คลังเก็บป้ายกำกับ: COREOS

CoreOS เปลี่ยนชื่อเป็น Container Linux พร้อมเปิดตัว Tectonic ระบบบริหารจัดการ Patch สำหรับ Kubernetes

CoreOS เปลี่ยนชื่อเป็น Container Linux พร้อมเปิดตัว Tectonic ระบบบริหารจัดการ Patch สำหรับ Kubernetes

CoreOS ได้ทำการเปลี่ยนชื่อ CoreOS Linux เป็น “Container Linux by CoreOS” เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนระหว่างชื่อแบรนด์และชื่อผลิตภัณฑ์ คาดว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เปิดตัวออกมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ CoreOS ยังได้ประกาศเปิดตัว CoreOS Tectonic ระบบบริหารจัดการ Patch สำหรับ Kubernetes โดยเฉพาะ ซึ่ง CoreOS เรียกระบบนี้รวมๆว่า “Self-Driving Kubernetes” รองรับการทำงานกับ Kubernetes 1.5 ได้ สำหรับความสามารถเด่นของ Tectonic มีดังนี้

  • สามารถทำ Auto Update Patch และ Hot fix ต่างๆจากศูนย์กลางได้ ทำให้การอัพเดท Patch ใน Production ทำได้ง่ายมากขึ้น
  • สามารถทำการอัพเดท Patch และอัพเกรดระบบได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของ Cluster
  • มี Community ของนักพัฒนาที่เหนียวแน่น ทำให้มั่นใจได้ว่าช่องโหว่ที่ตรวจพบจะถูกแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับผู้ที่สนใจ Tectonic สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที โดยผู้ที่ใช้งานต่ำกว่า 10 Nodes สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ที่มา : https://coreos.com/blog/tectonic-self-driving.html

from:https://www.techtalkthai.com/coreos-changes-its-name-to-contaniner-linux-and-announces-tectonic/

รู้จัก Stackanetes: ติดตั้ง OpenStack บน Kubernetes

ภายในงาน OpenStack Summit Austin ทาง CoreOS ได้ออกมาประกาศถึงโครงการ Stackanetes สำหรับการติดตั้งและบริหารจัดการระบบ OpenStack ทั้งหมดได้ด้วย Kubernetes อย่างสมบูรณ์ และติดตั้งได้ภายในชุดคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวเท่านั้น

coreos_banner

โครงการ Stackanetes นี้ยังอยู่ในขั้น Technical Preview เท่านั้น และสามารถทำงานได้กับ OpenStack รุ่น Newton โดยผสมผสานความสามารถของ OpenStack ในการทำ High Availability, Scaling เบื้องต้น, Control Plane Self-healing, Virtual Machine Live Migration เข้ากับความสามารถของ Kubernetes อย่างการทำ Automation สำหรับการ Deploy, Manage และ Scale เข้าด้วยกัน โดย Stackanetes จะทำการติดตั้งส่วนต่างๆ ของ OpenStack และบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้ให้

  • Cinder
  • Glance
  • Horizon
  • Keystone
  • Neutron
  • Nova
  • Searchlight
  • MariaDB
  • Memcached
  • RabbitMQ
  • RADOS Gateway
  • Traefik
  • Elasticsearch
  • Open vSwitch

การติดตั้ง Stackanetes นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยทางทีมงาน CoreOS นั้นได้ระบุว่าสามารถติดตั้ง OpenStack บน Kubernetes ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 15 นาทีด้วยคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวเท่านั้นก็คือ kpm deploy

สำหรับคลิปตัวอย่างการทำงานของ Stackanetes สามารถดูได้ดังนี้เลยครับ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการ Stackanetes สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://github.com/stackanetes/stackanetes เลยครับ

 

ที่มา: https://coreos.com/blog/announcing-stackanetes-technical-preview.html

from:https://www.techtalkthai.com/stackanetes-deploy-openstack-on-kubernetes-with-single-command/

Microsoft เปิดให้ทดสอบ OMS Container Solution for Linux แบบ Public Preview

OMS-Container-Solution-for-Linux

Microsoft เปิดให้ทดสอบ Operations Management Suite (OMS) Container Solution for Linux แบบ Public Preview แล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ Monitoring, Logging และบริหารจัดการ Docker Container บน Linux โดยเฉพาะ โดยฟีเจอร์เด่นของ OMS Container Solution มีดังนี้

