คลังเก็บป้ายกำกับ: E-WALLET

”เป๋าตังเปย์” วอลเล็ตรูปแบบใหม่จากกรุงไทยที่จะมาช่วยให้ทุกการใช้จ่ายสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ธนาคารกรุงไทย ออกฟีเจอร์ใหม่มีชื่อว่า “เป๋าตังเปย์” เป็น e-Wallet จะช่วยให้เราสามารถใช้จ่ายเงินแบบออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้นแถมยังมีส่วนลดหรือการใช้จ่ายต่าง ๆ มาให้เราชำระเงินได้อย่างคุ้มค่า ทั้งการเดินทางไม่ว่าทุกคนจะเดินทางโดยเรือ, รถ ,ราง และทางด่วน MRT ยังสามารถใช้จ่ายได้ในบัตรเดียวอีกด้วย ตอนนี้การสมัครฟรีค่าธรรมเนียมรายปี ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้างมาอ่านกันเลยค่ะ 

เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-Wallet ในรูปแบบซูเปอร์วอลเล็ต ซึ่งใช้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เช่นรับเงิน โอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ในส่วนนี้จะไม่เหมือนกับ G-Wallet เพราะทาง G-Wallet จะใช้เกี่ยวกับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือสิทธิโครงการเยียวยาต่าง ๆ อาทิ โครงการคนละครึ่ง เรารักกัน เราชนะ แยกออกมาต่างหาก ไม่เกี่ยวข้องกัน

สำหรับเป๋าตังเปย์มีคุณสมบัติในการใช้งานดังนี้



  • สามารถแสกนจ่ายผ่าน QR ,พร้อมเพย์แถมได้ส่วนลดไปในตัวจากแบรนด์ชั้นนำ
  • เพียงผูกบัตร Play เข้ากับเป๋าตัง แตะจ่ายได้ทั้งหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์แค่เราเติมเงินเข้าวอลเล็ตใช้จ่ายได้ทันที ทั้งการซื้อสินค้ารวมไปถึงการเดินทาง รถ เรือ ราง ทางด่วน MRT
  • โอนเงินเข้าออกได้ทันที ไม่เสียค่าธรรมเนียมจากทุกธนาคาร



  • สามารถจ่ายบิลได้ทุกบิล หรือจะเติมเกิม เติมเงินมือถือและบริการอื่น ๆ ทำได้ครบไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • มีสิทธิพิเศษและส่วนลดจากร้านค้าชั้นนำ ให้เราเลือกใช้อีกเพียบ
  • การผูกบัญชีทำได้ง่ายสะดวกต่อการใช้งาน

คนที่สมัครบัตรเพลย์การ์ดผ่านเป๋าตัง 15,000 รายแรก จะยกเว้นค่าธรรมเนียมบัตรและจัดส่งบัตร มูลค่ารวม 92 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. ถึง 31 ธ.ค. 2565 โดยจะเริ่มจัดส่งบัตรทางไปรษณีย์ตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. 2565 เป็นต้นไป และเมื่อซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านบัตรฯ สะสมตั้งแต่ 1,000 บาทต่อบัตรต่อเดือนรับเครดิตเงินคืน 45 บาท ถึง 28 ก.พ. 2566 นี้ค่ะ

ถ้าเพื่อน ๆ คนไนที่สนใจอย่าลืมไปทดลองใช้กันนะคะ เพราะตัวฟีเจอร์ เป๋าตังเปย์ทำงานได้อย่างครอบคลุมเลยไม่ว่าจะกิน, ช็อป ,เดินทาง ,เติมเงินเข้าบริการต่าง ๆ ก็สะดวกทำได้ทุกที่พร้อมรับส่วนลดไปในตัวอีกด้วย และที่สำคัญได้รับมาตรฐานความปลอดภัยที่เชื่อถือได้แน่นอน

 

ที่มา : krungthai

from:https://droidsans.com/new-feature-paotang-pay-krungthai-e-wallet/

Mizuho แบงก์ญี่ปุ่นเตรียมลงทุนในแอป e-wallet ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม MoMo

ถนนทุกสายมุ่งสู่เวียดนาม

ธนาคาร Mizuho ของญี่ปุ่นเตรียมซื้อหุ้นใน M-Service หรือแอป e-wallet ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยธนาคารคาดว่าจะลงทุนราว 2 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 170 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 5.7 พันล้านบาท จะได้ถือหุ้นในบริษัทราว 7.5%

MoMo e-wallet M-Service Vietnam

แอป MoMo ถือเป็นแอปจ่ายเงินที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม มีผู้ใช้งานกว่า 20 ล้านคน เริ่มพัฒนาแอปนี้ตั้งแต่ปี 2007 และพยายามจะเป็นซุปเปอร์แอปที่ให้บริการผู้คนหลากหลายและยังมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ด้วย

ธนาคาร Mizuho เคยลงทุนใน Vietcombank มาตั้งแต่ปี 2011 เป็นแบงก์ขนาดใหญ่ในเวียดนามแห่งหนึ่ง การลงทุนใน M-Service ของ Mizuho ดังกล่าว จะทำให้ความร่วมมือกับธนาคาร Vietcom ในตลาดค้าปลีกของเวียดนามยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น ธนาคารญี่ปุ่นตั้งเป้าจะเป็นผู้เล่นภาคการเงินรายใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรและเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ Sumitomo Mitsui Financial Group ก็เคยลงทุนในสถาบันการเงินในเวียดนาม, อินเดียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียมาก่อนแล้ว

สำหรับแอป MoMo นั้น เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2007 และได้เปิดตัวเป็น MoMo e-wallet ตั้งแต่ปี 2009-2010 จากนั้นเริ่มเปิดตัวเป็นแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟนในช่วงปี 2014-2015 มีลูกค้าใช้บริการครั้งแรกทะลุยอด 500,000 ราย จากนั้นก็ได้รับรางวัลการันตีความสำเร็จเรื่อยมา จากที่เคยเป็น e-wallet อันดับ 1 ของเวียดนาม ตอนนี้กลายเป็น ซุปเปอร์แอปอันดับ 1 ของเวียดนามแล้ว

ที่มา – Nikkei, MoMo

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Mizuho แบงก์ญี่ปุ่นเตรียมลงทุนในแอป e-wallet ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม MoMo first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/mizuho-japan-bank-will-invest-in-vietnam-e-wallet-momo/

Dolfin Wallet เปิดบริการ “สแกนจ่ายผ่าน QR บัตรเครดิต” สะดวก ลดเสี่ยง ลดสัมผัส ไม่ต้องพกบัตรให้วุ่นวาย

Dolfin Wallet กระเป๋าเงินออนไลน์ โดยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล เจดี ฟินเทค ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ “สแกนจ่ายผ่าน QR บัตรเครดิต” การันตีความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับสากลจากทั้ง Mastercard และ Visa พร้อมมอบสิทธิพิเศษให้ผู้ใช้งานออนท็อปเพิ่มจากโปรโมชันของบัตรเครดิตปกติสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต SCB และ KBank เช่น รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 3% และคะแนนสะสมพิเศษของ The 1 ทุก ๆ การใช้จ่าย 100 บาท เป็นต้น

