คลังเก็บป้ายกำกับ: HM

H&M กลับมาขายในอาลีบาบาได้แล้ว หลังโดนคว่ำบาตรจากจีนเรื่องแรงงานซินเจียง

H&M แบรนด์แฟชั่นสัญชาติสวีเดนหลังจากออกมาประกาศแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง จีน จนในที่สุดก็ถูกคนจีนรุมแบน จนต้องถูกถอดออกจากหน้าร้าน Alibaba บนแพลตฟอร์ม Taobao ไปนั้น หลังจากเวลาผ่านไปปีกว่า ตอนนี้ H&M กลับมาแล้ว

H&M
ภาพโดย MediaPhoto.Org (mediaphoto.org Own work) [CC BY 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by/3.0)%5D, via Wikimedia Commons

มีการค้นหาในแพลตฟอร์ม Tmall ก็พบชื่อแบรนด์ H&M กลับเข้ามาแล้วมีลูกค้าท้องถิ่นหรือลูกค้าจีนติดตามอยู่ 14.33 ล้านแอคเคาท์ H&M ปรากฎทั้งในส่วนของสินค้าแบรนด์ต่างประเทศและแบรนด์จีน อย่างไรก็ดีการค้นหาแบรนด์ดังกล่าวยังไม่ปรากฏในแพลตฟอร์มของ JD.com และ pinduoduo ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ในที่สุด H&M ก็กลับมาครองตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกได้แล้วแม้ว่าอาจจะยังไม่ครบทุกแพลตฟอร์มก็ตาม แม้ผู้บริโภคชาวจีนจะออกมาต่อต้านก่อนหน้าแต่รัฐบาลจีนก็ไม่ได้มีท่าทีใดๆ ต่อการบอยคอตต์ดังกล่าวไม่ว่าจะ H&M, Nike, Adidas หรือ Burberry ไม่ใช่แค่ชาวจีนแต่ยังมีคนดังที่ออกมาแสดงตัวไม่ร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลกดังกล่าวด้วย แต่เดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา H&M ก็โดนปรับราว 3.8 หมื่นเหรียญสหรัฐหลังโฆษณาแล้วทำให้คนเข้าใจผิดว่าสินค้านั้นมีขายที่จีนเท่านั้น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการบอยคอตต์จากลูกค้าชาวจีน หนึ่งในกรณีที่เป็นข่าวดัง เช่น ในช่วงปี 2018 ก็มีแบรนด์หรูอย่าง Dolce & Gabbana ที่ถูกบอยคอตต์หลังเหยียดเชื้อชาติด้วยการโฆษณาการกินพิซซ่าด้วยตะเกียว ตามด้วยคำพูดจาวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่สุภาพจากผู้ก่อตั้งแบรนด์ จนทำให้เกิดการบอยคอตต์ครั้งใหญ่ของคนจีนตามมา

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post H&M กลับมาขายในอาลีบาบาได้แล้ว หลังโดนคว่ำบาตรจากจีนเรื่องแรงงานซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/h-and-m-return-alibaba-china/

จับกระแส Fast Fashion เมื่อ Topshop ออกจากตลาดไทย แล้วใครจะขึ้นมาแข่ง Uniqlo-Zara-H&M

Fast Fashion ในไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เพราะ Topshop เพิ่งประกาศยุติการทำตลาดในวันที่ 1 ส.ค. ตามรอย Forever 21 ที่ปิดไปเมื่อปี 2018 แล้วจากนี้ใครจะขึ้นมาแข่งกับ Uniqlo, Zara และ H&M

topshop

วิกฤต Topshop ในต่างประเทศสู่ไทย

Topshop คือแบรนด์ Fast Fashion ระดับโลก ก่อตั้งที่สหราชอาณาจักร เคยเป็น Big 4 ในตลาดนี้กับ Uniqlo, Zara และ H&M แต่การบริหารงานที่ผิดพลาด ประกอบกับกระแส Fast Fashion ไม่เติบโตเหมือนในอดีต สุดท้าย Topshop จึงประกาศล้มละลาย และถูกซื้อไปโดย ASOS ผู้ขายเสื้อผ้าออนไลน์ยักษ์ใหญ่จากสหราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตาม Asos ซื้อแค่แบรนด์ Topshop ไม่รวมหน้าร้าน กับสินทรัพย์อื่น ๆ Topshop จึงถูกลอยแพ และไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ ล่าสุดทิศทางนี้อาจส่งผลถึงตลาดไทยที่ บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG) ผู้นำเข้าแบรนด์นี้ประกาศยุติการทำตลาด Topshop ในไทย ผ่านการปิดสาขา และโยกพนักงานไปรับผิดชอบธุรกิจอื่น ๆ