  • เก็บ Log และสามารถประมวลผล Log ที่ส่งจาก Docker Container ได้จากส่วนกลาง พร้อมรองรับการขยาย
  • สามารถดูข้อมูลแต่ละ Container ได้แบบ Real-time
  • ช่วยตรวจจับ Container ที่อาจสร้างปัญหาให้ Container อื่นๆ ใน Host นั้นๆได้
  • เก็บข้อมูล และแสดงผลการใช้งานของ CPU, Memory, Storage และ Network ของ Host ได้
  • ช่วยเก็บข้อมูลและแสดงรายละเอียดของ Audit Trail ที่เกิดขึ้นกับ Docker ในแต่ละ Host ได้

OMS Container Solution รองรับ Docker ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.8 ถึง 1.11.2 ส่วนระบบปฏิบัติการ Linux ที่รองรับได้แก่

  • Ubuntu 14.04, 15.10
  • CoreOS(stable)
  • Amazon Linux 2016.03
  • openSUSE 13.2
  • CentOS 7
  • SLES 12
  • RHEL 7.2

สำหรับการติดตั้ง OMS Container Solution สามารถติดตั้งได้สองแบบ คือ ติดตั้ง OMS Agent For Linux ลงบน Linux OS ที่รองรับ หรือติดตั้งผ่าน Docker Hub ซึ่งใช้ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้ง Agent ลงบน OS ได้ เช่น การใช้งานกับ CoreOS ที่ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง Agent ลงไป

OMS-agent

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการทดสอบ OMS Container Solution สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับฟรี Subscription จาก Microsoft ได้ หรือสามารถขอรับฟรี Subscription สำหรับ Microsoft Azure หากต้องการทดสอบบน Cloud ได้ทันที

ที่มา : https://blogs.technet.microsoft.com/msoms/2016/08/24/announcing-public-preview-oms-container-solution-for-linux/

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-announces-public-preview-oms-container-solution-for-linux/

CoreOS เปิดตัว Torus ซอฟต์แวร์สตอเรจของตัวเอง

CoreOS เปิดตัวซอฟต์แวร์สตอเรจแบบกระจายตัว Torus เปิดให้เซิร์ฟเวอร์เข้ามาเมาน์เป็น block device ไปได้ และในอนาคตจะเก็บแบบออปเจกต์ได้ด้วย

ทาง CoreOS ระบุว่าระบบสตอเรจเป็นปัญหาใหญ่ของแอปพลิเคชั่นทุกวันนี้มักทำงานแบบกระจายตัวกัน และทางทีมงานก็อาศัยประสบการณ์จากการพัฒนา etcd มาใช้ในการพัฒนา Torus โดยตัว etcd เองก็ยังใช้งานเก็บ metadata ของไฟล์ใน Torus

ตอนนี้โครงการยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ก็สามารถใช้งานได้จริงแล้ว ถ้าใครอยากทดลองสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้จาก Github

ที่มา – CoreOS

upic.me

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/81768

CoreOS ประกาศ rkt เข้าสู่รุ่น 1.0 พร้อมใช้งานจริง

rkt รันไทม์สำหรับ container จากค่าย CoreOS ประกาศออกเป็นรุ่น 1.0 แล้วหลังจากพัฒนามาตั้งแต่ปี 2014 รวมระยะเวลา 15 เดือน การส่งโค้ดมากกว่า 3,000 ครั้งและนักพัฒนากว่า 100 คน

จุดเด่นที่สุดของ rkt คือการรองรับฟีเจอร์ Intel Clear Container ที่แยกคอนเทนเนอร์ออกจากระบบปฎิบัติการหลักขาดกันมากขึ้น จากเดิมที่คอนเทนเนอร์ใช้ฟีเจอร์ cgroup ของลินุกซ์ ที่ยังผูกกับระบบปฎิบัติการของเครื่องแม่หลายส่วน

นอกจาก Clear Container แล้ว rkt ยังรองรับการคอนฟิก SELinux โดยอัตโนมัติสำหรับแต่ละ pod ที่สร้างขึ้นมา เพื่อป้องกันในกรณีคอนเทนเนอร์ถูกแฮก และ TPM

