อน เย็นและระบายอากาศ (HVAC) และระบบทำความเย็น โดยวางตลาดฮันนี่เวลล์ PX3 ซีรี่ส์ อุปกรณ์แปลงสัญญาณแรงดันความทนทานสูงซึ่ง ทำหน้าที่แปลงแรงดันให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อก

ฮันนี่เวลล์ PX3 ซีรี่ส์เป็นเซ็นเซอร์ที่คุ้มค่าการลงทุน มาพร้อมตัวหุ้มทองเหลือง รองรับการปรับแต่งใช้งานหลายรูปแบบเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถลดขั้นตอนการดำเนินการและต้นทุนการผลิตลงได้

มร. เกรแฮม โรบินสัน ประธานกรรมการ ธุรกิจเซ็นเซอร์และ IoT (Sensing and IoT) ของฮันนีเวลล์กล่าวว่า “เจ้าของและผู้ดูแลอาคารกำลังเผชิญกับความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพของระบบความร้อน เย็นและระบายอากาศ (HVAC) และระบบทำความเย็น รวมถึงการใช้สารทำความเย็นที่ตรงตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ฮันนีเวลล์ PX3 เป็นผลิตภัณฑ์แปลงสัญญาณแรงดันรุ่นใหม่จากฮันนีเวลล์ที่ใช้พลังงานน้อยจึงช่วยลดต้นทุนด้านระบบพลังงาน พร้อมกับเพิ่มอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์เมื่อใช้กับระบบที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่”

ผลิตภัณฑ์แปลงสัญญาณแรงดันรุ่นใหม่ของฮันนีเวลล์นี้สามารถใช้งานได้กับสารทำความเย็นรุ่นใหม่หลายรุ่นที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากนัก รวมถึงผลิตภัณฑ์ Solstice® N40 ของฮันนีเวลล์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อนต่ำที่สุด ไม่ติดไฟ และเป็นทางเลือกทดแทนสารทำความเย็น R-404A และ R-22 ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน หลายบริษัทที่มีความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเลือกใช้ Solstice® N40 อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อนต่ำกว่าสารทำความเย็น  R-404A (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต) ถึง 68 เปอร์เซ็นต์  การทดลองใช้ Solstice N40 ในซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบว่าช่วยลดการใช้พลังงานลงเมื่อเทียบกับ R-404A ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ในการใช้งานอุณหภูมิต่ำ และลดลง 5-16 เปอร์เซ็นต์ในการใช้งานอุณหภูมิปานกลาง

ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่นี้ขยายช่วงแรงดันของเซ็นเซอร์ไปอยู่ที่ 1 บาร์ถึง 50 บาร์ (15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วถึง 700 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) นอกจากนี้ PX3 ยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้

  • ความต้านทานการแข็งตัว-ละลายตัวของน้ำแข็ง ซึ่งพบได้ทั่วไปในระบบทำความเย็น
  • มีค่าความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่สูง (EMC) ซึ่งปล่อยภูมิคุ้มกันเพื่อให้มีการทำงานคงที่ท่ามกลางสัญญาณไร้สาย ความถี่คลื่นวิทยุสื่อสาร และอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ทนทานต่อแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือน
  • มีช่วงอุณหภูมิขณะใช้งานที่กว้าง
  • การออกแบบที่แข็งแรงโดยมีภูมิคุ้มกันเสิร์จสูงที่ ± 1000 โวลต์ สายไฟลงดินตามมาตรฐาน IEC 61000-4-5

ธุรกิจเซ็นเซอร์และ IoT ของฮันนีเวลล์ มีระบบต่างๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมในเชิงวิศวกรรมไม่ว่าจะเป็น เซนเซอร์ สวิทช์ อุปกรณ์ป้องกันเครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับธุรกิจรับจ้างผลิตทั่วโลกเพื่อให้สามารถยกระดับความแม่นยำ ความสามารถในการทวนซ้ำ และความทนทานให้ดียิ่งขึ้น เซ็นเซอร์ของฮันนี่เวลล์ส่งเสริมระบบความร้อน เย็น และระบายอากาศ รวมถึงระบบทำความเย็นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ และเชื่อถือได้เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน เทคโนโลยีด้านนี้ของฮันนีเวลล์ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุม ตรวจสอบและวางโซลูชั่นแก่ระบบความร้อน เย็น และระบายอากาศควบคู่ไปกับประสิทธิภาพด้านพลังงาน