ในทางกลับกันตลาด Fast Fashion ในไทยแข่งขันกันสูงมาก สังเกตจากทุกร้านต่างแปะป้าย Sale กันทุกช่วงเวลา ยิ่งสาขาของ Topshop ก่อนปิดตัววันที่ 1 ส.ค. ทยอยลดลงจนเหลือแค่ 4 สาขาทั่วไทย สวนทางกับ 3 ยักษ์ใหญ่ที่เปิดสาขาใหม่ต่อเนื่อง จึงไม่แปลกที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ยิ่งดูยิ่งคล้ายกับกรณีของ Forever 21 เมื่อปี 2018

Forever 21

Fast Fashion ในประเทศไทยไม่ง่าย

ภาพรวมตลาด Fast Fashion ในประเทศไทยก่อนโรค COVID-19 ระบาด หลายฝ่ายคาดว่ามีมูลค่าราว 30,000 ล้านบาท และเติบโต/ปีเกือบ 10% แต่พอโรคดังกล่าวระบาด ทุกอย่างก็พลิกผัน และยังไม่มีใครออกมาคาดการณ์ถึงตัวเลขนึ้ และหากดูรายได้ธุรกิจแฟชั่นของ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น บริษัทแม่ของ CMG พบว่าลดลงหนัก

ยอดขายในไตรมาส 1 2021 ยอดขายธุรกิจแฟชั่นของ บมจ.เซ็นทรัล รีเทลฯ อยู่ที่ 9,751 ล้านบาท ลดลง 21% จากไตรมาส 1 2020 แม้ตัวเลขดังกล่าวจะรวมธุรกิจแฟชั่นทั้งในอิตาลี และแบรนด์ต่าง ๆ แต่มันก็พิสูจน์ว่า แบรนด์แฟชั่นอยู่ยาก ยิ่งต้อง Learn from Home และ Work from Home ก็ไม่รู้จะซื้อเสื้อผ้าทำไม

การหยุดเลือดด้วยการปิด Topshop โดย CMG จึงกลายเป็นคำตอบในการประคองธุรกิจให้ไม่เผชิญกับค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปมากกว่านี้ ถือเป็นการปิดฉาก Topshop ในประเทศไทยที่ไม่สวยงามนัก เพราะถึงขนาดหน้า Facebook Page ยังไม่เหลือ แถมสินค้าที่จำหน่ายใน central.co.th ก็ไม่มีอีกแล้ว

topshop

Uniqlo-H&M-Zara แย่ไม่แพ้กัน

จบการอัพเดทข่าวคราว Topshop คราวนี้ลองมาดูผลประกอบการของ 3 ยักษ์ใหญ่ Fast Fashion ในไทยกันบ้าง เริ่มด้วย Uniqlo ภายใต้ บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปิดรายได้รวมปี 2021 ที่ 10,606 ล้านบาท ลดลง 13.33% จากปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิปิดที่ 2,007 ล้านบาท ลดลง 17.22%

ต่อด้วย H&M ภายใต้ บริษัท เอชไทย (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งรายได้รวมปี 2021 ที่ 4,596 ล้านบาท ลดลง 6.55% กำไรสุทธิปิดที่ 261 ล้านบาท ลดลง 30.4% ส่วน Zara ภายใต้ บริษัท กากันท์ (ประเทศไทย) จำกัด ปิดรายได้รวมปี 2021 ที่ 3,040 ล้านบาท ลดลง 39.64% ขาดทุนสุทธิ 25 ล้านบาท ลดลง 161%

เรียกว่าเจ็บกันทั่วหน้าในปี 2563 สำหรับธุรกิจ Fast Fashion และยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นกลับมาในปีนี้ได้หรือไม่ เพราะการระบาดของโรค COVID-19 ในไทยยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง และถึงจะมีเวลาฟื้นตัวกลับมาบ้าง แต่ช่วงหลังเจอระบาดอย่างหนัก และทำให้ห้างสรรพสินค้าต้องปิดบริการชั่วคราว จะพึ่งแต่ช่องทางขายออนไลน์ก็คงไม่ไหว

ovs

แล้วใครจะขึ้นมาแทนที่ Topshop?