ตัว rkt ใช้ฟอร์แมตต่างกัน Docker แต่มีเครื่องมือแปลงฟอร์แมตให้อัตโนมัติ

ที่มา – CoreOS

upic.me

CoreOS, Container

from:https://www.blognone.com/node/77561

CoreOS ปล่อยเครื่องมือสแกนหาซอฟต์แวร์มีช่องโหว่ Clair

การใช้คอนเทนเนอร์มาช่วยแยกระบบออกเป็นส่วนๆ อาจจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบโดยรวมได้ในบางกรณี แต่ปัญหาการที่นักพัฒนาไม่อัพเกรดซอฟต์แวร์ในคอนเทนเนอร์เป็นปัญหาเรื้อรัง และสร้างช่องโหว่ให้กับระบบ ล่าสุดบริการเก็บอิมเมจ Quay.io ของ CoreOS ตรวจสอบพบว่าอิมเมจที่เก็บไว้ยังมีช่องโหว่ Heartbleed ถึง 80% ทาง CoreOS จึงเปิดซอร์ส Clair เครื่องมือเตือนให้นักพัฒนารู้ว่าควรอัพเดตซอฟต์แวร์ได้หรือยัง

Clair รองรับ Debian, Ubuntu, และ CentOS และใช้ตัวจัดการแพ็กเกจพื้นฐานของระบบ (dpkg, yum) และในอนาคตจะรองรับระบบจัดการ package เพิ่มเติม

ที่มา – CoreOS

upic.me

CoreOS, Security

from:https://www.blognone.com/node/74768

VMware เผยข้อมูล vSphere Integrated Containers ผลักดันเทคโนโลยี Container ในระดับองค์กร

vmware_logo

VMware ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ vSphere Integrated Containers ซึ่งจะช่วยให้ฝ่าย IT สามารถสนับสนุนระบบ Application ทั้งแบบเดิม และ Application บน Container ได้ภายใน Infrastructure เดียวกันได้อย่างง่ายดาย ผ่านการบริหารจัดการระบบ Container บน Infrastructure ของ VMware โดยรองรับทั้ง CoreOS Tectonic, Docker, Kubernetes, Mesosphere’s Data Center Operating System และ Cloud Foundry พร้อมทั้งเสริมเทคโนโลยี Cloud Native จาก VMware เช่น

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com
  • Project Bonneville – Docker ที่มีการ Custom โดย VMware โดยแต่ละ Container คือ Virtual Machine ในตัวเองเลย
  • Project Photon OS – Linux OS ที่ถูกออกแบมาเป็น Container Host และ Optimize มาเป็ินพิเศษสำหรับติดตั้งบน vSphere โดยเฉพาะ
  • VMware Instant Clone – สามารถ Clone Virtual Machine ได้เร็วกว่าเทคโนโลยีก่อนๆ ถึง 10 เท่า

ทั้งนี้ในภาพรวม VMware vSphere Integrated Containers จะมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • มีความปลอดภัยและแต่ละ Container จะทำงานแยกจากกันขาดด้วย Project Bonneville แต่ยังคงมี Overhead ของระบบน้อยด้วย Vmware Instant Clone
  • สามารถสร้าง Persistence Data Store สำหรับแต่ละ Container ได้ด้วย VMware Virtual SAN และ VMware vSphere Virtual Volumes ทำให้ Container ไม่ต้องทำงานแบบ Stateless อีกต่อไป
  • VMware NSX รองรับการทำงานร่วมกับ Container แล้ว ทำให้สามารถทำ Network/Security Automation สำหรับ Container ได้เลย
  • เพิ่ม Uptime และรองรับ Workload ได้อิสระขึ้นด้วย vSphere Resource Scheduler และ vSphere HA และ vMotion
    vCenter สามารถติดตามการทำงานของ Container และบริหารจัดการได้เลย รวมถึงต่อยอดระบบเป็น Hybrid Cloud ได้ด้วย VMware vRealize Suite

ทั้งหมดนี้จะถูกเรียกรวมว่าเป็น VMware Cloud-Native Technology ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจมากจาก VMware ในงาน VMworld 2015 นี้

ที่มา: http://ir.vmware.com/releasedetail.cfm?ReleaseID=929465 

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-tech-preview-for-vsphere-integrated-containers/

Docker และ CoreOS รวมโครงการคอนเทนเนอร์ของตัวเองภายใต้โครงการ Open Container Project

โครงการ CoreOS ประกาศทำคอนเทนเนอร์ของตัวเองในชื่อ App Container Image (ACI) แสดงความต้องการเป็นอิสระจาก Docker ตอนนี้ทั้งสองโครงการก็กลับมาร่วมมือกันได้อีกครั้งภายใต้โครงการ Open Container Project (OCP)