###

เกี่ยวกับโซลูชั่นส์ด้านความปลอดภัยและการเพิ่มผลผลิตของฮันนี่เวลล์

โซลูชั่นส์ด้านความปลอดภัยและการเพิ่มผลผลิตของฮันนี่เวลล์ นำเสนอโซลูชั่นส์ที่ครอบคลุม ช่วยยกระดับความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ เพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์  ลูกค้าพึ่งพาโซลูชั่นส์ของฮันนีเวลล์ที่มอบเทคโนโลยีความปลอดภัยตลอดเวลา เพิ่มผลผลิตของพนักงาน และสนับสนุนระบบการทำงานแบบอัจฉริยะที่เน้นการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น เราให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ยานยนต์ อาคารเชิงพาณิชย์ หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น การบริการ ณ สถานที่ ธุรกิจสุขภาพ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำมันและก๊าซ พลังงานและไฟฟ้า การแพทย์ ธุรกิจค้าปลีก ห่วงโซ่อุปทาน การทดสอบและการวัด และการเดินทางขนส่ง

ฮันนี่เวลล์ ( http://www.honeywell.com) เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิตและเทคโนโลยีที่หลากหลายซึ่งติดอันดับฟอร์จูน100 บริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านอวกาศ เทคโนโลยีการควบคุมสำหรับอาคาร บ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม เทอร์โบชาร์จเจอร์ และวัตถุดิบอุตสาหกรรมให้แก่ลูกค้าทั่วโลก สามารถติดตามข่าวสาร และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮันนี่เวลล์ได้ที่ www.honeywell.com/newsroom

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-send-new-energy-saving-sensor-into-market/

[PR] ฮันนีเวลล์ เปิดตัว ScanPal EDA50HC โมบาย คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจสุขภาพ

กรุงเทพฯ – 16 ก.ย. 2016 – ฮันนีเวลล์ ( NYSE: HON ) วางตลาดโมบายคอมพิวเตอร์ ScanPal EDA50hc ซึ่งเป็นอุปกรณ์มือถือที่เหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กร เนื่องจากฟังก์ชั่นที่เหมาะสมและความเสถียร จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลิตผลได้ดียิ่งขึ้น

honeywell-unveil-scanpal-eda50hc

ScanPal EDA50hc ได้รับการออกแบบเพื่อการใช้งานของผู้ที่ปฏิบัติงานระดับมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยซึ่งจำเป็นต้องสามารถสื่อสารและดึงข้อมูลที่ต้องใช้ในการบริการและดูแลผู้ป่วย อุปกรณ์รุ่นนี้เหมาะสำหรับการใช้งาน ณ จุดที่ดูแลผู้ป่วย การเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ และการบริหารจัดการวัสดุคงคลังในโรงพยาบาล

ด้วยการออกแบบให้คล้ายกับสมาร์ทโฟนและใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ScanPal EDA50hc จึงไม่ยากสำหรับผู้ใช้ที่จะเรียนรู้การใช้งาน ขณะเดียวกันก็ถูกออกแบบให้ทนทานเหมาะสำหรับการใช้งานในภาพแวดล้อมที่ท้าทาย

ScanPal EDA50hc เป็นโมบายคอมพิวเตอร์ที่คุ้มค่า ช่วยให้ธุรกิจเฮลท์แคร์ให้การบริการที่คล่องตัว ช่วยลดต้นทุนด้านการฝึกอบรม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย และยังช่วยด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลอีกด้วย