จริง ๆ แล้ว ในไทยมีแบรนด์ Fast Fashion เข้ามาทำตลาดมากมาย ไล่ตั้งแต่แบรนด์นอก เช่น OVS ของกลุ่มไมเนอร์, Cotton On และ Mango หรือจะเป็นแบรนด์ไทยเช่น Jaspal ที่มีแบรนด์ในเครือมากมาย รวมถึง Fast Fashion ที่เน้นจำหน่ายออนไลน์อย่าง Pomelo หรือ Shein

แต่ฝั่งแบรนด์ไทย และแบรนด์นอกต่างพึ่งพาหน้าร้านในศูนย์การค้าเป็นหลัก ส่วนหน้าร้านออนไลน์ยังไม่ส่งผลกับภาพรวมยอดขายนัก ดังนั้นแบรนด์ออนไลน์ล้วนอย่าง Pomelo และ Shein ที่ไม่มีต้นทุนเรื่องสาขา (มีเปิดบ้าง แต่เป็นสาขาขนาดเล็ก) อาจได้เปรียบในการทำตลาดภายใต้วิกฤตนี้

หากนำความสากล และความเชี่ยวชาญการทำธุรกิจ ผู้เขียนมองว่า OVS อาจขึ้นมาแทนที่ตำแหน่ง Topshop เพราะมีเกือบสิบสาขาในไทย และความเป็นแบรนด์จากอิตาลีก็น่าจะช่วยได้ไม่น้อย แต่ก็ห้ามมองข้ามกลุ่มแบรนด์ไทย Jaspal เพราะปี 2021 มีรายได้รวม 6,550 ล้านบาท ลดลง 25.8% ขาดทุนสุทธิ 144 ล้านบาท ลดลง 150%

อ้างอิง // บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จับกระแส Fast Fashion เมื่อ Topshop ออกจากตลาดไทย แล้วใครจะขึ้นมาแข่ง Uniqlo-Zara-H&M first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/fast-fashion-thailand-2021/

H&M โดนอีกแล้ว! ยอดขายในจีนตก หลังประกาศแบนฝ้ายจากซินเจียง

H&M

จากการเปิดผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ H&M พบว่ายอดขายในจีนได้รับผลกระทบหลังทางแบรนด์ออกมาปฏิเสธการใช้ฝ้ายที่ผลิตในซินเจียง

ยอดขาย H&M ในจีนที่เคยเป็นสิบอันดับแรกของแบรนด์ปัจจุบันร่วงลงมา 28% ในไตรมาสที่สองของปีก่อนจากรายงานผลประกอบการรายไตรมาส

สำหรับสาขาของ H&M ในจีนมีทั้งหมด 489 สาขา ณ วันที่ 31พฤษภาคม แต่ในไตรมาสที่ 2 จำนวนสาขาใหม่มีจำนวนลดลง 13 แห่ง

ไม่ใช่แค่ H&M ที่ออกมาต่อต้านการใช้ฝ้ายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์ แต่ยังมีอีกหลายบริษัทพร้อมกับรัฐบาลในหลายประเทศที่ต่อต้าน แม้จีนจะออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงาน

ใครประกาศไม่ใช้ฝ้ายซินเจียงก็ต้องถูกชาวจีนแบน

การที่ H&M ปฏิเสธการใช้ฝ้ายซินเจียงที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคพร้อมใจกันงดซื้อสินค้า ซึ่งก็เคยเห็นกันมาแล้วกับแบรนด์อื่นที่เคยประกาศงดใช้ฝ้ายจากซินเจียง

แบรนด์กีฬายักษ์ใหญ่อย่าง Nike และ Adidas ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เคยเป็นที่นิยมแต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าชาวจีน จนผู้บริหารระดับสูงของ Nike ต้องออกมาบอกว่า Nike เป็นแบรนด์ของจีนและสำหรับจีนเพื่อดึงฐานลูกค้ากลับมา

ที่มา: Global Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post H&M โดนอีกแล้ว! ยอดขายในจีนตก หลังประกาศแบนฝ้ายจากซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/hm-china-sales-drop-after-ban-xinjiang-cotton/

เอาใจจีนผิด ชีวิตเปลี่ยน: H&M กำลังถูกคนเวียดนามแบนเพราะวาดแผนที่ตามใจจีน

H&M เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่อออกมาแถลงการณ์ไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จนโดนคนจีน ลูกค้าชาวจีนรุมคว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้า H&M ถูก 3 ยักษ์ใหญ่บริษัทจีน ทั้ง Pinduoduo, Jingdong และ Tmall เอาทั้งช่องค้นหาแบรนด์ H&M และสินค้าออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเป็นการโต้กลับการแถลงการณ์ของ H&M เนื่องจากมองว่าเป็นข้อความที่โจมตีจีน จน H&M ต้องออกมาชี้แจงว่าคำแถลงการณ์นั้นไม่ใช่การแสดงจุดยืนทางการเมืองและยังเคารพต่อลูกค้าชาวจีนเสมอ ล่าสุด H&M กำลังโดนคนเวียดนามแบนสินค้าเพราะปัญหาที่มาจากแผนที่ซึ่งเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ 