ธุรกิจการค้าได้ก้าวสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังได้เข้ามาเป็นตัวกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วกว่าเดิม ดังนั้น การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดและลดการสัมผัสจึงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตยุคใหม่ในปัจจุบัน เพราะทั้ง สะดวก ปลอดภัย แถมยังลดความเสี่ยงติดเชื้อจากการสัมผัสอีกต่างหาก แค่สแกน QR เพียงครู่เดียวทุกอย่างก็เรียบร้อยแล้ว

Dolfin Wallet ถือเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรายที่สองในเอเชียที่เปิดให้บริการสแกนจ่าย QR บัตรเครดิตผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หากมองกันดี ๆ ไม่ได้มีแค่ฝั่งของผู้บริโภคที่ได้ประโยชน์เท่านั้นนะครับ ฝั่งร้านค้าเองก็ได้ประโยชน์ร่วมด้วยเช่นกัน เพราะการมีตัวเลือกรับชำระเงินที่ลูกค้าต้องการอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้อีกทางหนึ่ง

ปลอดภัยไม่ต่างจากการชำระด้วยบัตรเครดิตปกติ

บริการสแกนจ่ายผ่าน QR บัตรเครดิต ได้ผ่านการทดสอบแซนด์บอกซ์กับธนาคารแห่งประเทศไทยด้านเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic know your customer: eKYC) มาแล้ว ทุก ๆ ขั้นตอนไล่ตั้งแต่การพิสูจน์ตัวตน ตลอดจนถึงการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ จึงปลอดภัยอย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น วิธีนี้ยังช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากของการไปแสดงตัวตนต่อพนักงานธนาคารโดยตรงในรูปแบบเดิม ๆ และไม่ต้องมานั่งกรอกเอกสารให้วุ่นวายด้วย

ทาง Dolfin ระบุว่า การชำระเงินผ่านการสแกนด้วย QR บัตรเครดิต มีการดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ Mastercard SecureCode และ Visa Secure ที่ใช้ EMV 3-D Secure (3DS) โปรโตคอลความปลอดภัยล่าสุด ซึ่งจะไม่แตกต่างอะไรไปจากการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตปกติเลย สบายใจได้แน่นอน

ใช้งานได้กับร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ พร้อมรับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

บริการนี้สามารถใช้ได้กับร้านค้าชั้นนำมากมาย ครอบคลุมทั้งร้านอาหาร ร้านค้าปลีก และร้านค้าอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Starbucks, After You, Daiso, Santa Fe’ Steak, The Mall Gourmet Market, Lotus, HomePro, Villa Market และ Esso ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มจุดรับชำระเงินด้วยการสแกนผ่าน QR บัตรเครดิตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ที่เด็ดไปกว่านั้น ผู้ที่ชำระเงินผ่านการสแกน QR บัตรเครดิตผ่าน Dolfin Wallet จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งโบนัสเงินคืนและคะแนนสะสมพิเศษ ดังนี้

  • รับโบนัสเงินคืน 1.5% เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสม 2,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป (แต่ไม่ถึง 5,000 บาท)
  • รับโบนัสเงินคืน 3% เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสม 5,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป (สูงสุดไม่เกิน 300 บาท)
  • รับคะแนน The 1 ทุก ๆ การใช้จ่าย 100 บาท
  • รับโปรโมชันพิเศษเพิ่มเติมจากบัตรเครดิต ณ ร้านค้าที่รองรับ QR บัตรเครดิต
  • ระยะเวลาโปรโมชัน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2564

เบื้องต้นบัตรเครดิตที่นำมาใช้งานกับการสแกนจ่ายเงินด้วย QR บัตรเครดิต จะมีบัตรเครดิต Mastercard และ Visa ของ SCB (ธนาคารไทยพาณิชย์) กับบัตรเครดิต Visa ของ KBank (ธนาคารกสิกรไทย) ส่วนบัตรเครดิตจากธนาคารอื่น ๆ จะทยอยตามมาเรื่อย ๆ ในเร็ว ๆ นี้ครับ

วิธีสแกนจ่าย QR บัตรเครดิต

สำหรับวิธีสแกนจ่าย QR บัตรเครดิตผ่าน Dolfin Wallet นั้นทำได้ง่าย ๆ เพียงมองหาร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ “Thai QR Payment” พร้อมโลโก้ Mastercard และ Visa แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • เปิดแอป Dolfin แล้วกด “จ่าย”
  • กดไปที่ “สแกน” แล้วสแกน QR บัตรเครดิต
  • เลือกบัตรเครดิตที่ต้องการ แล้วกด “ยืนยัน”

เพื่อน ๆ คนไหนที่สนใจอยากลองใช้งานแอปพลิเคชัน Dolfin สามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงผ่าน Play Store สำหรับ Android และผ่าน App Store สำหรับ iOS กันได้เลยครับ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ Dolfin (คลิก)

 

ดูเพิ่มเติม : www.dolfinthailand.com

from:https://droidsans.com/dolfin-wallet-credit-card-qr-scan/

เวียดนามสนามรบฟินเทคแห่งอาเซียน: e-Wallet 5 แอปแข่งดุเดือด แต่ผู้ชนะมีได้แค่หนึ่งเดียว

เมื่อ MoMo แอป e-wallet ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามประสบความสำเร็จอย่างมาก คู่แข่งทั้งในพื้นที่และในภูมิภาคอย่าง Tencent, Grab และ Sea ก็กระโดดเข้ามาเล่นด้วย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันของแอปฟินเทคอย่างดุเดือดในเวียดนาม

ความสำเร็จของ MoMo

MoMo ที่ย่อมาจาก Mobile Money เริ่มให้บริการในปี 2013 และเติบโตมาเป็นแอป e-wallet หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามในปัจจุบัน โดยครองส่วนแบ่ง 60% ของตลาดการจ่ายเงินผ่านมือถือ มีผู้ใช้กว่า 25 ล้านคน ประมวลผลธุรกรรมรวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 4.67 แสนล้านบาท)

การที่ MoMo เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ในตลาด e-wallet ทำให้มีโอกาสติดต่อกับร้านค้าต่างๆ นับหมื่นในประเทศได้ก่อนใคร และเสนอเทคโนโลยีการโอนเงินระหว่างธนาคารให้ร้านค้าเหล่านั้นได้

หนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัทคือ การทำโปรโมชั่นร่วมกับแฟรนไชส์กาแฟแนวหน้าในเวียดนาม รวมถึง Highlands Coffee ที่มีสาขากว่า 300 แห่ง โดยผู้ใช้ของ MoMo จะสามารถสั่งกาแฟผ่านแอปด้วยราคาที่ถูกกว่า และไปรับกาแฟเองได้ในภายหลัง เปิดประสบการณ์ให้ลูกค้าเห็นถึงความสะดวกของแอปที่เป็นมากกว่าบริการโอนเงินอย่างเดียว