OCP จะพัฒนามาตรฐานคอนเทนเนอร์ให้สามารถรันบนรันไทม์ยอดนิยมได้ทุกตัว นับแต่ Docker, rkt, Kurma, และ Jetpack ตอนนี้มีผู้ผลิตและผู้ให้บริการคลาวด์จำนวนมากเข้ามาร่วมโครงการ ช่วงแรกทางโครงการจะใช้ runC จาก Docker มาเป็นรันไทม์ต้นแบบสำหรับมาตรฐานใหม่นี้

โครงการ OCP จะเป็นโครงการในความดูแลของ Linux Foundation

นับว่าจบไปอีกหนึ่งรายการวงแตกในโลกโอเพนซอร์สครับ (วิดีโอท้ายข่าวไม่เกี่ยว)

ที่มา – CoreOS

Docker, CoreOS, Open Source

from:https://www.blognone.com/node/69636

CoreOS เปิดสเปก App Container (appc) ให้ชุมชน ดึงบริษัทอื่นร่วมพัฒนา

ปลายปีที่แล้ว CoreOS ไม่พอใจ Docker สร้างโครงการ Container ของตัวเองในชื่อ Rocker หรือ rkt ทำให้วงการ Container แบ่งออกเป็นสองสาย

ล่าสุด CoreOS เดินเกมดึงพันธมิตรเพิ่ม โดยกำหนดสเปกกลางของ Container ใช้ชื่อว่า App Container หรือ appc และประกาศว่าจะยกสเปกนี้ให้ชุมชนช่วยกันพัฒนา พร้อมประกาศรายชื่อบริษัทที่เข้าร่วม

appc เป็นแค่สเปกบนเอกสาร โดย rkt เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นตามสเปกนี้ ส่วนบริษัทอื่นๆ ก็ประกาศพัฒนาซอฟต์แวร์ตามสเปก appc หรือไม่ก็ส่งคนเข้าร่วมพัฒนาสเปก appc ด้วยอีกต่อหนึ่ง

  • Google ประกาศร่วมพัฒนาสเปก appc และนำ rkt เข้าไปใช้กับระบบบริหารจัดการ Kubernetes ของตัวเอง (ที่รองรับ Docker อยู่ก่อนแล้ว)
  • Red Hat ร่วมพัฒนาสเปก appc
  • VMware จะร่วมพัฒนาสเปก appc และนำ rkt เข้าไปใช้กับ Project Photon ของตัวเอง
  • Apcera จะสร้างซอฟต์แวร์ Kurma โดยอิงกับสเปก appc

บริษัทอื่นที่สนับสนุน appc ได้แก่ Mesosphere, EMC Pivotal, Twitter ต้องรอดูว่าในระยะยาวแล้ว ค่าย Docker หรือ appc ใครจะได้รับการสนับสนุนจากวงการมากกว่ากันครับ

ที่มา – CoreOS, Data Center Knowledge

CoreOS, Container, Server, Open Source

from:https://www.blognone.com/node/68167

CoreOS รับเงินลงทุนจากกูเกิล, เปิดตัวดิสโทรเชิงพาณิชย์ Tectonic

CoreOS ลินุกซ์แนวคิดใหม่สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่จาก Google Ventures หน่วยลงทุนของกูเกิลเป็นจำนวนเงิน 12 ล้านดอลลาร์ (บริษัทระดมทุนแล้วทั้งหมด 20 ล้านดอลลาร์)

ในโอกาสเดียวกัน ทีมงาน CoreOS ก็เปิดตัว Tectonic ดิสโทรเชิงพาณิชย์ของโครงการโอเพนซอร์ส CoreOS (อารมณ์เดียวกับ RHEL/Fedora) โดยจะนำซอฟต์แวร์ของโครงการ CoreOS มาผนวกกับระบบบริหารจัดการ Kubernetes และซอฟต์แวร์อื่นๆ สำหรับลูกค้าองค์กร จัดเป็นแพ็กเกจสำเร็จรูปให้ใช้งานได้ง่าย

ตอนนี้ Tectonic ยังอยู่ในช่วงทดสอบกับลูกค้าบางกลุ่ม และยังไม่เปิดเผยโมเดลการคิดราคา

ที่มา – CoreOS, VentureBeat

CoreOS

from:https://www.blognone.com/node/67379