็Vietnam boycott H&M cause of South China Map

ประเด็นความขัดแย้งเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนในบริเวณหมู่เกาะทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับหลายประเทศในบริเวณหมู่เกาะนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีเหตุพิพาทกันมาเนิ่นนานแล้วและประเด็นการเมืองเหล่านี้คาบเกี่ยวกับเศรษฐกิจในแง่แย่งชิงสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ที่รุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรใต้ท้องทะเลจนนำไปสู่การแบนสินค้าหลายต่อหลายครั้งจากประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งและประเทศที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก Vietnam Times รายงานว่า จีนระบุไว้เมื่อ 2 เมษายนที่ผ่านมาว่า H&M เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนแปลงแผนที่เจ้าปัญหาตามคำวิพากษ์วิจารณ์ของทางการจีนที่กดดัน H&M ค้าปลีกแบรนด์แฟชั่นแห่งสวีเดน หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกันในประเด็นบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จีน รายละเอียดจาก Nikkei Asia ระบุว่า H&M เผยแพร่ภาพที่เป็นแผนที่บนเว็บไซต์โดยมีพื้นที่ที่เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้และระบุว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ที่เป็นพรมแดนของจีน

ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์และเฟสบุคชาวเวียดนามจึงเผยแพร่ภาพแผนที่ดังกล่าวและเอาภาพที่เวียดนามอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้มาเทียบกัน จากนั้นจึงเรียกร้องให้ H&M ออกมาขอโทษหรือไม่ก็ปิดหน้าร้านของ H&M ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเสีย สาเหตุที่ระบุเช่นนี้เพราะทะเลจีนใต้กินอาณาบริเวณตอนใต้ของจีน ตอนใต้ของเมืองไห่หนาน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนามซึ่งล้วนอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

H&M Vietnam
H&M สาขาแรกในเวียดนาม Vietnam / H&M

ทั้งนี้ รัฐบาลท้องถิ่นแห่งเซี่ยงไฮ้ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ระบุว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรายงานให้จัดการกับเว็บไซต์ของ H&M กรณีสร้างแผนที่ที่น่าจะเป็นปัญหาต่อจีน ทางเซี่ยงไฮ้จึงขอให้ H&M แก้ไขโดยด่วน ด้านผู้จัดการ H&M แก้ไขข้อผิดพลาดตามที่จีนกล่าวอ้างโดยเร็ว จนในที่สุดก็เกิดปัญหาเพิ่มเมื่อเวียดนามมาเห็นภาพดังกล่าวแล้วพบว่าไม่เป็นความจริงอย่างที่จีนกล่าวอ้าง

H&M ก่อตั้งในปี 1947 มีหน้าร้านอยู่ทั่วโลกราว 4,372 แห่ง มีหน้าร้านออนไลน์ 52 แห่ง มีหน้าร้านอยู่ในเวียดนาม 12 แห่ง อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีที่ชาวเวียดนามประท้วงและบอยคอตต์แบรนด์ ด้าน H&M ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้

ที่มา – Nikkei Asia, Vietnam Times, H&M (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เอาใจจีนผิด ชีวิตเปลี่ยน: H&M กำลังถูกคนเวียดนามแบนเพราะวาดแผนที่ตามใจจีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/vietnam-boycott-hm-cause-of-south-china-sea-map/

ร้าน H&M เริ่มหายไปจากแอพจีนและ Apple Maps ในจีน จากปัญหาแรงงานอุยกูร์

H&M แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังที่มีกว่า 400 สาขาในประเทศจีน แต่กำลังโดนบอยคอตต์โดยสื่อและรัฐบาลจีนอย่างหนัก หลังประกาศไม่มีความเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง เนื่องจากปัญหาสิทธิมุนษยชน และการใช้แรงงานแบบบังคับ (forced labor)

แม้ H&M จะออกมาโพสต์บน Weibo ว่าบริษัทไม่เกี่ยวข้องกับจุดยืนทางการเมืองใดๆ และยังให้ความเคารพผู้บริโภคในประเทศจีนอยู่เสมอ แต่กระแสบอยคอตต์ก็ไม่ได้ซาลง

ล่าสุดผู้ใช้ในจีน ไม่สามารถค้นหาที่ตั้งร้าน H&M บน Apple Maps ได้ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่ง Apple ยังไม่มีการแถลงชี้แจงใดๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่คาดว่าสาเหตุมาจาก Apple Maps ใช้บริการบริษัท AutoNavi ในประเทศจีน เพื่ออัพเดตและจัดทำแผนที่ และ AutoNavi อาจถอดตำแหน่งร้าน H&M ออกเนื่องจากกระแสบอยคอตต์ หรือตามคำสั่งของรัฐบาลจีน เพราะตำแหน่งร้าน H&M ก็หายไปจากแอปเรียกรถ และแอปอีคอมเมิร์ซต่างๆ ในประเทศจีนเช่นกัน