แหล่งข่าวระบุว่า ทางบริษัทมีแนวคิดว่าอยากให้แอป MoMo อยู่ใน “หน้าแรกของ iPhone ของลูกค้า” ซึ่งจะเกิดจากการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากใช้แอป MoMo ใช้จ่ายแม้แต่สินค้าเล็กๆ น้อยๆ ทำให้พวกเขาใช้แอปมากขึ้น และกลายเป็นผู้ใช้ประจำในที่สุด

ในประเทศที่การค้าขายประมาณ 80% ยังทำผ่านช่องทางออฟไลน์อยู่ การขายกาแฟก็เป็นสิ่งที่เล็กน้อยพอจะให้ลูกค้าใช้แอปได้ทุกวัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าสนใจบริการอื่นๆ ของ MoMo เช่น การจองตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วเครื่องบิน สั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ หรือ การเล่นเกม อีกด้วย

การแข่งขันที่ดุเดือด

แน่นอนว่า เมื่อเห็นความสำเร็จของ MoMo แล้ว คู่แข่งในภูมิภาคก็ตามเข้ามาลงทุนในตลาดเวียดนามเช่นเดียวกัน

คู่แข่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ ZaloPay ที่เป็นบริการจ่ายเงินออนไลน์ของ VNG สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกในเวียดนาม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Tencent

ZaloPay คือ บริการจ่ายเงินที่ผูกกับแอปแชท Zalo ซึ่งเป็นแอปแชทที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศ ซึ่งในประเทศจีน Tencent ก็เคยใช้กลยุทธ์การผูกบริการจ่ายเงินไปกับแอปแชทอย่าง WeChat และ WeChat Pay ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงไปแล้ว

ในอีกด้านหนึ่ง Grab จับมือกับบริษัทระบบจ่ายเงินท้องถิ่น Moca และระบุให้ Moca เป็นช่องทางจ่ายเงินหลักสำหรับบริการฟู้ดเดลิเวอรี่และการเรียกรถของ Grab ในเวียดนาม

ทางด้าน Sea บริษัทเกมและอีคอมเมิร์สจากสิงคโปร์ ก็มีการเปิดตัวระบบจ่ายเงินของตัวเองเหมือนกัน โดยเป็นเจ้าของแอป Now หนึ่งในแอปฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ได้รับความนิยมสูงอีกด้วย

Takahiro Suzuki พาร์ทเนอร์จาก Genesia Ventures ที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในเวียดนามและอินโดนีเซียมองว่า “ตลาด e-wallet อาจจะเหลือผู้เล่นเพียง 2-3 รายในอนาคต แต่นักลงทุนของแต่ละบริษัทก็ทุนหนากันมาก ตราบใดที่ยังมีทุน หลายบริษัทก็จะยังอยู่ร่วมกันได้ เป็นการรบที่ทรมานน่าดู”

เกี่ยวกับตลาดเวียดนาม

ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเป็นบ้านของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีรายแรกๆ ของเอเชีย อย่าง VNG ที่ก่อตั้งในปี 2004 ก็ตาม แต่ก็ถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซียที่มีประชากรมากกว่าในภายหลัง ด้วยความสนใจจากนักลงทุนที่สูงกว่า

เศรษฐกิจของเวียดนามมีมูลค่าที่ 3.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11.35 ล้านลานบาท) ซึ่งเล็กกว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าตลาดของฟินเทคในเวียดนามน่าสนใจมาก

อัตราผู้ใช้มือถือของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 80% ของประชากรผู้ใหญ่ แต่กลับมีสาขาธนาคารน้อย ทางรัฐบาลเองก็สนับสนุนวงการฟินเทคอย่างดี โดยการมอบใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ e-wallet ให้แก่หลายบริษัท ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเติบโตของการจ่ายเงินผ่านมือถือแบบดิจิทัล

สถานการณ์โควิด-19 เองก็ช่วยให้ประชาชนหันมาใช้งานเทคโนโลยีการจ่ายเงินออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งต่างจากเมื่อก่อน ตอนที่ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมการรับเงินออนไลน์ตรงนี้

Photo by Jonas Leupe on Unsplash

E-wallet ยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นในชีวิต

Huy Pham ผู้บรรยายของ FinTech-Crypto Hub จาก RMIT University อธิบายว่า ชาวเวียดนามหลายคนดาวน์โหลดแอปวอลเลทหลายแอปเพื่อนำส่วนลดต่างๆ มาใช้ และส่วนมากบอกว่า ถ้าไม่มีส่วนลดแล้ว ก็คงไม่ใช้งานแอปเหล่านี้อีกต่อไป

Huy เสริมว่าเมื่อตอนที่ระบบธนาคารยังไม่สะดวกพอ e-wallet ต่างๆ ก็ทำให้ชีวิตสะดวกขึ้น แต่ตอนนี้ธนาคารก็ออกแบบแอปของตัวเองออกมาหมดแล้ว ซึ่งทำได้เหมือนกันทุกอย่าง ดังนั้น แอป e-wallet จึงต้องหาวิธีที่ทำให้ตัวเองแตกต่างให้ได้

อีกทั้ง ทางเครือข่ายมือถือก็เริ่มให้บริการจ่ายเงินผ่านเบอร์โทรศัพท์อย่างเดียวโดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคารแล้ว ซึ่งเข้ามาเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งของ e-wallet โดยตรง

กฎระเบียบและการ IPO

สตาร์ทอัพฟินเทคในเวียดนามเตืบโตได้ส่วนหนึ่งเพราะการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยตอนนี้มีผู้ให้บริการ e-wallet ในประเทศถึง 34 ราย แต่มีเพียง 5 รายเท่านั้นที่เป็นรายใหญ่

แต่ในอนาคต ทางรัฐบาลอาจจะเข้ามาแทรกแซงเมื่อบริษัทเหล่านี้มีอิทธิพลมากเกินไป อย่าง Ant Group ของจีน หรือ อินโดนีเซียที่ธนาคารแห่งชาติระงับการอนุมัติใบอนุญาต e-wallet ใหม่ๆ แล้ว

ในด้านของการจดทะเบียนในตลาดหุ้น บริษัทในเวียดนามต้องผ่านการตรวจสอบของผู้ดูแลตลาดหุ้นก่อน แต่ตลาดหุ้นในประเทศก็มีมูลค่าค่อนข้างต่ำ และทีลิมิตสำหรับผู้ถือหุ้นต่างชาติ

ในปี 2017 ทาง VNG ก็เริ่มการทางจดทะเบียนที่ตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ยังไม่มีข่าวจนถึงปัจจุบัน

ด้าน VNLife เจ้าของ VNPay ที่สนับสนุนโดย SoftBank และ MoMo ให้ข้อมูลว่ายังไม่วางแผน IPO ในเร็วๆ นี้ แต่ก็มีการเปิดการระดมทุนไปในอดีต

นักลงทุนรายหนึ่งกล่าวว่า “พวกคุณกำลังสู้กันเพื่อชิงพื้นที่ในหน้าแรกของ iPhone ใช่ไหม? เพราะไม่มีใครใช้แอปวอลเลทกันคนละ 5 แอปหรอกนะ” 