honeywell-unveil-scanpal-eda50hc-2

คุณสมบัติเด่นของโมบายคอมพิวเตอร์ ScanPal EDA50hc ได้แก่

  • หน้าจอทัชสกรีนสีขนาดใหญ่ ScanPal EDA50hc มาพร้อมกับหน้าจอทัชสกรีนขนาด 5 นิ้วที่มองเห็นได้ชัดเจนทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง หน้าจอรองรับการสัมผัสด้วยนิ้วที่เปียกชื้น
  • แข็งแรงทนทาน ด้วยสมาร์ทแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนขนาด 4000 มิลลิแอมแปร์ต่อชั่วโมงที่รองรับการใช้งานนานกว่า 12 ชั่วโมง ScanPal EDA50hc สามารถใช้งานได้ตลอดรอบการทำงาน และด้วยน้ำหนักเพียง 270 กรัม จึงสามารถใส่ในกระเป๋าของผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
  • มีโปรเซสเซอร์ที่ทรงพลัง โดดเด่นด้วยโปรเซสเซอร์ Qualcomm® SnapdragonTM410 พร้อมซีพียูขนาด 1.2GHz quad-core ที่ช่วยให้ใช้งานแอพพลิเคชั่นสำคัญ ๆ ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
  • มีฟังก์ชั่นการสแกนที่ถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ อุปกรณ์นี้สามารถอ่านแถบบาร์โค้ดได้ทั้งแบบ 1 มิติ และ 2 มิติ รวมถึงโค้ดผสม และรหัสไปรษณีย์
  • การเชื่อมต่อ ScanPal EDA50hc สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลากหลายประเภทด้วยเทคโนโลยี Bluetooth® และ Wi-Fi จึงสามารถขยายขอบข่ายการใช้งานและการใช้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

เกี่ยวกับโซลูชั่นด้านความปลอดภัยและการเพิ่มผลผลิตของฮันนี่เวลล์

โซลูชั่นด้านความปลอดภัยและการเพิ่มผลผลิตของฮันนี่เวลล์ นำเสนอโซลูชั่นส์ที่ยกระดับประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการทำงานขององค์กร รวมทั้งระบบเซ็นเซอร์สำหรับการใช้งานของลูกค้า ระบบสวิทช์และระบบควบคุมที่ช่วยเพิ่มนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ ลูกค้าพึ่งพาโซลูชั่นส์ของเราเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานและเพิ่มระบบการทำงานแบบอัจฉริยะที่เน้นการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น เราให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ อุตสาหกรรมยานยนต์ การบริการ ณ สถานที่ ธุรกิจสุขภาพ อุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์ ธุรกิจค้าปลีก ซัพพลายเชน การทดสอบและการวัด การขนส่ง และโลจิสติกส์

 

แหล่งที่มาเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-unveil-scanpal-eda50hc/

Honeywell ออก ScanPal EDA50 อุปกรณ์พกพา Android สำหรับองค์กร-โรงพยาบาล

ช่วงหลังๆ เราแทบไม่เห็นอุปกรณ์ประเภท PDA เลย เพราะสมาร์ทโฟนกลืนกินตลาดนี้ไปหมด แต่เอาเข้าจริงแล้ว ตลาดอุปกรณ์พกพาแบบ PDA ยังมีใช้งานอยู่ในบางวิชาชีพอุตสาหกรรม เพียงแต่มันเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น Android แทน

Honeywell บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรม ออกอุปกรณ์พกพา ScanPal EDA50 มาเจาะกลุ่มตลาดองค์กร สเปกของมันคือหน่วยประมวลผล Snapdragon 410, แรม 2GB, จอสัมผัส 5 นิ้วพร้อมกระจก Gorilla Glass เพิ่มความทนทาน, แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ 4,000 mAh, เชื่อมต่อเน็ตและอุปกรณ์อื่นผ่าน Bluetooth/Wi-Fi (ไม่มีฟังก์ชันโทรศัพท์) สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ทั้ง 1/2 มิติ

ScanPal ยังมีรุ่นย่อย EDA50hc สำหรับการใช้งานด้านสุขภาพ ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและทนทานต่อสารเคมีบางประเภทด้วย

ที่มา – Honeywell

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/85602

[PR] ล้อมกรอบการลงทุนในระบบโมบาย คอมพิวติ้ง By Honeywell

การลงทุนในระบบโมบาย คอมพิวติ้ง ในองค์กร ประเด็น “ต้นทุนรวม” (TCO) มักเป็นประเด็นที่อาจเข้าใจได้ง่าย หรือในบางกรณีก็อาจเข้าใจผิดไปเลย จริงอยู่ที่องค์กรธุรกิจสามารถคำนวณราคาค่าจัดซื้อฮาร์ดแวร์ และค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ได้โดยง่าย แต่เมื่อผลการวิเคราะห์ต้นทุนเริ่มต้นเสร็จสมบูรณ์ บ่อยครั้งที่บริษัทหลายแห่งต้องประหลาดใจว่าทำไมต้นทุนด้านไอที ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านไอที การสนับสนุนด้านเทคนิคต่างๆ และซอฟต์แวร์ ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