H&M เป็นอีกแบรนด์ที่กำลังโดนกระแสต่อต้านในจีน หลังแสดงจุดยืนในประเด็นการใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง โดยก่อนหน้านี้แบรนด์ Zara และ Nike ก็โดนกระแสต่อต้านจากชาวจีนเช่นกัน หลังออกประกาศไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการใช้แรงงานชาวอุยกูร์

ที่มา – The Wall Street Journal via The Verge

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/121913

Nike และ H&M ถูกคว่ำบาตรในจีน หลังต่อต้านการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์

Nike, H&M และแบรนด์ตะวันตกอื่นๆ ถูกคว่ำบาตรในจีน หลังแบรนด์แสดงจุดยืน ต่อต้านการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในรัฐซินเจียงเพื่อผลิตผ้าฝ้าย

โดยหลังจากทั้งสองแบรนด์ได้แสดงความกังวลถึงการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในจีนจุดกระแสคว่ำบาตรอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา

ถูกถอดร้านค้า อินฟลูเอนเซอร์แบน

H&M แบรนด์เครื่องแต่งกายที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกถูกดึงร้านค้าออกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง ส่วน Nike, Adidas แบรนด์ตะวันตกอื่นๆ ถูกอินฟลูเอนเซอร์จีนตัดความสัมพันธ์ และถูกผู้บริโภคต่อต้าน

กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหารัฐบาลจีนหลายครั้งว่ากักขังชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่นๆ ในค่าย และบังคับใช้แรงงานให้อยู่ในส่วนหนึ่งของห่วงโซ่เทคโนโลยีและค้าปลีกระดับโลก

ผู้ใช้ Weibo โซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ในจีน ประณามจุดยืนของบริษัทโดยส่วนหนึ่งระบุว่า “ฉันสนับสนุนผ้าฝ้ายจากซินเจียง” “เสื้อผ้าของ H&M เป็นผ้าขี้ริ้ว”

ในปีที่ผ่านมา บริษัทตะวันตกหลายแห่งได้ประกาศว่าจะตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าปราศจากผลิตภัณฑ์ฝ้ายจากซินเจียงหลังเกิดข้อกล่าวหาเรื่องบังคับใช้แรงงาน

ความกังวลเกี่ยวกับชาวอุยกูร์ ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมากขึ้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรปเริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่รัฐในซินเจียง

ขณะที่รัฐบาลจีนออกมาตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำมาตรนักการเมืองและหน่วยงานของสหภาพยุโรป พร้อมระบุว่า “พวกเขาเผยแพร่คำโกหก และมีเจตนาร้าย”

CNN

from:https://www.thumbsup.in.th/chinese-consumer-boycott?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=chinese-consumer-boycott

H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง

ก่อนหน้านี้ ที่สหรัฐฯ ออกมาประกาศแบนสินค้าที่มีการบังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียง จีน ซึ่งแบรนด์เสื้อผ้า H&M ก็เคยออกมาประกาศเช่นกัน ว่าไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานเหล่านี้ ล่าสุด H&M กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกแบนในจีน 

H&M in China

เคยมีการรายงานจากสถาบัน ASPI ระบุว่า H&M เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย ขณะที่ H&M เองก็ออกแถลงการณ์ปฏิเสธว่า ไม่ได้บังคับใช้แรงงาน หลังจากนั้น 8 เดือน ก็มีกระแสจากประเทศในตะวันตกกรณีต้านจีนที่ใช้แรงงานอุยกูร์ ซึ่ง H&M ก็เจอกระแสโต้กลับจากกลุ่มเยาวชนคอมมิวนิสต์ที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้ความเห็นร้อนแรงใน Weibo ว่า ต้องการหาเงินในจีน แต่ก็ปล่อยข่าวลือผิดๆ ที่นำไปสู่การบอยคอตต์ฝ้ายจากซินเจียง

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทั้งอังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปก็ประกาศคว่ำบาตรเจีนอย่างเป็นทางการกรณีที่จีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในจีน ซึ่งหนึ่งในห้าของสิ่งทอก็มีฝ้ายหรือเส้นด้ายที่มาจากภูมิภาคนี้