สรุป

ถึงแม้ว่าสตาร์ทอัพจากเวียดนามจะยังมีมูลค่าไม่มากเท่าสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายอื่นๆ ในอาเซียน แต่ก็มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต น่าจับตามองว่าพวกเขาจะมีกลยุทธ์ต่อไปอย่างไร

ที่มา – Asia Nikkei

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เวียดนามสนามรบฟินเทคแห่งอาเซียน: e-Wallet 5 แอปแข่งดุเดือด แต่ผู้ชนะมีได้แค่หนึ่งเดียว first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/vietnam-fintech-battle-intensifies/

[Guest Post] แคสเปอร์สกี้เผยตัวเลขการตรวจจับโมบายมัลแวร์สูงสุด ไทยติดอันดับ 44 ของโลก

แคสเปอร์สกี้เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดเรื่อง Mobile Malware Evolution 2020 แสดงการตรวจจับมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายในประเทศไทยจำนวน 28,861 ครั้งในปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 44 ของโลก โดยอินโดนีเซียครองอันดับ 4 ของโลก และครองอันดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาด้วยมาเลเซีย (อันดับที่ 17) ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 30) เวียดนาม (อันดับที่ 43) และสิงคโปร์ (อันดับที่ 86)

 

สำหรับบริการธนาคารบนอุปกรณ์โมบายและการใช้แอปการชำระเงิน ประเทศไทยได้รับตำแหน่งสำคัญในชาร์ตการจัดอันดับทั่วโลก จากรายงาน Digital 2020 ล่าสุดของ We Are Social ระบุว่าประเทศไทยครองอันดับหนึ่งของโลกด้านการใช้งานแอปบริการธนาคารและการเงิน คิดเป็น 68.1% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงอายุ 16-64 ปี

รายงานฉบับเดียวกันนี้เปิดเผยว่า ประเทศไทยครองอันดับสองด้านการชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบาย โดยมีผู้ใช้งานจำนวน 45.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30.9% นอกจากนี้ประเทศไทยยังครองอันดับสองด้านการใช้งานโมบายคอมเมิร์ซ โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 74.2% อินโดนีเซียครองอันดับสูงสุดด้วยผู้ใช้ 79.1% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 55.4%

อัตราการใช้งานอุปกรณ์โมบายที่สูงนี้เรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ สถิติมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์โมบายปี 2020 ของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการตรวจจับมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายจำนวน 28,861 ครั้งในปีที่แล้ว แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็ยังมีภัยไซเบอร์ที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น

สถิติการตรวจจับโมบายมัลแวร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศ

2020

อันดับโลก

2019

อันดับโลก

อินโดนีเซีย

378,973

4

556,486

4

มาเลเซีย

103,573

17

145,047

19

ฟิลิปปินส์

55,622

30

110,130

23

สิงคโปร์

8,776

86

16,303

79

ไทย

28,861

44

44,814

44

เวียดนาม

29,399

43

40,041

51

 

นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ยังบล็อกโทรจันธนาคารบนอุปกรณ์โมบาย 255 รายการในประเทศไทยในปี 2020 ด้วย

โมบายโทรจันบนอุปกรณ์โมบายเป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น และอันตรายที่สุด โดยทั่วไปจะขโมยเงินโดยตรงจากบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานอุปกรณ์โมบาย แต่บางครั้งจุดประสงค์ของโทรจันก็เปลี่ยนไปเป็นการขโมยข้อมูลประเภทอื่นๆ มัลแวร์จะดูเหมือนแอปที่ถูกต้องทั่วไป เช่น แอปพลิเคชั่นของธนาคาร เมื่อเหยื่อพยายามเข้าถึงแอปธนาคาร ผู้โจมตีก็สามารถเข้าถึงแอปนั้นได้เช่นกัน

นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “อาชญากรไซเบอร์มีกลยุทธ์หลายอย่างในมือ เช่น การหลอกล่อให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอป e-wallet ปลอมที่ดูถูกต้อง แต่แท้จริงแล้วเป็นมัลแวร์ที่มีเป้าหมายในการแพร่ระบาดบนสมาร์ทโฟนที่ใช้สำหรับการชำระเงินดิจิทัล ผู้โจมตีจะคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเข้ารุกล้ำแพลตฟอร์ม e-wallet และด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง บวกกับช่วงเทศกาล เราจึงได้เห็นกลเม็ดวิศวกรรมสังคมอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น ฟิชชิ่งและกลโกงเพื่อหลอกล่อจิตใจมนุษย์”

“มาตรการปิดกั้นและการแยกตัวเองในระหว่างการแพร่ระบาดอาจส่งผลต่อจำนวนมัลแวร์อุปกรณ์โมบายที่ตรวจพบในประเทศไทย แต่ผู้ใช้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ตราบใดที่เราใช้อุปกรณ์โมบายในการทำธุรกรรมทางการเงิน เราควรระมัดระวังเกี่ยวกับลิงก์ที่เราคลิก แอปที่เราดาวน์โหลด เว็บไซต์ที่เราเข้าดู เราควรรักษาความปลอดภัยให้กับสมาร์ทโฟนเช่นเดียวการรักษากระเป๋าเงิน บัตรเดบิตและบัตรเครดิตของเราให้พ้นมือโจร” นายคริสกล่าวเสริม

ตัวเลขทั่วโลกในปี 2020 ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีอุปกรณ์โมบายของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบแพ็กเกจการติดตั้งที่เป็นอันตรายจำนวน 5,683,694 แพ็กเกจ ซึ่งมากกว่าปี 2019 ถึง 2,100,000 รายการ และตรวจพบโทรจันบนอุปกรณ์โมบายใหม่ 156,710 รายการ ซึ่งเป็นตัวเลข 2 เท่าของปีก่อน

 

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์โมบายในประเทศไทย ดังนี้

  • ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันจากร้านค้าแอปอย่างเป็นทางการเท่านั้น เช่น Google Play บนอุปกรณ์ Android หรือใน App Store บน iOS
  • ปิดใช้งานฟังก์ชันสำหรับการติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จักในเมนูการตั้งค่าของสมาร์ทโฟน
  • อย่ารูทอุปกรณ์ เพราะจะทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • ติดตั้งการอัปเดตระบบและแอปพลิเคชชันทันทีเพื่อแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัย ไม่ควรดาวน์โหลดการอัปเดตระบบปฏิบัติการอุปกรณ์โมบายจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  • เอาใจใส่รายละเอียดทางการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งข้อสงสัยเสมอเพื่อความระมัดระวังตัว
  • ใช้โซลูชันความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เช่น Kaspersky Security Cloud เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่หลากหลาย

 

อ่านรายงานฉบับเต็มเรื่อง Mobile Malware Evolution 2020 ได้ที่ Securelist.com

https://securelist.com/mobile-malware-evolution-2020/101029/

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-thailand-mobile-banking/

Gojek จับมือ ธนาคารกรุงเทพนำร่องช่องทางเติมเงิน GoPay ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง

Gojek (โกเจ็ก) ร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ ตอกย้ำความแข็งแกร่งในฐานะ Regional Banking และผู้นำด้าน Financial Solutions Provider ประกาศความร่วมมือทางธุรกิจนำร่องอำนวยความสะดวกลูกค้า-ขยายการเข้าถึงดิจิทัลเพย์เมนต์ ในธุรกิจบริการอีวอลเลต

ด้วยการเป็นช่องทางเติมเงินเข้า GoPay (โกเพย์) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์ม Gojek ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking) เพื่อรองรับดิจิทัลไลฟ์สไตล์แบบไร้รอยต่อ พร้อมเติมเต็ม Digital Financial Ecosystem ของประเทศ

GoPay เป็นบริการจ่ายเงินออนไลน์ที่มอบความสะดวกสบาย ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ สำหรับทุกการจับจ่ายบนแอป Gojek ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งอาหาร GoFood (โกฟู้ด) บริการเรียกรถจักรยานยนต์ GoRide (โกไรด์) หรือบริการรับ-ส่งพัสดุ GoSend (โกเซ้นด์)

นายชรี ชากราวาร์ธี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย กล่าวว่า “ดิจิทัลเพย์เมนต์มีบทบาทสำคัญอย่างมากกับวิชั่นของเราในการมุ่งลดความไม่สะดวกในชีวิตประจำวันของผู้ใช้บริการและส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอี  ท่ามกลางภาวะโควิด-19 GoPay ได้ช่วยให้ผู้ใช้บริการของเราสามารถใช้บริการแบบไร้เงินสดได้อย่างสะดวกปลอดภัย และตอบโจทย์ไลฟสไตล์เป็นอย่างดี

“ในปีนี้ เรามีแผนที่จะเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจเพย์เมนต์ผ่านทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและทั้งพาร์ทเนอร์ชิพ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีและมอบความสุขในการใช้งานให้ทั้งกับผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร และพาร์ทเนอร์คนขับ ทั้งนี้ เรายินดีที่ได้ทำงานร่วมกับ BBL ธนาคารชั้นนำของไทย เพื่อขยายช่องทางการเติมเงิน GoPay และเพื่อความร่วมมืออื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต ในการขยายการเข้าถึงด้านดิจิทัลเพย์เมนต์ของประเทศ”

GoPay เป็นอีวอลเลตที่เป็นที่นิยมในการใช้งานอันดับหนึ่งในอินโดนีเซียและมียอดการใช้งานหลายล้านครั้งต่อวัน โดยการใช้งานจำนวนมากมาจากบริการ GoFood บริการส่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากการขยายบริการ GoPay ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกอีโค่ซิสเต็มของ Gojek โดยในประเทศไทย Gojek ได้เริ่มให้บริการ GoPay เมื่อเดือนเมษายนปี 2562 เพื่อเป็นโซลูชั่นในการจ่ายแบบไร้เงินสดให้กับผู้ใช้บริการของ Gojek

นอกจากนั้น ในช่วงแรกของความร่วมมือนี้  ธนาคารกรุงเทพ และ Gojek ยังมอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ใช้บริการ ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 โดยลูกค้าผู้ใช้บริการแอปฯ โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ สามารถกดรับสิทธิ์คูปองส่วนลด 40 บาท ได้ง่ายๆ ทันที (สิทธิ์มีจำนวนจำกัด) เมื่อสั่งซื้ออาหารผ่านบริการ GoFood ครบ 200 บาท

from:https://www.thumbsup.in.th/gojek-bbl-wallet?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=gojek-bbl-wallet

โตโยต้า ลีสซิ่ง เปิดตัว “TOYOTA Wallet Powered by SCB” กระเป๋าเงินดิจิทัล ครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น

โตโยต้า ลีสซิ่ง เปิดตัว “TOYOTA Wallet Powered by SCB” กระเป๋าเงินดิจิทัล ครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น โดยลูกค้าของ SCB สามารถเติมเงินผ่าน SCB EASY ได้ทันที

Toyota โตโยต้า
ภาพจาก Shutterstock

โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทในเครือของ Toyota Financial Services Corporation ได้ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการให้บริการ และได้ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในการเปิดตัว โครงการ TOYOTA Wallet Powered by SCB แพลตฟอร์มการชำระเงินรูปแบบใหม่ ในรูปแบบกระเป๋าเงินดิจิทัล ในเมืองไทยเป็นประเทศแรกนอกญี่ปุ่น

ความร่วมมือระว่าง โตโยต้า ลีสซิ่ง และ SCB นั้นจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการทำธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้าให้สะดวก มากขึ้น โดย SCB มีเป้าหมายสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรของธนาคารที่หลากหลายในกลุ่ม
ต่างๆ ขณะที่ทางโตโยต้า ลีสซิ่ง เองก็ต้องการที่จะต่อยอดและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงมอบสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งาน

ชื่นกมล บุปผาคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงการเปิดตัวครั้งนี้ว่า TOYOTA Wallet กระเป๋าเงินดิจิทัล จากโตโยต้า นั้นจะช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย นำเสนอความอิสระในการใช้จ่าย ทั้งในร้านค้าทั่วไปหรือร้านค้าออนไลน์ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อบัตรเครดิต และบัตรเดบิต

นอกจากนี้กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ยังได้กล่าวเสริมว่าบริษัทฯ มีเป้าหมาย ที่จะพัฒนา TOYOTA Wallet ให้เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลในระดับสากล ซึ่งจะไม่จำกัดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ครอบคลุมการใช้จ่ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ TOYOTA Wallet รองรับในอนาคตได้อีกด้วย

สีหนาท ล่ำซำ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Payment Product Solution and Management ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสด ธนาคารจึงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาบริการทางการเงินและโซลูชั่นต่าง ๆ ล่าสุด ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ในการร่วมพัฒนา TOYOTA Wallet แพลตฟอร์มการชำระเงินรูปแบบใหม่ ในรูปแบบกระเป๋าเงินดิจิทัล

โดยลูกค้าของ SCB สามารถเติมเงินเข้า TOYOTA Wallet ผ่าน SCB EASY หรือเลือกผูกบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ พร้อมกันนี้ SCB ยังได้พัฒนาระบบการชำระเงินของธนาคารเพื่อรองรับการใช้งานวอลเล็ตผ่านเครื่องรับชำระเงินที่ศูนย์โตโยต้าที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/first-time-outside-jp-toyota-launched-e-wallet-joint-with-scb-13-nov-2020/

[Guest Post] ธุรกิจการเงินและความปลอดภัยไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลวิเคราะห์ ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติดิจิทัลในอาเซียน

ผลพวงจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสครั้งนี้คือ การอุบัติขึ้นอย่างรวดเร็วของบริการชำระเงินทางออนไลน์ และธนาคารดิจิทัลทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องมาจากข้อกำหนดระยะห่างทางสังคม ผู้คนต่างเลี่ยงการทำธุรกรรมตามธนาคารซึ่งจัดว่าเป็นที่สาธารณะที่อาจมีโคโรน่าไวรัสได้ จึงหันมาใช้ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ได้แก่กระเป๋าเงินดิจิทัล (e-wallets) และแอปพลิเคชันชำระเงินทางโมบาย  

อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าที่จริงแล้วเมื่อประมาณปลาย 2019 ก่อนโควิด-19 ลงทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความจาก Entrepreneur ได้เปิดเผยมูลค่าของธุรกรรมการเงินออนไลน์ในภูมิภาคคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 และส่วนของ e-wallets นั้นจะเติบโตก้าวกระโดดถึงห้าเท่าตัวที่ 114 พันล้าน ในช่วงเวลาเดียวกัน

  

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แคสเปอร์สกี้ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แคสเปอร์สกี้ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าทั้งสองส่วนหลักๆ นี้จะไปได้อีกไกลเกินกว่าตัวเลขตามที่คาดการณ์กันไว้นี้เสียอีก เพราะเราพยายามที่จะลดการติดต่อเผชิญหน้ากับมนุษย์เพื่อระวังเรื่องของสุขภาพ จากการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า 40% ของคอนซูมเมอร์ในภูมิภาคยอมรับว่าได้ใช้ e-wallets มากกว่าที่เคยใช้มาเลย มาเลเซียนำโด่งในเรื่องนี้ ในทางกลับกัน เงินสดก็ถูกริดรอนความสำคัญลงเพราะมีจำนวนผู้คนใช้ธนบัตรเพื่อจับจ่ายน้อยลง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: แหล่งอุดมสำหรับการชำระจับจ่ายออนไลน์รวมไปถึง e-wallets

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ภูมิภาคนี้เป็นถิ่นเฟื่องฟูของระบบดิจิทัลแบงกิ้งและการชำระเงินออนไลน์คือหลายๆ ประเทศที่นี่เต็มไปด้วยประชากรรุ่นใหม่ — มิลเลนเนียลและเจน Z ที่ไม่คุ้นเคยกับการไปติดต่อธุรกรรมที่หน้าเคาเตอร์ธนาคารด้วยตัวเองอีกต่อไป ไม่ไหวกับการต่อคิวแสนนานแล้วยังต้องกรอกฟอร์มด้วยปากกากระดาษอย่างที่รุ่นก่อนหน้าเคยทำมา

อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ยังมีประชากรจำนวนมากที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารหรือมีเงินไม่พอ ซึ่งหมายความว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่มีประวัติการเงิน(เครดิต) นี่เป็นเรื่องที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

เมื่อพูดถึงสิงคโปร์ ส่วนเอกชนและรัฐต่างออกมาให้ความรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจทางด้านธุรกรรมการเงินออนไลน์แก่กลุ่มประชาชนสูงวัย มีการจัดเทรนนิ่งสำหรับคนวัย 54 ปีขึ้นเกี่ยวกับแอปชำระเงินและ e-wallets จากการสำรวจล่าสุด พบว่าเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่ดีจากกลุ่มผู้สูงวัยที่เริ่มหันมาใช้ทูลและแอปเพื่อทำธุรกรรมการเงินกันบ้างแล้ว

การเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุคดิจิทัลของส่วนการเงิน และอุปสรรคความท้าทาย

วิวัฒนาการทางดิจิทัลนี้มีจุดใหญ่อยู่ที่ความไว้วางใจ ลูกค้ากำลังหันมาใช้ e-wallets โมบายแบงกิ้ง และเว็บแอปพลิเคชั่น โดยเริ่มจากความจำเป็นบังคับ ดังนั้น จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องไว้วางใจสถาบันการเงินมากกว่าครั้งใดทั้งนั้นว่าจะมีระบบความปลอดภัยที่ดีพอคอยคุ้มครองเงินที่หามาได้อย่างยากเย็น และเป็นเงินที่ต้องการใช้ในยุคนี้เสียด้วยสิ

การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital transformation) ของเซ็คเตอร์ใดๆ ก็ตาม จะต้องผ่านช่วงที่เป็นความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นหน่วยงานอย่างเช่นธนาคารและบริการด้านการเงิน พูดง่ายๆ ก็คือ การปฏิวัติรูปแบบธุรกรรมการเงินของธนาคารย่อมหมายถึงการรื้อระบบดั้งเดิมที่ใช้งานกันมา รวมทั้งคนทำงาน กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี เป็นต้น

มนุษย์ยังคงเป็นจุดอ่อน ลูกค้าโดยเฉพาะคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานดิจิทัล ขาดความรู้เท่าทันความเสี่ยงแม้เล็กๆ น้อยๆ เช่น ฟิชชิ่งหรือสแปม หรือพนักงานภายในต้องการเทรนนิ่งใหม่ๆ และแม้แต่ส่วนของบริการจากเธิร์ดปาร์ตี้เองก็ควรต้องมีการประเมินอย่างถี่ถ้วน

กระบวนการทำงานจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับโลกยุคดิจิทัล ข้อมูลต้องมีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนเพียงพอ, การบริหารจัดการแอคเซสและข้อมูลควรต้องมีการประเมินและแจกจ่ายอย่างเหมาะสมเท่านั้น และระบบป้องกันความปลอดภัยที่เสริมขึ้นมาก็จะต้องการงบประมาณเสริมเข้ามาด้วยเช่นกัน

เมื่อมาถึงเรื่องของความปลอดภัย เอนด์พอยนท์ควรจะเป็นรากฐานสำคัญของความปลอดภัยอซึ่งถึงตอนนี้ธนาคารก็ควรตระหนักตรงจุดนี้ได้แล้ว ในส่วนบริการการเงินซึ่งมีข้อมูลมากมายสื่อสารอยู่ตลอดเวลานั้นก็ควรจะมีวิธีการจัดการด้านความปลอดภัยที่น่าจะป้องกันมากกว่าที่จะคอยรับมือตามสถานการณ์ สร้างความพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุใดรุกเข้ามา

ธนาคารและผู้ให้บริการ e-wallet สามารถที่จะนำร่องสู่อนาคตได้หากวางแผนอย่างชาญฉลาด

อนาคตอาจจะคลุมเครือเพราะเทคโนโลยีส์มีมากมายแถมยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น AI, 5G, Internet of Things, Cryptocurrency เป็นต้น แต่เราก็สามารถเรียนรู้ศึกษาจากอดีตเป็นบทเรียนสู่อนาคตได้

คำตอบที่น่าเศร้าต่อคำถามที่ว่าทำไมธนาคารและผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ควรให้ความสำคัญกับระบบการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างจริงจัง ลองดูตัวอย่างมูลค่าความเสียหาย 81 ล้านเหรียญสหรัฐ กรณีการโจรกรรมธนาคารกลางบังคลาเทศที่เข้ามาเขย่าโลกการเงินไปเมื่อปี 2016 เหตุการณ์นี้เริ่มด้วยมีพนักงานรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงคลิกอีเมลที่มีฟิชชิ่งแฝงตัวมา เท่านั้นก็ลงเอยด้วยความเสียหาย เสียชื่อ เสียอาชีพ เสียเงินอย่างมโหฬาร