mobile-computing-investment

การเลือกอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา ( โมบาย ดีไวซ์ ) ที่เหมาะสมกับการใช้งานโมบาย คอมพิวติ้ง ทั้งในแง่ของความเชื่อถือได้ อายุงานของแบตเตอรี่ ความสามารถในการอัพเกรดฟีเจอร์ต่าง ๆ และความทนทานของตัวอุปกรณ์ มีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนรวม เพราะในแต่ละครั้งที่อุปกรณ์ตัวหนึ่ง ๆ เกิดติดขัดหรือต้องการการดูแล ค่าใช้จ่ายจะพุ่งสูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายในการให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและระบบความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ

ประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

องค์กรที่ทำงานด้วยระบบโมบาย คอมพิวติ้ง จำเป็นต้องมีการเลือกโมบาย ดีไวซ์ ที่มีความทนทานในระดับที่มากกว่าอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคลทั่วไป ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วโมบาย ดีไวซ์ ที่มีความทนทานสูงจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำให้สามารถลดต้นทุนรวมได้

ในขณะที่ ราว 80% ของการใช้งานอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคล ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่หลังจากใช้งานไปแล้ว 3 ปี เหตุผลที่อุปกรณ์เหล่านี้มีความทนทานน้อยกว่า ทำให้มีแนวโน้มจะเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่า เพราะออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา และขนาดกะทัดรัด ส่วนโมบาย ดีไวซ์ ที่มีความทนทาน ได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร และสร้างขึ้นเพื่อให้ต้านทานต่อการกระทบกระแทก เมื่อนำอุปกรณ์ไปใช้งานภาคสนาม

ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์มือถือที่มีโอกาสตกลงบนพื้นที่ปูพรม ก็ไม่จำเป็นต้องมีความทนทานเท่ากับเครื่องที่มีโอกาสตกหล่นลงบนพื้นที่เป็นคอนกรีต เป็นต้น ทั้งนี้การตกหล่นเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับโมบาย คอมพิวเตอร์ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์เสียหายและไม่ทำงาน ในการพิจารณาถึงความทนทาน และความเชื่อถือได้ของโมบาย คอมพิวเตอร์ จะต้องวัดจากความต้านทานต่อการตกหล่นลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความแข็งกระด้าง ในระดับความสูงอย่างน้อย 5 ฟุต ซ้ำแล้วซ้ำอีก

อุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานในอนาคต

แง่มุมสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาในการประเมินต้นทุนรวม เมื่อจะลงทุนในเทคโนโลยี โมบิลิตี้ ก็คือขอบเขตที่โมบาย ดีไวซ์ “รองรับการใช้งานในอนาคต (future proof)” หรือสามารถอัพเดทไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องยกเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด ฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ เช่น โมบาย คอมพิวเตอร์ Dolphin 75e ของฮันนี่เวลล์ สแกนนิ่ง แอนด์ โมบิลิตี้ ได้รับการออกแบบให้รองรับความต้องการด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การอ่านบาร์โค้ด 2 มิติ และเป็นอุปกรณ์ที่มีความทนทานเพียงพอที่จะรับแรงกระแทกจากการตกหล่นลงบนพื้นคอนกรีตในระดับความสูง 1.2 เมตร ทั้งยังมีขนาดกะทัดรัดสามารถพกพาไว้ในกระเป๋าได้ อุปกรณ์นี้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และสามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการทุกระบบทั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและในอนาคตได้ตามความต้องการ ซึ่งหมายความว่า การลงทุนด้านอุปกรณ์สื่อสารไร้สายของบริษัท จะเป็นการลงทุนกับอุปกรณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาวและสามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่หมดทั้งชุด

ซอฟต์แวร์ช่วยบริหารจัดการโมบาย คอมพิวติ้ง ได้อย่างยั่งยืน

ในการใช้งานโมบาย คอมพิวติ้ง เราสามารถลดต้นทุนรวมได้ ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์โมบายที่ใช่ บวกกับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาด โดยซอฟต์แวร์บริหารจัดการอุปกรณ์ (DMS) จะช่วยลดต้นทุนค่าจ้างแรงงานและเพิ่มประสิทธิผลทางการผลิตได้ เพราะช่วยให้เจ้าหน้าที่ไอทีทำงานได้อย่างอิสระผ่านอุปกรณ์ที่พวกเขาบริหารจัดการเองได้ โดยไม่ถูกจำกัดในเรื่องของเวลา ลดการใช้แรงงาน และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงาน ณ สถานที่ตั้งอุปกรณ์