นอกจาก H&M แล้วก็อาจจะมีบริษัท Nike ที่น่าจะเป็นรายถัดไป หลังจากที่บริษัทเผยแพร่แถลงการณ์บนเว็บไซต์เพื่อแสดงความกังวลถึงการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ไนกี้ก็ระบุว่าแหล่งผลิตของบริษัทไม่ได้มาจากภูมิภาคนี้ และยืนยันว่าซัพพลายเออร์ในสัญญาไม่ได้ใช้สิ่งทอหรือใยด้ายมาจากภูมิภาคนี้ แน่นอนว่า หลังจากที่ไนกี้เผยแพร่แถลงการณ์เช่นนี้ออกไป ก็กลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับการค้นหาข้อมูลอย่างหนักจาก Weibo ซึ่งก็มีการซักถามมาว่าทางไนกี้ได้ร่วมบอยคอตต์ด้ายจากภูมิภาคนี้หรือไม่ ทางไนกี้ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นนี้

Photo : Shutterstock

ขณะที่นักแสดงจีน Huang Xuan ที่เซ็นสัญญากับ H&M ได้ประกาศว่าเขาอาจจะยกเลิกสัญญาและยังระบุว่า H&M พยายามทำลายชื่อเสียงของประเทศ ทั้งนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน 3 รายยักษ์ใหญ่ที่มีทั้ง Pinduoduo, Jingdong และ Tmall ได้เอาช่องค้นหา H&M ในแพลตฟอร์มออกและยังเอาสินค้าออกจากการจัดจำหน่ายด้วย ซึ่งทาง H&M ในจีนก็ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลใน Weibo ว่า (การไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียง) ไม่ได้เป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองใดๆ H&M Group เคารพต่อลูกค้าคนจีนเสมอ และยืนยันว่าจะลงทุนและพัฒนาในจีนต่อไป

H&M คือค้าปลีกแฟชั่นที่มียอดขายสูงเป็นอันดับสองของโลก รองจาก Inditex ที่มี Zara เป็นเจ้าของ และจีนถือเป็นตลาดรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ทั้งนี้ ด้าน CCTV ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ H&Mว่า มีการประเมินผิด มีความพยายามจะเล่นบทฮีโร่แต่ก็เป็นการกระทำที่ต้องมีการชดใช้ราคาแพง

ที่มา – The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-consumer-in-china-will-boycott-h-and-m/

พาไปลอง : AIS 5G Smart Mirror ที่แรกที่เดียวในไทย กับประสบการณ์ลองเสื้อผ้าหลายแบรนด์ในที่เดียวด้วย Avatar ตัวเราเอง

AIS 5G Smart Mirror มิติใหม่ของการลองเสื้อผ้าในยุค 5G เปิดเป็นที่แรกและที่เดียวในไทย ที่ให้ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการช้อป ให้ลูกค้าสามารถลองเสื้อผ้าจากหลากหลายแบรนด์ได้ในที่เดียว ด้วยร่าง Avatar

เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษ ที่ทาง AIS ได้นำอุปกรณ์ 5G Smart Mirror มาติดตั้งบริเวณชั้น 2 โซนเซ็นทรัลคอร์ท ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสเทคโนโลยีการช้อปปิ้งแบบใหม่ในยุค 5G โดยการสร้างตัวตนจำลองขึ้นมา และสามารถใส่ชุดเสื้อผ้าจากแบรนด์ต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเดินหาหรือสวมเข้าสวมออก เป็นการออกแบบสไตล์ตัวเองก่อน เพื่อหาแนวเสื้อผ้าที่ต้องการได้แบบสมจริง

โดยข้อมูลของเสื้อผ้าที่มาลองสวมใส่นั้น จะถูกดึงข้อมูลมาจากร้านค้าจำหน่ายจริงที่อยู่ภายในเซ็นทรัลเวิลด์ผ่านเครือข่าย 5G โดยมีร้านค้าแบรนด์ดังที่ร่วมรายการมากมาย ได้แก่ CARNIVAL, H&M, MLB, MICHAEL KORS, POLO RALPH LAUREN, PULL&BEAR, , SUPERDRY, TOPSHOP/TOPMAN, UNIQLO และ ZARA

นอกจากจะได้ลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่ และได้แนวเสื้อผ้าที่ต้องการแล้ว ทาง AIS ยังมีสิทธิพิเศษเพิ่มให้สำหรับการมาร่วมสนุกกับกิจกรรม โดยใครเป็นลูกค้า AIS จะได้รับสิทธิพิเศษ เพิ่มถึง 2 ต่อ

  • สิทธิพิเศษที่  1   เอไอเอส พอยท์ แลกช้อปสุดคุ้ม ใช้ 200 คะแนน แลกรับส่วนลด 200 บาท เมื่อซื้อสินค้าแบรนด์ที่ร่วมรายการ ครบ 2,000 บาทขึ้นไป/ใบเสร็จ (จำนวน 5,000 สิทธิ์ตลอดโครงการ)
  • สิทธิพิเศษที่  2   ซื้อสินค้ากับร้านค้าที่ร่วมรายการ ครบ 2,000 บาท/ใบเสร็จ รับตุ๊กตาอุ่นใจ 5G ขนาด 5 นิ้ว 1 ตัว หรือ ถุงผ้าน้องมะม่วงxอุ่นใจ 1 ชิ้น (จำนวน 5,000 สิทธิ์ต่อเดือน / 10,000 สิทธิ์ตลอดโครงการ)