จากมาตรวัดของแคสเปอร์สกี้ชี้ว่าฟิชชิ่งการเงินยังคงถูกใช้อยู่เรื่อยๆ จากโซลูชั่นของเราที่ได้บล็อกไว้ เพียงแค่ช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมปีนี้ ก็ได้มากกว่า 40 ล้านอีเมลปลอมเลยทีเดียว

กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่รับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ อ้างอิงจากหลักฐานที่นักวิจัยของเรารวบรวมได้ผนวกกับข้อมูลที่ได้จากนักสืบสวนอื่นๆ คือกลุ่ม Lazarus ที่อื้อฉาวนั่นเอง เป็นกลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์กลุ่มเดียวกับที่รับผิดชอบการโจมตี Sony Pictures เมื่อปี 2014 และแม้แต่เหตุการณ์แรนซัมแวร์ Wannacry เมื่อปี 2017 ก็เป็นฝีมือของกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน

นักวิจัยจากทีมวิจัยและพัฒนาของแคสเปอร์สกี้ที่รู้จักกันในชื่อทีม GReAT (Global Research and Analysis Team) ได้ติดตามศึกษากลุ่ม Lazarus อย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลาหลายปีจนสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกได้ และตรวจพบกลยุทธ์ เทคนิค และกระบวนการทำงาน (TTPs) ที่กลุ่มอาจใช้งานเมื่อจะหาทางเจาะเข้าระบบขององค์กรหรือเอ็นเทอร์ไพรซ์ เราสามารถสะกัดกั้นไว้ได้ วิเคราะห์ และแจ้งเตือนทีมงานให้เฝ้าระวัง TTPs ที่น่าจะเป็นช่องทาง โดยอิงจากพฤติกรรมก่อนหน้าของผู้ก่อภัยคุกคามตัวนี้ และนี่คือความสำคัญอย่างยิ่งยวดของข้อมูลวิเคราะห์ภัยไซเบอร์เชิงลึก (threat intelligence) ต่อองค์กร เป็นข้อมูลสำคัญที่จำเป็นในอนาคตสำหรับการต่อกรกับการโจมตีไซเบอร์ที่อาจจะถาโถมเข้ามายังองค์กรของคุณ

แคสเปอร์สกี้มีข้อมูลวิเคราะห์เจาะลึก (Threat intelligence) ในหลากหลายรูปแบบ บนวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น นั่นคือ เพื่อให้องค์กรและเอ็นเตอร์ไพร้ซ์มีมุมมองที่กว้างได้ครอบคลุม 360 องศาที่จะตามทันรูปการความเคลื่อนไหวของบรรดาภัยไซเบอร์ เช่น การนำเสนอข้อมูล Threat Data Feeds จะให้ข้อมูลที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง เพื่อช่วยลดโหลดงาน และเวลาของทางฝ่ายไอที เพราะไม่ต้องคอยเสียเวลาคัดข้อมูลแจ้งเตือนปลอม (false flags) นอกจากนี้ เรายังมีข้อมูลวิเคราะห์ภัยทางด้านการเงิน Financial Threat Intelligence Reporting ซึ่งกลั่นกรองมาโดยเฉพาะสำหรับเซ็คเตอร์การเงิน เน้นไปที่ภัยและทูลที่อาชญากรไซเบอร์นำมาใช้ หรือขายที่มีเป้าหมายเหยื่อเป็นธนาคาร บริษัทธุรกิจที่ดำเนินการด้านการชำระเงิน ระบบ ATMs และ POS เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการวิเคราะห์ภัยไซเบอร์แบบเจาะลึก (Threat intelligence) นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการป้องกันตัวล่วงหน้าต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์เท่านั้น ที่สำคัญ ที่ขอย้ำ คือ มนุษย์ ผู้คน กระบวนการขั้นตอนต่างๆ และเทคโนโลยี ก็เป็นส่วนสำคัญ การเทรนนิ่งฝึกอบรมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่พนักงานในองค์กรทุกคนเป็นกิจกรรมที่ควรจัดให้มีเป็นประจำ ความรู้ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ๆ นั้นโดยมากมักจากเริ่มที่การพลาดพลั้งด้วยน้ำมือคนทั่วๆ ไปนี่เอง

เมื่อมาดูถึงวิวัฒนาการที่ไม่เคยหยุดของทางฝั่งภัยไซเบอร์ที่มีแต่จะร้ายแรง ซับซ้อนยิ่งขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญของทางองค์กรสถาบันทางการเงินทั้งหลายที่จะต้องจัดหาทูล เครื่องมือที่จำเป็น ที่สามารถรองรับ สนับสนุนการติดตามภัยคุกคามที่สามารถเล็ดลอดการสะกัดของเอ็นด์พอยต์โซลูชั่นไปได้ก่อนที่จะเข้าก่อกวนถึงตัวคุณ เช่น โซลูชั่น Kaspersky Anti-Targeted Attack สามารถที่จะช่วยป้องกันตัว กันภัยที่ยังอยู่ภายนอกได้ก่อนมาถึงตัว

เราทั้งหมดกำลังอยู่ท่ามกลางปฏิวัติดิจิทัล และการใช้ e-wallets และเกตเวย์การชำระเงินออนไลน์นั้นจะอยู่กับเราเป็นส่วนหนึ่งของเราและได้รับการยอมรับใช้งานเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำไป ขณะที่การป้องกันระบบเวอร์ช่วลของการเงินนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคาร สถาบันการเงิน แต่ก็แน่ใจได้เลยว่าทุกคนสามารถที่จะสร้างเกราะป้องกันสู่อนาคตที่มั่นคงได้ ตราบใดที่มีการให้ความสำคัญต่อการป้องกันไซเบอร์อย่างรู้เท่าทันและชาญฉลาด

from:https://www.techtalkthai.com/kaspersky-financial-sector-and-intelligence-driven-cybersecurity-amidst-digital-revolution-in-sea/

เปิดตัว Blue CONNECT แอป e-Wallet น้องใหม่จาก โออาร์ จ่ายสะดวก สิทธิพิเศษเยอะ

Blue Connect Article Cover20 กันยายน 2019 ทางกลุ่มบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จับมือกับทางธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันเปิดตัวแอป Blue CONNECT ซึ่งเป็นแอป e-Wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ที่มีความพิเศษคือ สามารถใช้จ่ายในระบบนิเวศของ โออาร์  ได้จบในแอปเดียว และอนาคตจะขยายไปแตะไลฟ์สไตล์อื่นๆ ของผู้บริโภคด้วย รายละเอียดฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแอปนี้มีอะไรบ้าง ทีมงานสรุปให้ชมกันในบทความนี้ครับ เปิดตัว Blue CONNECT แอป e-Wallet น้องใหม่จาก โออาร์ จ่ายสะดวก สิทธิพิเศษเยอะ สำหรับภาพรวมของแอป Blue CONNECT นั้นจัดว่าเป็นอีกหนึ่งแอป e-Wallet หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ อีกหนึ่งตัวที่เกิดขึ้นมาในประเทศไทย โดยไอเดียหลัก ๆ ของการสร้าง Blue CONNECT ขึ้นมาก็เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งานในการจ่ายและชำระค่าสินค้าและบริการในเครือของ โออาร์ ที่มีร้านค้าปลีกหลายร้านซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชัน (PTT […]

from:https://www.iphonemod.net/blue-connect-e-wallet.html

เปิดเทอมแล้ว ใช้ e-Wallet อย่างไรให้สมาร์ทและปลอดภัย

 

ต้อนรับเปิดเทอมใหม่ ทรูมันนี่มีข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ใช้ e-Wallet ที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จัดอยู่ใน Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและเป็นกลุ่มยูสเซอร์ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ Cashless Society ในอนาคต ซึ่งช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – เมษายน 2562) พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่าง ๆ บน TrueMoney Wallet ไปแล้วกว่าหลายพันล้านบาท

true money

คนรุ่นใหม่ใช้ e-Wallet ทำอะไรกันบ้าง?