DMS สามารถติดตามตรวจสอบการลงทุนด้านโมบาย ดีไวซ์ ของบริษัทด้วยการแสดงภาพสถานะและความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์แบบเรียลไทม์ กรณีที่อุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง DMS จะทำการแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที ซอฟต์แวร์นี้ยังสามารถทำการติดตามการทำงานและควบคุมอุปกรณ์ได้ว่า มีชิ้นส่วนใดที่จำเป็นต้องได้รับการอัพเดทโดยการเทียบคุณสมบัติของอุปกรณ์นั้น ๆ กับการตั้งค่าและคุณสมบัติที่กำหนดไว้

นอกจากนี้ DMS ยังช่วยสร้างประสิทธิผลทางการผลิตสูงสุด โดยดูแลให้แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ทำงานตลอดเวลา และในสภาพการทำงานที่ดีที่สุด และสามารถอัพเดท อัพเกรด รวมถึงทำการบำรุงรักษาได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่รบกวนการทำงาน

แม้ว่าเทคโนโลยีพกพา จะได้รับการตอบรับจากบริษัทต่างๆ แต่ความจำเป็นในการควบคุมต้นทุน ควบคู่ไปกับฐานผู้ใช้งาน และจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้น ก็กำลังกลายเป็นความท้าทายที่มากพอสมควร ดังนั้น การเลือกโมบาย ดีไวซ์ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการติดตั้งเทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการ เช่น ซอฟต์แวร์บริหารจัดการอุปกรณ์ จะสามารถให้ประโยชน์อย่างมหาศาล ในการยืดอายุการใช้งานและเพิ่มความสามารถในการใช้งานโมบาย ดีไวซ์ ตลอดจนการลดต้นทุนรวม

เลือกโมบาย คอมพิวเตอร์ ที่เหมาะกับงาน

คอมพิวเตอร์พกพาหลายๆ รุ่น อาจถูกตัดออกจากการพิจารณาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแบตเตอรี่ไม่สามารถใช้งานอย่างต่อเนื่องได้ยาวนานพอ หรือมีพลังงานสำรองไม่เพียงพอสำหรับอายุการใช้งาน 3-5 ปี คุณสมบัติต่างๆ เช่น โครงสร้างที่ทนทาน ระบบปฏิบัติการสนับสนุนที่ดี ความสามารถในการจัดการจากระยะไกล และอุปกรณ์เสริมที่มีความยืดหยุ่น จะช่วยสร้างมูลค่าให้กับองค์กรธุรกิจ เพราะจะช่วยดูแลให้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ก่อนเวลาอันสมควร องค์กรธุรกิจจะสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับองค์กรได้ หากมีความเข้าใจคุณสมบัติเหล่านี้ ว่าเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างให้กับอุปกรณ์ และด้วยการพิจารณาสภาพแวดล้อมที่จะนำโมบาย คอมพิวเตอร์ ไปใช้งานอย่างรอบคอบ

บทความโดย

นายตะวัน จันแดง

ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน บริษัท ฮันนี่เวลล์ ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) จำกัด

honeywall-tawan-jandang

 

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-mobile-computing-investment/

[PR] ซัพพลายเชนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน By Honeywell

ในอดีตที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) เกิดจากการขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่วันนี้ วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้บริโภคกลับเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และกำหนดรูปแบบของอุตสาหกรรม สังคมแบบ “ต้องได้เดี๋ยวนี้ (get it now)” ที่เราอยู่กันในปัจจุบัน กำลังเรียกร้องการเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้แบบทันที ในขณะที่ครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ต เคยถูกมองว่าเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นตลอดเวลาผ่านทางคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต  ได้เปิดประตูให้กับการทำธุรกิจผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ซึ่งสามารถซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา

supply-chain-trend-by-honeywell

การปรับตัวสู่ยุคของซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนด้วยอี-คอมเมิร์ซ