ระยะเวลาโครงการ: ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม  –  5 มกราคม 2564  

วิธีใช้งานและร่วมสนุกกับกิจกรรมนี้ก็ไม่ยากครับ เดินไปบริเวณชั้น 2 ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โซนเซ็นทรัลคอร์ท เข้าไปในพื้นที่ภายในห้อง จะมีเตรียมอุปกรณ์ให้เราได้ใช้บริการอยู่สองตู้ด้วยกัน พร้อมพนักงานประจำบูธที่จะช่วยแนะนำวิธีใช้งาน พร้อมหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ^^ และของพรีเมี่ยมตุ๊กตาน้องอุ่นใจ 5G ที่จะเป็นของเราได้เมื่อทำตามกติกาด้านล่างต่อไปนี้ครับ

1 เริ่มต้นการสร้างอวตาร แค่ไปยืนในจุดที่หน้าจอกำหนดไว้ให้ เพื่อให้กล้องจับตำแหน่งตัวเรา และระบบก็จะเริ่มสแกนหน้าและสร้างตัวตนจำลองของเราขึ้นมาทันที จากนั้นก็สามารถเลือกเปลี่ยนรูปร่าง ทรงผม ให้ดูเป็นตัวเรามากที่สุดตามที่เราคิด ^^


2 เลือกลองชุดเครื่องแต่งกาย เมื่อกำหนดตัวตนของเราเสร็จแล้ว ก็สามารถมาเลือกสไตล์เสื้อผ้าจากหลากหลายแบรนด์หลากหลายสไตล์ที่มีอยู่บนหน้าจอ เอามาลองสวมใส่ให้ตัวเราได้แบบเรียลไทม์ตามสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในช้อป เมื่อตัดสินใจได้แล้วเราสามารถกดดูข้อมูลรายละเอียดสินค้า ร้านจำหน่าย และราคา สามารถจดโค้ดสินค้าเพื่อนำไปแจ้งซื้อสินค้ากับพนักงานร้านที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องเดินหา

นอกจากนี้เราะยังสามารถสแกน QR Code เพื่อดึงภาพตัวเรากับชึุดเสื้อผ้าเข้ามาสู้สมาร์โฟนเพื่อนำไปใช้หรือนำไปแชร์บน Social Media ได้อีกด้วยนะครับ


3 แลกคะแนนรับส่วนลด ใครที่เป็นลูกค้า AIS ยังสามารถใช้ AIS Points 200 คะแนน เพิ้อแลกรับส่วนลด 200 บาท กับพนักงานประจำบูธ เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนลดเมื่อช้อปครบ 2,000 บาท เมื่อซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่ร่วมรายการ

4 นำใบเสร็จกลับมารับของพรีเมี่ยมน่ารักๆ จาก AIS หลังจากนั้นก็นำใบเสร็จที่ซื้อสินค้ากลับมาที่บูธ AIS 5G Smart mirror อีกครั้งครับ เพื่อรับตุ๊กตาน้องอุ่นใจ 5G ขนาด 5 นิ้ว 1 ตัว หรือจะเลือกเป็นถุงผ้าน้องมะม่วงxอุ่นใจ 1 ชิ้น ก็ได้เช่นกันครับ เรียกว่าได้ทั้งความสนุก ความสะดวก ได้ทั้งส่วนลด และยังได้รับของแถมพิเศษจาก AIS ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย ^^




ไปลองไปสัมผัสกันได้ กับครั้งแรกของการลองชุดเครื่องแต่งกายอัจฉริยะผ่าน 5G ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 63 โซนเซ็นทรัลคอร์ท ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์จนถึงวันที่ 5 ม.ค. 64 เท่านั้นนะ

รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามพนักงานหน้าบูธ หรือดูได้จากหน้าเว็บไซด์ของ AIS นะครับ ^^

ข่าว: พาไปลอง : AIS 5G Smart Mirror ที่แรกที่เดียวในไทย กับประสบการณ์ลองเสื้อผ้าหลายแบรนด์ในที่เดียวด้วย Avatar ตัวเราเอง มีที่มาจาก: แอพดิสคัส.