  • 3 อันดับพื้นที่ที่มีนักเรียน-นักศึกษา ใช้ e-Wallet มากที่สุด
    • กรุงเทพฯ
    • ชลบุรี และปทุมธานี
    • สมุทรปราการ และนนทบุรี
  • 96% ของผู้ใช้ในวัยเรียน ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (50%) และมหาวิทยาลัย (46%) ในขณะที่ชั้นประถมศึกษา คิดเป็นแค่ 4% ของผู้ใช้ e-Wallet ที่อยู่ในวัยเรียนทั้งหมด
  • การเติมเงินเข้า e-Wallet ส่วนใหญ่จะผ่านทางช่องทางเหล่านี้ ตู้เติมเงิน (36%), ธนาคาร (28%) และร้านค้าและร้านสะดวกซื้อ (26%)ตามลำดับ โดยการเติมเงินผ่านช่องทางธนาคารจะมียอดเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 1,450 บาท รองลงมาคือ เติมผ่านช่องทางดิจิทัลที่ 970 บาท
  • บริการหลักที่นักเรียน/นักศึกษาใช้ e-Wallet ได้แก่ โอนเงินให้บุคคลอื่น, ซื้อดิจิทัลคอนเทนต์ และเติมเงินมือถือ/อินเทอร์เน็ต
  • ร้านค้ายอดนิยม 3 ประเภทหลัก ที่ครองใจนักเรียน-นักศึกษา ได้แก่
    • ร้านสะดวกซื้อ
    • ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
    • ร้านจำหน่ายไอเท็มเกมออนไลน์

2 ปัจจัยบวกกระตุ้นการใช้ e-Wallet

  • ชาว Gen Z (คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป) เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไว มีไลฟ์สไตล์โดดเด่น เกาะติดทุกเทรนด์ และไม่ยึดติดกับแบรนด์ พร้อมลองแบรนด์ใหม่ที่เป็นที่นิยมหรือคุ้มค่ากว่าเสมอ สอดคล้องกับความสามารถของ e-Wallet ที่นอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้จ่ายแล้ว ยังมาพร้อมโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษมากมายที่รองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ความบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง หรือการใช้จ่ายตามร้านอาหาร และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ
  • ราคาสมาร์ทโฟนที่ต่ำลง สวนทางกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น วันนี้นักเรียน-นักศึกษาในเมืองใหญ่ ๆ สามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีบนมือถือได้โดยง่าย และใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องสมัครผ่านบัตรเครดิต

วิธีการใช้ e-Wallet แบบคูล ๆ สมาร์ทและปลอดภัยในวัยเรียน

  • มัธยัสถ์ยืนหนึ่ง – เพียงหมั่นตรวจสอบการใช้เงินว่าสัปดาห์/เดือนนี้ เราสิ้นเปลืองไปกับรายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นบ้าง เช่น ดูหนังเยอะไปไหม หรือทานอาหารกับเพื่อน ๆ ถี่ไปไหม สามารถตรวจเช็คย้อนหลังเพื่อทำบัญชีรับ-จ่ายเงินง่าย ๆ ผ่านแอปฯ e-Wallet เพราะการใช้ชีวิตในวัยเรียนแบบคูล ๆ เราไม่จำเป็นต้องฟุ้งเฟ้อหรือยึดติดกับสิ่งเร้าต่างๆ ควรช่วยผู้ปกครองประหยัดไว้ดีที่สุด

  • ของฟรี ของแถม ถูกและดีมีในโลก – ง่าย ๆ แค่ติดตามโปรโมชั่นต่าง ๆ ของร้านค้าที่ร่วมรายการ  หรือทำภารกิจในแอปฯ อย่างสม่ำเสมอก็ได้ลุ้นรางวัลและรับสิทธิพิเศษมากมาย  เช่น เติมเน็ตคืนเงิน 50% เป็นต้น หรือเกมพิชิตภารกิจต่าง ๆ ภายในแอปฯ

  • ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การแชร์ของวัยมันส์ – ไม่ว่าจะพากันไปกินหมูกระทะหลังเลิกเรียน หรือจ่ายค่าแท็กซี่ยามเดินทางไป-กลับบ้านและโรงเรียน ก็ร่วมด้วยช่วยกันจ่ายง่ายกว่าด้วยการโอนแบบ P2P ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม

  • ทำบุญง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วคลิก – ปลูกฝังนิสัยการทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นตั้งแต่วัยเรียนด้วยการ “ให้” เป็นอีกวิธีนึงที่ทำได้ง่ายและสะดวก ด้วยการบริจาคเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ 1 บาท 2 บาทล้วนมีค่ากับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถบริจาคผ่านแอปฯ ให้แก่มูลนิธิ องค์กรการกุศล และโครงการเพื่อการกุศลต่าง ๆ มากกว่า 20 องค์กรได้โดยตรง

  • เข้าถึงดิจิทัลคอนเทนต์ได้แบบไม่ต้องง้อบัตรเครดิต  ด้วยความสามารถของบัตร Virsual Card สมัยใหม่ (WeCard) หากเราต้องการซื้อหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียนผ่านออนไลน์ แอปพลิเคชั่น หรือดิจิทัลคอนเทนต์ต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น เติมเงินใน e-Wallet แบบพอดี จะใช้ซื้ออะไร จำนวนเงินเท่าไร งบไม่บานปลาย และยังสามารถปิด-เปิดการใช้งานได้ตลอดเวลาด้วยตนเอง ไม่ต้องง้อบัตรเครดิต (physical card) หรือผูกบัญชีเข้ากับApp Store หรือ Google Play Store

  • ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยการยืนยันตัวตน (KYC) – อุ่นใจทุกการใช้จ่าย เมื่อได้รับ SMS แจ้งเตือนทุกครั้งที่ทำธุรกรรม และมั่นใจในความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยการยืนยันตัวตน (KYC) นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว การยืนยันตัวตนยังสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้เจ้าของบัญชี e-Wallet ที่แท้จริง ป้องกันบุคคลอื่นมาแอบอ้างตัวตน และยังส่งผลดีต่อผู้ให้บริการที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการให้มีความเฉพาะและเหมาะกับการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของผู้ใช้รายบุคคลอีกด้วย

 

from:http://mobileocta.com/how-to-open-the-semester-and-use-e-wallet-to-be-smart-and-safe/