ตัวอย่างตลาดในประเทศออสเตรเลียซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีเขตแดนติดกับประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกามีเขตแดนติดกับแคนาดาและเม็กซิโก หรือประเทศต่างๆ ในยุโรปที่มีแนวเขตแดนติดต่อกัน ในอดีตบ่อยครั้งที่ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเดี่ยวดังกล่าว เป็นปัจจัยลบสำหรับผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย เพราะเมื่อมีการขยายจำนวนร้านค้ารูปแบบเดิมซึ่งต้องมีที่ตั้งทางกายภาพ (bricks and mortar) ร้านค้าเหล่านั้นจึงเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในประเทศเท่านั้น

อี-คอมเมิร์ซ สามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตสินค้าและผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในการขยายตลาดออกไปนอกประเทศ และขายสินค้าไปยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดตลาดที่ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียสามารถเข้ามามีบทบาท และมีทางเลือกมากขึ้น เพราะธุรกิจต่างประเทศที่เข้ามาจะเพิ่มการแข่งขันให้กับผู้ค้าปลีกในท้องถิ่น

แบรนด์ชั้นนำต่างๆ เช่น ร้านอัญมณีทิฟฟานี่แอนด์โค ซึ่งในอดีตแบรนด์นี้เลือกตั้งร้านเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง ดังนั้นจึงมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เท่านั้น  แต่ปัจจุบันเมื่อมีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ นั่นหมายความถึงการที่จะสามารถขายสินค้าให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตัวอย่างเช่น ชาวออสเตรเลียที่อยู่ในเขตชนบทห่างไกลของเมืองโบรคเค่น ฮิลล์ ก็สามารถสั่งซื้อสร้อยคอจากทิฟฟานี่ ผ่านทางออนไลน์ได้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ คือการเคลื่อนไหวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ ดีเอชแอล (DHL) เฟดเอ็กซ์ (FedEX) และยูพีเอส (UPS) ซึ่งต้องการขยายการให้บริการและการดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั่วโลก ในทางกลับกัน การนำเสนอบริการและการเข้าถึงได้ทั่วโลกเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ค้าปลีกอย่างมาก ในการเพิ่มช่องทางการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ นอกเหนือจากรายเดิมที่มุ่งเน้นให้บริการแต่ภายในภูมิภาค  ปัจจุบัน ผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลก ได้มอบข้อเสนอด้านบริการเสริม (add-on services) ให้กับผู้ค้าปลีก เช่นบริการที่วงการขนส่งเรียกว่า “การขนส่งสินค้าเที่ยวขาไป (front hauling)” และ “การขนส่งสินค้าเที่ยวขากลับ (back hauling)”  ซึ่งหมายความว่า ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ สามารถทำประโยชน์จากการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยไม่เพียงการจัดส่งสินค้าไปยังเขตเมือง ภูมิภาค หรือพื้นที่ห่างไกลทั่วโลก แต่ยังรวมถึงการนำสินค้ากลับมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าส่งออก สินค้าที่ลูกค้าส่งคืน หรือการโอนถ่ายสินค้าระหว่างร้านค้า ทั้งทางอากาศหรือทางภาคพื้นดิน

แม้ผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับอี-คอมเมิร์ซ แต่พวกเขาก็ไม่ได้เกาะติดกระแสนี้ โดยปราศจากการเผชิญความท้าทายมากมายมาก่อน แรงกดดันสำคัญหลายด้าน รวมไปถึงการที่ อี-คอมเมิร์ซ ทำให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าชิ้นเล็กๆ จำนวนมาก และส่งผลให้จำนวนครั้งในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันลูกค้าก็คาดหวังให้การจัดส่งสินค้าใช้เวลาน้อยลง สำหรับในประเทศที่มีเขตแดนทางบกติดต่อกัน ผู้ผลิตสินค้าหลายรายสามารถสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อดำเนินการจัดส่งให้แทน แต่สำหรับผู้ประกอบการชาวออสเตรเลีย ไม่มีทางเลือกข้อนี้ และพวกเขายังคงต้องใช้ศักยภาพผู้ให้บริการขนส่ง และโลจิสติกส์ที่มีอยู่เดิม ที่ออกแบบมาสำหรับการจัดส่งสินค้าจำนวนมากให้กับร้านค้าภายในประเทศ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมองหาบริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 (3PL) ซึ่งมีการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศไว้แล้ว