from:https://www.appdisqus.com/2020/12/05/ais-5g-smart-mirror-experian.html

H&M ประกาศปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก

H&M Photo: Getty Images

โควิดทำปิดหน้าร้าน ยอดขายออนไลน์พุ่ง

H&M แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้าชื่อดังประกาศปิดสาขาหน้าร้าน 250 แห่งทั่วโลกในปีหน้า เหตุเพราะโควิดทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แทน

ในแถลงการณ์ของ H&M ระบุว่า ในช่วงที่โควิดระบาด ผู้คนหันมาช้อปปิ้งผ่านออนไลน์กันมากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ทางแบรนด์ต้องปิดสาขาหน้าร้านชั่วคราว ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์พุ่งสูงขึ้นราว 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านปกติ

แผนปิดสาขาหน้าร้าน 250 แห่งในครั้งนี้ คิดเป็นเพียง 5% ของจำนวนหน้าร้านทั้งหมดของ H&M ที่มีอยู่ทั้งหมดกว่า 5,000 แห่งทั่วโลก

วิกฤตค้าปลีกเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้าที่จะมีโควิด อย่างปีที่ผ่านมา H&M ได้สั่งปิดหน้าร้านไปกว่า 160 แห่ง และโฟกัสไปที่ออนไลน์มากขึ้น นอกจากนั้นในวิกฤตโควิด มีหลายแบรนด์ค้าปลีกที่ได้ยื่นขอล้มละลายจำนวนมาก เช่น

ที่มา – CNN

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/hm-close-250-stores/

หลังสหรัฐฯ แบน: H&M ประกาศ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานในซินเจียง

H&M เริ่มแล้ว ค้าปลีกแฟชั่นยักษ์ใหญ่สัญชาติสวีเดนระบุว่า ไม่ได้ทำงานกับโรงงานผลิตสิ่งทอในซินเจียงและจะไม่ใช้วัตถุดิบจากพื้นที่แห่งนี้แล้ว 

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M

ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ สร้างปัญหาให้กันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด H&M ที่ถือเป็นแบรนด์แฟชั่นค้าปลีกขนาดใหญ่ก็ออกมาเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ายุติความสัมพันธ์กับผู้ผลิตใยสังเคราะห์จากจีน เนื่องจากมีข้อมูลเผยแพร่ออกมาว่า มีการบังคับใช้แรงงานจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ 

ทั้งนี้ รายงานจากสถาบัน think tank อย่าง ASPI (Australian Strategic Policy Institute) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า H&M คือหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย dyed yarn (เส้นด้ายที่ผ่านกระบวนการย้อมสีก่อนนำไปทอผ้าต่อ มีราคาสูงเพราะบวกราคาย้อมสีไปแล้ว) 

ทั้งนี้ H&M ระบุว่าไม่เคยมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับโรงงาน Huafu ใน Anhui ที่อยู่ในซินเจียง ตามลิสต์ที่มีการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่ามีการบังคับใช้แรงงาน แต่  H&M ก็ยอมรับว่าเกี่ยวข้องทางอ้อมกับ Shangyu ใน Zhejiang ซึ่งก็เป็นของ Huafu Fashion แต่ H&M ก็ยืนยันว่า Shangyu ไม่ได้มีการบังคับใช้แรงงาน

ขณะเดียวกันกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า ชาวอุยกูร์กว่าล้านคนถูกทรมานในค่ายปรับทัศนคติในจีน (political re-education camps) รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เคยเผยแพร่รายงาน The Chinese Communist Party’s Human Rights Abuses in Xinjiang มาก่อน

กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในซินเจียง โดยระบุว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ค่ายเพื่อกักกันชาวอุยกูร์ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และสามาชิกชนกลุ่มน้อย Turkic Muslim ในซินเจียง จีน 

มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลากหลายรูปแบบ ทั้งบังคับใช้แรงงาน ทรมานร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ สอดแนมตลอดเวลา และยังทำให้ครอบครัวแตกแยก ไปจนถึงกดปราบการแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์และสมาชิกฯ บังคับให้คุมกำเนิดด้วย และมาตรการเข้มข้นที่จะทำให้ไม่สามารถขยายครอบครัวต่อไปได้

H&M, เอชแอนด์เอ็ม, Hennes & Mauritz ภาพจาก H&M 

ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศข้อจำกัดในการนำเข้าเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม และสินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ที่มาจากบริษัทจีน โดยเฉพาะสินค้าที่บังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียงด้วย นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ต้องออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทที่เข้าข่ายบังคับใช้แรงงานในจีน ทั้งนี้ก็เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการพยายามแบนสินค้าของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็พยามสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคว่าแบรนด์ไม่ได้ผลิตจากแรงงานที่ถูกบังคับและทรมานในซินเจียง

ที่มา – South China Morning Post, The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/h-and-m-end-chinese-supplier-cause-of-forced-labour/