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ และศูนย์กระจายสินค้า (DCs) ต่างกำลังมองหาวิธีการรับมือกับสินค้าชิ้นเดี่ยวๆ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งเคยได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดส่งสินค้าให้ร้านค้าเท่านั้น ก็ต้องส่งสินค้าผ่าน 2 ช่องทาง คือ การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ และการสั่งซื้อจากร้านค้า ยิ่งไปกว่านั้น การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ ต้องการบริการจัดส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการส่งสินค้าไปยังร้านค้าตามรูปแบบซึ่งศูนย์ฯ เหล่านี้ได้รับการออกแบบมา

ในการรับมือกับแรงกดดันจากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ทั้งผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3  และศูนย์กระจายสินค้า จำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยี ซึ่งออกแบบมาสำหรับสนับสนุนคำสั่งซื้อจำนวนมากๆ รวมถึงความเร็วในการจัดส่งสินค้า เทคโนโลยีที่เป็นโซลูชั่นด้านเสียง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มประสิทธิผลขึ้น 25-35%  นั่นหมายความว่า สามารถรับคำสั่งซื้อจำนวนมากขึ้น และทำการจัดส่งได้ในเวลาที่สั้นกว่าเดิม โดยโซลูชั่นนี้มีความเที่ยงตรงในการรับคำสั่งเสียงถึงเกือบ 100% และความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญในการทำอี-คอมเมิร์ซ เพราะความพึงพอใจของลูกค้า เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดซึ่งจะทำให้กลับมาเป็นลูกค้าซ้ำอีก  ในทางกลับกัน หากผู้บริโภคได้รับสินค้าผิดพลาดไปจากคำสั่งซื้อ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่กลับมาซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายนั้นอีก

ยุครุ่งเรืองของการย้ายฐานกลับ (Re-Shoring)

การที่ออสเตรเลียและภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาผู้ผลิต และผู้กระจายสินค้าจากส่วนอื่น ๆ ของโลกมาเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และชนชั้นกลางในอาเซียนที่เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ความต้องการสินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เหตุผลสนับสนุนอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตของออสเตรเลีย เริ่มมองเห็นโอกาสการย้ายฐานการดำเนินงานกลับประเทศ (re-shore) ก็คือหลายประเทศในเอเชียซึ่งก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจของออสเตรเลีย เคยว่าจ้างให้ดำเนินงานแทนบางส่วนเพราะมีค่าแรงต่ำกว่า กำลังปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน  ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความเข้าใจว่า หรือในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับการลดคุณภาพสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไป และท้ายสุด ก็คือพบสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองในหลายประเทศที่เข้าไปตั้งฐานผลิต  การย้ายฐานกลับประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้โอกาสของการตั้งโรงงานผลิตในออสเตรเลียน่าสนใจยิ่งขึ้น

supply-chain-trend-honeywell

ปัจจัยเหล่านี้ ยังรวมไปถึงการยื่นข้อเสนอให้ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย มีโอกาสโยกย้ายฐานผลิตกลับประเทศ หลังจากที่เคยย้ายไปตั้งนอกประเทศในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานกลับ เป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะเมื่อครั้งที่เคยย้ายการผลิตไปประเทศอื่น บ่อยครั้งที่บริษัทผู้ผลิตและโรงงานสัญชาติออสเตรเลีย ได้สูญเสียแรงงาน และโรงงานในท้องถิ่นไปแล้ว

ดังนั้น แทนที่จะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ใหม่หมด ตลอดจนการจ้างพนักงานใหม่ หลายๆ ธุรกิจจะมองหาการว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านโรงงาน ระบบ และบุคลากรเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าแทน ทั้งนี้ อาจมีการติดต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 เพื่อมาทำงานร่วมกับโรงงานผลิต และรับดำเนินงานอื่นๆ ในระบบซัพพลายเชน เช่น การรับและจัดเก็บวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าต้องใช้ การเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านกระบวนการผลิต รวมถึงการส่งคืนสินค้าสำเร็จรูปกลับไปยังคลังสินค้า การหาสินค้าและการจัดส่ง (picking and shipping) ในบางครั้ง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 อาจต้องมีการดำเนินงานในอาคารที่แยกออกมาจากส่วนโรงงานผลิต หรือสามารถทำงานทั้งสองส่วนภายในอาคารเดียวกันได้

สำหรับการดำเนินงานทั้งในส่วนของโรงงานผลิต และโลจิสติกส์ภายในอาคารเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะมีการบูรณาการระบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS) เข้ากับเทคโนโลยีการอ่าน และระบุข้อมูลอัตโนมัติ (AIDC) ซึ่งครอบคลุมถึง เทคโนโลยีด้านเสียง เข้าไว้ในกระบวนการทำงานทั้งหมด โซลูชั่นนี้สร้างความได้เปรียบไม่เพียงการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ตลอดเส้นทางในห่วงโซ่อุปทาน แต่ยังรวมถึงการติดตามสถานะกระบวนการผลิต ให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิต และทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ในกรณีที่การผลิตในขั้นต่อไป อาจเป็นเหตุที่กระทบโดยอัตโนมัติ ต่อการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตให้ได้สูงสุด

ทั้งนี้ ความสามารถในการตรวจสอบสินค้าย้อนกลับแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต ยังหมายถึงการที่โรงงานผลิต อยู่ในสถานะที่สามารถตอบโจทย์ด้านกฎระเบียบและมาตรฐานระบบตรวจสอบย้อนกลับ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล

ทางรอดสู่อนาคตของอุตสาหกรรมซัพพลายเชน

ภาคธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมซัพพลายเชน ที่มีการลงทุนด้านโซลูชั่นการอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด ทั้งด้านการผลิต ความเที่ยงตรง และความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ จะเป็นผู้ครองตำแหน่งผู้นำระดับแนวหน้าในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ให้กับลูกค้าทั้งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนเปิดสู่ช่องทางใหม่ๆ ในการทำตลาดระหว่างประเทศ

from:https://www.techtalkthai.com/supply-chain-trend-by-honeywell/

Honeywell เปิดโควต้าฟรี 10 ที่นั่ง งานสัมมนาเทคโนโลยี IT สำหรับงาน Supply Chain

image002

สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาแนวทางในการปรับปรุงระบบ Supply Chain โดยอยากจะมีการนำเทคโนโลยีและ Internet of Things เข้าไปช่วย ทาง Honeywell ได้จัดงาน Honeywell Executive Luncheon Forum สำหรับหัวข้อเทคโนโลยี Supply Chain โดยเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้ครับ

วัน: 5 สิงหาคม 2558
เวลา: 11:30 น. – 17:00 น.
สถานที่: ห้องบอลรูม 3 โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

กำหนดการ

11:30 น. ลงทะเบียน/รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. กล่าวต้อนรับโดยฮันนี่เวลล์
13:05 น. เปิดประสบการณ์กับ นายวรการ ศรีนวลนัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด
13:50 น. วิวัฒนาการของเครือข่ายซัพพลายทั่วโลก นายตะวัน จันแดง ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน ฮันนี่เวลล์ สแกนนิ่ง แอนด์ โมบิลิตี้
14:30 น. ร่วมสัมผัสประสบการณ์และชมการสาธิตโซลูชั่นด้านซัพพลายเชนแบบครบวงจร พร้อมของว่าง ชา/กาแฟ

  • Warehouse & Distribution Centre Operations
  • Creating Holistic In-Store Experiences
  • Transport & Logistics Support
  • Efficient Voice for Hands-free Workflows

16:30 น. เน็ตเวิร์คกิ้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

งานนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการวางแผนด้าน Supply Chain, Warehouse และทีม IT ขององค์กรที่มีความต้องการในการปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้ดีขึ้นครับ เพราะจะได้เห็นภาพรวมของระบบที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปใช้ ควบคู่ไปกับแนวคิดในการออกแบบระบบเหล่านี้ และเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังนั่นเองครับ

ทั้งนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับโควต้าเข้าร่วมงานจาก Honeywell สำหรับผู้อ่านฟรีจำนวนทั้งสิ้น 10 ที่นั่งครับ ถ้าหากใครสนใจโควต้านี้ก็ลงทะเบียนด้านล่างนี้ได้เลย และทางทีมงาน Honeywell จะทำการสุ่มผู้โชคดีและติดต่อกลับไปครับ

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-it-for-supply-chain-management-seminar/